Winamp Logo
ผักสด พอดแคสต์ Cover
ผักสด พอดแคสต์ Profile

ผักสด พอดแคสต์

Thais, Technology, 1 seizoen, 111 afleveringen, 2 dagen, 19 uur, 37 minuten
Over
ผักสดพอดแคสต์ รายการที่พูดถึงการพัฒนาโปรดักส์ให้ดีที่สุด สำหรับลูกค้าของคุณ เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนกว่า ด้วยกระบวนการ user experience (UX) design และ research กับคุณพิจ พิจารณา รัตนาธิคุณ (Founder, Design and Research Lead บริษัทพรักซุส ดีไซน์) เพราะเราเชื่อว่า เมื่อเราให้ความสำคัญกับลูกค้าก่อน ลูกค้าก็จะให้ความสำคัญกับเราก่อนเช่นเดียวกัน
Episode Artwork

Ep110 ถามตบพี่พิจ#1 - การแสดงรูป Carousel vs Gallery และการแบ่งหน้าแบบ Infinite Scroll vs Pagination

Ep นี้ลองฟอร์แมตใหม่ครับ กับซีรี่ย์ "ถามตบกับพี่พิจ" สำหรับคนที่สงสัยเรื่องการทำ interaction design และเลือกไม่ถูกว่าการดีไซน์ที่ทำอยู่ ควรใช้แบบ A หรือแบบ B และรูปแบบแต่ละอย่างมันต่างกันยังไงบ้างนะ โดยพี่พิจจะช่วยตอบ (ตบ) ด้วยการใช้หลักการด้าน Usability ต่าง ๆ มาช่วยในการตัดสินใจ เช่น Heuristic Evaluation, Fitts Law, ฯลฯ โดย Ep นี้ มีคำถามจากน้องเอกและน้องแพรวในทีมพรักซุส 2 คำถามครับ: 1. เวลาที่ต้องออกแบบการแสดงรูปภาพ ระหว่างแบบ Carousel (คาโรเซล หรือการแสดงรูปไม่กี่รูปแบบต้องกดลูกศรซ้ายเพื่อดูรูปเพิ่ม) กับการแผ่รูปออกมาเต็ม ๆ จอแบบ Gallery ต่างกันอย่างไร และควรใช้แบบไหนดี 2. มีเนื้อหาเยอะ ที่แสดงไม่จบในหน้าเดียว ระหว่างการแสดงแบบแบ่งเป็นหน้า ๆ (Pagination) กับแบบที่เมื่อไถลงมาล่างสุดจอแล้วมันโหลดเนื้อหามาเพิ่มโดยอัตโนมัติ (Infinite Scrolling) มันต่างกันยังไง เราควรเลือกใช้แบบไหนดี ------------ และสำหรับใครที่สนใจ Usability & Heuristics Workshop 2024 วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567 มีโค้ดส่วนลดเพิ่มซ่อนอยู่ใน Ep นี้นะครับ 😁 และสามารถซื้อบัตรได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/usabHE24 -------------------------------------- 0:00 Intro 1:03 กระบวนการคิดของ Designers และ Interaction Design 3:54 โจทย์ 1 เว็บแสดงห้องพัก ต้องแสดงรูปหลากหลาย 5:44 Carousel ต่างกับ Gallery ยังไง 19:08 โจทย์ 2 เว็บบริษัทแสดงผลงาน เนื้อหาเยอะ 21:40 Pagination ต่างกับ Infinite Scroll ยังไง 30:25 Usability & Heuristics และทำไมดีไซเนอร์ถึงควรฝึกสกิลนี้ --------------------------------------- แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback #ผักสดพอดแคสต์ #PuxodPodcast #Puxod #UX #interactiondesign #usability #heuristicevaluation #nngroup #carousel #infinitescroll #pagination
15-10-202435 minuten, 3 seconden
Episode Artwork

ep109 มาคุยเกี่ยวกับคำว่า "Usability" หรือ "การใช้งานง่าย" กันดีกว่า

Ep นี้จะมาชวนคุยกันในเรื่อง “Usability” คืออะไร และทำไม “Usability” ถึงเป็นสิ่งที่คนทำ UX ควรจะต้อง focus ก่อนคำว่า “UX” ด้วยซ้ำกันครับ และเราจะมาพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ usability ต่าง ๆ ที่คนสร้างโปรดักส์ควรรู้ เช่น effort ของ users, frustration คืออะไร, การช่วย users ในการกัน error ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นยังไงครับ รวมไปถึงดีเทลขององค์ประกอบของ usability 5 ข้อจากเว็บไซต์ NNGroup ว่ามันคืออะไรบ้าง (สำหรับคนที่เป็นสายเนิร์ดหน่อยครับ 😃) และสุดท้ายจะพูดถึงการวัดผลทางด้าน usability ว่าสามารถทำได้อย่างไร โดยจะพูดถึงการทำ usability testing และสิ่งที่เรียกว่า Heuristic evaluation กันครับ -------------------- 0:00 Intro 3:12 องค์ประกอบของ UX และ Usability 10:13 Frustration - ความหงุดหงิด โมโห 11:08 Usability ไม่ใช่เรื่องของรสนิยม แต่มันคือข้อจำกัดของมนุษย์ 14:11 Effort - พลังงานที่ต้องใช้เพื่อใช้งานโปรดักต์ 14:55 3-click rules 18:18 การเลือกใช้ฟอนต์ส่งผลต่อ usability 18:41 User errors อีกองค์ประกอบที่จำเป็น 19:57 5 ด้านของ usability จาก nngroup 21:30 ข้อที่ส่วนตัวแอบมีปัญหากับมัน satisfaction 22:41 Learnability 24:37 Efficiency 25:53 Memorability 26:43 Errors 27:40 เราวัดผล usability ยังไงได้บ้าง 31:03 Usability & Heuristics Workshop 2024 ----------------------- แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback #ผักสดพอดแคสต์ #PuxodPodcast #Puxod #UX #usability #usabilitytest #heuristicevaluation
8-10-202433 minuten, 17 seconden
Episode Artwork

Ep108 การฝึกงานสาย UX ที่พรักซุส และเบื้องหลังการทำ research เกี่ยวกับพนักงานร้านค้า

Ep นี้ชวนน้องปรายฟ้าและน้องเมจิจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เคยฝึกงานที่พรักซุส  มาเม้าเกี่ยวกับการฝึกงานสาย UX ว่าเป็นยังไงบ้างครับ ตั้งแต่ความสนใจทางด้าน UX นั้นมาจากไหน จนได้มาฝึกงานที่พรักซุส และประสบการร์ที่ไปฝึกสหกิจกับบริษัท UX/UI ที่อื่น รวมถึงมุมมองเกี่ยวกับความสำคัญของงานในสาย UX ที่น่าจะมีประโยชน์กับน้อง ๆ ที่เริ่มสนใจสายงานนี้ หรือรุ่นพี่ที่ทำงานด้าน UX มาซักพักแล้วครับ 😃 และเบื้องหลังของการทำ Research เกี่ยวกับการเข้าหาลูกค้าของพนักงานร้านขายของ ที่พึ่งโพสต์ผลไปที่เพจพรักซุสครับ (ผลของการ research เรื่อง การเข้าหาลูกค้าของพนักงาน:  https://www.facebook.com/pruxusdesign/posts/pfbid0TFa7DY6Djzf9cHFLfh9MGdQfmzBVEqZtRUoGj3NC6wZ26ivnbw2g2LhBK5uca32Bl  ) -------------------------- 0:00 Intro 1:36 ความสนใจด้าน UX มาจากไหน 4:55 ถ้าได้ลองทำในสิ่งที่เราไม่ชอบ มันก็ดีเหมือนกัน 5:40 ตอนที่เรียนวิชา UX เป็นยังไง 7:32 ศาสตร์ด้าน UX มันตรงกับสิ่งที่ชอบมาก่อนยังไง 8:31 สิ่งที่คาดหวังกับการฝึกงานด้าน UX  9:45 ฝึกงานกับพรักซุส เป็นยังไง 10:28 ที่มาของ Research เรื่องการเข้าหาลูกค้าของพนักงาน 11:40 ได้โจทย์ Research นี้ไป ตอนเริ่มเป็นยังไง 13:00 ที่ต้องใช้เวลาในการทำ Research นี้เป็นเดือน มันยากยังไงบ้าง 15:19 ความยากของการ design survey 16:33 การเขียนภาษาไทย vs อังกฤษ ที่ส่งผลต่อ UX 19:35 ความยากของการหาคนมาเข้าร่วม Research 20:17 ความยากของการทำ grouping ข้อมูล 21:59 ตัวอย่างการ grouping ด้วย Miro 25:36 ความยากของการโทรนัด users  28:39 การลงมือสัมภาษณ์ users (In-depth Interview) 32:22 การฝึกงานนี้ มีอะไรตรงกะที่คาดบ้าง 33:34 การฝึกงาน UX บางที่ เน้นแต่ทำกราฟฟิกกับ UI ไม่เน้น UX 34:58 UX กับ UI อะไรควรเกิดก่อน 38:15 ความเข้าใจผิดว่า คนเป็น UX ต้องอ่านใจ users ได้ 40:23 ถ้ามีน้อง ๆ สนใจงาน UX หรือฝึกงานสายนี้ จะฝากบอกอะไรดี   -------------------------------------------- แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback  #ผักสดพอดแคสต์ #PuxodPodcast #Puxod #UX
1-8-202444 minuten, 43 seconden
Episode Artwork

Ep107 User Testing Common Mistakes สิ่งที่มักทำพลาดบ่อย ๆ ตอนทำ User test (เสวนา UX#17)

Ep นี้เป็น live จากเพจพรักซุสและช่อง Puxod Podcast ทาง YouTube ครับ   ขอชวนมาเม้ามอยกับทีมพรักซุส ใน Live หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการทำ "User Testing" กันครับ โดยหลัก ๆ เราจะพูดถึงการนำดีไซน์ที่ทีมเราสร้างขึ้นมา ไปเทสกับ users เพื่อดูว่า users สามารถใช้งานมันได้แค่ไหนครับ หรือเน้นไปที่การทำสิ่งที่เรียกว่า "Usability Testing" แต่ก็จะมีแตะ ๆ การเทสในส่วนอื่น เช่น Concept Testing คร่าว ๆ ด้วยครับ โดยเนื้อหาหลัก ๆ เราจะมาคุยเกี่ยวกับ common mistakes หรือสิ่งที่คนมักทำผิดกันบ่อย ๆ ที่เราเคยเจอมาจากประสบการณ์ของเรา  เวลาที่พูดถึงการทำ "User Testing" กันครับ เช่น:   - การทำ test เราดู persona ของ users มั้ย และดูยังไง?   - สิ่งที่สำคัญของการไปเทส ก็คือเราจะได้รู้ว่า users คิดยังไงกับระบบเรา ถูกไหม?    - สิ่งที่เราจะได้จากการไปเทสกับ users คือ เราจะได้ solution มาเลย ว่าต้องแก้ดีไซน์ยังไงดี ใช่ไหม?   - เราทำ a/b testing แทน user testing ก็ได้จริงไหม?   - ระบบเราคนใช้งานเป็นหมื่นเป็นแสน ต้องเทสกับคนแค่ไหนดี   - ตอนเทส คนสัมภาษณ์ (moderator) ไม่ต้องจดก็ได้ เพราะเรามีคนที่เป็น note taker อยู่ ให้จดแทนก็ได้    - ฯลฯ **** และถ้าใครมีคำถามอะไรเพิ่มเติม คอมเม้นต์ไว้ใต้โพสต์ได้เลยนะครับ ทางทีมจะรวมรวมมาตอบด้วย (ถ้าเวลาพอครับ 😃)   ********************** 😆🤩 และพิเศษ! ในไลฟ์จะมีแจกโค้ดส่วนลด Think-Aloud Usability Testing Workshop วันเสาร์ที่ 24 ส.ค. นี้ด้วยนะครับ 😆🤩  ********************** ++++++++++++++++++++++++++ รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ) Founder, Design & Research Director  @ Pruxus Design คุณพัท (พงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช) Lead UX  @ Pruxus Design คุณมิ้น (ศศิกานต์ ชาญผดุงสกุล) Senior UX  @  Pruxus Design++++++++++++++++++++++++++
30-7-20241 uur, 25 minuten, 42 seconden
Episode Artwork

Ep106 เบื้องหลังการพัฒนา UX กับระบบภาษีกรมสรรพากร และทีม Ahancer (กับคุณนัทและนุ่น Ahancer)

ช่วงที่ผ่านมาเราน่าจะได้มีโอกาสยื่นภาษีกับระบบยื่นภาษีออนไลน์ของสรรพากร และหลายคนน่าจะได้สังเกตเห็นว่าระบบมันมีการพัฒนา UX ให้ดีขึ้นมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องนะครับ  Ep นี้ เลยชวนคุณนัทและคุณนุ่นจาก Ahancer ที่เป็นหนึ่งในผู้ที่มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้าน UX ของกรมสรรพากร มาเล่าเกี่ยวกับเบื้องหลังที่ได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษา ที่ช่วยผลักดันการทำ UX ให้เกิดขึ้นในกรมสรรพากร ซึ่งก็ส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานของโปรดักส์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ครับ โดย ep นี้มีสิ่งที่เราเม้ากันแล้วน่าสนใจหลายอย่างมาก ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับคนทำ UX ในองค์กรใหญ่ ๆ องค์กรภาครัฐ หรือแม้แต่คนใน agency ที่ทำงาน UX ที่ต้องรับงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ครับกันนะครับ  เนื้อหาที่เราพูดถึง: • การเริ่มต้นเข้าไปร่วมงาน และสิ่งที่ทำให้ทางสรรพากรเริ่มสนใจการทำ UX มากขึ้น • การทำงานกับองค์กรใหญ่ทางภาครัฐ vs เอกชน และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสโคปงาน • การทำ Usability Test กับระบบที่เน้นด้าน Functional และการใช้ wireframe • การใช้ tools ส่งผลต่อการทำงานด้าน UX รวมถึงการเปลี่ยน mindset ของคนทำงาน • เบื้องหลังการปรับปรุงระบบของสรรพากร ที่ทาง Ahancer ได้มีส่วนร่วม เช่น ระบบยื่น VAT สำหรับชาวต่างชาติ, ระบบยื่นภาษีออนไลน์ • Design System เป็นสิ่งที่จำเป็นแค่ไหน • การให้ influencers มาช่วยให้ข้อมูล แทนการ test กับ users จริง Ref: - ตอนที่คุณนัทไปออกกับ UX Thailand: https://www.youtube.com/watch?v=N54h_A8Hwqc - Why You Only Need to Test with 5 Users: https://www.nngroup.com/articles/why-you-only-need-to-test-with-5-users/ - ระบบยื่นภาษีออนไลน์ของสรรพากร: https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ - หนังสือ "ภาษี "บุก" คนธรรมดา"  โดย TaxBugNoms: https://www.naiin.com/product/detail/556013 -------------------------- 0:00 Intro 3:18 จุดเริ่มต้น Ahancer กับสรรพากร 5:18 Community ชื่อ Thai Gov Design 13:58 อย่ามองเป็น Project-based แต่ให้มองเป็น Product-based 15:05 TOR และเอกสาร ทำให้การพัฒนาโปรดักส์ยากขึ้น 17:32 UX Maturity ขององค์กรในช่วงแรก 19:03 การเปลี่ยนองค์กร จำเป็นต้องเริ่มจากจุดบน 19:43 โปรเจ็คแรก เว็บให้แม่ค้าออนไลน์ตรวจสอบเรื่องจด VAT 22:39 Tips - ทีม UX ใหม่ ๆ ควรเริ่มกับสิ่งที่ cost น้อย ๆ ผลกระทบน้อย ๆ 23:49 แก้ปัญหาไฟไหม้ 25:56 โปรเจ็ค ภาษีสำหรับชาวต่างประเทศ 25:51 อันแรกจริงๆ ที่เค้าให้เข้าไป คือภาษีสำหรับชาวต่างประเทศ 29:49 Test กับ users ใช้แค่ wireframe ขาวดำก็ได้ 31:43 การเปลี่ยน tools ในการทำงาน ก็สร้าง impact ได้  32:47 PowerPoint สร้างปัญหาในการสื่อสาร UX Design ได้ 36:32 ทีมงานสรรพากรทำเอง กับความสำคัญของ infinite space 37:18 Office space ก็ส่งผลต่อการทำ UX  38:02 การทำ User Journey ช่วยเปลี่ยนมุมมองของทีมในการทำงาน 39:13  ความแตกต่างระหว่างโปรเจค ภาครัฐ vs เอกชน 41:23 งานตอนที่ ux ทำ vs เวลาที่จะได้ออกจริงสู่ตลาด  41:42 ระบบยื่นภาษีออนไลน์ e-Filing 43:23 90/91 จุดที่คนทั่วไปยื่นภาษีแล้วงงประจำ แต่มันไม่ได้แก้ง่ายขนาดนั้น 43:49 บุคคลธรรมดา เป็นแค่ users กลุ่มหนึ่ง แต่มี users อีกหลายกลุ่มที่ต้องคำนึงถึง 46:25 การแก้ design เรื่อง ข้อมูลเงินได้บุคคล 51:30 แก้ไม่ได้ ไม่ได้แปลว่า แก้ไม่ได้ เสมอไป 53:59 หน้าจอ 90/91 เวอร์ชั่นก่อน vs ปัจจุบัน 54:57 หลายหน่วยงานดูแลทับซ้อนในระบบเดียวกัน  ก่อให้เกิดปัญหาการใช้งานได้ 57:27 Users คนละกลุ่ม อาจะมองของสิ่งเดียวกัน คนละแบบ 58:57 Design System อาจไม่ได้สำคัญขนาดนั้ น 1:02:18 ควรเน้นการเข้าใจ users จัดวาง info ให้ดี ก่อน 1:06:24 การให้ influencers มารีวิวระบบ ใช้แทนการ test กับ users 1:09:55 แต่ influencers ก็ไม่ใช่การ test กับ users จริง 1:12:36 2 วิธี ถ้าเราอยากจะใช้ influencers ใช้ยังไงดี 1:14:18 Key takeaways สำหรับคนที่อยู่ในองค์กรใหญ่ ๆ หรือทำ UX --------------------------------- แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback #ผักสดพอดแคสต์ #PuxodPodcast #Puxod #UX
29-5-20241 uur, 22 minuten, 30 seconden
Episode Artwork

Ep105 สิ่งที่ผมเรียนรู้จาก 15+ ปี กับประสบการณ์ทำ Usability Testing (เพิ่มเติมจาก UX Thailand)

(Ep นี้มีเป็นวีดีโอที่น่าจะช่วยให้เห็นภาพคลิปตอนทำ Usability Testing ได้ชัดเจนขึ้น ที่ดูได้ทาง YouTube ครับ: https://youtu.be/8uJYbzxcKHY)   Ep นี้ชวนมาเม้าท์มอยเรื่องการทดสอบการใช้งานกับผู้ใช้ หรือ "Usability Testing" ครับ เนื่องจากเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้ไปเป็น speaker ในงาน UX Thailand Conference 2024 ครับ และหัวข้อที่พูดตอนนั้นก็คือเรื่องสิ่งที่ผมเรียนรู้จากการทำ Usability Testing มา 15+ ปี และ key learning ที่สำคัญมีอะไรบ้างครับ Ep นี้เลยอยากจะเอาเนื้อหาบางส่วนจากใน talk มาแชร์ (แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เนื่องจากตัวเต็มจะเป็นของที่ UX Thailand อัดไว้) และจะมีเนื้อหาเพิ่มเติมอีก 2 ข้อจากตอน talk ครับ ซึ่งคิดว่าไม่ใครที่ใหม่กับเรื่อง Usability Testing หรือมีประสบการณ์ในการทำมาพอสมควร ep นี้ก็น่าจะมีประโยชน์ได้กับคนสองแบบครับ --------------------------   Ref: ปุ่ม 300 ล้าน โดยคุณ Jared Spool: https://www.youtube.com/watch?v=kXofzEqckVA Why You Only Need to Test with 5 Users: https://www.nngroup.com/articles/why-you-only-need-to-test-with-5-users/  การทำ Concept Testing จาก Quick & Dirty Research Tips : https://www.youtube.com/watch?v=HunuVtBgiNA   Workshop เรื่องการทำ Usability Testing และ Paper Prototype ที่จะเปิดช่วง Q3 /2024: https://www.facebook.com/events/788711399958959/ (Workshop วันเสาร์ที่ 24 ส.ค. 2567, เปิดขายบัตร 22 ก.ค. 2567)   ----------------------  0:00 Intro 1:25 (ประชาสัมพันธ์) จะมี Online course ของผักสดพอดแคสต์ 2:12 เกี่ยวกับ UX Thailand Conference และ Usability Testing 04:02 แล้วทำไมถึงใช้คำว่า "Usability" Testing 06:17 Usability Testing เอง ก็มีหลายแบบ 07:01 Value จริง ๆ ของการที่เราเอา users เข้ามาเทสแล้วดูไปด้วย 07:35 "Think-aloud" คืออะไร 08:27 เราต้องไม่นั่งถามคำถาม users ตลอดการ test 08:50 โจทย์ ในการทำ Usability Testing 10:00 ทำไมเราไม่ควรใช้แต่ automated tools ในการ test 10:34 Qualitative และ Quantitative research 11:19 Data แบบตัวเลข ไม่ลึกเพียงพอ 14:36 ทำ Usability Test ต้อง test กับ users กี่คน? 15:00 ตัวอย่าง เว็บสายการบิน ทำ survey 17:40 ตัวอย่าง ทำ Usability Testing กับเว็บสายการบิน 22:55 จากปสก.ทำ Usability Testing มาเกือบ 20 ปี Usability Testing ก็ยังเป็น no.1 23:17 ใครที่ไม่ต้องทำ Usability Testing ก็ได้ และใครควรต้องทำ 24:10 ทำ Usability Testing ต้องทำแบบถูกต้องด้วย 26:18 Usability Testing คนรันต้องระวังการสปอยด์ให้ users 27:28 Key value ที่สำคัญที่สุด - สร้าง Empathy และ convince คน 30:35 สรุปสิ่งที่เรียนรู้ 3 ข้อ ที่พูดมา 32:39 4.เราไม่จำเป็นต้องทำ Usability Test ตลอดเวลา 34:35 5.ไม่ควรรอจน dev เสร็จแล้วค่อย Test 36:41 Paper Prototype 38:19 (ประชาสัมพันธ์) Think-aloud Usability Testing Workshop ตอน Q3   -----------------------   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback #ผักสดพอดแคสต์ #PuxodPodcast #Puxod #UX
1-5-202440 minuten, 10 seconden
Episode Artwork

Ep104 เมื่อทีม UX ตั้งใหม่ เริ่มทำ User Research (กับกันและปอนด์ Yuanta)

ช่วงปลายปีที่แล้ว-ต้นปีนี้ ทางทีมพรักซุสได้มีโอกาสไปช่วย train น้อง ๆ ทีม UX จากบริษัท Yuanta Securities เกี่ยวกับการทำ User Research ครับ ซึ่งกันและปอนด์ก็เป็น UX designer/researcher 2 คนแรกของบริษัทในทีม UX ที่พึ่งตั้งขึ้นมาครับ เลยชวน 2 คนนี้มาเม้าท์เกี่ยวกับประสบการณ์การทำ research ในฐานะมือใหม่ ทีมใหม่ และองค์กรที่ใหม่กับเรื่องการทำ research และสิ่งที่ 2 คนนี้มองว่ายาก และสนุกในการทำ research ในองค์กรครับ รวมไปถึงสิ่งที่ทางพรักซุสได้ช่วย train ทักษะด้านการทำ research ที่เพิ่มเติมจากสิ่งที่ทั้ง 2 คนเคยอ่านเองแล้วลงมือทำในช่วงก่อนหน้าครับ Ref: เว็บไซต์ Yuanta: https://www.yuanta.co.th/ เพจ Yuanta: https://www.facebook.com/yuantathai/   ------------------ 0:00 - Intro 1:13 - บริษัท Yuanta Securities ทำอะไร 1:59 - Yuanta เริ่มตั้งทีม UX ขึ้นมาทำไม 4:40 - ปสก.ลงมือทำ Research กันเองตอนแรก 11:13 - ทำไมถึงติดต่อพรักซุสเข้าไปช่วยเทรน 13:57 - พอมีพรักซุสเข้ามาช่วย train เป็นยังไง 17:55 - การเทรน 3 เดือนกับการฝึกครบ loop ทำ research 19:13 - สิ่งที่ยาก ของการฝึกฝนทำ research 19:45 - ความยากของการคัดคนเข้ามาสัมภาษณ์ 24:00 - ความยากของการลงมือสัมภาษณ์ 28:34 - ความยากของการสรุป data ที่ได้ 34:50 - การ train research process มีอะไรที่ตรงกับที่ตอนแรกคาดบ้าง 35:46 - ความสนุกของการทำ research 37:21 - Research จำเป็นจริงไหม ทำ survey แทนได้ปะ 40:18 - Next step ของทีม UX Yuanta 42:30 - ฝากสุดท้าย ------------------     แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback ถ้าสนใจ service ทางด้าน UX สามารถติดต่อทางทีมพรักซุสได้ที่เพจครับ: https://www.facebook.com/pruxusdesign 
22-4-202443 minuten, 44 seconden
Episode Artwork

Ep103 เสวนา UX16 - Quick & Dirty Research Tips สิ่งที่ควรระวังของมือใหม่/ทีมใหม่ เริ่มทำ Research

ห่างหายไปนานกับ live กับทางพรักซุสนะครับ 😄 คราวนี้เรากลับมากับหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการทำ User Research กับ "Quick & Dirty Research Tips" สำหรับคนที่เป็นมือใหม่ด้าน user research หรือทีม UX ใหม่ในองค์กรที่กำลังอยากจะเริ่มทำ User Research แต่ไม่รู้ว่าจะทำ Research อะไรแบบไหนยังไงได้บ้าง ที่ไม่ต้องใช้ cost เยอะ แต่ก็ได้ผลลัพธ์ที่พอใช้ได้ในการช่วยเอาไปพัฒนาโปรดักส์ต่อครับ   โดยครั้งนี้ก็มีแขกรับเชิญคือคุณยศและคุณแจน ที่ทั้งคู่ก็ได้มีประสบการณ์การทำ research กับทั้งในองค์กรที่ยังใหม่กับการทำ research และกับองค์กรที่มี practice การทำ research ที่มากมาย ซึ่งเราก็จะมาแชร์เกี่ยวกับสิ่งที่คนมักจะเข้าใจผิดหรือทำผิด และ tips ที่แนะนำเพื่อการทำ research แบบ quick & dirty ที่ดียิ่งขึ้นครับ 😄   ++++++++++++++++++++++++++   รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ) Founder, Design & Research Director @ Pruxus Design   คุณยศ (ยศ ลี่วัฒนายิ่งยง) Former Lead UX @ Krungsri Auto   คุณแจน (วิภาดา เจตสันติ์) Head of Product Design @ Truemoney   คุณมีน (วรัต จงกลรัตน์) UX Design & Research Consultant @ Pruxus Design   ++++++++++++++++++++++++++
21-4-20241 uur, 32 minuten, 11 seconden
Episode Artwork

Ep102 เคล็ดลับที่คน UX ไม่รู้ จริง ๆ เราไม่ต้องทำ Research ก็ได้!

