Winamp Logo
7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) Cover
7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) Profile

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Thailändisch, Social, 67 Jahreszeiten, 322 Episoden, 5 Tage, 8 Std., 39 Protokoll
Über
การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ donhaisok.fm
Episode Artwork

เปลี่ยนเวทนาด้วยสติ [6536-7q]

Q: เมื่อมีความคิดหยาบ เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ควรแก้ไขอย่างไร/บาปหรือไม่?A: เราต้องระวังจิตของเราให้มาก ให้ตั้งสติขึ้น รักษาสติให้ดี ให้เราฝึกคิด ฝึกนึก ฝึกพูด คำพูดดีๆ เมื่อสั่งสมสิ่งดี จิตก็จะสะอาดขึ้น/รักษาศีลเพื่อความไม่ร้อนใจ/บาปแรงหรือเบานั้น ขึ้นอยู่กับเจตนา และขึ้นอยู่กับว่าเราทำกับใคร หากทำกับผู้มีบุญมาก ก็จะบาปมากQ: การกล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัย และพระเถระ จะช่วยแก้ไขบาปนี้ได้หรือไม่?A: เมื่อเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ การขอขมา โดยการกระทำคืนตามธรรม ช่วยได้ ให้เอาเรื่องศีล โสตาปัตติยังคะ 4 มาเป็นกำลังใจ ตั้งใจ ตั้งสติให้ดี ไม่ให้ความคิดนี้มาอีก ถ้ายังมาอีก ก็ขัดออกอีก ทำไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเหลือแต่สิ่งดีๆQ: ผัสสะ อารมณ์ สัญญา เวทนา เกี่ยวข้องกันอย่างไร?A: เพราะมีเสียง มีหู กระทบกัน จึงมีการรับรู้เสียงในใจ (โสตวิญญาณ)/วิญญาณ เป็นตัวเชื่อมระหว่างนามรูป เป็นตัวเชื่อมระหว่างกายใจ จึงเกิด “อารมณ์” (เวทนา) ในช่องทางใจ ซึ่งเป็นผลของผัสสะ (เสียง หู วิญญาณ รวมกันเรียกว่า “ผัสสะ”) แล้วจะเกิด “สัญญา” (ความหมายรู้) เกิด“อารมณ์” (เวทนา/ความรู้สึก) ไปตามอารมณ์นั้น ถ้าเรามีสัมมาสติ มีมรรค 8 ตั้งมั่นไว้ เราจะเปลี่ยนได้จะอยู่เหนือเวทนานั้นได้ เป็นผู้ที่ตั้งตนไว้ชอบQ: ระหว่างสวดมนต์มีอาการดิ่งวูบ คืออะไรA: เป็นการปรุงแต่งทางกาย (กายสังขาร) ให้เรารู้พร้อมเฉพาะซึ่งการปรุงแต่งทางกาย รู้อยู่กับลมหายใจ ตั้งสติไว้ รับรู้แต่ไม่เพลินไป ไม่ปรุงแต่ง ดูเฉยๆ รับรู้เฉยๆ ไม่ตามไป ต่อไป ทำการปรุงแต่งทางกายให้ระงับ คือ พอเราไม่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นจะอ่อนกำลัง กายก็จะระงับลงๆQ: นิกายอื่นๆ ทั้ง 18 สามารถบรรลุอรหันต์ได้หรือไม่?A: การบรรลุธรรมอยู่ที่คำสอน ต้องเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา และมี “มรรค 8” ก็สามารถบรรลุธรรมได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10.9.202257 Protokoll, 2 Sekunden
Episode Artwork

ความไม่เที่ยงในผัสสายตนะ [6535-7q]

Q: อาฏานาฏิยรักษ์ คาถาป้องกันภัย (ยักษ์) ของท้าวเวสสุวรรณA: เป็นคาถาที่ยกย่องพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ไม่ให้ยักษ์เบียดเบียน เพื่อรักษา เพื่อป้องกัน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายQ: การมีปิติเป็นภักษาหารเหมือนอาภัสสรเทพนั้น เป็นอย่างไร?A: อาภัสสรพรหม อยู่ในภพที่เป็น รูปภพ จะมีอาหารเป็นรูปละเอียด คือ ปิติQ: การนอนอย่างตถาคต คือการนอนแบบใด?A: ก่อนนอนกำหนดสติสัมปชัญญะ น้อมไปเพื่อการนอน ว่า บาปอกุศลกรรมทั้งหลาย อย่าได้ติดตามเราไป ผู้ซึ่งนอนอยู่ กำหนดจิตไว้ว่ารู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันทีQ: อนุตตริยะ 3 ประการ มีอะไรบ้าง?A: อนุตตริยะ แปลว่า สิ่งที่ยอดเยี่ยม ประการที่ 1. ทัศนานุตตริยะ คือ การเห็นอันยอดเยี่ยม 2. ปฏิปทานุตตริยะ คือ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม 3. วิมุตตานุตตริยะ คือ การพ้นอันยอดเยี่ยมQ: ความไม่เที่ยงในผัสสายตนะ 6 เป็นอย่างไร?A: เราจะดูว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง ด้วยการดูที่เครื่องหมาย/นิมิต คือ ถ้ามันอาศัยเหตุเกิด เหตุนั้นคือเครื่องหมายของความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เกิดได้ ดับได้ คือ สภาวะที่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3.9.202256 Protokoll, 55 Sekunden
Episode Artwork

วินัยพระสงฆ์ที่ญาติโยมควรทราบ|อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เสนาสนะ อาชีวะ [6534-7q]

Q: ผักที่เป็นพืชคาม ต้อง “กัปปิยะ”?A: กัปปิยะ คือ ของที่ควรให้เหมาะสม หากพืชที่จะโตงอกต่อได้หรือมีเมล็ด ต้องทำกัปปิยะ โดยวิธีทำกัปปิยะ คือ การนำเมล็ดออก บิออก เอาไฟลน เอาส้อมจิ้มQ: เนื้อประเภทใดที่พระฉันไม่ได้A: 1. เนื้อสัตว์ 10 ประเภทนี้ คือ เนื้อมนุษย์, เนื้อเสือเหลือง, เนื้อช้าง, เนื้อม้า, เนื้อสุนัข, เนื้องู, เนื้อสิงโต, เนื้อเสือโคร่ง, เนื้อหมี, เนื้อเสือดาว 2. เนื้อดิบ 3. เนื้อที่สงสัย ที่ได้ยิน รู้หรือเห็น ว่าฆ่าเจาะจงเพื่อท่านQ: ถวายยาเสพติด เช่น บุหรี่ กัญชา แก่พระได้รึไม่?A: ไม่ควรถวายQ: น้ำประเภทใดที่ไม่ควรนำมาถวายพระ?A: น้ำที่มีตัวสัตว์อยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มหรือน้ำใช้ ไม่ควรนำมาถวายQ: การถวายอาหารพระที่พำนักอยู่ในป่าA: ต้องแจ้งท่านล่วงหน้าก่อนจึงจะเหมาะสมQ: การถวายผ้าอาบน้ำฝนA: ผ้าอาบน้ำฝน ถวายได้ในฤดูฝน พระสงฆ์สามารถรับถวายได้ ก่อนเข้าพรรษา 1 เดือน หลังฤดูฝนถวายไม่ได้Q: การถวายเครื่องนุ่งห่มสำหรับกันหนาวA: ท่านมีอนุบัญญัติว่า พระไม่ควรนุ่งห่มเหมือนคฤหัสถ์ ทั้งนี้ กรณีที่หนาวมาก ควรจะทำให้เหมาะสมกับที่พระสงฆ์จะใส่ได้ ไม่ควรใช้เหมือนคฤหัสถ์ แต่ควรใช้ชนิดอื่น ที่ไม่เหมือนกันแทนQ: สถานที่ ที่ไม่ควรนิมนต์พระสงฆ์ไป?A: โรงสุรา ที่ขายเหล้า ที่มีสัตว์ดุร้าย ที่ค้าประเวณี ที่มีของโสโครกQ: ไม่ควรถวายของเล่นแก่พระA: เช่น เรือเล็กๆ รถ ไพ่ หมากรุก รวมถึง การพนันที่แบ่งเป็นฝ่ายๆ เล่นกีฬา ดูฟุตบอล ไม่ควรถวาย ไม่ควรชวนเล่นQ: พระควรจะเกี่ยวข้องสตรีอย่างไร?A: ในหมวดธรรมะ อย่ามอง อย่าพูดด้วย ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วยให้พูดอย่างมีสติ อย่าเข้าใกล้ ในหมวดพระวินัย ถ้าถูกกายหรือถูกของที่ติดกับตัว เช่น ซ้องผม ด้วยจิตอันกำหนัด จะเป็นอาบัติ จัดเป็น “วัตถุอนามาส” คือ วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.8.202258 Protokoll, 59 Sekunden
Episode Artwork

เหนือสมมุติ [6533-7q]

Q: ได้ฟังสวดอภิธรรม เมื่อตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่?A: ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ว่าเราระลึกถึงความดีของเราได้หรือไม่Q: เมื่อข้อปฏิบัติละเอียดขึ้น กิเลสละเอียด ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจก็จะแสดงออกมา เข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่?A: เมื่อข้อปฏิบัติของเราละเอียดลงๆ กิเลสก็ละเอียดลงๆ จะค่อยๆ แสดงออกมา ตามการปฏิบัติที่ละเอียดลงๆQ: กฎไตรลักษณ์เรื่องของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น หรือรวมถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย?A: สิ่งที่ใช้กฎไตรลักษณ์ เป็นการแบ่งคือ 1. สังขตธรรม คือ สิ่งที่ปรุงแต่งได้ ทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง 2. อสังขตธรรม คือ ไม่มีการปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง (นิพพาน)Q: การภาวนาที่เป็นแบบฉบับตนไม่เหมือนคนอื่น จัดเป็นอนุสติเฉพาะตนตามแนวธรรมะของพระพุทธองค์หรือไม่?A: ให้เรากลับมาเทียบเคียงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะครูบาอาจารย์ที่ท่านสอน ท่านชำนาญวิธีไหน ท่านก็บอกสอนตามวิธีทีท่านรู้ เราก็นำมาเทียบเคียงกับคำสอนพระพุทธเจ้าดู ว่าใกล้เคียงกัน ลงกันได้ตรงไหน สิ่งที่ท่านตรัสรู้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่ว่าใครจะสอนเรื่องอะไร ก็จะจัดเข้าอยู่ใน 4 อย่างนี้ / การที่เราบริกรรม เราไม่ได้เอาที่คำบริกรรมแต่เราจะเอาสติ โดยเราใช้คำบริกรรมเป็นเครื่องมือ “นิพพาน มีทางปฏิบัติเข้ามาได้โดยรอบ” ไม่ได้มีทางเดียว อยู่ที่ว่าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไหม ซึ่งท่านได้สอนไว้มาก คือ อย่าสับสน ให้เอาสักทางหนึ่งQ: เรามีชีวิตเพื่ออะไร?A: เราลองปรับมุมมอง เปลี่ยนคำถาม “ทำไมจึงเกิด?” เพราะอะไรมี ความเกิดจึงมี วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เกิดปัญญา หาวิธีพ้นทุกข์ แล้วเราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ก็ให้ปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเข้าใจทุกข์ด้วยปัญญาแล้ว เราจะพ้นทุกข์ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
20.8.202257 Protokoll, 56 Sekunden
Episode Artwork

สติแก้จิตกระเพื่อม [6532-7q]

Q: โจทก์ภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกในการอวดอุตริมนุสธรรมA: อุตริมนุสธรรม คือ ธรรมะที่เหนือกว่าของมนุษย์ ภิกษุใดอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน อันนี้เป็นปาราชิก เว้นไว้แต่เข้าใจผิด (เข้าใจว่าได้บรรลุ) ไม่ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิกQ: เมื่อถูกหลอกเอาทรัพย์ เราควรวางจิตอย่างไร?A: เราไม่ควรเคียดแค้น ผูกเวร เพราะจิตใจเราจะไม่ดี จะอยู่ไม่เป็นสุข จะเศร้าหมอง จิตใจเราให้มีเมตตา กรุณา อุเบกขา ส่วนทรัพย์จะตาม หรือจะปล่อยทิ้งต้องพิจารณาเป็นกรณีไปQ: นั่งสมาธิแล้วจิตกระเพื่อม ส่ายไปมาขวาซ้ายๆ ควรแก้อย่างไร?A: พิจารณาทางกาย หากกายไม่สบายให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษา หากไม่ใช่ ก็เป็นเรื่องของจิต คือ การปรุงแต่งของจิตยังไม่ระงับ ให้ตั้งสติไว้กับลม อย่าตามการปรุงแต่งของจิตนั้นไป พอจิตจดจ่ออยู่กับลม ก็จะไม่จดจ่อไปกับการปรุงแต่งของจิต พอจิตไม่ได้ตริตรึกไปเรื่องใด มันก็ไม่น้อมไปเรื่องนั้น มันก็จะอ่อนกำลัง การปรุงแต่งของจิตก็จะระงับQ: ข้อปฏิบัติอะไรที่จะทำให้สติของเรามีกำลังเพิ่มขึ้น?A: ท่านอธิบายเรื่องศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ข้อปฏิบัติทางกาย วาจา เพิ่มเติม จากศีล 5 ข้อ เรียกว่า “ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ” คือ การรู้ประมาณในการบริโภค การสำรวมอินทรีย์ การอดทนรับฟังการตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น การประกอบด้วยธรรมอันเป็นเครื่องตื่น การอยู่เสนาสนะอันสงัด และการมีกัลยาณมิตร มีครูบาอาจารย์คอยบอก คอยสอน จะเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้สติเราตั้งขึ้น ตั้งมั่น ด้วยดีQ: ผู้ร่วมทำการสังคายนาพระไตรปิฎกต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นหรือ?A: การสังคายนาครั้งแรก นำโดยท่านพระมหากัสสปะ ท่านได้รวมเอาเฉพาะ พระขีณาสพ (พระอรหันต์) มาทำการสังคายนา / คำว่า “สังคายนา” หมายถึง การสวดขึ้นพร้อมกัน / การทำสังคายนา ก็คือ การสวดคำพูดของพระพุทธเจ้าที่ท่านได้สอนไว้ สวดขึ้นพร้อมกัน ว่าจดจำได้ถูกต้องตรงกันหรือไม่ แล้วจัดหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการจดจำ ให้เป็นรูปแบบภาษาที่จะรักษาคำสอน รูปแบบนี้ เรียกว่า “พระไตรปิฎก” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.8.202258 Protokoll, 54 Sekunden
Episode Artwork

แก้อาการติดสุขในสมาธิ [6531-7q]

Q: ควรแก้ไขอย่างไรเมื่อติดสุขในสมาธิ?A: อาการติดสุขในสมาธิ แบบแรก คือ เมื่อนั่งสมาธิแล้วสามารถทำได้ เมื่อไม่นั่งจะหงุดหงิด อารมณ์เสีย แบบที่สอง คือ สงบ นิ่ง ได้ แต่ไม่น้อมไปเพื่อให้เกิดปัญญาในการเห็นตามจริง ไม่เห็นความไม่เที่ยง ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัด (นิพพิทา) พอสมาธิค้างตรงนี้ จึงไม่เกิดการปล่อยวาง ให้เราน้อมจิตไปอีกทางหนึ่ง คิด ใคร่ครวญให้แยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่าสมาธิเที่ยงหรือไม่เที่ยง นี่คือการ “วิปัสสนา” เห็นตามความเป็นจริง “วิปัสสนา เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว ปัญญาจะเจริญ ปัญญา เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว จะละอวิชชาได้ “ ต้องฝึกเข้า ออกอยู่เรื่อยๆQ: ความง่วงขณะนั่งสมาธิ ถูกกระตุ้นโดยทางกายหรือใจ? / การนอนหลับ จิตจะได้พักหรือไม่ หรือไปรับรู้สิ่งใด?A: ความง่วง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ ทางกาย หากเหนื่อย เมื่อยล้า ก็ง่วงได้ ทางใจ หากมีสมาธิมากแล้วเพลินในสมาธิ ก็จะออกมาในรูปของการง่วงซึม เป็นเครื่องกั้น (นิวรณ์)/การนอนหลับ จิตกับกายไม่เหมือนกัน กายเป็นธาตุสี่ จิตเป็นนาม ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกายกับใจเข้าด้วยกัน ขณะหลับ กายได้พักผ่อน ไม่รับรู้อะไร เพราะจิตไม่ได้ไปทำหน้าที่ในการรับรู้ (วิญญาณ) จิตนั้นเกิดขึ้นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน ไม่จำเป็นต้องพักผ่อน ไม่มีข้อจำกัดเหมือนกายQ: เมื่อต้องรักษาอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ควรวางจิตอย่างไร?A: ให้รักษาจิตไว้ด้วยสติ ระลึกถึงความดี ศีล ศรัทธา ของเรา หากมีความกังวลใจ ให้ทำสมาธิให้เกิด ให้มีสติ ระลึกถึงความดี ศีล ศรัทธา ตั้งจิตไว้อย่างนี้ เราจะอยู่ผาสุกได้Q: ในมงคลชีวิต เรียบเรียงเนื้อหาจากง่ายไปยากใช่หรือไม่?A: เป็นไปตามลำดับขั้นเริ่มจากปฏิบัติขั้นพื้นฐานไปขั้นสูงQ: ควรถวายอาหารรสอร่อยหรือรสธรรมดาแก่พระสงฆ์? A: การที่เราเอาอาหารไปถวายพระ เพราะเราต้องการบูชา ซึ่งจะละเอียด หยาบ หรือประณีต ขึ้นอยู่กับผู้ที่บูชา Q: การพูดให้ผิดไปจากโลก?A: การพูดให้ผิดไปจากโลก คือ ไม่เห็น บอกเห็น ได้ยิน บอกไม่ได้ยิน หากพูดเลี่ยงไปทางอื่น จะไม่เรียกว่าพูดผิดไปจากโลก/จุดสำคัญที่เราไม่ควรมองผิวเผิน คือ ท่านพูดอะไร ท่านทำจิตเค้าให้เบาได้อย่างไร ถึงทำให้ เพชฌฆาตที่จะมาฆ่าท่านบรรลุธรรมQ: คำพูดของท่านพระภัททิยะที่ว่า “สุขหนอ” นี้เป็นสุขจากอะไร?A: สุขที่เหนือจากเวทนา เรียงลำดับจาก หยาบไปละเอียด คือ กามสุข สุขที่เกิดจากสมาธิ สุขเวทนาในภายใน วิมุติสุข คือ สุขตั้งแต่สมาธิขึ้นไปดีทั้งหมด ถ้าเราจะเอาสุขที่สูงขึ้นไป ก็เอาวิมุตติสุข ดีที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6.8.202254 Protokoll, 48 Sekunden
Episode Artwork

วินัยของพระสงฆ์ที่ญาติโยมควรทราบ | การประเคน [6530-7q]

Q: เหตุที่ต้องมีพระวินัยA: หากมีการแสดงธรรมโดยพิสดาร มีคำสอนมาก รายละเอียดมาก สิกขาวินัยมาก คำสอนจะตั้งอยู่ได้นาน ศาสนาจะไม่เสื่อมเร็ว เปรียบดังดอกไม้ที่จัดเรียงไว้สวยงามแต่ไม่ได้ร้อยไว้ พอลมพัดมาก็กระจัดกระจาย แต่หากร้อยไว้ด้วยเชือก แล้วมีลมพัดมา ดอกไม้ก็สวยงามดังเดิมได้ การอยู่กันด้วยวินัยร้อยเรียงเอาไว้จะอยู่ด้วยกันเรียบร้อยได้ ตรงนี้จึงเป็นเรื่องราวที่ท่านบัญญัติไว้ เป็นความหมายว่าทำไม “ระเบียบวินัยเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จ”Q: การรับประเคน 5A: 1. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย 2. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย 3. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย 4. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย 5. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกายQ: การประเคน 5 ประการA: 1. อาหารที่นำมาให้ต้องไม่ใหญ่เกินไป พอยกได้ 2. ต้องเข้ามาใน “หัตถบาส” (เท่ากับช่วง 2 ศอก 1 คืบ) 3. น้อมเข้ามาถวาย 4. ผู้ประเคนจะเป็นเทวดา มนุษย์ สัตว์ก็ได้ 5. สิ่งที่รับประเคนนั้นด้วยกาย หรือ ด้วยของเนื่องด้วยกายQ: ทำไมพระไทยต้องใช้ของเนื่องด้วยกายเสมอกับผู้หญิง?A: เพราะใน สิกขาบท สังฆาทิเสส หากสัมผัสแตะต้องกายหญิงด้วยจิตมีกำหนัด จะต้อง ”อาบัติสังฆาทิเสส” คือ อาบัติหนัก พระท่านจึงระวังมากQ: องค์แห่งการขาดประเคนA: คนที่รับประเคนมาแล้ว ท่านตาย มรณภาพ ลาสิกขา อาบัติปาราชิก เปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง ให้ไป สละไปโดยไม่มีเยื่อใย ถูกชิงหรือขโมยเอาไปQ: ประเคนอาหารทั้งโต๊ะเลยได้หรือไม่?A: ให้พิจารณา การประเคน 5 ประการ ควรประเคนทีละอย่าง และต้องอยู่ใน “หัตถบาส” เพื่อความเรียบร้อยและเป็นการให้ที่เคารพ / หากอาหารที่จะถวายอยู่ไกลเกินไป ไม่ควรให้พระหยิบให้โยมแล้วโยมประเคนให้พระอีกรูปหนึ่ง เพราะของที่หยิบให้โดยยังไม่ประเคน ไม่ถูกต้อง จะเป็น “อุคคหิตก์” คือ ไม่ควร รับมาแล้วก็ฉันไม่ได้ เพราะรับมาด้วยการไม่ควรQ: “กาลิก” อาหารตามกำหนดเวลาของพระA: “ยาวกาลิก” คือ รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้แค่เช้าถึงเที่ยง “ยามกาลิก” คือ รับแล้วเก็บไว้ฉันได้ถึงวันรุ่งขึ้น “สัตตาหกาลิก” คือ รับแล้วเก็บไว้ฉันได้ภายใน 7 วัน “ยาวชีวิก” คือ เก็บไว้ฉันเวลาป่วย/ฉันได้ตลอดไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
30.7.202257 Protokoll, 15 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิปทาถึงความสิ้นภพ [6529-7q]

Q: จิต กับ ธาตุรู้  คืออะไร อยู่ที่ไหน เหมือนและต่างกันอย่างไร?A: เหมือนกัน คือ อยู่ในช่องทางใจและเป็นนามเหมือนกัน ต่างกัน คือ ธาตุรู้ มาจากคำว่า วิญญาณธาตุ ทำหน้าที่รับรู้เฉย ส่วน ”จิต” เป็นลักษณะภาวะของการสะสม เข้าไปเกลือกกลั้วและเสวยอารมณ์Q: วิธีแก้โรควิตกจริตA: เปรียบเหมือนตัดต้นไม้ ที่ตัดที่โคนต้น พอฝนผ่านมา ต้นไม้นั้นก็งอกขึ้นมาใหม่ เราต้องขุดรากถอนโคนต้นไม้นั้น นำมาตัด มาผ่า เผา จนเป็นถ่านเป็นขี้เถ้า บดให้ละเอียด แล้วโปรยในที่ลมพัดแรงหรือในกระแสน้ำที่เชี่ยวกราด ในการขุดรากถอนโคนนั้น ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณามรณสติ ทำซ้ำ ทำย้ำ อยู่เรื่อยๆ จะระงับความคิดนี้ได้Q: กาม และ อกุศลธรรม มีซอฟต์พาวเวอร์ หรือไม่?A: กาม (ราคะ โทสะ โมหะ) มีสภาวะบังคับ บีบคั้น ไม่ใช่ ซอฟต์พาวเวอร์ แต่เป็น ฮาร์ดพาวเวอร์ ทั้งหมด เพราะกาม บีบบังคับเราให้ต้องทำ ส่วน ธรรมะทั้งหมดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ เพราะไม่ได้ถูกบีบบังคับ ให้เป็นไปตามอำนาจ ราคะ โทสะ โมหะ คือ ทางสายกลางหรือมรรค 8 นั่นเองQ: ทุกข์สัมพัทธ์กับเวลาหรือไม่?A: เวลาและสถานที่ เป็นลักษณะของภพ เพราะมีภพ จึงมีการเกิด เพราะมีการเกิด จึงมี ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน เพราะฉะนั้น “ทุกข์” ต้องมีเวลา ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ก็มีเวลาทั้งนั้นQ: ความไม่เที่ยงและเวลาเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันหรือไม่?A: เหตุปัจจัยของเวลา ในที่นี้หมายถึง ภพ (เวลา/สถานที่) เหตุปัจจัยของภพ คือ อุปาทาน (ความยึดถือ) ความยึดถือจึงเป็นเหตุเงื่อนไขของเวลาและสถานที่, อุปาทาน เป็นตัณหา ไม่ใช่มรรค, ความไม่เที่ยงเป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งภพ จะดับภพได้ ก็เพราะความดับไม่เหลือของอุปาทาน จะดับอุปาทาน ก็ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 ซึ่ง หน้าที่ ที่ทำต่างกัน, ความไม่เที่ยง ต้องทำให้มาก พัฒนาให้มี ทำให้เจริญ โยนิโสมนสิการตามหลักอริยสัจสี่ แล้วเราจะไม่หลงประเด็น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.7.202252 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

รักษารอยต่อด้วยสติ สมาธิ และปัญญา [6528-7q]

