PHY57 ‘เครื่องบินรบล่องหน’ ล่องหนอย่างไร ทำไมใช้ในสงครามยุคใหม่?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบางอย่างก็มาพร้อมกับสงครามและความรุนแรง
เราอาจเคยเห็นตัวอย่างเครื่องถอดรหัส ‘อีนิกมา’ ของ อลัน ทัวริง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท้ายสุดถูกพัฒนามาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘เครื่องบินรบล่องหน’ หรือ ‘Stealth Aircraft’ ยุทโธปกรณ์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสงครามยุคปัจจุบัน
คำว่า ‘ล่องหน’ ในที่นี้ ล่องหนอย่างไร มีพัฒนาการมาแบบไหน อะไรทำให้เครื่องบินเหล่านี้แตกต่างจากเครื่องบินปกติที่เราคุ้นเคย และทำให้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสงครามยุคใหม่? และแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับการทำลายล้าง แต่เราอยากชวนคิดต่อว่า จะสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปต่อยอดเป็นอะไรได้อีกบ้าง ติดตามทั้งหมดได้ในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
11/24/2023 • 17 minutes, 40 seconds PHY56 ความเร็วระดับ ‘อัตโตวินาที’ เร็วแค่ไหน ทำไมได้โน เบลปี 2023?
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘อัตโตวินาที’ ความเร็วระดับ ‘1 ล้านล้านล้าน’ ส่วนของ 1 วินาที ความเร็วเหนือจินตนาการ เร็วจนได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 2023
นักฟิสิกส์ค้นพบความเร็วระดับนี้ได้อย่างไร มันเอาไปทำอะไรได้บ้าง แล้วทำไมการค้นพบครั้งนี้ถึงเป็นอีกก้าวสำคัญที่พลิกโฉมวงการวิทยาศาสตร์จนเป็นที่มาของการได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์? หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
11/17/2023 • 26 minutes, 45 seconds PHY55 ‘ดาวพฤหัสบดี’ เครื่องดูดฝุ่นของระบบสุริยะ?
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘ดาวพฤหัสบดี’ พี่ใหญ่ของระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และมีดวงจันทร์บริวารถึง 95 ดวง!
ทำไมดาวพฤหัสบดีถึงเป็นเครื่องดูดฝุ่นของระบบสุริยะ? ทำไมยานอวกาศถึงต้องบินไปโฉบดาวพฤหัสบดีก่อนไปต่อ? ความน่าสนใจของดวงจันทร์ 4 ดวงแรกที่ถูกค้นพบคืออะไร? เรามีโอกาสจะค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีหรือไม่? หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
11/10/2023 • 27 minutes, 17 seconds PHY54 ‘Standard Model’ คืออะไร อนุภาคใดเล็กที่สุดในจักรวาล?
‘อะไรเล็กที่สุดในจักรวาล’ คือสิ่งที่ถามกันมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ
การค้นพบอะตอม นิวเคลียส จนถึงอิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน และอนุภาคเล็กๆ อีกมากมาย ทำให้นักฟิสิกส์ในยุคหนึ่งเชื่อว่าพวกมันคือสิ่งที่เล็กที่สุด ทว่าปัจจุบันเราพบว่าอนุภาคเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ใช่อนุภาคมูลฐาน หรืออนุภาคที่เล็กที่สุด
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘Standard Model’ หรือแบบจำลองมาตรฐาน ค้นหาอนุภาคที่เล็กที่สุดเท่าที่ค้นพบได้ ณ ขณะนี้
การทำความเข้าใจแบบจำลองมาตรฐานสำคัญอย่างไรต่อการทำความเข้าใจเอกภพ? ทำไมจนถึงปัจจุบันนักฟิสิกส์ก็ยังไม่หยุดค้นหาความเป็นไปได้เกี่ยวกับอนุภาคใหม่ๆ?