การทำ User Research เอย Usability Testing เอย จริง ๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่เสีย cost และเสียเวลามากเลยนะครับ ยิ่งถ้าเรามองในมุม business เราไม่ได้สร้างโปรดักส์ให้ users อย่างเดียว แต่เราสร้างมาเพื่อทำเงินให้องค์กร ดังนั้นจะดีไหมถ้าเราไม่ต้องไปทำมันหรอกครับ User Research/Usability Testing อะไรพวกนี้ รีบ ๆ สร้างโปรดักส์กันดีกว่า Ep นี้จะแชร์เกี่ยวกับเคล็ดลับในการสร้างโปรดักส์ที่คน UX ไม่รู้กันครับ ว่าเราสามารถสร้างโปรดักส์ด้วยวิธีที่เร็ว ๆ ประหยัด ๆ กว่าได้ครับ และจริง ๆ แล้วคน UX ควรเลิกคิดจะทำแต่รีส่งรีเสิชกันได้แล้ว   ปล. ด้านบนนี้คือ April's Fool นะครับ 😆 แต่ก็จะมีพูดถึงเกี่ยวกับว่าเมื่อไหร่ที่เราอาจจะไม่ต้องทำ Research ก็ยังพอได้ครับ
1-4-202410 minuten, 28 seconden
Episode Artwork

Ep101 ทำไมบางโปรดักส์ใช้ก็ง่าย แต่คนไม่ใช้? (Rewards vs Effort)

ทำไมบางโปรดักส์หรือบริการ ที่เราตั้งใจออกแบบให้ใช้ได้ง่ายแล้ว แต่คนกลับไม่ใช้? หรือบางทีบางโปรดักส์ใช้ยากมาก แต่คนก็ยังทนใช้อยู่?   Ep นี้จะมาคุยถึง concept ของเรื่อง “Rewards vs Effort” หรือ สิ่งที่ users ได้ vs แรงที่ users ต้องเสียไป กว่าได้ rewards นั้นมาครับ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่คนสร้างโปรดักส์ควรเข้าใจ แลควรต้องพยายามบาลานส์ระหว่าง 2 ด้านนี้ให้ได้ เพราะว่าถ้า rewards เราน้อย ถึงโปรดักส์จะใช้ง่ายแค่ไหน คนก็อาจจะไม่ใช้ หรือในทางกลับกัน บางโปรดักส์มี rewards สูงมาก users ก็อาจจะยอมทนใช้งานได้ ถึงแม้มันจะใช้ยากมากมายก็ตาม    ซึ่งมันก็ไม่ใช่ว่าเราก็ควรจะปล่อยให้มันเป็นแบบนั้นต่อไปครับ เพราะสุดท้ายถึง users จะใช้งานกันเยอะ มันก็ไม่ได้แปลว่ามันดีต่อองค์กรเสมอไป
12-3-202418 minuten, 45 seconden
Episode Artwork

Ep100 - Recap และแนะนำ ep ที่ไม่ควรพลาด

ผักสดพอดแคสต์ครบ 100 ตอน! Ep นี้เลยชวนมิ้นและมีนทีมพรักซุส มาเม้าท์เกี่ยวกับ 4 ปีกับ 100 ตอนที่ผ่านมาครับ และแนะนำ Ep ที่ไม่ควรพลาด สำหรับผู้ฟังผู้ชมที่พึ่งมาติดตามเราไม่นานและไม่แน่ใจว่าควรเริ่มฟังที่ Ep ไหนดีบ้างครับ  และรบกวนคุณผู้ฟังช่วยทำ survey สั้น ๆ (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที) เกี่ยวกับผักสดพอดแคสต์ เพื่อให้เราเข้าใจผู้ฟังได้ดียิ่งขึ้น และทำคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ตรงใจมากขึ้นครับ :D . Link ไป survey: https://forms.gle/x1tD6dTV8nAyqT6z6 . . ---------- เนื้อหาใน Ep นี้ (Ep นี้ มีเวอร์ชันวีดีโอ สำหรับบน Youtube นะครับ: https://www.youtube.com/watch?v=voM22q9f3nc )   00:00 - Intro 12:29 - Ep สำหรับ UX ที่เป็นมือใหม่เลย 13:57 - ซีรี่ย์เกี่ยวกับ user needs Ep7 Useful and Usable     Ep40 How ux really works by Jeff Patton 18:16 - Ep นี่เหมาะกับ UX ที่ทำงานมาแล้วระยะนึง กับสิ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน        Ep73 การออกแบบ UX ทั้ง 4 ขั้น UX Design Pyramid 20:39 - สำหรับคนที่ทำ UX research     Ep23 Intro to User Research Ep26 "Understand" Research Methods     Ep27 "Test" Research Methods 21:44 - Design Thinking vs UX และ Understand-Create-Test framework     Ep16 How We UX Company Uses Design Thinking - Understand - Create - Test 23:06 - Ep สำหรับสาย Design     Ep74 - Beauty is a sin     เริ่มที่ Ep24 เสวนา UX 3 - Intro to Heuristics พื้นฐานของการสร้างของให้ใช้ง่าย     Ep81 จะวิเคราะห์/วิจารณ์ design ในแง่ UX ควรเป็นอย่างไร? 27:21 - Ep สำหรับสาย business     Ep3 ทำไมธุรกิจถึงต้องสนใจ UX?     Ep22 UX ส่งผล ต่อธุรกิจและเงินอย่างไร (กับเบียร์พรักซุส)     Ep70 ทำ UX ไปก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มรายได้องค์กร แล้วจะทำไปทำไม?     Ep12 เพิ่มปุ่มเดียว ยอดขายขึ้น 300 ล้านดอลล่าร์ - The $300 million button 33:28 - Ep57 58 59 61 - NPS 36:47 - Ep ที่พี่พิจชอบเองและอยากแนะนำ     Ep63 - เมื่อผมโดนโจรหลอกตอน f ต้นไม้ และปัญหา usability     Ep72 บัตรเลือกตั้งผู้ว่ากทม. และปัญหา usability 39:20 การสมัครงานด้าน UX     Ep45 เสวนา UX 8 - Common Mistakes in Finding a UX Designer     Ep48 เสวนา UX 9 Common Mistakes in finding a UI designer     Ep98 6ข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อย ของคนสมัครงานสาย UX   -------------------------- แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback #ผักสดพอดแคสต์ #PuxodPodcast #Puxod #UX
3-3-202445 minuten
Episode Artwork

Ep99 เมื่อคนสายศิลป์ ย้ายมาทำ UX (กับเอกพรักซุส)

Ep นี้ผมชวนเอก ที่เป็น Junior UX Researcher ที่ทำงานมา 1 ปีที่พรักซุส  มาเม้าท์ให้ฟังเกี่ยวกับประสบการณ์ของคนที่มาจากสายศิลป์ เรียนจบสายเกี่ยวกับภาษา และทำงานด้านที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ UX มาก่อนเลย แถมไม่เคยมีแบ็คกราวน์ด้าน tech ด้วย แต่ได้เข้ามาทำงานในสาย UX ว่าเป็นยังไงบ้างครับ ตั้งแต่ความสนใจด้านสาย UX เริ่มมาจากไหน, มีการเตรียมตัวก่อนจะย้ายสายมาอย่างไรบ้าง รวมถึงประสบการณ์หลังจากทำงานมา 1 ปีว่าเป็นยังไงบ้าง มีอะไรที่ตรงและไม่ตรงกับที่คาด รวมถึงสิ่งที่เป็น challenge ของคนที่มาจากสายศิลป์แบบเอกว่ามีอะไรที่ยากเมื่อย้ายมาทำงานด้านนี้บ้าง    
6-2-202430 minuten, 56 seconden
Episode Artwork

Ep98 6ข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อย ของคนสมัครงานสาย UX

Ep นี้ชวนน้องมีนทีมพรักซุส มาเม้าท์เกี่ยวกับข้อผิดพลาดที่คนสมัครงานด้าน UX มักจะทำกันบ่อยครับ ทั้งที่มาจากที่เราเคยเห็นเอง และจากที่ได้ฟังจาก head หรือ lead ux จากองค์กรต่าง ๆ ครับ โดยเราจะคุยเกี่ยวกับลักษณะของคนสาย UX ที่ดีที่เราและองค์กรต่าง ๆ มักจะต้องการ และข้อผิดพลาดทั้ง 6 ข้อที่มักจะเจอกันบ่อย ๆ ครับ (หมายเหตุ Ep นี้ไปอัดกันนอกสถานที่ เสียงรบกวนอาจจะดังพอสมควรครับ ต้องขออภัยไว้ก่อนนะครับ)   ข้อผิดพลาด 6 อย่าง:   1.การเขียนอีเมล มารยาทเขียนเมลที่ไม่ค่อยดี หรือมาแบบลอย ๆ ไม่มี intro แนะนำอะไรเลย การก๊อป template อีเมลแปะมา ที่ดีเว่อวังและไม่ธรรมชาติ เห็นปุ๊บรู้เลยว่าก๊อปปี้มา   2.สาดทุกอย่างที่มี ส่งมาเยอะ ส่งทุกอย่างในชีวิตที่เคยทำ   3.wireframe เต็มไปหมด มาแบบแปะ wireframe ทั้งหมดที่เคยทำ แต่มาแบบเล็กมากจนอ่านไม่ได้ ไม่เห็นดีเทล   4. ความละเอียดละออ, attention to details การสะกดคำ การตั้งชื่อไฟล์ etc.   5. ขาดการอธิบาย thinking เบื้องหลังของดีไซน์ที่ทำ สิ่งสำคัญเลย คืออยากรู้ว่า คิดได้โอเคไหม กระบวนการคิด การเขียนอธิบายสำคัญมาก   6.เน้นความฟู่ฟ่า แต่ไม่ลึก เช่น ทำ website หรือใส่ technology, อะไร wow ๆ เยอะ แต่พวก basic กลับพัง เช่น ลิงค์พัง, structure ข้อมูลงงมาก
21-1-202419 minuten, 55 seconden
Episode Artwork

Ep97 จะใช้ OKR กับเป้า UX ยังไงดี - 2. กับทีม UX

Ep นี้จะมาคุยต่อจาก Ep ที่แล้ว ในการนำ OKR มาตั้งเป้าด้าน UX ซึ่งก็จะขอโฟกัสไปยังภายในทีม UX ครับ เพราะหลาย ๆ องค์กรในไทยก็ยังไม่ได้มีการมองเรื่อง UX ในระดับทั้งองค์กรกันเท่าไหร่ และทีม UX ก็มักจะเป็นทีมที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการผลักดันเรื่องการมองลูกค้า/users เป็นศูนย์กลาง ดังนั้นทีม UX เหล่านี้อาจจะสามารถตั้ง OKR เรื่อง UX ได้แค่กันเองในทีมครับ ก็อาจจะเริ่มจากสิ่งที่พูดถึงใน Ep นี้ก่อนก็ได้ครับ  และก็จะขอพูดถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเจอมา ที่การตั้งเป้าของทีม UX ที่กลับไม่ได้ช่วยให้องค์กรสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าได้จริง แต่กลับให้ผลตรงข้าม และเราควรต้องระวังกันครับ
14-1-202426 minuten, 46 seconden
Episode Artwork

Ep96 จะใช้ OKR กับเป้า UX ยังไงดี - 1. ระดับองค์กร

Ep นี้จะมาคุยถึงการนำ OKR มาตั้งเป้า UX กันครับ โดยจะขอแบ่งเป็นสอง ep โดย ep นี้จะพูดถึงเป้า UX ในแง่ของทั้งองค์กรก่อน ซึ่งการจะตั้ง OKR ด้าน UX ที่ดีได้นั้น ต้องเริ่มจากการเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการทำ “UX” ก่อนว่าการทำ UX มีเพื่ออะไร เพื่อที่เราจะได้วาง O ที่ถูกต้อง และไม่ได้ตั้งเป้าที่เราคิดว่าเพื่อ UX แต่จริง ๆ แล้วกลับเป็นเป้าด้านธุรกิจอย่างเดียวจนเกินไป จากนั้นเราค่อยหาวิธีวาง KR ที่วัดผลได้ในแง่ UX ต่อไปครับ     Ref: https://uxcel.com/guides/ux-team-management/okrs#:~:text=to skyrocket outcomes.-,Understanding UX OKRs,progress towards those goals quantitatively. https://uxplanet.org/okr-and-ux-examples-and-resources-4c4ac8f43d55 https://articles.centercentre.com/how-ux-outcomes-make-a-teams-daily-work-truly-human-centered/
19-12-202321 minuten, 32 seconden
Episode Artwork

Ep95 Outcomes over Output - 2 คำที่หมายถึงงานที่ทำ แต่ความหมายต่างกันมาก

เวลาที่เราพูดถึงคำว่า “ผลลัพท์” หรือเราอยากจะพูดถึงการวัดผลของทีมงาน หลายครั้งที่เราวัดผลไปที่สิ่งที่เรียกว่า “Outputs” มากกว่า “Outcomes” ซึ่งมันทำให้ทีมงานทำงานไปมากมาย แต่สุดท้ายก็วนอยู่กับที่ ไม่สามารถสร้าง impact ที่ต้องการจริง ๆ ได้ ep นี้เลยอยากจะชวนมาคุยถึงความแตกต่างระหว่าง 2 คำนี้ครับ และเราควรดูยังไงว่าสิ่งทีเราทำ มันโฟกัสไปที่ Outcome มากกว่า Outputs จริง ๆ เพราะหลายครั้งเรามองแค่เป้าคือการเกิด “Outputs. อะไรบางอย่าง เช่น สร้างแอปเสร็จ, ทำ 10 features เสร็จ แค่นั้น แต่ไม่ได้มองไปยังปลายทางที่แท้จริง ซึ่งมันเลยทำให้หลายองค์กรเสีย cost มากมายแต่ไม่เกิดประโยชน์อะไรกลับมา โดยเนื้อหาหลัก ๆ จะมาจากหนังสือชื่อ “Outcomes over output” ของคุณ Joshua Seiden ครับ Ref: https://medium.com/creating-a-ux-strategy-playbook/shifting-our-team-goals-to-be-ux-outcomes-4ae526975bf3#:~:text=While outputs represent the effort,to outcomes with business outcomes. https://www.amazon.com/Outcomes-Over-Output-customer-behavior/dp/1091173265
25-11-202318 minuten, 37 seconden
Episode Artwork

Ep94 การตั้งเป้าด้วย KPI และ OKR

จาก ep ก่อนหน้า เราพูดถึงการวัดผล UX ด้วย metrics ต่าง ๆ ไปแล้ว ep นี้จะมาต่อยอดคุยถึงการ “ตั้งเป้า” ครับ แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงการนำสิ่งที่เราวัดผลด้าน UX ไปโยงกับเป้า อยากจะขอพูดถึงคำ 2 คำที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ นั่นคือ “KPI” และ “OKR” ว่ามันคืออะไร และแตกต่างกันยังไงบ้าง ก่อนที่จะโยงเข้าสู่การนำไปใช้กับ UX metrics ในตอนต่อไปครับ     Ref: ทุกเรื่องที่อาจยังไม่เคยรู้ของ OKR จาก ศ.ดร.นภดล: https://www.youtube.com/watch?v=VhJMrWxO9k8   Nopadol Story https://nopadolstory.com/measurement/okrs/
17-11-202321 minuten, 28 seconden
Episode Artwork

Ep93 ระวังสับสนกับคำว่า การวัด 3 คำนี้ (Measures, Metrics, Analytics)

Ep นี้จะมาต่อเรื่องการวัดผล UX ด้วยการชวนคุยเกี่ยวกับคำว่า “วัด” 3 คำที่คล้าย ๆ กันครับ คือ Measures, Metrics และ Analytics ซึ่งจริง ๆ แล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน และปัญหาที่มักจะเกิดกับการวัดผล UX ที่ไม่ได้สื่อถึงประสบการณ์ของ users จริง ๆ มันก็เพราะคนยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง 3 คำนี้ดีพอ ก็เลยสับสนและไปวัดในสิ่งที่ไม่ได้สื่อถึง ux จริง ๆ ของโปรดักส์ครับ และบางครั้งการวัดผลผิด ๆ นี้ ทำให้ทีมสร้างโปรดักส์เข้าใจผิด และยิ่งทำให้โปรดักส์แย่ลงไปเรื่อย ๆ อีกครับ 3 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร ทำไมเราไม่ควรวัดผล ux ด้วยการพึ่งแต่ "analytics" แต่อย่างเดียว อย่างค่า bounce rate (หรือ users กดเข้ามาเว็บเราหน้าเดียว แล้วกดออก) ค่าที่สูง ไม่ได้แปลว่าประสบการณ์การใช้งานแย่เสมอไป กลับกันบางที bounce rate ต่ำ แปลว่าประสบการณ์แย่ ด้วยซ้ำ การวัดผล users ด้วย analytics อย่างเดียว ก็เหมือนกับเวลาเราพยายามง้อแฟน แต่ไม่ถามแฟนตรง ๆ แต่เอาแต่นั่งสังเกตแฟนแต่ภายนอกอย่างเดียว แล้วเราควรวัดยังไงแทนดี?   Ref: https://articles.uie.com/your-necessary-first-step-to-creating-powerful-ux-metrics/ บทความจาก nngroup เรื่อง bounce rate: https://www.nngroup.com/articles/return-visits-not-bounce/
17-6-202322 minuten, 7 seconden
Episode Artwork

Ep92 ถ้าเราอยากจะ user test บัตรเลือกตั้งปี 2566?

เลือกตั้งปี 2566 พึ่งจะจบไป แต่มีเรื่องนึงที่ยังค้างคาใจ คือเรื่อง design ของบัตรเลือกตั้ง ที่หลาย ๆ คนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามันทำให้เกิดความสับสนในการเลือกครับ บวกกับมีพรรคเล็ก ๆ อันดับที่ 1-6 ติดกันเลย ที่ได้ปาร์ตี้ลิสต์เข้ามาพรรคละ 1 คนเท่ากับพรรคที่ดังกว่ามาก ซึ่งก็มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดจากการที่คนกาบัตรผิด เพราะ design ของบัตรมันก่อให้เกิดปัญหาหรือเปล่า? ep นี้เลยอยากลองชวนมาคิดกันเล่น ๆ ครับ ว่าอย่าง design ของของง่าย ๆ อย่างบัตรเลือกตั้งนี่ เราสามารถทำ “User Test” หรือ “Usability Test” มันได้ไหม และมันจะช่วยลดปัญหาเรื่องบัตรที่ทำให้คนกาผิดได้ยังไงบ้าง และถ้าจะทำ User Test จริง ๆ เราสามารถ test ประมาณไหนได้บ้าง และ test กับ users ซักกี่คนดี? เริ่มทำ user test ควรต้องเริ่มจากมี hypothesis หรือสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหาการใช้งานบางอย่าง จะเริ่มทำ มีสองเรื่องที่ต้องคำนึง คือ test กับ users แค่ไหน test ยังไง สัมมนาออนไลน์กับ Thai Gov เรื่องการทำ Usability Testing วันที่ 31 พ.ค. (ถ้าใครมาฟังวันหลังจากนี้ เค้าน่าจะมีโพสต์ทิ้งไว้นะครับ): https://www.facebook.com/pruxusdesign/posts/pfbid02rEtnuLVX2ovt6TGoZYsG5SoTfmM4xWSneHScgFWSD72CQo9jp2yB4XWKisR2XS7El คลิปวิเคราะห์ช่อง Loy Academy - ซื้อเสียง 2 ล้านใบ เกิดส้มหล่นให้สส.ปัดเศษ 6 พรรค https://www.youtube.com/watch?v=t5NejEAdWlE บทวิเคราะห์หากมีการซื้อเสียงจริง จะส่งผลต่อคะแนนpartylistพรรคเล็กอย่างไร: https://web.facebook.com/unidentified.vacuum.u/posts/pfbid02mcLgVgeJRAEnUszwUzVzupPRy32nrBAQttwurNStBLVJSGJ3HrZEEz25PwmVSKbml
30-5-202322 minuten, 56 seconden
Episode Artwork

Ep91 วิเคราะห์ UX ของการเลือกตั้งล่วงหน้า 2566

วันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา เราได้มีการเลือกตั้งล่วงหน้ากัน และก็มีข่าวเกี่ยวกับปัญหาของการเลือกตั้งล่วงหน้านี้ออกมาเต็มไปหมดนะครับ ซึ่งปัญหาส่วนมากก็คือเรื่อง usability problems ทั้งนั้น ep นี้เลยอยากจะมาเม้าท์มอยเกี่ยวกับเรื่องปัญหาเหล่านี้ในมุมมองด้าน UX และ usability กันครับว่าที่มันเป็นปัญหาเพราะการ design flow มันไม่ตรงกับหลักการ usability ในเรื่องอะไรบ้าง และอยากเชิญชวนให้ทุกคนที่ยังไม่ได้เลือกตั้งล่วงหน้า ไปเลือกตั้งกันในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค.นี้กันด้วยนะครับ อย่าลืมจำข้อมูล 3 อย่าง: พรรคที่อยากเลือก และโลโก้ของพรรคนั้น เลขของผู้สมัครสส.เขตบ้านเรา ที่เราอยากเลือก เลขเขตบ้านเรา ว่าบ้านเราอยู่เขตเลือกตั้งที่เท่าไหร่     Post เกี่ยวกับการสะกดผิดเกี่ยวข้องกับ ux อย่างไร ที่เพจพรักซุส https://www.facebook.com/pruxusdesign/posts/pfbid02NaG2M8TcBsd6FKwHhmyWd3KFviA95NKm4y3gGsFNnpFBcsGQDoemzRCCRs6mqP1xl   ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครแต่ละเขต: https://www.sanook.com/news/8819506/   ตรวจสอบเขตเลือกตั้งของคุณ: https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/
12-5-202328 minuten, 42 seconden
Episode Artwork

Ep90 จะวัดผล UX ให้เริ่มที่ Key Use

ต่อเนื่องจาก ep.88 Vanity Metrics ep นี้จะมาคุยกันว่า แล้วเราควรจะวัดผลเกี่ยวกับประสบการณ์ของโปรดักส์หรือวัดผล UX ยังไงดี ซึ่งสำหรับการวัดผลโปรดักส์ของเราเพื่อการนำไปพัฒนาต่อนั้น เราควรวัด actionable metrics หรือวัดเป็นช่วงเวลา ไม่ใช่วัดแค่ค่าที่บวกสะสมมาเรื่อย ๆ (cumulative) แต่ถึงจะเป็น actionable metrics แล้ว แล้วเราจะวัดค่าอะไรดี? สิ่งที่เราควรวัด ควรเป็นสิ่งที่เรียกว่า “Key use” ของโปรดักส์เรา ซึ่งก็จะแตกต่างจากโปรดักส์อื่นครับ   Post เกี่ยวกับการเลือกค่าวัดผลที่เพจพรักซุส: https://www.facebook.com/pruxusdesign/posts/pfbid035AVogTF8pEDYuHaDMpWXT92Mt4G2q2VSkeQPzzn45DTCG5v2188z9jrU7vsUS6ryl https://www.facebook.com/pruxusdesign/posts/pfbid0UAieuezyjSs8qEDPQhCbAhaKYsfRCE4xVDzznafu3sMrK99V2izafZjYsJLhCosCl Ref. from Kate Rutter : https://www.youtube.com/watch?v=iMt46LMTBzc
4-5-202317 minuten, 38 seconden
Episode Artwork

Ep89 ผักสดอาม่า 1 - ของที่เยอะ ๆ งง ๆ

ซีรีย์ไลฟ์จากเพจ Pruxus Design ใหม่ครับ ตอบคำถามที่มาจากผู้ชมทางบ้าน "ผักสดอาม่า"  (Puxod AMA-Ask Me Anything)   ตอนที่ 1 - ของที่เยอะ ๆ งง ๆ เราจะมานั่งตอบคำถามจากทางบ้านกันครับ โดยตอนที่ 1 นี้จะเป็นคำถามเกี่ยวกับ "ของที่เยอะ ๆ จน งง ๆ" ครับ     แอปที่เยอะ: - เคยเห็นบางบริษัท ชอบสร้างแอปออกมาเยอะมากเลย บางทีก็งง ไม่แน่ใจว่าแอปไหนเป็นแอปไหน แบบนี้มันดีไหมคะ ทำไมเค้าถึงทำแบบนั้น - แล้วระหว่างการทำแอปเยอะ ๆ กับการทำแอปเดียวครอบจักรวาล (Super app) แบบไหนดีกว่า     งานดีไซน์ของทีม UX ที่เยอะ: - รู้สึกว่าพักหลังๆ UX จะไม่ค่อยเน้นความสวยงามเท่าไหร่ ในฐานะคนที่ทำงานสายดีไซน์เลยรู้สึกแปลก ๆ ละเหมือนงานมันจะออกมาดูรก ๆ ขึ้น จะทำยังไง - เคยได้ยินว่า UI ทำหน้าจอสวยงาม แต่ UX ไม่ได้สนใจสวยงามเท่าไหร่ แล้ว UX designer เค้าออกแบบอะไร - ไม่ทำ UX แต่ออกแบบไปเลยได้ไหม     -ข้อมูลอื่น ๆ ที่เยอะ: - ต้องปรับปรุงเว็บไซต์บริษัทใหม่ที่โดนคนบ่นว่าใช้ยาก และมีข้อมูลเยอะมาก ควรเริ่มยังไงดี - ทำรีเสิร์ชมา มีข้อมูลเยอะเลย มีวิธีการเล่าผลยังไงให้หัวหน้าฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย ๆ
24-4-202349 minuten, 49 seconden
Episode Artwork