Q : กิเลส มักเกิดขึ้นในใจ ในรูปแบบของความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำ ใช่หรือไม่? A : กิเลสเกิดจากจิตที่มีอวิชชาแฝงอยู่ แล้วไม่มีสติรักษา เมื่อมีผัสสะมากระทบ ก็จะปรุงแต่งไปตามสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจ ออกมาในรูปแบบ ความคิด คำพูด การกระทำ และเมื่อปรุงแต่งออกไปแล้ว ก็จะมีอาสวะกลับเข้ามาในจิต  Q : มีสติเห็นความคิดที่ผ่านเข้ามาแล้วไม่ตามมันไป จะช่วยขูดเกลากิเลสได้หรือไม่? A : การที่เราแยกแยะได้ รู้ว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี ความรู้นั้น เป็น “สัมมาทิฏฐิ” เมื่อเรามีปัญญา มีความเพียร มีสติ สมาธิ กิเลสก็จะอยู่ไม่ได้ จะค่อย ๆ หลุดลอกออก  Q : แนวทางจากคำถามข้างต้น คือ มรรค8 คือ สัมมาสังกัปปะ ใช่หรือไม่? A : ล้วนเป็นแนวทางของมรรค 8 ตามกันมา เราทำอันใดอันหนึ่งก็จะตามกันมาหมด ซึ่ง มรรค8 คือ ทางเดียว ที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง ไม่ใช่ทาง 8 สาย  Q : การเข้าฌาน กับ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เกี่ยวข้องกันอย่างไร? A : ฌาน คือ กิริยา การเพ่ง จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วน ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ นั้น เป็นระดับความลึกของสมาธิ ถ้าทำได้ไม่นาน จัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ถ้าพอจะเป็นที่อยู่ได้ จัดเป็น “อุปจารสมาธิ” ถ้าทำสมาธิได้ลึกซึ้งนาน จัดเป็น “อัปปนาสมาธิ”  Q : เราสามารถตั้งสติจนถึงรอยต่อที่จะหลับได้หรือไม่ ? สภาวะนั้นเทียบได้กับตอนที่จะตาย ใช่หรือไม่ ? หากตอนเราจะตายตั้งสติไม่ได้ ส่งผลเสียมากหรือไม่ ? A : ความตายเกิดขึ้นได้ตลอด ไม่ใช่แค่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อ ตรงไหนมีผัสสะ ตรงนั้นมีรอยต่อ เป็นกระแสเกิดและดับ สิ่งสำคัญคือเมื่อกระแสดับแล้ว จิตเราจะระลึกถึงอะไร คว้าอะไร เราจึงควรทำดี มีสติ ฝึกทำอยู่ตลอด ตรงไหนที่กังวลใจก็ให้กำจัดอาสวะส่วนนี้ออก สมาธิเราก็จะเต็ม ก็จะไปขั้นสูงขึ้นไปได้อีก  Q : ถ้าต้องป่วยด้วยอาการทางสมองระหว่างปุถุชนกับอริยะบุคคลต่างกันหรือไม่? A : เหมือนกันที่ ทางกายบกพร่องทางสมอง ต่างกันที่ อริยะบุคคล เมื่อถูกลูกศรดอกที่ 1 แทงที่กาย ท่านจะรักษาจิตท่านไว้ได้ ไม่ไปหาความสุขทางกาม ส่วนปุถุชนนั้น เมื่อถูกลูกศรดอกที่ 1 แทงที่กายแล้ว ยังถูกลูกศรดอกที่ 2 แทงไปที่ใจ คือ กังวลใจ ไม่ผาสุก แล้วไปหาความสุขทางกาม  Q : ควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้จิตไปอบายภูมิ ถ้ายังไม่ได้เป็นอริยบุคคล A : เราต้องรักษาจิตเราให้ดี ฝึกสติ เห็นไปตามจริง อะไรที่ต้องบรรลุ อะไรที่ต้องทำให้ถึง เมื่อทำได้แล้ว ถึงเวลานั้นเราจะเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้  Q : อนมตัคคปริยายสูตร น้ำตาเปรียบด้วยมหาสมุทร A : เราทุกข์เพราะไม่เห็นอริยสัจสี่ ให้เราตั้งสติให้ดี เห็นในความเป็นจริงด้วยปัญญา ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ ให้ ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และศีล สี่อย่างนี้จะพาให้เราสู่กระแสนิพพานเป็น “โสตาปัตติยังคะ 4” ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
16.7.202258 Protokoll, 35 Sekunden
Episode Artwork

เหนือเกิดเหนือตาย เหนือสุขเหนือทุกข์ [6527-7q]

Q: ขณะดำเนินชีวิตประจำวัน ควรเจริญสติอย่างไร?A: เจริญสติได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะทำกิจการงานใด โดยให้ระลึกด้วย “สัมมาสติ” คือ คิดดี มีเมตตา คิดแล้วกิเลสลด ไม่คิดไปในทางที่ไม่ดีหรือมิจฉาสติ (คิดแล้วกิเลสเพิ่ม)Q: พระเครื่องไม่มีในพระพุทธศาสนาใช่ไหม?A: พระเครื่องมีภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรทำ คือ เดินตามทางมรรค 8 ไม่ใช่ห้อยพระเพื่อ อยากให้บันดาลสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรืองมงาย เป็นความหลง เป็น “วัตตโกตูหลมงคล”Q: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่คิดได้รู้สึกได้ว่าเป็นตัวตน และสิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตนนั้นคือสิ่งใด?A: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน คือ “ขันธ์ 5” สิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตน คือ “จิต”/เมื่อตัณหาไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงมีความรู้สึกว่าเป็น จิต ขึ้นมา รู้สึกว่ามีตัวตน เพราะไปยึดในขันธ์ 5 คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร และวิญญาณ รู้สึกว่ามันมี นั่นคือ ถูกหลอก/ถ้าเราเห็นความไม่เที่ยง ความไม่ใช่ตัวตน ตรงนี้เป็นกุญแจ คลายความยึดถือ ปลดล็อคได้ ให้เรารักษาจิตด้วยสติ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อความจริงปรากฏว่า จิตก็ไม่เที่ยง เมื่อเห็นความไม่เที่ยง จิตก็จะละเอียดลงๆ หลุดพ้นจากความยึดถือ อวิชชาที่อยู่ที่จิต ก็จะหายไปดับไป สิ่งที่เหลืออยู่ คือ จิตที่ยินดี ร่าเริง ไม่สะดุ้งไปตามสิ่งต่างๆ คือ จิตที่บริสุทธิ์นั่นเองQ: การใช้ชีวิตตอนอยู่นอกคอร์สปฏิบัติธรรม ควรปฏิบัติตนอย่างไร?A: เมื่อเรายังต้องอยู่ในสังคม สิ่งที่สำคัญ คือ “จิตใจ” ให้อยู่เหนือโลก เหนือผัสสะ เหนือด้วยสติปัญญา อย่าทำตัวเป็นคนหลุดโลก ให้ดูว่าเพื่อนที่ไปด้วย ว่าเป็นกัลยาณมิตรไหม ชวนคุยเรื่องธรรมะหรือหากคุยเรื่องงานก็ให้คุยด้วยสัมมาวาจาQ: คนเลือกเกิดได้หรือไม่?A: ทั้งได้และไม่ได้ หากเราทำดีรักษาศีล เราก็เลือกเกิดไปสวรรค์ได้ หากเราผิดศีล ก็คือเลือกเกิดไปนรก หรือจะเลือกไม่เกิดเลยก็ได้ คือ ทำตามรรค 8 ไปนิพพาน/อีกนัยยะหากหมายถึง เลือกเกิดได้ แบบอยากรวย สวย หล่อ ต้องตั้งจิตอธิฐาน ซึ่งอาจจะได้หรือไม่ได้ก็ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9.7.202258 Protokoll, 13 Sekunden
Episode Artwork

วางอุเบกขาเพื่อความสลัดคืน [6526-7q]

Q: เพื่อนที่ทำงานซื้อของมาให้ พอเรารับไว้เราก็ไม่สบายใจ ไม่รับก็กลัวจะน้อยใจ เราควรตั้งจิตอย่างไร?A: เราสามารถรับไว้ แล้วซื้อของกลับให้เพื่อผูกมิตร ทั้งนี้ ควรตรวจสอบสภาวะจิตเราด้วยว่า ซื้อของให้เค้าแล้ว เราไม่อยากซื้อให้กลับหรือเปล่า/แนะนำเรื่องการแบ่งจ่ายทรัพย์/หากเค้ามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะทำตัวเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม/แนะนำเปลี่ยนจากการซื้อของให้เป็นการหยอดกระปุก เพื่อร่วมทำบุญด้วยกัน หรือนำไปใช้เป็นสวัสดิการในที่ทำงานร่วมกันQ: คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชาA: อดทน ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่ รู้ประหาร (กำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล) รู้รักษา (สำรวมอินทรีย์) รู้ไป (ไปทางนิพพาน) รู้ฟัง (ฟังธรรมะ) รู้อดทน (อดทนต่อเวทนา คำด่า คำว่า)Q: ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร?A: ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” คือ ถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ (อทุกขมสุข) เกิดขึ้น อุเบกขา คือ ความวางเฉย เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม วิมุตติ คือ พ้น (เจริญสติปัฏฐานสี่มาก ทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม คือ “โพชฌงค์” พอมี โพชฌงค์แล้ว อาศัย วิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชา และวิมุตติ จะเกิดขึ้น)Q: อุเบกขาต่างจากวิมุตติอย่างไร?A: ความต่าง คือ อุเบกขา ละเอียดกว่า อทุกขมสุข, อุเบกขา เป็นหนึ่งใน สติปัฏฐานสี่ หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือน คือ เป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกันQ: นั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนมีหนอนไต่ตามร่างกาย อาการนี้คืออะไร แก้ไขอย่างไรA: พิจารณา กรณีที่ 1) เป็นนิมิตว่า เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้ คือ ไม่น่ายินดี ให้รักษาสติ เห็นตามจริง อย่าตกใจ หากตกใจ ให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลัง เห็นไปตามจริง กล้าเผชิญหน้า ว่ากายเราเป็นแบบนี้ นี่คือมาถูกทาง กรณีที่ 2) หากเราพึ่งเริ่มต้นปฏิบัติ แค่รู้สึกคันตามตัว อาการนี้คือ ลักษณะอาการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบ เราต้องตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉยๆ แต่ไม่ตาม พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีกQ: การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่?A: ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้น เรียกว่า การนอนอย่างตถาคต คือ ตื่นอยู่ในสมาธิ (คนนอนแบบตื่น คือ ชาคริยานุโยค) ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับ คือ ง่วง เหนื่อย เพลีย แต่นอนไม่หลับQ: การทำสมาธิใกล้คนนอน มีผลกับคนนอนหรือไม่?A: หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วเราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกล ก็ได้ประโยชน์ ได้ทั้งข้ามภพ ข้ามชาติด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2.7.202255 Protokoll, 25 Sekunden
Episode Artwork

วินัยของพระสงฆ์ที่ญาติโยมควรทราบ | การถวายอาหารพระ [6525-7q]

เราศึกษาวินัยเพื่อให้ญาติโยมปฏิบัติได้ถูกต้อง เป็นผู้ร่วมรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการช่วยพระสงฆ์รักษาพระวินัย“ระเบียบวินัยเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จ” ระเบียบวินัย เป็นขอบเขตของมรรค เพื่อให้อยู่ในเดินไปสู่นิพพานอาหารที่ไม่ควรถวายพระสงฆ์ คือ 1) เนื้อสัตว์ 10 ประเภท ได้แก่ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อสิงโต เนื้อเสือเหลือง เนื้อเสือโคร่ง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว 2)เนื้อดิบ เช่น ปูดอง แหนมหมู 3) พืชผักผลไม้ที่จะเติบโตต่อไปได้ ก่อนที่จะถวาย เราควรทำให้สมควรแก่สมณะ (กัปปิยะ) ก่อน เพราะหากพระท่านฉันเมล็ดพืชที่สามารถเติบโตต่อไปได้แล้วทำให้เมล็ดมันแตกหรือหัก จะทำให้อาบัติหรือผิดศีล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
25.6.20221 Stunde, 8 Sekunden
Episode Artwork

เหตุปัจจัยที่จะพ้นไปได้ด้วยดี [6524-7q]

Q: ผลกรรมของการฆ่าบิดามารดาโดยเจตนากับบันดาลโทสะหรือประมาท เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?A: บาปมากหรือน้อยดูที่เจตนา ท่านอุปมา ดังรอยกรีดบนพื้นน้ำ บนพื้นทรายและบนพื้นหิน ซึ่งกรรมก็จะให้ผลต่างกัน การฆ่าบิดามารดาหรือพระอรหันต์นั้นเป็น “อนันตริยกรรม” คือ กรรมที่หนักที่สุด ผลคือไปตก อเวจีมหานรก จนกว่าจะหมดกรรม แต่ก็ยังมีเศษกรรมที่ยังส่งผลต่อๆ มาอีก รองลงมาคือการฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น คน โค สัตว์เดรัจฉาน ตัวใหญ่หรือตัวเล็ก บาปก็จะลดลงมา ไล่ลงมาQ: ผู้ที่ทรมานด้วยโรคร้ายมานาน พอถึงแก่กรรม บ้างก็ว่าหมดกรรม บ้างก็ว่าสิ้นบุญ อย่างไหนถูกต้อง?A: ที่สำคัญ คือ ตายแล้วไปไหน ถ้าตายแล้วไปนรก นั่นไม่ดี ตายแล้วไปสวรรค์ หลุดพ้นหรือเป็นอริยบุคคล เรียกว่า ไปดี การตายนั้นดี ขึ้นอยู่กับว่าตอนยังไม่ตายเราประกอบกรรมอะไรQ: ขอทาน นำเงินที่ได้มาทำบุญ จะได้ผลบุญเท่ากับอาชีพทั่วไปหรือไม่?A: ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้ มีศรัทธา มีศีล มีสัมมาอาชีวะหรือไม่ ทำบุญในเนื้อนาบุญหรือไม่ ผู้รับเป็นเนื้อนาบุญหรือไม่ ผลที่ได้ก็จะต่างกันออกไปQ: บางคนอธิษฐานอยากได้บุตร แต่ไม่ได้หรือได้แล้วแต่เป็นตามที่หวัง เป็นเพราะอะไร?A: ความอยาก (ตัณหา) เป็นทุกข์ หากเราไม่มีความอยากก็จะไม่ทุกข์ เหตุปัจจัยที่จะควบคุมความอยากได้นั้น มีอยู่แล้วคือ มรรค 8Q: ที่ว่าบุตรชายคล้ายแม่ บุตรสาวคล้ายพ่อ มักไม่อาภัพจริงหรือ?A: อาภัพหรือไม่ สิ่งที่สำคัญ คือ เมื่อเกิดมาแล้วจะไปสว่างหรือไปมืดQ: บาปไหม? ถ้าไม่รักษาคำพูดA: เทียบเคียงกับพระสูตร ข้อมิจฉาวาจา หากคำพูดตอนนั้น ไม่มีเจตนาหลอกลวง แกล้งกล่าวเท็จ ไม่ถือว่าผิดหรือบาป เพราะทุกคำพูดเป็นคำจริง แต่พอกาลเวลาล่วงมา ไม่สามารถรักษาคำพูดไว้ได้เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปนั่นเป็นโทษของวัฎฎะQ: การแผ่เมตตาต่างจากการกรวดน้ำอย่างไร?A: กรวดน้ำเป็นกิริยาทางกาย การแผ่เมตตาเป็นกิริยาทางใจ ทั้งสองอย่าง ที่สำคัญ คือ จิตที่ตั้งไว้ด้วยดี มีเมตตาQ: บวชแบบไม่ต้องจัดงานอะไรเลยได้ไหม?A: สิ่งที่ต้องมี คือ มีบาตร จีวร หมู่สงฆ์อย่างน้อย 5 รูป อนุศาสนาจารย์ และมีพิธีบวช คือ มีอุปัชฌาย์แล้วต้องกล่าวคำนี้ หมู่สงฆ์รับรองแล้วจบ สิ่งอื่นที่ไม่ได้กล่าวไว้ไม่จำเป็นQ: จริงหรือที่ว่า "เบียดก่อนบวช" พ่อแม่จะได้บุญน้อยกว่า?A: พระพุทธเจ้าท่านก็แต่งงานมีลูกก่อน แล้วค่อยมาบวช สำคัญอยู่ที่การกระทำ ว่าบวชแล้วทำอะไรQ: พระทุกรูปเชื่อว่าผีมีจริงใช่ไหม?A: ใม่ใช่ทุกรูปที่จะมีสัมมาทิฐิ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
18.6.202257 Protokoll, 47 Sekunden
Episode Artwork

แก้ความกลัวด้วยความกล้า [6523-7q]

Q: ผู้ป่วยติดเตียงดึงเครื่องช่วยหายใจออกเองแล้วตาย เป็นการฆ่าตัวตายหรือไม่?A: ดูที่เจตนาเป็นเกณฑ์ ว่าต้องการให้ชีวิตสิ้นสุดลงหรือไม่Q: คนเรามักจะมีของที่ชอบเป็นพิเศษ นี้คือกาม คือมีอุปาทาน มีกิเลส ใช่หรือไม่?A: พิจารณาว่าเป็นเวทนาแบบไหน แบ่งตามนัยยะ คือ ถ้าเป็น อาหาร สถานที่ การงาน บุคคล ให้พิจารณาแล้วจึงเสพ (กุศลกรรมบถ 10 จิตตั้งมั่น/อาสวะ ปัจจัยสี่)/เพลง กลิ่น พิจารณาแล้วจึงอดกลั้น/สถานที่ พิจารณาแล้วจึงงดเว้น/ความคิดในทางอกุศลทุกอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทาQ: สิ่งที่เฉยๆ ไม่ได้โปรดปราน ไม่ใช่กามใช่ไหม?A: ความรู้สึกที่ไม่ได้บอกว่าเป็นทุกข์ เหรือ สุข เรียกว่า “อทุกขมสุขเวทนา” ซึ่งอาจทำให้เกิดกามได้ ถ้าจิตปรุงแต่งไป ดังนั้น เราควรฝึกสติเพื่อรักษาจิต ถ้ามีสติก็จะไม่มีกาม ถ้าไม่มีก็อาจเกิดเป็นกามได้Q: ความกลัว เป็นโมหะหรือไม่?/ความกลัวกับโรคซึมเศร้า เป็นปัญหาทางใจใช่หรือไม่?A: ความกลัวมี 2 แบบ คือ 1. ความกลัวที่เป็นอกุศล (เป็นโมหะ) 2. ความกลัวที่เป็นกุศล (หิริโอตัปปะ) คือ กลัวต่อสิ่งที่เป็นอกุศล เช่น กลัวการตกนรก กลัวต่อบาป เราต้องมีความกล้าในการเผชิญหน้ากับความจริง ทำจริงแน่วแน่จริง ทำในสิ่งที่เป็นกุศล เมื่อปัญญาเกิด โมหะก็จะหายไป โดย การปฏิบัติธรรมรักษาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11.6.202255 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

มองชีวิตหลังความตายด้วยทิฏฐิที่ถูกต้อง [6522-7q]

Q: การกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตชาติ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้อีก และคนเรามักจะทำแบบเดิม ใช่หรือไม่?A: ทุกอย่างอยู่ที่เหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั้งหมดQ: เทวดามีกายทิพย์ จะปวดเมื่อยได้ไหม?A: ไม่ปวดเมื่อยเหมือนมนุษย์Q: เทวดาสิ้นอายุได้ใน 4 ลักษณะA: 1. ลืมทานอาหาร 2. บุญเพิ่มขึ้น 3. มีความโกรธ 4. หมดอายุบุญQ: เทวดาที่ไม่มีรูป (อรูป) รู้สึกได้ด้วยอะไร?A: ท่านมีจิต นิ่งๆ อยู่อย่างเดียว ไม่สามารถติดต่อสื่อสารใด ๆ ได้Q: การทดลองของพระเจ้าปายาสิ | ปายาสิราชัญญสูตรA: จะหาจิตโดยใช้เครื่องมือที่เห็นได้ด้วยตา หูฟังได้ด้วยเสียง ไม่ได้ เพราะจิตเป็นนาม วิธีมีอยู่ คือ ใช้การตรวจสอบด้วยตาทิพย์ โดยเราจะต้องมีปัญญา หากเราไม่มีก็ให้อาศัยความเชื่อ อาศัยคนที่มีปัญญา ดั่ง คนตาบอดแต่กำเนิด ไม่เคยเห็นแม่น้ำ ท้องฟ้า จะบอกว่าไม่มี ไม่ได้ เพราะคนตาดีเค้ามองเห็น ก็ต้องเชื่อในสิ่งที่คนตาดีเพราะคนตาดีเห็น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4.6.202258 Protokoll, 17 Sekunden
Episode Artwork

สมาธิเป็นหัวหน้า มีวิมุตติเป็นแก่น [6508-7q]

Q: จิตฟุ้งซ่านขณะเดินจงกรม ควรทำอย่างไร?A: หากมีความคิดเข้ามา ให้ตั้งสติกำหนดจิตเดิน และทำต่อไปโดยไม่หยุดเดิน การปฎิบัติด้วยการเดินผัสสะจะมากกว่าการนั่ง หากเราฝืนทำต่อไปได้ สมาธิที่ได้จะอยู่ได้นานQ: ขณะนั่งสมาธิ เกิดมีอาการคัน ควรแก้ไขอย่างไร?A: วิธีแก้มี 2 วิธี คือ 1. เอาจิตไปจดจ่อดูความเป็นตัวตน คือ เห็นทุกข์ในสิ่งนั้น เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งนั้น (ทุกขาปฎิปทา) 2. ไม่เอาใจใปใส่ในมัน เข้าสมาธิให้ลึกลงไป (สุขาปฏิปทา) ทั้งนี้การจะวางได้เร็วหรือช้า อยู่ที่อินทรีย์ 5 หากอินทรีย์อ่อน จะวางได้ช้า หากอินทรีย์แก่กล้า จะวางได้เร็วQ: เมื่อเกิดมีปีติมากล้น จะปล่อยวางได้อย่างไร?A: ใช้วิธีสุขาปฏิปทา หรือทุกขาปฏิปทา ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เพื่อการปล่อยวางความปิติ ฝึกทำบ่อยๆ ปิติจะดับไปQ: จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องสวดมนต์เฉพาะหน้าพระพุทธรูป?A: สามารถสวดมนต์ที่ไหนก็ได้Q: เหตุใดฝึกทำสมาธิแล้วไม่ได้สมาธิ ได้แต่ความเพียร?A: พละ 5 คือ กำลังของคนที่ศึกษาอยู่ (เสขะ) ประกอบด้วย 1. ศรัทธา 2. หิริ 3. โอตัปปะ 4. ความเพียร 5. ปัญญา ให้เราทำไปเรื่อยๆ เหมือนเราทำนา เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าข้าวจะสุกวันไหน ผลผลิตได้เท่าไหร่ แต่จะมีเวลาที่เหมาะสม ตามเหตุตามปัจจัยของเขา ซึ่งคนที่ปฎิบัติธรรมในธรรมวินัยนี้ กิจที่ต้องทำ มี 3 อย่าง คือ การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติในสมาธิอันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่งQ: นิพพานกับความตายคนละอย่างกัน?A: นิพพานกับความตายคนละอย่างกัน/ในนิพพาน ไม่มีความเกิด ไม่มีความตาย ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงในนิพพาน นิพพานแปลว่า ความดับ ความเย็น/ความตายมีเหตุ คือ การเกิด แต่ในนิพพานไม่มีการเกิด จึงไม่มีการตาย ต้องเข้าใจเหตุผลของความเกิด ความตาย ให้ได้ ว่าคนที่ตาย ไม่ใช่ความตายดับ แต่ความตายเกิด (อุบัติ) ขึ้น จึงตายQ: ธรรมะข้อใดที่ทำให้ไม่ฝัน?A: ฝันดีแบบกุศลธรรม คือ ฝันไม่เกี่ยวเนื่องด้วยกาม/วิธีแรก ท่านให้กำหนดสติสัมปชัญญะก่อนนอนว่า รู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที และด้วยสติสัมปชัญญะ น้อมไปในการนอน ด้วยอาการอย่างนี้ว่า “เราผู้ที่นอนไปแล้ว ขออย่าให้ บาปอกุลศกรรมทั้งหลาย ติดตามเราผู้ที่นอนอยู่เลย” จะทำให้เวลาที่เรานอน ไม่ฝันร้าย ไม่ฝันเกี่ยวเนื่องด้วยกาม วิธีที่สอง การแผ่เมตตา อานิสงส์ คือ ไม่ฝันร้าย ตื่นแล้วมีความสุขQ: จำเป็นต้องฆ่าเพื่อกิน ทำอย่างไรจึงจะให้บาปน้อยลงA: อุปมารอยกรีดเปรียบเหมือนเจตนาที่เราทำลงไป หากเราทำด้วยเจตนาน้อย เปรียบเสมือน รอยกรีดบนน้ำ เจตนามาก เปรียบเสมือนรอยกรีดบนหิน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.2.202256 Protokoll, 22 Sekunden
Episode Artwork

อานิสงส์ของการทำสมาธิ [6507-7q]

Q: ทำสมาธิอย่างไรให้ตั้งอยู่ได้นาน?A: เราไม่ควรออกจากสมาธิ ควรฝึกสติให้มีกำลังสติสัมปชัญญะในทุกอิริยาบถ หรือการอยู่ในที่หลีกเร้น เสนาสนะอันสงัด รู้ประมาณในการบริโภค และที่สำคัญ คือ การฟังทำธรรมะ เมื่อสติมีกำลัง สมาธิก็จะตั้งอยู่ได้นานQ: ระดับและอานิสงส์ของสมาธิA: สมาธิมี 9 ขั้น/อานิสงส์ของสมาธิ คือ ทำให้เกิดปัญญาจะได้ผลเป็นอริยบุคคล 4 ขั้น (โสดาปัตติผล/สกทาคามิผล/อนาคามิผล/อรหัตตผล)Q: ทำสมาธิเพื่ออะไร/สิ่งที่ควรเสพในสมาธิA: ทำสมาธิเพื่อให้เกิดเป็นปัญญา มีผล คือ อริยบุคคล 4 ขั้น และไปสู่ความสงบสุขที่สุด คือ “นิพพาน”/สุขจากสมาธิ ซึ่งสุขจากสมาธิก็เป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง สุขเวทนาnสมาธิเป็นของไม่เที่ยง เสพแล้วทำให้มาก เจริญให้มากQ: กรรมของคนบ้า?A: กรรมจากดื่มสุราเมรัย/เสพยาเสพติด คนถ้าเป็นอยู่ตอนนี้จะแก้อย่างไร คนบ้า ไม่ใช่คนประสาท คนดีก็บ้าได้ บ้า คือ วิปลาส (เห็นสิ่งไม่เที่ยงว่าเที่ยง/เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน/เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข) ให้เจริญมรรค 8 เห็นไปตามจริง จะหายจากอาการวิปลาสได้Q: สมณศักดิ์ของภิกษุสงฆ์A: เริ่มมีมาในสมัยรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องมาจาก พระราชามีความศรัทธาจึงมอบสมณศักดิ์ให้ พระสงฆ์จึงรับพระอนุวัตตามพระราชา ทั้งนี้ การเคารพกันของพระสงฆ์นั้นท่านเคารพกันตามพรรษา ไม่ได้เคารพตามสมณศักดิ์Q: เมื่อจำเป็นต้องฆ่าสัตว์ ทำอย่างไรที่จะทำให้บาปลดลง?A: บาปมากที่สุด คือ ลงมือฆ่าเอง รองลงมา คือ ซื้อหรือสั่งให้ทำ ขาย เลี้ยงเพื่อขาย กิน เราควรละ หลีกเลี่ยงทุกอย่างที่เป็นการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงเป็นการดีที่สุด/เกณฑ์ที่พระพุทธเจ้า ให้พระภิกษุกระทำ คือ 1. ไม่ลงมือเอง 2.ไม่สั่งให้ทำ 3. ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่สงสัย ว่าฆ่าเจาะจงเพื่อให้เรากิน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
19.2.202258 Protokoll, 46 Sekunden
Episode Artwork