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
11/3/2023 • 35 minutes, 8 seconds PHY53 ฟังดนตรีแบบนักฟิสิกส์ ตัวโน้ตมาจากไหน ทำไมกีตาร์ ถึงมีรู?
“โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด”
สเกลโน้ตที่ไม่ว่าใครก็ต้องคุ้นหู แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า ตัวโน้ตเหล่านี้มีที่มาจากไหน เริ่มมีตั้งแต่เมื่อไร แล้วทำไมต้องเป็นเสียงเหล่านี้
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘ดนตรี’ ในโลกของฟิสิกส์ เล่าที่มาของตัวโน้ต และคำอธิบายว่าทำไมเครื่องดนตรีบางอย่าง เช่น กีตาร์ หรือไวโอลิน ต้องมีรู
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
10/27/2023 • 25 minutes, 50 seconds PHY52 ‘สัมพัทธภาพทั่วไป’ คืออะไร ทำไมถึงเป็นทฤษฎีพลิกเอกภพ?
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘สัมพัทธภาพทั่วไป’ ทฤษฎีเกี่ยวกับความโน้มถ่วงที่คิดค้นโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อดัง
ทฤษฎ ีสัมพัทธภาพทั่วไปคืออะไร ทำไมจึงสามารถอธิบายในสิ่งที่ทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบนิวตันทำไม่ได้ ทฤษฎีนี้ช่วยเราทำความเข้าใจเอกภพในมุมใหม่ได้อย่างไร แล้วทำไมจึงเป็นทฤษฎีที่พลิกมุมมองการทำความเข้าใจเอกภพไปตลอดกาล
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
10/20/2023 • 32 minutes, 39 seconds PHY51 ‘เทอร์โมไดนามิกส์’ คืออะไร ทำไมความร้อนถึงวัดยาก
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘เทอร์โมไดนามิกส์’ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ ‘ความร้อน’ ที่ยิ่งรู้จักอาจยิ่งทำให้รู้สึกว่าการนิยามคำว่า ‘อุณหภูมิ’ นั้นไม่ง่ายเลย
ทำไมเราถึงสร้างมาตรฐานของอุณหภูมิยาก ความซับซ้อนของเทอร์โมไดนามิกส์คืออะไร ทำไมจนถึงตอนนี้คำถามเรื่องอุณหภูมิยังเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถหาคำ ตอบได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
10/13/2023 • 45 minutes, 48 seconds PHY50 เสียงคืออะไร เรามองโลกด้วยเสียงได้อย่างไร?
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘คลื่นเสียง’ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการรับรู้โลกของพวกเรารวมถึงสัตว์ทุกชนิด
หาคำตอบว่าเสียงคืออะไร คุณสมบัติของเสียงเป็นอย่างไร ทำไมหากเราเคลื่อนที่ออกจากจุดกำเนิดเสียงเราจะได้ยินเสียงทุ้มลงเรื่อยๆ ในอวกาศมีเสียงหรือไม่ และกลไกน่ามหัศจรรย์ของค้างคาวในการปล่อยคลื่นเสียงเพื่อช่วยในการมองเห็นคืออะไร
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
10/6/2023 • 32 minutes, 16 seconds PHY49 ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว! ไขปริศนาเวลาตายจากกฎฟิสิกส์
“คาดว่าเ สียชีวิตมาไม่ต่ำกว่า…ชั่วโมง”
ประโยคคุ้นหูในการ์ตูนหรือภาพยนตร์นักสืบเมื่อเกิดเหตุฆาตกรรม ที่ตามมาด้วยการตรวจสอบศพเพื่อหาหลักฐานและสันนิษฐานเวลาเสียชีวิต
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไป ‘สืบจากศพ’ หาหลักฐานเวลาเสียชีวิตด้วยหลักฟิสิกส์ ดูร่องรอยต่างๆ จากศพ ทั้งการแข็งตัว การเย็นตัว รอยจ้ำเลือด จนถึงกระเพาะอาหารและดวงตา
แม้ฆาตกรจะพยายามปกปิดหลักฐาน อำพรางศพ หรือใช้กลเม็ดใด ก็ไม่อาจหนีพ้นสัจธรรมของฟิสิกส์ได้ เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น!