Ep88 Vanity Metrics - การวัดผลอวยตัวเองที่เราต้องระวัง

เวลาที่ตั้งเป้าวัดผลว่าโปรดักส์เราเป็นยังไง สิ่งหนึ่งที่คนชอบใช้วัดผลกันบ่อยมากก็คือ “Vanity Metrics” หรือค่าที่อวยตัวเราเองครับ เช่น ยอดดาวน์โหลด, จำนวน users ที่สมัครสมาชิก, ยอดไลค์, ฯลฯ ซึ่งการที่เราคอย track ค่าเหล่านี้เสมอ ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ถ้าเรานำไปใช้ตั้งเป็นเป้าหมายของทีมสร้างโปรดักส์ หรือทีม UX มันจะส่งผลเสียอย่างมากมายได้ครับ   ep. นี้เลยจะมาคุยเกี่ยวกับปัญหาของการใช้ Vanity metrics และการนำไปใช้ผิดที่ผิดทางที่จะก่อให้ปัญหาได้ และเมื่อไหร่ที่เราควรใช้ Vanity metrics ได้โดยไม่ต้องกังวลครับ
3-4-202314 minuten, 54 seconden
Episode Artwork

Ep87 เสวนา UX 12 - Aesthetics and Minimalist of Design น้อย ๆ ไว้ หาของง่ายกว่า

*เสวนา UX ตอนที่เราลืมโพสต์ลงพอดแคสต์ครับ T_T เสวนาครั้งนี้จัดไปตอน 10 ก.พ.2022 ครับ *   ในการออกแบบสิ่งต่าง ๆ ที่ users มองเห็นได้นั้น สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ เราต้องช่วยให้ users สังเกตเห็นในสิ่งที่ "สำคัญ ณ เวลานั้น จริง ๆ" ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบในโลกความเป็นจริง (เช่น ออกแบบป้ายวางหน้าร้าน ออกแบบการจัดดิสเพลย์สินค้าในร้าน) หรือในโลกดิจิตอล (เช่นการออกแบบ UI, การออกแบบ call-to-action ต่าง ๆ) แต่ปัญหาที่เรามักจะเจอบ่อยคือ designers สนใจในเรื่องการพยายามแต่งองค์ทรงเครื่อง ใส่ดีเทลมากมายเพื่อ "แต่งให้สวย" จนสิ่งที่ใส่เข้ามาแต่งให้สวยนั้น กลายเป็นไปทำให้สิ่งที่ users ควรต้องเห็นจริง ๆ โดนพรางจนหายไป หรือบางครั้ง designers คิดว่า users ควรต้องเห็นข้อมูลทุกอย่างให้มาก ๆ ก็เลยสาดข้อมูลทุกอย่างเข้ามา จน users งงไปหมด สุดท้ายก็ไม่สามารถใช้งานต่อได้ครับ ซึ่งพวกนี้คือหัวใจสำคัญของหัวข้อเสวนา UX ในครั้งนี้ "Aesthetics and Minimalist of Design" ครับ   เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heuristics ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Aesthetics and Minimalist of Design" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง เราจะมาคุยปูพื้นเกี่ยวกับการทำงานของลูกตาและการมองเห็น และการทำ "Visual Search" ของมนุษย์เรา ว่ามันมีรูปแบบการทำงานยังไงบ้าง และสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบ รวมไปถึงการคำนึงถึง key information จริง ๆ ที่ users ควรต้องมองเห็น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งประกอบ เพื่อให้ users มองเห็นสิ่งสำคัญจริง ๆ ได้ และเราจะมาแชร์ตัวอย่างที่เราเจอกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน และในโลกดิจิตอลครับ และพร้อมมาเสวนากันถึงปัญหาว่า ถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง "Aesthetics and Minimalist of Design" จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง และเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดนี้กันอย่างไรดี รวมถึงตัวอย่างของการนำหลักการนี้ไปใช้ในการออกแบบโปรดักส์จริงด้วยครับ   ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญขาประจำของเราจาก Ayudhya Capital Services คือ คุณเอ้ และจาก CJ Supermarket คือ คุณฟลุ๊ค ที่ทั้งคู่ต่างก็เป็นคนสาย Visual/UI Design ที่มากประสบการณ์ ที่จะมาร่วมนั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อครั้งนี้กันครับ   รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ) Founder, Design & Research Director @ Pruxus Design   คุณเอ้ (เดโช พิทักษ์เจริญ) UX Manager @ Ayudhya Capital Services (UChoose)   คุณฟลุ๊ค (ธัญวรรณ นรจิตต์) UI Design Lead @ CJ Supermarket   คุณพัท (พงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช) Lead UX Designer & Researcher @ Pruxus
28-3-20231 uur, 24 minuten, 33 seconden
Episode Artwork

Ep86 ยิ่งพัฒนาโปรดักส์ UX ยิ่งแย่ - การวางเป้าหมายที่ผิด ส่งผลไปอีกทาง

หลาย ๆ ครั้งเราจะพบว่ามีโปรดักส์ที่มีประสบการณ์ใช้งานที่ใช้ได้ (เช่นใช้ง่าย เข้าใจง่าย) แต่พอยิ่งเค้าพัฒนาไปเรื่อย ๆ ออกเวอร์ชั่นใหม่ไปเรื่อย ๆ ประสบการณ์แทนที่จะดีขึ้นเรื่อย ๆ จู่ ๆ กลับแย่กว่าเดิม จากเดิมที่เคยใช้ง่ายก็กลายเป็นยากขึ้น มีอะไรที่เราไม่ได้ต้องการโผล่ขึ้นมาเยอะขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งแย่จนเราเลิกใช้ไปเลยก็มี ทั้ง ๆ ที่โปรดักส์เหล่านั้นก็ถูกสร้างโดยองค์กรที่มีทีม UX แท้ ๆ แต่ทำไม UX กลับไม่ได้ดีขึ้น   Ep นี้จะชวนมาคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ครับว่ามันเกิดจากอะไร สาเหตุหลัก ๆ มักจะเกิดจากการตั้งเป้า (หรือ KPI) ของทีม UX ที่ไม่ใช่เป้าที่วัดที่ “ประสบการณ์การใช้งาน” จริง ๆ แต่ไปวัดที่อื่น ซึ่งมันเลยส่งผลให้แทนที่ทีม UX จะได้ทำงานเพื่อพัฒนาให้ประสบการณ์ใช้งานดีขึ้น กลับกลายเป็นคนละทิศคนละทางแทน ซึ่ง ep นี้จะเริ่มนำไปสู่ซี่รี่ย์ของหัวข้อเรื่อง “การตั้งเป้าและวัดผล UX” ต่อใน ep ที่จะตามมาครับ
23-3-202319 minuten, 51 seconden
Episode Artwork

Ep85 Dark Patterns และ 12 รูปแบบที่เห็นกันบ่อย

Ep นี้จะชวนมาคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “Dark Patterns” ครับ หรือรูปแบบการออกแบบเว็บไซต์หรือแอป ที่พยายามทำให้ users เข้าใจผิด หรือหลอกล่อให้ users ทำ actions บางอย่างที่ users ไม่ได้ต้องการจริง ๆ แต่มันมีประโยชน์กับธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดต่อ users แต่ธุรกิจจำนวนมากก็ใช้กันเป็นประจำ แต่ก็แทบจะไม่มีใครมาควบคุมด้วยซ้ำ จนไม่นานมานี้รัฐแคลิฟอร์เนียที่อเมริกาเริ่มออกกฎหมายมาควบคุมการใช้ Dark Patterns บางประเภทแล้วซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากครับ แต่ทางบ้านเราก็ยังไม่ได้มีการควบคุมกันเท่าไหร่ ซึ่งคนสร้างโปรดักส์และ UX Designers ควรจะต้องช่วยกันรณรงค์ให้ธุรกิจใช้ Dark Patterns กันให้น้อยลงเพื่อจะได้อยู่กับ users ไปนาน ๆ ครับ และจะเล่าเกี่ยวกับรูปแบบ Dark Patterns ทั้ง 12 แบบจากเว็บไซต์ darkpatterns.org ครับ ว่ามีแบบไหนกันบ้าง (ซึ่งทางเพจพรักซุสเคยทำโพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ซักพักแล้วครับ ใครสนใจสามารถกดเข้าไปดูเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ)   Ref: Dark Patternsทั้ง 12 แบบ ที่เพจพรักซุส: https://web.facebook.com/pruxusdesign/posts/pfbid0hTGfjdbbJVGtrkHzgmmm2hf1Wp4w2XsCowgHGDLVspxnZrFLW2gTDVZ4F9unYWMMl https://www.darkpatterns.org/types-of-dark-pattern https://transcend.io/blog/dark-patterns-cpra/ https://www.theverge.com/2021/3/16/22333506/california-bans-dark-patterns-opt-out-selling-data
8-3-202331 minuten, 49 seconden
Episode Artwork

Ep84 เสวนา UX 15 - Flexibility & Efficiency of Use อะไรทำบ่อย ต้องคอยเผื่อวิธี

เสวนา UX เกี่ยวกับ Heuristics ข้อสุดท้ายครับ หลายครั้งที่ designers ออกแบบโปรดักส์ มักจะเจอคำถามในใจว่า เราควรออกแบบให้ "เข้าใจง่าย" แต่ขั้นตอนเยอะ ช้า หรือ ควรออกแบบให้ไม่ต้องเข้าใจง่ายมากก็ได้ แต่ต้อง "เร็ว" แบบไหนถึงจะดีกว่ากันแน่? และมันมีวิธีไหนที่ทั้ง ง่าย และ เร็ว ไหม? คำถามพวกนี้ คือสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Heuristic ข้อนี้เลยครับ "Flexibility & Efficiency of Use" ซึ่งเป็นข้อที่พูดถึงการออกแบบเพื่อให้ใช้งานได้เร็ว (Efficiency) โดยตรงเลย ว่าเมื่อไหร่ที่ "ความเร็ว" ต้องมาก่อนความ "เข้าใจง่าย" ครับ ซึ่งความเข้าใจง่ายนั้นเป็นสิ่งที่เราพูดถึงไปใน Heuristics ข้อก่อน ๆ หลายข้อมาแล้ว คราวนี้เราจะไม่สนใจเรื่องความง่ายเท่าไหร่แล้ว แต่จะสนใจเรื่อง "ความเร็ว" แทนครับ และ users กลุ่มที่จะเกี่ยวข้องกับ Heuristic ข้อนี้โดยตรงเลยก็คือ users ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับโปรดักส์มามาก หรือ Expert users นั่นเอง ว่าความแตกต่างระหว่างกลุ่ม Experts กับ users มือใหม่นั้น แตกต่างกันอย่างไรบ้าง และวิธีที่จะ support คนกลุ่มนี้ควรต้องทำอย่างไรครับ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heuristics ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Flexibility & Efficiency of Use" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง เราจะมาคุยเกี่ยวกับ "Flexibility & Efficiency of Use" และหลักการในการออกแบบระบบให้ใช้ได้เร็ว ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง และเราจะมาแชร์ตัวอย่างที่เราเจอกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน และในโลกดิจิตอลด้วยครับ ว่ารูปแบบของ Flexibility & Efficiency of Use มันรวมไปถึงอะไรบ้าง ทั้งตัวอย่างในโลก digital และโลก physical พร้อมมาเสวนากันถึงปัญหาว่า ถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง "Flexibility & Efficiency of Use" จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง และเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดนี้กันอย่างไรดี รวมถึงตัวอย่างของการนำหลักการนี้ไปใช้ในการออกแบบโปรดักส์จริงด้วยครับ ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญถึง 3 คน จากองค์กรชั้นนำระดับประเทศ และเป็น UX ที่มีประสบการณ์มากมาย มาร่วมนั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อครั้งนี้กันครับ   รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ)Founder, Design & Research Director@ Pruxus Design คุณบอย (Waiyawut Nimkittikul) Senior UX Designer@ SCB TechX คุณแบงค์ (Thanakarn Chinda) Lead Service designer@ KASIKORN LINE คุณไอซ์ (Nitchanun Saksinchai) UX Designer@ SCB TechX
5-3-20231 uur, 35 minuten, 25 seconden
Episode Artwork

Ep83 บริษัทยิ่งใหญ่ โปรดักส์ยิ่งแย่ เพราะอะไร? - กับบทสัมภาษณ์ Steve Jobs

Ep นี้จะชวนมาคุยถึงสิ่งที่คุณ Steve Jobs เคยพูด ในบทสัมภาษณ์ในรายการชื่อว่า “Triumph of the Nerds” ตั้งแต่ปี 1995 ที่เทปมันเคยสูญหายไปอยู่พักนึง จน director รายการเค้าไปค้นเจอ เลยเอามาเผยแพร่ทางออนไลน์ครับ โดยเป็นมุมมองที่คุณ Steve Jobs มองว่าทำไมบริษัทใหญ่ ๆ ในวงการ tech ถึงได้สร้างโปรดักส์หรือ innovation ที่แย่ลงเมื่อบริษัทมีขนาดใหญ่จนเป็นเจ้าตลาด (monopoly) โดยจะเล่าเกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ Steve Jobs แกพูดในประโยคนั้นเพิ่มเติมด้วยครับ ประวัติของช่วงนั้นที่ Steve Jobs โดนให้ออกจาก Apple John Sculley อดีต CEO ของบริษัท PepsiCo ที่ Steve Jobs ชวนให้มาทำที่ Apple ไป ๆ มา ๆ John เป็นคนไล่ Steve Jobs ออก และได้ขึ้นมาเป็น CEO แทน Xerox PARC บริษัท R&D ด้านคอมพิวเตอร์ที่เป็นของบริษัท Xerox ที่ทำเครื่องถ่ายเอกสาร และเป็นที่ที่สร้าง innovation มากมายที่เราใช้กันในทุกวันนี้ แต่ทำไม Xerox กลับไม่ได้เกี่ยวข้องกับ innovations เหล่านั้นเลย   Ref: คลิปจากรายการ Triump of the Nerds: https://www.youtube.com/watch?v=K1WrHH-WtaA https://www.businessinsider.com/steve-jobs-on-why-innovation-dies-at-tech-monopolies-2014-11 https://medium.com/bc-digest/the-xerox-thieves-steve-jobs-bill-gates-6e1b36fc1ec4#:~:text=He knew PARC was onto,management was none the wiser.
6-2-202325 minuten, 52 seconden
Episode Artwork

Ep82 ด้านมืดของ UX

ศาสตร์ด้าน User Experience นั้น เราพูดกันมามากว่าเป็นศาสตร์ที่ช่วย users โดยการสร้างโปรดักส์ให้ users ใช้ต่อเนื่องเรื่อย ๆ แต่ในบางครั้ง UX ก็ถูกใช้ไปผิด ๆ และก่อให้เกิดด้านมืดของมันได้ Ep นี้เลยอยากจะมาคุยเกี่ยวกับเมื่อหลาย ๆ องค์กรไม่ได้มองถึงคุณค่าที่แท้จริงของทีม UX แต่ไปเข้าใจผิดและใช้ท่าผิด ๆ ในการออกแบบโปรดักส์ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหากับ users ได้มากครับ   โดย ep นี้จะขอ reference ไปยังคลิป Youtube ของคุณ Cynthia Zhou ในคลิปที่ชื่อว่า “The Manipulative Power of Design” ( https://www.youtube.com/watch?v=dH5zuXlSgok ) ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับเนื้อหาในคลิปเค้ามาก ก็เลยอยากจะลองนำมาคุยพร้อมเสริมมุมมองที่ตัวเองเคยเจอมาด้วยครับ
20-1-202316 minuten, 28 seconden
Episode Artwork

Ep81 จะวิเคราะห์/วิจารณ์ design ในแง่ UX ควรเป็นอย่างไร?

การวิจารณ์/วิเคราะห์ดีไซน์ให้ได้ ถือเป็นทักษะพื้นฐานในการทำงานสาย design ที่สำคัญมากนะครับ เพราะถ้าเราไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่า design ที่เราหรือทีมเราทำมา มันดีหรือไม่ดี มันก็เปรียบเสมือนเรากำลังเดินอยู่ในถ้ำมืดที่ยิ่งทำไป ก็ไม่ได้แปลว่าจะยิ่งเข้าใกล้ทางออกที่ดีจริง ๆ ep. เลยจะชวนมาคุยเกี่ยวกับเรื่องทักษะการวิเคราะห์และวิจารณ์ design ในด้าน user experience ว่า ถ้าเราอยากจะมีทักษะด้านนี้ เราควรต้องโฟกัสที่จุดไหนยังไงบ้าง, สิ่งสำคัญที่เราควรต้องเรียนรู้, และข้อผิดพลาดของการวิเคราะห์/วิจารณ์ design ของระบบ ที่มักจะพบเห็นกันบ่อยครับ การวิเคราะห์/วิจารณ์ดีไซน์ ทำไมถึงสำคัญ การวิเคราะห์โดยสวมหมวกเป็น users ของระบบ การวิเคราะห์โดยสวมหมวกเป็น expert Domain expert UX/Usability Expert
11-10-202232 minuten, 56 seconden
Episode Artwork

Ep80 เสวนา UX 14 - Error Recovery เมื่อเกิดปัญหา อย่าทิ้ง users

เมื่อ users ใช้งานโปรดักส์แล้วเจอปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ users ทำผิดพลาดเอง หรือปัญหาของระบบเราเช่นระบบกำลังปิดปรับปรุงเราควรต้องคิดถึงวิธีการที่จะช่วยให้ users กลับมาใช้งานต่อได้ และทำในสิ่งที่ users ต้องการทำให้สำเร็จให้ได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องบอกข้อมูลเพียงพอให้ users รู้ว่าปัญหาที่เกิดมันเกิดมาจากอะไร มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ครับ แต่หลายครั้ง การคิดเผื่อถึงปัญหาที่ users มีโอกาสจะเจอ (หรือ "error cases") ก็มักจะโดนมองข้ามโดยทีมสร้างโปรดักส์ครับ เพราะเรื่องการคิด error cases ต่าง ๆ นี้ มักจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ และ ไม่ค่อยน่าตื่นเต้นในการดีไซน์เท่าไหร่ (แต่คนที่เป็นสาย dev น่าจะเป็นคนที่คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้เป็นหลักมากกว่า) เลยทำให้ทีมโปรดักส์หันไปโฟกัสยังจุดต่าง ๆ ที่น่าตื่นเต้นในการดีไซน์มากกว่า ซึ่งสิ่งที่เกิดกับ users ที่เจอ errors ที่ดีไซเนอร์ไม่ได้คิดเผื่อถึง flow หรือ messages เพื่อช่วย users ไว้ก็คือ users จะเกิดความงงสับสน หรืออาจจะหงุดหงิดและโมโหมาก ๆ ก็เป็นได้ ถ้า errors พวกนั้นมันรุนแรงและไปทำให้ users ไม่สามารถทำในสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ได้ (เช่น users ต้องการจะใช้แอปธนาคารรีบจ่ายบิลค่าบางอย่างที่สำคัญให้ทันกำหนด แต่จู่ ๆ แอปธนาคารก็บอกว่า "มีปัญหาการใช้งาน" แล้วไม่ให้ไปต่อ และ users ก็ไม่รู้ด้วยว่าทำอะไรผิด สุดท้าย users ก็จ่ายบิลนั้นไม่ทัน โดนค่าปรับอีก) ซึ่งพวกนี้คือหัวใจสำคัญของหัวข้อเสวนา UX ในครั้งนี้ "Error Recovery" หรือ การช่วยให้ users สามารถไปต่อได้ เวลาเจอ errors ครับ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heuristics ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Error Recovery" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง รวมไปถึงหลักการในการเขียน error messages และวิธีการช่วย users ให้หลุดจาก errors ให้ได้ในรูปแบบต่าง ๆ และเราจะมาแชร์ตัวอย่างที่เราเจอกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน และในโลกดิจิตอลครับ และพร้อมมาเสวนากันถึงปัญหาว่า ถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง "Error Recovery" จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง รวมถึงตัวอย่างของการนำหลักการนี้ไปใช้ในการออกแบบโปรดักส์จริงด้วยครับ และความแตกต่างของ Heuristics ข้อนี้ กับข้อที่เกี่ยวข้องกับ error cases ที่เราเคยเสวนามา คือ "Error Prevention" ว่าแตกต่างกันยังไงบ้างครับ ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญ คือ คุณแจน และคุณยศ ซึ่งเป็นระดับ Lead UX จากองค์กรชั้นนำ ที่จะมาร่วมนั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อครั้งนี้กันครับ รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ)Founder, Design & Research Director@ Pruxus Design คุณแจน (วิภาดา เจตสันติ์)User Experience Research Lead@ CJD คุณยศ (Yos Leewattanayingyong)Former Lead UX@ Krungsri Auto คุณมิ้น (ศศิกานต์ ชาญผดุงสกุล)Senior UX Designer & Researcher@ Pruxus **** และพิเศษ มีแจกโค้ดส่วนลดเพิ่มเติมสำหรับ Usability & Heuristics Workshop ที่จะจัดวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคมนี้ ใน live นี้ด้วยนะครับ ***
10-10-20221 uur, 39 minuten, 7 seconden
Episode Artwork

Ep79 เราควรปรับโปรดักส์เราตามเทรนด์ในตลาดไหม?

เรามักจะได้ยินคำว่า เทรนด์ (Trend) กันบ่อย ๆ ว่าเป็นสิ่งที่ธุรกิจควรต้องจับและวิ่งตามให้ทันใช่ไหมครับ เพราะเมื่อไหร่ที่มีเทรนด์หรือสิ่งที่ฮิต ๆ กันในตลาด มันแปลว่าตรงนั้นมี needs ของลูกค้าอยู่ เราก็ควรจะรีบไปจับให้ ได้ หรือในแง่การสร้างโปรดักส์ เราก็ควรจะรีบออกฟีเจอร์หรือปรับโปรดักส์เราให้เข้าตามเทรนด์ให้ได้ แล้วเราจะเพิ่มลูกค้าและยอดขายได้มากมาย   Ep นี้เลยจะชวนมาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องเทรนด์ครับ ว่าถ้าเราลองมองไปยังพื้นฐานการสร้างประสบการณ์ใช้งานที่เราเคยพูดมาเสมอ (Useful + Usable) เราควรจะวิ่งตามเทรนด์แค่ไหนยังไงบ้าง เพราะถึงเทรนด์จะเป็นสิ่งที่สื่อถึง needs ของ users ได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราควรวิ่งตามเสมอ ในทางกลับกัน บางกรณีเราก็ควรจะต้องรีบปรับโปรดักส์ของเราตามเทรนด์ให้ได้ครับ   และ case studies ที่จะอ้างถึงใน ep นี้: Facebook และ Instagram ที่ปรับโปรดักส์ของตนเพื่อตามเทรนด์ TikTok Tink Labs - Startup ฮ่องกง ที่เคยเป็นระดับ unicorn แต่ต้องปิดตัวลงเพราะมีสิ่งอื่นที่ serve needs users ได้ดีกว่า เมื่อเวลาผ่านไป   Ref: https://www.euronews.com/next/2022/07/26/stop-trying-to-be-tiktok-how-instagrams-copycat-strategy-has-backfired-with-loyal-users https://www.theguardian.com/technology/2022/jul/26/instagram-changes-user-backlash-trying-to-be-tiktok https://brandinside.asia/tink-labs-stop-services-and-restructuring/
14-9-202232 minuten, 7 seconden
Episode Artwork

Ep78 Information design (2) - การเอาไปใช้งาน - Site map, navigation, info hierarchy

จาก Ep ที่แล้ว เราพูดถึงพื้นฐานด้าน information design และการสร้าง information architecture ไปแล้ว ep นี้จะมาต่อยอดจากเรื่องเดิม ว่าเมื่อเรามี information architecture แล้ว เราจะเอาไปใช้งานทำอะไรต่อได้บ้าง โดยจะพูดถึงสิ่งหลัก ๆ 3 อย่าง ที่คนมักจะสับสนว่ามันต่างกับ information architecture ยังไงครับ คือ Site map Navigation Information hierarchy (และ visual hierarchy)   Link รายละเอียด workshop Understand Your Info 2022 วันที่ 20 ส.ค.2022: https://bit.ly/understandinfo22 Link ขายบัตร workshop: https://bit.ly/understandinfo22-ticket
7-8-202221 minuten, 52 seconden
Episode Artwork

Ep77 - Information design - จะใช้ง่าย ต้องเริ่มที่จัดระเบียบข้อมูล

จาก Ep73 - 4 ขั้นตอนของ UX Design Pyramid มีขั้นตอนที่ชื่อว่า “Information” ที่เรียกได้ว่าเป็นรากฐานของการการสร้างโปรดักส์ด้วยซ้ำ Ep นี้เลยจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นนี้กันครับ ว่าสิ่งที่เรียกว่า การออกแบบ information หรือ information design เนี่ย มันเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง และศาสตร์ย่อยที่สำคัญมากของการทำ Information Design ที่เรียกว่า "Information Architecture" นั้นมันคืออะไร information design ที่ไม่ดีพอ คือรากฐานของปัญหาการใช้งาน information design คือ การออกแบบให้ข้อมูลของเรา"เข้าใจง่าย และเข้าถึงได้ง่าย" ที่สุด สำหรับ users เราจะทำให้ข้อมูลเข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย ก็ต้องเริ่มที่รากฐานที่ “information architecture”   Link รายละเอียด workshop Understand Your Info 2022 วันที่ 20 ส.ค.2022: https://bit.ly/understandinfo22 Link ขายบัตร workshop: https://bit.ly/understandinfo22-ticket
27-7-202228 minuten, 14 seconden
Episode Artwork