เจริญฉันทะเพื่อดับฉันทะ [6506-7q]

Q : จิตกับใจใช่สิ่งเดียวกันหรือไม่?A : เป็นนามเหมือนกัน ต่างกันคือทำหน้าที่คนละอย่าง ใจ (เป็นช่องทาง) /จิต (สภาวะแห่งการสั่งสม,ยึดถือ)Q : อยากให้มีการจัดรายการธรรมะรับอรุณต่อไป..ความอยากนี้ เป็นกิเลสหรือไม่?A : เป็น / ความอยากมีทั้งความอยากที่เป็น “สมุทัย” และความอยากที่ประกอบด้วยความเพียร (สัมมาวายามะ) หากเราทำแล้วกุศลกรรมเพิ่ม อกุศลกรรมลด แสดงว่าเราทำมาถูกทางแล้ว คือ “สัมมา” นั่นเองQ : เราไปวัดกันทำไม?A : คนโบราณ มีกุศโลบายคือไปวัดเพื่อพบเห็นสมณะ ได้กราบไหว้ ได้รับศีล ได้ฟังธรรม ได้ถวายทาน ครบในข้อของ “อุบาสกรัตนะ”Q : สมาทานศีลที่บ้านเองได้หรือไม่ ?A : ได้ / อยู่ที่เราตั้งจิต ทำด้วยความปกติจะเป็นการดีQ : สวรรค์ชั้น 7 มีจริงหรือไม่? สวรรค์ชั้นพรหมเป็นอย่างไร?A : สวรรค์มีแค่ 6 ชั้น สูงขึ้นไปคือชั้นพรหมแบ่งเป็น รูปพรหม/อรูปพรหม (มีแต่ใจ ไม่มีตา หู สื่อสารไม่ได้) Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12.2.20221 Stunde, 2 Protokoll, 9 Sekunden
Episode Artwork

เบญจศีล เบญจธรรม [6505-7q]

พอจ. มีศรัทธา กำลังใจ พลังใจจากพระพุทธเจ้า จากผู้ฟัง ผู้ฟัง ฟังแล้วมีศรัทธา มีกำลังใจสูง ได้ประโยชน์มาก มีศรัทธาเพิ่มขึ้น ทำให้ พอจ. มีกำลังใจเพิ่มมากขึ้น และจะทำรายการต่อไปQ : เบญจศีล เบญจธรรม คืออะไร?A : เบญจศีล คือ ศีล 5 เบญจธรรม คือ ธรรมะ 5 / คู่ของธรรมะ 5 อย่างกามสังวร คือ สำรวมในกาม การรู้จักยับยั้งควบคุมตน ไม่ให้หลงใหลใน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส (การสำรวมระวังในกาม) คือ ความเพลิน พอใจยินดีในกามคุณQ : โทษที่จะเกิดขึ้นจากการที่พูดยุยงให้แตกกัน ?A: โทษน้อยที่สุด คือ พูดแล้วคนอื่นไม่เชื่อ แตกจากมิตร / หนัก คือ ตกนรกQ : คนที่พูดขวานผ่าซากไม่สนใจความรู้สึกผู้อื่น ?A : ให้พูดถนอมน้ำใจกัน / อย่าเอาความดี (สัจจะ) มาอ้างโดยการทำไม่ดี (พูดแล้วสะเทือนใจผู้อื่น)Q : การแผ่เมตตาเหมือนกับการอุทิศส่วนบุญกุศล ?A : บุญเกิดได้จากหลายอย่าง การแผ่เมตตา และการอุทิศส่วนกุศล เป็นบุญคนละอย่างกัน แต่เป็นบุญเหมือนกัน เกิดขึ้นทางใจเหมือนกันQ : แผ่เมตตาให้กับคนที่ไม่ถูกกันแล้วดีขึ้น เป็นเพราะเขาได้รับผลจากการแผ่เมตตาของเราหรือเพราะเรามีจิตที่เมตตาขึ้น?A : เวลาเราแผ่เมตตาให้ใคร เมื่อผู้นั้นเห็นเรา เขาก็จะเห็นเหมือนเรายิ้มให้ จิตใจเขาจะอ่อนนุ่ม นุ่มนวล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5.2.202254 Protokoll, 25 Sekunden
Episode Artwork

โรคทางใจ [6504-7q]

Q : ผู้ไม่มีโรคทางใจ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ?A : แน่นอนว่าเป็นแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านไม่มีโรคทางใจ/ โรคทางใจ พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ถึงอาการที่เกี่ยวกับโรคทางใจ 3 อาการคือ ราคะ โทสะ โมหะQ : วิธีการใดที่คนธรรมดาจะไม่เป็นโรคทางใจ ?A : ใช้ยาที่แก้โรคทางใจคือ มรรค 8 ต้องทำให้มากเจริญให้มาก เปรียบดังเราเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทานยา รักษาจนหายแล้ว เราก็ยังรักษาตัวเองต่อเนื่อง คือ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่รับประทานของแสลง ทำอยู่อย่างนี้จนหมดชีวิตเราQ : มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม กรรมใดมาก่อน ?A : มโนกรรม ใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน / ผัสสะต่างๆ มีใจ เป็นที่แล่นไปสู่Q : เจตนาของ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม คืออะไร ?A : คือจิตของเราQ : กรรมอะไรให้ผลทันที ?A : ทิฏฐธรรม (กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน) / กรรม จำแนกตามผล ได้ 3 ลักษณะคือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน, กรรมที่ให้ผลในเวลาถัดมา/ กรรมที่ให้ผลในเวลาถัดมาและถัดมาอีกQ : ภพชาติมีจริงไหม ?A : หากสิ่งไหนไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทั้งสองฝ่าย พระพุทธเจ้าท่านจะไม่ทรงตรัสสิ่งนั้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
29.1.202258 Protokoll, 20 Sekunden
Episode Artwork

Live : ธรรมะที่เอาชนะคนพาล [6503-7q]

Q : เพื่อนแกล้งควรทำอย่างไร ? A : หากเราโต้ตอบด้วยกำลังก็จะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้โต้กลับ ด้วย 1)ความอดทน 2)ไม่เบียดเบียน 3) เมตตา 4) รักใคร่เอ็นดูQ : เหตุแห่งการมีบริวารA : เวลาทำบุญ ให้ทำบุญด้วยตัวเองและชักชวนผู้อื่นทำบุญด้วย / สงเคราะห์ด้วยปิยวาจา อัตถจริยา สังคหวัตถุสี่ และการแบ่งปันQ : คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน หมายถึงอะไร ?A : เป็นคำถามของปริพาชก ปริพาชกมีข้อปฏิบัติหลายอย่าง /พระสารีบุตร ท่านเคยเกิดเป็นปริพาชก ท่านได้ตอบคำถามนี้ว่า ท่านไม่ได้คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน Q : การสมาทานศีลA : สามารถสมาทานศีลได้ด้วยตัวเองหรือต่อหน้าผู้ที่เรามีหิริโอตตัปปะ หากมีศีลเป็นปกติ (พระโสดาบัน) ก็ไม่ต้องสมาทานศีลQ: จะใช้ธรรมมะอยู่ในโลกที่เบียดเบียนได้อย่างไร ?A: ใช้ความเมตตา รักษาศีล 5 เพื่อเป็นการส่งต่อความดี ไม่ให้ความดีหยุดอยู่ที่เราQ : สมาธิในขั้นอรูปฌาน บรรลุธรรมได้หรือไม่ ?A : หากยินดีในรูปฌานก็จะไปอยู่ในรูปฌาน เมื่อหมดจากรูปฌาน ก็จะมาอยู่ใน อกนิตภพ เป็นอนาคามีแล้วบรรลุธรรมในภพนั้น / ให้เห็นความไม่เที่ยงของอรูปฌานQ : เมื่อมีความคิดสร้างสรรค์แล้วเราจะวางอุเบกขาอย่างไร ?A : หากเรามีความคิดสร้างสรรค์แล้วดีใจมากเกินไป ให้วางอารมณ์ วางอุเบกขา ที่มากับความดีใจนั้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.1.202259 Protokoll, 57 Sekunden
Episode Artwork

รอบรู้ในไตรลักษณ์ [6502-7q]

พระพุทธเจ้าท่านให้ทำการรักษา นอบน้อมทิศเบื้องขวา คือ ทิศของครูบาอาจารย์ ผู้เป็นศิษย์ควรให้ความเคารพ เชื่อฟังด้วยความนอบน้อม ผู้ที่เป็นครู ก็สอนด้วยความเมตตา ให้โดยไม่เหลือไว้ในกำมือQ: การเห็นไตรลักษณ์ในอริยสัจสี่เป็นสัมมาทิฏฐิหรือไม่ ?A : การจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ต้องเห็นในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นในทุกข์ เพื่อจะได้รู้รอบในทุกข์ คือ รู้เหตุเกิดของมัน ตัวมัน รสอร่อย โทษ และวิธีที่จะออกจากมัน และกิจที่ควรทำในแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ทั้งที่ไม่เที่ยงเหมือนกันเราต้องเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในอริยสัจสี่Q : การเจริญสมาธิระหว่างที่นั่งกับตอนทำงาน อย่างไรดีกว่ากัน?A: ได้สติทั้ง 2 อย่าง ไม่ติดกับรูปแบบ อยู่ที่การฝึกและความชำนาญ รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม สะดวกเวลาไหนทำเวลานั้นQ: ทำอย่างไรน้องที่ภาวนามาด้วยนิสัยจะดีขึ้นได้ ?A: ถ้ามีเหตุแห่งการพัฒนา การก้าวหน้า หลุดพ้น ย่อมมีได้ ให้พึ่งตนเอง ลงมือทำเอง พึ่งตนพึ่งธรรมQ: ได้ยินเสียงต่าง ๆ ระหว่างนั่งภาวนา ?A: หากนั่งสมาธิแล้วเห็นภาพได้ยินเสียงแล้วตามไป อาจจะวิปลาสภาพ วิปลาสเสียงได้ อย่าตามแสง เสียง ภาพไป ให้เห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง คือ เห็นแต่ไม่ใส่ใจไปในมัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
15.1.202259 Protokoll, 5 Sekunden
Episode Artwork

บุญเริ่มที่ใจ [6501-7q]

Q : ขณะใส่บาตรควรยืนหรือนั่งจึงจะเหมาะสม?A : ขึ้นอยู่กับจิตศรัทธาของผู้ให้ ที่ให้ด้วยความเคารพ โดยไม่ยึดติดพิธีกรรมว่าแบบนี้เท่านั้นแบบอื่นไม่ได้Q : การอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ ควรทำระหว่างหรือหลังใส่บาตร?A : บุญ เกิดตั้งแต่ ก่อนให้ ระหว่างให้และหลังให้ แค่คิดว่าเราจะทำก็เป็นบุญแล้ว เพราะจิตเรามีความสุข ที่สำคัญต้องมี “มโนกรรม” คือ ต้องตั้งจิตเอาไว้ว่าจะให้ คิดด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ยิ่งมีสมาธิมาก ยิ่งส่งได้ไกลและทำโดยไม่สงสัยว่าบุญที่ทำจะถึงหรือไม่Q : การที่นำปัจจัยใส่ซองทำบุญแล้วเขียนชื่อญาติที่ล่วงลับ ให้พระช่วยแผ่บุญ แผ่ส่วนกุศลให้ แบบนี้ทำได้หรือไม่ ?่A : การที่เราระลึกถึงบรรพบุรุษ แล้วเราทำบุญอุทิศให้ท่าน เป็นหน้าที่ของลูกหลาน ที่ต้องทำอยู่แล้ว การทำบุญในนามของท่าน ก็คือ อุทิศให้ท่านQ : ทำบุญแล้วต้องกรวดน้ำที่โคนต้นไม้ใหญ่ บุญจึงจะถึง แบบนี้ใช่หรือไม่?A : การทำบุญ ต้องมี “มโนกรรม” มาก่อน ส่วนพิธีกรรม สามารถทำได้ภายหลัง / การกรวดน้ำ (กายกรรม) การเอ่ยชื่อ (วจีกรรม) คือ หากไม่มีจิตที่เป็นบุญ (มโนกรรม) บุญย่อมไม่ถึงQ : การถวายสังฆทาน ที่เวียนไป เวียนมา เราควรตั้งจิตอย่างไร บุญจึงจะไม่เศร้าหมอง?A : การถวายสังฆทาน คือ การถวายสิ่งของที่ควรแก่สมณะจะบริโภค ให้แก่ภิกษุสงฆ์โดยไม่เฉพาะเจาะจง ให้เราตั้งจิตด้วยดีว่า เราจะถวายแด่สงฆ์โดยมีของสิ่งนี้เป็นตัวแทน และมีพระที่ท่านนั่งอยู่เป็นประธานตัวแทนสงฆ์ โดยระมัดระวังอย่าให้เกิดอกุศลในจิตของเราQ : เมื่อทำบุญแล้วโพสต์ให้ผู้อื่นอนุโมทนาบุญด้วย ผู้ที่อนุโมทนาบุญด้วยสามารถรับบุญได้หรือไม่?A : ความดีเกิดขึ้นที่จิต เราเห็นคนอื่นทำความดีแล้วเราดีใจด้วย ความรู้สึกดีใจนั่นแหละ คือ บุญ เห็นเขาทำเราก็อยากทำ เป็นการส่งความดีต่อ ๆ กัน เหมือนการต่อเทียนQ : ความขุ่นเคืองใจ ที่กลิ่นควัน/สุนัขเพื่อนบ้าน เข้ามาในบ้าน คือการโกรธหรือไม่ มีโทษอย่างไร?A: ในเรื่องนี้ มีลำดับขั้นการทำงานของโทสะอยู่ เรียงจากโทษมากไปหาน้อย พยาบาท โทสะ โกธะ ปฏิฆะ (ขัดเคือง) อรติ (ไม่พอใจ) กรณีของคุณย่า พอเราตั้งความพอใจว่าในบ้านเรา อย่างอื่น อย่าเข้ามารบกวน พอเข้ามา ก็จะไม่พอใจและถ้าเผลอสติ มันจะเลื่อนขึ้นไปเป็นความขัดเคือง ว่าทำไมเค้าทำแบบนี้ พอเลื่อนขั้นขึ้นมา แสดงว่าเราต้องเผลอสติแล้ว เพราะถ้ามีสติ มันจะไม่เลื่อนขึ้นมาเป็นความขัดเคือง พอสะสมความขัดเคืองแล้วเราตั้งสติ ไม่พอ มันก็จะเลื่อนขึ้นมาเป็น “โกธะ” หากเราไม่กำจัดอาการนี้ออกไป มันก็จะเติบโตขึ้น สะสมต่อไป กลายเป็น “โทสะ” หากยังสติไม่พอ ยับยั้งไม่ได้อีกจะเริ่มเป็น ”พยาบาท”กรณีของคุณย่า พอมีความขัดเคือง แล้วพยายามยับยั้ง ไม่ให้เลื่อนไปเป็นความโกรธ นี่คือ ใช้เทคนิค”ลิ่มสลักอันน้อยมางัดลิ่มสลักอันใหญ่” งัดอกุศลกรรมออกไป อย่าไปคิดไม่ดีกับเขา ไม่ให้ไปถึงโทสะ อย่าให้จิตใจเราวุ่นวายไปจนถึงโกธะ ให้หยุดที่ขัดเคืองก็พอ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8.1.202258 Protokoll, 46 Sekunden
Episode Artwork

สมาธิจะไม่ได้ด้วยการข่มขี่ บังคับ [6452-7q]

Q: เพราะเหตุใดปฏิบัติธรรมแล้วมีอาการแน่นหน้าอก ปวดหัว นอนไม่หลับ ? A: ถ้าเราปฏิบัติแล้วทำด้วยตัวเองได้ อะไรที่ไม่ดี ละได้ เมื่อทำได้แล้วจึงอยากได้เพิ่มขึ้น เพราะอยากจึงบังคับ เพราะบังคับจึงปวดหัว แน่นหน้าอก เครียด นอนไม่หลับ จิตไม่สงบ / สติ สมาธิ ความสงบ จะไม่ได้ด้วยการข่มขี่ บังคับ การห้ามหรือการปรุงแต่ง แต่จะได้ด้วยการ ประคบประหงม ประคับประคอง / สมาธิเป็นของประณีต เป็นของระงับ “ยิ่งอยากได้ ยิ่งไม่ได้” การนอนไม่หลับ มีอยู่ 2 อย่าง1. การนอนไม่หลับแบบดี คือจิตเป็นสมาธิแล้วนอน ตื่นมาไม่รู้สึกเพลีย เพราะร่างกายพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ด้วยสติที่มีกำลังจึงรู้สึกตัวอยู่ตลอดเหมือนไม่หลับเลย2. การนอนไม่หลับแบบอินซอมเนีย (โรคนอนไม่หลับ) เกิดเพราะความเครียด เครียดแล้วเก็บมาคิด ยิ่งคิดยิ่งนอนไม่หลับ ข่มตาให้หลับ ก็ไม่หลับ หรือหลับไปไม่นานก็ตื่น กลับมาคิดเรื่องเดิม ตื่นแล้วเพลียวิธีการแก้ไข คือ อย่าให้มีความอยาก พระพุทธเจ้าท่านเคยเปรียบไว้กับแม่โคปีนภูเขา ที่มันจะพยามกินหญ้าตามภูเขาไปเรื่อย ๆ แม่โคที่ไม่ฉลาด เท้าหลัง เท้าหน้ายืนอยู่บนหินที่ง่อนแง่น จะก้าวต่อหรือถอยหลังก็ไม่ได้ ก็ล้มลง แม่โคที่ฉลาด จะหาจุดยื่นที่มั่นคงแล้วเดินก้าวเท้าไปข้างหน้าได้มั่นคง ยกตัวอย่างนักบัญชีในสมัยพุทธกาล ชื่อ “คณกโมคคัลลานะพราหมณ์” ท่านมีวิธีการฝึก คำนวณ ซึ่งทั้งต้องเก่งทั้งการนับและการคูณ หากจะนับสิบได้ ต้องนับหน่วยก่อน จะนับพันได้ ต้องนับร้อยได้ก่อน ต้องเป็นขั้นเป็นตอน กระโดดข้ามไม่ได้ เช่นเดียวกันกับธรรมะวินัยของพระพุทธเจ้า เราต้องฉลาดในการแยกแยะความคิด เริ่มจากสังเกตความคิด อย่าบังคับความคิด ขั้นต่อไปค่อยแยกแยะว่าอะไรดี ไม่ดี แล้วเอาจิตไปในทางดี ไม่เอาความคิดไม่ดี ถ้ามีความคิดไม่ดี รีบละ(ไม่ใช่บังคับความคิด แต่ไม่ใส่ใจไปในมัน) พระพุทธเจ้ายกตัวอย่างเปรียบเทียบ เรื่องของสัตว์ 6 ชนิด (จระเข้ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง นก งู) นำมาผูกไว้กับเสา สัตว์แต่ละชนิดที่มีเรี่ยวแรงอยู่ก็จะพยามกลับไปยังที่กิน ที่เที่ยวของมัน “จิตเราน้อมไปในสิ่งไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง” ถ้าเราน้อมไปตามความคิด ความคิดก็จะมีพลัง ถ้าเราไม่น้อมไปตามความคิด ความคิดนั้นก็อ่อนกำลัง ในที่นี้ เราจะบังคับไม่ได้Q: เมื่อมีกามตัณหา เราควรระงับอย่างไร ?A: กามตัณหา ดับได้ด้วยมรรค 8 (สามารถนำมาใช้ได้ทุกข้อ) หรือ ใช้วิธีคู่ตรงข้ามของกามตัณหาคืออสุภะ พิจารณาลงไป เห็นโดยเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด ไม่น่ายินดีQ: เมื่อประสบเหตุทุกใจจะมีวิธีหรืออุบายออกจากทุกข์อย่างไร ?A: ทุกข์ แล้วไปตามทุกข์ คือ เพลินไปในทุกข์ ทุกข์เพราะรู้สึกว่านั่นเป็นของเรา “หากยึดถือตรงไหน ทุกข์ใจตรงนั้น” เราจะวางความยึดถือได้ ต้องกำจัดความพอใจในสิ่งนั้น โดยอาศัย มรรค 8 / ศีล สมาธิ ปัญญา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1.1.202259 Protokoll, 36 Sekunden
Episode Artwork

จะรักษาและตั้งศรัทธาได้อย่างไร [6451-7q]

Q: “ตมฺมโย" หมายถึงอะไร ?A: “ตมฺมโย” แปลว่า ยังเกี่ยวเนื่องด้วยอยู่ / เกาะอยู่ / ไม่เป็นอิสระจากสิ่งนั้น“อตมฺมโย” แปลว่า ภาวะที่ไม่ได้เนื่องด้วยสิ่งนั้น / ไม่ได้เกาะเกี่ยวสิ่งนั้น (ณ ที่นี้ หมายถึงนิพพาน)เปรียบดังอุปมาอุปไมย ดอกบัวอาศัยโคลนตมเกิดแต่พอโผล่พ้นน้ำแล้วไม่ได้โดนโคลนตมนั้นอีก คือแยกจากกัน ผ่องแผ้วจากกัน / เราปฏิบัติไปตามทางมรรคจนถึงนิพพานแล้วแต่เราไม่ได้ยึดถือนิพพานนั้นไม่เกี่ยวเนื่องนิพพานนั้น เพราะนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่เรารู้รอบแล้วQ: เมื่อหมดศรัทธากับครูบาอาจารย์ควรทำอย่างไร?A: นี่เป็นโทษของศรัทธา (อ้างอิง โทษของศรัทธา “ปุคคลปสาทสูตร”) หากบุคคลที่เราศรัทธา มีเหตุเปลี่ยนไปจากเดิม แล้วเราไม่ศรัทธาในภิกษุเหล่าอื่น ไม่เลื่อมใส ไม่คบหา ในภิกษุเหล่าอื่น ก็จะไม่ได้ฟังธรรม เมื่อไม่ได้ฟังธรรมก็จะเสื่อมจากสัทธรรม / เราควรตั้งศรัทธาไว้ในภิกษุเหล่าอื่น ฟังความคิดเห็นของท่าน เราจะตั้งอยู่ในสัทธรรมนั้นได้Q: ศรัทธามาจากไหน / จะรักษาศรัทธาไว้ได้อย่างไร?A: ทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธา / ถ้าคนที่มีทุกข์แล้วเห็นไม่ถูก ศรัทธาไม่เกิดทุกข์ มี 2 อย่าง คือ1. ร้องไห้คร่ำครวญ ทุบอก ชกตัว ถึงความเป็นผู้งุนงง/พร่ำเพ้อ/กระด้างกระเดื่อง/โกรธ/กระฟัดกระเฟียด แสดงความไม่พอใจให้ปรากฏ2. แสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่าใครหนอจะรู้ทางออกของความทุกข์สัก 1 หรือ 2 วิธี A : ทุกข์ ในการแสวงหาที่พึ่งภายนอกตรงกับการที่ให้ไปตั้งศรัทธาที่ภิกษุเหล่าอื่น ฟังความคิดเห็นของท่าน เราจะสามารถตั้งอยู่ในสัทธรรมนั้นได้และจะมีศรัทธาขึ้นมาได้ โดยต้องมีศรัทธาด้วยตนเองอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวแบบโสดาปัตติผล เพราะศรัทธาเป็นสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นด้วยตัวของเราเอง และทำให้เจริญเพื่อผลิตผลที่ดีในภายภาคหน้าQ: เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้วควรสละเพศฆราวาสบวชภายใน 7 วัน มิฉะนั้น จะสิ้นชีวิต ?A: การรักษาศีล 8 จะสามารถรองรับคุณธรรมนี้ได้Q: เพราะอะไรจึงกล่าวว่าการภาวนาเป็นบุญสูงสุด ?A: “บุญ” เป็นชื่อของความสุข การสร้างบุญด้วยการ “ภาวนา” ได้มากที่สุด เพราะทำแล้วได้เดี๋ยวนั้น การนั่งสมาธิเมื่อนั่งสมาธิความสุขเกิดขึ้นทันที มีผลเป็นปัญญา และจะทำให้ใกล้ต่อประตูสู่นิพพาน แต่ควรสร้าง บุญ ทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ไปพร้อมกัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
25.12.202157 Protokoll, 36 Sekunden
Episode Artwork

คำสอนที่แท้จริง [6450-7q]