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
9/29/2023 • 26 minutes, 57 seconds PHY48 4 แรงพื้นฐานของเอกภพคืออะไร แล้วแรงที่ 5 มีจริงไหม?
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘4 แรงพื้นฐาน’ ได้แก่ แรงโน้มถ่ว ง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงอย่างอ่อน และแรงอย่างเข้ม ทั้ง 4 แรงนี้คืออะไร ถูกค้นพบได้อย่างไร แล้วทำไมยิ่งนักวิทยาศาสตร์ศึกษา ยิ่งค้นพบว่ายังไม่สามารถเข้าใจมันได้อย่างถ่องแท้
แถมเมื่อเร็วๆ นี้ กระแสการค้นพบหลักฐานการมีอยู่ของ ‘แรงพื้นฐานที่ 5’ ก็ดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอยู่ไม่น้อยสำหรับแวดวงวิทยาศาสตร์ แรงที่ว่านี้คืออะไร น่าตื่นเต้นแค่ไหน หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
9/22/2023 • 44 minutes, 37 seconds PHY47 สุญญากาศคืออะไร ทำไมที่ว่างถึงไม่ว่าง?
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘สุญญากาศ’ ที่เราอาจพอรู้จักกันบ้างในแง่ของ ‘ที่ว่างที่ปราศจากอากาศ’ แต่รู้หรือไม่ว่า ความจริงแล้วในสุญญากาศนั้นมีอะไรให้เราศึกษามากกว่าคิด
สุญ ญากาศถูกค้นพบได้อย่างไร มีการต่อยอดและนำไปใช้ประโยชน์ต่ออย่างไร แล้วทำไมมันจึงเป็น ‘ที่ว่างที่ไม่ว่าง’ หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
9/15/2023 • 25 minutes, 4 seconds PHY46 ‘คลื่นวิทยุ’ มาจากไหน AM / FM ต่างกันอย่างไร?
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘คลื่นวิทยุ’ คลื่นที่อยู่รอบตัวเราแต่ไม่อาจมองเห็น
คลื่นวิทยุมาจากไหน ค้นพบได้อย่างไร จนนำมาสู่การใช้ประโยชน์ได้มหาศาลในทุกวันนี้ แล้วคลื่นวิทยุอย่าง AM และ FM ต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
9/8/2023 • 29 minutes, 52 seconds PHY45 ‘อุกกาบาต’ มาจากไหน ถ้าพุ่งชนโลกจะเกิดอะไรขึ้น?
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิ สิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘อุกกาบาต’ วัตถุปริศนาจากอวกาศที่พลัดหลงมาสู่พื้นโลก
อุกกาบาตคืออะไร เป็นต้นเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์จริงหรือ แล้วมันมีโอกาสที่จะพุ่งชนโลกอีกหรือไม่ในอนาคต หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
9/1/2023 • 31 minutes, 53 seconds PHY MEDLEY#1 รวมมิตรนักฟิสิกส์ตัวพ่อ-ตัวแม่ ตีแผ่ชีวิตและทฤษฎีเขย่าโลก
รวมประวัติชีวิตและตัวตนเบื้องหลังนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ผู้บุกเบิกทฤษฎีและค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ พร้อมทำความเข้าใจแนวคิดสำคัญ
ไล่ตั้งแต่ กาลิเลโอ ผู้วางรากฐานวิทยาศาสตร์สมัยใหม่, ไอน์สไตน์ ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป, โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ รวมทั้งนักฟิสิกส์ระดับหัวกะทิอีกหลายคน กับโครงการแมนแฮตตันและระเบิดนิวเคลียร์, อลัน ทัวริง กับเครื่องอินิกมาอันโด่งดัง และจุดจบชีวิตที่น่าเศร้า
ต่อด้วย ไมเคิล ฟาราเดย์ ผู้บุกเบิกพลังงานไฟฟ้า และ สตีเฟน ฮอว์คิง อัจฉริยะผู้ไม่ยอมปล่อยให้ร่างกายเป็นอุปสรรคต่อการค้นคว้าเรื่องเอกภพ
ปิดท้ายด้วย 3 นักวิทยาศาสตร์ตัวแม่อย่าง มารี คูรี ผู้พิชิตโนเบลฟิสิกส์และเคมี, โรซาลินด์ แฟรงคลิน ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ และ โจเซลิน เบลล์ ผู้ค้นพบคลื่นจากดาวนิวตรอน
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
8/25/2023 • 4 hours, 10 minutes, 30 seconds PHY44 ‘พายุสุริยะ’ คืออะไร ทำให้อินเทอร์เน็ตล่มได้จริงหรือ?