Ep76 ฟอนต์มีหัวกับไม่มีหัว แบบไหนอ่านง่ายกว่ากัน - กับ Research ที่ทีมพรักซุสเราทำ

เมื่อไม่นานมานี้ ที่เพจพรักซุสเราได้โพสต์ผลของ research ที่เราทำกันเอง เกี่ยวกับว่า ระหว่างฟอนต์มีหัวกับฟอนต์ไม่มีหัว แบบไหนอ่านง่ายกว่ากัน (ลิงค์ไปที่โพสต์นั้น และผลของ research https://bit.ly/3PnnGLP ) และโพสต์นั้นได้รับความนิยมและคนแชร์กันค่อนข้างเยอะทีเดียวครับ   Ep นี้ผมเลยชวนทีมงานพรักซุสเรา คือคุณพัทและน้องมีน มาเม้าท์เกี่ยวกับเบื้องหลังของ research ในครั้งนี้ ว่ามีที่มาที่ไปยังไง methodology และการวัดผลดูที่อะไร ปัญหาที่เราเจอ และผลลัพธ์ที่ได้และการนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ user experience ว่าเราควรเลือกใช้ฟอนต์ยังไงครับ   Timestamp 1:58 ที่มาที่ไป 11:10 กระบวนการที่ใช้วัดผล (methodology) 14:08 Research นี้เกี่ยวข้องกับ usability หรือเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของมนุษย์ 16:23 จะวัดว่าฟอนต์อ่านง่าย-ยาก ดูที่ไหนดี 17:29 เราจำเป็นต้องไปวัดกับคนเยอะ ๆ และหลาย ๆ ประเภทไหม 20:57 เลือกฟอนต์จากไหน 25:29 นอกจากวัดเรื่องเวลาแล้ว เราก็วัดความรู้สึกหลังการอ่านด้วย 29:10 เนื้อหาบทความที่เอามาใช้ในการทดสอบ 35:44 เครื่องมือที่เราใช้ตอนเทส 38:24 จำนวน users ที่มาเข้าร่วมทดสอบ และหาจากไหน 42:04 ผลลัพธ์ที่ได้ 46:45 คำแนะนำในการนำฟอนต์ไปใช้งาน
13-7-202252 minuten, 27 seconden
Episode Artwork

Ep75 เสวนา UX 13 - Help and Documentation มี Help เสมอ เมื่อ users ต้องการ

Heuristics ข้อที่มักจะถูกทั้ง designers และทีมสร้างโปรดักส์เมินบ่อยมากที่สุดในทั้ง 10 ข้อ ก็คือหัวข้อของเสวนา UX ในครั้งนี้ หรือ "Help and Documentation" นั่นเองครับ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญที่เรามองข้ามได้ในการสร้างโปรดักส์ครับ ในทางกลับการ Heuristic ข้อนี้ก็มีสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจอยู่เยอะมาก   หลักการของ Heuristic ข้อนี้คือ เราต้องตระเตรียม Help และข้อมูลที่ช่วยอธิบายการใช้งานและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของโปรดักส์ไว้ให้ users อยู่เสมอ ถ้าเกิดมี users บางคนที่ต้องการหาข้อมูลเหล่านี้ ก็ควรจะหาเจอได้ง่าย ส่วนหนึ่งที่ทำให้ Heuristic ข้อนี้ถูกละเลยบ่อย ก็เพราะว่าคนมักจะเชื่อกันว่า ถ้าโปรดักส์ออกแบบมาดีพอ users จะไม่จำเป็นต้องไปนั่งอ่าน Help สอนการใช้งานเพิ่มเติมอีกแล้วซึ่งเป็นสิ่งที่ถูก แต่ก็ถูกแค่ครึ่งเดียวครับ เพราะในความเป็นจริงไม่ว่าโปรดักส์ที่ออกแบบมาดีแค่ไหน สุดท้ายก็จะมี users บางกลุ่ม ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสอนการใช้งาน เช่น users ที่มือใหม่จัด ๆ ที่ยังใช้อะไรไม่ค่อยเป็นหรือกลับกัน ก็มี users บางกลุ่มที่ต้องการข้อมูลอธิบายการทำงานของระบบเชิงลึก เช่น users ระดับเก๋า ๆ ทั้งหลายซึ่งจะเห็นได้ว่า Help and Documentation นั้น เป็นสิ่งที่ต้องทำไม่ใช่แค่เพื่อ users ส่วนน้อยไม่กี่คนเท่านั้นครับ   แต่เพราะการที่ทีมสร้างโปรดักส์มักจะละเลยข้อนี้ มันเลยก่อให้เกิดปัญหา usability problems กับ users อยู่บ่อยครั้งครับ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heuristics ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Help and Documentation" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง เราจะมาคุยเกี่ยวกับ "Help and Documentation" และหลักการในการออกแบบ Help ที่ดีควรเป็นอย่างไรบ้าง   และเราจะมาแชร์ตัวอย่างที่เราเจอกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน และในโลกดิจิตอลด้วยครับ ว่ารูปแบบของ Help and Documentation มันรวมไปถึงอะไรบ้าง ไม่ใช่แค่คู่มือหรือหน้า Help ธรรมดา แต่ใน UI ระบบรอบตัวทั้งหลายของเรา ต่างก็มี Help and Documentation ซ่อนอยู่ทั่วไปหมดในหลากหลายรูปแบบครับ และรูปแบบไหนที่ดี/ไม่ดีบ้างพร้อมมาเสวนากันถึงปัญหาว่า ถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง "Help and Documentation" จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง และเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดนี้กันอย่างไรดี รวมถึงตัวอย่างของการนำหลักการนี้ไปใช้ในการออกแบบโปรดักส์จริงด้วยครับ ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญคือ คุณโบว์ที่เป็น Independent Project Manager ที่เคยร่วมงาน design projects กับลูกค้าจากหลายหลายองค์กรทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล ที่จะมาร่วมนั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อครั้งนี้กันครับ   รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ)Founder, Design & Research Director@ Pruxus Design คุณโบว์ (สร้อยมุกข์ ยิ่งชัยยะกมล)Independent Project Manager คุณมีน (วรัท จงกลรัตน์)UX Experience Consultant@ Pruxus คุณเบียร์ (ปิยะพันธุ์ พิศุทธิ์นารากูล)Co-Founder and Project Manager@ Pruxus
7-7-20221 uur, 33 minuten, 41 seconden
Episode Artwork

Ep74 เมื่อความสวยเป็นบาป - ทำไม UX ถึงควรทำ visual เป็นสิ่งสุดท้าย

สิ่งที่สวยงาม มักจะทำให้คนเราตื่นเต้นได้เสมอ UI สวย ๆ ของโปรดักส์ต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน หลายคนเมื่อพูดถึงการทำ UX/UI ก็มักจะนึกถึงความสวยงามมาก่อน ซึ่งยิ่งโปรดักส์ออกแบบมาสวย ก็ยิ่งดึงดูด users ให้สนใจ ดังนั้น UX เราก็ควรจะออกแบบ UI ก่อนเลย จริงไหมครับ?    Ep นี้จะมาคุยกันว่า ทำไมความสวยงามถึงเป็นสิ่งที่มนุษย์เราชอบสนใจก่อนเป็นอันดับแรก หลักการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง และทำไมมันถึงกลับควรที่จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการออกแบบ UX และผลเสียของการโฟกัสไปที่ความสวยงามก่อนต่อทีมสร้างโปรดักส์และองค์กรครับ
26-6-202225 minuten, 19 seconden
Episode Artwork

Ep73 การออกแบบ UX มีขั้นตอนยังไง - 4 ขั้นตอนของ UX Design Pyramid

มีน้อง ๆ UX ถามเข้ามาบ่อยว่า เวลาที่จะลงมือออกแบบ user experience จริง ๆ มันควรมีขั้นตอนยังไงบ้าง เพราะผักสดพอดแคสต์เราพูดถึงเรื่อง useful usable ที่เป็นพื้นฐานของประสบการณ์การใช้งานมาเยอะแล้ว แต่พอลงมือจริง ๆ ก็ยังไม่แน่ใจเท่าไหร่ ep นี้เราเลยจะมาพูดถึง 4 ขั้นของ UX Design Pyramid ซึ่งเป็น framework ที่ทางพรักซุสเราใช้กับทุกโปรเจ็คที่เราทำ design ครับ ซึ่งเป็นขั้นตอนการดีไซน์ที่เราควรจะไล่ทำทีละขั้นและไม่รีบกระโดดไปขั้นต่อไปเร็วเกินไป เพราะถ้ารีบ อาจจะส่งผลที่ร้ายแรงกับโปรดักส์ที่เราสร้างได้ ทั้ง 4 ขั้นนี้ได้แก่: Concept - ระบบทำอะไรได้, มีฟีเจอร์อะไร, แก้ปัญหาให้ users อย่างไร Information - Information ที่เกี่ยวข้องกับระบบมีอะไรบ้าง, information อะไรที่สำคัญมาก-น้อย, information อะไรที่มีความเกี่ยวข้องกันและควร group รวมกัน Interaction - users จะใช้งานระบบยังไง, มีปฏิสัมพันธ์กับระบบยังไง/ขั้นตอนการใช้งานเป็นยังไง, เราควรเลือกใช้ controls แบบไหน, messages แต่ละจุดควรต้องพูดยังไงให้เข้าใจได้ง่าย, states ของการใช้งานต่าง ๆ มีอะไรบ้าง Visual - ความสวยงาม, pixel perfection, สีสัน, ฟ้อนท์, Corporate Identity โดยที่มาของ framework นี้ ที่ผมได้มาจาก workshop อบรมของ Microsoft ที่เคยไปเข้าร่วมครับ (Speaker คือ คุณ Shane Morris ที่เป็น Microsoft Evangelist/UX Designer)
14-6-202229 minuten, 6 seconden
Episode Artwork

Ep72 บัตรเลือกตั้งผู้ว่ากทม. และปัญหา usability

ถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะพึ่งจบไป แต่มีสิ่งนึงที่น่าสนใจ ที่อยากจะชวนมาคุยใน ep นี้ครับ ก็คือ รูปแบบของบัตรเลือกตั้ง 2 ใบที่ใช้ในการเลือกตั้งในครั้งนี้ ที่หลายคนเจอปัญหาการใช้งานหรือ usability problems ตอนที่เข้าไปเลือก บางคนก็กาผิดใบบ้าง บางคนก็จำเบอร์ที่เลือกไม่ได้บ้าง ซึ่งถ้าลองมองตามหลักการ Heuristic Evaluation จะพบว่า ระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบที่ใช้ในครั้งนี้ มันผิดหลักการ Usability Heuristics 2 ข้อหลัก ๆ เลยครับ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ การที่ประชาชนหลายคนตั้งใจไปเลือกตั้ง แต่เสียงของเขากลับไม่ถูกนำไปนับ เพียงเพราะว่าเค้าใช้งานบัตรไม่ได้ ซึ่งเป็นตัวอย่างของปัญหา usability ที่ทำให้ tool ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วย serve คน กลับกลายเป็นสร้างปัญหาใหม่ให้คนแทน และเราจะมาคุยถึงว่าปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดจากอะไร รวมถึงวิธีแก้ไขคร่าว ๆ ที่ควรจะต้องเป็นครับ Ref: https://www.facebook.com/rocketmedialab.co/posts/570798947984028
29-5-202232 minuten, 11 seconden
Episode Artwork

Ep71 Brand ที่ดี เป็นอย่างไร (by Chris Do)

Ep นี้ ได้ inspiration มาจากโพสต์นึงใน IG ของคุณ Chris Do ที่เป็นดีไซเนอร์ระดับเซเลปคนนึงของโลกครับ โดยเค้าพูดถึงเรื่อง แบรนด์ ที่หลายครั้งคนมักจะวางหลักการมากมายเพื่ออธิบายวิธีการสร้างแบรนด์ที่ดี แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถเปรียบเทียบง่าย ๆ ให้แบรนด์เป็นเหมือนเพื่อนเราคนนึง ลักษณะของเพื่อนที่ดีของเราเป็นแบบไหน ลักษณะของแบรนด์ที่ดีก็คล้ายกันในแบบนั้น เพราะลูกค้าไม่ได้ตกหลุมรักองค์กร แต่ตกหลุมรักที่บุคลิค (ที่องค์กรแสดงออกมาในรูปแบบแบรนด์) ซึ่งจุดที่น่าสนใจคือ หลาย ๆ ข้อที่คุณ Chris Do พูดถึงนั้น มันคือสิ่งที่ตรงกับ UX Mindset นั่นเองครับ และสุดท้ายแล้ว แบรนด์ของเราจะออกมาเป็นแบบไหน มันก็ไม่ใช่แค่งานของทีมแบรนดิ้งเท่านั้นครับ ลักษณะของเพื่อนที่ดี โดยคุณ Chris Do เพื่อนที่ดี คือคนที่... เชื่อถือได้ ไว้ใจได้ และซื่อสัตย์ ชัดเจนว่าเป็นคนแบบไหน เชื่อในเรื่องอะไร และก็ทำตัวแบบนั้นคงเส้นคงวา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เข้าใจและเห็นใจคนอื่น ๆ มี Empathy ไม่รีบด่วนตัดสินชาวบ้าน คอยซัพพอร์ตคนอื่น ทั้งในเวลาที่ดีและแย่ คิดถึงคนอื่น และเข้าใจว่าคนอื่นต้องการอะไร ก่อนคนอื่นจะเอ่ยปากด้วยซ้ำ รับฟัง มองโลกในแง่ดี เป็นคนสนุกกะมีอารมณ์ขัน เมื่อลองเปลี่ยนคำว่า “เพื่อน” เป็น “แบรนด์” เราก็จะได้ลักษณะของแบรนด์ที่ดีแล้ว   Ref: https://www.instagram.com/p/CH6UtRVFYqq/?utm_medium=copy_link
18-4-202213 minuten, 45 seconden
Episode Artwork

Ep70 ทำ UX ไปก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มรายได้องค์กร แล้วจะทำไปทำไม?

หลายครั้งที่ business ตัดสินใจว่าจะลงทุนกับการทำ UX หรือไม่ จากการดูว่าลงไปแล้วจะช่วยทำเงินให้องค์กรได้แค่ไหน หลายครั้งที่ทีม UX ถูกตัดงบประมาณหรือเวลาการทำงานลง โดนตัดการทำ research ออกไป เพียงเพราะ business มองไม่เห็นว่าทำไปแล้วจะคุ้มกับ “เงิน” ที่เสียแค่ไหน ep นี้อยากจะลองมาคุยเกี่ยวกับคุณค่าที่แท้จริงของการทำเรื่อง UX และการที่ตัดสินโปรเจ็ค UX ด้วย “เงิน” ที่บริษัทจะทำเพิ่มได้ เป็นสิ่งที่ถูกแล้วจริงหรือไม่ครับ และก็จะพูดถึงกระดานหกที่ธุรกิจต้องบาลาสน์ให้ได้ นั่นคือ ระหว่าง เงิน และ คน ครับ
18-3-202226 minuten, 51 seconden
Episode Artwork

Ep69 Pains อยู่ระหว่างองค์กรและลูกค้าเสมอ คุณจะให้มันอยู่ฝั่งไหน

ทุกครั้งที่เรามีปฏิสัมพันธ์ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการของเรากับเงินของลูกค้า มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า “Pain points” หรือ “Pains” เกิดขึ้นเสมอ คำถามคือ pains เหล่านี้ เราในฐานะองค์กรจะทำยังไงกับมัน เราจะผลักให้เป็นภาระของลูกค้าไป หรือเราจะ take actions เพื่อดึง pains เข้ามาและ absorb แทนลูกค้า Ep จะมาคุยเรื่องเรื่อง pain ที่อยู่ตรงกลางระหว่างองค์กรและลูกค้ากันครับ   ลักษณะของ pains ที่เกิดจากองค์กร 5 แบบ สร้างโปรดักส์ที่ไม่ได้ serve needs ได้ตรงกับที่ users ต้องการจริง สร้างโปรดักส์ที่ยากต่อการเรียนรู้มาก ทำให้คนใช้ครั้งแรกก็ยังไม่ได้ สร้างโปรดักส์/ขั้นตอนที่ไปบังคับให้ users ต้องใช้พลังงานมากจนเกินไป เช่นขั้นตอนเยอะมาก หรือต้องใช้เวลานานกว่าจะทำสิ่งที่ต้องการเสร็จ ระบบที่ไม่เสถียร ใช้งานไม่ได้ตรงตามที่ควรเป็น การที่ชาร์จราคาแพงเกิน value ที่ลูกค้าได้รับจริงมาก ๆ
9-2-202225 minuten, 55 seconden
Episode Artwork

Ep68 สร้างทีม UX ไม่ได้จบแค่ในทีม UX - กับคุณป๋อม หมีเรื่องมาเล่า (2)

ตอนจบของตอนที่เรามีแขกรับเชิญพิเศษคือ คุณป๋อม (สุธัม ธรรมวงศ์) Head of Experience Design จาก Bitkub และเพจ หมีเรื่องมาเล่า จะมาคุยกันเกี่ยวกับการสร้างทีม UX ที่ไม่ใช่แค่มีเพื่อการนั่งออกแบบ UI แล้วจบ   เนื้อหาในตอนนี้ครับ: จะสร้างทีม UX ที่ส่งผลต่อทั้งองค์กร ไม่ใช่แค่รับงานเข้ามาปั๊ม ๆ UI แล้วจบ ได้อย่างไร สิ่งที่คุณป๋อมทำเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ามาเป็น Head UX ใน industry ใหม่ที่แทบไม่รู้จัก การเริ่มงานที่ใหม่ในองค์กรที่ยังไม่ mature เรื่อง UX มาก พนักงานใหม่อาจต้องเริ่มจากการไป onboard ทีมเก่า Outbound - การแผ่ด้าน UX ออกไปให้ทีมอื่นเข้าใจ data ต่าง ๆ รวมทั้งการทำ UX research ควรจะเป็นแบบ continuous discovery (ทำอยู่เรื่อย ๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป) การทำ research หรือหา data มาช่วยดีไซน์ ไม่ได้มีเพื่อแล้วเราแก้ปัญหาได้ 100% แต่มันมีเพื่อช่วย “ลดความเสี่ยง” ของการดีไซน์ ความสำคัญของการ communication ของทีม UX กับทีมอื่น ๆ รวมถึงผู้บริหาร และการทำให้การสื่อสารทำได้ง่าย เช่น การ set up ห้อง Slack “พี่เป็นหัวหน้าเราแล้ว เราต้องใช้พี่ให้เป็น” -พี่กระติก ทีม UX มีการแชร์ data ออกไปให้ทีมอื่นยังไงบ้าง ตอน onboarding และการใช้ deck ที่ทำมา ที่มีเนื้อหา: ทั้งองค์กรไหลเวียนมาเจอทีม UX ยังไง ทีม UX ทำงานกันยังไง Specialists ในทีม UX มีด้านไหนบ้าง ทีมมีการเติบโตและเป้ายังไง การพยายามหยอด keywords ด้าน UX ใน meetings กับทีมอื่นเรื่อย ๆ เพื่อให้ทีมอื่นค่อย ๆ ซึมซับทั้งความเข้าใจ และ การทำ test (เน้นการทำ unmoderated testing หรือไม่ได้มี moderator มานั่งคุย) ทำในทีม UX เอง และทีม product ข้าง ๆ การแชร์ข้อมูลกลับไปให้ทีมอื่น เพื่อขอบคุณ การเปลี่ยน Mindset คนอื่นในองค์กร เพื่อให้เริ่มรับ UX Process ใหม่ ๆ convince ด้วย data ที่มีในมือ หรือคู่แข่ง หรือ feedback จาก social media ลองฝึกน้องในทีมให้คุ้นกับการไป test กับคนในองค์กร มากกว่าแค่รับ feedback จากหัวหน้า ลอง role play การลงมือทำ component ใน design system ให้ stakeholders เห็นเลยว่าต้องใช้เวลาแค่ไหน เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมต้องใช้เวลาเยอะในการทำ design งานของ Head อีกอย่างที่สำคัญคือ ต้องอย่าให้งานมาคอขวดที่คนคนเดียว แต่ต้องถ่ายทอดการตัดสินใจไปที่น้องในทีม (ให้มี Ownership กันเอง) ทำให้ทีมอื่นเข้ามาหาทีม UX ให้ได้ (inbound) องค์กรอยากจะเริ่มทำ UX ควรเริ่มจาก “empathy” กับคนในองค์กรก่อนเลย “ถ้าคุณยังไม่ empathize คนในองค์กรเลย แล้วคุณจะไป empathize ลูกค้าได้ยังไง”   Ref: เพจ หมีเรื่องมาเล่า: https://www.facebook.com/2bearstalk หมีเรื่องมาเล่า ตอนที่คุณพิจไปออก: https://www.facebook.com/2bearstalk/photos/1872003236293281 link Skooldio คลาสคุณป๋อม: https://www.skooldio.com/bootcamp/product-management/ https://ux-ui-bootcamp.skooldio.com/
25-1-202253 minuten, 17 seconden
Episode Artwork

Ep67 สร้างทีม UX ไม่ได้จบแค่ในทีม UX - กับคุณป๋อม หมีเรื่องมาเล่า (1)

Ep แรกของปี 2022 นี้ มีแขกรับเชิญพิเศษคือ คุณป๋อม (สุธัม ธรรมวงศ์) Head of Experience Design จาก Bitkub และเพจ หมีเรื่องมาเล่า จะมาคุยกันเกี่ยวกับการสร้างทีม UX ที่ไม่ใช่แค่มีเพื่อการนั่งออกแบบ UI แล้วจบ เพราะ user experience ที่เกิดกับ users จริง ๆ นั้น มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ “ทีม UX” ทีมเดียว แต่ทั้งองค์กรจะต้องร่วมมือกัน โดยคุณป๋อมจะมาแชร์ประสบการณ์ที่ได้ลองผิดลองถูกกับการสร้างทีม UX ที่ไม่ใช่แค่เป็นทีมที่นั่งดีไซน์โปรดักส์เฉย ๆ แต่ยังต้องเป็นตัวประสานกับทีมอื่น ๆ รวมทั้งการทำให้ทั้งองค์กรเปลี่ยน culture และ mindset ให้มอง users เป็นศูนย์กลางด้วย   โดยตอนนี้เป็นตอนที่ 1 ของหัวข้อนี้ครับ: ประวัติคุณป๋อม ที่มาที่ไป การเริ่มงานจากการจบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ มาเป็น webmaster, web designer, pm จนมาสู่ UX งานของ UX คือการ “ประสาน” และทำไมการสร้างประสบการณ์ที่ users ใช้แล้วรู้สึกว่า ดี ถึงต้องเกิดจากทั้งองค์กรร่วมมือกัน ไม่ใช่แค่ทีม UX ทีมเดียว KPI แต่ละทีม อาจเป็นสิ่งที่สร้างปัญญาด้าน UX กับลูกค้าเราได้ ทำไม UX ต้องคุยกับทีมอื่นหลาย ๆ ทีมมาก ทีมอื่น ๆ ที่ UX สามารถขอ data มาช่วยทีม UX ได้ เช่นทีม Customer Support แต่มี data อยู่แล้วในมือ ไม่ได้แปลว่าเราเข้าใจ users ดีจริง ๆ แล้วเสมอ Research มีวันบูด Communication กับทีมอื่น สำคัญมาก vs การทำงานกับทีมอื่นในยุคออนไลน์ เมื่อ business ตั้งเป้าการทำเงินเป็นเป้าหลัก ก็จะมีโอกาส dark ขึ้นเรื่อย ๆ   Ref: เพจ หมีเรื่องมาเล่า: https://www.facebook.com/2bearstalk คลาส Skooldio คุณป๋อม: https://www.skooldio.com/bootcamp/product-management/ https://ux-ui-bootcamp.skooldio.com/
19-1-202248 minuten, 58 seconden
Episode Artwork

Ep66 ยอดขายที่สูงขึ้นช่วงนี้ อาจเป็นสัญญาณอันตรายของธุรกิจก็เป็นได้

เป้าหมายอันดับหนึ่งที่องค์กรธุรกิจทุกที่มักจะสนใจก็คือ “ยอดขาย” บางองค์กรนั้นมองแค่ยอดขายเป็นเป้าหมายหลักแต่เพียงอย่างเดียวด้วยซ้ำ และสนใจแค่จะทำยังไงก็ได้ให้ได้ยอดขายสูงที่สุดในทุกเดือนหรือทุก quarter     แต่ถ้าเรามองในด้าน experience ที่เกิดขึ้นจริงกับลูกค้าขององค์กร จะพบว่าหลายครั้งที่ยอดขายที่เพิ่มขึ้น มันกลายเป็นสร้างปัญหาและ experience แย่ ๆ ให้กับลูกค้าแทน ซึ่งมันจะส่งผลกระทบต่อองค์กรในระยะยาวแทนได้ครับ Ep นี้เลยจะชวนมาให้ลองมองเป้าหมายธุรกิจในมุม users experience ดูกันบ้างครับ และอยากให้ทุกองค์กรเริ่มมองในมุมความรู้สึกที่เกิดกับลูกค้า และการรักษา relationship กับลูกค้าให้ยาวนานขึ้นกันครับ
29-12-202120 minuten, 27 seconden
Episode Artwork

Ep65 ออกแบบ Brand และ Visual ก็ต้องคำนึงถึง Usability

การสร้าง Brand นั้น ก็เป็นศาสตร์ด้านการดีไซน์อย่างนึง ซึ่งก็ต้อง serve needs หรือ functions บางอย่างให้ users จุดนึงที่ผมเองสังเกตเห็นมานานคือ หลายครั้งที่ brand โฟกัสแค่ภาพลักษณ์ลอย ๆ แต่ไปไม่คำนึงถึงฟังก์ชั่นเหล่านั้น สิ่งที่เกิดคือ brand ก่อให้เกิดปัญหาการใช้งาน หรือ usability problems ขึ้นมาแทนครับ Ep นี้เลยจะมาลองวิเคราะห์เรื่ององค์ประกอบของ Brand ที่มักจะมีปัญหาด้าน usability ได้ โดยเน้นไปยังสิ่งที่มองเห็นได้แต่แรกหรือ “visual” และ Perception แรกเห็น เป็นหลักครับ   Functions ที่ Perception แรกเห็นของ Brand ควรต้อง serve ให้ได้ Uniqueness และ Memorability (ความแตกต่างกับชาวบ้าน และความจำง่าย) Emotions (ที่ช่วยสื่อสารและดึงดูดกลุ่ม target customers ที่ถูกต้องของเรา) Trust Ref: https://www.nngroup.com/articles/brand-experience-ux/ Brand Chemistry by Laura Beauparlant + Chris Do: https://www.youtube.com/watch?v=MLHD2uDjDxA
23-12-202132 minuten, 52 seconden
Episode Artwork