Q: พุทธศาสนามีกี่นิกายA: ศาสนาพุทธ หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า มีเพียงหนึ่งเดียว ความเห็นต่างเกิดจากผู้ที่ยังไม่บรรลุ ความเห็นต่าง การตีความไม่เหมือนกันมีได้ แต่ต้องไม่แตกกัน นิกายใช้ขึ้นมาเพื่อบ่งบอกว่ากลุ่มนี้เหมือนหรือต่างกัน เริ่มมีหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานขณะทำสังคยานาครั้งที่ 1 ในปัจจุบันนับได้ 3 นิกาย คือ มหายาน เถรวาท วัชรยาน ให้กลับมาที่คำสอนในมหาประเทส 4 คำสอนใดที่จำมาแล้วรู้มาแล้ว อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ หรือคัดค้าน ให้นำมาตรวจสอบในพระวินัย ถ้าลงกันได้ก็ให้ทรงจำไว้ จะสายไหนอย่าเอามาเป็นสาระสำคัญ ให้ดูว่าสามารถปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญาได้หรือไม่ ดับทุกข์ได้หรือไม่ คำสอนนั้นต้องดับทุกข์ได้Q: ความแตกต่างมหานิกายกับธรรมยุตA: เหมือนกันตรงที่ใช้คัมภีร์เล่มเดียวกัน ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นข้อดี อยู่ที่แต่ละกลุ่มจะปฏิรูปเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางไหนQ: ความเคร่งพระป่าพระบ้านA: ให้ดูที่ข้อปฏิบัติของภิกษุนั้น ๆ อย่าดูเพียงเปลือกนอกQ: ทำบุญนอกนิกายจะได้บุญหรือไม่A: ทานควรให้ บุญมากน้อยขึ้นอยู่กับสามผู้ให้ และสามผู้รับQ: บวชนอกนิกายบาปหรือไม่A: ขึ้นอยู่กับศรัทธา และคำสอนนั้นถูกปฏิบัติถูกหรือไม่ เป็นไปเพื่อการดับทุกข์หรือเปล่า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
18.12.202158 Protokoll, 7 Sekunden
Episode Artwork

พ้น..เหนือบุญเหนือบาป [6449-7q]

Q: ศีลห้าไม่ครบ จะทำฌาน เข้าถึงธรรมได้หรือไม่A: ‘สมาธิ คือ พละกำลังของจิต’ เมื่อศีลไม่ครบ จะมีความร้อนใจ ดังนั้นสมาธิ/ฌานอาจจะทำได้บ้าง แต่ไม่เต็ม และไม่สามารถละกิเลสได้Q: ทำอย่างไรให้ลูกพูดความจริงA: ให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ห้ามเสียจากบาป พ่อแม่จิตใจต้องนุ่มนวล ประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 มีเวลาใช้เวลาร่วมกัน อย่าให้เงื่อนไขการดำเนินชีวิต คือ กาม บีบคั้นQ: กรรมที่ทำชาตินี้และให้ผลในชาตินี้A: วิบาก (การให้ผล) ของกรรมมี 3 ระดับ ในปัจจุบัน ในเวลาถัดมาและในเวลาถัดมาๆ อีก เป็นธรรมดา เป็นไปตามวาระ เป็นอจินไตย ‘อย่าไปคิดว่าทำไมกรรมไม่ให้ผล กรรมทุกอย่างให้ผลแน่นอน’ มีเหตุปัจจัย และให้ตั้งมั่นอยู่ในกรรมดีQ: สติ 5 กับการเป็นผู้รู้A: สติที่มีลักษณะ 5 อย่างที่ไล่เรียงไปตามลำดับ 1) แค่สังเกตเฉย ๆ ไม่ตามไป 2) แยกแยะได้ 3) แยกตัวออก 4) มีทางเลือก 5) เลือกที่จะเอาจิตไว้กับสติ แล้วการที่จิตตั้งมั่นอยู่กับสติคือระลึกได้ จะมีความพ้นหรือวิมุตติจากผัสสะต่าง ๆ ที่มากระทบ ซึ่งจิตจะพ้นได้สติต้องมีกำลังQ: ฆ่าเพื่อป้องกันตัวเองบาปหรือไม่ A: การฆ่าอย่างไรก็บาป แต่จุดที่ต้องแยกแยะ คือ ศีลกับบาป การผิดศีลทุกข้อ เป็นบาป ซึ่งการฆ่าบางอย่างอาจจะบาป แต่ไม่ได้ผิดศีล ‘ศีลให้ดูที่เจตนา’ ศีลจะเป็นจุดที่บอกว่าบาปมากหรือน้อย ดังนั้นการฆ่าเพื่อป้องกัน บาปก็ลดลงตามเจตนานั้นที่มากหรือน้อย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11.12.202150 Protokoll, 2 Sekunden
Episode Artwork

อนัตตาเป็นคุณสมบัติที่มาก่อน [6448-7q]

Q: มีธรรมะใดหรือไม่ที่เป็นอนัตตาโดยไม่ผ่านคุณสมบัติไม่เที่ยงและเป็นทุกข์A: อนัตตาเป็นคุณสมบัติที่มีมาก่อน คุณสมบัติของสิ่งที่ต้องขึ้นกับสิ่งอื่น ไม่เป็นอัตตา เพราะความเป็นอนัตตาจึงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในอนัตตลักขณสูตรถึงความเป็นอนัตตาของขันธ์ทั้ง 5 สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เราไม่ควรจะเห็นว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา แต่ควรจะเห็นว่า เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา อุบายในการออกจากความยึดถือนี้คือมรรค 8Q: คนที่ยังไม่ผ่านการขัดเกลา แต่คิดว่าตนดีพอแล้ว ควรจะทำอย่างไรA: เป็นเรื่องของความยึดถือในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดี เมื่อเรายึดถือในสิ่งที่ดี ความยึดถือนั้นไม่ดี เพราะบาปอกุศลธรรมอันเอนกจะตามมา ให้พิจารณาตามกระบวนการของอริยสัจ 4Q: ความสัมพันธ์ของคำว่า สังขาร วิสังขาร และสังขตธรรม อสังขตธรรมA: สังขาร คือ กิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูปมีอยู่ในสิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสังขาร วิสังขารก็เป็นลักษณะตรงข้ามกัน สังขตธรรมเป็นธรรมที่มีการปรุงแต่ง มีการเกิดปรากฏ มีการเสื่อมปรากฏ และเมื่อตั้งอยู่มีสภาวะอื่นปรากฏ อสังขตธรรม ก็คือ ธรรมที่ไม่มีการปรุงแต่ง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4.12.202158 Protokoll
Episode Artwork

อุปกิเลสและทางออกของความท้อแท้ [6447-7q]

Q: อุปกิเลส16 มีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับทาน ศีล ภาวนาA: ปกติจะแบ่งเป็นส่วนดี และส่วนไม่ดี ส่วนดี คือ นิโรธกับมรรค ส่วนไม่ดี คือ ทุกข์กับสมุทัย อุปกิเลสอยู่ในส่วนไม่ดี แปรผกผันกับส่วนดี คือ ทานศีลภาวนา อุปกิเลสมีความหยาบละเอียดในแต่ละข้อไม่เท่ากัน แบ่งตามระบบของมรรค มรรคขั้นหยาบใช้ปรับอุปกิเลสหยาบ มรรคละเอียดปรับอุปกิเลสขั้นละเอียด เหมือนกระบวนการการได้มาซึ่งทอง ต้องใช้เครื่องมือให้เหมาะสม ปฏิบัติไปตามลำดับขั้น ทานศีลภาวนา หรือศีลสมาธิปัญญา หรืออริยมรรคมีองค์8 ที่ต้องทำไปตามลำดับผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทำได้แล้วรักษาให้ดี ถ้าประมาทจะตกต่ำได้ เพราะธรรมชาติของจิตย่อมน้อมไปตามสภาวะแวดล้อมได้ รักษา 2 ทาง 4 ด้านให้ดีให้น้อมไปทางดี ฝึกจากหยาบไปละเอียดจะทำได้ง่ายขึ้นQ: ประพฤติแต่อุปกิเลสจะบรรลุธรรมได้หรือไม่A: เหตุเงื่อนไขปัจจัยมีอยู่ จะสร้างบ้านได้ก็ต้องเริ่มที่ฐาน จะเห็นธรรมได้ก็ต้องมีทานศีลภาวนา จะบรรลุนิพพานได้ก็ต้องกำจัดอุปกิเลส16Q: ท้อแท้เพราะปฏิบัติไม่ก้าวหน้าควรทำอย่างไร A: ความก้าวหน้าหรือไม่ อยู่ที่เงื่อนไขปัจจัย พละ5 มีหรือไม่ ความเพียรทำตรงไหนก็สำเร็จอยู่ตรงนั้น ส่วนสมาธิอาจจะยังไม่ออกผลตามที่คุณอยาก ความอยากทำให้ท้อแท้ ถ้าไม่อยากแต่สร้างเหตุ จะได้ ทำไปตามระบบของการปฏิบัติ คือ ศีลสมาธิปัญญา บรรลุเร็วช้าอยู่ที่อินทรีย์5 ถ้าไม่อยากความท้อแท้เกิดไม่ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.11.202158 Protokoll, 7 Sekunden
Episode Artwork

ศรัทธากับสัมมาทิฏฐิอะไรมาก่อนกัน [6446-7q]

Q: พราหมณ์ให้ผ้าผืนเดียวแล้วไม่เปลือยหรือA: เป็นเรื่องของเอกสาฏกพราหมณ์ที่สละผ้าคลุมที่มีผืนเดียว ไม่ใช่ผ้านุ่งจึงไม่เปลือย เขาข้ามความตระหนี่หรือความอายไปได้ แสดงว่าต้องเห็นอะไรที่ยิ่งไปกว่า ประเด็นคือ ต่อให้ผ้าผืนนั้นเป็นผืนสุดท้าย แล้วคุณจะให้ได้มั้ย สามารถให้สิ่งที่รักเพื่อสิ่งที่เรารักเหมือนโพธิสัตว์ได้หรือไม่Q: การมีเพื่อนสองมีนัยยะอย่างไร การมีความคิดนึกไปเองใช่เป็นเพื่อนสอง?A: ถ้าดูเฉพาะคำศัพท์ก็เป็นไปในทางดี เช่น กัลยาณมิตร แต่ถ้าดูจากบริบทที่พระพุทธเจ้าสอนภิกษุ เพื่อนสอง คือ ตัณหา ส่วนการคิดนึกไม่ใช่ตัณหา ความคิดเป็นวิตกวิจารณ์ แต่อุปาทานในความคิดนั้นต่างหาก คือ ตัณหาQ: ศรัทธากับสัมมาทิฏฐิ อะไรมาก่อนกันA: อยู่ที่เป็นประเภทไหน ถ้าเป็นสัทธาวิมุต สัทธานุสารี อันนี้ศรัทธามาก่อน ถ้าเป็นกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ หรือธัมมานุสารี อันนี้สัมมาทิฏฐิมาก่อน ทั้งนี้ต้องมีทั้งสองอย่างประกอบกันจึงจะไม่หลุดจากทาง เพราะถ้าศรัทธามากกว่าปัญญาจะกลายเป็นงมงายยึดติด ถ้าปัญญามากกว่าสติมากกว่าศรัทธาก็จะกลายเป็นยกตนข่มท่านตีตัวเสมอท่าน ให้ปรับให้ดีจะทำให้อินทรีย์แก่กล้าบรรลุธรรมได้ ในอริยมรรคพระพุทธเจ้าจะให้สัมมาทิฏฐินำ แต่ในไตรสิกขาจะให้ศีลที่มาจากศรัทธานำ เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่าบุคคลประเภทไหนดีกว่ากันQ: เจริญฉันทะอย่างไรไม่ให้ burn outA: คนที่ burn out มีทั้งเพียรย่อหย่อน และที่มากเกินพอดี การเจริญอิทธิบาทสี่ต้องมีธรรมเครื่องปรุงแต่ง อาศัยสมาธิ และธรรมทั้งสี่เป็นประธานกิจ สมาธิจะเป็นตัวปรับเป็นอาหารหล่อเลี้ยงทำให้รักษาสิ่งที่ได้แล้วไว้อยู่ได้Q: ตั้งทิฏฐิไว้ต่างกันก็มีที่มาต่างกันจริงหรือ และสามารถปรับเปลี่ยนทิฏฐิเดิมได้หรือไม่A: ความปรารถนาทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ ที่ทำมาตอนนี้ดีอยู่แล้ว ต่อให้รู้หรือไม่รู้ทิฏฐิที่ตั้งไว้แต่เดิม ก็ควรเดินตามมรรค ฝึกให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปQ: การรับมือ fake news ตามแบบพุทธะA: ไม่ว่าจะเป็น news หรือ fake news ก็ควรรับมือด้วยโยนิโสมนสิการ จะมีโยนิโสมนสิการได้ก็ต้องเริ่มด้วยสติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
20.11.202157 Protokoll, 4 Sekunden
Episode Artwork

เจ็บกายไม่เจ็บใจ [6445-7q]

Q: เมื่อป่วยหนักควรวางจิตอย่างไรกับทุกขเวทนาA: เป็นภัยที่ต้องเจอแน่นอน เมื่อเจอแล้วจะทำอย่างไรให้ยังเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ หลักการก็คือ กายกับจิตเป็นคนละอย่างกัน จิตมายึดกายโดยความเป็นตัวตน แต่จิตก็ไม่ใช่ว่าท่องเที่ยวไป จิตนี้มีเกิดมีดับตลอดเวลา มันจึงเข้าไปยึดถือได้หมด มองเห็นความจริงนี้ว่า จิตเองก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย จะแยกกายออกจากจิตได้ จะเห็นตรงนี้ต้องมีกระบวนการไล่ลงไป คือ จิตต้องเป็นสมาธิ มีสติ มีความเพียร มีศีล มีศรัทธา เมื่อแยกได้แล้วจะเหมือนโดนลูกศรเพียงดอกเดียว จิตจะไม่ก้าวลงในอารมณ์ เจ็บกายไม่เจ็บใจ จะผ่านไปได้ แต่ถ้าไม่เคยฝึกมาก่อน อย่าตกใจ แล้วให้ระลึกถึงศรัทธาที่หยั่งลงมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์พร้อมกับศีลที่ไม่ขาดไม่พร้อย นั่นคือ โสตาปัตติยังคะ 4 ที่จะใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดสติ เมื่อมีสติสมาธิจะมาเป็นช่วง ๆ ถ้าช่วงที่มีทุกขเวทนามาก อาจจะยังทำไม่ได้ แต่ให้ระลึกไว้ว่าช่องทางย่อมมีเสมอ บางครั้งที่สบายสมาธิจะเกิดได้ ให้เห็นว่ากายนี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงแม้ในสุขเวทนาหรือทุกขเวทนานั้น ๆ ตั้งสติไว้ไม่เพลินไปในเวทนา น้อมมาอย่างนี้จะเกิดปัญญา สุขทุกข์ก็ไม่เอา เป็นอิสระจากตัณหาได้ คนที่เคยฝึกมาอย่างดีเขาจะสามารถแยกจิตออกจากกายแม้ในขณะมีทุกขเวทนานั้นได้เลยทีเดียว เป็นเรื่องของทักษะไม่ว่าจะเป็นแบบสุขา/ทุกขาปฏิปทา ในเรื่องการวางจิตสุดท้าย ควรรักษาไว้ตลอดเวลาแม้ยังไม่ได้ป่วย เพื่อที่ว่าเมื่อเวลานั้นมาถึงไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง ใช้สถานกราณ์เป็นเครื่องบ่มให้จิตเกิดผลเป็นอริยะQ: ศีลข้อมุสากับการค้า และทำอย่างไรไม่ให้ถูกหลอกA: ศีลควรรักษา ศีลรักษาได้แล้วศีลนั้นจะรักษาเราให้เจริญยิ่งขึ้นไป การถูกหลอกหรือไม่ขึ้นอยู่กับจิตที่มีราคะโทสะโมหะในจิตใจของเราเอง เปลี่ยนได้ทีตัวเรา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.11.202156 Protokoll, 23 Sekunden
Episode Artwork

เมื่อสุข อย่าประมาท [6444-7q]

"ถ้าคุณได้ดีในชีวิต รักษาให้ดี แต่ไม่ใช่หวงกั้น"ได้ดีแล้วอย่าประมาท เพราะถ้ามีสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตแล้วคุณเพลินไป มันจะกลายเป็นอกุศลทันที มีอุปาทานเกิดขึ้น ทำให้มีเรื่องราวจากตัณหา เกิดการแสวงหาการตระหนี่ และความหวงกั้นเกิดขึ้นได้ นี้คือความประมาทจากเหตุแห่งความดีที่เรามี ทำไปเรื่อย ๆ จนคิดว่าอกุศลธรรมจะไม่ให้ผล ให้ผลแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับบุญรักษาเดิมที่มี ถ้าประมาททำไปเรื่อย ๆ จะกลับตัวยาก ถึงจุดที่เรียกว่า point of no return เช่นท่านพระเทวฑัต และเวลาที่ผลกรรมย้อนกลับมานั้นยิ่งแรงกว่าเดิม เหมือนการกลับมาของบูมเมอแรงค์ อย่าไปเล่นกับมาร คนเรามีทางเลือกว่าจะตกอยู่ในปัญหาตัณหานั้น หรือแสวงหาผู้ที่หาทางออก เหมือนท่านยสกุลบุตรที่ได้กัลยาณมิตร คือ พระพุทธเจ้าชี้ทางออกให้ เราจะดูได้อย่างไรว่าประมาทไปแล้วหรือยัง โดยดูที่เมื่อมีสุขแล้วเพลิดเพลิน นี้คือ ประมาท แต่ถ้าเห็นความสุขที่ได้มาโดยธรรมว่าเป็นของไม่เที่ยง นี้เป็นกุศลธรรม คือ ความไม่ประมาท คนเราเลือกได้ว่าจะเติมสิ่งที่ขาดด้วยตัณหา หรือด้วยมรรค การเดินมาตามมรรคจะทำให้เข้าใจในโลกธรรม 8 เราจะไม่ยินดียินร้าย เห็นเป็นธรรมดา มรรคทางที่เรียบง่าย แต่เมื่อทำได้ถึงที่สุด คือ ความยิ่งใหญ่ จะมีสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เราต้องมีสติอยู่ตลอดแล้วเราจะไปได้ เพราะสติคือไม่ประมาท Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6.11.202153 Protokoll, 7 Sekunden
Episode Artwork

ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดถือ และผลของบุญบาป [6443-7q]

Q: ผลของบุญบาปมีจริงหรือไม่A: ยกกรณีของพระพุทธเจ้า ทำความดีมามากจนได้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนกรรมไม่ดีก็มี ซึ่งความไม่ดีทำให้รับผลไปนรก ส่วนเศษกรรมก็มาส่งผลในชาติสุดท้าย ให้เห็นว่าทุกข์ในนรกนั้นมากกว่าทุกข์ในโลกมนุษย์ ให้ยอมรับมันแล้วรีบทำกรรมดี ดีกว่าจะคุ้มกว่ากันมาก บุญหรือบาปสามารถทำได้โดยไม่เกี่ยวกับสุขหรือทุกข์ กรรมเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาอยู่เนือง ๆQ: ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างไรA: ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว จะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นจะปล่อยวางได้ ความยึดมั่นถือมั่นมีตั้งแต่เป็นตัวเราของเรา ยังมีความเข้าใจไม่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ความที่เราเข้าใจไม่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละจึงเป็นความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนเป็นอัตตาขึ้นมา เพราะฉะนั้นความไม่ยึดมั่นถือมั่น คือ ความเข้าใจที่ถูกว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นอนัตตา นี้เป็นปัญญาจะตัดความยึดมั่นถือมั่นได้ อยู่แบบไม่ทุกข์Q: ถ้าศึกษาจากพระไตรปิฏกเองจะก่อเกิดความยึดมั่นถือมั่นหรือไม่Q: เป็นไปได้ เหมือนการจับงูที่ไม่ถูกจะแว้งกัดได้ การศึกษาจะเป็นงูพิษถ้ามีความยึดถือในธรรมนั้น เพราะความเมาในความเป็นพหูสูตร ต้องระวังQ: ความประมาทเป็นชื่อของอะไรA: ความประมาทเป็นชื่อของความตาย ดั่งการตายที่มีที่ไปแตกต่างกันระหว่างนางมาคัณฑิยา และนางสามาวดี คนทึ่ไม่ประมาทต่อให้ตายไป ก็ชื่อว่าไม่ตาย แต่คนที่ประมาทต่อให้มีชีวิตอยู่ ก็ชื่อว่าตายแล้วQ: รับประทานอาหารก่อนใส่บาตรได้หรือไม่A: ได้ จัดเป็นสัดส่วนแยกออกมาให้ชัดเจนQ: เปรตเป็นอย่างไรA: เปรตเป็นลักษณะของความตระหนี่ ทุกข์ มีความแห้งผาก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
30.10.202150 Protokoll, 38 Sekunden
Episode Artwork

พลังจิตรักษาใจ [6442-7q]

Q: รู้สึกว่ามีตัวเราแล้วจะทุกข์ ควรทำอย่างไรA: เป็นสิ่งที่ดี เพราะแสดงว่ามีสติ ดีกว่าคนที่เห็นทุกข์เป็นสุข ขณะนี้ คือ เห็นแล้วแต่ยังละไม่ได้ จะละได้มีขั้นตอนต่อไปนี้ เข้าใจให้ถูก มีสัมมาทิฏฐิ มีสติระลึกได้อยู่เรื่อย ๆ ว่านี้คือ อนัตตา แยกแยะลงไป แล้วให้มีปัญญาชำแรกลงไป ทำเหมือนเดิมตามทางเดิม คือ เริ่มจากตรงใจ เพราะใจมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ สติมีวิมุตติเป็นที่แล่นไปสู่ วิมุตติมีนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่ พิจารณาบ่อย ๆ ทำให้ละเอียด เข้าถึงวิมุตติให้ได้อยู่เรื่อย ๆ นิพพานจะปรากฏQ: พลังจิตเกิดได้อย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรA: พลังจิตมีกำลังมากกว่าทางกาย ในวิชชา 8 อาสวักขยญาณมีประโยชน์สูงสุด เพราะทำให้สิ้นกรรมไปนิพพานQ: สร้างกำลังจิตยามชีวิตเจอวิกฤติได้อย่างไรA: พระพุทธเจ้าเปรียบการฝึกจิตเหมือนการฝึกช้าง ฝึกม้า ผูกจิตไว้ที่สติ พลังจิตอยู่ในส่วนของสติ และปัญญา แต่ก็ต้องเริ่มด้วยสติมาตลอดกระบวนการ ฝึกสติทั้งใน และนอกรูปแบบ เมื่อมีศรัทธาจะทำจริงแน่วแน่จริง อย่ามีข้ออ้างในการเลิกทำความเพียร ให้นำมาปลุกเร้าในการทำความเพียรแทน พละ 5 เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้อยู่ในมรรคได้ ทำให้ตลอดไม่ขาดสาย การรักษาศีลอยู่ได้แม้ในสถานการณ์ที่บีบคั้น นั่นคือ มีกำลังจิตแล้ว จะให้จิตมีกำลังยิ่งขึ้น คือ ไม่โกรธ รักษาจิตให้มีเมตตา อุเบกขา เพราะคนจะเหนือคนได้ก็อยู่ที่จิตนี้ ด้วยจิตใจแบบนี้คุณวิเศษอื่น ๆ ก็จะตามมาQ: อภัยทาน คือ ทานสูงสุด?A: เรียกว่าละเอียดกว่า การอภัยได้เมตตากัน คือ เราไม่ยึดถือเอาไว้ ละกิเลสออกไปได้ ทำให้มีผลสูง เริ่มแรกย่อมลำบากบ้าง ก็ให้ถือว่าเป็นการเพิ่มกำลังจิต เมื่อฝึกจนชำนาญดีมีครูแนะนำแล้ว ย่อมยังประโยชน์สูง ทุกอย่างมาทางผัสสะ พละ 5 จะเป็นกำลังสำคัญ ทำให้เสมอ ๆ กัน จะพัฒนาไปได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.10.202159 Protokoll
Episode Artwork

อวิชชา ความไม่รู้ที่ควรรู้

อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 คนเรามีระดับความไม่รู้ที่แตกต่างกัน การไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไรนั้น แย่กว่าการที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ ความรู้ตรงนี้ คือ เริ่มมีวิชชา เมื่อเริ่มรู้แล้วว่าไม่รู้อะไร และต้องรู้อะไร ต่อไปควรรู้ว่าควรทำอะไรต่อความรู้นั้น และรู้ว่าได้ทำแล้ว นั่นก็คือ กิจที่ควรทำในอริยสัจ 4 ที่ประกอบด้วยรอบ 3 อาการ 12 นั่นเอง เมื่อวิชชามี 8 อวิชชาก็มี 8 เช่นกัน โดยเพิ่มจากอริยสัจ 4 ดังนี้ ความไม่รู้ในอดีต ในอนาคต ทั้งในอดีต อนาคต และในปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ตั้งคำถามที่ฉลาด จึงสามารถใคร่ครวญจนได้คำตอบโดยไล่มาตามสายเกิด และสายดับแห่งปฏิจจสมุปบาท "เพราะอวิชชานั่นแหละมีอยู่ อวิชชาจึงมี" และ "เพราะอวิชชาดับไปนั่นแหละ อวิชชาจึงดับไป" การจะทำอวิชชาให้ดับได้ก็ต้องมีมรรค 8 ที่สมบรูณ์จนก่อให้เกิดสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุต แล้ววิมุตจะเกิดขึ้น อวิชชาดับไป เหนือกันได้ สิ่งที่จะทำให้วิชชาเกิดอวิชชาดับไปไม่มีทางอื่นนอกจากมรรคแปด ความรู้ที่ควรรู้นี้ควรเป็นไปเพื่อนิพพาน ไม่เช่นนั้นแม้แสวงหาความรู้ที่ไม่เป็นสัมโพธิมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้มีภาวะยิ่งเรียนยิ่งไม่รู้ จะมีความรู้เพื่อสัมโพธิได้ก็ต้องสร้างปัญญา ด้วยการหาผู้รู้ สร้างศรัทธาเพื่อให้เกิดปัญญา อวิชชาจะอยู่ไม่ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
16.10.202154 Protokoll, 37 Sekunden
Episode Artwork

