83: สัญญาณฟ้องว่าซึมเศร้า เศร้า หงอย หดหู่ ไร้คุณค่า
ไม่ว่าจะมาจากเหตุใด เช่น เครียดเรื้อรัง ฮอร์โมนไม่สมดุล ปัญหาสุขภาพฯลฯ
อย่าปล่อยให้ถึงขั้นซึมหนักจนหมดอาลัยตายอยากเลย
ลองสังเกตสัญญาณก่อนจะซึมจนกู้ลำบาก
จะได้รับมือแต่เนิ่นๆ
See more
11/4/2021 • 38 minutes, 19 seconds ในการสร้างความมั่งคั่งผ่านการลงทุนไม่ได้มีแค่เรื่องของการเงินเท่านั้น
การลงทุนให้ตัวเองเป็นการพัฒนาได้หลากหลายด้าน
ทั้งการลงทุนให้ได้มาซึ่งความรู้ ร่างกายที่มีสุขภาพดี และอื่นๆ
ทุกด้านล้วนสร้างประโยชน์ พัฒนา และเสริมสร้างทักษะให้เราเอง
ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินหรือไม่ในตอนแรก
แต่ในอนาคตก็สามารถสร้างรายได้หรือสนับสนุนอาชีพที่ทำอยู่ก็เป็นได้
See more
10/24/2021 • 43 minutes, 42 seconds Ep 81: การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ในภาวะที่เรากำลังอยู่ท่ามกลางโรคภัยไข้เจ็บเช่นนี้
การมีภูิมคุ้มกันที่แข็งแรงถือว่าเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยให้เราต้านทานกับภาวะนี้ได้ในระดับหนึ่ง
การมีด่านปราการป้องกันที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อสิ่งที่อาจจะเลวร้ายกว่าไม่ให้เกิดขึ้น
หรือแม้จะเกิดก็ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้
หันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับด่านหน้านี้ด้วย 3 แนวทาง
1. แนวทางในพฤติกรรมการใช้ชีวิต
2. แนวทางการรับมือกับความเครียด
3. แนวทางด้านพฤติกรรมการกินและโภชนาการ
See more
10/13/2021 • 45 minutes, 10 seconds Ep 80: วิธีรับมือกับคนเจ้าปัญหาโดยไม่ให้เราประสาทเสีย ความคิดเห็นที่แตกต่างเป็นเรื่องปกติ เนื่องด้วยแต่ละคนมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน
บ่อยครั้งที่เราอาจจะอารมณ์เสียไปกับคนที่มองต่างและโต้แย้งกลับอย่างไม่ลดราวาศอก
ยิ่งแย่งกันพูดก็ยิ่งเติมเชื้อไฟให้การโต้แย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ กลายเป็นทะเลาะกันใหญ่โตได้
ซึ่งอาจนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ลงได้
หากเราต้องเผชิญกับสถ านการณ์ยาก ๆ กับคนยาก ๆ แล้ว
การโต้เถียงคืนก็อาจไม่ได้สร้างประโยชน์ให้แก่ใคร แถมทำให้ประสาทเสัยได้อีก
ลองฟังคำแนะนำนี้ดู เผื่อคราวหน้าจะได้ไม่เสียอารมณ์อีก
See more
4/14/2021 • 29 minutes, 9 seconds Ep 79: การสัมผัส หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของมนุษย์ ร่างกายของเราถูกออกแบบมาให้ตอบสนองต่อการสัมผัส
เพื่อรับรู้สภาพแวดล้อม เพื่อการสื่อสารและสังคม เพื่อแสดงและรับรู้ทางอารมณ์
นับเป้นส่วนหนึ่งของวิถีการใช้ชีวิต
แต่เมื่อการ Social Distancing พรากเราให้วางตัวต่อกันใหม่
แล้วเราจะจัดการกับสภาวะที่ต่างกับธรรมชาติที่เราคุ้นเคยได้อย่างไร
See more
4/8/2021 • 24 minutes, 32 seconds Ep 78: ทำไมการนอนหลับนานๆกลับยิ่งทำให้เพลียกว่าเดิม เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการนอนหลับไม่พอทำให้สุขภาพเสีย
แต่การนอนหลับนานเกินไปก้ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน
การนอนทดแทนชั่วโมงการนอนที่หายไปใช่ว่าจะทำให้สดชื่น
แต่กลับทำให้สมองตื้อ ตัวหนัก และขี้ เกียจ
รวมถึงโรคภัยที่หนักหนากว่า เช่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
ดังนั้น ไม่ว่าจะวันไหน ๆ
วันทำงาน หรือวันหยุด ก็สมดุลชั่วโมงการนอนให้พอดีๆกันล่ะ
See more
4/1/2021 • 22 minutes, 11 seconds Ep 77: ภาวะวัยทอง ไขข้อสงสัยที่ได้ยินมา วัยทองหรือภาวะวัยหมดประจำเดือนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนต้องได้เจอ
เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งในชีวิตผู้หญิง
หลายคนอาจรู้สึกหาความสงบไม่ได้ในช่วงนี้
บางคนก็อาจไม่ทันสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นกัยตัวเองบ้าง
บางคนก็กังวลที่รอบเดือนเริ่มหายไป
และเช่นกัน บางคนก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองถึงวัยที่ภาวะนี้มาถึงหรือยัง
หลายข้อมูลที่ได้ยินเขาว่ากันมากับคำถามที่อยู่ในใจ
มาคลายความสงสัยกัน กับประเด็นพื้น ๆ ที่เกี่ยวกับภาวะวัยหมดประจำเดือน
See more
3/13/2021 • 25 minutes, 29 seconds Ep 76: ทำไมน้องเหมียวถึงคลั่งไคล้กล่องกันนัก เหตุการณ์แบบนี้ ทาสแมวคงพอจะมีประสบการณ์กันมาบ้างแล้ว
ของเล่นดีๆมีไม่เล่น แต่ดันสนใจกล่องของเล่นมากกว่า
ที่นอนก็มีให้แต่กํดันชอบไปนอนที่ทีไม่ใช่ที่นอน
จะว่าไป น้องแมวก็ไม่รู้หรอกว่าอะไรถูกอะไรแพง ทาสจ่ายมาเท่าไร
น้องก็แค่ชอบกล่องน่ะ ด้วยเหตุผลหลายประการ
มาลองฟังดูนะ จะได้รู้กัน
See more
3/7/2021 • 19 minutes, 8 seconds Ep 75: การออกกำลังกาย เคล็ดลับสำคัญในการชะลอวัย ควาเสื่อมเป็นเรื่องธรรมชาติ ความชราภาพเป็นเรื่องหลีกหนีไม่ได้
แต่อายุนั้นเป็นแค่ตัวเลขได้ด้วยการออกกำลังกาย
ดูอย่างคุณยายทากิมิกะ แม้จะอายุ 90 ปีแล้ว แต่ยังฟิตปั๋ง
ยกเวตเห็นกล้ามเป็นลำ กางขาโน้มตัวสบายๆ
เดินได้วิ่งได้ ช่วยเหลือตัวเองได้อย่างไม่มีปัญหา
แถมยังสอนทั้งคนรุ่นเดียวกัน และรุ่นเด็กกว่าให้ออกกำลังกายอย่างแข็งขัน
อยากหน้าตากระชากวัย และสูงวัยอย่างมีสุขภาพต้องอย่าละเลยการออกกำลังกาย
See more
3/1/2021 • 39 minutes, 50 seconds Ep 74: Fasting กินเมื่อไร งดเมื่อไรดี การงดอาหารเป็นอีกสิ่ งหนึ่งที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ
การมีช่วงงดอาหารนับเป็ฯการเปิดโอกาสให้บางอวัยวะได้พักและบางอวัยวะได้ทำงานตามเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
แต่การจะกินและการจะงดให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย ก็มีเรื่องจังหวะเวลามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
ลองจัดปรับตารางการกินกันดู
See more
2/24/2021 • 30 minutes, 40 seconds การแสดงความรักสามารถสื่อสารออกมาได้หลายแบบ
รูปแบบที่ต่างกันก็เหมือนภาษาที่ต่างกัน
หากไม่เข้าใจภาษารักของอีกคน ก็อาจตีความหมายหรือเจตนาผิด
เช่นกันหากเขาไม่รู้ภาษารักของเรา ความรักที่แสดงออกไปนั้นก็อาจไร้ความหมาย
การเรียนรู้ภาษารักของกันและกัน ช่วยส่งเสริมความเข้าใจ และประสานความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น
See more
2/14/2021 • 28 minutes, 52 seconds Ep 72: ความหิวทั้ง 7 ประเภท ความหิวมิได้ต้องตอบสนองด้วยอาหารเสมอไป
มันขึ้นอยู่กับประเภทของความหิว