Ep64 UX เกี่ยวข้องกับ Marketing แต่ทำ UX ไม่ใช่ทำ Marketing

ศาสตร์ด้าน UX และ Marketing นั้น หลายครั้งคนมักจะมองว่าเกี่ยวข้องกันมาก บางคนอาจจะมองว่า 2 ด้านนี้คือสิ่งเดียวกัน หรือ UX เป็น subset ของ Marketing หรือ Marketing เป็น subset ของ UX ก็มี ซึ่งทั้งหมดนี้ จะว่าถูกก็ถูก แต่จะว่าผิดก็ผิดครับ ep นี้เลยจะมานั่งคุยถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ด้านนี้ และทำไมเราถึงควรที่จะแยกความแตกต่างของ 2 ด้านนี้ออกจากกัน โดยเฉพาะ mindset ที่ใช้ในการทำ 2 ด้านนี้ เพราะถ้าเราไม่แยกความแตกต่างออกและใช้ mindset ผิดที่ผิดทาง มันอาจจะกลายเป็นการสร้างปัญหาให้โปรดักส์ของเราได้ครับ
14-12-202127 minuten, 4 seconden
Episode Artwork

Ep63 เมื่อผมโดนโจรหลอกตอน f ต้นไม้และปัญหา usability

Ep นี้จะเปลี่ยนสไตล์มานั่งเม้าเกี่ยวกับปัญหาในชีวิตประจำวันที่เจอมา ว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่อง Usability ยังไงบ้างครับ โดยล่าสุดผมพึ่งโดนโจรหลอกตอน f ต้นไม้ทาง Facebook ซึ่งมันทำให้ผมลองหันมาวิเคราะห์ดูว่า ปัญหาที่เราโดนหลอกง่าย ๆ นั้นเกิดจากอะไรบ้าง ซึ่งก็พบว่ามันเกี่ยวข้องกับปัญหา Usability ตามหลักการ Heuristic Evaluation หลายข้อครับ และถ้ามองแบบมุมมอง UX designer เราสามารถเรียนรู้และทำอะไรเพิ่มได้บ้างเพื่อช่วย users แก้ไขปัญหาเหล่านี้   Heuristics ที่อ้างถึงใน Ep นี้: 7 Flexibility and Efficiency of Use 1 Visibility of System Status 6 Recognition Rather than Recall 5 Error Prevention   เสวนา UX ตอน Intro to Usability and Heuristics: https://www.youtube.com/watch?v=Gz0L-x6MNXU&t=8s
23-11-202134 minuten, 10 seconden
Episode Artwork

Ep62 4 สิ่งที่เรียนรู้จากการฝึกงานด้าน UX (กับน้องแฟรงค์)

Ep นี้ผมชวนน้องแฟรงค์ (อรรถวัฒน์ ชัยโรจน์) นักศึกษาคณะสถาปัตย์ ที่เป็นน้องฝึกงานคนแรกของพรักซุส พร้อมคุณมีนพรักซุสที่เป็นโค้ชน้องแฟรงค์ มาแชร์ประสบการณ์การฝึกงานด้าน UX และที่มาที่ไปว่า เด็กสายสถาปัตย์เริ่มมาสนใจสายงานด้าน UX ได้ยังไง, เริ่มหาที่ฝึกงานยังไง, และเมื่อได้มาฝึกงานจริง ๆ สิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้ง 4 ข้อที่มันแตกต่างจากสิ่งที่คาดก่อนจะมาฝึกงานมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง   4 สิ่งที่แฟรงค์ได้เรียนรู้: ทุก ๆ อย่างที่ทำเกี่ยวกับ UX เราต้องมีเหตุผล (ไม่เชื่อเซนส์ตัวเองมากจนเกินไป) ความสวยงามเป็นสิ่งสุดท้ายที่โฟกัส (สิ่งที่มีประโยชน์ต่อ users ควรถูกคิดถึงก่อน) การทำ UX จะต้องละเอียดมาก ๆ (เช่น การเลือกใช้คำที่ต้องคำนึงถึงคนอ่านเสมอ) สิ่งที่เราคิด อาจะไม่ได้หมายความว่าคนอื่นจะคิดเหมือนเรา (users มักจะเจอปัญหาที่เราไม่ได้คาดถึงเสมอ ต้องสั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ)
16-11-202120 minuten, 25 seconden
Episode Artwork

Ep61 NPS 4 - เคสแปลก ๆ ของ NPS ที่เราเคยเจอ (กับทีมพรักซุส)

Ep นี้ ผมชวนทีมพรักซุสคือคุณพัทและคุณมิ้นท์ มาร่วมเม้าเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เรานำคำถาม NPS ไปใช้ในการถาม users หลักการทำ usability testing ครับ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ได้เจอกับการให้คะแนน NPS หลายหลายแบบ ทั้งที่ NPS สอดคล้องไปทางเดียวกับผลการทำ test ของ users และที่การให้คะแนน NPS ที่ไปคนละทางกับผลการทำ test จริง ๆ ด้วย ซึ่งตรงกับเหตุผลที่คุณ Jared Spool ได้เคยพูดไว้ (ที่เคยเล่าใน Ep 59 อย่าเชื่อ NPS ให้มาก) ซึ่งมันก็ยืนยันถึงความสำคัญของการถามว่า "ทำไม" ประกอบกับแค่การถามคะแนน NPS เพียว ๆ ครับ
9-11-202134 minuten, 34 seconden
Episode Artwork

Ep60 เสวนา UX 11 - Recognition rather than recall ออกแบบให้ต้องจำมาก ยิ่งยากต่อการใช้งาน (H.E.)

ในการออกแบบข้อมูลในระบบต่าง ๆ นั้น เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดของ "ความจำ" ของมนุษย์เรามาก ๆ ครับ เพราะในความเป็นจริงแล้วสมองของมนุษย์เรานั้นจำอะไรไม่ค่อยดีซักเท่าไหร่ซึ่งหลายครั้งเรามักจะพบกับปัญหาเวลาที่ designers ไม่คำนึงถึงเรื่อง "ความจำมนุษย์" นี้มาก แล้วคาดหวังว่า users ต้องจำได้ทั้งหมด ทำให้สุดท้ายระบบที่ออกแบบมานั้นใช้ยากมาก ๆ สำหรับ usersแต่ในทางกลับกัน ระบบก็ไม่ได้จำเป็นต้องแสดงข้อมูลทุกอย่างให้ users เสมอไป การแสดงแค่บางเสี้ยวก็ช่วยให้ users จำที่เหลือได้แล้ว ซึ่งพวกนี้คือหัวใจสำคัญของหัวข้อเสวนา UX ในครั้งนี้ "Recognition rather than Recall" ครับ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heuristics ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Recognition rather than Recall" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง เราจะมาคุยปูพื้นเกี่ยวกับ Cognitive Psychology ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของความจำของมนุษย์ทั้ง 2 แบบ คือ Short-term memory และ Long-term memoryพร้อมกับมาแชร์ตัวอย่างที่เราเจอกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งในระบบดิจิตอล และในโลกข้างนอกครับ และเราก็จะมาคุยกันถึงปัญหาว่า ถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง "Recognition rather than Recall" จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง และเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดนี้กันอย่างไรดี และตัวอย่างการนำไปใช้ในการออกแบบโปรดักส์ดิจิตอลต่าง ๆ ครับ ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญจาก Krungsri Nimble คือ คุณวอร์ม ที่จะมาร่วมนั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อครั้งนี้กันครับ   รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ)Founder, Design & Research Director@ Pruxus Design คุณวอร์ม (ติรศักดิ์ วงศ์อหิงสา)Head of Culture and People Transformation@ Krungsri Nimble คุณพัท (พงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช)Lead UX Designer & Researcher@ Pruxus คุณมิ้น (ศศิกานต์ ชาญผดุงสกุล )Senior UX Designer & Researcher@ Pruxus
1-11-20211 uur, 34 minuten, 10 seconden
Episode Artwork

Ep59 NPS 3 - อย่าเชื่อ NPS ให้มาก! 6 ปัญหาที่ต้องระวังก่อนใช้

2 ep ที่ผ่านมา เราได้พูดถึงแต่ข้อดีของ NPS มาเยอะแล้ว ep นี้เลยจะมาลองเล่าถึงปัญหาทั้ง 6 ข้อของ NPS ครับ ซึ่งคุณ Jared Spool ที่เราเคยพูดถึงในหลายตอนที่ผ่านมา ก็เป็นคนที่ออกมาฟาด NPS ในแง่ UX ว่าจริง ๆ แล้ว NPS มันไม่ได้เชื่อถือได้ขนาดนั้น ถึงขั้นบอกว่า องค์กรที่เชื่อ NPS มาก ก็เหมือนกับเชื่อดวงในหนังสือพิมพ์ ep นี้จะอ้างอิงถึงบทความที่คุณ Jared Spool เขียนเพื่อฟาด NPS ครับ และยังอ้างอิงถึงบทความจาก UXDesign.cc ที่เค้าเขียนออกมาฟาดกลับคุณ Jared Spool ว่าจริง ๆ แล้ว NPS มันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น ซึ่ง ep นี้จะขอสรุปพ้อยท์ที่ได้จากบทความเหล่านี้ครับ ปัญหาของ NPS ทั้ง 6 ข้อ การคำนวนที่ประหลาดและไม่สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงจริง ไม่ได้สื่อถึง customer loyalty ดีพอขนาดบทความเดิมบอก ไม่ได้สื่อถึง experience ที่ customers เจอจริง ๆ ได้ เมื่อองค์กรใช้ NPS เป็นเป้า มีโอกาสพัง คนชอบคิดว่า NPS คาดเดาอนาคตองค์กรได้ ซึ่งผิด ไม่สามารถบอกได้ว่าถ้าคะแนนเราแย่ จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ยังไง? และตอนท้าย ep จะพูดถึงข้อดีของ NPS ที่ยังมีอยู่ พร้อมสิ่งที่ควรทำในมุมมองของผม สำหรับองค์กรที่อยากจะโฟกัสไปที่ลูกค้าจริง ๆ ครับ Ref: Jared's article https://articles.uie.com/net-promoter-score-considered-harmful-and-what-ux-professionals-can-do-about-it/ https://articles.uie.com/get-a-better-ux-metric-from-your-nps-survey-data/ https://twitter.com/jmspool/status/1004488079720308736?lang=en https://uxpodcast.com/179-nps-jared-spool/ https://uxdesign.cc/net-promoter-score-nps-is-not-harmful-believing-in-silver-bullets-is-9c537f450a24
25-10-202136 minuten, 25 seconden
Episode Artwork

Ep58 NPS 2 - ที่มา และความสัมพันธ์กับ Customer Loyalty

ตอนที่ 2 ของเรื่อง Net Promoter Score (NPS) เราจะมาคุยถึงที่มาที่ไปของ NPS และความเกี่ยวโยงกับสิ่งที่เรียกว่า "Customer Loyalty" ครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรทุกแห่งควรจะโฟกัสกันให้มากเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนขึ้น   เนื้อหาใน Ep นี้: ที่มาที่ไปของ NPS นั้นมาจากไหน และความเกี่ยวข้องกับบริษัท Enterprise Rent-A-Car บริษัทเช่ารถระดับท็อปของอเมริกา Customer Loyalty นั้น คืออะไร ทำไมมันถึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ และจะทำให้องค์กรเติบโตได้ดีที่สุด ทำไมการที่ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ถึงไม่ได้แปลว่าลูกค้ามี Loyalty เสมอไป NPS สัมพันธ์กับ Customer Loyalty ยังไง ทำไม survey วัดความพึงพอใจลูกค้าแบบเดิม ๆ ถึงใช้วัดเรื่อง Customer Loyalty ได้ไม่ดีพอ NPS สามารถคาดเดาถึงการเติบโตขององค์กรได้แค่ไหน จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราไม่สนใจเรื่อง Customer Loyalty (Case Study บริษัท AOL)   เนื้อหาใน Ep นี้มาจากบทความคุณ Fred Reichheld จาก Harvard Business Review: https://hbr.org/2003/12/the-one-number-you-need-to-grow
28-9-202135 minuten, 51 seconden
Episode Artwork

Ep57 NPS 1 - วิธีวัดผลจาก users ที่ง่ายและใช้กันมากที่สุด

NPS หรือ Net Promoter Score นั้น เป็นหนึ่งในวิธีการวัดผลจากลูกค้าที่แพร่หลายมาก และหลายคนก็บอกว่า เป็นวิธีการวัดผลที่ดีและง่ายที่สุด ณ เวลา นี้ Ep นี้เลยจะมาคุยกันว่า NPS นั้นคืออะไร ครับ ซึ่ง Ep นี้จะเป็นตอน intro ของเรื่อง NPS และจะมีอีก 2-3 Ep ตามมาครับ หัวข้อใน Ep นี้ NPS คืออะไร NPS ใช้ยังไง คำนวนค่ายังไง NPS มันบอกอะไรเราบ้าง และทำไมมันถึงดีกว่าการวัด Customer Satisfaction ทั่วไป ค่า NPS แค่ไหนที่เรียกว่าโอเค แค่ไหนที่เรียกว่าแย่ แล้วองค์กรใหญ่ ๆ ระดับโลกเค้าได้ค่า NPS กันเท่าไหร่ยังไงบ้าง Ref: คะแนน NPS ของบริษัทใหญ่ระดับ Fortune 500: https://customer.guru/net-promoter-score/fortune-500 ค่า NPS ที่ดีของแต่ละ industry และ NPS ของ Tesla https://www.retently.com/blog/good-net-promoter-score/ https://www.retently.com/blog/tesla-nps/
21-9-202124 minuten, 37 seconden
Episode Artwork

Ep56 Intro to DesignOps 2 - เสาหลัก 5 ด้านของ DesignOps (กับคุณชาน Thoughtworks)

Ep นี้เรายังอยู่กับเรื่อง "DesignOps" กับคุณชานครับ โดยเราจะมาลงดีเทลของ Pillars หรือเสาหลักทั้ง 5 ของ DesignOps กัน ว่าการทำ DesignOps นั้น มันเกี่ยวข้องกับส่วนไหนบ้าง Pillars ของ Design Ops ทั้ง 5 1.Vision การแชร์ vision ของผู้บริหารด้านบนกับทีมทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่สร้างมามันจะไม่ได้ไปคนละทาง Process การทำให้เรามั่นใจว่าไอเดียต่าง ๆ มันมี potential จริง 2.Discovery การวาง process การทำ research ให้เกิดได้ง่ายขึ้น ไม่ติดขั้นด้วยระบบเดิม ๆ ในองค์กร Research Ops หรือการปรับปรุงให้ทีมแต่ละทีมมีการแชร์ผลที่ได้จากการทำ research ระหว่างกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำไป 3.Delivery การคำนึงถึงการ reuse สิ่งที่เคย design ไว้แล้ว การสร้าง Design System 4.Evaluation การวัดดูว่าของที่ทำออกไปมันดีจริง ๆ หรือเปล่า และการสร้างมาตรฐานของการวัด การเตรียมพร้อมขั้นตอนในการประเมินผลต่าง ๆ การ experiment ว่าขั้นตอนหรือ method แบบไหนที่ดี ที่เราควรนำขั้นตอนนี้กลับมาบรรจุเพื่อใช้งานกับโปรเจ็คอื่น ๆ ต่อ 5.Team ถ้าเราอยากจะขยายทีม หรือเพิ่มศักยภาพของทีมงาน (เพิ่มคน, ทำให้คนเก่งขึ้น) Career paths ของ designers ในทีม Health check กับคนในทีม มีความสุขในการทำงานไหม, tools ต่าง ๆ พร้อมในการทำงานไหม DesignOps ก็เหมือนเป็นงานที่ต้องทำโดย lead หรือรุ่นพี่ในทีม ซึ่งจริง ๆ ทุกองค์กรก็มี DesignOps กันหมดอยู่แล้ว ทุกบริษัทจำเป็นต้องมี Design Ops กันหมดไหม?
29-8-202145 minuten, 48 seconden
Episode Artwork

Ep55 Intro to DesignOps 1 - เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมดีไซน์ (กับคุณชาน Thoughtworks)

Ep นี้เราจะมาคุยถึงศาสตร์ที่ค่อนข้างใหม่ของวงการ design ที่เรียกว่า "DesignOps" ครับ ซึ่ง Ep นี้จะเป็นตอนที่ 1 ของทั้งหมด 2 ตอน Design Ops คร่าว ๆ นั้นคือ ศาสตร์ของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของการทำ Design โดยการลดงานที่ designers ต้องทำแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ core ของการ design จริง ๆ ลง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมันก็จะทำให้โปรดักส์ออกมามีคุณภาพที่ดีขึ้น และองค์กรก็สามารถลด cost ในการสร้างโปรดักส์ลงด้วย เนื้อหาใน Ep. นี้ ทำไมถึงมาสนใจสิ่งที่เรียกว่า Design Ops นี้ DesignOps คืออะไร ที่มาที่ไปมาจากไหน Design Spec, Design System สิ่งที่เป็นองค์ประกอบหลักอย่างนึงของการทำ DesignOps การทำ DesignOps เพื่อช่วยให้การส่งต่องานกับทีมงานทำได้ง่าย และลดการที่ทีม design ต้องไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่ใช่เกี่ยวกับการทำ product จริง ๆ (ลด Waste ที่ทำให้องค์กรเสีย cost เปล่า ๆ) DesignOps Thailand FB page ของคุณชาน: https://www.facebook.com/DesignOps-Community-Thailand-104624734899488/
23-8-202137 minuten, 5 seconden
Episode Artwork

Ep54 Design Tradeoffs การดีไซน์ ต้องอย่าลืมการชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย

ในการดีไซน์โปรดักส์ หรือแม้แต่การตัดสินใจต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญมากที่เป็นรากฐานเลย ก็คือการ "ชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย" ของแต่ละทางเลือกที่เรามี (Design tradeoffs) เพราะทุก ๆ การตัดสินใจที่เกิดขึ้น มันไม่มีทางที่จะมีแต่ข้อดี มันจะมีข้อเสียตามมาเสมอ ซึ่งถ้าเราไม่สนใจมองที่ข้อเสียหรือข้อดีอย่างรอบคอบ มีโอกาสสูงมากที่เราจะสร้างปัญหาใหม่ ๆ ให้ users ของเรา แทนที่จะแก้ปัญหาครับ และท้าย ep จะพูดถึง tips ที่ใช้เพื่อให้มั่นใจได้มากขึ้นว่าเรามีการคำนึงถึงการชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียของเราได้เพียงพอครับ   Tips เพื่อช่วยให้เราไม่โดนจิตวิทยาหลอกจนลืมการทำ design tradeoffs: 1. ถ้ามีไอเดียอะไรลอยเข้ามาในหัวแล้วเราตื่นเต้นมาก slow down มองหาแต่ข้อเสียก่อน (หรือถ้ามีไอเดียคนอื่นที่เราแหวะ ให้ slow down แล้วมองแต่ข้อดีก่อน) 2. อย่าคิดแค่ไอเดียเดียวแล้วทำเลย ลอง explore หาหลาย ๆ options ก่อนตัดสินใจจริง แล้วเลือก option ที่ดูมีข้อดีมากสุด ข้อเสียน้อยเสีย 3. พึงตระหนักเสมอว่าการตัดสินใจทุกอย่างของมนุษย์เรา มันเกิดจาก emotion หรืออารมณ์ อยู่เสมออยู่แล้ว แล้วพยายามลด emotion ลงให้มากสุดเท่าที่เป็นไปได้ ใส่เหตุผลและ logic ให้มากที่สุด 4. อย่าลืม user test solutions ของเราด้วย ถึงจะคิดว่าเราชั่งน้ำหนักข้อดี-ข้อเสียเยอะแค่ไหน แต่ก็มีโอกาสตัดสินใจผิดได้เสมอ
10-8-202124 minuten, 5 seconden
Episode Artwork

Ep53 เสวนา UX 10 - Consistency & Standards ออกแบบของที่เหมือนให้เหมือน ลดการเรียนรู้และความงง (H.E.)

ในการออกแบบระบบต่าง ๆ นั้น การพยายาม keep ให้สิ่งที่เหมือนกัน "เหมือนกันทั้งหมด" และสิ่งที่ต่างกัน "ต่างกันทั้งหมด" ให้ได้ เป็นสิ่งที่จะช่วยลดความงงในการใช้งานระบบของ users และช่วยให้ users จำการทำงานต่าง ๆ ของระบบได้ดีขึ้นครับ ซึ่งนี่คือสิ่งที่เรียกว่า "Consistency and Standards" ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ง่าย ๆ แต่เราก็มักจะเห็นตัวอย่างของการออกแบบที่ไม่ใส่ใจเรื่องนี้จนทำให้ users งงในการใช้งานกันเต็มไปหมด เช่น การเปลี่ยนดีไซน์ไปมา, การใช้ปุ่มแบบเดียวกันกับสิ่งที่ต่างกัน ทำให้ users เข้าใจผิด ฯลฯ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heuristics ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Consistency and Standards" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง พร้อมจะมาแชร์ตัวอย่างที่เราเจอกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งในระบบดิจิตอล และในโลกข้างนอกครับ และเราก็จะมาคุยกันถึงปัญหาว่า ถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง Consistency and Standard จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง และเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดนี้กันอย่างไรดีครับ ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญจาก SCB คือ คุณไอซ์ครับซึ่งเราจะมานั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อครั้งนี้กันครับ   รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ)Founder, Design & Research Director@ Pruxus Design คุณไอ๊ (ณิชนันทน์ ศักดิ์สินธุ์ชัย)UX Designer@ SCB TechX คุณพัท (พงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช)Lead UX Designer & Researcher@ Pruxus คุณมิ้น (ศศิกานต์ ชาญผดุงสกุล )Senior UX Designer & Researcher@ Pruxus   ชมเป็นคลิปวีดีโอที่เพจพรักซุส https://www.facebook.com/events/806876613349691/
1-8-20211 uur, 36 minuten, 30 seconden
Episode Artwork

Ep52 ทั้ง 6 ขั้นของ UX Maturity Model - องค์กรคุณอยู่ขั้นไหน?