สับให้ละเอียด

Q: ค้นหาสวดมนต์แปลเพื่อความเข้าใจได้ที่ไหนA: หาได้ง่าย ๆ ค้นจากอินเทอร์เน็ต เป็นข้อดีที่จะทราบความหมาย จะทำให้ซาบซึ้งยิ่งขึ้น Q: สมาทานศีลก่อนนอนได้หรือไม่A: ทำเวลาไหนก็ดีทั้งนั้น ดียิ่งขึ้นเมื่อสมาทานแล้วทำได้จริง ทำให้เจริญเป็นอริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา Q: น้อมจิตไปเพื่อการนอนเพื่อว่าจะไปดี ดีหรือไม่A: พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ก่อนนอนให้ตั้งจิตว่า บาปอกุศลธรรมอย่าตามเราผู้ซึ่งนอนอยู่ไป และให้แผ่เมตตาเพื่อหลับเป็นสุข การนอนด้วยสติสัมปชัญญะ จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ด้วยพุทธะ Q: กาลที่เหมาะสมต่อการทำวัตรA: เวลาไหนก็ได้ที่สะดวก ที่สำคัญ คือ ทำเป็นวัตร ทำเป็นประจำ Q: สั่งให้เขากำจัดปลวกโดยไม่ตั้งใจศีลจะขาดหรือไม่ แก้ไขอย่างไรA: ดูที่เจตนา มี 3 ระดับ แก้ไขไปตามสถานการณ์ โดยการแผ่เมตตาทำบุญให้จิตจะสบายขึ้นแล้วจะเข้าสมาธิได้  Q: ทำสมาธิมาหลายวิธี สงสัยว่าควรวางจิตไว้ที่ไหนกันแน่A: ใช้เครื่องมือวิธีไหนก็ได้ที่ทำให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นสิ่งที่เกิดที่จิต จิตควรอยู่กับสติ ถ้าสติเกิดจะรู้ความเป็นไปไปในทางกาย ให้ทำการปรุงแต่งทางกายทางจิตให้ระงับ แต่ไม่ใช่ด้วยการบังคับ แต่ด้วยความสงบระงับ สมาธิจะดีขึ้น ๆ แล้วให้มีปัญญาเห็นความไม่เที่ยงตลอดกระบวนการนี้ แม้สติสมาธิก็ไม่เที่ยง แต่ยังคงสติและสมาธิไว้ แล้วจะเหลือจิตล้วน ๆ ให้เห็นจิตเองก็ไม่เที่ยง จะละความยึดถือแม้ในจิตได้ เดินมาตามทางนี้ ทำซ้ำ ๆ ทางเดิมสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่เปลี่ยน ทำให้ละเอียดเหมือนสับหมู ความก้าวหน้าจะมีได้ ส่วนการเห็นนิมิตเกิดได้เมื่อจิตสงบ ให้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง อย่าเพลินตามไป ให้มีสติ Q: สักกายทิฏฐิกับมานะต่างกันอย่างไรA: สักกายทิฏฐิเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นความเห็นตัวตนอัตตา มานะเป็นสังโยชน์เบื้องสูงระดับอรหันต์จึงจะวางได้ Q: งานทางโลกมากทำให้บรรลุช้าจริงหรือไม่A: ไม่แน่ ดูจากจิตตคหบดีก็สามารถบรรลุถึงอนาคามีแม้การงานมาก หรือดูจากภิกษุผู้การงานน้อยก็ยังไม่บรรลุธรรมข้อใดก็มีอยู่ Q: เบื่อนั่งสมาธิควรทำอย่างไรA: เป็นแบบทดสอบ ดั่งสนิมเกิดที่เหล็กเพื่อทำลายเหล็ก กิเลสนี้เกิดที่จิตทำลายจิต ให้ทำตามมรรคแปด Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าเห็นเกิดดับของจริงA: ขั้นแรกก็ต้องคิดก่อน สัญญามาก่อนญาณ จากสัญญาจะมาเป็นญาณได้ก็ด้วยสมาธิ สติ ปัญญา  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9.10.202158 Protokoll, 15 Sekunden
Episode Artwork

กรรมเพื่อสิ้นกรรม (6439-7q)

"วิบากไม่เหมือนกับการกระทำ สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการกระทำนั้น เป็นอจินไตย" Q: กรรมดำกรรมขาวกับชีวิตประจำวันA: กรรม และผลของกรรม มี 4 ประเภท คือ กรรมดำให้วิบากดำ กรรมขาวให้วิบากขาว กรรมทั้งดำทั้งขาวให้วิบากทั้งดำและขาว กรรมไม่ดำไม่ขาวให้วิบากไม่ดำไม่ขาวเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม สีขาวหรือสีดำในชีวิตประจำวัน ก็คือ เราทำความดีหรือความชั่ว ทำผิดหรือทำถูกตามหลักธรรมหรือไม่ ทำแล้วกิเลสลดหรือเพิ่ม เป็นไปตามมรรค 8 หรือไม่ หลักการ คือ พูดดีคิดดีทำดี ประเด็น คือ ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ทำกรรมย่อมได้รับผลของกรรม ไม่ใช่ทำกรรมอะไรไว้ จะได้รับอย่างนั้น วิบากไม่เหมือนการกระทำ เปลี่ยนแปลงได้ตามการกระทำนั้น เหมือนความสัมพันธ์ของเกลือกับความเค็ม ที่ขึ้นกับปริมาณของน้ำที่มี วิบากมากน้อยก็ขึ้นกับปริมาณบุญที่มีดุจเดียวกัน วิบากเป็นอจินไตยยากจะพยากรณ์ แต่ให้มั่นใจได้ว่า กรรมให้ผลแน่นอน ที่น่าสนใจอีกประการ ก็คือ ทำไมทำแต่กรรมขาวจึงไม่สิ้นกรรม เพราะทำความดีก็ยังวนเวียนในกรรมดีนั้น มีสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเห็นความดีความชั่ว แต่ยังขาดสัมมาทิฏฐิในขั้นโลกุตระ คือ ปัญญาเห็นการเกิดการดับ เห็นความไม่เที่ยง จึงจะสิ้นกรรมเหนือโลกได้ ซึ่งกรรมไม่ดำไม่ขาวจะให้วิบากนี้ได้ เหนือโลกได้  Q: พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ธรรมเดียวกันหรือไม่A: ตรัสรู้ธรรมเดียวกัน คือ อริยสัจ 4 มีความเหมือนหรือต่างกันในรายละเอียด เช่น ต้นไม้ที่ทรงตรัสรู้ อายุต่างกัน อริยสาวกซ้ายขาวเหมือนกันต่างที่บุคคล คำสอนที่ประกาศไว้มากหรือน้อย Q: ศีล 227 พระยุคนี้ยังรักษาได้อยู่หรือไม่A: ศีลมีมากกว่า 227 ไม่ว่ายุคไหน ภิกษุต้องรักษาอย่างเคร่งครัด แต่ความสามารถของคนเรานั้นต่างกัน กำลังไม่เท่ากัน ให้เข้าใจ พระเองก็เปลี่ยนแปลงได้ จากไม่ดีมาดีได้ เคร่งไม่เคร่งอย่าดูแค่สีจีวร วัดที่จำ ตราบใดที่ยังไม่ขาดศีลขั้นปาราชิกก็ยังเป็นภิกษุ ศีลอื่นถ้าขาดก็ถือว่าด่างพร้อย แต่ยังคงความเป็นพระ ศีลถ้ารักษาที่จิตข้อเดียวก็จบได้ Q: ลีลาการแสดงธรรมที่แตกต่าง อย่างไรจึงจะพอดีA: ถ้าการแสดงธรรมนั้น เอาธรรมะที่มีโทษน้อยมาระงับธรรมะอันที่มีโทษมากกว่า แล้วสอดแทรกธรรมะอื่นลงไป ก็นับว่าเป็นไปตามธรรม พิจารณาตามกาล ให้รักษาจิตเราไว้ในกุศลธรรม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2.10.20211 Stunde, 1 Minute, 14 Sekunden
Episode Artwork

เอาใจเขามาใส่ใจเรา (6438-7q)

"ตัวเลขอาจจะมีผลหรือไม่มีผล ขึ้นกับว่าศรัทธาของคุณอยู่ที่ตรงไหน"Q: ปฏิบัติธรรมที่บ้านสมควรหรือไม่A: อยู่ที่ไหนสงบให้เอาที่นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นวัด ปฏิบัติมาให้อยู่ในกายนี้ให้อยู่ในใจนี้ ให้กายใจเป็นสัปปายะสถานต่อการภาวนาเป็นการฝึกที่ดี ไม่ต้องง้อสถานที่ เป็นดังนี้แล้วเมื่อสถานการณ์ใดผ่านมาใจเราจะยังผาสุกอยู่ได้Q: ฟังธรรมแล้วอยากจะขอบคุณทีมงานA: เป็นเพราะธรรมะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องเปิดออก ต้องเผยพลังออกมา ดั่งเช่นการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่ปรารภคนที่ต่อเมื่อได้ยินจึงจะเดินมาตามทางนี้ได้Q: ทำบุญพันนึงได้บุญมากกว่าทำร้อย?A: การทำบุญที่ให้อานิสงส์มากขึ้นอยู่กับ 3 ผู้ให้ และ 3 ผู้รับ ผู้ให้ให้ด้วยศรัทธา ก่อนให้จิตน้อมไป ระหว่างให้จิตเลื่อมใส หลังให้จิตปลื้มใจ ผู้รับไม่มีราคะ โทสะ โมหะ หรือมีแต่เบาบาง หรือกำลังปฏิบัติเพื่อลดราคะ โทสะ โมหะ ตัวเลขอาจมีหรือไม่มีผล ขึ้นกับว่าศรัทธาของคุณอยู่ที่ตรงไหน ใช้ตัวเลขเป็นตัวกำหนดศรัทธาหรือเปล่าQ: "อตฺตานํ อุปมํ กเร" หมายความว่าอย่างไรA: เป็นพุทธพจน์ที่ปรารภเด็กที่กำลังตีงู พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด ผู้อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น โดยยกอุปมา ถ้าเราไม่ชอบที่คนอื่นทำกับเรา ก็อย่าทำกับบุคคลอื่น หรือเราชอบที่เขาทำแบบนี้กับเรา ก็ให้ทำเช่นนี้กับคนอื่น โดยเอาตัวเองเป็นใหญ่แบบอัตตาธิปไตย คือ ตนติเตียนตนได้หรือไม่ หรือโลกาธิปไตยผู้รู้หรือโลกติเตียนได้หรือไม่ เหมือนการรักษาตัวเองที่ชื่อว่ารักษาผู้อื่น จะมีได้ก็ด้วยการเจริญสติปัฏฐานสี่ Q: ความหมาย "ไม่มีทรัพย์ใดเทียบเท่าศิลปะ"A: ศิลปะในที่นี้ หมายถึง อาชีพ คือ การสอนให้จับปลาย่อมดีกว่าให้ปลา ยั่งยืนกว่า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
25.9.202155 Protokoll, 56 Sekunden
Episode Artwork

ปัจจัยแห่งการบรรลุธรรม (6437-7q)

"ปัจจัยที่สำคัญที่สุดแห่งการบรรลุธรรม ก็ถ้าตัวฉันทำ แล้วทำไมฉันจะทำไม่ได้"Q: ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบรรลุธรรมA: ตัวเราสำคัญที่สุด เพราะการบรรลุอยู่ที่จิต องค์ประกอบอื่นเป็นตัวช่วยทั้งกัลยาณมิตร และสถานที่ที่มีผลทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นหรือลดลง ควรมีศรัทธาตั้งมั่นในธรรมะ ในพุทธะ และในสังฆะ มั่นในสังฆะ คือ เชื่อว่าแม้ตัวเราเองก็สามารถทำได้ ศรัทธาจะทำให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริง สติ ศีล อินทรีย์ เกิดสมาธิ ก่อปัญญาQ: มีความคิดปรุงแต่งมาก จะเรียกว่าฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ?A: อยู่ที่ว่าคิดปรุงแต่งแล้วกิเลสเพิ่มหรือลด ทั้งมิจฉามรรคหรือสัมมามรรคล้วนเป็นสังขตธรรม แต่ที่ไปคนละทาง สมาธิไม่ใช่ไม่คิดอะไรเลย มีลำดับขั้นของมัน Q: ศีลไม่ครบ ศรัทธาไม่มั่นคง จะเริ่มปฏิบัติได้อย่างไรA: ศรัทธาจะเกิดเมื่อเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ที่ควบคู่กับปัญญาจึงจะเห็นธรรม ควรมีกัลยาณมิตรแนะทางให้ Q: ใครเป็นอรหันต์A: เป็นเรื่องยากที่ฆราวาสผู้ชุ่มอยู่ด้วยกามจะพึงรู้ ส่วนผู้มีปัญญาย่อมรู้ได้ว่า ปลานั้นใหญ่หรือเล็กเพียงแค่ดูคลื่น ต้องใช้ระยะเวลานานควบกับปัญญาในการดู จะดูแต่เพียงภายนอกไม่ได้ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยวาจา กำลังจิตพึงรู้ได้เมื่อมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการตอบ ประเด็นที่น่าสนใจกว่า คือ ตอบตัวเองได้หรือไม่ว่าเป็นอรหันต์หรือยัง Q: กังวลเรื่องขายบ้าน 2 หลัง เกรงอนาคตที่ไม่แน่นอนA: ความกังวลจะทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ ควรมีศีล ศรัทธา สติตั้งไว้ พิจารณาปัจจุบันด้วยความเป็นของง่อนแง่นคลอนแคลน พอเราไม่กังวลจะละความยึดถือได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
18.9.202153 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

บุญอยู่ที่ธรรม (6436-7q)

"ให้ดีกว่าไม่ให้ แต่ดูที่การกระทำทางกายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูที่ใจด้วย ดูที่ธรรมะด้วย"เราอาจจะเคยพบเห็นการทำบุญแบบนี้ มีแต่ไม่อยากทำ จนแต่ทำตลอด พระอาจารย์ให้แง่คิดว่า ควรคิดแยกเป็น 3 ระดับ ระดับการแบ่งจ่ายทรัพย์ ระดับจิตใจ และระดับทางกาย ให้ดีกว่าไม่ให้ แต่ดูที่การกระทำทางกายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูใจด้วย ดูธรรมะด้วย ให้จากข้อ 4 ในหลักการแบ่งจ่ายทรัพย์ จะเป็นการดีทั้งไม่เป็นการเบียดเบียนตนเอง ดูความพร้อม 3 ประการทั้งผู้รับ และผู้ให้ ควรตั้งจิตไว้ในสิ่งดี ๆ ที่เขามีอยู่ คำถามว่า ทำงานที่ชอบอย่างไรจึงจะไม่มีอคติ 4 และไม่เบียดเบียนตน ควรพิจารณาจากอิทธิบาท 4 แล้วจะไม่หนีออกจากมรรค 8 บุคคลที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ย่อมมีอคติ 4 บ้างเป็นธรรมดา ก็ให้ปรับมาตามมรรค การเบียดเบียนก็จะน้อยลง ทำบุญด้วยอะไรแล้วต้องได้รับผลอย่างนั้นหรือไม่ ท่านตอบว่า กรรมกับวิบากไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เป็นอจินไตย ควรคิดว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ตั้งจิตให้เป็นกุศล แง่คิดในบทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรกับจิตที่ตั้งมั่นของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม่พระธรณีเป็นใคร และสำนวนที่ว่ามือชุ่มด้วยเหงื่อเป็นมาอย่างไร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11.9.202153 Protokoll, 58 Sekunden
Episode Artwork

ละอาฆาตด้วยจิตเมตตา (6435-7q)

"ลูกบอล ถ้าปาเข้าผนังก็เด้งกลับอยู่ดี ให้ทำตัวเป็นผนัง"พบกับคำถามที่น่าสนใจ คำถามที่ว่าอนิจจังทุกขังอนัตตาต้องเรียงอย่างไร เรียงอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับเห็นถึงการเกิดขึ้นหรือการดับไป เป็นไปตามเงื่อนไขการปรุงแต่ง คำถามถัดมาเมื่อมีอาฆาตกระทบกระทั่งกันในหมู่พี่น้องควรวางจิตอย่างไร ควรจะให้มรดกหรือไม่ การให้หรือไม่ให้กลับไม่ได้บอกถึงความอาฆาตที่มีในใจ เจตนาควรละอาฆาตไม่ผูกเวรจะให้มากน้อยไม่สำคัญ จะเอาชนะจิตที่มีอาฆาตได้ต้องเมตตา วาจาทิ่มแทงมาไม่ทิ่มแทงตอบ ให้เมตตาต่อกันตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อมาทำความเข้าใจความเหมือนหรือต่างของคำว่า จิต มโน วิญญาณ และธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นความคิดเกิดขึ้นที่ใจที่เป็นช่องทางแล้วรับรู้ได้ด้วยวิญญาณ ส่วนความรักอมตะในทางธรรมนั้นก็คือ มาตามมรรค 8 จะไม่วนเหมือนทางโลก และนานาคำถามเรื่องมโหสถ ความสงัด และเวทนา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4.9.202156 Protokoll, 35 Sekunden
Episode Artwork

สมาธิที่งดงาม (6434-7q)

"สติไม่ใช่สมาธิ”Q: นั่งสมาธิแล้วยังคิดเรื่องกามบ้างไม่กามบ้าง อย่างนี้คือหลุดจากสมาธิ?A: สมาธิยังไม่เกิด ในขั้นที่ 1 นั้นยังมีความคิดอยู่แต่ไม่ใช่เรื่องกาม ขั้นที่ 2 จิตจึงจะรวมเป็นเอก มีปิติ สุขจากความสงบระงับ ถ้ายังแยกแยะไม่ออกว่าความคิดไหนดีหรือไม่ดี แสดงว่าสติยังมีกำลังไม่พอ สมาธิจึงมีเพียงเล็กน้อย ให้ฝึกทำไปเรื่อย ๆ ไม่บังคับ แต่ต้องควบคุม ฝืนฝึกจิต ในขั้นต้นเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์เฉย ๆ รับรู้แต่ไม่ตามไป และไม่ลืมลม สติจะมีกำลังขึ้นมา พอถึงจุดนึงสมาธิจะเกิดขึ้นQ: ความสุขในสมาธิเป็นอย่างไรA: เป็นสิ่งที่อธิบายได้ยาก ต้องรู้ได้ด้วยตนเอง สติจะเป็นตัวแยกแยะ รักษาระเบียบได้สมาธิจะก็ได้มาเป็นขั้นเป็นตอนก้าวหน้าตามลำดับ แต่สุขเวทนาเป็นแค่ทางผ่าน สิ่งที่ต้องการนั้นคือปัญญาQ: การเพลินในภายในกับภวังค์ต่างกันอย่างไรA: เพลินในภายใน คือ การสยบอยู่ในภายใน เป็นความเพลินในปิติสุขจากสมาธิ ภวังค์ คือ การที่สมาธิมีกำลังมากคล้ายหลับแต่ไม่หลับ เหมือนกันตรงที่ไม่มีสติไม่ก่อปัญญา แก้ไขโดยมีสติระลึกรู้ เห็นนิมิต ปรับเพิ่มความเพียรเพื่อละอกุศลเพิ่มกุศล เห็นความไม่เที่ยงQ: ไม่สามารถแยกแยะการพิจารณากับความฟุ้งซ่านA: ถ้าแยกแยะไม่ได้นั่นคือฟุ้งซ่าน ควรเริ่มจากการฝึกสติโดยทำศีลให้ละเอียด รู้ประมาณในการบริโภค สำรวมอินทรีย์ อยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น สันโดษ Q: "ประโยชน์จะงดงามต่อเมื่อประสบความสำเร็จ" นำมาใช้ในชีวิตได้อย่างไรA: นำมาใช้ได้ทุกอย่างในชีวิต สำเร็จแล้วจึงจะเห็นประโยชน์เช่นสมาธินี้ดีอย่างนี้ จะรู้ได้เมื่อทำได้แล้ว เป็นต้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
28.8.202155 Protokoll, 28 Sekunden
Episode Artwork

เมื่อเจ้านายไม่เป็นใจ (6433-7q)

"ความอิจฉาริษยาจะลดลงได้ ถ้ามีกรุณา"Q: อยู่ในสมาธิจะไม่หิวใช่? ถ้าไม่สำรวมในการกินจะทำให้สมาธิเสื่อม?A: มีสมาธิก็หิวได้ ยกเว้นในกรณีที่เข้าสมาธิในขั้นสูงได้จะไม่หิว แต่เมื่อออกจากสมาธิแล้วจะมีเวทนาได้ แต่เวทนานั้นจะไม่กลุ้มรุมจิต เป็นผลจากกำลังของสมาธิ เวลากินควรพิจารณาว่า เพื่อลดเวทนาเก่าไม่ก่อเวทนาใหม่ ไม่เช่นนั้นจะทำให้สมาธิเสื่อมได้Q: คนที่ไม่ระเบียบวินัยทำให้มีปัญหาทางด้านการงานการเงินหรือไม่A: ไม่แน่ ความเกี่ยวเนื่องมีอยู่ในบางข้อ พิจารณาเป็นด้าน ๆ ไปQ: เมื่อถูก unfriend ควรวางจิตอย่างไรA: ไม่ควรยินดีหรือยินร้ายในคำด่าหรือคำชมนั้น ๆ ให้มีจิตเมตตาแผ่ไปยังสรรพสัตว์ โดยมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ เป็นมหัคคตะ เมตตาไม่ใช่ความพอใจ ในทุกความคิดจะมีอารมณ์ติดมาเสมอ เราจึงควรตั้งสติเอาไว้Q: ตักเตือนเพื่อนแค่ไหนจึงเหมาะสมA: ให้เห็นความลำบากของเราและเขาเป็นเรื่องเล็กน้อย ถ้าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ การตักเตือนกันเป็นเรื่องดี การอยู่ด้วยกันจึงจะเกิดประโยชน์Q: การพูดอย่างไรจะไม่เป็นการยุแยง และผิดศีลA: ศีลข้อ 4 เป็นเรื่องการโกหก ถ้าจะให้ละเอียด คือ นำสัมมาวาจาข้ออื่นมาใส่ด้วย อย่านำข้ออ้างในการกล่าวจริงมาทำอกุศล การที่เราพูดเรื่องไม่ดีของคนอื่นให้อีกคนฟัง เราก็เป็นคนไม่ดีด้วย ต้องใช้ปัญญารักษาคำพูดให้ดี เมตตาทั้งสองฝ่ายQ: ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อเจ้านายไม่เป็นใจA: อย่าไปมองว่ามีการประจบสอพลอ เพราะจะทำให้มีจิตอิจฉาริษยา ให้มองว่าเป็นการอาศัยผลประโยชน์ร่วมกัน ดูผลประโยชน์เรื่องมรรค 8 เรื่องความดีดีกว่า การมีกรุณาจะละอิจฉาได้ พรหมวิหาร 4 จะรักษาจิตของเราให้นิ่งได้  พอจิตนิ่งเราจะรู้ว่าอะไรควรละอะไรควรทำ เลือกใช้ให้เหมาะสม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
21.8.202157 Protokoll, 32 Sekunden
Episode Artwork

เมื่ออยู่ร่วมกับคนต่างศาสนา (6432-7q)

Q: คันถธุระ คืออะไรA: คันถธุระ คือ การศึกษาตำราคัมภีร์ วิปัสสนาธุระ คือ การฝึกการปฏิบัติ ควรทำควบคู่กันไป อย่าติดแค่รูปแบบQ: เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนต่างศาสนาควรทำอย่างไรA: หาจุดที่เข้ากันได้ เอาความสามัคคีเป็นหลัก เพราะอย่างน้อยเขาก็มีหลักในการดำเนินชีวิตที่ดี อย่าเป็นทุกข์โดยไม่จำเป็น ความอึดอัดใจปลดได้ด้วยการเข้าใจที่ถูกต้อง ดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง ท่านไม่ได้พยายามเจาะจงเปลี่ยนใครให้มานับถือ แต่ดูที่คำสอนนั้นว่าสามารถดับทุกข์ได้หรือไม่ ตรงไหนมีทุกข์ ดับที่ตรงนั้น ถ้าเขายึดตรงนั้นแล้วเราคลายความยึดถือตรงจุดที่ยึดนั้น เขาจะประจักษ์เอง Q: เหตุอะไรที่ทำให้คนทั่วไปหันมาปฏิบัติตามทำนองคลองธรรรมA: คนที่จะพ้นทุกข์ได้ ต้องเห็นทุกข์ แล้วมีศรัทธา แล้วจึงจะแสวงหาบุคคลที่แก้ปัญหานี้ได้Q: เมื่อเจอผัสสะแล้วหลุด จากสติที่มีกำลังไม่พอ ควรทำอย่างไรA: ทำความเพียรตามทางสายกลาง สม่ำเสมอตลอดเวลา ฝนหนึ่งเม็ดก็สนับสนุนท้องทะเลได้Q: คนที่ปฏิบัติกับบุคคลแต่ละคนไม่เหมือนกันเป็นธัมมัญญูใช่หรือไม่A: ธัมมัญญู คือ เป็นผู้รู้ธรรม รู้เหตุรู้ผล รู้กาล อาจจะใช่หรือไม่ก็ได้ คนดีหรือไม่ดีต้องใช้เวลาในการดู และจะรู้ได้ด้วยคนฉลาดเท่านั้นQ: คนไม่กตัญญูจะไม่ได้ดี คนกตัญญูจะได้ดี ถูกเสมอหรือไม่A: ถ้าดีไม่ดีหมายถึงเวทนาก็ไม่แน่ แต่ถ้าหมายถึงกุศลอกุศลจึงจะแน่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
14.8.20211 Stunde, 17 Sekunden
Episode Artwork

จิตที่ผาสุก (6431-7q)