และถึงแม้เป็นความหิวที่ต้องตอบสนองด้วยอาหา ร
ก็ใช่ว่าจะกินปริมาณเท่าไรก็ได้
สำคัญกว่าคือ กินในปริมาณที่เรารู้ตัว และปริมาณที่จำเป็นจริง ๆ
See more
2/10/2021 • 29 minutes, 55 seconds Ep 71: ทุกสรรพสิ่งในชีวิตล้วนมีขั้วตรงข้าม ประสบการณ์แย่ๆ เป็นคู่ตรงข้ามกับประสบการณ์ดี ๆ
คู่ตรงข้ามทำให้เราได้ตระหนักว่า เวลามีอะไรดีๆ เข้ามา สิ่งที่เคยแย่มันไม่เป็นเป็นอดีตไปแล้ว
อะไรก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ แม้จะวันดีๆ ก็จงมีสติ ไม่ประมาท พลาดท่าหากอีกวันมันจะกลับตาลปัตร
ทุกสรพพสิ่งไม่ว่าจะด้านบวกหรือลบ ล้วนมีบทเรียนให้เราเสมอ
อยู่ที่เราจะเอาพลังงานไปโฟกัสที่ด้านใด
See more
2/6/2021 • 16 minutes, 25 seconds Ep 70: การพักผ่อนไม่ได้มีแค่การนอนหลับ "พักผ่อนนอนหลับ" วลีที่คุ้นเคยจนเราคุ้นชินว่าหากอยากพักก็ให้ไปนอน
แต่บางครั้งแม้จะนอนพักแล้วก็ยังไม่ฟื้นกลับมาสมองปลอดโปร่ง
หากเป็นเช่นนี้ ไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่อาจเพราะเลือกรูปแบบการพักที่ไม่เหมาะกับสภาพความเ หนื่อยของเรา
การพักไม่ใช่แค่การพักทางกาย แต่ยังแบ่งออกเป็น 7 รูปแบบ
ลองฟังดู เผื่อคราวหน้าจะได้พักให้ถูกทาง
See more
2/2/2021 • 22 minutes, 29 seconds Ep 69: อาหารที่ดีต่อสุขภาพ อ้างอิงจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ อะไรที่ว่ากินแล้วดี กินแล้วไม่ดีนั้น เคยตั้งคำถามไหมว่าเราเอาคามเชื่อนั้นๆมาจากไหน
หากหมั่นหาข้อมูลเราก็น่าจะพอมั่นใจในส่ิงที่เราเชื่อ
แต่ก็คงมีไม่น้อยที่เราแค่ได้ยินมาหรือเขาแชร์กันมาว่าดี
เมื่อเขาว่าดีเราก็ว่าตามนั้นโดยไม่เคยลองเช็คแหล่งที่มาเลย
หนังสือ The Best Diet: Simple and Evidence-based Guide to Healthy Eating
เขียนโดย อ. ซึงาวะ ยูสุเกะ ได้รวบรวมประเด็นที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากการวิจัยมากมาย
โดยเน้นเฉพาะหลักฐานที่เชื่อถือได้นำมาเสนอ
มุ่งเน้นเพื่อให้เจ็บป่วยได้ยาก และอายุยืนยาว
See more
1/29/2021 • 30 minutes, 13 seconds Ep 68: ขี้เอาอกเอาใจ นิสัยที่ซ่อนความเป็นพิษต่อตนเอง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา นึกถึงความรู้สึกของผ ู้อื่น นับเป็นส่ิ่งที่ดี
แต่หากเป็นการกระทำไปเพื่อเอาอกเอาใจอีกฝ่าย โดยเพิกเฉยต่อความรู้สึกของตัวเองหรือศักยภาพของตัวเอง ก็อาจนำพาความเดือดร้อนมาให้ตัวเองแทนก็ได้
ยิ่งหากเป็นการทำไปเพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบของอีกฝ่าย ก็เท่ากับปิดกั้นความเป็นตัวเอง แล้วยอมปล่อยตัวเองให้เป็นไปตามความต้องการของผู้อื่น
ส่งผลให้เราเสียความเป็นตัวของตัวเอง และนำมาซึ่งความเครียดสะสมได้ในภายหลัง
See more
1/25/2021 • 38 minutes, 57 seconds Ep 67: การรู้หลายภาษามีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง การเข้าใจภาษานั้นพึ่งพากิจกรรมทางสมองมากมายหลายอย่าง
ตั้งแต่การออกเสียง การทำความเข้าใจความหมาย การสร้างประโยค และไวยกรณ์
รวมถึงการใช้หูฟัง สายตาในการอ่าน ปากและอวัยวะทั้งหมดที่ใช้ในการออกเสียง
เราใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งอยู่ทุกวัน จนอาจไม่เคยสังเกตว่ากระบวนการทั้งหมดต้องเชื่อมต่อและ รวดเร็วขนาดไหน
ยิ่งตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไป กระบวนการเหล่านี้ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น
และสมองต้องตื่นตัวเพื่อรับมือการสลับเปลี่ยนภาษา
รวมถึงประมวลผลที่ยิ่งยากขึ้นหากเป็นภาษาที่มีโครงสร้างต่างกันมาก ๆ และอาจมีบริบทจากความต่างทางวัฒนธรรมอีก
เหล่านี้ล้วนช่วยฝึกกระตุ้นการทำงานของสมองให้ตื่นตัว และตอบสนองอย่างเฉียบคมขึ้น
See more
1/20/2021 • 34 minutes, 35 seconds Ep 66: คำถามที่ช่วยปรับปรุงการตัดสินใจของคุณ ในแต่ละวันเรามีสิ่งให้ตัดสินใจมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่
อะไรเป็นสิ่งที่คำนึงจนส่งผลทำให้เราตัดสินใจเช่นนั้น
ส่วนใหญ่คนมักคำนึงถึงผลลัพธ์เป็นหลัก
แต่ผลลัพธ์ที่ดีก็ไม่ได้มากับการตัดสินใจที่ใช่เสมอไป ตัดสินใจพลาดแต่กลับเป็นเรื่องดีก็มีถมไป
ดังนั้น แทนที่จะคำนึงแต่ผลลัพธ์ ลองเปลี่ยนมาคำนึงถึงกระบวนการเพื่อการตัดสินใจ
เพื่อให้การตัดสิ นใจของเราเป็นไปอย่างรอบคอบมากขึ้น
See more
1/17/2021 • 20 minutes, 14 seconds พระอาทิตย์ให้ทั้งความอบอุ่นและความสว่างซึ่งบ่งบอกถึงสัญญาณในการเริ่มต้นวันใหม่
มีส่วนสำคัญต่อนาฬิกาชีวิตของเราในเรื่องของการตื่นและการนอน รวมถึงอารมณ์ด้วยเช่นกัน
See more
1/14/2021 • 12 minutes, 43 seconds Ep 64: WFH อย่างไรไม่ให้อีเรื่อยเฉื่อยแฉะ Work from Home ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเทคโนโลยีสมัยนี้
เราใช้กันมากขึ้นตั้งแต่ปีก่อนในช่วงล็อคดาวน์
ปีนี้ทั้ง ๆ ที่ต้นปี ก็ต้องหันมา WFH กันอีกแล้ว
ทำงานที่บ้านอย่างไรให้ได้งาน
มาฟังเคล็ดลับกัน
See more
1/12/2021 • 25 minutes, 14 seconds Ep 63: Less is More ทำน้อยแต่ได้มาก ปริมาณไม่ได้บ่งบอกคุณภาพเสมอไป
ในการทำงานหรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ หากเราจัดสรร แบ่งหมวดหมู่
คัดเลือกสิ่งที่จำเป็นหรือสำคัญออกมาจากสิ่งไม่ไม่สำคัญ
เราจะสามารถโฟกัสพลังงานของเราให้กับสิ่งนั้นได้อย่างเต็มที่
ได้งานที่มีคุณภาพ และผ่านกระบวนการที่ทำอย่างรอบคอบแล้ว
เมื่อเราสามารถขจัดสิ่งที่ไม่จะเป็นออกไปได้ เราก็จะพบว่า 24 ชั่วโมงที่มีเท่าๆกันในแต่ละวันนั้น
เรากลับมาเวลาเหลือไปทำสิ่งอื่น ๆ ที่เราชอบได้อีก
See more
1/9/2021 • 21 minutes, 15 seconds Ep 62: เรื่องเล็กๆโดยคนเล็กๆเพื่อโลกใบใหญ่ การเปลี่ยนแปลงระดับโลกมิสามารถเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ได้หากปราศจากการลงมือทำเพียงเล็กๆน้อยๆของแต่ละคน
แม้เราจะเป็นคนตัวเล็กๆ แต่หากช่วยกันทำแล้ว
ย่อมส่งผลและให้ประโยชน์ในวงกว้างได้
ปีใหม่ทั้งที นอกจากเป้าหมายเพื่อตัวเองแล้ว
ลองเพิ่มหัวข้อที่มีส่วนเชื่อมโยงกับคนรอบข้าง ชุมชน และสังคมกัน
See more
1/6/2021 • 37 minutes, 54 seconds Ep 61: ปลุกความมั่นใจและหันมารับรู้คุณค่าในตนเอง ความก้าวหน้าและความสำเร็จมิอาจเกิดขึ้นได้หากเรามัวสบประมาทตัวเอง
ความคิดในมแง่ลบนั้นเป็นตัวลดคุณค่าในตนเอง
ทุกคนล้วนแตกต่างกัน มีแบบฉบับเป็นของตนเอง
ไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปเสียทุกเรื่อง