ไม่นานมานี้มีข่าวใหญ่ที่ทำให้ชาวโลกตื่นตระหนกกันอีกครั้ง นั่นคือการเฝ้าระวังผลกระทบของ ‘พายุสุริยะ’ ที่อาจทำให้ระบบสื่อสารทั่วโลกล่มสลาย
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่า ‘พายุสุริยะ’ คืออะไร แล้วมันส่งผลต่อระบบสุริยะ รวมถึงโลกของเราในแง่ไหนบ้าง
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
8/18/2023 • 19 minutes, 25 seconds PHY43 ใครอยากย้ายไป ‘ดาวอังคาร’ ยกมือขึ้น!
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจความเป็นไปได้ของการย้ายไปอยู่บน ‘ดาวอังคาร’ ไล่ตั้งแต่คุณสมบัติพื้นฐานของดาวดวงนี้ ตัวแปรที่น่ากังวล จนถึงโปรเจกต์สุดล้ำของเจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่างอีลอน มัสก์
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค ์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
8/11/2023 • 22 minutes, 52 seconds PHY42 นักฟิสิกส์ปรมาจารย์ เบื้องหลังการคิดค้นระเบิดปรมาณู
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจวิธีคิดเบื้องหลังการสร้างระเบิดปรมาณู รวมถึงบทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของนักฟิสิกส์ชื่อดัง ทั้ง โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ และ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
8/4/2023 • 34 minutes, 31 seconds PHY41 อลัน ทัวริง ผู้ไขรหัสลับนาซี และชีวิตที่ต้องหลบซ่อน
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจชีวิตของ อลัน ทัวริง หรือ ‘บิดาแห่งคอมพิวเตอร์’ ตั้งแต่พื้นเพและความอัจฉริยะในวัยเด็ก เบื้องหลังและกลไกการถอดรหัสลับนาซี จนถึงชีวิตบั้นปลายที่จบลงอย่างเป็นปริศนา พร้อมชวนจิ นตนาการว่า ถ้าวันนั้นไม่มีอลัน ทัวริง โลกวันนี้จะเป็นอย่างไร?