“ความผาสุกหรือไม่ผาสุกของเรา ไม่ควรจะอยู่ในกำมือของผู้อื่น”Q: คุณของมารดาบิดาจัดอยู่ในอนุสติ 10 หรือไม่A: จัดอยู่ในเทวตานุสติ และพรหมวิหาร 4 อนุสติเป็นเครื่องมือที่เมื่อระลึกแล้วจะมีสติตามมาQ: สถานปฏิบัติธรรมรบกวนชีวิต ควรทำอย่างไรA: เมื่อมีผัสสะมากระทบให้เห็นว่า นั่นคือ แบบทดสอบ ให้ใช้กายใจของเราเป็นสถานปฏิบัติธรรม นี่คือ ของจริง ความผาสุกที่แท้จริงจะเกิดขึ้น เมื่อละความยึดถือในสิ่งที่ชอบหรือไม่ขอบนั้นได้ ตั้งสติ มีเมตตา ไม่ให้จิตมีอกุศล เพ่งในจุดดีของเขา แล้วรอเวลาค่อยคุยกัน อย่าเป็นเช่น แม่เจ้าเรือนชื่อเวเทหิกาQ: ขันธ์ 5 ก่อให้เกิดทุกข์ และธรรมะได้อย่างไรA: ความยึดถือในขันธ์ทั้ง 5 เป็นความทุกข์ การละความยึดถือได้ คือ การเห็นธรรม ไล่มาตามศีล สมาธิ ปัญญา  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7.8.202157 Protokoll, 40 Sekunden
Episode Artwork

เห็นทุกข์ ด้วย ปัญญา (6430-7q)

“ทุกข์อยู่ตรงไหน ความดับทุกข์ต้องอยู่ตรงนั้น”Q: เวลาป่วยไข้มีทุกขเวทนาควรวางจิตอย่างไรA: ใช้ทุกขาปฏิปทาให้เป็นประโยชน์ ให้เห็นทุกข์ที่อยู่ตรงหน้า เริ่มจากมีศรัทธาความมั่นใจที่มาคู่กับปัญญา ศรัทธามีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย ตั้งสติ มีความเข้าใจในทุกข์ว่าทุกข์ต้องยอมรับ ไม่ใช่ว่ากำจัดมัน สิ่งที่ต้องกำจัด คือ ตัณหา ตัณหา คือ อยากได้สุขไม่อยากได้ทุกข์ ไม่อยากเจ็บป่วยไข้ ควรเห็นว่าสุขทุกข์เป็นธรรมดา ยอมรับมันจะอยู่กับมันได้ นี้เป็นทางสายกลางQ: บุญจากการบวชแก้บนเป็นการผูกมัดสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือไม่A: วิบากแห่งกรรมเป็นอจินไตย บางทีก็ได้บางทีก็ไม่สมปรารถนา สิ่งที่ควรทำคือทำความดีตามมรรค 8Q: ความแตกต่างระหว่าง บุญ กุศล บารมีA: คล้ายกัน บุญเป็นชื่อแห่งความสุข กุศลในกุศลธรรมบท 10 กายวาจาใจ บารมี คือ บุญที่สะสมไว้มาก ๆ จนเป็นปกติ เป็นอาสวะในทางดีQ: ทำไมจึงกล่าว่าวิญญาณเป็นอาหารของนามรูป เมื่อกายดับแปรเป็นธาตุดินวิญญาณนี้เกี่ยวอย่างไรA: อาหาร คือ การหล่อเลี้ยงให้เกิดขึ้นมา อาหารของวิญญาณ คือ นามรูป อาหารของนามรูป คือ วิญญาณ อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้น  วิญญาณเป็นอาหารที่ให้เกิดต่อไป และต่อไป ให้เกิดการรับรู้ในนามรูป เหมือน chain reaction อาศัยกันเกิดขึ้นเหมือนแสง และฉาก ที่ว่าอาหารทำให้เกิดต่อไป จึงต้องกำจัดอาหาร 4 นี้อันใดอันหนึ่ง ถ้ากำจัดอาหาร คือ คำข้าวได้พิจารณาปฏิกูลอย่างน้อยจะได้อนาคามี ถ้ากำจัดอาหาร คือ วิญญาณได้จะบรรลุอรหันต์ เมื่อกายจะดับควรทำจิตให้วิญญาณไม่มีอาหารไปก้าวลงในนามรูปอื่นอีก Q: อยู่กับโลก ต้องการโลก จะบริหารอาหาร 4 อย่างไรA: อยู่กับโลกต้องเข้าใจโลกจึงจะบริหารอาหาร 4 ได้ เข้าใจโลกตามกิจในอริยสัจ 4 คือ เข้าใจเหตุเกิด เข้าใจโทษอันต่ำทราม ความดับ ปฏิปทาให้ถึงความดับของโลกQ: นั่งสมาธิไม่ได้เพราะใจพะวงกับความรู้สึกผิดต่อพ่อ ควรทำอย่างไรA: เป็นความฟุ้งซ่าน ทำให้มีความร้อนใจ ทำความฟุ้งซ่านให้ดับไปได้ด้วยการระลึกถึงศีลที่มี และระลึกถึงโสตาปัตติยังคะ 4 มีศีล ใจมีปิติสุข เกิดสมาธิได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
31.7.202158 Protokoll, 32 Sekunden
Episode Artwork

กีฬาในฌาน (6429-7q)

“เราต้องเห็นอาพาธในขั้นนั้น ๆ เห็นคุณในขั้นต่อไปที่ยังไม่ได้ จึงจะไปได้”Q: ทำไมจึงกล่าวว่าเกิดเป็นมนุษย์แสนยาก ทั้งที่เกิดกันเยอะA: ตามพุทธพจน์เป็นเช่นนั้น ที่เรายังไม่เห็นมีมากกว่าที่เราเห็นดั่งขนโค และเขาโคQ: ทำไมกำลังของฌานจึงเสื่อมได้A: กำลังของฌานที่มีอาจมีน้อย เสื่อมได้ เพราะไม่สำรวมอินทรีย์Q: สึกมาอยู่กับสีกาบาปหรือไม่A: ถูกศีลอยู่แต่ไม่ถูกใจ บาปตรงที่มีราคะโทสะโมหะ ถ้าเชื่อในวิชชา 3 ที่มี ควรนำมาใช้กำจัดกิเลสไม่ใช่ใช้เป็นข้ออ้างของกิเลส Q: น้ำผึ้งมะนาวเป็นปานะหรือไม่A: มีส่วนผสมของเภสัช ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้รับQ: วิตก วิจารณ์ ความคิดในฌาน 1 คืออะไรA: วิตก คือ ความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วิจารณ์ คือ ความคิดที่ลึกลงไปในเรื่องนั้น เป็นความคิดที่ไม่มีกามพยาบาทเบียดเบียน ต้องเห็นอาพาธในแต่ละขั้นของสมาธิที่ได้ และเห็นคุณของสมาธิที่อยู่เหนือขึ้นไป จึงจะพัฒนาไปได้ ทำให้ชำนาญดุจโคขึ้นภูเขา เหมือนเป็นเครื่องเล่นกีฬาในฌานQ: สิ่งที่ทำให้ดำรงอยู่ในสมณเพศได้A: หิริ โอตัปปะ และความสุขในฌานQ: อะไรคือที่สุดแห่งศีล สมาธิ ปัญญาA: วิมุต และวิมุตติญาณทัสสนะ ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นสามัญญผลQ: อยู่ไกลครูอาจารย์จะรู้ได้อย่างไรว่ามีโยนิโสมนสิการA: โยนิโสมนสิการ คือ ความแยบคายตามอริยสัจ 4 ใคร่ครวญตามนี้ เมื่ออยู่ไกลก็ต้องฝึกเตือนตนด้วยตน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
24.7.202157 Protokoll, 7 Sekunden
Episode Artwork

ชีวิตดีด้วยความดี (6428-7q)

“ทำความดี ความดีนั้นจะเป็นที่พึ่งของเรา”Q: ทำไมชีวิตจึงมีความทุกข์มากมายเช่นนี้A: สุขทุกข์มีเป็นธรรมดา มีแล้วให้เราไม่ประมาทในการทำความดี ตั้งอยู่ในมรรค 8 ศีล สมาธิ ปัญญา ความดีที่มีจะเป็นที่พึ่งได้Q: ฆ่าสัตว์แล้วจะมีอายุสั้นจริงหรือ และควรแก้อย่างไรA: ไม่แน่ วิบากแปรไปตามกรรมดีกรรมชั่วที่กระทำ อะไรที่ไม่ดีก็เลิก อย่ากินแต่ของเก่า ควรสร้างบุญใหม่ด้วยศีลสมาธิปัญญาQ: การสร้างเจดีย์ของก่องข้าวน้อยฆ่าแม่จะล้างบาปได้หรือไม่A: ทำกรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น การล้างบาปในคำสอนนี้ไม่มี แต่การทำความดีย่อมมีวิบากดี จะใหผลมากหรือน้อยเป็นสิ่งที่บอกได้ยากQ: พ่อ/แม่เลี้ยงดูแลบุตรอย่างดีจะได้บุญเท่าพ่อแม่จริงหรือไม่A: เปรียบเทียบได้แต่ไม่เท่ากัน ให้ตั้งจิตแบบพรหม ทำดีแบบไม่หวังผลในความดี ยิ่งดีQ: กินข้าวก้นบาตรพร้อมทำงานวัดจะบาปหรือไม่A: บุญบาปอยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่อยู่ที่สถานที่ ไม่ใช่จากสุขหรือทุกขเวทนาที่ปรากฏQ: ติดคุกแม้บริสุทธิ์หรือติดโควิดแม้ระวังอย่างดี เป็นกรรมเก่าหรือไม่A: อาจจะเป็นหรือไม่ก็ได้ อยู่ที่ 6 เหตุปัจจัยQ: UFO เมื่อไหร่จะปรากฏA: เป็นเรื่องโลกอื่น ให้สนใจมาในอริยสัจ 4 เรื่องอะไรจะมาก็จะสบายใจไม่ถูกครอบงำ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
17.7.202155 Protokoll, 49 Sekunden
Episode Artwork

สัจจะรักษาใจ (6427-7q)

Q: คนพาลไปสี่สังเวชนียสถานด้วยศรัทธาจะไปสวรรค์ได้?A: ด้วยศรัทธาจะทำให้เกิดสลดสังเวช เกิดการเปลี่ยนแปลงรักษาศีลปิดทางแห่งบาปทั้ง 5 จิตได้รับการรักษาเมื่อตายก็ไปสวรรค์ คนเราเปลี่ยนแปลงได้แต่จะมี sense of urgency ในจุดที่แตกต่างกันQ: ศีลข้อ 4 รวมสัมมาวาจา 3 ด้วยหรือไม่A: ศีลข้อ 4 คือ การไม่การโกหก สัมมาวาจา 3 ข้อจะมาในศีลข้อ 5 ที่ว่าด้วยความประมาทจากสุรา เป็นปากทางแห่งความเสื่อม Q: สรุป 55 ข้อจากธรรมที่มีอุปการะมากคืออะไร และการฟังแต่คนอื่นถามได้หรือไม่A: ทสุตตรสูตรท่านพระสารีบุตรแบ่งเป็น 10 หมวด แต่ละข้อจะสรุปจบในตัว ทำข้อใดข้อหนึ่งข้ออื่นก็จะตามมา สามารถสรุปลงเหลือที่สติและสัมปชัญญะ การฟังคนอื่นถามก็เหมือนกับถามเองให้ประโยชน์เหมือนกันQ: ความสับสนในข่าวจะนำธรรมข้อใดมานำชีวิตA: ต้องแยกข้อเท็จจริง fact, สัจจะความจริง truth และความเห็น opinion ออกจากกัน สัจจะความจริง คือ เห็นความไม่เที่ยง อย่าเพิ่งเชื่อว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า เห็นเพียงเท่านี้ก็จะรักษาความจริงไว้ได้ ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ละความยึดถือได้ ไม่ทุกข์ใจ เห็นความจริงจากไตรลักษณ์ ใจจะมีที่พึ่ง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10.7.202154 Protokoll, 48 Sekunden
Episode Artwork

ความละเอียดแห่งบุญ (6426-7q)

“บุญเป็นชื่อของความสุข ความสุขมีตั้ง 9 ระดับ”Q: เมื่อทำบุญแล้วรู้สึกเฉย ๆA: บุญเป็นชื่อของความสุข มีทั้งทาน ศีล ภาวนา ไต่ระดับความละเอียดขึ้นไปเหมือนในฌานสมาธิ บุญทำเพื่อปล่อยวางความยึดถือ ความรู้สึกเฉย ๆ นั่นคือ อุเบกขาเป็นจิตใจที่ปล่อยวางความสุขได้ เป็นภาวะเหนือบุญเหนือบาป ต้องแยกให้ออกจากการมีโมหะที่เกิดจากความตระหนี่ Q: ข้อคิดจากเรื่องท่านพระราธะมีอะไรบ้างA: มี 4 ข้อ คือ 1. ถูกทอดทิ้งจนมาอยู่วัด 2. ความกตัญญูของท่านพระสารีบุตร กตเวทีตอบแทนด้วยการบวชให้ 3. บวชแล้วเป็นผู้ว่าง่าย 4. มีปฏิภาน“บอกสอนง่าย คือ เอื้อเฟื้อในการรับคำตักเตือน”Q: พระพุทธเจ้ารักษาโรคระบาดอย่างไร ?A: ใช้ธรรมะรักษาให้ใจมีปิติสุขใจที่สบายย่อมมีผลต่อกาย จะหายได้หรือไม่ก็โดยควรแก่ฐานะ โรคทางใจแก้ได้ด้วยมรรค 8 Q: ศาสนาช่วยรักษาซึมเศร้าได้ไหม ?A: ถ้าเป็นมานานจนก่อเป็นอาสวะจะแก้ได้ยาก แต่ถ้าเริ่มเป็นการฝึกจิตช่วยได้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากกิเลส มรรค 8 ช่วยได้ เบรกจิตได้ก็แก้ได้Q: เมื่อทุกอาชีพก่อให้เกิดกิเลส ควรทำอย่างไร ?A: ใน supply chain ล้วนมีการเบียดเบียน นี่คือ โทษของวัฏฏะ การค้าขายไม่ควรเป็นมิจฉาอาชีวะ ใช้เกณท์ดำเนินชีวิตด้วยมรรค 8 ที่ศีล เมื่อปฏิบัติไปจะลดการเบียนเบียนลง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3.7.202157 Protokoll, 36 Sekunden
Episode Artwork

ไขรักด้วยพรหมวิหาร (6425-7q)

"เรากับเขาไม่ใช่คนเดียวกันแต่เนื่องกันด้วยความยึดถือ"Q: ไม่พอใจพ่อแม่ของว่าที่สะใภ้จนมีปัญหากับลูก ควรแก้ไขอย่างไรA: ทางออกที่เหนือมนุษย์ เหนือกว่าเรื่องของกาม คือ พรหมวิหาร 4 ในจิตใจต้องมีคุณสมบัติของความเป็นผู้ใหญ่ เมตตาให้ได้ไม่มีประมาณไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร เหนือขึ้นมาอีก คือ อุเบกขา วิธีการมี 3 คือ เขาทำเราจริงแล้วเราคิดว่าเขาทำจะละผูกเวรไม่ได้ เขาทำแต่เราไม่คิดจะละได้ เขาดีกับคนที่เราไม่ชอบก็อย่าไปคิดจะละได้ ให้ดูทีฆาวุกุมารเป็นตัวอย่าง จะเตือนกันก็รอช่อง รอจังหวะที่เหมาะสมส่วนคำพูดของลูกที่เหมือนหอกทิ่มใจ หรือการหวังให้เขาทำดีตามเรา นั่นเป็นเพราะความยึดถือ ยึดถือแม้ในความดีนั้นไม่ดีจะเป็นทุกข์ ให้ละความยึดถือเสีย โดยมองว่านั่นไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ของของเรา เรากับเขาไม่ใช่คนเดียวกัน แต่เนื่องกันอยู่ด้วยความยึดถือ อย่าให้ความไม่ดีของเขาต่อมาทางเรา แม่พ่อเมตตาลูกไม่มีประมาณตั้งแต่วันที่คลอดเขาออกมาแล้ว อาจเผลอสติไปทำให้ทุกข์โดยไม่จำเป็น ในธรรมวินัยนี้จะเจอแบบทดสอบ คนที่สอบเราได้ก็มีแต่คนที่เรารักหรือเกลียด ต้องมีกำลังใจสูง ผิดบ้างก็แก้ไข ให้มั่นใจในพุทธธัมสงฆ์ คนเราจะดีหรือไม่อยู่ที่การกระทำของเราไม่ได้อยู่ที่ปากเขา พรหมวิหารธรรมที่เหนือมนุษย์ช่วยได้Q: อยู่ใกล้แม่แล้วอาจทำบาปง่าย ควรย้ายหรือไม่A: ให้มองด้านดีที่เราจะได้ แก้ที่ตัวเราให้ระวังในข้อผิดพลาดแล้วทำในสิ่งที่ทำได้ดี ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ควบคุมเหตุปัจจัยที่จะให้ออกมาดี Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.6.202158 Protokoll, 27 Sekunden
Episode Artwork

ทานกับอานิสงส์ (6424-7q)

"การให้ธัมมะอยู่ที่จิตใจไม่ได้อยู่ที่สิ่งของ"Q: การให้ธัมมทานคืออะไรA: "การให้ธัมมะชนะการให้ทั้งปวง" จากพุทธพจน์บทนี้ทำให้บางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนในลักษณะการให้ธัมมะ การให้ในทุกระดับล้วนเป็นธัมมะตั้งแต่สิ่งของต่าง ๆ จนถึงการกระทำในใจ แค่เรามีธัมมะในใจนั่นคือ การให้แล้ว การให้ธัมมะอยู่ที่จิตใจไม่ใช่ที่สิ่งของQ: ให้ทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้งกับนาน ๆ ให้ทีแต่มากอย่างไหนดีกว่ากันA: ควรทำทั้งสองอย่าง การแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ให้ถูกต้องจะช่วยขจัดความตระหนี่ได้Q: ควรเลือกให้ในศาสนา หรือในสาธารณกุศลมากกว่ากันA: คนละจุดประสงค์ เพื่อเอาบุญกับการสงเคราะห์ ถ้าไม่มีโลกหรือเราก็ไปไม่ได้  แบ่งสัดส่วนตามสถานการณ์Q: ผลความต่างของทานในหมู่มิจฉาทิฏฐิกับหมู่สัมมาทิฏฐิA: ต้องเลือกให้ในหมู่ที่มีราคะโทสะโมหะน้อยจะได้บุญมาก และการให้ในหมู่ที่มีมิจฉาทิฏฐิเป็นการเพิ่มกำลังให้เขาทำให้ภิกษุที่มีศีลอันเป็นที่รักถูกเบียดเบียนได้Q: ให้เฉพาะเจาะจงดีหรือให้ในหมู่ดีกว่ากันA: การให้ที่ตั้งจิตถวายในหมู่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอานิสงส์มากกว่าQ: บาปจากการโกงกินจะชดใช้กัมม์อย่างไรA: เป็นการผิดศีลข้อ 2 ซึ่งจะพาไปนรกเปรตวิสัยหรือเดรัจฉานได้ อย่ามองแค่สุขหรือทุกข์ในภพนี้ ให้มองถึงความคุ้มหรือไม่คุ้มถ้าต้องไปรับวิบากในภพต่อไป หรือมองในปัจจุบันนี้ถ้ากลัวต่อการตำหนิตนเองได้ หรือกลัวผู้อื่นตำหนิได้ หรือกลัวอาญาบ้านเมือง จะไม่กล้าทำเพราะหิริโอตัปปะในใจ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
19.6.202158 Protokoll, 12 Sekunden
Episode Artwork

ทานกับมูลค่า (6423-7q)

Q: ทำบุญตามกำลังปัจจัยดีหรือไม่A: บุญควรทำ ไม่จำเป็นต้องมีเงินมากแล้วจึงจะให้ทานได้ มีเงินน้อยก็ให้ได้ ดูที่ 4 หน้าที่ในการใช้จ่ายทรัพย์เป็นหลัก ไม่ใช่ที่มูลค่า แล้วเราจะไม่ตกเป็นทาสของเงิน ระลึกถึงทานนั้นใจจะเป็นสุขQ: ทำไมหญิงจึงเข้าวัดมากกว่าชายA: ความสนใจน่าจะเท่ากัน แต่การกระทำได้อาจจะไม่เท่ากัน ไม่ควรสนใจที่เพศ ให้สนใจในปฏิปทาQ: วิธีการใดที่ทำให้มีความเพียรในการทำสมาธิA: ต้องมีกัลยาณมิตร และศรัทธา ทำสมาธิแล้วควรหวังผล 4 อย่าง เห็นว่าสมาธินี้มีประโยชน์มากกว่าความสุขทางโลก ศรัทธาความมั่นใจว่าทำแล้วได้ผล 4 อย่างแน่นอน จะเป็นกำลังให้ความเพียรให้เดินมารอย คือ มรรค 8 นี้ได้Q: ความหมายของมาร และเจ้ากรรมนายเวรA: มาร หมายถึง ล้างผลาญความดี ความดีถูกทำให้สิ้นลง มีหลายประเภท ที่เน้น คือ กิเลสมารที่อยู่ในใจเรา เอาชนะได้ด้วยมรรค 8 เวร คือ การผูกเวร ผูกโกรธ ประทุษร้ายกัน เจ้ากรรมนายเวรไม่มีในพุทธพจน์ จะละเวรได้ก็ด้วยการไม่ผูกเวร เอากุศลธรรมใส่ลงไปความดีจะปรากฏขึ้นแทน เอาชนะมารได้ เมื่อไม่มีตัณหาความทุกข์นั้นจะทำอะไรเราไม่ได้เลยQ: สมาธิมีกี่ขั้น และอุปจาระสมาธิคืออะไรA: โดยพุทธพจน์มี 9 ขั้น ตามวิสุทธิมรรคแบ่งเป็น 3 คือ ขณิก อุปจาร และอัปปนา ความละเอียดไปตามขั้นตอน จะเห็นได้ก็ด้วยสติและปัญญา เป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยตนQ: การทรงญาณคืออะไรA: โดยพุทธพจน์ไม่มี แต่ญาณมีอยู่ ญาณ หมายถึง ปัญญา การทรงญาณถ้าหมายความว่าทรงอยู่ในญาณได้ตลอดเวลานั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้มีตลอดเวลาQ: ทำสมาธิก่อนนอนแล้วตายไปจะดีหรือไม่A: ดี สมาธิควรมีตลอดเวลา เพราะความตายมาได้ทุกเมื่อ โดยกำหนดว่าคืนนี้อาจเป็นคืนสุดท้ายไม่ลุกขึ้นมาอีก จะไม่เป็นผู้หลับใหล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12.6.202157 Protokoll, 42 Sekunden
Episode Artwork

ปัญญาหรือการปรุงแต่ง (6422-7q)

Q: ขณะฟังธรรมควรวางจิตไว้ที่ไหนA: ไว้ที่โสตวิญญาณ สัญญาที่เกิดขึ้นจากผัสสะจะทำให้ฟังธรรมรู้เรื่อง เป็นการตั้งสติไว้คนละระดับ ไม่มีวิตกแต่มีวิจารณ์ เป็นความชำนาญในการเลือกใช้ Q: มีคำถาม กลัววัคซีนเป็นวิจิกิจฉา?A: คำถามทุกคำถามไม่ใช่นิวรณ์ คนที่ไม่ถามอาจจะมีวิจิกิจฉาก็ได้ วิจิกิจฉา คือ ความเคลือบแคลงเห็นแย้งไม่ลงใจ ในพุทธ ธรรม สงฆ์ ในมรรคในข้อปฏิบัติ คนที่เป็นโสดาบันจะไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่คำถามในชีวิตทั่วไปก็ยังมีได้ตลอดQ: อาหารฆราวาสที่ใกล้เคียงพระทำอย่างไรA: คนที่ครองเรือนการไม่ยินดีด้วยอาหารเป็นการยาก ปรับให้พอดีกับตน อยู่ง่ายกินง่าย กินมื้อเดียว ปริมาณพอดี เป็นเวลา ปรุงไม่ยุ่งยากQ: clube house สามารถทำเป็นไฟล์เสียง? A: ขณะนี้เปลี่ยนเป็น Live strem ผ่านทาง Facebook ทุกวันศุกร์เวลา 20.00 น. และในยูทูปเวลาใกล้ ๆ กัน ชื่อรายการว่า "พุทธบริษัท"Q: ความคิดที่เกิดขึ้น คือ ปัญญาหรือการปรุงแต่งA: ทุกอย่างเป็นการปรุงแต่งหมด ให้ดูที่การปรุงแต่งใดมีแล้วทำให้ราคะโทสะโมหะเพิ่ม การปรุงแต่งนั้นไม่ดี "ถ้าเราไม่รู้ คือ ไม่รู้ ถ้าไม่มั่นใจ คือ ไม่ใช่ ถ้ามั่นใจอาจจะผิดก็ได้ อยู่ที่ความชำนาญ"Q: เจริญสติสมาธิทางโลกอย่างไรให้ก้าวหน้าทางธรรมด้วยA: ในแต่ละช่วงชีวิตเรามีสติสมาธิอยู่แล้วอยู่ในการงานต่าง ๆ อย่าติดรูปแบบ ทางธรรมหรือทางโลก คือ ทางเดียวกัน คือ ทางธรรม แต่อาจมีรายละเอียดต่างกันQ: การระลึกชาติในชีวิตที่ใกล้ ๆ กันเป็นไปได้?A: เป็นไปได้ เพราะข้องที่ตรงไหนมักไปที่ตรงนั้น สังสารวัฏเป็นเช่นนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5.6.202157 Protokoll, 28 Sekunden
Episode Artwork

เหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกัน (6421-7q)