Ep.นี้จะต่อยอดมาจาก Ep ที่แล้ว ที่เราพูดถึง UX Maturity Model หรือ ระดับความพร้อม/ความเก๋า/ความมีวุฒิภาวะขององค์กรต่าง ๆ ในด้านการสร้างโปรดักส์ที่โฟกัสไปยังลูกค้าและ users จริง ๆ ครับ โดย ep นี้เราจะมาลงรายละเอียดกับทั้ง 6 ขั้น ว่าแต่ละขั้นเป็นยังไง และสิ่งที่แตละขั้นควรต้องทำ เพื่อเลื่อนไปขั้นต่อไปคืออะไรบ้าง และมาลองดูกันครับว่าองค์กรของคุณอยู่ขั้นไหน ทั้ง 6 ขั้นนี้มี 1.Unrecognized - UX คือ? 2.Interested - สนแต่ไร้ทุนอะ 3.Invested - เราทุ่มทุนแล้ว 4.Committed - มุ่งมั่นกับ UX 5. Engaged - UX คือรากฐานหนึ่ง 6. Embedded - UX คือลมหายใจ   Ep อื่นที่มีที่พูดถึง Ep.32 อยากจะเทสของที่สร้างแบบเร็วๆ - มาลอง Guerilla testing กันดีกว่า Ep15 ทำ Design Thinking แล้วจะได้แอปใหม่? คือการจัด workshop? และความเชื่ออื่นๆ   Ref: https://www.nngroup.com/articles/ux-maturity-model/ https://uxdesign.cc/everything-undergoes-an-evolution-the-the-phenomenon-of-an-exponential-growth-of-dbca2d69fc22
26-7-202133 minuten, 29 seconden
Episode Artwork

Ep51 UX Maturity Model - มารู้จักกับระดับความพร้อมด้าน UX ขององค์กรกัน

การที่จะสร้างโปรดักส์และบริการ ที่มีประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยมได้อย่างต่อเนื่องนั้น มันไม่ใช่เป็นแค่งานของคนบางคน หรือแค่ทีมบางทีม แต่ทั้งองค์กรสามารถส่งผลต่อประสบการณ์โดยรวมของโปรดักส์และบริการได้ทั้งนั้น มันจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ทั้งองค์กรจะต้องมี "UX Maturity" หรือความพร้อม/ความอาวุโส ด้าน UX ที่มากพอเพื่อที่องค์กรสามารถสร้างโปรดักส์และบริการที่ประสบการณ์ใช้งานที่ยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ ได้ UX Maturity Model นั้น เป็น framework ที่เค้าใช้เพื่อประเมินว่าองค์กรแต่ละที่ มีความพร้อม/ความอาวุโส/ความเก๋า ด้าน UX แค่ไหนบ้าง ซึ่ง ep นี้เราจะมาคุยถึงที่มาที่ไปคร่าว ๆ กันก่อนครับ     Ref: https://www.nngroup.com/articles/ux-maturity-model/ https://www.nngroup.com/articles/ux-maturity-model/ https://uxdesign.cc/everything-undergoes-an-evolution-the-the-phenomenon-of-an-exponential-growth-of-dbca2d69fc22
5-7-202119 minuten, 42 seconden
Episode Artwork

Ep50 Users ไม่ใช่ Customers เสมอไป

พอเราพูดถึงศาสตร์ด้าน "User Experience" ซึ่งต้องมีการมองไปยังคนที่เป็น "Users" หรือ "Customers" ของเรา หลายครั้งที่คำว่า "Users" และ "Customers" ถูกใช้สลับไปมา ซึ่งหมายถึงคนคนเดียวกัน แต่ที่จริงแล้ว ในหลายกรณี 2 คนนี้อาจจะหมายถึงคนละคนโดยสิ้นเชิงก็เป็นไปได้ ดังนั้นมันจึงสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง 2 คนและ 2 คำนี้ เพื่อให้รู้ว่าที่จริงแล้วเรากำลังเรากำลังโฟกัสไปที่ใครอยู่ ถ้าเราไม่แยกความแตกต่างให้ชัดเจน บางทีเราอาจจะกำลังโฟกัสไปอีกทาง และทำให้โปรดักส์ของเรามี User Experience ที่แย่ลงเรื่อย ๆ ก็เป็นไปได้ครับ     Ref: https://www.amazon.com/Users-Not-Customers-Determines-Business/dp/1591846315
23-6-202132 minuten, 14 seconden
Episode Artwork

Ep49 ทำ agile ไม่ได้แปลว่าเรามี iteration แล้ว

จาก ep ที่แล้วที่เราคุยกันเรื่อง iteration และการสร้าง software ที่จะไม่มีวันเสร็จได้ใน iteration เดียว ส่วนตัวผมมักจะได้ยินบ่อยจากคนในองค์กรมีการทำ "Agile" อยู่ แล้วเค้ามักจะคิดกันว่า การที่ทำ agile อยู่เนี่ย มันก็คือการที่มี "Iterations" แล้ว เพราะเราจะมีการทะยอยออก software เวอร์ชั่นใหม่อยู่เรื่อย ๆ แต่.. การทำ agile ที่โฟกัสแค่ไปยังการทะยอยออกเวอร์ชั่นใหม่เรื่อย ๆ ให้เร็วที่สุด ไม่ได้แปลว่ามี iteration ตามนิยามใน ep ที่แล้วเสมอไปครับ ในทางกลับกัน มันอาจจะให้ผลตรงข้ามและสร้างปัญหาให้ user experience ของตัว software ด้วยซ้ำ Ep นี้เลยจะมาคุยเรื่อง agile vs iteration ครับ Intro to Agile อะไจล์คืออะไร Waterfall model vs Agile - วิธีที่ช้าๆ vs วิธีที่เร็วขึ้น Agile แปลว่า เร็ว แต่ ความเร็วไม่ใช่หัวใจหลักของ Agile Agile VS การ serve "คน" การสร้างของให้ตรงกับ needs ของ users นั้นยาก ซึ่ง agile นั้นช่วยให้เราสร้างของได้ตรงกับ needs ถ้ายึดติดกับคำว่า "เร็ว" มากเกินไปอาจเกิดปัญหามากกว่าแก้ปัญหาได้ "คน" อีกกลุ่มที่ agile ช่วย serve คือ ทีมงาน ด้วย   Ref: https://www.uxmatters.com/mt/archives/2012/11/agile-problems-ux-solutions-part-1-the-big-picture-and-prototyping.php
3-6-202113 minuten, 51 seconden
Episode Artwork

Ep48 เสวนา UX 9 Common Mistakes in finding a UI designer

Webinar #9 Common Mistakes in finding a UI designer เสวนา UX กับพรักซุส ครั้งที่ 9 นี้ เป็นภาคต่อของซีรี่ย์ "Common mistakes in finding..." โดยครั้งนี้เราจะมาคุยเกี่ยวกับปัญหาที่มักจะได้ยินมาบ่อย เกี่ยวกับการหา UI designer/Visual Designer ครับ UI/Visual Designers นั้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็นด้านที่ใกล้เคียงกับนิยามคำว่า "designers" ที่คนมักจะนึกถึง นั่นคือ คนที่ทำหน้าที่เนรมิตความสวยงามให้กับสิ่งที่ออกแบบครับ แต่งานที่ UI/Visual Designers ทำนั้น มันก็ไม่ใช่มีแค่ความสวยงามอย่างเดียว เวลาที่มันเกี่ยวข้องกับการออกแบบโปรดักส์ดิจิตัล มันก็จำเป็นที่จะต้องมีทักษะและความรู้ด้านอื่น ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วยครับ ไม่อย่างนั้นแล้วโปรดักส์ที่สร้างออกมาจะกลายเป็นโปรดักส์ที่สวย แต่มีปัญหาการใช้งานเต็มไปหมด และในทางกลับกัน หลาย ๆ องค์กรก็ยังสับสนกับตำแหน่ง UI กับ UX ว่าต่างกันอย่างไรอยู่ดี วิธีแก้ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือการจ้างคนที่เรียกตัวเองว่า "UX/UI" ไปเลย เพราะจะได้เพลย์เซฟ ได้คนที่ทำได้ทั้งสองด้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้ง 2 ด้านนี้แตกต่างกันมากครับ ถ้าองค์กรยังแยกความแตกต่างระหว่าง 2 ด้านนี้ไม่ออก มันอาจจะก่อให้เกิดป้ญหาในระยะยาวได้ เสวนา UX ในครั้งนี้ เราเลยจะมาเจาะดีเทลเกี่ยวกับคนสาย "UI/Visual Designer" ว่าคนตำแหน่งนี้จะช่วยในส่วนไหนได้บ้าง และแตกต่างจากคำตำแหน่ง UX อย่างไร และเวลามองหา UI/Visual designers ที่ควรดูที่จุดไหน ยังไงบ้าง รวมถึง จะคุยกันถึงมุมน้อง ๆ ที่เป็น UI/Visual ด้วย ว่าการพรีเซนต์ตัข้อมูลใน portfolio หรือ resume ในรูปแบบไหน ที่จะสื่อสารถึงทักษะของตัวเองที่เหมาะสมที่สุดครับ ในครั้งนี้ เราได้แขกรับเชิญมาเม้าท์ที่เป็นคนสาย UI ที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดในวงการมายาวนาน และเคยการสัมภาษณ์งานน้อง ๆ UI designers มาหลากหลาย ว่าที่ผ่านมา มักจะเจอ common mistakes หรือข้อผิดพลาดอะไรกันบ้างครับ ทั้งทางฝั่งธุรกิจ ที่มักจะเข้าใจผิดถึงความคาดหวังของการจ้างคนที่เป็น UI designers และทางฝั่งคนที่เป็น UI designers เอง ที่มักจะมีข้อผิดพลาดที่เห็นบ่อย ในการพรีเซนต์ตัวเองของครับ หัวข้อที่เราจะเสวนาในครั้งนี้: ปกติ UI designers ควรรับผิดชอบในส่วนไหนบ้าง และความแตกต่างของคนสาย UI กับ UX และทำไมเราจึงควรเข้าใจจุดนี้ และแยก 2 ตำแหน่งนี้ออกจากกันให้ชัดเจน ทักษะที่สำคัญของ UI/Visual designers คืออะไ และถ้าธุรกิจที่อยากหา UI/Visual designers จะรู้ได้ยังไงว่าคนไหนมีทักษะเหล่านั้น แล้วคนที่เป็น UI/Visual designers ควรจะพรีเซนต์ตัวเองยังไงบ้าง ทั้งในรูปแบบ resume, portfolio และตอนสัมภาษณ์งาน แขกรับเชิญที่จะมาร่วมเสวนากันในครั้งนี้ ได้แก่   คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ) Founder, Design and Research Director @ Pruxus   คุณเอ้ (เดโช พิทักษ์เจริญ) UX Manager @Ayudhya Capital Services (UChoose)   คุณแบงค์ (ธนาคาร จินดา) Lead Service Designer @ Kasikorn LINE   คุณบอย (วัยวุฒิ นิ่มกิตติกุล) Lead UX @ SCB   ชมเป็นคลิปวีดีโอที่เพจพรักซุส https://www.facebook.com/pruxusdesign/videos/977595689668657     แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
6-5-20211 uur, 54 minuten, 27 seconden
Episode Artwork

Ep47 Iteration ไม่ใช่แค่การทยอยออกฟีเจอร์ใหม่

Ep ที่แล้วเราพูดเรื่อง การสร้างดิจิตัลโปรดักส์ไม่มีวันเสร็จง่าย ๆ จำเป็นต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Iteration หรือ การทำซ้ำ แต่หลายครั้งมักจะพบว่า คนเข้าใจความหมายของคำว่า Iteration ผิดไปครับ คนเข้าใจว่า Iteration คือการทยอยออกเวอร์ชั่นใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ การทยอยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เข้าไปยังโปรดักส์ของเรา ก็ถือว่าเป็นการทำ Iteration แล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่ทำให้การสร้างโปรดักส์ที่ดีและตรงกับที่ users ต้องการ ผิดไปคนละทางได้ครับ Ep นี้จึงจะมาคุยกันเกี่ยวกับการเข้าใจผิดนี้  และทำไมการสร้างโปรดักส์ เราจึงไม่ควรเน้นไปที่การเพิ่มฟีเจอร์ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
24-4-202113 minuten, 45 seconden
Episode Artwork

Ep46 สร้างของ digital ไม่มีคำว่า เสร็จแล้ว

หลายครั้งองค์กรสร้างซอฟต์แวร์หรือโปรดักส์ดิจิตอล แล้วโฟกัสกับการแค่ release หรือออกให้ได้ พอโปรดักส์ออกได้แล้ว แปลว่างานเสร็จแล้ว ซึ่งอันที่จริงแล้วการโฟกัสกับแค่การ release ได้นั้น มันเสี่ยงต่อการทำให้โปรดักส์เรากลายเป็นโปรดักส์ที่ users ไม่ใช้งานสูงมากครับ    Ep นี้เลยจะมาคุยกันว่า ทำไมซอฟต์แวร์หรือโปรดักส์ดิจิตอลนั้น ไม่ควรที่จะออกแค่ครั้งเดียวจบ แต่ในทางกลับกัน โปรดักส์ดิจิตอลนั้นกลับต้องเป็นสิ่งที่ควรต้องทำไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันเสร็จ ซึ่งเราจะเห็นได้จากโปรดักส์ดิจิตอลอย่าง Google, Facebook, Apple, Line, ฯลฯ นั้น เค้าก็ยังทำต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันเสร็จ และนอกจากนั้นจะพูดถึง "iteration" หรือ การทำซ้ำ ที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างโปรดักส์ที่มี users เป็นศูนย์กลาง และถ้าเราไม่มีงบประมาณมากพอในการพัฒนาโปรดักส์ของเราไปเรื่อย ๆ แล้ว เราควรจะทำยังไงดี
11-4-202121 minuten, 47 seconden
Episode Artwork

Ep45 เสวนา UX 8 - Common Mistakes in Finding a UX Designer

เสวนา UX กับพรักซุส ครั้งที่ 8 นี้ เราจะมาคุยเกี่ยวกับปัญหาที่มักจะได้ยินมาบ่อย เกี่ยวกับการหา UX designers ครับ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจาก 'ความงง' ของงานด้าน 'UX' เองครับ ซึ่งมันเลยทำให้ทั้งธุรกิจที่อยากหา UX designers ก็งง และฝั่งคนที่เป็น UX designers ก็งงเช่นกัน ฝั่งธุรกิจก็มักจะไม่แน่ใจว่าจ้างคนทำ UX มา แล้วจะมาช่วยทำอะไรได้บ้าง และเวลามองหา UX designers ที่ควรดูที่จุดไหน ยังไงบ้าง ส่วนฝั่งคนที่เป็น UX designers เอง ก็มักจะประสบปัญหาไม่แน่ใจว่าควรจะพรีเซนต์ตัวเองในรูปแบบไหนดี ใน portfolio หรือ resume ควรเขียนในรูปแบบไหน ที่จะสื่อสารถึงทักษะของตัวเองที่เหมาะสมที่สุดครับ โดยในครั้งนี้ เราได้แขกรับเชิญมาเม้าท์ที่เป็นคนสาย UX และ Product รุ่นเดอะในวงการ ที่มีประสบการณ์การทำงาน และสัมภาษณ์งาน UX designers กันมาโชคโชน ว่าที่ผ่านมา มักจะเจอ common mistakes หรือข้อผิดพลาดอะไรกันบ้างครับ ทั้งทางฝั่งธุรกิจ ที่มักจะเข้าใจผิดถึงความคาดหวังของการจ้างคนที่เป็น UX designers และทางฝั่งคนที่เป็น UX designers เอง ที่มักจะมีข้อผิดพลาดที่เห็นบ่อย ในการพรีเซนต์ตัวเองของครับ   หัวข้อที่เราจะเสวนาในครั้งนี้: ปกติ ux designers ควรรับผิดชอบในส่วนไหนบ้าง และ values ที่ UX designers จะมอบให้กับธุรกิจได้ ทักษะที่สำคัญของ UX designers คืออะไร และธุรกิจที่อยากหา UX designers จะรู้ได้ยังไงว่าคนไหนมีทักษะเหล่านั้น แล้วคนที่เป็น UX designers ควรจะพรีเซนต์ตัวเองยังไงบ้าง ทั้งในรูปแบบ resume, portfolio และตอนสัมภาษณ์งาน   แขกรับเชิญที่จะมาร่วมเสวนากันในครั้งนี้ ได้แก่ คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ) Founder, Design and Research Director @ Pruxus   คุณเน็ต (ชฎารัตน์ สิงหฤกษ์) Experience Design Consultant   คุณฮิม (ธนานันท์ อรุณรักษ์ติชัย) Head of Product @ Central JD Fintech   คุณเปิ้ล (ลวณา สุทัศน์ ณ อยุธยา) Lead UX @ True Digital Group   ชมเป็นคลิปวีดีโอที่เพจพรักซุส: https://www.facebook.com/pruxusdesign/videos/943791243091148     แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
5-4-20211 uur, 32 minuten, 28 seconden
Episode Artwork

Ep44 6 Soft Skills จำเป็น เพื่อสร้าง UX ที่เยี่ยมยอด

Ep ที่แล้ว เราพูดถึงว่า mindset นั้นสำคัญกว่าทักษะ (Skills) แต่ทักษะก็ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญครับ Ep นี้เลยอยากจะมาพูดถึงทักษะกันบ้าง ว่าทักษะอะไรที่สำคัญที่สุด ถ้าเราอยากจะสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีของโปรดักส์หรือบริการของเรา ให้กับ users ของเราครับ โดยจะขอพูดถึง soft skills ก่อนครับใน Ep นี้ เพราะส่วนตัวผมมองว่า งานในด้านการสร้างประสบการณ์นั้น soft skills มันสำคัญกว่า hard skills อีกครับ    6 soft skills ที่จะพูดถึงใน Ep นี้: 1.Empathy - อินไปกับปัญหาคนอื่น ไม่รีบด่วนตัดสิน คิดถึงความรู้สึกคนอื่น ข้อนี้เหมือนเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นพลังงานให้ทีมงานสร้าง UX 2.Absorbing - รับ input เข้ามา ทั้งจากการฟัง และนอกเหนือจากการฟัง ก่อนที่จะรีบ output อะไร 3.Logic - ตรรกะ การคิดอะไรเป็นเหตุเป็นผลที่สอดคล้องกัน ไม่ใช้อารมณ์เป็นหลัก หรือคิดเยอะเกิดเหตุจนไถลไปไกลกว่าโจทย์ตั้งต้น 4.Communication -  5.Attention to details - ใส่ใจรายละเอียด ทั้งตอน absorb ข้อมูลเข้ามา และของที่สร้างออกไปก็ใส่ใจ 6.Questionning ตั้งคำถามที่ดี ตั้งคำถามเพื่อการกระตุ้นให้ทั้งตัวเองและคนอื่นคิดอะไรให้ครบทุกด้านและเกิดมุมมองใหม่ๆ     แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
28-3-202130 minuten, 43 seconden
Episode Artwork

Ep43 Good UX starts from mindset, not skillset.

เคยมีประสบการณ์ไปใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากร้านเล็กๆ เจ้าของเป็นแค่อาอี๊ อาม่า คุณลุงคุณป้า แต่รู้สึกประทับใจประสบการณ์เวลาใช้งานสินค้าหรือบริการไหมครับ แต่ในทางกลับกัน หลายครั้งที่เราไปใช้สินค้าหรือบริการจากองค์กรใหญ่ ๆ ก็กลับพบว่ามีปัญหาในการใช้งาน หรือประสบการณ์ที่แย่มาก ๆ ทั้ง ๆ ที่เค้าก็มีทีม UX ใหญ่โต Ep.นี้ จะมาพูดถึงสิ่งที่สำคัญและควรเป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มสร้าง UX ที่ดี นั่นคือ Mindset ที่ถูกต้องครับ ซึ่งมันสำคัญมาก ๆ และสำคัญกว่า Skillset หรือทักษะด้าน UX ทั้งหลายอย่างมากเลยด้วย และคำว่า Mindset นี้ ไม่ใช่แค่สิ่งที่คนเป็น UX เท่านั้นที่ต้องมี แต่มันต้องเป็นสิ่งที่ทั้งองค์กรจะต้องมีไปพร้อม ๆ กัน ไม่อย่างงั้นแล้ว โอกาสที่เราจะสร้างโปรดักส์หรือบริการที่ออกมามี UX ที่ดีได้ มันก็จะน้อยมากครับ   Mindset ที่สำคัญที่ทุกองค์กรควรต้องมี มองลูกค้า/users เป็นจุดศูนย์กลาง และต้องมองมุมนี้กันทั้งองค์กร ไม่ใช่แค่ทีมสองทีม รับฟังจากลูกค้า/users และปรับเปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ ไม่ยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ ในอดีต รับฟังจากคนในองค์กรมากขึ้น โดยเฉพาะจากคนที่ยุ่งเกี่ยวกับลูกค้า/users โดยตรง   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
9-3-202130 minuten, 35 seconden
Episode Artwork

Ep42 เสวนา UX 7 - User Control and Freedom การให้อิสระกับ users ลดความอึดอัดของปสก. (H.E.)

ในการออกแบบ Flow การใช้งาน หรือ options ที่ให้ users เลือกใช้งานได้นั้น หลาย ๆ ครั้งเรามักจะคิดกว่า เราควรจะบังคับอย่าให้ users กดออกได้ง่าย ๆ เพราะเราอาจจะเสียลูกค้าไปได้ แต่รู้ไหมครับว่า นั่นจะเป็นการทำให้ users ไม่อยากใช้งานต่อ และอาจจะไม่กลับมาใช้ระบบของเราอีกเลยก็ได้ ซึ่งนี่ก็คือหัวใจของ User Control and Freedom ที่เราจะมาเสวนากันในเดือนนี้ครับ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heuristics ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "User Control and Freedom" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง พร้อมจะมาแชร์ตัวอย่างที่เราเจอกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งในระบบดิจิตอล และในโลกข้างนอกครับ และเราก็จะมาคุยกันถึงปัญหาว่า ถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง User Control and Freedom จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง และเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดนี้กันอย่างไรดีครับ ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญจาก Central JD FinTech คือ คุณแจนครับ ซึ่งเราจะมานั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อครั้งนี้กันครับ   รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ) Founder, Design & Research Director @ Pruxus Design   คุณแจน (วิภาดา เจตสันติ์) User Experience Design Lead @ CJD   คุณพัท (พงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช) Lead UX Designer & Researcher @ Pruxus   คุณมิ้น (ศศิกานต์ ชาญผดุงสกุล ) Senior UX Designer & Researcher @ Pruxus   ชมเป็นคลิปวีดีโอที่เพจพรักซุส https://www.facebook.com/pruxusdesign/videos/1360856654275419   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
1-3-20211 uur, 27 minuten, 21 seconden
Episode Artwork

Ep41 ถ้าคน UI จะเปลี่ยนเป็น UX - ประสบการณ์ของคุณพัทพรักซุส

Ep นี้ได้มีโอกาสนั่งจับเข่าคุยกับคุณพัท Senior UX Designer ที่พรักซุสครับ ซึ่งคุณพัทเคยเป็นคนทำงานด้าน Graphic design/UI design/Web design มาก่อน ก่อนจะได้ผันตัวมาเป็น UX designer เต็มตัว ซึ่ง ep นี้ มีที่มาจาก ep ก่อนๆ ที่ได้เคยคุยกับคุณชาน Thoughtworks (Ep34-35 เอะอะก็ UX) ว่าคนทำงาน UI ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทำ UX ต่อก็ได้ เพราะว่ามันเป็นคนละทักษะและสายงานกัน แต่ก็มีคนบางประเภทที่ถึงแม้ปัจจุบันจะทำงานในด้าน UI design อยู่ แต่ก็สามารถก้าวมาเป็น UX designer ได้ครับ ซึ่งคุณพัทก็ได้มาแชร์ประสบการณ์การเปลี่ยนสายงานตรงนี้ให้ฟังกันครับ สิ่งที่ยากของการเปลี่ยนจากการเป็น UI designers มาเป็น UX designers การที่เคยเป็น UI designer มาก่อน มันช่วยอะไรกับตอนที่เปลี่ยนมาทำ UX design ไหม และถ้าชั้นเป็น UI designer อยู่แล้ว ชั้นจะรู้ได้ยังไงว่าชั้นควรเปลี่ยนไปทำ UX ต่อ หรือควรจะอยู่ในสายงานเดิม Ref. สามารถกลับไปฟังตอนเก่าที่อ้างอิงถึงใน Ep นี้ได้นะครับ ที่มาว่า คนทำ UI ไม่จำเป็นต้องย้ายสายไปทำ UX ต่อก็ได้ Ep34-35 เอะอะก็ UX ตอนที่ 1-2 กับคุณชาน Thoughtworks) Match between system and the real world คืออะไร Ep33 - เสวนา UX 6 - Match between system and the real world ออกแบบตามสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ใช้ง่ายกว่า (H.E.)   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
18-2-202138 minuten, 43 seconden
Episode Artwork

Ep40 UX คืออะไร และประกอบด้วยอะไรบ้าง-The pyramid of UX Model (by Jeff Patton)

การสร้างประสบการณ์ใช้งานของโปรดักส์นั้น มันไม่ใช่งานของแค่ทีม UX หรือ UI อย่างเดียว แต่แทบจะทุกคนในองค์กรล้วนส่งผลต่อโปรดักส์ที่สร้างออกมาทั้งนั้น แต่ปัญหาอย่างนึงที่มักจะพบก็คือ ทีมอื่น ๆ หลายครั้งไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เรียกว่า "UX" นี่มันคืออะไรยังไงกันแน่ หลายครั้งที่คนจากทีม UX พยายามหาโมเดลหรือไดอะแกรมเพื่อไปอธิบายให้ทีมอื่นเข้าใจว่า UX คืออะไร ทำงานยังไง แต่โมเดลหรือไดอะแกรมที่เรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ นั้น มันก็มักจะเข้าใจยากมาก Ep.นี้ จะเป็นการสรุปเนื้อหาจาก Talk ของคุณ Jeff Patton จากงาน 24 Hours of UX ที่คุณ Jeff เค้าเป็น Keynote speaker เปิดงานครับ ซึ่งเค้าก็ประสบปัญหาเดียวกันกับที่กล่าวมานี่แหละ เค้าเลยสร้างโมเดลของตัวเองขึ้นมาเพื่อใช้ในการช่วยอธิบายให้คนอื่น ๆ ในองค์กรเข้าใจง่าย ๆ ซึ่งผมว่าเป็นโมเดลที่ครอบคลุมและเข้าใจง่ายมาก ๆ และยังช่วยสรุปเนื้อหา ux ที่พอดแคสต์เรายึดถือด้วยครับ 5 ขั้นที่พูดถึงในตอนนี้ (เริ่มจากล่างสุด ไปถึงบนสุด) Users/Customers Solutions Utility (หรือ Useful) Usability (หรือ Usable) Aesthetics ถ้าสนใจอ่านเป็นบทความสรุปหัวข้อของ Ep นี้ สามารถอ่านได้ที่นี่ครับ: https://www.pruxus.com/articles/ux-คืออะไร-และประกอบด้วยอะไรบ้าง-the-pyramid-of-ux-model-by-jeff-patton   วีดีโอคลิป Talk ของคุณ Jeff ครับ: https://youtu.be/UUnWqIarK04?t=311   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
15-2-202131 minuten, 14 seconden
Episode Artwork

Ep39 5 ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับ users ที่ควรคัดมา research ที่มักเจอบ่อย

หลายครั้งในการทำ user research เรามักจะสับสนว่าควรคัด users คือคนแบบไหนดีเข้ามาเพื่อสัมภาษณ์ หลายครั้งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา มักจะพบกับการคัดคนที่ไม่ค่อยตรงกับ goals ของการทำ research เท่าไหร่ ซึ่งมันอาจจะก่อให้เกิดปัญหา ข้อมูลที่ได้มาไม่ใช่ข้อมูลของการ "ใช้งานจริง" ซึ่งจะส่งผลต่อการดีไซน์โปรดักส์ของเราต่อในอนาคตได้ครับ Ep.นี้ผมเลยลองสรุปความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคัดคนจากประสบการณ์ที่เคยเจอมา มาแชร์ให้ฟังกันครับ 1.คัดคนโดยดูที่ demographics ตรง เป็นหลัก  2.คัดคนแบบเน้นปริมาณ ต้องหา users ให้มาก ๆ ยิ่งมากยิ่งดี 3.คัดคนที่เป็นแต่ระดับ top หรือหัวหน้าของคนที่ใช้งานจริงอีกที 4.คัด customers แต่ไม่ใช่ users  5.คัดคนที่ "ดูเหมือน" จะตรงกับกลุ่ม target   users เรา เพราะตรงกับเกณฑ์ที่เราวางไว้   Reference ที่มีพูดถึง: การทำ research ทำกับ 3-5 คนก็พอ https://www.nngroup.com/articles/why-you-only-need-to-test-with-5-users/   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
26-1-202127 minuten, 35 seconden
Episode Artwork

Ep38 จาก class สู่งาน UX - ประสบการณ์ของคุณมีนพรักซุส

Ep นี้ได้มีโอกาสนั่งจับเข่าคุยกับน้องมีนพรักซุส ซึ่งเป็นน้องที่พึ่งเข้ามาจอยน์ในทีมเราได้ประมาณปีกว่า ๆ ครับ น้องเป็นคนที่มี passion ในเรื่อง UX เยอะมาก และก่อนจะเข้ามาทำงานก็ได้ไปลงเรียนกวาดแทบจะทุก UX workshops ที่จะหาได้ เลยอยามาฟังมุมมองคนที่เริ่มศึกษาเองจากการอ่านและลง workshops ว่าตอนที่ศึกษาเอง กับตอนที่ได้เข้ามาทำงานจริง มันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และอะไรที่อยากจะฝากให้น้อง ๆ หรือคนที่สนใจงานด้าน UX รู้และเตรียมพร้อมก่อนเริ่มทำงานด้านนี้จริง ๆ ครับ   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
12-1-202128 minuten, 31 seconden
Episode Artwork