จงมองหาในสิ่งดีๆที่มีอยู่ในตัว คนอื่นจะมีดีก็ชื่นชมได้
แต่อย่าเอามาเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เราย้ำอยู่กับที่
ปีใหม่แล้ว มาเริ่มต้นใหม่ โอกาสที่จะดีขึ้น อยู่ในมือเรา ขอแค่ลงมือทำ
See more
1/3/2021 • 28 minutes, 29 seconds Ep 60: สิ่งที่ควรทำให้เสร็จก่อนวันสิ้นปี อย่าให้ปีเก่าผ่านไปอย่างไร้ความหมาย
ใช้เวลาที่เหลืออีกน้อยนิดในปีนี้มาทบทวนว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ได้เรียนรู้หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรกับตัวเองบ้าง
จะได้นำมาเป็นแนวทางสำหรับปีหน้า
ไม่ว่าจะเรื่องการใช้ชีวิต การงาน สุขภาพ การเงิน ความสัมพันธ์ ฯลฯ
หากมีอะไรต้องสะสางก็จะได้จัดการให้เรียบร้อย
เตรียมพร้อมสำหรับก้าวต่อไปในปีหน้า
See more
12/30/2020 • 19 minutes, 59 seconds Ep 59: รวมบทเรียนที่ได้ในปี 2020 ปีแห่งความไม่ปกติที่กลายเป็นปกติ
ความไม่ปกติที่พาการเปลี่ยนแปลงมาในหลายรูปแบบ
กระทบกับคนทั้งโลก และสร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติที่มีร่วมกันและต่า งกันไป
สิ่งไม่ปกติที่มองดูเป็นเรื่องแย่
แต่ในความแย่นั้นมีอะไรให้เรียนรู้ มีอะไรในแง่ดีอยู่ด้วย
อยู่ที่เราว่าจะเลือกเก็บสิ่งใด
See more
12/28/2020 • 39 minutes, 13 seconds Ep 58: ข้าวโอ๊ตกินดีมีประโยชน์ ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยสารอาหารมากมาย
ทั้งวิตามิน เกลือแร่ ไฟเบอร์
แถมยังไม่มีกลูเตน และมีสารต้านอนุมูลอิสระ
มีหลากหลายประเภทให้เลือกนำไปทำอาหารหรือขนมได้ตามความชื่นชอบ และความสะดวก
รวมถึงยังถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณอีกด้วย
See more
12/24/2020 • 33 minutes, 54 seconds Ep 57: Comfort zone .... ความทุกข์บนความสบาย เคยคิดเบื่อในการงาน ในวิถีชีวิตที่ทำอย่างคุ้นเคย
คุ้นเคยจนสบายแบบไม่ต้องกังวล
ดูเหมือนสบายใจ แต่ก็เบื่อในความจำเจ แต่ก็ไม่กล้าจะออกไปทำอะไรใหม่ ๆ ทั้งๆที่ก็โหยหาอะไรแปลกใหม่
คิดวนไป จมปรักอยู่ที่เดิม
นี่แหละทุกข์บนความสบาย
See more
12/20/2020 • 26 minutes, 51 seconds Ep 56: อย่ามองข้ามกรดไขมันที่จำเป็น สุขภาพจิตบางก รณ๊ก็เป็นตัวสะท้อนของปัญหาสุขภาพกายจากการขาดสารอาหารบางอย่างได้เช่นกัน
กรดไขมันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม
แน่นอนว่าเราไม่ควรบริโภคไขมันมากเกินไป
แต่ต้องแบ่งแยกก่อนว่าเป็นประเภทไขมันอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว
ที่เราควรเลี่ยงคือประเภทอิ่มตัว
ส่วนพวกไม่อิ่มตัวนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรตัดออกจากโภชนาการโดยสิ้นเชิง
เพราะไขมันก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสมอง และสมองก็ต้องการมันไปตลอดชีวิตเรา
See more
12/17/2020 • 24 minutes, 39 seconds การรอให้เป็นช่วยฝึกเราหลายอย่างดังคำสอนของหลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล ที่ว่า
“นิ่งได้ ทนได้ รอได้ ช้าได้ ดีได้”
เมื่อช้าลง รอได้ มันก็จะดีทั้งกับตัวเราทั้งทางกายและจิตใจ
คนรอบข้างก็จะได้อานิสงค์จากที่เราเป็นคนน่ารักขึ้นด้วย
แค่รอให้เป็นเท่านั้นเอง ชีวิตก็เปลี่ยนได้
See more
12/13/2020 • 37 minutes, 33 seconds Ep 54: นิสัยแย่ๆที่ควรละทิ้งเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่ใครก็ล้วนปรารถนา หลายคนจึงไขว่คว้าหาแนวทางต่าง ๆ ในการพัฒนาตัวเอง เติมความรู้ เพิ่มทักษะ เพื่อเสริมศักยภาพให้มากขึ้น การพัฒนาตนเองในเชิงรุกนับว่าเป็นเรื่องดี แต่ของใหม่ที่เราจะเติมเข้าไปนั้นมันอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผลได้ยากหากเรายังไม่ทิ้งเก่าที่แย่ ๆ ออกไปเสียก่อน
ในการจะเปลี่ยนแปลงนั้น หลายคราเราอาจนึกโทษคนอื่น และสภาพแวดล้อมรอบตัว แต่การจะเปลี่ยนแปลงคนอื่นหรือสิ่งอื่นนั้น เราย่อมรู้ดีกันแล้วว่าเป็นเรื่องแสนยากขนาดไหน ดังนั้น แทนที่จะละทิ้งสิ่งนอกตัว จะดีกว่าไหมที่ตั้งต้นเปลี่ยนแปลงจากการละทิ้งนิสัยเดิมแย่ๆ ของเราก่อน
See more
12/10/2020 • 29 minutes, 46 seconds Ep 53: คุณมีโครงสร้างร่างกายแบบไหน โครงสร้างร่างกายนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการออกกำลังกายที่ลงแรงทำไปได้ออกมาต่างกัน รวมถ ึงอาหารการกินด้วย
หลังจากมีการศึกษาผ่านภาพถ่ายแล้ว จึงแบ่งคนออกมาเป็น 3 โครงสร้างในแบบที่ต่างกัน
คือ
Ectomorph = ผอมแห้ง
Mesomorph = สมส่วน
Endomorph = อ้วนกลม
ทั้ง 3 แบบมีโครงสร้างของกระดูก รูปแบบกล้ามเนื้อ และแม้แต่บุคลิกภาพเด่นประจำแต่ละแบบ
ดังนั้น รูปแบบการออกกำลังกายของแต่ละแบบและโภชนาการจึงแตกต่างกันไปด้วย
See more
12/3/2020 • 18 minutes, 59 seconds Ep 52: It's OK to be an introvert Introvert หรือคนชอบเก็บตัว ถือเป็นบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง ไม่ได้ตีความจากการเป็นพวกแสดงตัวตนหรือไม่
แต่เป็นคนที่อ่อนไหวง่ายทั้งร่างกายและอารมณ์ต่อการเปลี่ยนแปลงเล็ๆน้อยๆ และสิ่งเร้าภายนอก โดยเฉพาะจากคน
จึงมีพื้นที่ในการเก็บตัว ปลีกออกผู้คนเป็นการชั่วคราวอยู่เสมอเพื่อชาร์ทพลังงานกลับ
การเป็นคนพูดน้อย ใช้เวลาในการวางแผนและตัดสินใจจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
คนชอบเก็บตัวจะมีจังหวะในแบบของตัวเอง และจะง่ายกว่าถ้าปล่อยให้เขาดำเนินไปตามจังหวะของเขา
รวมถึง หากการขอปลีกตัวไปชั่วคราว นั่นก็เป็นประสงค์ของเขาจริงๆ
ไม่ต้องกังวลว่าเขาจะเหงา เชื่อเถอะ เขาอยู่ได้จริง ๆ
See more
11/29/2020 • 53 minutes, 40 seconds Ep 51: เห็ด....จากเชื้อราธรรมดามาเป็นแหล่งสารอาหาร จากเชื้อราชั้นสูงตามป่า กลายมาเป็นสิ่งที่มีติดครัว นำมาปรุงอาหารทั้งธรรมดาและชั้นหรู
มีประวัติการนำมาใช้มาแล้วยาวนานในโลกฝั่งตะวันออก และสุดท้ายรวมถึงฝั่งตะวันตก
ด้วยสรรพคุณมากมาย และเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากผักอื่นๆ
จึงถูกนำมาใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ด้วย
ไฟเบอร์ก็มากทำให้อิ่มท้อง ถอยห่างจากความอ้วน
สำคัญคือชะลอความเสื่อมตามวัยด้วยนะ
See more
11/26/2020 • 29 minutes, 30 seconds Ep 50: คาร์โบไฮเดรตเป็นของต้องห้ามจริงหรือ คาร์โบไฮเดรตถือเป็นหนึ่งในสารอาหารหลักของมนุษย์
เมื่อเป็นสารอาหารหลักก็แสดงว่าเป็นสิ่งจำเป็น
แต่เมื่อพูดถึงโรคภัยที่มาจากการกิน คาร์โบไฮเ ดรตก็เป็นผู้ถูกกล่าวหาลำดับต้นๆ
เราควรดำรงชีวิตโดยปราศจากคาร์โบไฮเดรตจริงๆหรือ?