Q: ทำไมคนเราเกิดมาแล้วแตกต่างกันA: พระพุทธเจ้าบอกว่า "กรรมเป็นตัวจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือปราณีต" ดังนั้นกรรมทำให้คนไม่เท่ากัน แม้ทำกรรมอย่างเดียวกันก็อาจได้รับผลไม่เท่ากัน ขึ้นกับบุญที่เคยทำไว้ แต่ที่ทำให้เท่ากันได้ คือ เปิดโอกาสให้เขาสร้างกุศลธรรม สร้างเหตุสะสมความดีเพื่อพัฒนาความดีให้ขึ้นไปได้ด้วยกุศลกรรมบท 10Q: เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่าการเกิดเป็นมนุษย์นั้นยากA: การที่เต่าตาบอดร้อยปีจะขึ้นมาหายใจ แล้วเอาหัวซุกเข้ารูแพได้ ความยากนี้เหมือนคนที่ไปอบายทั้ง 4 แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกนั้นยากมาก การกลับมาเกิดเป็นสัตว์หรือเป็นคน ก็เหมือนจำนวนของขนโคกับเขาโคQ: การฆ่าตัวตายเป็นบาปเท่านั้น?A: ไม่แน่ แต่โดยทั่วไปก็ถือว่าไม่ดี ในพุทธพจน์บางครั้ง การฆ่าตัวตายก็ได้รับการสรรเสริญ เพราะสามารถพ้นกิเลสได้ แต่บางกรณีก็ได้รับการติเตียน เพราะไม่แยบคายมีอวิชชาQ: ฉันทะกับตัณหาต่างกันอย่างไร และเหตุแห่งฉันทะคืออะไรA: ฉันทะ คือ ความพอใจ มีใช้ทั้งในส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ใช้ในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมเท่านั้น ฉันทะสร้างใหม่ด้วยการมีศรัทธา และเปลี่ยนฉันทะเก่าที่ไม่ดีให้ดีขึ้นด้วยความเพียรด้วยปัญญาQ: วิธีขจัดความอิจฉาริษยาA: แก้โดยอย่าไปอยากอย่าไปมีตัณหา ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8Q: ทำไมคนจึงคิดว่าตนถูกเสมอA: เพราะมีอวิชชาทำให้ไม่รู้ว่าอะไรถูกหรือผิด ต้องทำให้วิชชาและวิมุตเกิดด้วยการมาตามมรรค 8 เมื่อเกิดแล้ว จะเห็นว่าทั้งถูกและผิดเราก็ไม่เอา Q: จะแยกความจริง และความเชื่อได้อย่างไรA: การรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งผ่านอยาตนะทั้ง 6 สิ่งนั้นไม่จริง ให้เห็นด้วยความเป็นของไม่เที่ยง แยกแยะกิจที่ควรทำให้ถูกตามหลักอริยสัจ 4 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
29.5.202154 Protokoll, 52 Sekunden
Episode Artwork

การแก้ (ปัญหา) ที่ยั่งยืน (6420-7q)

Q: พระไม่แต่งงานไม่มีลูก แก่มาใครจะดูแลA: การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนจากการเกิดแก่และตาย คือ การปฏิบัติตามมรรค 8 เพราะวัฏฏะจะถูกตัดให้สั้นลง การบวชจึงแก้ปัญหานี้ได้มากกว่า ส่วนความแก่ในชาตินี้ พระพุทธเจ้าบัญญัติให้พระช่วยดูแลกันเป็น 1 ในวัตร 14 ถึงแม้ไม่มีคนดูแลแล้วตายไป การตายนั้นก็คุ้มค่า ถ้าทำที่สุดแห่งทุกข์ได้Q: นั่งสมาธิแล้วง่วงควรแก้อย่างไรA: พระพุทธเจ้าแนะเทคนิคไว้ 8 ข้อ ในที่นี้ให้ดูมาที่ ทำไมความง่วง หรือถีนมิทธะจึงวนกลับมาได้อยู่เรื่อย ๆ เป็นเพราะความง่วงนี้มีกำลังจากความยินดีในการเอนข้างหรือเคลิ้มหลับ วิธีแก้ คือ รู้สึกตัวเมื่อไหร่ให้ลุกขึ้นทันที ใช้สติเป็นตัวแก้Q: ผู้ชนะการเกิด ภาษาบาลีว่าอย่างไรA: การเกิดเป็นส่วนของทุกข์ที่ต้องทำความเข้าใจ กิเลสเป็นส่วนที่ต้องละต้องชนะ ให้ทำความเข้าใจตามหลักอริยสัจ 4  ภาษาบาลี คือ ชิตังเมเราชนะแล้ว ปริญญายะเราเข้าใจแล้วQ: ทางสายเอกในพุทธศาสนาคืออะไรA: พุทธพจน์ระบุไว้ คือ สติปัฏฐาน 4 และมรรค 8 แต่คำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าล้วนรวมลงในมรรค 8 ดังนั้นธรรมะทั้งหมดจึงเป็นทางสายเอกเป็นทางเดียวสู่นิพพาน นิพพานนั้นมีหลายท่าให้ขึ้นQ: ทำไมบางคนจึงฟังธรรมไม่รู้เรื่องA: จะฟังให้รู้เรื่องพระพุทธเจ้าให้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ให้รู้ว่านี่คือทุกข์ นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์ 2. ให้รู้ว่านี่คือความดับทุกข์ นี่คือทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ ฟังให้เห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลตามอริยสัจ 4 จึงจะเข้าใจได้ ธรรมะไม่ยากเกินเข้าใจถ้ามีความตั้งมั่นความเพียรและมั่นใจQ: การเห็นอนิจจังแม้ขณะสุข เห็นอย่างไร A: การเห็นความไม่เที่ยงเป็นส่วนของปัญญา ปัญญาต้องแก้ด้วยปัญญา เห็นความสบายใจความสุขที่มีว่ามันไม่เที่ยงตั้งแต่มันเกิดอย่าไปเห็นแต่ตอนมันจบ จะเห็นตรงนี้ได้ต้องไม่เพลินไปในสุขนั้น มีสติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
22.5.202154 Protokoll, 41 Sekunden
Episode Artwork

สมาธิที่แยบคาย (6419-7q)

Q: ความต่างระหว่างขันติกับอุเบกขาA: เมื่อมีเรื่องมากระทบใจแล้ววางเฉยได้ นั่นคือ อุเบกขา ความที่ไม่ปะทุออกไปอดทนได้ นั่นคือ ขันติ อดทนไม่ใช่เก็บกด เพราะในขันติย่อมมีปัญญาที่จะสกัดสิ่งที่เป็นอกุศลได้Q: ติดสมาธิทำให้ไม่ก้าวหน้าในธรรม?A: สมาธิชั้นสูงต้องดู 3 สิ่งนี้ประกอบ คือ นิมิตเพื่อความเพียร นิมิตเพื่อสมาธิ นิมิตเพื่ออุเบกขา 3 อย่างนี้ต้องไปด้วยกันอย่างสมดุล เมื่อเวลาเหมาะสมจะปล่อยวางได้ ถ้าสมาธิในความหมายของสมถะถ้ามากไปจะเกียจคร้านหย่อนไปไม่เกิดปัญญา ควรมีความแยบคายในการปฏิบัติโดยการปรับอินทรีย์ Q: สมาธิได้เป็นสุข แต่ตัน จะไปต่อได้อย่างไรA: ความสุขในสมาธิไม่ควรกลัว ควรทำให้มี สิ่งที่ควรแก้ คือ ความเพลินในความสุขจากสมาธินั้น ความเพลินนี้ไม่ดี ต้องมีสติให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงในสุขนั้น ละความยึดถือในสมาธินั้น เห็นว่าไม่ใช่ของเรา จะไปต่อได้Q: กรรมเกิดจากอะไรA: เหตุเกิดของกรรม คือ ผัสสะQ: ถ้าเหตุของกรรม คือ ผัสสะ แล้วกรรมจะส่งผลถึงเราได้อย่างไรA: ถ้าเจตนาที่กระทำเป็นชนิดอบุญ บาปนั้นจะให้ผลเป็นทุกข์ บุญผลจะเป็นสุข อเนญช ผลคือ เหนือบุญเหนือบาป การที่เรารับรู้ต่ออารมณ์ได้นั่นคือกรรมเก่า รับรู้ผ่านทางนามรูปทางกายนี้ นี่คือ ผลของกรรมที่ส่งถึงตัวเราQ: แก้กรรมได้หรือไม่A: พระพุทธเจ้าใช้คำว่าสิ้นกรรม กรรมเจือจางได้ทำให้สิ้นได้ด้วยปฏิปทา คือ มรรค 8 หรือธรรมข้อใดข้อหนึ่ง เช่น พรหมวิหารชั้นอริยะ เพราะนิพพานขึ้นได้หลายท่า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
15.5.202156 Protokoll, 2 Sekunden
Episode Artwork

เข้าใจกรรม เข้าใจธรรม (6418-7q)

Q: ป่วย ยากไร้ เป็นเพราะกรรมเก่าหรือไฉนA: ไม่แน่ เพราะสุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัย 4 อย่าง คือ กรรมเก่า การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ผู้อื่นทำให้ และระบบของร่างกาย ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าทุกขเวทนานี้มาจากกรรมเก่าเท่านั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ  เพราะจะทำให้ไม่ทำอะไร จมอยู่ในสังสารวัฏ ควรปรับทิฏฐิว่า สุขหรือทุกข์มีเป็นธรรมดาตามเหตุปัจจัย ประกอบกรรมดีเพื่อเจือจางความเค็ม ตั้งสติ ทำความเข้าใจผ่านมรรค 8 ตั้งตนให้อยู่ในโสตาปัตติยังคะ 4 จะเกิดปัญญา ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ผ่านมาจะเห็นธรรมได้ ใช้ทุกขเวทนาที่มีบ่มอินทรีย์ให้แก่กล้าจนบรรลุธรรมได้ Q: ปัญจุปาทานขันธ์คืออะไรA: ขันธ์ คือ กอง ปัญจุ คือ 5 อุปาทานขันธ์ 5 คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ 5 อย่าง ขันธ์ 5 กับอุปาทานเป็นคนละอย่างกัน แต่ความยึดถือไม่เกิดที่ไหนเกิดในขันธ์ 5 เท่านั้น ขันธ์ต้องทำความเข้าใจ ที่ต้องทำลาย คือ อุปาทาน ทำลายด้วยสติ สมาธิ ปัญญา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8.5.202155 Protokoll, 15 Sekunden
Episode Artwork

ดับชาติดับอวิชชาด้วยมรรค (6417-7q)

Q: ความหมายและบริบทของ ชา-ติA: ชาติ คือ การเกิด การกำเนิดโดยยิ่ง การก้าวลงสู่ครรภ์ การปรากฏโดยอายตนะ หรือเกิดในบริบทอื่น ๆเกิดซ้อนเกิดแล้วแต่จะกำหนดอย่างไร ไม่มีบริบทหน้าหลังลำดับความเป็นมาเหมือนกับปัญญา เพราะปัญญาเป็นส่วนแห่งมรรค แต่ชาติเป็นส่วนแห่งทุกข์หน้าที่ก็คือ ทุกข์ให้ยอมรับ ส่วนมรรคทำให้เจริญมีความอุบัติขึ้นแห่งปัญญา ชาตินี้ดับได้โดยความยึดถือที่ดับไป "ความตายไม่ใช่ชาติ ความเกิดขึ้นของชาติ ความดับไปของความตาย ความดับไปของชาติ ความเกิดขึ้นของความตาย ไม่ใช่ชาติของความตาย ความดับไปของความเกิดไม่ใช่ความตายของชาติ"Q: งานใหญ่ควรเลือกคนขยันแต่โง่ หรือเลือกคนฉลาดแต่ขี้เกียจA: เลือกทั้งสอง เพราะเป็นงานใหญ่ หน้าที่ของผู้นำ คือ ให้ทำงานตามกำลังที่เหมาะสมQ: รูปแบบเขียนปฏิจจสมุปบาทมีกี่ชนิดA: ให้กลับมาที่จุดที่เล็กที่สุด คือ "เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ" ใช้หลักการนี้ในการเข้าไปจับกับทุกสิ่งจะเกิดปัญญาได้Q: ดับอวิชชาทำอย่างไรA: ดับอวิชชาได้ต้องมีวิชชาเกิดขึ้น วิชชาเกิดตรงที่เห็นความไม่เที่ยง จะเห็นได้จิตต้องมีโพชฌงค์ 7 อย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีโพชฌงค์ได้ก็ต้องอาศัยสติปัฏฐาน 4 สติจะมีได้ก็จากอนุสติ 10Q: กำหนดสิ่งที่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไรว่าอวิชชาได้?A: พระพุทธเจ้าบัญญัติว่าอวิชชามีอยู่ ซึ่งแต่ก่อนมีพระพุทธเจ้าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอวิชชามีอยู่ เมื่อรู้แล้วค่อยไปทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ให้รู้ขึ้นมา ทำวิชชาให้เกิดด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วอวิชชาจะดับไปQ: บารมีมีกี่อย่างA: ตามพุทธพจน์มี 10 บารมี 30 นั้นมาจากคัมภีร์พุทธวงศ์ แต่ทั้งนี้อย่าเพิ่งปฏิเสธควรแยกทำความเข้าใจQ: อโหสิกรรมอย่างไรให้ถูกต้องA: อโหสิกรรม คือ กรรมที่ได้กระทำแล้ว พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ผูกเวร เราจะมีอคติจนผูกเวรไปในกรรมที่ทำไปแล้วหรือไม่ ในส่วนตัวเราจิตเรา เราก็ฝึกเอา ใช้พรหมวิหารปฏิบัติตามมรรค 8 ส่วนจิตคนอื่นเราควบคุมไม่ได้ก็ให้อดทนเอา จะสิ้นกรรมต่อกันได้เมื่อมรรค 8 บริบรูณ์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1.5.202159 Protokoll, 38 Sekunden
Episode Artwork

มรรค 8 กับปัญญา (6416-7q)

Q: ต้องออกแบบโรงฆ่าสัตว์ ควรทำอย่างไรA: อยู่ที่การตั้งจิต เอามรรค 8 มาเป็นเกณท์ในการตัดสินใจ ในที่นี้ คือ ศีล 3 ระดับ ลำดับในการกระทำ ดูที่เจตนา และลมปราณของสัตว์ การเบียดเบียนกันย่อมมีเป็นธรรมดาเป็นโทษของวัฏฏะ ใช้ความรู้ที่มีเพื่อที่ลดปริมาณการเบียดเบียนต่อกันให้มากที่สุด ให้ทำความดีอย่างอื่นเพื่อให้จิตใจสบายอยู่ในห้วงแห่งบุญQ: ภาวนามยปัญญาเกิดตอนไหน เป็นอย่างไรA: ทางเกิดแห่งปัญญามี 3 ระดับ คือ สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง จินตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการทรงจำได้แล้วใคร่ครวญ และภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากพัฒนา ภาวนามยปัญญาเกิดต่อจากจินตมยปัญญา ระหว่างทางนั้นศีลพร้อม กิเลสถูกกำจัดลง ๆ การภาวนามีผลจากการที่มีสัมมาสมาธิ อวิชชาลดลง ๆ วนรอบไปตามลำดับ เกิดตอนที่สมาธิมีแล้วพิจารณา ผลคือ ปล่อยวางได้ ลักษณะไม่ใช่ความคิดแต่เป็นเหมือนกล่องดำที่เมื่อผ่านแล้วจะเกิดผลเป็นความรู้ขึ้นมาได้ ดังนั้นสัญญาและฌานจึงมาก่อนญาณQ: พระสงฆ์กับการร่วมชุมนุมทางการเมืองA: ให้ยึดหลักหน้าที่ของภิกษุที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้Q: การลาสิกขาต้องเปล่งวาจาหรือไม่A: อยู่ที่เจตนา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
24.4.202156 Protokoll, 42 Sekunden
Episode Artwork

เมื่อไม่คาดหวังก็ไม่ทุกข์ หรือก้อนหินในกำมือ

Q: เป็นทุกข์เพราะเกรงใจ ควรใช้ธรรมข้อไหนปรับA: ความทุกข์มี 11 อย่าง ในคำถามนี้ตกตรงทุกข์ เพราะประสพสิ่งที่ไม่น่าพอใจ พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ และอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 ที่เป็นไปตามมานะ 9 ทุกข์เพราะไปคาดหวังจากสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ควรทำความเข้าใจว่า พฤติกรรมของคนเป็นอนัตตา มีเงื่อนไขปัจจัยที่ให้เขา หรือเราแสดงออกมาแบบนี้ ถ้าเราไปคาดหวังจากสิ่งที่เป็นอนัตตาเราจะทุกข์ เป็นการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น คาดหวังเป็นการจมทุกข์ให้หาทางออกด้วยมรรค 8 ทำไมมรรค 8 จึงแก้ปัญหาได้ เพราะมรรคจะทำให้มีความมั่นใจศรัทธาในพุทธ ธัม สงฆ์ และลงมือทำจริง มีสติเป็นดุจเครื่องเอกซเรย์ แก้ให้ตรงจุด ยึดตรงไหนจะคลายความยึดถือได้ก็ตรงนั้น สละความคาดหวังทั้งจากตัวเราและตัวเขา พิจารณาความเป็นอนัตตา จะมีปัญญาเห็นตามจริง คลายทุกข์ได้ จะคลายทุกข์ได้เร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับความแก่กล้าของอินทรีย์ 5 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
17.4.202154 Protokoll, 50 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิสัลลีน หลีกเร้นเป็นที่มายินดี (6414-7q)

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบความเพียรเถิด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดย่อมรู้ตามความเป็นจริง“- ปฏิสัลลีนสูตร -ถ้าเคยคิดหาคำตอบหาทางออกจากวังวน สิ่งวุ่นวาย สิ่งที่ทำให้ทุกข์ สิ่งที่เคยเชื่อว่าทำให้สบายใจกาย แต่สุดท้ายกลับทุกข์อยู่ดี มาร่วมค้นหาคำตอบ ออกจากวัฏฏะด้วยการหลีกเร้น เพราะเมื่อหลีกเร้นแล้ว จะได้สัมมาสติที่ก่อให้เกิดสัมมาสมาธิทำให้เห็นตามจริงได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10.4.202155 Protokoll, 12 Sekunden
Episode Artwork

เข้าใจโลก เข้าใจรัก (6413-7q)

Q: ธรรมใดเป็นเหตุให้ไม่เร่ร่อนเป็นทุกข์วนไปA: ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติ เอาข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ เพราะจะดึงข้ออื่น ๆ ตามมาโดยอัตโนมัติ อาจจะสรุปเหลือแค่สมถะวิปัสสนา หรือเหลือแค่สติก็ทำให้พ้นทุกข์ได้ ประเด็น คือ ไม่ใช่มากหรือน้อย แต่อยู่ที่ทำได้ดับทุกข์ได้Q: โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง และความหมายของโลกA: ความหมายของโลกมี 4 นัยยะ คือ กาย (โรหิตัสสสูตร), เป็นกระแสสิ่งที่รับรู้เข้ามาผ่านอายตนะภายนอกภายใน, สภาวะภพและระบบสุริยะ ต้นกำเนิดของโลกเกิดจากวิวัฒนาการที่ต่ำลงจากพรหมกลายเป็นมนุษย์ โลกในความเชื่อของพราหมณ์นั้นเชื่อว่าพรหมโลกเที่ยงส่วนโลกอื่น ๆ ไม่เที่ยง แต่ในธรรมวินัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยงแม้ในพรหมโลกก็ตามQ: พ่อแม่ป่วย และดื้อควรวางใจอย่างไรA: ในการแนะนำถ้าคนป่วยมีปัญญาให้เตือนเพื่อระลึกถึงโสตาปัตติยังคะ 4 ส่วนในผู้ที่ยังไม่มีปัญญาควรให้กำลังใจดูแลห่วงใย ทำหน้าที่ของลูก อดทน เมตตา รับภาระ ใช้โอกาสนี้ให้ดีจะไม่เสียใจ และปรึกษากัลยาณมิตรQ: ความแตกต่างระหว่างวิปัสสนากับวิปัสสนาญาณA: ญาณไปประกอบกับอะไร หมายถึง ความรู้ในเรื่องนั้น มาในทางปัญญา วิปัสสนา คือ การเห็นตามจริง เป็นเรื่องของคำศัพท์Q: ระหว่างนั่งสมาธิควรฟังธรรมหรือทำแยกกันไปA: ควรฝึกให้ได้ทั้งสองแบบ อยู่ที่วัตถุประสงค์Q: มโนมยิทธิและสมเด็จองค์ปฐมคืออะไรA: มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจยังเกี่ยวเนื่องกับโลก การเห็นองค์ปฐมนั่นอาจเป็นนิมิตของครูอาจารย์นั้น ๆ ส่วนพระพุทธเจ้านั้นยังอยู่ เพราะพระธรรมคำสอนยังอยู่เป็นศาสดาแทนQ: ต้องการพ้นทุกข์จากอกหักควรทำอย่างไรA: ก็ต้องละฉันทะราคะในผู้หญิงคนนั้น ตั้งสติ พิจารณาความเป็นอสุภะ กรีดมีด คือ ปัญญาลงไปที่แผลรีดเอาหนองออกใส่ยา คือ มรรค 8 ไม่กินของแสลงดูแลแผลให้ดี  เจ็บนี้จะจบได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3.4.202159 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

ความปรุงแต่งคืออวิชชา (6412-7q)

Q: อะไรที่เข้ามานึกคิดปรุงแต่งA: คำตอบ คือ ไม่มี ที่เข้าใจว่าจิตเข้ามาปรุงแต่งนั้นเข้าใจผิด เพราะจิตก็ไม่มีตัวตนเป็นสภาพที่ลวงตา ควรทำความเข้าใจว่า สังขารการปรุงแต่งทั้งหมด คือ อวิชชา การเห็นความไม่เที่ยงจะทำให้อวิชชาละไปได้วิชชาเกิด เพราะไม่เข้าไปยึดถือ พอละความยึดถือได้ก็ดับเย็น Q: ทำไมต้องพ้นทุกข์ ในเมื่อพ้นแล้วก็ยังทำกิจที่เป็นทุกข์อยู่A: ทุกข์ไม่ใช่ให้หนี แต่ทุกข์ต้องเข้าใจยอมรับ พอยอมรับได้ก็ขันธ์ 5 นั้นก็จะไม่มาเป็นทุกข์ ขันธ์ 5 ที่ไม่ประกอบด้วยอุปาทานจะไม่ทุกข์ กิจกรรมก็ยังทำอยู่แต่ไม่ติดพันมัวเมา เห็นโทษในสิ่งเหล่านั้นอยู่ ทำแบบเหนือทุกข์Q: ข้าวหมากถวายพระได้หรือไม่A: ได้ ถ้ามีปัญหาสุขภาพแล้วพิจารณาเป็นยาก็ฉันได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อระงับเวทนาQ: ทำดีลบล้างความชั่วได้หรือไม่A: ได้ อยู่ที่ทำดีแบบไหนขนาดไหน  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.3.202155 Protokoll, 18 Sekunden
Episode Artwork

ศีล คือ ความเป็นปกติ (6411-7q)

Q: สวดมนต์ควรสวดบทใด และการทำวัตรเช้าเย็นควรหรือไม่A: สวดบทที่เรารู้ความหมาย เข้าใจ เพื่อให้ถึงจุดที่จิตสงบแล้ว จะเห็นธรรมตามจริงได้ วัตร คือ ข้อปฏิบัติที่ทำเป็นปกติควรทำQ: ความแตกต่างระหว่างศีล 8 กับศีลอุโบสถ และควรสมาทานก่อนหรือไม่A: ไม่เหมือนกัน ศีล 8 จะรวมทั้งหมด ถ้าผิด คือ ผิดทั้งหมด ส่วนอุโบสถศีล คือ รับมาทีละข้อ อุโบสถ คือ การเข้าอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง เป็นการตั้งใจให้มันได้ อย่ากลัวผิด อย่ากลัวการสมาทาน เป็นการเพิ่มกำลังของสัมมาสติ และสัมมาวายามะ ก่อให้เกิดสมาธิศีล คือ ความเป็นปกติ การสมาทาน คือ ความตั้งใจมั่นให้มันได้ เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มาเป็นปกติในทางดี ควรทำQ: อะไรคือปานะA: ปานะ คือ น้ำจากผล 8 อย่าง ผ่านการกรอง ไม่ผ่านความร้อนหรือน้ำตาล ดื่มได้เหมือนน้ำเปล่าโดยไม่ต้องมีเหตุมีปัจจัย นอกนั้นเป็นยาที่กิน หรือดื่มเพื่อระงับเวทนาQ: ศีล 8 ตอบไลน์ได้หรือไม่A: ถ้าดูแล้ว ราคะโทสะโมหะนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง เอาอันนี้เป็นเกณฑ์Q: ถือศีลที่บ้านแต่ไม่กล้าสมาทานควรทำอย่างไรA: สมาทาน คือ การรับเอามาปฏิบัติ เหมือนรับมงกุฎดอกไม้มาประดับที่ศรีษะ ควรทำ ไม่ต้องกลัวผิด จะทำให้สติมีกำลัง Q: ญาติเธอ ญาติฉัน ใส่ใจไม่เท่ากัน มีมุมอย่างไรA: ให้ปฏิบัติตามหลักธรรม 3 ข้อที่ธนัญชัยเศรษฐีสอนนางวิสาขา พร้อมทั้งทำหน้าที่ในทิศทั้งหก ก็จะไม่มีปัญหาQ: การหายตัวได้มีจริงหรือA: ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่จริง เป็นอิทธิวิธญาณ เป็นปัญญา มีเหตุจากสมาธิ เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าไม่ยกย่อง สิ่งที่ควรทำให้มี คือ อาสวักขยญาณQ: ความสามารถที่เกินเด็กเป็นไปได้หรือA: สามารถเป็นไปได้ ที่ยิ่งกว่านั้น คือ สำเร็จเป็นอรหันต์ จึงไม่ควรประมาทใน 4 สิ่ง และให้ตั้งอยู่ในธรรมQ: ผลของคำสาปแช่งมีจริงหรือA: อยู่ที่กำลังจิตของผู้แช่งกับผู้ถูกแช่ง ใครมีมากกว่ากัน ให้รักษาความดี ความดีจะรักษาเรา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
20.3.202158 Protokoll, 15 Sekunden
Episode Artwork

ธัมมะกับชีวิต (6410-7q)