Ep37 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ user research ที่มักพบบ่อย (2) ให้ทีมอื่นทำก็ได้, ทำครั้งเดียวพอ, คนจะชอบเราไหม

Ep นี้ จะเป็นตอนที่ 2 ของเรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ User Research แบบ field study หรือการไปลงสนามสัมภาษณ์ users จริง ๆ ครับ กับความเข้าใจผิดอีก 3 ข้อ ต่อจากตอนที่แล้ว   สำหรับตอนที่ 2 นี้ จะพูดถึงเรื่องกระบวนการทำ user research กับทีมสร้างโปรดักส์ และสิ่งที่ โดยเนื่อหาจะพูดถึงกระบวนการในการทำ user research ว่ามันเกี่ยวข้องกับทีมโปรดักส์ยังไงบ้าง และสิ่งที่เราควรคาดหวังว่าจะได้จาก users คือประมาณไหนครับ โดยก็จะมาตอบคำถามต่อไปนี้กันครับ: จริงหรือไม่ ที่การทำ user research เดี๋ยวเราไปจ้างบริษัทข้างนอกทำ หรือเราให้ทีม UX ทีม Research เค้าไปทำ ๆ มา แล้วเอามาเล่าให้เราฟัง ก็เพียงพอแล้ว จริงหรือไม่ ที่เรากำลังจะทำ research แล้ว เราต้องเตรียมให้เป๊ะที่สุด กลุ่ม users ที่เราจะสัมภาษณ์ต้องครบทุกกลุ่มทุกประเภท คำถามเราต้องครบถ้วน ครอบคลุมทุกจุดในระบบของเรา จริงหรือไม่ที่ การทำ user research คือการได้รู้ว่า คนคิดไงกับโปรดักส์เรา ชอบไม่ชอบแค่ไหน หรือมีไอเดียอะไรดี ๆ ให้เราบ้าง   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
7-1-202121 minuten, 16 seconden
Episode Artwork

Ep36 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ user research ที่มักพบบ่อย (1) ดาต้าแบบตัวเลข คือสิ่งสำคัญสุดของ user research

Ep นี้ จะพูดถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ User Research แบบ field study หรือการไปลงสนามสัมภาษณ์ users จริง ๆ ครับ ซึ่งมักจะมีความเข้าใจผิดกันหลายเรื่อง จึงอยากจะรวบรวมพวกความเข้าใจผิดเหล่านี้มา ซึ่งเนื้อหาจะค่อนข้างเยอะ จึงจะขอแบ่งเป็นหลาย part ในหลาย Ep. นะครับ สำหรับตอนที่ 1 นี้ จะพูดถึงเรื่องตัวเลข ๆ ซึ่งเป็นจุดที่คนที่ทำ research ในรูปแบบอื่นมาก่อน มักจะนึกถึงเป็นหลัก เพราะ research ก็ควรเป็นอะไรที่ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลขสิ แต่จริง ๆ แล้ว การยึดติดกับตัวเลขมากจนเกินไป เป็น no.1 ของสิ่งที่ทำให้ user research ได้ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงกับ value จริง ๆ ที่เราควรจะได้จากการออกไปลุยคุยกับลูกค้าด้วยซ้ำครับ โดยเนื่อหาจะพูดถึง ทำไมเราต้องทำ User research แบบลุยออกไปคุยกับ users หรือลูกค้าของเราจริง ๆ เป้าหมายที่แท้จริงมันคืออะไร มันจะช่วยอะไรเราบ้าง และก็จะมาตอบคำถามต่อไปนี้กันครับ จริงหรือไม่ ที่ถ้าชั้นมีดาต้าเป็นตัวเลขแล้ว เช่น มีข้อมูลจาก Analytics เยอะแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปทำ user research อะไรเพิ่มอีกก็ได้ จริงหรือไม่ที่การทำ user research คือต้องไปวัดทุกอย่างเป็นตัวเลขออกมาให้ได้ จำนวน users ต้องมาก และผลลัพธ์ต้องเป็นตัวเลขเสมอ แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback  
5-1-202122 minuten, 24 seconden
Episode Artwork

Ep35 เอะอะก็ UX (2) - แล้วหน้าที่ของ UX และ UI ควรโฟกัสที่ไหนดี (กับคุณชาน Thoughtworks)

ภาคต่อของการเม้าท์กับคุณชานจาก Thoughtworks โดย ep. นี้เราจะคุยถึงทางออก และหน้าที่ความรับผิดชอบของงานคนทำ UX และ UI ที่ควรจะเป็นครับ สำหรับเนื้อหาใน ep นี้: จริง ๆ แล้ว UX และ UI ต่างก็มีเป้าหมายท้ายสุดที่เหมือนกัน Designer กับ Artist ทั้งคู่ต่างก็สร้างสรรค์บางอย่างเหมือนกัน แต่ความรับผิดชอบจริง ๆ ก็ต่างกันมาก แม้แต่ UI และ Branding ก็ควรต้อง serve การใช้งานของ users ไม่ใช่แค่ตัวเราเอง ตำแหน่งงานและความรับผิดชอบของ Graphic Designer, UI Designer, UX Designer ถึงจะทำ UI แต่ก็ควรต้องเข้าใจ users ให้มากเช่นกัน ตำแหน่ง UX แยกย่อยได้อีกมากมาย เราจำเป็นต้องจ้าง UX และ UI แยกเป็นคนละคนไหม อย่ากลัวการถามคนใน UX communities ถ้าเราไม่แน่ใจเรื่องหน้าที่ของ UX และ UI อย่ากลัวการทำผิด งานของ UX และ UI designers คือการทำผิด Reference ที่อ้างอิงถึง: ตำแหน่งงานในทีม UX: https://www.interaction-design.org/literature/article/the-ultimate-guide-to-understanding-ux-roles-and-which-one-you-should-go-for . Jakob Nielsen's opinion about UX unicorns: https://www.youtube.com/watch?v=_YEHmWCtjx0 . เพจของคุณชาน https://www.facebook.com/deersignerofficial แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
26-12-202055 minuten, 42 seconden
Episode Artwork

Ep34 เอะอะก็ UX (1) - ความงงของคำว่า 'UX' และจรรยาบรรณคนทำ UX, UI (กับคุณชาน Thoughtworks)

Ep. นี้ ผมชวน คุณชานจาก Thoughtworks มาเม้าท์กันเรื่องคำว่า 'UX' ที่หลายครั้งเป็นสิ่งที่ทำให้คนงงกันว่า ตกลง UX ทำอะไร UI ทำอะไร ต่างกันยังไง และทำไมถ้าคุณเป็นคนทำงานในสายงานนี้ ควรจะต้องเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วคุณเป็น UX หรือเป็น UI กันแน่ เพราะถ้าไม่เข้าใจให้ดีว่า UX กับ UI ต่างกัน มันอาจจะส่งผลกระทบไปไกลได้ครับ ซึ่งเนื้อหาที่เม้าท์กันนี้ค่อนข้างยาว จึงขอแบ่งเป็น 2 ep ครับ   สำหรับเนื้อหาใน ep นี้: งานสาย UX และ UI มีบางอย่างที่เหมือนกัน แต่หลายอย่างก็ต่างกัน ควรจะต้องแบ่งให้ชัดเจน งานตำแหน่ง UX ไม่ใช่ขั้นกว่าของตำแหน่ง UI ไม่จำเป็นที่ทำ UI แล้วต้องกลายเป็น UX ต่อ ทำไมคนทำ UX และ UI ควรต้องเข้าใจให้ดีก่อนว่าความรับผิดชอบของตัวเราคือทำอะไร ผลเสียจากการที่ UX และ UI ไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า งานตัวเองมีเพื่ออะไร สิ่งที่ธุรกิจควรต้องโฟกัส มากกว่ายอดขาย (เทียบกับ service อย่างแท็กซี่) แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
19-12-202041 minuten, 41 seconden
Episode Artwork

Ep33 เสวนา UX 6 - Match between system and the real world ออกแบบตามสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ใช้ง่ายกว่า (H.E.)

ในการออกแบบสัญลักษณ์หรือไอค่อนต่าง ๆ รวมไปถึงการสื่อสารคำพูดกับ users นั้น เราจำเป็นที่จะต้องมั่นใจว่า ดีไซน์หรือ คำพูดที่เราเลือกใช้จะต้องเข้าใจง่ายสำหรับ users ด้วย ซึ่งการเข้าใจง่ายนั้น มันจะเกี่ยวโยงไปถึงสิ่งที่อยู่ในหัวของ users อยู่แล้ว (หรือ long-term memory) ด้วยครับ ถ้าเราไม่คำนึงถึงเรื่องนี้ สิ่งที่จะเกิดคือ ระบบเราจะเข้าใจยากและ users สับสนจนใช้งานไม่ได้ พวกนี้คือหลักการของ Match between system and the real world ครับ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heurists ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Match between system and the real world" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง พร้อมจะมาคุยกันถึงปัญหาว่า ไอ้สิ่งที่เรียกว่า long-term memory นี่คืออะไร การออกแบบให้เหมือนสิ่งที่อยู่ใน long-term memory ของคนนั้นเป็นยังไง และถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง Match between system and the real world จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง และเราจะแก้ไขปัญหากันอย่างไรดีครับ . และเราจะมาคุยกันด้วยเกี่ยวกับคำถามที่คนมักจะมี เวลาพูดถึง heuristics ข้อนี้ด้วยครับ ว่าถ้าเราออกแบบให้เหมือนสิ่งที่ users เคยเห็นมาแล้ว มันก็ไม่มีจุดขายสิ เราจะแก้ปัญหาตรงนี้ยังไงกันดีครับ . ซึ่งในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญจากสาย Visual Design คือ คุณเอ้ จาก UChoose ครับ ซึ่งเราจะมานั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อครั้งนี้กันครับ รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ) Founder, Design & Research Lead @ Pruxus Design คุณเอ้ (คุณเดโช พิทักษ์เจริญ) UX Manager @ Ayudhya Capital Services (UChoose) คุณพัท (คุณพงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช) Senior UX Designer & Researcher @ Pruxus คุณเบียร์ (ปิยะพันธุ์ พิศุทธิ์นารากูล) Project Manager @ Pruxus ชมเป็นคลิปวีดีโอที่เพจพรักซุส https://www.facebook.com/pruxusdesign/videos/411151310320995 แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
17-12-20201 uur, 24 minuten, 40 seconden
Episode Artwork

Ep32 อยากจะเทสของที่สร้างแบบเร็วๆ - มาลอง Guerilla testing กันดีกว่า

หลายครั้งทีมสร้างโปรดักส์มักจะไม่ได้มีงบหรือเวลามากพอในการ test ดีไซน์ที่สร้างขึ้นมา มันเลยกลายเป็นข้ออ้างในการไม่ test กับ users เลย ซึ่งมันทำให้โปรดักส์ที่สร้างขึ้นมาเสี่ยงต่อการไม่ useful/usable มากครับ  Guerilla testing หรือการเทสแบบกองโจรนั้น เป็น method ที่ช่วยให้เราประหยัดทั้งงบและเวลาแถมยังสามารถช่วยให้ทีมได้ test กับ users จริงได้ครับ แต่อย่างไรก็ดี Guerilla testing นั้นก็มีข้อเสียและไม่เหมาะกับการ test ระบบทุกประเภทครับ Ep. นี้เราเลยจะมาคุยกันว่า Guerilla testing นั้นเหมาะ/ไม่เหมาะกับอะไรบ้าง แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
7-12-202023 minuten, 16 seconden
Episode Artwork

Ep31 เสวนา UX 5 - Visibility of System Status แสดงสถานะให้ users รู้ตลอด (H.E.)

เวลาที่ users ใช้งานระบบต่าง ๆ users จะพยายามทำความเข้าใจว่า ณ ตอนนี้ตัวเองกำลังอยู่ที่ไหนในระบบ และระบบกำลังทำอะไรอยู่ ซึ่งการบอก users ให้รู้ถึง status ต่าง ๆ ของระบบ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ระบบที่เราสร้างขึ้นมาใช้งานได้ง่ายซึ่งสิ่งนี้คือหลักการของ Visibility of System Status ครับ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heurists ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Visibility of System Status" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง พร้อมจะมาคุยกันถึงปัญหาว่า ถ้าโปรดักส์ไม่ได้สนใจเรื่อง Visibility of System Status จะเกิดปัญหาอะไรกับ users บ้าง และเราจะแก้ไขปัญหากันอย่างไรดีครับ ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญมาร่วมเสวนาด้วย จากหลากหลายองค์กรชั้นนำ ทั้งจาก SCB, Kasikorn Line และ SAGE Capitalซึ่งเราจะมานั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Visibility of System Status ให้ฟังกันอีกด้วยครับ รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ)Founder, Design & Research Lead@ Pruxus Design คุณแบงค์ (ธนาคาร จินดา)Lead Service Designer@ Kasikorn LINE คุณปิ่น (ปานฤทัย รัตนธรรม)UX Designer@ SCB คุณเอ (กุลรัศมิ์ ชีวินวนกิจกุล)UX consultant@ SAGE Capital ชมเป็นคลิปวีดีโอที่เพจพรักซุส https://www.facebook.com/1927580630605440/videos/999248390560113 แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
2-12-20201 uur, 15 minuten, 13 seconden
Episode Artwork

Ep30 คัดคนมารีเสิช วางเกณฑ์ยังไง? ลืมเรื่อง Demographic ไปก่อน

เวลาจะคัดคนมา research เรามักจะมีคำถามเป็นสิบในหัวว่า เราควรต้องคัดคนแบบไหน ยังไง ดูที่อะไร  Ep นี้จะมาพูดถึงการวางเกณฑ์การเลือกคนที่ตรงกับโปรดักส์ของเราครับ หลัก ๆ การวางเกณฑ์ที่จะพูดถึง จะมีเกณฑ์ 3 ประเภท คือ 1. Demographics (เช่น อายุ เพศ วัย อาชีพ) 2. Behaviors ที่ผ่านมา 3. Attitudes หรือมุมมอง ความคิด ซึ่งปกติแล้วเวลาวางเกณฑ์ หลาย ๆ คนมักจะนึกถึงข้อ 1 กันก่อน แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นข้อที่สำคัญน้อยที่สุดเลยครับสำหรับการคัด users เข้ามาทำ user research ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดกันว่าเพราะอะไรครับ   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
12-11-202023 minuten, 56 seconden
Episode Artwork

Ep29 Recruiting 101 - พื้นฐานการหา users มารีเสิช

Ep นี้เราจะพูดถึงขั้นตอนการคัดคนเข้ามาทำ user research กัน ว่ามีขั้นตอนอะไรยังไงกันบ้างครับ โดยจะพูดถึงภาพรวมของการคัดคนหรือการ recuit ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง และสิ่งหลักๆ ที่ต้องคำนึงถึงของแต่ละขั้นมีอะไรบ้างครับ 4 องค์ประกอบของการ recruit users ที่จะพูดถึงใน Ep ครับ 1. ประเภทคน 2. วิธีหา 3. ค่าตอบแทน 4. แม่นแล้วนัด   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
30-10-202024 minuten, 38 seconden
Episode Artwork

Ep28 เสวนา UX 4 - Error Prevention การออกแบบเพื่อป้องกันปัญหาให้ users (H.E.)

สำหรับ Ep เป็นเสียงที่อัดมาจากงาน เสวนา UX ครั้งที่ 4 หัวข้อ Error Prevention ที่เพจ Facebook Pruxus Design เราจัดขึ้นครับ การออกแบบที่ดี จะต้องคำนึงถึงปัญหาที่ users อาจจะทำผิดพลาด แล้วพยายามช่วย "กัน" ให้ users ซึ่งสิ่งนี้คือหลักการของ Error Prevention ครับ เสวนาครั้งนี้ เป็นตอนต่อของซีรี่ย์ Heurists ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ "Error Prevention" ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ข้อของ Heuristic Evaluation ว่ามันคืออะไร และสำคัญกับการสร้างโปรดักส์อย่างไรบ้าง ในครั้งนี้เรามีแขกรับเชิญมาร่วมเสวนาด้วย คือคุณวอร์ม (ติรศักดิ์ วงศ์อหิงสา) Lead Agility Transformation (Digital Transformation), Krungsri Consumerซึ่งเราจะมานั่งเม้าท์และแชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Error Prevention ให้ฟังกันครับ   รายชื่อผู้ร่วมเสวนา: คุณวอร์ม (ติรศักดิ์ วงศ์อหิงสา) Lead Agility Transformation (Digital Transformation), @Krungsri Consumer คุณพิจ (พิจารณา รัตนาธิคุณ) Founder, Design & Research Lead @ Pruxus Design คุณพัท (พงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช) Senior UX Designer & Researcher @ Pruxus Design   สำหรับใครที่อยากจะดูเป็นคลิปวีดีโอ สามารถดูได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/1927580630605440/videos/800575710774286   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
25-10-20201 uur, 24 minuten, 40 seconden
Episode Artwork

Ep27 Research เพื่อ Test - UX Researchers เค้าทำอย่างไร

เมื่อเราสร้างของอะไรบางอย่างออกมาแล้ว เราอยากจะ Test มัน จะมีวิธีการยังไงได้บ้าง ? Ep นี้จะพูดถึงภาพรวมคร่าว ๆ ของ methods ที่ ux researchers ใช้ในการเทสสิ่งที่เราสร้างขึ้นมากับ users ครับ เพื่อให้มั่นใจว่าโปรดักส์ของเราจะตอบโจทย์ users ทั้งในเรื่อง useful (มีประโยชน์, แก้ปัญหาให้ users ได้) และ usable (ใช้งานได้ง่าย) โดย methods ที่จะพูดถึงหลัก ๆ ได้แก่ Concept Test หรือ Concept Validation Think Aloud (สามารถชมตัวอย่างการรัน Think Aloud จากที่ผมไปออกรายการกับทาง SCB Academy ได้ที่นี่ครับ https://bit.ly/359amFs ) บทความแนะนำเกี่ยวกับ Think Aloud บนเว็บพรักซุส https://www.pruxus.com/articles/think-aloud-วิธีที่ช่วยให้คุณแก้ปัญหาโปรดักส์สร้างมาไม่มีคนใช้ได้ตรงจุด   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
14-10-202021 minuten, 5 seconden
Episode Artwork

Ep26 Research เพื่อ Understand - สาย UX Research เค้าทำวิธีไหนกันบ้าง

ถ้าเราอยากจะทำ User Research แบบเชิงลึก (Qualitative Research) ในขั้น "Understand" แต่ถ้าไม่ควรทำ Focus Group แล้วเราควรทำ method แบบไหนดี? Ep นี้จะมาเล่าถึง methods ที่ ux researchers มักจะใช้กันครับ ว่ารูปแบบคร่าว ๆ มันเป็นอย่างไรบ้าง และทำไมมันถึงแตกต่างจากการทำ Focus Group โดย methods ที่จะพูดถึงหลัก ๆ ได้แก่ User Interview Contextual Inquiry Directed Storytelling   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
5-10-202022 minuten, 59 seconden
Episode Artwork

Ep25 ทำไม Steve Jobs ถึงไม่เชื่อใน Focus Group

ทำไม Steve Jobs ถึงไม่ปลื้มการทำ Focus Group และไม่แนะนำให้ทำ Focus Group เวลาที่จะสร้าง innovation product? Ep. นี้เราจะมาพูดถึง research method ยอดนิยมของสาย Market Research อย่าง Focus Group ครับ ว่าทำไมมันถึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อเป็น User Research และจะพูดถึงด้วยว่า ถ้าจำเป็นต้องทำ Focus Group จริง ๆ เพื่อการพัฒนา digital products จะใช้ Focus Group ในรูปแบบไหนดีครับ   Ref: https://www.nngroup.com/articles/focus-groups/   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
17-9-202020 minuten, 26 seconden
Episode Artwork

Ep24 เสวนา UX 3 - Intro to Heuristics พื้นฐานของการสร้างของให้ใช้ง่าย

สำหรับ Ep เป็นเสียงที่อัดมาจากงาน เสวนา UX ครั้งที่ 3 หัวข้อ Intro to Heuristics พื้นฐานของการสร้างของให้ใช้ง่าย ที่เพจ Facebook Pruxus Design เราจัดขึ้น โดยเราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ Heuristic Evaluation กันว่าคืออะไร ทำไมคุณถึงควรต้องรู้จัก Heuristic Evaluation ถ้าคุณอยากจะสร้างโปรดักส์ให้ใช้งานง่ายครับ Heuristic Evaluation จริง ๆ เป็น method ที่ใช้วัดผลด้าน usability หรือการใช้งานง่ายของระบบระบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักทั้งหมด 10 ข้อ แต่จริง ๆ แล้วหลักการทั้ง 10 ข้อนี้ สามารถใช้เป็น checklist ให้คนสร้างโปรดักส์เช็คโปรดักส์ตัวเองได้ด้วย ว่าระบบที่สร้างอยู่นั้นเก็บจุดต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้ users เกิดปัญหาในการใช้งาน ครบหรือไม่ เสวนาครั้งนี้ เราจะมาดูทั้ง 10 ข้อกันว่าเพื่อให้เห็นว่ามันมีอะไรบ้าง และการนำไปใช้งานจริงเวลาสร้างโปรดักส์ครับ ซึ่งเสวนาครั้งนี้จะเป็นตอนแรกของซีรี่ย์ Heuristics ที่จะมีตอนต่อไปตามมาในอนาคตครับ โดยตอนต่อ ๆ ไป เราจะมาลงดูรายละเอียดของ Heuristics กันทีละข้อเลยครับ   สำหรับใครที่อยากจะดูเป็นคลิปวีดีโอ สามารถดูได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/pruxusdesign/videos/689288868330114/   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
12-9-20201 uur, 16 minuten, 27 seconden
Episode Artwork

Ep23 จะทำความเข้าใจลูกค้าด้วยการทำ User Research นั้นมันเป็นอย่างไร

สิ่งสำคัญในการสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีของโปรดักส์ ก็คือการทำความเข้าใจและรับฟัง users เราให้มาก ๆ ครับ ซึ่งมันก็มีหลากหลายวิธีในการทำความเข้าใจ users ของเรา แต่วิธีที่ลงลึกและช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าได้อย่างแม่นยำและได้ข้อมูลมากมายที่สุด ก็คือการลงมือทำ UX Research หรือ User Research นี่หละ    Ep. นี้จะมาพูดถึงภาพรวมของคำว่า User Research ครับ ว่ามันเป็นอย่างไร และคร่าว ๆ เวลาที่ทำ User Research เค้าทำอะไรกันบ้าง เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของคำว่า User Research ครับ แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
5-9-202015 minuten, 5 seconden
Episode Artwork

Ep22 UX ส่งผลต่อธุรกิจและเงินอย่างไร (กับเบียร์พรักซุส)

คำถามยอดฮิตที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ จากฝั่ง business คือ ทำ UX ไปแล้วได้อะไร UX มันส่งผลธุรกิจและเงินอย่างไร? หรือลงทุนทำ UX ไปแล้วจะคุ้มเหรอ?   Ep นี้ผมเลยชวนคุณเบียร์พรักซุส ที่เป็นคนที่ดูเกี่ยวกับเรื่องการเงินบริษัท มาคุยเกี่ยวกับผลของ UX ต่อธุรกิจและเงินครับ ว่าถ้าโปรดักส์ที่สร้างมาไม่ได้ใส่ใจเรื่อง UX เท่าไหร่ แล้วมันจะส่งผลต่อธุรกิจได้อย่างไรบ้าง ซึ่งหลัก ๆ UX สามารถส่งผลต่อธุรกิจได้ดังนี้ครับ 1.เพิ่มรายได้ 2.ลดค่าใช้จ่าย 3.เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า   เนื้อหาของ Ep นี้ มาจากบทความที่คุณเบียร์ได้เขียนไว้ด้วยครับ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.pruxus.com/articles/ux-ส่งผลทางธุรกิจอย่างไรบ้าง     แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
23-8-202026 minuten, 10 seconden
Episode Artwork

Ep21 4 คำถามเพื่อเช็คว่า คุณพร้อมสร้างระบบ Digital หรือยัง

ถ้าคุณยังไม่เคยมีประสบการณ์สร้างระบบ Digital หรือระบบออนไลน์มาก่อน และกำลังตื่นเต้นเพราะมีไอเดียใหม่ในการสร้างระบบเหล่านี้ ลองตอบคำถาม 4 ข้อนี้ดูก่อนครับ เพราะถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งที่คุณยังไม่มีคำตอบชัดเจน มันอาจกำลังแปลว่า ยังมีความเสี่ยงที่ users จะไม่ใช้งานระบบที่คุณสร้างอยู่ครับ 1.ทำไม ถึงอยากสร้างระบบนี้ 2.Users ที่จะใช้ระบบเรา เป็นใคร และจำนวนมากขนาดไหน และปัญหาของ users กลุ่มนี้คืออะไร? 3.Digital มันแก้ปัญหาที่เราพยายามแก้ได้ดีกว่า physical กว่าอย่างไร?+ 4.เรามี resource เพียงพอในการจัดการไหม  (งบ และ เวลา) ทั้งตอนสร้าง และตอนหลังจากออกแล้ว   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
17-8-202022 minuten, 7 seconden
Episode Artwork

Ep20 Frustration - Emotion ที่เราต้องระวังที่สุดเวลาสร้างโปรดักส์

ในการสร้างโปรดักส์หรือบริการที่มีประสบการณ์ใช้งานที่ดีนั้น คนสร้างควรจะต้องโฟกัสไปยังอารมณ์ "Frustration" ของ users ให้มากครับ ซึ่ง frustration ควรจะเป็นอารมณ์แรกของ users ที่เราควรต้องใส่ใจก่อนอื่นใด ไม่เช่นนั้นแล้วต่อให้เราพยายามใส่อะไรแปลกใหม่เข้าไป users ก็ไม่มีทางที่จะมีประสบการณ์ใช้งานที่ดีกับโปรดักส์หรือบริการของเราได้ครับ Ep นี้จะพูดถึงความหมายของ User frustration และสาเหตุที่ทำให้ users เกิด frustration กับการใช้งาน และวิธีที่ user experience designers ใช้เพื่อทำความเข้าใจถึง user frustration ครับ Webimar Emotional Design ที่ผมได้ไปแจมกับทาง Skooldio ครับ: https://www.facebook.com/skooldio/videos/723540844881171/ แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
6-8-202021 minuten, 28 seconden
Episode Artwork

Ep19 เสวนา UX 2 - Intro & Myths for Business

สำหรับ Ep เป็นเสียงที่อัดมาจากงาน เสวนา UX ครั้งที่ 2 หัวข้อ ที่เพจ Facebook Pruxus Design เราจัดขึ้น โดยเราจะมาคุยเกี่ยวกับความเชื่อด้าน user experience (UX) ที่ธุรกิจมักจะมีกัน ว่าความเชื่อแต่ละข้อมันถูกหรือผิดอย่างไรบ้าง และ UX นั้นมันส่งผลต่อธุรกิจยังไงบ้าง ซึ่งความเชื่อและความเข้าใจเกี่ยวกับ UX นั้น หลายครั้งธุรกิจมักจะมองว่ามันเป็นเรื่องไม่สำคัญ แต่จริงๆ แล้วมันส่งผลให้ธุรกิจสูญเสีย costs และโอกาสขายต่าง ๆ ไปมากได้ครับ ความเชื่อด้าน UX ที่เราจะมาคุยกัน ได้แก่   1.UX ดูเป็นเรื่องไกลตัวมาก เราพึ่งเริ่มโกออนไลน์ เดี๋ยวเรื่อง UX ไว้ก่อนดีกว่า 2.จะทำแอป/เว็บใหม่ของบริษัท อยากจะให้ UX ดี ก็ต้องจ้างคนมาออกแบบให้หน้าตาสวย ๆ ก่อนเลย แค่นี้ UX ก็ดีแล้ว 3.จ้าง UX / UI designer ที่ทำได้ในคนเดียว คุ้มกว่าการไปจ้างคนที่ทำ UX 1 คน และ คนทำ UI 1 คน 4.สร้างแอป/เว็บ จำเป็นต้องทำ UX ด้วยหรอ? มันต้องเพิ่ม cost เข้าไปอีก แล้วบริษัทก็ไม่เห็นจะได้อะไรเพิ่มเลย ไปจ้าง dev เขียนโปรแกรมไปเลยดีกว่าไหม 5.ก็อยากทำ UX แต่ทำ UX แล้วต้องเสียเวลาเพิ่มนาน ทำให้ project ล่าช้าไปอีก เดี๋ยวก็ไม่ทันไทม์ไลน์ที่วางไว้ งั้นเอาไว้ก่อนละกัน 6.จะพัฒนาระบบใหม่ของบริษัท สิ่งสำคัญก่อนอื่นเลยต้องใส่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่งั้นเดี๋ยวจะตามคู่แข่งไม่ทัน   รายชื่อ speakers: คุณพิจารณา รัตนาธิคุณ (คุณพิจ) Founder, Design and Research Lead @ Pruxus คุณพงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช (คุณพัท) Senior UX Designer & Researcher @ Pruxus คุณศศิกานต์ ชาญผดุงสกุล (คุณมิ้น) UX Designer @ Pruxus   พิธีกร: คุณเอ (Kunlarart Svanakitkul)   ถ้าใครสนใจดูเป็นคลิปวีดีโอ สามารถดูได้ที่ link นี้ครับ https://www.facebook.com/watch/?v=2734883593456517   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
28-7-20201 uur, 13 minuten, 50 seconden
Episode Artwork

Ep18 โรงแรม Hyatt แก้ปัญหาลูกค้าไม่พอใจด้วยการ wow ลูกค้า แต่กลับไร้ประโยชน์ เพราะอะไร?