ความจำเป็นนั้นมากน้อยต่างกันไปในแต่ละบุคคล
และคาร์โบไฮเดรตที่่ดีนั้นมีอะไรบ้าง
See more
11/22/2020 • 34 minutes, 42 seconds Ep 49: คาร์ดิโอมีอะไรดีมากกว่าแค่หัวใจแข็งแรง คาร์ดิโอ มีความหมายว่า การออกกำลังกายที่เพิ่มอัตรการเต้นของหัวใจ
แน่นอนว่ามีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
นอกจากประโยชน์ทางกายภาพแล้ว ยังมีผลดีต่อทั้งสมองและจิตใจ
ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงการงาน การเรียน และชีวิต
หากการกิน การนอน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
ก็อย่างลืมนำออกกำลังกายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตด้วยละกัน
See more
Ep 48: ไอเดียดีๆเริ่มต้นจากใต้ฝักบัว ความคิดสร้างสรรค์มันจะมาปุบปับแบบไม่ให้ตั้งตัว
ตอนไม่ตั้งตัวนี่แหละที่เป็นช่องทางออกของมัน
ยิ่งพยายามคิดยิ่งตัน
ยิ่งปล่อยสบายๆกลับยิ่งพร่างพรู
และการอาบน้ำ นับเป็นช่วงเวลาส่วนตั๊วส่วนตัว
เงียบ ๆ มีแต่เสียงน้ำที่จิตใจล่องลอยไป ณ จุดเหนือจินตนาการ
จนสุดท้ายเป็นไอเดียเจ๋ง ๆ ในชีวิตนอกฝักบัว
See more
11/15/2020 • 34 minutes, 14 seconds Ep 47: ปรับปรุงทักษะการฟังแม้กับสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย การสนทนา แปลว่า การพูดคุยกัน ปรึกษาหารือกัน พูดจาโต้ตอบกัน
เป็นการผลัดกันพูดผลัดกันฟัง แต่ดูเหมือนคนส่วนใหญ่ถนัดจะแย่งพูดมากกว่าฟัง
การไม่ฟังอย่างตั้งใจถือเป็นการพลาดโอกาสที่จะรับรู้และเข้าใจอะไรมากขึ้น
การเป็นผู้ฝึกที่ดียอกจากเป็นการแสดงความถ่อมตัวแล้ว ยังถือเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องการพัฒนาตนเอง
เราจะก้วหน้าได้ดีหรือไม่ ก็วัดกันที่การฟังนี่แหละ
See more
11/12/2020 • 25 minutes, 13 seconds Ep 46: ย้อนวัยแม้สูงอายุด้วยการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ความเสื่อมเป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอนไม่ว่าจะเป็นใคร
เมื่ออายุมากขึ้นแล้ว อวัยวะต่างๆเรอ่ม เสื่อม กล้ามเนื้อก็อ่อนแอลง
อะไรเป็นปัจจัยทำให้เกิดการเสื่อมนี้ลง
ข่าวดีคือ แม้สูงวัยแล้ว นักวิจัยพบว่าเรายังสามารถฟื้นฟูมันให้กลับมาแข็งแรงได้
อย่านิ่งนอนใจ ไม่ต้องรอให้แก่ก็ได้ ลุกขึ้นมาออกกำลังกายกัน
See more
11/8/2020 • 36 minutes, 22 seconds Ep 45: ยิ่งผลัดวันประกันพรุ่ง ยิ่งเป็นการผัดผ่อนอนาคตที่ดีขึ้น ในการทำสิ่งใดก็ตาม ขั้นตอนที่ยากที่สุดคือตอนเริ่มต้น
หากผัดผ่อนมันไปเรื่อย ๆ ก็ไม่มีวันได้ลิ้มลองถึงประสบการณ์อันเป็นช่วงที่ทั้งสนุก ท้าทาย หรือลำเค็ญที่สุดก็เป็นได้
อนาคตจะออกมาอย่างไรก็อยู่ที่วันนี้
วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของวันถัด ๆไป
งานจะเสร็จ ชีวิตจะเปลี่ยน จะเกิดขึ้นได้ถ้าเราเริ่มต้นลงมือทำมันซะเดี๋ยวนี้
แล้วจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้มันไปต่อได้จนจบนั้นเป็นอีกสเต็ปนึง
อย่ารอรี เริ่มตั้งแต่วันนี้เลยนะ
See more
11/5/2020 • 18 minutes, 19 seconds Ep 44: การพัฒนาตนเองควรเป็นแนวทางที่สร้างสรรค์ มิใช่บั่นทอนตนเอง แนวทางการพัฒนานั้นมีมากมาย แหล่งข้อมูลก็มีไม่น้อยเช่นกัน
อะไรที่เขาว่าดี ก็ใช่ว่าจะเหมาะกับเราเสมอไป
ก่อนจะลงมือทำ เลือกสิ่งที่ตรงจริต เลือกสิ่งที่มันเป็นไปได้สำหรับคุณ เลือกในสิ่งที่ตรงกับพลังงานของคุณ
เมื่อลมือทำแล้ว ค่อย ๆก้าวไปทีละนิด
ทีละนิดพอที่จะทำให้เราได้เห็นความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงได้เสมออย่างไม่กดดัน หรือวิ่งไล่ใคร
แค่วิ่งไล่ตัวเองก็พอแล้ว
See more
11/1/2020 • 35 minutes, 16 seconds Ep 43: ข้อแนะนำเพื่อมีชีวิตอย่างผู้มีชัยจากยอดซามูไรมูซาชิ มูซาชิเป็นซามูไรระดับตำนานของญี่ปุ่น มีชื่อเสียงในการต่อสู้ที่ไม่เคยพ่ายแพ้มาก่อน
อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆของเขาทั้งงานศิลป และงานเขียน
งานเขียนที่ได้รับคำยกย่องคือ คัมภีร์ห้าห่วง
คัมภีร์ที่เต็มไปด้วยปรัชญาการดำเนินชีวิตตามวิถีแลัจิตวิญญาณแห่งซามูไร
แม้กาลเวลาผ่านไปนานแค่ไหน แตีข้อคิดจากเขาก็ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้เสมอ
See more
10/29/2020 • 35 minutes, 33 seconds Ep 42: แบคทีเรียในลำไส้ เลี้ยงดีมีสุข เลี้ยงแย่ระทมทุกข์ ท้องไส้เรานั้นเชื่อมต่อกับสมอง และมีระบบประสาทที่ใช้ควบคุมการทำงานของมันโดยเฉพาะ
รวมถึง ในท้องไส้ของเราถือเป็นอีกระบบนิเวชหนึ่ง แม้พื้นที่ไม่มาก แต่อุดมไปด้วยแบคทีเรียจำนวนเป็น100ล้านล้าน
จำนวนมากมายที่มีทั้งตัวที่เป็นมิตรและตัวผู้ร้าย
และการเปลี่ยนแปลงของเจ้าแบคทีเรียเหล่านี้มีผลกับการเปลี่ยนแปลงของสารประสาท
สมองในหัวแม้เป็นนายใหญ่ แต่ท้องไส้เรามันก็คิดอะไรเองได้ มันคุยกับนายใหญ่และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้ด้วย
ดังนั้น อาหารที่ส่งเสริมสุขภาพเจ้าตัวดีนั้นช่วยรักษาระบบนิเวชให้ดี
เมื่อพวกเค้าอยู่อย่างเป็นสุข ก็จะส่งผลให้เราเป็นสุขได้ด้วย
See more
10/25/2020 • 33 minutes, 58 seconds Ep 41: ธรรมชาติของความโกรธ ความโกรธเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่ฝังแน่นในชีววิทยาของมนุษย์เรา
ในระดับกายภาพแล้ว ปฏิกิริยาหรือการตอบสนองต่อความโกรธนั้น เริ่มต้นจากในสมองซึ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากในระดับที่เราอาจไม่ทันรู้ตัว
แม้การตอบสนองต่อภัยคุกคามด้วยความโกรธจะเป็นสัญชาตญาณหนึ่งเพื่อเอาตัวรอด
แต่อย่าให้มันครอบงำเราจนเป็นภัยคุกคามต่อตนเองแทนละกัน
See more
10/22/2020 • 27 minutes, 20 seconds Ep 40: มนุษย์กาแฟ VS มนุษย์ชา ชาและกาแฟ เครื่องดื่มทั้ง 2 ประเภทล้วนมีคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบทั้งคู่ มีประโยชน์ต่อสุขภาพหากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เช่น เสริมสร้างความตื่นตัว ปรับอารมณ์ และเพิ่มความสามารถในการเผาผลาญ หากมากเกินไปก็จะให้ผลที่กลับกับ คือสร้างความวิตกกังวล ความฟุ้งซ่าน นอนหลับยาก รวมถึงอาการติด แม้ผลจะเหมือน ๆ กัน แต่รสนิยมที่ต่างกัน เลยมีความชื่นชอบที่ต่างกัน นักดื่มกาแฟกับนักดื่มชา เขาต่างกันอย่างไรหนอมาฟังกัน
See more
10/18/2020 • 34 minutes, 30 seconds เรื่องเล่าหลังจากไปเดินนั่งมาราธอนมา
ไม่ใช่แข่งกีฬา แต่เป็นวิปัสสนาค่ะ
ไม่ได้แข่งกับใคร แต่สู้กับใจตัวเอง
ลับคมสติ พาใจกลับบ้านที่เป็น "ปัจจุบัน"
See more
10/15/2020 • 40 minutes, 10 seconds Ep 38: การเลิกสนใจข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นของการได้ข้อมูลที่ใช่ ในยุดที่อินเตอร์เนตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน
อินเตอร์เนตจึงเป็นแหล่งข้อมูลหลักๆในการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร
แต่ความมากใช่ว่าจะดี ยิ่งมากเรายิ่งไม่ได้สิ่งที่ใช่
แถมกลับเสียเวลาไปมากเกินควรกว่าจะได้ข้อมูลที่ใช่มา
การคัดกรองข้อมูลและละเลยบางข้อมูลบ้างจึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่คนยุคนี้ควรมีติดตัวไว้
See more
10/11/2020 • 31 minutes, 57 seconds Ep 37: อุปนิสัยของมนุษย์ที่เปิดใจกว้างแท้จริง การได้ปฏิสัมพันธ์กับคนที่เปิดใจหรือใจกว้างก็เหมือนเราได้อิสระที่ได้เป็นตัวของตัวเองกับใครคนหนึ่ง
และเป็นคุณสมบัติที่แม้เราเองก็ควรมีด้วยเช่นกัน
หากทั้งเขาและเราต่างเปิดใจให้แก่กัน ความขัดแย้งจะน้อยลง
สังคมที่เข้าใจกัน รับฟังกัน ให้โอกาสกัน จะช่วยให้กลายเป็นสังคมที่สงบสุขได้
See more
10/7/2020 • 24 minutes, 21 seconds Ep 36: เราควรออกกำลังกายมากขนาดไหน การออกกำลังเป็นหนึ่งในหลักการของการมีสุขภาพที่ดี
แต่ยิ่งมากใช่ว่ายิ่งดี แต่จะแค่ไหนดีล่ะ มันขึ้นอยู่กับว่าเราทำไปเพื่ออะไร
เป้าหมายต่างกันความเข้มข้นต่างกัน
จะจริงจังแค่ไหนดีมาฟังกัน
See more
10/4/2020 • 30 minutes, 9 seconds Ep 35: นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้มีอาการวิตกกังวล การนอนไม่พอไม่ใช่แค่ทำให้อ่อนเพลีย แต่มีผลอย่างอื่นที่แอบแฝงอยู่
จนเราอาจเข้าใจผิดไปว่าที่เราไม่มีกะใจจะทำอะไรอาจเป็นเพราะแค่อ่อนเพลีย
เมื่อร่างกายไม่ได้พัก สมองก็ไม่ได้พักเช่นกัน
มาเข้าใจอีกประเด็นของการนอนหลับ
อย่าป ล่อยให้วงจรงงๆที่กังวลว่าจะนอนไม่หลับ จนนอนไม่หลับ พอไม่ได้นอนก็วนกลับมากังวลอีก
เหนื่อยนะ!