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
7/28/2023 • 30 minutes, 47 seconds PHY40 เส้นบางๆ ระหว่างวิทย์แท้และวิทย์เทียม
รู้หรือไม่ว่า หลายปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็น ‘วิทยาศาสตร์’ แท้จริงแล้วอาจเป็นเรื่องหลอกลวง ไกลห่างจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ ชวนสำรวจและแยกแยะความต่างระหว่าง ‘วิทย์แท้’ และ ‘วิทย์เทียม’ ตั้งแต่การคิดค้นเครื่องจักรนิรันดร์ สัตว์ประหลาดยุคดึกดำบรรพ์ มนุษย์ต่างดาว แท่งเหล็กปริศนา ไปจนถึงการรักษาโรคด้วยวิธีแปลกๆ
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
7/21/2023 • 28 minutes, 53 seconds PHY39 ย้อนประวัติศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุ
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ ‘การเล่นแร่แปรธาตุ’ ที่มีประวัติศาสตร์ย้อนไปนานตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล
เหตุใดคนยุคโบราณจึงสนใจการเล่นแร่แปรธาตุ คนยุคต่อมามีการศึกษาทดลองเรื่องนี้อย่างไร แล้วในแง่วิทยาศาสตร์สามารถทำได้จริงหรือไม่ ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
7/14/2023 • 21 minutes, 54 seconds PHY38 ทางช้างเผือก และผองเพื่อนกาแล็กซีที่น่ารัก
เคยสงสัยไหมว่า เรามีวิธีศึกษา ‘ทางช้างเผือก’ รวมถึงกาแล็กซีอื่นๆ อย่างไร ลักษณะกาแล็กซี่ที่เห็นเป็นรูปกังหันถูกบันทึกด้วยอะไร ทั้งที่เรายังไม่สามารถส่งยานอวกาศออกไปไกลขนาดนั้นได้
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปปูพื้นฐานเกี่ยวกับกาแล็กซี พร ้อมสำรวจกายวิภาคของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
7/7/2023 • 24 minutes, 14 seconds PHY37 ‘ไมโครเวฟ’ ทำงานยังไง ทำไมต้องหมุนตลอดเวลา
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจกลไกของเตาอบ ‘ไมโครเวฟ’ ว่าเหตุใดคลื่นที่มองไม่เห็นจึงเปลี่ยนเป็นความร้อนได้ แล้วทำไมจานรองอาหารด้านในถึงต้องหมุนตลอดเวลา?
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
6/30/2023 • 14 minutes, 53 seconds PHY36 สามนักวิทยาศาสตร์สตรีที่โลกต้องจำ
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ ส่งท้าย Pride Month ด้วยการพาไปทำความรู้จัก ‘นักวิทยาศาสตร์สตรี’ ที่สร้างผลงานเปลี่ยนโลก แต่โลกกลับไม่ค่อยรู้จักพวกเธอเท่าไรนัก
ไม่ใช่เพราะพวกเธอไม ่เก่ง แต่เพราะในยุคสมัยหนึ่ง วงการวิทยาศาสตร์แทบไม่เปิดโอกาสให้แสงส่องถึงพวกเธอเลย
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
6/23/2023 • 31 minutes, 32 seconds PHY35 Butterfly Effect คืออะไรในทางฟิสิกส์?
รู้หรือไม่ว่า ทฤษฎี Butterfly Effect ที่หลายคนหลงใหล รวมถึงวลี ‘เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว’ มีต้นตอมาจากการพยากรณ์อากาศที่คลาดเคลื่อน!
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความเข้าใจว่า ที่มาที่ไปของทฤษฎีนี้คืออะไร แล้วเหตุใดเมื่อผีเสื้อกระพือปีกในซีกโลกหนึ่ง จึงส่งผลให้เกิดพายุใหญ่ในอีกซีกโลกหนึ่งได้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
6/16/2023 • 23 minutes, 46 seconds PHY34 ‘ดาวเหนือ’ อยู่ตรงนั้นเสมอ เหมือนเธอที่อยู่ข้างกันทุกเวลา
เวลาหลงทางอยู่กลางป่า หากไม่มีเข็มทิศ สิ่งที่จะช่วยบอกทิศเราได้ก็คือ ‘ดาวเหนือ’
แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ นอกจากจะไม่ทราบว่าดาวเหนืออยู่ตรงไหนแล้ว ยังไม่ทราบด้วยว่า ดาวเหนือไม่ได้มีแค่ดวงเดียว!
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปรู้จักดาวเหนือในมุมที่เหนือความคาดหมาย
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
6/9/2023 • 20 minutes, 26 seconds PHY31 ดาวศุกร์ อาศัยอยู่ได้หรือไม่?