ปี 2009 CEO เครือโรงแรม Hyatt อยากจะหาวิธีแก้ปัญหาคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าต่ำมาก เขาจึงลองทำแคมเปญใหม่เพื่อ wow หรือ delight ลูกค้าด้วยวิธีต่าง ๆ แต่สุดท้ายคะแนนกลับไม่ขึ้นเลยซักนิด มันเป็นเพราะอะไร? Ep นี้จะพูดถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าครับ  ถ้าเรามองคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการหรือโปรดักส์เป็น 1-10 ด้าน 1 คือด้านที่ลูกค้าหงุดหงิดสุด ๆ (frustration) ส่วน 10 คือด้านที่ลูกค้า wow หรือ delight สุด ๆ (delight) ถ้าเราอยากจะเพิ่มให้คะแนนไปทาง delight มากขึ้น เราก็ควรจะทำสิ่งที่ wow หรือ delight คนให้มากขึ้นจริงไหมครับ แต่มันกลับไม่ work เพราะมันยังมีสิ่งอื่นที่เราต้องทำก่อน delight ไม่อย่างนั้นสิ่งที่ wow หรือ delight นี้มันจะไม่มีประโยชน์เลยครับ   ฟัง Jared Spool พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ https://youtu.be/Hr1rN3jibIk   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
25-7-202012 minuten, 6 seconden
Episode Artwork

Ep17 5 เหตุผลที่ทำให้คนไม่ใช้ digital product ที่คุณสร้าง (กับมิ้นท์พรักซุส)

คุยกันเพิ่มเติมจากบทความ เกี่ยวกับ 5 เหตุผลที่ทำให้คนไม่ใช้ digital product ที่คุณสร้าง กับมิ้นท์ (UX Designer at Pruxus) ว่าสิ่งที่ทำให้หลาย ๆ ระบบดิจิตอลที่สร้างขึ้นมา แล้ว users ไม่ใช้งานต่อเนื่องนั้น เป็นเพราะอะไรบ้าง ซึ่งบทความนี้มิ้นท์ได้เขียนโดยอ้างอิงจากประสบการณ์ทำงาน ที่พวกเราได้มีโอกาสร่วมงานกับลูกค้าจากหลากหลายแห่ง และปัญหาที่ลูกค้ามักจะมีที่ทำให้ users ไม่ใช้งานระบบของลูกค้าต่อ ก็มักจะมี patterns บางอย่างที่ซ้ำ ๆ กันครับ   สามารถอ่านบทความนี้ ได้ที่นี่ครับ https://www.pruxus.com/articles/5-เหตุผลที่ทำให้คนไม่ใช้-digital-product-ที่คุณสร้าง แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
20-7-202022 minuten, 30 seconden
Episode Artwork

Ep16 พรักซุสเรานำ Design Thinking ไปใช้แก้ปัญหา UX ให้ลูกค้าอย่างไร?

Ep นี้จะเล่าถึงการที่บริษัทพรักซุสของเรา ได้นำ Design Thinking ไปประยุกต์ใช้กับ process การสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าครับ โดยถึงแม้ว่า process ของเรานั้นจะอิงกับ Design Thinking แต่เราก็ไม่ได้มี 5 ขั้นเหมือน Design Thinking เราใช้แค่ 3 ขั้นเท่านั้น แต่ 3 ขั้นนี่ก็คือมาจากทั้ง 5 ขั้นของ Design Thinking เลย Understand - ขั้นที่เข้าใจปัญหา Create - ขั้นการแก้ปัญหา Test - ทดสอบจริงกับ users เพื่อให้มั่นใจว่าของที่สร้างมานั้น Useful และ Usable จริง บทความเกี่ยวกับขั้นตอน 3 ขั้นนี้ ที่เขียนโดยคุณพัทพรักซุส https://www.pruxus.com/uat/articles/5-เหตุผลที่ทำให้คนไม่ใช้-digital-product-ที่คุณสร้าง   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
18-7-202017 minuten, 6 seconden
Episode Artwork

Ep15 ทำ Design Thinking แล้วจะได้แอปใหม่? คือการจัด workshop? และความเชื่ออื่นๆ

ถึงแม้ว่า Design Thinking จะเป็นสิ่งที่องค์กรหลายที่สนใจกันมาก แต่ก็ยังมีองค์กรที่นำ Design Thinking ไปใช้จนประสบความสำเร็จอยู่น้อย เป็นเพราะอะไรกัน? สาเหตุหลัก ๆ ก็คือ หลาย ๆ องค์กรยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking กัน ซึ่ง ep นี้เราจะมาลองคุยกันถึงความเชื่อและความเข้าใจผิดที่องค์กรมักจะมีเกี่ยวกับการทำ Design Thinking ครับ จริงไหมที่: ทำ design thinking จะได้แอปใหม่ของบริษัท การทำ design thinking คือการจัด workshop เพื่อ brainstorm ไอเดีย และต้องมี post-it notes เยอะ ๆ Design thinking คือ 5 ขั้น ถ้าทำตามเรียงครบ จะได้นวัตกรรมใหม่เลย ขั้น Empathize ถ้าเรามีดาต้าในมือเยอะอยู่แล้ว ก็แปลว่าเรา empathize กับ users แล้ว ข้ามขั้นนี้ไปเลยก็ได้ หรือการ Empathize ทำรีเสิช สิ่งสำคัญคือเราต้องได้ data ออกมาเป็นตัวเลขชัดเจน การคัดเลือกไอเดียที่ดีที่สุด คือการให้ผู้บริหารเลือก หรือให้กรรมการให้คะแนน หรือให้ในห้องโหวตกัน การ test คือการที่เอาไปให้ users ดูหน้าจอ prototype เรา ถ้า users บอกว่า ดี/ชอบ/สวย แปลว่า test ผ่านแล้ว เอาไปพัฒนาต่อได้เลย   อ้างอิงจาก: https://www.wired.com/insights/2014/04/origins-design-thinking/ https://medium.com/@jeffreytjendra/why-design-thinking-will-fail-6e6702d3fec2   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียที่อยากฟังได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback
9-7-202023 minuten, 20 seconden
Episode Artwork

Ep14 5+1 ขั้นการทำ Design Thinking เพื่อแก้ปัญหาให้องค์กร

ทำไมองค์กรต่าง ๆ ถึงจำเป็นต้องรับ Design Thinking เข้าไปในองค์กรกันในทุกวันนี้ ปัญหาหลัก ๆ ที่ทำให้องค์กรไม่สามารถสร้าง innovation ใหม่ ๆ ได้มันเกิดจากอะไรบ้าง รวมไปถึงขั้นตอนในการทำ Design Thinking นั้นมี 5 + 1 ขั้น แต่ละขั้นมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง Ep นี้ อ้างอิงเนื้อหาจากบทความนี้ครับ https://www.wired.com/insights/2014/04/origins-design-thinking/ แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback  
7-7-202023 minuten, 23 seconden
Episode Artwork

Ep13 Design Thinking vs UX - เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

หลังๆ มานี้ คำว่า Design Thinking เป็นคำที่คนมักจะพูดถึงกันบ่อยนะครับ โดยเฉพาะองค์กรที่ยุ่งเกี่ยวกับการสร้าง innovation และ Design Thinking มันก็มีความเกี่ยวข้องกับการสร้าง product ให้คนใช้งาน มีความเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาให้ users ซึ่งดู ๆ ไป มันก็คล้ายคำว่า UX อยู่มากเหมือนกันครับ เลยมีหลายคนถามมาบ่อยว่า ตกลง Design Thinking เหมือนหรือต่างกับ UX ยังไงบ้าง Ep นี้ ผมเลยอยากจะมาคุยว่า Design Thinking มันคืออะไร ที่มามาจากไหน และมันเกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้าน UX อย่างไรครับ Ref: https://designthinking.ideo.com/history Ref: https://www.forbes.com/sites/amberjohnson-jimludema/2019/11/21/design-thinking-basics/#38f81089c03d Ref: https://www.interaction-design.org/literature/article/5-stages-in-the-design-thinking-process แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback 
29-6-202019 minuten, 31 seconden
Episode Artwork

Ep12 เพิ่มปุ่มเดียว ยอดขายขึ้น 300 ล้านดอลล่าร์ - The $300 million button

เว็บไซต์ eCommerce เจ้านึง เพิ่มปุ่มปุ่มเดียว ยอดขายของเว็บขึ้นไป 300 ล้านดอลล่าร์ หรือ 1 หมื่นล้านบาท! ได้อย่างไร? หลายครั้งที่คนมักจะสงสัยกันว่าไอ้สิ่งที่เรียกว่า ux นี่มันจะส่งผลต่อธุรกิจยังไง? มาฟัง case study ระดับตำนานว่าทำไม ux ถึงสำคัญกับธุรกิจอย่างมหาศาลครับ Source: https://articles.uie.com/three_hund_million_button/   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback 
25-6-202018 minuten, 4 seconden
Episode Artwork

Ep11 เสวนา UX 1 - Work Online VS Offline

สำหรับ Ep เป็นเสียงที่อัดมาจากงาน เสวนา UX ครั้งที่ 1 หัวข้อ Work Online VS Offline ที่เพจ Facebook Pruxus Design เราจัดขึ้น โดยเราได้เชิญคนที่ทำงานในด้าน User Experience Design ตำแหน่งระดับบิ๊ก ๆ จากองค์กรชั้นนำ เช่น กรุงศรี AYCAP, Kasikorn Line, True Digital, และจากบริษัทพรักซุสเราเอง ว่าการทำงานด้าน UX ทั้งขั้นตอนการทำ Research, Design และการ manage ทีมงานในช่วงโควิดนั้น เจอปัญหาอะไร และได้ลองแก้ไขปัญหากันแบบไหนบ้าง โดยจะมาลองดูว่า ถ้าเปรียบเทียบการทำงานในแบบ online จากที่บ้านนั้น มีอะไรที่ยากกว่าการทำงานแบบ offline ที่ออฟฟิศบ้าง และอะไรที่ online กลับเวิร์คกว่าแบบ offline บ้างครับ ถ้าใครสนใจดูเป็นคลิปวีดีโอ สามารถดูได้ที่ link นี้ครับ https://www.facebook.com/watch/?v=2734883593456517 Speakers ที่มาร่วมเสวนากันในครั้งนี้มีดังนี้ครับ: คุณเดโช พิทักษ์เจริญ (คุณเอ้) UX Manager @ Ayudhya Capital Services (UChoose)   คุณลวณา สุทัศน์ ณ อยุธยา (คุณเปิ้ล) Lead UX @ True Digital Group   คุณธนาคาร จินดา (คุณแบงค์) Lead Service Designer @ Kasikorn LINE   คุณพงษ์พิพัฒน์ จำเริญพานิช (คุณพัท) Senior UX Designer & Researcher @ Pruxus   แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback 
24-6-20201 uur, 9 minuten, 39 seconden
Episode Artwork

Ep10 ระบบ online 5 แบบ ที่ธุรกิจมักสร้าง และความยากด้าน UX (2) - ระบบขายของ และ startups

ตอนต่อของ ระบบออนไลน์ 5 แบบที่ธุรกิจมักจะสร้างกัน โดยตอนนี้จะพูดถึงระบบอีก 3 แบบที่เหลือ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มระบบเพื่อเน้นการขายของ (ระบบ information system ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่คุณขาย และระบบ eCommerce ที่ซื้อขายได้เลย) ส่วนกลุ่มสุดท้าย คือระบบ startups โดยเราจะมาพูดถึงความยากและข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดในด้านที่เกี่ยวข้องกับ user experience มีอะไรบ้าง, และการดีไซน์ระบบเหล่านี้เราจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง โดยจะอ้างอิงถึง สิ่งสำคัญที่สุด 2 อย่าง ของการสร้างของให้คนใช้ (Useful VS Usable), และผลกระทบต่อธุรกิจ ถ้าหากเราสร้างระบบเหล่านี้แล้วไม่ได้ใส่ใจกับประสบการณ์ของ users เพียงพอครับ แนะนำติชม podcast สอบถาม หรือเสนอไอเดียได้ที่นี่ครับ: https://bit.ly/puxodFeedback 
21-6-202017 minuten, 39 seconden
Episode Artwork

Ep9 ระบบ online 5 แบบ ที่ธุรกิจมักสร้าง และความยากด้าน UX (1) - ระบบ workflows

ระบบออนไลน์ที่ธุรกิจมักจะสร้างกันนั้น ในมุมมองของผมมักจะพบว่ามีอยู่ 5 แบบโดยคร่าว ๆ สำหรับ ep นี้เราจะมาดูกันว่าระบบทั้ง 5 นั้น มีอะไรกันบ้าง, ความยากและข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดในด้านที่เกี่ยวข้องกับ user experience มีอะไรบ้าง, และการดีไซน์ระบบเหล่านี้เราจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง โดยจะอ้างอิงถึง สิ่งสำคัญที่สุด 2 อย่าง ของการสร้างของให้คนใช้ (Useful VS Usable), และผลกระทบต่อธุรกิจ ถ้าหากเราสร้างระบบเหล่านี้แล้วไม่ได้ใส่ใจกับประสบการณ์ของ users เพียงพอครับ ตอนที่ 1 ของเรื่องระบบ online 5 แบบนี้ จะพูดถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับ workflow การทำงานเป็นหลัก ทั้ง workflow ของคนในองค์กร และ workflow ของลูกค้าครับ สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback 
16-6-202015 minuten, 45 seconden
Episode Artwork

Ep8 Why we need a kickoff session - คุยกันเพิ่มเติมจากงาน 24 Hours of UX กับทีมพรักซุส

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2020 ผมได้มีโอกาสร่วมทีมกับทาง UX Thailand ไปพูดในงาน 24 Hours of UX (https://24hoursofux.com/) ซึ่งเป็นงานที่ UX จากทั่วโลกมาแชร์เกี่ยวกับ UX กันประเทศละ 1 ชั่วโมง ทางทีมไทยเราก็พูดในหัวข้อเรื่อง Why we need a kickoff session ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสำคัญของ kickoff session หรือ meeting แรกที่เราจัดกับลูกค้า (หรือทีมงานที่เรากำลังเริ่มโปรเจ็คด้าน UX ด้วย) รวมไปถึง framework ที่เราเลือกใช้ ซึ่ง kickoff นี้เป็นสิ่งที่ทางพรักซุสเราพบว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ และเราจำเป็นต้องทำกับแทบจะทุกโปรเจ็คที่เราเริ่มกับลูกค้าเลย ใน Ep นี้ผมเลยชวนคุณพัทและคุณมิ้นจากทีมพรักซุสเอง มานั่งคุยกันเพิ่มเติมถึงความสำคัญของการทำ kickoff, ปัญหาที่เราเคยเจอเวลาที่เราไม่ได้ทำ และเทคนิคบางอย่างที่เราใช้ในการทำ kickoff ครับ สำหรับใครสนใจงานฟังทีมไทยเราพูดตอนงาน 24 Hours of UX ที่มีคุณนัท CEO จากบริษัท Ahancer (https://ahancer.com/) คุณผัก Senior Research จาก Finnomena (https://www.finnomena.com/) และผมพิจ จากบริษัทพรักซุสดีไซน์ (https://www.pruxus.com) เมื่อเค้าเปิดให้ชมย้อนหลังได้ ผมจะนำลิงค์มาแชร์ให้อีกทีนะครับ สามารถคอยติดตามได้ที่เพจเฟสบุคของทางพรักซุสดีไซน์ได้ครับ (https://www.facebook.com/pruxusdesign/) Product Vision Board โดย Roman Pichler: https://www.romanpichler.com/tools/product-vision-board/ สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback 
12-6-202032 minuten, 56 seconden
Episode Artwork

Ep7 สิ่งที่สำคัญที่สุด 2 อย่าง ของการสร้างของให้คนใช้ (Useful VS Usable)

การสร้างโปรดักส์ให้คนใช้งานนั้น อาจจะมีหลากหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง แต่จริง ๆ แล้วมีอยู่ 2 สิ่งที่สำคัญที่สุดที่โปรดักส์ควรจะต้องมีก่อนเรื่องอื่น นั่นก็คือ Useful (ความมีประโยชน์ หรือตรงตาม needs ของผู้ใช้) และ Usable (ใช้งานได้ง่าย) ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็น frame ที่ทางบริษัทพรักซุสเราเองก็ยึดติดและใช้จริงกับทุกโปรดักส์ที่เราช่วยลูกค้าสร้าง สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback 
9-6-202016 minuten, 33 seconden
Episode Artwork

Ep6 User Needs 3-ความต้องการลูกค้า อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ

คำว่า ความต้องการของลูกค้า อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าบอกว่าต้องการ ก็เป็นได้ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำให้คนเข้าใจผิดและสร้าง product ไปผิดทางมานักต่อนักแล้ว สำหรับ Ep นี้ เราจะมาลองดูความหมายของคำว่า "ความต้องการ" ที่อาจจะหมายถึง Wants หรือ Needs ก็ได้ ทั้ง 2 คำนี้ เหมือนจะความหมายใกล้เคียงกัน แต่จริง ๆ แล้ว อาจจะเป็นคนละทิศคนละทางเลยก็ได้ ธุรกิจควรจะทำความเข้าใจว่า สิ่งที่ลูกค้าต้องการ สิ่งไหนคือ Wants สิ่งไหนคือ Needs กันแน่ สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback
5-6-202021 minuten, 31 seconden
Episode Artwork

Ep5 User Needs 2-อย่าพยายาม serve ลูกค้าทุกคน

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า การเข้าใจถึง User Needs ที่แท้จริงนั้นสำคัญมาก แต่มันก็ไม่ได้แปลว่าเราจะต้อง serve needs ทุกอย่างของลูกค้าทุกคน แล้ว needs แบบไหน หรือลูกค้าแบบไหนกันหละ ที่เราควร serve คนแต่ละแบบ มี needs ที่แตกต่างกันไป และคนคนเดียวกัน แต่ต่างสถานการณ์ ก็มี needs ต่างกันได้ กรณีศึกษา การบินไทย กับการ serve needs ลูกค้าบางแบบ ที่สู้ low-cost airlines ไม่ได้ สตาร์บัคส์มาเปิดในเมือง กลับทำให้ยอดขายร้านกาแฟข้าง ๆ ดีขึ้นได้ เพราะอะไร สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback
31-5-202016 minuten, 33 seconden
Episode Artwork

Ep4 User Needs หัวใจหลักของธุรกิจ แต่มักจะโดนมองข้าม

สิ่งที่สำคัญที่สุดของธุรกิจทุกประเภท ก็คือการทำความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า "Needs" หรือ "User Needs" แต่หลาย ๆ ครั้งเราก็มักจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่า Needs ที่แท้จริงของลูกค้าหรือ Users ของเราคืออะไร ซึ่งถ้าเราไม่ทำความเข้าใจถึง Needs ที่แท้จริงของลูกค้า มันจะทำให้ธุรกิจของเรามีโอกาสเสี่ยงมากในอนาคต User Needs ที่แท้จริงที่ทำให้ลูกค้ามาเลือกเรานั้น มันไม่ใช่แค่สินค้าที่เราขาย หรือราคาของเราที่ดีกว่าคู่แข่ง แต่มันยังมีความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่อีก สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback
27-5-202015 minuten, 51 seconden
Episode Artwork

Ep3 ทำไมธุรกิจถึงต้องสนใจ UX?

หลายครั้งคนชอบคิดว่าUX คือแค่การทำให้โปรดักส์สวยงาม แต่จริงๆ แล้ว ศาสตร์ที่เรียกว่าUX นั้นมันมีพลังที่มากกว่านั้นมากUX นั่นคือการลองมองในมุมมองผู้ใช้งานจริง และช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ราบรื่นที่สุด ยิ่งถ้าธุรกิจของเรามีช่องทางหรือโปรดักส์ที่เป็น digital เรายิ่งควรที่จะต้องเข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่าUX เป็นอย่างมาก เพราะการสร้างสิ่งที่เป็น digital นั้นแตกต่างจากโลกphysical อย่างมากมาย และถ้าธุรกิจไม่หันมาสนใจเรื่องUX มันอาจจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้และลูกค้าอย่างมหาศาลได้ สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback
25-5-202016 minuten, 59 seconden
Episode Artwork

Ep2 คนทำ UX ต่างจากคนทำ UI ยังไง? ทำไม UI ถึงไม่ขึ้นกะ UI และถ้าจะจ้างคนทำ UX จ้างเป็น UX/UI ไปเลยดีกว่าไหม

Description: เมื่อพูดถึงคนที่ทำงานในด้าน UX และ UI เราก็มักจะเจอคนที่เรียกว่าเป็น UX (หรือ UX Designer), UI (หรือ UI Designer) หรือบางทีก็มีทั้ง UX/UI ในคนเดียวกันเลย แล้ว UX กับ UI นี่มันฟังดูคล้าย ๆ กัน ใช้แทนกันได้ จริงไหม? แล้วถ้าเราอยากจะจ้างคนมาทำพวก UX, UI อะไรนี่ เราควรต้องจ้างใครดี ควรต้องจ้าง UX แยกจาก UI ไหม หรือว่าจ้าง UX/UI ในคนเดียวกันไปเลยจะคุ้มกว่าไหม สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback
22-5-202017 minuten, 11 seconden
Episode Artwork

Ep1 UX, UI คืออะไร และ UX ไม่ได้ขึ้นกับ UX (?)

คำว่า "UX", "UI" มักเป็นคำที่คนสับสนกันบ่อย บางคนก็เรียกรวม ๆ ไปเลยว่า "UX UI" แต่จริง ๆ แล้ว 2 คำนี้ต่างกันมาก และเราจำเป็นต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของ 2 คำนี้ นอกจากนี้ คำว่า "UX" เอง ก็มีหลายความหมายเช่นเดียวกัน คนทำ UX ไม่ได้แปลว่าเป็นคนที่ส่งผลต่อ UX ของโปรดักส์ทั้งหมด สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback
18-5-202015 minuten, 36 seconden
Episode Artwork

Ep0 แนะนำผักสดพอดแคสต์

แนะนำผักสด พอดแคสต์ และผู้ดำเนินรายการ คุณพิจ พิจารณา รัตนาธิคุณ (Founder, Design and Research Lead บริษัท พรักซุส ดีไซน์) สามารถแนะนำติชม podcast ได้ที่ https://bit.ly/puxodFeedback  
18-5-202011 minuten, 26 seconden