See more
10/1/2020 • 19 minutes, 17 seconds Ep 34: ทำไมการออกกำลังกายจึงดีต่อสมอง การออกกำลังกายไม่ได้ให้ผลเฉพาะความแข็งแรงทางกาย แต่ต่อสมองด้วย
การฝึกสมองให้ได้ประสิทธิผลก็ใช่ว่าแค่นั่งอ่านเขียน คิดคำนวน แก้ปริศนา
การได้ใช้ร่างกายไปด้วย ช่วยให้เกิดการประสานงานทั้งสมอง ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ
อย่ารอให้สูงวัยหรือให้เกษียณก่อนถึงมาอ้างว่าหาเวลาออกกำลังได้ละ
จัดตารางชีวิตให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตซะตั้งแต่ตอนนี้
ป้องกันนั้นได้ผลชัดเจนกว่าแก้ไขทีหลัง เพราะอาจจะแก้ไม่ได้แล้วก็ได้
See more
9/27/2020 • 45 minutes, 55 seconds Ep 33: ความเครียดแสดงตัวผ่านร่างกายออกมาอย่างไร ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันหรือกระตุ้นให้เราลุกขึ้นไปทำกิจกรรมต่างๆ และทำให้ตื่นตัวระแวดระวังภัยที่อาจเกิดขึ้น ได้
แต่การอยู่ในภาวะที่เครียดมากเกินไปและยาวนาน สามารถเป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้ทั้งทางกายและใจ
ก่อนจะเลยเถิดไปเครียดหนัก ร่างกายมีสัญญาณเบื้องต้นมาเตือนเรา
หมั่นสังเกตอาการเหล่านี้ เพื่อจะได้แก้ไขหรือรับมือได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
See more
9/24/2020 • 27 minutes, 33 seconds Ep 32: 5 อุปนิสัยของมนุษย์ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence: EI) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การใช้ และการจัดการอารมณ์ของตัวเองในทางบวกเพื่อบรรเทาความเครียด การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาชนะความท้าทาย และขจัดความขัดแย้ง
EI มีความสำคัญมากกว่า IQ เนื่องจากผู้ที่มีทักษธทางอารมณ์ที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดี มีแนวโน้มจะเป็นที่ยอมรับและส่งผลต่อชีวิตของพวกเขาด้วย
คนที่มี EI ต่ำจะไม่สามารถรับรูหรือสังเกตอารมณ์ของตัวเองและของผู้อื่น
แต่ความฉลาดทางอารมณ์เ ป็นสิ่งที่เราสามารถปรับปรุงได้
อย่างไรก็ตามก่อนอื่นใด ก็ต้องรู้ก่อนว่าเรามีอุปนิสับเข้าข่ายมีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำหรือเปล่า
See more
9/20/2020 • 32 minutes, 1 second Ep 31: อ่านยังไงก็ไม่จำ ทำไมกัน การอ่านเป็นกระบวนการรับข้อมูลที่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสเบื้องต้นอย่างการเห็น ไปจนถึงการอ่านได้ และจดจำนั้น ต้องพึ่งพาการปะมวลผลทำความเข้าใจ ปะติดปะต่อไปกับสิ่งที่เคยอ่าน ข้อมูลที่มีในหัว รวมถึงประสบการณ์
กว่าจะจำได้ไม่ใช่แค่อ่านผ่านๆ การจดจ่อ และให้เวลาสมองได้ย่อยข้อมูลถือเป็นขั้นตอนสำคัญ
ดังนั้น การอ่านให้จำได้เริ่มตั้งแต่ว่าเลือกอ่านจากบนอะไร ไปจนถึงการถ่ายทอดออกมาได้ในเวอร์ชั่นแบบเราเอง
See more
9/17/2020 • 28 minutes, 4 seconds Ep 30: 5 คำถามปลุกกำลังใจในยามที่อยากเปลี่ยนแปลง การวกวนอยู่กับความคิดไม่ได้ให้ผลอะไรเท่าลงมือทำ แต่คามมั่นใจใช่ว่าใครๆก็มี
การเปลี่ยนทัศนคติหรือความคิดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
แทนที่จะคิด มาลองเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามที่สร้างสรรค์ และเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง
การเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นได้ตั้งแต่เปลี่ยนคำถามแล้ว
See more
9/13/2020 • 46 minutes, 59 seconds Ep 29: ความหิวบวกความโมโห ความสัมพันธ์ที่ควรระวัง โมโหหิว ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ไม่น่ารัก ไม่ใช่แค่เป็นพิษต่อตัวเอง แต่อาจเป็นภัยต่อผู้อื่นได้ด้วย
แต่ใช่ว่าทุกคนหิวแล้วจะโมโหเสมอไป การรับรู้ทางกายที่มีระดับต่างกันก็มีผล
และถ้าเรามีแนวโน้มจะโมโหหิวเราจะจัดการอย่างไรดี Episode นี้มีคำตอบ
See more
9/10/2020 • 34 minutes, 11 seconds Ep 28: ประวัติศาสตร์อาหารแปรรูป (Processed Foods) อาหารแปรรูป หรืออาหารผ่านกระบวนการไม่ใช่ของใหม่ แต่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นล้านปีมาแล้วนับตั้งแต่มนุษย์รู้จักการใช้ไฟ
เมื่ออาหารไม่ได้ถูกกินดิบๆอีกต่อไป เอามาผ่านขั้นตอนอะไรหรือใส่อะไรเข้าปผสมก็ถือว่าผ่านกระบวนการแล้วทั้งนั้น
การผ่านกระลวนการแม้จะ เป็นเรื่องเก่าแก่ แต่การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ทำให้มันมีคามซับซ้อนและอัศจรรย์ขึ้นทุกวัน
See more
9/6/2020 • 1 hour, 18 seconds Ep 27: 10 อุปนิสัยของมนุษย์ขี้โมโห ความโกรธนั้นเหมือนไฟ หากเก็บไว้ก็สุมทรวง หากปลดปล่อยแบบไร้สติก็เหมือนไฟบรรลัยกัลป์
นอกจากเป็นพิษต่อตัวเองแล้ว ยังเป็นภัยต่องผู้คนและสังคมด้วย
ความโกรธเป็นอารมณ์หนึ่งที่เราก็มีกันทั้งนั้น
แต่เราขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ขี้โมโหหรือเปล่า ลองมาสำรวจตัวเองกัน
See more
9/3/2020 • 42 minutes, 55 seconds Ep 11: คุณเป็นมนุษย์ Multitasking หรือเปล่า Multitasking person หมายถึงคนที่ทำกิจกรรมมากกว่า 1 อย่างในเวลาเดียวกัน
เป็นเรื่องที่มนุษย์มีติดตัวกันอยู่แล้ว
อย่งไรก็ตามหากกิจกรรมต่างๆเหล่านั้นพึ่งพาคนละส่วนของสมองในระดับที่ไม่เท่ากันก็ไม่เป็นภาระมากสำหรับสมอง
แต่หากกิจกรรมเหล่านั้นต้องใช้ระดับสมองที่จดจ่อหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแทบเป็นไปไม่ได้เลย
ทำให้สมองทำงานหนัก เกิดความผิดพลาดได้ง่าย และแทนที่จะได้งาน กลับยิ่งทำให้ประสิทธิภาพแย่ลงกว่าเดิมอีก
See more
9/1/2020 • 1 hour, 5 minutes, 24 seconds Ep 26: ทำไมเราควรหลีกเลี่ยงอาหารผ่านกระบวนการพิเศษ (Ultra-processed foods) จุดประสงค์ของการผลิตอาหารผ่านกระบวนการพิเศษ เพื่อสร้างแบรนด์ สะดวกในการรับประทาน(ทั้งในแง่ของอายุในการเก็บที่ยาวนานและความพร้อมในการรับประทาน) และให้ผลกำไรสำหรับผู้ผลิตเนื่องจากใช้วัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งเป็นอาหารที่ถูกออกแบบมาทดแทนอาหารกลุ่มอื่น ๆ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่อาหารกลุ่มนี้จะทำให้น่าดึงดูดด้วยแพคเกจและมีการแข่งขันในตลาดอย่างเข้มข้น
ในแง่ของผู้บริโภค ความสะดวกและรสชาติที่ปรุงแต่งให้อร่อยล้ำอาจเป็นหลุมพลางที่ทำเราบริโภคจนคุ้นชิน
อิ่มท้องได้ แต่สารอาหารไม่ครบ แถมยังได้ส่วนไม่ควรได้มากเกินไปอีก
เอาสะดวกวันนี้แต่ไม่ทันคิดถึงวันหน้า อาจต้องมาซับน้ำตากันทีหลังนะ
See more
8/30/2020 • 31 minutes, 32 seconds Ep 25: มาทำความรู้จักอาห ารผ่านกระบวนการกันเถอะ อาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เป็นอาหารผ่านกระบวนการทั้งนั้น
หลายคนเป็นกังวลถึงความปลอดภัยในการบริโภคอาหารผ่านกระบวนการ หรือ Processed Foods
แต่ประเด็นมันอยู่ที่มันผ่านกระบวนการระดับไหนต่างหาก
แล้วมันมีกี่ระดับกัน มาทำความรู้จักกัน
See more
8/27/2020 • 31 minutes, 3 seconds Ep 0-8 ฮอร์โมนเอสโตรเจนและวัยทองมีผลต่อสมองอย่างไร ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นสารเคมีในกายที่ไม่ได้เป็นเฉพาะตัวขับดันระบบสืบพันธุ์ เนื่องจากมันมี Receptor สำหรับตัวมันด้วยตลิดทั่วร่างกาย
เมื่อใดก็ตามที่ฮอร์โมนระดับลดลง ทุกระบบที่มี Receptor ของฮอร์โมนตัวนี้จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวมไปถึงสมองด้วย
ดังนั้น สุขภาพของมดลูก จึงเท่ากับ สุขภาพสมอง