จะเป็นอย่างไรหากเราย้ายไปอยู่บนดาวที่เวลา 1 วัน ยาวนานกว่า 1 ปี?
ฟังดูประหลาด แต่นั่นคือธรรมชาติของ ‘ดาวศุกร์’ ดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของเราที่มีคุณสมบัติแปลกๆ นับไม่ถ้วน ตั้งแต่พายุฝนกรด การหมุนรอบตัวเองแบบอินดี้ ภูเขาไฟที่รอวันปะทุ จนถึงอุณหภูมิอันร้อนรุ่มดั่งนรก
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจดาวศุกร์ในมุมที่หลายคนไม่เคยรู้จัก
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
5/19/2023 • 19 minutes, 54 seconds PHY30 ไม่มีฟาราเดย์ในวันนั้น ไม่มีไฟฟ้าในวันนี้
ช่วงที่ผ่านมาบิลค่าไฟน่าจะทำให้ใครหลายคนปวดหัว แต่รู้หรือไม่ว่า ย้อนไปก่อนหน้านี้ 200 ปี มนุษย์เรายังคิดวิธีผลิตไฟฟ้าไม่ได้ด้วยซ้ำ!
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปดูจุดกำเนิดและวิวัฒนาการของ ‘ไฟฟ้า’ พลังงานเปลี่ยนโลกที่บุกเบิกโดย ไมเคิล ฟาราเดย์ นักฟิสิกส์คนสำคัญแห่งยุคสมัย
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
5/12/2023 • 25 minutes, 43 seconds PHY29 เลือดนี้มีที่มา หลักฟิสิกส์กับคดีฆาตกรรม
คดีฆาตกรรมกำลังเป็นข่าวใหญ่ ว่าแต่ ‘ฟิสิกส์’ ช่วยพิสูจน์อะไรได้บ้าง?
คำตอบคือช่วยไ ด้แน่นอน ตั้งแต่การตรวจสอบวิถีกระสุน ร่องรอยบาดแผล จนถึงลักษณะของคราบเลือดในที่เกิดเหตุ
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกการสังเกต ‘เลือด’ ในคดีฆาตกรรม ว่าหยดเลือดและคราบเลือดแต่ละแบบนั้น บอกอะไรเราได้บ้าง และมันสามารถอำพรางได้จริงหรือ
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
5/5/2023 • 20 minutes, 44 seconds PHY26 แมวของชโรดิงเจอร์ ประตูสู่โลกควอนตัม
หลังเว้นว่างไปสองสัปดาห์ รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ ได้เวลาคัมแบ็กอีกครั้ง พร้อมเอพิโสดที่ทีมงานพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เป็นหนึ่งในตอนที่ท้าทายและเปิดโลกที่สุด’
ความเดิมตอนที่แล้ว เราได้ปูพื้นฐาน ‘ทฤษฎีควอนตัม’ ไปแล้วกันแบบหอมปากหอมคอ พร้อมทิ้งปมไว้ว่ามีการทดลองหนึ่งเกี่ยวกับหลักควอนตัมที่ยังถูกพูดถึ งจนวันนี้
การทดลองนั้นมีชื่อว่า ‘แมวของชโรดิงเจอร์’
การทดลองที่ว่านี้คืออะไร แมวเกี่ยวข้องอย่างไรกับควอนตัม ร่วมหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในเอพิโสดนี้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
4/14/2023 • 27 minutes, 55 seconds PHY22 แรงโน้มถ่วงคืออะไร?
พูดถึงแรงโน้มถ่วง หลายคนน่าจะนึกถึงการค้นพบของ เซอร์ไอแซก นิวตัน กับลูกแอปเปิ้ลที่ตกใส่หัว (ซึ่งบางตำราบอกว่านั่นเป็นเพียงแค่เรื่องเล่า!)
ย้อนไปก่อนหน้านั้น มนุษย์เราสนใจศึกษาแรงประเภทนี้มานานแล้ว ทว่าคอนเซปต์ที่นักวิทยาศาสตร์ยุคแรกๆ เสนอไว้ ถือว่าต่างจากทฤษฎีในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้พาไปทำความรู้จักกับ ‘แรงโน้มถ่วง’ หนึ่งในแรงพื้นฐานที่ทำให้นักฟิสิกส์ปวดหัวมาทุกยุคสมัย
เพราะแม้มันจะดูใกล้ตัว แต่ก็ยังมีปริศนาอีกหลายข้อที่หาคำตอบไม่ได้
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
3/10/2023 • 22 minutes, 52 seconds PHY21 ‘มัลติเวิร์ส’ คืออะไร มีจริงหรือไม่ในมุมฟิสิกส์
เคยสงสัยกันไหมว่า จักรวาลที่เราดำรงอยู่นั้นเป็นจักรวาลเพียงหนึ่งเดียว หรือเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของจักรวาลอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือการรับรู้อันจำกัดของมนุษย์
แนวคิดเกี่ยวกับ ‘มัลติเวิร์ส’ ที่เราเห็นในภาพยนตร์ไซไฟหรือนิยายวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานและทฤษฎีรองรับหรือไม่ หรือเป็นเพียงจินตนาการที่ไร้ข้อพิสูจน์
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจแนวคิด ‘มัลติเวิร์ส’ ที่คาบเกี่ยวทั้งในเชิงฟิสิกส์และปรัชญา พร้อมชวนคิดไปพร้อมๆ กันว่า จะเป็นอย่างไรหากจักรวาลหรือเอกภพนี้ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว
ดำเนิน รายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
3/3/2023 • 26 minutes, 24 seconds PHY19 ทำไมดาวถึงกะพริบ (แค่บางดวง)
ตอนเด็กๆ หลายคนอาจเคยเรียนมาว่า ดาวที่กะพริบอยู่บนฟ้านั้นคือดาวฤกษ์ ส่วนดาวที่แสงนิ่งๆ คือดาวเคราะห์
แต่ถ้าว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ถือว่าไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะหากสังเกตดีๆ จะพบว่า แสงจากดาวเคราะห์บางดวงก็กะพริบได้เหมือนกัน!
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่า แสงระยิบระยับที่เรามองเห็นยามค่ำคืนนั้นเกิดจากอะไร ทำไมดาวบางดวงถึงไม่กะพริบ และมีเรื่องไหนเกี่ยวกับแสงดาวที่เราเคยเข้าใจแบบผิดๆ กันบ้าง
2/17/2023 • 12 minutes, 30 seconds PHY11 ‘ดาวเสาร์’ เท่าที่เข้าใจ
แม้ว่า ‘ดาวเสาร์’ จะเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 6 ในระบบสุริยะ ซึ่งว่ากันตามตรงแล้ว ด้วยระยะทางถือว่ามันห่างไกลโลกของเรายิ่งนัก
แต ่เหตุใดนักดาราศาสตร์จำนวนไม่น้อยจึงให้ความสนใจในการศึกษาดาวดวงนี้อย่างเอาจริงเอาจัง
ว่ากันว่าเหตุผลหนึ่งเป็นเพราะ ‘วงแหวน’ ของมันที่มีเสน่ห์เย้ายวน ชวนให้ค้นหาคำอธิบายว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วทำไมดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จึงไม่มีวงแหวนที่ยิ่งใหญ่อลังการแบบนี้
ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจดาวเสาร์ในแง่มุมที่เราพอจะหาคำตอบได้ในปัจจุบัน พร้อมไขข้อข้องใจว่า คนธรรมดาสามัญอย่างเราๆ จะรู้เรื่องดาวเสาร์ไปทำไม?