ความเสื่อมถอยที่เกิดขึ้นในสมอง สำหรับผู้หญิงแล้วนั้น ตั้งต้นมาจากการเป ลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างหาก
See more
8/24/2020 • 48 minutes, 46 seconds Ep 24: เคยเป็นไหม ตื่นกลางด ึกในเวลาเดิมๆ การตื่นตัวระหว่างที่นอนหลับอยู่ถือเป็นเรื่องปกติ มีหลายกรณีที่มีการตื่นตัวตอนกลางดึกที่เป็นการตื่นแบบตื้น ๆ สั้น ๆ ที่พอตอนเช้าเราตื่นมาแล้วจำไม่ได้
การจำไม่ได้ถือเป็นเรื่องปกติ การตื่นตัวเพียงช่วงเสี้ยวมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับช่วงที่มีการเปลี่ยนจากรอบวงจรการนอนหนึ่งไปรอบวงจรถัดไป และมีแนวโน้มว่าร่างกายจะขยับตัวในช่วงเวลานี้
แต่การตื่นตัวที่ถึงกลับตื่นขึ้นมาจนรู้ตัวแล้วนั้น เป็นสิ่งรบกวนคุณภาพการนอนซึ่งมาจากสาเหตุที่เป็นไปได้หลายอย่าง ทั้งความวิตกกังวล การดื่มแอลกอฮอล์ หรือจากอาการเจ็บป่วยบางอย่าง อย่าปล่อยให้มันกวนใจ วิเคราะห์หาสาเหตุ และหันมาสร้างสุขอนามัยการนอนที่ดีกันเถอะ
See more
8/23/2020 • 51 minutes, 51 seconds Ep 0-9: กินคู่กันเสริมฤทธิ์ให้กัน แม้อาหารจากแหล่งธรรมชาติแต่ ละชนิดล้วนมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
แต่บางอย่างกินด้วยกันก็ข่มกัน
แต่บางอย่างถ้ากินด้วยก็ยิ่งเสริมให้แก่กันทั้งในการเสริมสร้างความแข็งแรง การฟื้นฟู
See more
8/22/2020 • 57 minutes, 4 seconds EP 23: 5สิ่งแนะนำเมื่อเรามีไอเดียล้นหลามแต่ไม่เคยทำให้เสร็จสักอย่าง ยิ่งมีให้เลือกมาก ยิ่งตัดสินใจลำบาก
มีไอเดียและเป้าหมายมากมายที่อยากจะทำ
ตอนเริ่มต้นก็ตื่นเต้นแต่ดี แต่จู่ๆก็ไฟมอด หยุดชะงักจนกลายเป็นผัดวันประกันพรุ่ง
สุดท้ายล้มเหลวที่จะทำให้ไอเดียที่ได้เริ่มลงมือแล้วให้สำเร็จลงได้
See more
8/20/2020 • 32 minutes, 34 seconds Ep 22: 6 อุปนิสัยของสุดยอดนักเรียนรู้ Alvin Toffler ผู้เขียนหนังสือคลื่นลูกที่สาม กล่าวไว้ว่า
“ผู้ไม่รู้หนังสือในศตวรรษที่ 21 จะมิใช่เพียงแค่ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงใครก็ตามที่เรียนไม่เป็น ไม่เรียนรู้ และไม่เรียนทบทวน”
ผู้ที่เป็นนักเรียนรู้จึ งเป็นที่น่าสนใจกับทุกองค์กร และมีประโยชน์แม้สำหรับการงานหรือธุรกิจของตัวเองด้วย
การเป็นนักเรียนรู้จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทักษะที่เป็นทั้งที่ต้องการและปรารถนาสำหรับตัวเราเอง
See more
8/16/2020 • 44 minutes, 9 seconds Ep 0-6: จะทิ้งฉันทั้งที ให้มีมูลค่าหลงเหลือบ้าง เคยสังเกตถังขยะในแต่ละวันไหมว่า แต่ละวันเราสร้างขยะได้มากมายขนาดไหน
หลายคนอาจคิดแค่ ก็เมื่อเราใช้แล้วใช้เหลือก็แค่โยนๆลงถังไป
ของทิ้งแล้วคือไร้ค่า
แต่แม้จะเป็นขยะ มันก็คือสิ่งที่เปลี่ยนรูปฟอร์มหนึ่งมาเป็นอีกรูปฟอร์มหนึ่ง
มายังนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก หากเราเพียงแค่ใส่ใจด้วยการการแยกประเภท และจัดระเบียบ
บางสิ่งยังนำมาใช้ต่อในครัวเรื่อนได้ บางสิ่งแม้จะพ้นบ้านเราไปแล้ว แต่หากจัดการไว้ให้ดั้งแต่ที่บ้านเรา
คนอื่นก็จะนำไปจัดการต่อได้ง่ายขึ้น
อย่านำไปรวมแล้วคิดมักง่ายแค่ว่าเดี๋ยวคนมาเก็บก็จะแยกให้
การลดขยะเริ่มต้นจากที่ครัวเรือนของเราเป็นสำคัญ
See more
8/15/2020 • 59 minutes, 35 seconds Ep 21: ทำไมการเขียนด้วยมือจึงเป็นทักษะที่ไม่ควรละทิ้ง การเขียนด้วยมือเป็นสิ่งที่ถูกลืมมากขึ้นตั้งแต่ยุคดิจิตอลที่คนหันมาใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต
ใช้นิ้วพิมพ์แสนว่องไว ผิดก็แก้ไขง่าย
แต่ทำให้เราขาดทักษะไปหลายอย่าง ทั้งการใช้ร่างกายควบคุมกล้ามเนื้อในการใช้มือ
การวิเคราะห์ การตรึกตรอง และอีกหลากหลายที่การพิมพ์ให้เราไม่ได้
เริ่มกลับมาเขียนตอนนี้ก็ยังไม่สาย
See more
8/13/2020 • 37 minutes, 46 seconds Ep 9: เพศหญิง ทำไมเขาถึงว่าอายุยืนยาวกว่า "แก่ง่ายตายยาก" วลีกระทบกระเทียบที่บรรดาคุณผู้หญิงทั้งหลายฟังกีครั้งก็ปวดใจ
ถึงจะปวดใจแต่มันจริงแท้อย่างที่หลักการทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์
ทั้งหมดหลักๆเป็นเรื่องของโครโมโซมของชายหญิงที่ต่างกัน
ชายมี XY แต่หญิงมี XX
ดับเบิ้ลเอ๊กซ์นี่แหละที่ทำให้เราอยู่คงทนกว่า
ทำไมล่ะ ก็ต้องลองเปิดฟังดูนะ
See more
8/10/2020 • 1 hour, 41 seconds Ep 20: ถอดรหัสกายใจ หัวจรดเท้า ตอนที่3 ตอนที่ 3 ว่าด้วยตั้งแต่กระดูกเชิงกราน สะโพก ไล่ลงไปที่ขา หัวเข่า ข้อเท้าและเท้า
สะโพกส่วนที่อยู่ตรงกลาง เป็นเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างการกระทำโดยร่างกายท่อนบน กับส่วนล่างที่พาเราเคลื่อนไปยังทิศทางต่างๆ
ขา และเท้าเป็ฯฐานที่ทำให้เรายืนหยัดและก้าวไปข้างหน้าหรือกำหนดทิศทางการดำเนินไป
อาการทางกายในอีกมุมหนึ่งก็คือสัญญาณที่จิตใจส่งออกมาให้เราหันกลับมาดูอารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงที่แอบซ่อนหรือกดทับไว้ภายใน
See more
8/9/2020 • 1 hour, 19 minutes, 49 seconds Ep 19: เครียดแบบไหนเล่นซะผมหงอก อย่างที่เราน่าจะรู้ว่า ความเครียดนำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยหลายอย่างทั้งทางกายและใจ
แต่ไม่ต้องถึงขั้นหนักหนาเช่นนั้น เอาแค่การเปลี่ยนแปลงในกายอย่างเส้นผมขาวเพียงเส้นเดียวโผล่มาทักทายก็สร้างความ รู้สึกหงุดหงิดได้
ยิ่งปีนี้เป็นปีที่แสนไม่ปกติ มีใครสังเกตไหมว่าผมขาวมากมาไวกว่าปกติ
สถานการณ์เครียดๆแบบไหนที่มันกระทบกะเทือนร่างกายขนาดนี้กันหนอ
See more
8/5/2020 • 31 minutes, 23 seconds Ep 5: เหนื่อยน้อยลง ฟืนฟูร่างกายได้ไวตามวิ๔ีแบบสแตนฟอร์ด สแตนฟอร์ดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่โด่งดังระดับโลกใน เชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์ ได้รับขนานนามว่าเป็น “มหาวิทยาลัยที่แข็งแกร่งด้านกีฬาที่สุดในโลก” และมีนักกีฬาจำนวนมากศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้ที่ได้ร่วมแข่งขันในระดับโลก
ผู้เขียนหนังสือ スタンフォード式疲れない体 (The Standford method for ultimate super recovery) คุณ Tomoo Yamada เป็นชาวญี่ปุ่นผู้เป็นนักกายภาพและรองผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 15 ปี ทำหน้าที่เป็นทั้งนักกายภาพด้านกีฬา
ทำหน้าที่ดูแลนักกีฬาเบสบอล บาสเกตบอล กอล์ฟชาย-หญิง และอื่นๆอีกมากมาย และพัฒนาแนวทางการรักษาในศูนย์
พัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูร่างกาย
ซึ่งคิดค้นโดยศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
See more
8/5/2020 • 1 hour, 25 minutes, 9 seconds Ep 0-5: ผักกินได้กินดีแต่ไฉนลมเยอะจัง ผักประกอบไปด้วยไฟเบอร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
ไฟเบอร์แบบละลายน้ำ มาจากพืชที่มีเปคตินสูง เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะแปลงสภาพเป็นเจลลื่น ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร และลดการดูดซึมไขมันในเข้าสู่กระแสเลือด เช่น ข้าวโอ้ต ข้าวบาร์เลย์ ถั่วฝัก แครอท แอปเปิล อโวคาโด ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มันหวาน มะเดื่อ ลูกพรุน
ประโยชน์ สมดุลระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจโดยการลดระดับคอเลสตอรอล
ไฟเบอร์แบบไม่ละลายน้ำเนื่องจากมีเซลลูโลสซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ในพืช แต่จะพองตัวในน้ำเหมือนฟองน้ำ ไม่ให้ความหนืด ทำให้เพิ่มปริมาณน้ำในกระเพาะอาหาร ร่างกายย่อยสลายได้ไม่หมด ส่วนใหญ่เป็นผักประเภท เช่น บรอคโครี่ กระหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกระหล่ำ กระหล่ำดาว ผักใบเขียวเกือบทุกชนิด รวมถึงผักในกลุ่มสตาร์ช เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพด ถั่วต่างๆ แป้งไม่ขัดสี
ประโยชน์ เพิ่มกากใยให้อุจจาระ ทำให้อุจจาระนุ่ม ปรับการเคลื่อนตัว/ทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ และช่วยป้องกันท้องผูก เนื่องจากมีคุณสมบัติคล้ายยาระบาย โดยกากใยนี้จะไปทำให้เยื่อบุลำไส้ระคายเคือง จนผนังลำไส้สร้างเมือกขึ้นมาคล้ายกับเป็นสารหล่อลื่นและเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหาร เพื่อส่งไปตามทางเดินของการย่อยอาหาร อีกทั้งผลพลอยได้จากการหมักอยู่ในลำไส้ใหญ่จะได้ กรดไขมันสายสั้น ช่วยทำให้อวัยวะในระบบย่อยมีสุขภาพดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง รวมถึงช่วยรักษาการอักเสบในระดับเซลล์
ผักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฟเบอร์ไม่ละลายน้ำที่มาในรูปของเซลลูโลส ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถย่อยเซลลูโลส แม้เราจะได้รับประโยชน์จากการบริโภคไฟเบอร์แบบไม่ละลายน้ำ แต่หากปริมาณมากเกินไปก็ก่อให้เกิดก๊าซได้ ซึ่งทำให้ท้องบวม ไม่สบายตัว ผายลมมาก ปวดเกร็งในช่องท้อง
นอกจากนี้ ผักหลายอย่างประกอบไปด้วย Raffinose ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 3 โมเลกุล ซึ่งไม่สามารถย่อยในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ได้ แต่จะถูกย่อยโดยแบคทีเรียซึ่งสร้างก๊าซในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการหมักจนได้ก๊าซออกมาก ทำให้ท้องอืด จนต้องผายลม
การรักษาสุขภาพและระบบนิเวศวิทยาในร่างกายเราให้ดีจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างกำลังของไฟย่อยได้ เราควรกินอาหารที่เป็นมิตรกับแบคทีเรียกลุ่มดีซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ และพวกมันช่วยทำให้เราแข็งแรงมีสุขภาพดีด้วย
อย่างไรก็ตามถึงแม้เราจะมีระบบนิเวศที่ดีในร่างกายก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาในการย่อยผักดิบ ด้วยเหตุผลของคุณสมบัติตามที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงอาการ เบื้องต้นอย่างที่พบบ่อยคือ ผายลมและท้องบวม เราควรจัดการกับผักดิบ ดังนี้
1. ทำให้สุก
2. การดอง
3. เคี้ยวช้าๆ
4. ปรับสัดส่วนระหว่างผักดิบและผักสุก
5. นำไปปั่นเป็นสมูทตี้
6. เพิ่มความสามารถในการย่อยด้วยการดื่มน้ำมะนาว หรือน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลก่อนอาหาร 20 นาที
See more
8/4/2020 • 50 minutes, 52 seconds การจับคู่อย่างเหมาะสมจะช่วยปรับการย่อยและดูดซึมสารอาหาร บรรเทาความไม่สบายท้องจากการย่อยอาหาร
การจับคู่สามารถสร้างความแตกต่างได้ เพราะสารอาหารหลัก (Macronutrient) ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันล้วนมีความเร็วในการย่อยที่ต่างกัน และต้องใช้น้ำย่อยที่มีฤทธิ์และเอนไซม์ในการแยกย่อย
หากเรากินอาหารที่ต้องการรูปแบบการย่อยที่ต่างกันไว้ด้วยกัน จะก่อผลเป็นความปั่นป่วนแทน
เราจะเริ่มจับคู่อาหารเพื่อปรับปรุงการย่อยอาหารได้อย่างไร
1. แยกผลไม้ออกมากินต่างหาก
2. จับคู่โปรตีนกับผักกลุ่มที่ไม่ใช่แป้งสตาร์ช
3. จับคู่แป้งสตาร์ชกับไขมันดีและผัก
4. ผักใบเขียวกับผักที่ไม่ใช่พวกสตาร์ช จับคู่กับอะไรก็ดี
5. ไม่ดื่มน้ำร่วมกับอาหาร
6. เครื่องเทศ สมุนไพร และพืชตระกูลส้มหรือ Citrus
7. ยิ่งไม่ซับซ้อน ยิ่งย่อยได้ดีที่สุด
See more
8/3/2020 • 44 minutes, 28 seconds Ep 18: น้ำตาลกับมะเร็งมีความสัมพันธ์กันมากกว่าที่เราค ิด น้ำตาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดของเรา ให้พลังงานเพื่อให้เราประกอบกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน
และช่วยให้เราเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างต่อเนื่อง
แต่กระนั้นปรากฎว่าน้ำตาลก็เป็นแหล่งพลังงานให้กับมะเร็งด้วย
มะเร็งใช้น้ำตาลเสมือนเป็นแหล่งพลังงานพื้นฐาน และเซลล์มะเร็งจะจัดการกลูโคสโดยใช้ปฏิกิริยาเคมี่ที่ต่างไปจากปกติ
มะเร็งเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างพลังงานผ่านการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน
และสาเหตุพื้นฐานของมะเร็งคือ มะเร็.อาศัยการหมักน้ำตาลเพื่อทดแทนหรือเปลี่ยนการหายใจของเซลล์ร่างกายปกติ
อีกประเด็นคือตัวมะเร็.เดี่ยวๆจะถูกยึดติดกับบางสิ่งอย่างเฉพาะเจาะจง และสิ่งที่มันชอบไปยึดตืดคือน้ำตาล
การบริโภคน้ำตาลในปริมาณมาก สืบเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่มากเกินไปด้วย
ดังนั้นจึงมีการนำประเด็นเรืองฟาสติ้งเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะเมื่อจำกัดอาหารแล้ว ก็เท่ากับเป็นการจำกัดน้ำตาลได้ด้วย
หรือเลือกน้ำตาลจากธรรมชาติโดยตรงจากผักผลไม้ที่เราจะได้ไฟเบอร์ซึ่งทำให้เราอิ่มท้องได้ไวกว่า
อีกทั้งการงดอาหารนชยังมีส่วนกระตุนให้ร่างกายมีความสามารถในการฟื้นตัวได้ดีขึ้นด้วย
See more
8/2/2020 • 45 minutes, 10 seconds Ep 0-7: น้ำตาล....เรื่องหวานๆที่ต้องระวัง แหล่งของความหวานมาได้ทั้งจากธรรมชาติโดยตรงอย่างเช่นผลไม้ และจากกระบวนการแปรรูปจากพืช เช่น อ้อย มะพร้าว เป็นต้น
น้ำตาลโดยตรงจากธรรมชาติอุดมไปด้วยวิตามินเกลือแร่ และเนื่องจากเราบริโภคมาจากพืชผลไม้นั้นโดยตรงเราจึงได้รับไฟเบอร์ไปด้วย ซึ่งใช้เวลาในการย่อยนาน จึงจำกัดปริมาณในการบริโภคได้ง่าย
ส่วนน้ำตาลที่มาจากกระบวนการแปรรูป ถูกทำขึ้นเพื่อให้มีรสชาติดี และเก็บได้นานขึ้น
แต่ไม่มีไฟเเบอร์ แถมคาลอรี่สูง เข้ากระแสเลือดได้เร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลแกว่งง่าย
เป็นเหตุของโรคอย่างเบาหวาน รวมไปถึงปริมาณที่บริโภคจนมากเกินไป ทำให้สะสมเป็นไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน และยังนำมาอีกหลายๆโรค
See more
7/31/2020 • 56 minutes, 21 seconds Ep 3: ร่างกายเป็นกระจกเงาสะท้อนกายและใจ กลัวจนขนลุก ตื่นเต้นจนหายใจไม่ออก โกรธจนหน้าแดง ประสบการณ์ที่เราน่าจ ะเคยประสบกันมาแล้ว
เคยสงสัยไหม อารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ข้างใน ไฉนสะท้อนออกมาทางกายเราแทน
ร่างกายและจิตใจนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น
จากอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดที่อยู่ในใจ เก็บงำอยู่ข้างในแต่กลับตอบสนองออกมาทางกาย
มิใช่แค่อากัปกิริยาเท่านั้น แต่ส่งผลต่อสุขภาพกาย และการเจ็บป่วยได้ซึ่งมีส่วนกำหนดทิศทางว่าจะดี/ทุเลาขึ้นหรือแย่ลง
การเรียนรู้ภาษากายใจของอาการป่วยหรือความผิดปกติทำให้เราสามารถเรียนรู้ว่ามีอะไรอยู่ในจิตใจ ในอารมณ์ที่ถูกกดทับไว้ หรือเพิกเฉย
และสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อร่างกายเราออกมาอย่างไร
See more
7/30/2020 • 1 hour, 25 minutes, 41 seconds Ep 17: อยากให้สิ่งที่เรียนรู้มาติดตัวไปนานๆควรทำอย่างไรดี การเรียนรู้มีหลายวิธี เช่น ฟังการบรรยาย อ่านหนังสือ ดู/ฟังโสตทัศนะ ฯลฯ แต่บหลายคนคงประสบปัญหาเรียนแล้วลืม เรียนวนไปกี่รอบก็ ไม่จำ
แท้จริงแล้วการเรียนรู้มิได้เกิดขึ้นจากการเป็นแค่ผู้รับเท่านั้น หรือแค่ Input