12/16/2022 • 23 minutes, 49 seconds PHY4 ดาวเทียม สิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนวิธีคิดว่าดาวคือเทพเจ้า
นานมาแล้ว มนุษย์เคยคิดว่าดวงดาวที่ลอยอยู่บนฟ้านั้นคือ ‘เทพเจ้า’ เพราะมันไกลตัวเกินกว่าจะทำความเข้าใจ
แต่แล้ววันหนึ่ง มนุษย์กลับสร้างดวงดาวของตัวเองขึ้นมา แล้วส่งมันขึ้นไปโคจรอยู่บนฟ้าได้ไม่ต่างจากดาวดวงอื่นๆ แล้วก็เรียกว่าสิ่ งนั้นว่า ‘ดาวเทียม’ (Satellite)
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่าดาวเทียมนั้นมีจุดกำเนิดมาจากไหน ใครเป็นผู้คิดค้น แล้วการเกิดขึ้นของมันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของพวกเราทุกวันนี้อย่างไร
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
10/28/2022 • 16 minutes, 46 seconds PHY3 โลกกลม เรื่องตลกที่กลายเป็นการค้นพบอันยิ่งใหญ่
พูดถึงคำว่า ‘โลกกลม’ คนยุคนี้อาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ ก็รู้ แต่ถ้าย้อนไปก่อนหน้านี้สักสองพันปี นี่คือเรื่องใหม่ที่เหนือจินตนาการมาก และการพิสูจน์ว่าโลกกลมจริงหรือไม่นั้น ต้องอาศัยทั้งสติปัญญาและความกล้าหาญ กระทั่งต้องแลกมาด้วยชีวิต
ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่าแนวคิดเรื่องโลกกลม มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน คนสมัยก่อนมีวิธีการอ ย่างไรในการพิสูจน์และลบล้างความเชื่อเดิมว่าโลกแบน แล้วการค้นพบที่ว่านี้มีคุณูปการอย่างไรกับชีวิตเราในปัจจุบัน
10/21/2022 • 18 minutes, 41 seconds PHY2 ดวงอาทิตย์ ในมุมที่คิดไม่ถึง
รู้หรือไม่ว่า แหล่งพลังงานแทบทุกอย่างบนโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นพลังงานในร่างกายมนุษย์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานถ่านหิน หากสืบสาวไปถึงต้นตอ จะพบว่ามีรากมาจากดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ยังไม่นับว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น แสงเหนือ-แสงใต้ ที่ใครหลายคนตั้งตารอทุกปี ก็มีจุดกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์เช่นกัน
‘ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์’ เอพิโสดนี้ จะพาไปสำรวจดวงอาทิตย์ในมุมที่หลายคนไม่เคยรู้ ตั้งต้นจากคำถามง่ายๆ (แต่ตอบยาก) ที่ว่า แสงของดวงอาทิตย์มาจากไหน?
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
10/14/2022 • 18 minutes, 23 seconds PHY1 ฟิสิกส์ ศาสตร์ที่อธิบายเรื่องเล็กสุดถึงใหญ่สุดในจักรวาล
เวลาได้ยินคำว่า ‘ฟิสิกส์’ เชื่อว่าหลายคนที่ไม่ใช่เด็กสายวิทย์คงเบือนหน้าหนี เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและไกลตัว แต่ในความเป็นจริง องค์ความรู้ด้านฟิสิกส์นั้นแฝงอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ตั้งแต่อนุภาคเล็กจิ๋วที่ลอยอยู่ในอากาศ สิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน จนถึงดวงดาวนับล้านในจักรวาลอันไกลโพ้น
‘ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์’ คือรายการวิทยาศาสตร์เนิร์ดๆ ที่พาไปเปิดโลกฟิสิกส์จากสิ่งรอบตัว เริ่มต้นเอพิโสดแรกด้วยการปูพื้นฐานแบบง่ายๆ ว่าฟิสิกส์คืออะไร แล้วทำไมมันถึงเป็นศาสตร์ที่อธิบายได้แทบทุกสรรพสิ่ง!
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
10/7/2022 • 14 minutes, 18 seconds