แต่ Output เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะการถ่ายทอดให้ผู้อื่น
ที่ไม่ใช่แค่ได้ทบทวนก่อนสอน แต่ระหว่างสอนเรายังได้พบกับข้อบกพร่องหรือส่วนขาดเกินในเนื้อหาด้วย
See more
7/30/2020 • 35 minutes, 9 seconds Ep 2: Circadian Rhythms นาฬิกาชีวิต จังหวะรอบเวลาใน 24 ชั่วโมงนั้นสำคัญอยางไร อวัยวะต่างๆในร่างกายมีจังหวะเวลาในการทำงานต่างๆอย่างเฉพาะเจาะจง โดยสิ่งที่ทำให้ร่างกายรับรู้ถึงโมงยามได้นั้นต้องพึ่งพาแสงสว่าง
ดวงตาของเรามีเซนเวอร์ตรวจจับ แล้วส่งสัญญาณนี้ไปยังสมอง
จากนั้นสมองจึงจะส่งสัญญาณไปยังต่อมหรืออวัยวะต่างๆให้รับรู้ว่าถึงเวลาตื่นเพื่อเริ่มวันใหม่ หรือถึงเวลาที่ต้อง Slow down เพื่อเตรียมตัวนอนแล้ว
การดำเนินชีวิตไปตามจัวหวะรอบเวลาใน 24 ชั่วโมง หรือ Circadian time นั้น เป็นการให้ร่างกายได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหน้าที่ในเวลาที่เหมาะสม
ทั้งเพื่อสร้างพลังงาน และเพื่อการฟื้นฟู
ดังนั้น ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการมีสุขภาพที่ดีจึงอ้างอิงตาม Circadian Time
See more
7/28/2020 • 53 minutes, 49 seconds Ep 0-3: IAP Breath หายใจให้เหนื่อยน้อยลง IAP ย่อมาจาก Intra Abdominal Pressure แปลเป็นไทยคือ ความดันในช่องท้อง ซึ่งเป็นสิ่งปกติอยู่แล้วที่เรามีความดันในช่องท้องเพื่อคอยรักษาสมดุลอวัยวะภายใน
การหายใจโดยใช้หลัก IAP เข้ามาช่วย เป็นการหายใจที่ตอนหายใจเข้า กระบังลมจะเคลื่อนลง ทำให้ช่องท้องถูกกดอัด ส่งผลทำให้เกิดความดันในช่องท้อง และเกิดแรงผลักกระจายออกไปทุกทิศทาง และเมื่อหายใจออก ก็ยังคงรักษาแรงดันในช่องท้องไว้ จะสัมผัสได้ว่าช่องท้องแข็ง แล้วค่อยปล่อยให้ยุบตัวตามธรรมชาติเมื่อหายใจออกสุดแล้ว จินตนาการเหมือนลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้นและลง
การหายใจแบบนี้จะช่วยทำให้:
- หายใจได้เต็มที่ ซึ่งเท่ากับไดรับออกซิเจนได้เต็มที่
- แกนกลางร่างกายมั่นคง
- ร่างกายและกระดูกสันหลังมั่นคง มีบุคลิกภาพที่ดี
- ระบบประสาทส่วนกลางสั่งการไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายได้อย่างราบรื่น
- อวัยวะภายในอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
- ไม่เกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น
- หากเล่นกีฬา ฟอร์มการเล่นก็จะดีขึ้น รู้สึกเหนื่อยหรือบาดเจ็บได้ยากขึ้น
See more
7/27/2020 • 52 minutes, 47 seconds Ep 0-2: เราเสื่อมตามวัยหรือเสื่อมก่อนวัย Check Point … เราเสื่อมตามวัย หรือเสื่อมก่อนวัย
1. เดินช้า
2. ฝ้า/กระ
3. มีปัญหาด้านความจำ
4. ปวดข้อ
5. ผิวแห้ง
6. ฟกช้ำง่าย
7. มีปัญหาตอนขึ้นบันได
8. เอวหนา
9. กำลังของนิ้วมือ มือ และข้อมือ
10. ปัญหาการมองเห็น
11. ประจำเดือนมาๆขาดๆ ไม่ประจำอีกละ
See more
7/26/2020 • 52 minutes, 51 seconds Ep 1: นาฬิกาชีวิตตามศาสตร์จีน.....สัมพันธ์อย่างไรกับความProductiveในแต่ละวัน Biology clock - Productive life
การจะทำงานหรือกิจกรรมใดให้ได้งาน(Productive)ในแต่ละวันนั้น ก่อนอื่นเรามานิยามให้ตรงกันก่อนว่า Productive มันไม่ใช่การทำได้นานแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยาวนานของเวลา แต่มันเกี่ยวกับการบริหารเวลาที่ทำให้ได้งานโดยไม่เบียดเบียนส่วนอื่นของชีวิต
ดังนั้น การจะได้งาน สิ่งหนึ่งที่เราควรคำนึงถึงคือ เราทำมันเมื่อไรในช่วงวัน ร่างกายมีจังหวะเวลาหรือนาฬิกาชีวิตที่แต่ละอวัยวะมีจังหวะเวลาทำงานได้ดีที่สุดที่แตกต่างกันไป การทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตจึงมีผลกับการได้งานในแต่ละวันด้วย
ครั้งนี้ขออิงตามศาสตร์แพทย์แผนจีนที่แบ่ง1วันเป็น12ชั่วยาม โดยที่1ชั่วยาม เท่ากับ 2ชั่วโมง ประกอบกับในร่างกายของเรามีเส้นลมปราณหรือ Meridianอยู่หลายเส้น ซึ่งเป็นเส้นทางไหลเวียนของพลังชีวิตหรือชี่ ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่เส้นหลักๆมีอยู่ 12 เส้น โดยจะมาไล่เนียงออกมาเป็นนาฬิกาชีวิตได้ ดังนี้
23.00-01.00 เส้นลมปราณถุงน้ำดี
🛌 ควรเข้านอนก่อนเวลานี้
01.00-03.00 เส้นลมปราณตับ
💤 หลับให้ลึกแล้วจงฝันดีนะ
03.00-05.00 เส้นลมปราณปอด
😴 หลับให้สบาย
05.00-07.00 เส้นลมปราณลำไส้ใหญ่
🚽 ลุกๆตื่นนอนแล้วไปปลดทุกข์เสีย
07.00-09.00 เส้นลมปราณกระเพาะอาหาร
🍲 กินจัดเต็มอย่างพอดี เติมพลังให้ร่างกาย
09.00-11.00 เส้นลมปราณม้าม
💻💡🤔 เวลาแห่งการสร้างสรรค์และทำงานให้เต็มที่
11.00-13.00 เส้นลมปราณหัวใจ
🍱🗣️😪 กินเติมพลังอีกหน่อย เม้าท์มอยกับผู้คน และงีบหลับบ้าง ชาร์ทแบตให้ตัวเอง
13.00-15.00 เส้นลมปราณลำไส้เล็ก
🔋🖨📧 จะงีบช่วงนี้ก็ได้ เอางานเบาๆมาทำเพลินๆก่อนก็ดี
15.00-17.00 เส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ
🤓💪📚📝 สมองแล่นนักเหมาะกับการทำงานและเรียนรู้ในสิ่งที่ยากและซับซ้อน
17.00-19.00 เส้นลมปราณตับ
🌄🧘♀️🚿 ปรับโหมดจาก Day time ➡Night time ออกกำลังผ่อนคลายง่ายๆอย่างโยคะ ส่งเสริมสมาธิไปกับการฝึกลมหายใจ
19.00-21.00 เส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ
🤣😂😁 หาอะไรทำให้อารมณ์ดีเบิกบานใจ อะไรเครียดๆวางไว้ก่อน
21.00-23.00 เส้นลมปราณซานเจียว
🛌♨ ทำกายให้อุ่นแล้วไปนอนซะ และนี่ไม่ใช่เวลากิน
See more
7/26/2020 • 1 hour, 31 minutes, 33 seconds Ep 16: 9 อุปนิสัยปลุกพลังให้เพิ่มขึ้น อุปนิสัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างแรงบันดาลใจ มีความกระตือรือร้น มีเป้าหมายและมีพลัง เพือให้แต่ละวันเรามีความกระฉับกระเฉงในการดำเนินชีวิตในวันนั้นๆอย่างสนุกและมีคุณค่า
See more
7/26/2020 • 47 minutes, 33 seconds Ep 15: ขาดน้ำอยู่หรือเปล่าหนอเรา การปล่อยให้ตัวเองขาดน้ำบ่อยๆ สามารถก่อเป็นเหตุของอาการป่วยหรือโรคต่างๆได้ การขาดน้ำเกิดขึ้นได้มิใช่เฉพาะตอนที่ทำกิจกรรมทางกายอย่างออกกำลังกาย อาการไม่สบายตัวถ่ายไม่สะดวกก็แค่เรื่องทั่วๆไป แต่มีอีกหลายอาการที่การขาดน้ำทำให้มันรุนแรงจนลามไปเป็นอย่างอื่นที่หนักหนากว่าได้
See more
7/23/2020 • 36 minutes, 21 seconds Ep 14: ถอดรหัสกายใจหัวจรดเท้าตอนที่2 ความสัมพันธ์ของอาการทางกายที่มีประเด็นมาจากจิตใจ ในส่วนกลางของร่างกาย หลังส่วนบนกลางล่าง และส่งนหน้าอก
See more
7/19/2020 • 1 hour, 7 seconds Ep 13: ลิ้นเป็นหน้าต่างบอกสุขภาพโดยรวม ลิ้นมีประสาทรับรู้มากมาย มิใช่แค่บอกรสชาตอกลืน หรือใช้ตอนพูดคุย แต่ลักษณะ และสียังสามารถคาดการณ์หรือบ่งชี้สัญญาณของโรคก่อนที่จะพัฒนารุนแรงขึ้นได้
See more
7/16/2020 • 37 minutes, 49 seconds Ep 12: Time-restricted Eating (TRE) การงดอาหารทำไมควรทำให้สอดคล้องกับนาฬิกาขีวิต การงดอาหารหรือฟาสติ้งเป็นช่วงเวลานี้เท่านั้นที่ร่างกายจะได้พัก ซ่อมแซม และฟื้นฟู เราควรจัดช่วงเวลางดให้ยาวกว่าเวลากินเพื่อให้ได้รับประโยชน์ แต่เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากขึ้นควรสอดคล้องกับนาฬิกาของอวัยวะต่างๆซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะนั้นๆจะทำงานได้ดี
See more
Ep 0-10: เรื่องราวว่าด้วยการงดอาหารเป็นช่วงๆ รูปแบบการกินเฉพาะตัวที่แบ่งช่วงเวลากินและช่วงเวลางดอย่างชัดเจน มีรูปแบบ สูตรและผลดีต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
See more
7/9/2020 • 47 minutes, 4 seconds