Q: เมื่อขัดเคืองแล้วมีสติรู้ตามหลังนับว่าช้า? ไม่อยากขุ่นใจนับเป็นวิภวตัณหา? และสามารถฝึกจนไม่ขุ่นใจเลยได้หรือไม่A: การที่มีสติรู้แต่ยังละไม่ได้ เพราะสัมมายาวามะยังไม่เต็ม ก็ฝึกทำจริงแน่วแน่จริง ทำไปเรื่อย ๆ จิตจะมีความเคยชิน อาจจะไม่ได้มีสติตลอดเวลา แต่จะพัฒนาขึ้นมาได้ ที่สำคัญคือ อย่าไปติดกับดักความอยากหรือความไม่อยาก แค่ทำให้ถูกมรรคเท่านั้นพอ พอเราไม่ตั้งอยู่ที่ความอยากหรือไม่อยาก เวลามีผัสสะมากระทบ มันก็จะแค่สักว่ารู้เฉย ๆ ความขุ่นใจจะไม่เกิดขึ้น นับเป็นอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อินทรีย์นั้นจะมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ สติก็มีวิมุตเป็นที่แล่นไปสู่ การที่บางครั้งทำได้ นั่นคือ วิมุตแล้ว แต่ที่ยังกลับกำเริบ ก็เพราะยังไม่เห็นความไม่เที่ยงของสติและของจิต ยังไม่เห็นความเป็นตัวตนของจิต ยังยึดสติและจิต ต้องมีปัญญาเห็นความไม่เที่ยง จึงจะกำจัดอวิชชาได้ ฝึกจิตให้เห็นความไม่เที่ยงได้ก็ด้วยมรรค 8  ฝึกตามเส้นทางนี้ไปเรื่อย ๆ จะละความขุ่นเคืองได้ วิมุตนั้นก็จะนำไปนิพพาน Q: ฝึกจิตรับสถานการณ์ร้าย ๆ ได้อย่างไรA: ให้มีสติ ให้เห็นว่า ภาวะแก่เจ็บตายมันมีของมันอยู่แล้ว การยอมรับจะทำให้ไม่กลัว ทำความเข้าใจตามความเป็นจริงของมัน คือ เข้าใจเหตุเกิด ตัวมัน เข้าใจเหตุดับ รสอร่อย และโทษของมัน แล้วหาอุบายการนำออกด้วยมรรค 8 เราจะยังคงผาสุกอยู่กับสถานการณ์นั้นได้ก็ด้วยมรรค 8 Q: ความสัมพันธ์ของคำว่าเวร-กรรมA: เป็นสิ่งที่ผูกพันกันมา สิ้นได้ดับได้ด้วยอริยมรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.3.202158 Protokoll, 14 Sekunden
Episode Artwork

อนิจเจทุกขสัญญา (6409-7q)

Q: อนิจเจทุกขสัญญา คือ อะไรA: สัญญา คือ ความหมายรู้ มีทั้งส่วนที่เป็นทุกข์ และส่วนที่เป็นมรรค  อนิจเจทุกขสัญญาสามารถมองได้หลายมุม คือ เอาทุกขสัญญาเป็นหลัก แล้วเห็นความไม่เที่ยงในทุกข์ นั้นคือ อนิจจสัญญา หรือในคุณสมบัติของความที่เป็นทุกข์ เราหมายเอาความหมายที่ทนได้ยากในทุกข์นั้น หมายเอาโดยความไม่เที่ยงของสภาวะนี้ คือ ทุกขสัญญา หรือมองความที่ไม่ใช่ตัวตน ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นเป็นอนัตตสัญญา ระหว่างอนิจจังกับทุกขังก็จะมีอนิจเจทุกขสัญญา ระหว่างทุกขังกับอนัตตาก็จะมีทุกเขอนัตตสัญญา อยู่ที่มุมมองว่าจะมองจากด้านไหน มองจากตรงไหนของกระบวนการ ในกระบวนการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป คือ ความไม่เที่ยงอยู่แล้ว และไม่ใช่ตัวของมันเอง ต้องอาศัยสิ่งอื่น เปลี่ยนแปลงตามสิ่งนั้น ๆ นี่คือ ทุกข์ การเห็นกระบวนการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปต้องเห็นทั้งก้อน เห็นแล้วก็จะเห็นอีก 3 ขั้นตอน คือ อนิจจังทุกขังอนัตตาไปด้วยในตัว การเข้าใจทั้งสายเกิดและสายดับ จึงจะสามารถเข้าใจว่าแม้กรรมเก่าก็ดับได้ จะเข้าใจแบบนี้ได้ก็ด้วยมรรค 8 Q: ความเข้าใจที่ว่า ทุกอย่างเป็นกรรมเก่าถูก?A: แทนที่จะพูดถึงความเที่ยงแท้แน่นอนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ให้ทำความเห็นมาด้านที่ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งล้วนมีความไม่แน่นอน แม้กรรมเก่าก็ไม่เที่ยง ฝึกมาอย่างนี้ ไม่ใช่แค่ทุกข์เท่านั้นที่เราเห็น แม้สุขเราก็จะเห็นได้ว่าล้วนไม่เที่ยง Q: สัญญา 10 ประการที่อยู่ในส่วนแห่งมรรคมีอะไรบ้างA: อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา, อสุภสัญญา, อทีนวสัญญา, ปหานสัญญา, วิราคสัญญา, นิโรธสัญญา, สัพพโลเก อนภิรตสัญญา, สัพพสังขาเร อนิฏฐสัญญา และอานาปานสติQ: กรรมติดจรวดเป็นอย่างไรA: กรรมติดจรวดมีแน่นอน คือ พอทำความดีแล้วความดีเกิดทันที พอทำความชั่วความชั่วเกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องรอชาติหน้า ประเด็นคือ คุณรู้มั้ย ถ้าไม่มีสติก็จะไม่เห็น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6.3.202155 Protokoll, 28 Sekunden
Episode Artwork

คนไม่มีศาสนา (6408-7q)

ประเด็นที่น่าสนใจในตอนนี้ พูดถึงสถิติในสัมมโนประชากรระบุว่า คนไม่มีศาสนากันเพิ่มมากขึ้น คนไม่มีศาสนาจริง ๆ ก็คือ คนที่ไม่แคร์อะไร ไม่เชื่อว่าจะต้องทำความดี ถึงแม้คุณระบุไว้ว่าไม่มีศาสนาเป็น NIL แต่ถ้าดูตามหลักการประพฤติแล้ว คุณยังมีหลักในการดำเนินชีวิต คุณยังมีที่พึ่ง มีหลักการ นั่นคือ ดีแล้ว ดีกว่าคนที่ไม่มีศาสนาจริง ๆ หรือดีกว่าคนที่มีศาสนาแต่ทำผิดศีล ในคนที่มีที่พึ่งที่ยังไม่ถูก เช่น นับถือผี/เทวดาก็ยังนับว่าดีแล้ว ค่อย ๆ ปรับไปให้ถูก ศาสนา หมายถึง คำสอนใช้เป็นที่พึ่ง พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ดูวุ่นวายนั้นมาภายหลัง อย่าดูแค่เปลือกจะเสียโอกาสได้ ต้องเข้าใจถึงแก่น อย่าติดเพียงแค่พิธีกรรม การที่คนดังหันมานับถือพุทธมากขึ้น เป็นเพราะการประจักษ์ด้วยตนเองว่า สามารถดับทุกข์ได้จริง ที่นี่เดี๋ยวนี้ คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็น live style ทางกายวาจาใจที่เมื่อปฏิบัติแล้ว ย่อมรู้เห็นได้เอง คนดังอาจจะมีอิทธิพลต่อเราแต่เราจะได้หรือไม่ อยู่ที่การลงมือทำจริงของเราเอง ทำให้ละเอียดลึกซึ้งลงไปนอกจากนี้ยังมีประเด็นความสำคัญวันมาฆบูชา มุมมองจากการที่พระสารีบุตรพบท่านอัสสชิ บรรลุธรรมจากคาถาเยธัมมา ตลอดจนสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสในวันนั้น คือ หลักการ 3 อุดมกราณ์ 4 และวิธีการ 6 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.2.202155 Protokoll, 54 Sekunden
Episode Artwork

เกิดแล้วต้องตาย แล้วจะเกิดมาทำไม (6407-7q)

Q: เกิดมาแล้วต้องตาย แล้วจะเกิดมาทำไมA: เป็นคำถามที่พระโพธิสัตว์แสวงหาคำตอบ เห็นว่าความตายเป็นทุกข์ จะยุติการเกิดได้ด้วยความไม่ตาย แต่เมื่อเกิดมาแล้ว การเกิดนั้นก็เพื่อแสวงหาความเป็นอมตะ ด้วยการปฏิบัติมาตามมรรค 8 จึงจะตัดวงจรนี้ได้ จะถึงความไม่ตายได้Q: ไสยศาสตร์คืออะไรA: ไสยศาสตร์ คือ พวกมนต์ดำ ความเชื่อ เปรียบเทียบกับพุทธศาสตร์โดยดูจากกุศลหรืออกุศล ถ้าไม่รู้ให้ถามผู้รู้ คือ พุทธะ ในชีวิตจะเห็นมาคู่กันให้ฝึกสังเกต ก็จะเป็นการฝึกสติไปในตัว แล้วเลือกให้ดีจะมาตามมรรคได้Q: เมื่อคุณพ่อดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ลูกควรจะทำอย่างไรA: คนจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เขาจะต้องเห็นโทษด้วยใจ การมีกัลยาณมิตรจะช่วยได้ และการมีศรัทธาจะก่อให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริง ละได้Q: เป็นหอบหืดควรทำอย่างไรA: ในคำสอนนี้ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัย ก็แก้ไปตามเหตุทางกาย หรือถ้าทางกรรมเก่า ก็แก้ด้วยการทำให้สิ้นกรรมปฏิบัติไปตามมรรค 8 Q: ปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12 เป็นอย่างไรA: ปริวัฏฏ์ 3 ก็คือ ญาณ 3 ในอริยสัจ 4 ได้ผลออกมาเป็นอาการ 12 ญาณ 3 คือ สัจจญาณ:ญาณในการรู้เห็นความจริง  กิจญาณ:ญาณในการทำกิจที่ควรทำในแต่ละข้อให้ถูกต้อง และกตญาณ:ญาณที่รู้ว่าได้กระทำแล้ว ทำข้อใดข้อหนึ่งก็ได้แล้วข้อที่เหลือจะตามมา Q: เมื่อไม่ชอบหน้า แต่ต้องแผ่เมตตาจะทำได้A: ทำได้ ฝึกอยู่เรื่อย ๆ เหมือนที่เราเคยฝึกความโกรธมานั่นเอง พัฒนาได้ ให้มั่นใจ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
20.2.202157 Protokoll, 39 Sekunden
Episode Artwork

ปรับชีวิตละอุปาทาน (6406-7q)

คำถามแรก เรื่องอุปาทานกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อุปาทานมี 4 ชนิด คือ กามุปาทานความพึงพอใจในทางตาหูจมูกลิ้นกาย, ทิฏฐุปาทานการยึดติดในความคิด (ทางใจ), สีลัพพตุปาทานการยึดมั่นในศีลและพรต ในโสดาบันสีลัพพตปรามาสละได้หมด แต่สีลัพพตุปาทานยังละไม่หมด ความยึดถือในกุศลก็ไม่นับว่าดี เพราะความยึดถือจะนำสิ่งที่ไม่ดีอื่นตามมา สรณะกับยึดถือจึงต่างกัน และอัตตวาทุปาทานยึดถือว่าวาทะนั้นเป็นของตน เกิดความเป็นสภาวะขึ้นมา อุปาทานต้องละทิ้ง จะละได้ต้องเริ่มจากการเห็นตามจริงในขันธ์ 5 เกิดหน่าย คลายกำหนัด การปล่อยวางต้องเป็นตามกระบวนการนี้ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นโมหะ ที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี คือ เราไม่ได้ละขันธ์ 5 แต่ละอุปาทานในขันธ์ 5 การจะเห็นตามจริงได้จิตต้องเป็นสมาธิ ในชีวิตประจำวันให้มีสติตั้งไว้จะวางความยึดถือในความเพลินนั้น ๆ ได้ ในคำถามที่ 2 ธัมมมานุธัมมปฏิบัติคืออะไร คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญ ทำมาดีแล้วให้ทำต่อไป ที่ยังปฏิบัติไม่ได้มีอยู่ 3 นัยยะ คือ ปฏิบัติตามคำสอนที่เกินพอดี, ปฏิบัติยังไม่ถึงได้ผลของมัน และข้อสุดท้ายดีเป็นบางเวลา ในคำถามสุดท้าย อุเบกขาวางอย่างไรให้พอดี อุเบกขา คือ ความวางเฉย ต้องมีอยู่ตลอด แต่อุเบกขาอย่างเดียวจิตจะไม่อ่อนเหมาะเพื่อการสิ้นอาสวะได้ ต้องผสมกับเมตตาจึงจะสมดุลเป็นธัมมานุธัมมปฏิบัติ พรหมวิหาร 4 ต้องมีสติควบคุมทั้งหมดจึงจะพอเหมาะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.2.202155 Protokoll, 3 Sekunden
Episode Artwork

ยิ่งให้ ยิ่งได้ (6405-7q)

Q: การแก้ไขคนตระหนี่ควรทำอย่างไรA: เริ่มจากตัวเราไม่ควรมีความตระหนี่ หรือความหวงกั้น เริ่มให้จากตัวเราก่อน แล้วการให้ของเราจะสามารถช่วยลดความตระหนี่ของคนอื่นได้ อย่าใช้อกุศลธรรมไปบังคับมันจะไม่ยั่งยืน ความตระหนี่เอาชนะได้ด้วยการให้ได้แน่นอน ถ้าไม่มีสินทรัพย์จะให้ สามารถให้ด้วยโภคะที่มี คือ เมตตาQ: คุณธรรมใดจะแก้ปัญหาความสัมพันธ์พ่อเลี้ยงลูกเลี้ยงA: ปัญหานี้มีได้หมดในทุกความสัมพันธ์ ต้องดูที่เหตุว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้น ความสัมพันธ์ที่ไม่ดี เพราะมีกามพยาบาท และเบียดเบียน ถ้าละได้ความสัมพันธ์นั้นจะเป็นดุจนมผสมกับน้ำ หาเหตุที่มันจะดี ปรับทัศนคติ เมตตาอ่อนน้อม เอากุศลธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตQ: ลูกไม่ดูแลพ่อแม่เพราะอะไรA: ลูกที่มีความสามารถแล้วไม่ดูแลพ่อแม่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นคนถ่อย เปรียบไม้เท้ายังใช้ค้ำยันป้องกันตัวมีประโยชน์มากกว่าลูกที่ไม่ดูแล การดูแลพ่อแม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ถ้ามีการแตกแยกให้กลับไปดูว่ามีกามพยาบาทเบียดเบียนหรือไม่ แล้วตั้งจิตให้มีความรักใคร่ปราถนาดีต่อกันQ: บุญเก่าช่วยชีวิต หรือกรรมเก่ายิ่งซ้ำเติมA: เป็นเรื่องของกรรมอุปถัมถ์ หรือกรรมตัดรอน การให้ผลของกรรมเป็นแบบนี้ เป็นธรรมดามันเกิดขึ้นได้ มองให้เห็นความเป็นธรรมดา คือ 1. เกิดได้ดับได้ตามโลกธรรมแปด / 2. ภพมนุษย์มีสุขทุกข์พอ ๆ กัน ไม่ควรดูตรงสุข หรือทุกข์ และ 3. สามารถทำกรรมทั้งบุญบาปสิ้นไปได้ด้วยอริยมรรคQ: เริ่มสวดมนต์บทไหนดีA: ถ้าสวดแล้วไม่กังวลควรทำ บทไหนก็ได้ที่มีQ: จะปฏิบัติตามคำสอนได้อย่างไรเมื่อไกลกันA: สามารถปฏิบัติอยู่ที่บ้านได้แล้ว ฟังในวันอังคารที่เน้นการปฏิบัติแล้วทำจิตตามไป ที่สำคัญ คือ ทำในจุดที่เราทำได้ อย่าไปให้ความสำคัญในจุดที่ยังทำไม่ได้ เพราะจิตถ้าเพ่งไปตรงไหนตรงนั้นจะมีพลัง แล้วจะพัฒนาได้ Q: ทำไมคนจึงเห็นผิดเป็นชอบA: อาจจะมีหลายสาเหตุ แต่ประเด็น คือ อย่าอนุญาตให้ความไม่ดีของเขามาทำร้ายเรา เพราะนั่นเท่ากับเราอนุญาตให้ความดีของเราสิ้นสุดลง อย่าไปยึดติด ให้มีเมตตากรุณา และอุเบกขา  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7.2.202159 Protokoll, 19 Sekunden
Episode Artwork

ในสติย่อมมีปัญญา (6404-7q)

Q: ตักบาตรให้สามี เขาจะได้รับบุญหรือไม่A: มีส่วนที่ได้แน่นอน การให้ทานเป็นสิ่งดีควรทำ ไม่ควรเว้นQ: ต้องกรวดน้ำหรือไม่A: ไม่จำเป็น เป็นธรรมเนียมที่รับมาจากอินเดีย ดั่งปรากฏพระเวสสันดรรดน้ำยกช้างให้พราหมณ์ คือ ทานนั้นให้แล้วไม่เอาคืน ที่สำคัญ คือ ต้องมีบุญจากการให้ทาน น้ำมีหรือไม่ไม่สำคัญQ: อานาปานสติในปฏิสัมภิทามรรคเจริญอย่างไรA: การพัฒนาจิตควรทำเป็นเรื่องดี แนะนำว่าอย่าบังคับลม ทำให้ได้ตลอดเวลา ศึกษาให้ยิ่งขึ้นไป และไม่ยึดติดในเครื่องมือQ: ในสถานการณ์ที่แตกต่างสติ และปัญญาใช้เมื่อไหร่A: ต้องกลับมาที่นิยามของพระพุทธเจ้า สติ คือ การระลึกได้ ในบางครั้งอาจมีการลืมไป เช่น ขับรถเลยบ้าน นั่นไม่ใช่ว่าเผลอสติ ในลักษณะจิตใจไม่มั่นคง แต่ในเรื่องการงานมันผิดพลาดได้ หรือในบางคนก็มีมิจฉาสติ ส่วนปัญญา คือ การเห็นความเกิดขึ้นความดับไป เห็นความไม่เที่ยง ปัญญาไม่ใช่ทักษะ แต่เป็นความรู้ในการชำแรกกิเลส จากมรรค 8 ย่อมาเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา สมถะวิปัสสนา สติปัฏฐาน 4 ในสัมมาสติย่อมมีปัญญาอยู่เสมอQ: สัมปชัญญะส่งเสริมให้มีสติใช่หรือไม่A: มีส่วน พระพุทธเจ้าบอกว่าพึงมีสติอยู่อย่างมีสัมปชัญญะ ให้ทำข้อปฏิบัติทางกายแล้วส่งผลมาที่ใจ ข้อปฏิบัติทางกาย เช่น มีศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ การหลีกเร้น การสำรวมอินทรีย์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้สมาธิดี สติมาก่อนสมาธิ และหลังจากศีลQ: กามในศีลข้อ 3 คืออะไรA: ศีล 5 ทั้งหมดเป็นเรื่องของกามทั่ว ๆ ไป กามที่อยู่ในใจจะบีบบังคับให้ประพฤติผิด ศีลจะช่วยรักษากายวาจาได้ กามข้อที่ 3 เป็นเรื่องของการทำผิดจารีตในรูปแบบต่าง ๆ ณ สมัยนั้น ๆ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
30.1.202155 Protokoll, 39 Sekunden
Episode Artwork

ศีลแปดที่พอดี (6403-7q)

Q: ปฏิบัติธรรมแล้วร้องเพลงได้หรือไม่A: ถ้าศีล 8 ซึ่งห่างไกลจากกามก็ไม่ควร แต่ถ้าเผลอทำนั่นคือ เผลอสติ ในขั้นนี้ยังไม่ถือว่ากำหนัดยินดีไปในกาม เพราะความเร่าร้อนยังไม่มีสมาธิยังได้ เป็นเรื่องที่เราต้องปรับเอาว่าจะข้างหย่อนหรือเข้ม หลักการ คือ ค่อย ๆ ลดกามลงจนหมดไป ความยินดีด้านนี้ก็จะหมดไปQ: สังโยชน์เบื้องสูงในรูปราคะ อรูปราคะ หมายถึงอะไรA: สังโยชน์ คือ เครื่องร้อยรัดให้อยู่ในภพ ภพ คือ ความเป็นสภาวะ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ  ขึ้นกับว่ามีอาสวะชนิดไหน สังโยชน์เบื้องต่ำถ้าละได้เป็นโสดาบันก็จะอยู่ในกามภพ หรือละไม่ได้เลยก็อยู่ในกามภพนี้ แต่ถ้าละปฏิฆะ และกามราคะได้ ก็เข้าสู่รูปภพ และอรูปภพ รูปภพ คือ ความยินดีในฌานสมาธิขั้นที่ 1 - 4 อรูปภพความยินดีตั้งแต่ชั้นอากาสานัญจายตนะ ความยินดีทำให้ติดอยู่ในชั้นนั้น ๆ เพราะฉะนั้นในสมาธิต้องมีปัญญาQ: สมาธิทุกแบบก่อให้เกิดปัญญาใช่หรือไม่A: ไม่ใช่ สมาธิที่ก่อปัญญานั้นต้องมีสติ มีองค์แห่งมรรคทั้ง 7 มาแวดล้อมด้วย สมาธินั้นจึงจะก่อปัญญา มีสมาธิมีปัญญาแล้ว จะเป็นที่ตั้งของวิชชา วิมุตทำให้หลุดพ้นได้Q: คนเนรคุณผิดศีลหรือไม่A: เนรคุณเป็นบาป แต่อาจจะไม่ผิดศีล แก้โดยรู้คุณ การรู้คุณ คือ ปัญญาQ: ความแตกต่างระหว่างสีลัพพตปรามาสกับสีลัพพัตตุปาทานA: คล้ายคลึงกัน  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.1.202157 Protokoll, 38 Sekunden
Episode Artwork

จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมยังประโยชน์ (6402-7q)

Q: จิตฺตํ ภาวิตํ มหโต สลฺวัตฺตติ มีที่มาอย่างไรA: ไม่ใช่พุทธพจน์ แปลว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมมีประโยชน์ใหญ่ ที่เป็นพุทธพจน์ คือ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ ความหมายคล้ายกัน อาจใช้คำต่างกันบ้าง ด้วยเป็นลักษณะของคำกลอน จิตที่อบรมดีแล้วจะละราคะได้ทำนิพพานให้แจ้งได้ จึงเป็นประโยชน์ใหญ่ จิตนั้นสามารถเข้าไปยึดถือโดยความเป็นตัวตนได้หมด ในช่องทางใจ ในธรรมารมณ์ และในวิญญาณ จะฝึกจิตได้ต้องรู้จักแยกแยะความแตกต่างของสิ่งเหล่านี้ ด้วยความเป็นประภัสสรละเอียดอ่อนของจิต จิตจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามที่มันซึมซาบไป คล้อยไปตามผัสสะ ทำให้มีอาสวะสะสม ถ้าเราไม่ฝึกไม่บังคับ จิตก็จะไปตามตัณหาไปตามผัสสะไปตามขันธ์ 5 คือ อยู่ฝั่งที่เป็นทุกข์กับสมุทัย แต่ถ้าฝึกจิตด้วยมรรค จิตจะได้รับการรักษา จึงเป็นประโยชน์ใหญ่เมื่อเข้าสมาธิได้ควรเห็นจิตโดยความเป็นของไม่เที่ยง แล้ววางความยึดถือในจิตนั้น จิตนี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าเห็นอย่างนี้ คือ การเข้าถึงสภาวะที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีปัจจัย คือ นิพพาน นิพพานมี 2 ฝั่ง คือ ฝั่งที่เหนือสมมติ กับฝั่งที่ยังมีสมมติอยู่ นี้จึงเป็นประโยชน์ใหญ่ จิตฝึกยากแต่คุ้มต้องพยายาม Q: อยากทราบวิธีฝึกจิตเพื่อรับมือกับสถานการณ์A: ถ้ายังไม่สามารถเห็นจิต ก็ให้เห็นความปรุงแต่งของจิต จะฝึกจิตได้ต้องรู้จักแยกแยะ เป็นยามที่ฉลาด จุดที่จะทำให้แยกแยะได้ คือ สติ มีสติแล้วก็ทำสมาธิให้เกิดมี ด้วยจิตที่เป็นอารมณ์อันเดียว จะรักษาจิตได้ ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 จะระงับอยู่ภายใน จะมีปัญญาแก้ไขปัญหาต่อไปQ: คนที่โกงกินต้องไปนรกแน่นอนหรือไม่A: ไม่แน่ ถ้าปัจจัยเงื่อนไขในการทำอาสวะนั้นเปลี่ยนไป เช่น ท่านองคุลีมาล หรือพระเจ้าอาชาตศัตรู ทำความดีเอาน้ำ คือ บุญ ล้างความเค็ม คือ ความบาป เมื่อเจอให้น้อมว่าไม่ทำตามเขา ไม่พยาบาทวางอุเบกขา เป็นกัลยาณมิตร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
16.1.202157 Protokoll, 47 Sekunden
Episode Artwork

รัก…เพื่อพัฒนา (6401-7q)

Q: เสียงนุ่มนวลแต่ทำไมฟังไม่เข้าใจA: การจะฟังธรรมให้รู้เรื่อง ควรฟังแยกเป็นสองส่วน คือ เหตุและผล การฟังแบบนี้เป็นการเพิ่มบุญวาสนาในส่วนของปัญญา และจิตอย่าไปอยู่ที่ผู้พูด ให้อยู่กับการรับรู้ทางเสียง ฟังแล้วต้องปฏิบัติสมาธิด้วย Q: มนาโป โหติ ขันติโก แปลว่าอะไรA: แปลว่า"ผู้มีความอดทนย่อมเป็นที่ชอบใจ (ของคนอื่น)" ไม่ใช่พุทธพจน์ เป็นภาษาบาลีที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อนนิพนธ์ไว้ โดยอ้างอิงมาจากพุทธสุภาษิต ความอดทนนั้นอยู่ที่ใจ เมื่อมีแล้วจะทำให้เข้าสมาธิได้ง่าย ขันติโสรัจจะเป็นความงดงามในธรรมวินัยนี้ และความเป็นที่ชอบใจของคนอื่นควรมีคุณสมบัติ 5 ประการ ผู้ที่น่ารักควรมีคุณธรม 8 อย่าง การมีขันติตลอดเวลาจะเป็นมงคลต่อตัวเรา ดั่งเช่นที่ท้าวสักกะอดทน อดทนเพราะมีปัญญาQ: 15 ค่ำ เดือน 6 มีอยู่ในพุทพจน์หรือไม่A: ในพุทธพจน์ไม่มี มีแต่ในคัมภีร์พุทธวงศ์Q: เมื่อคนรักมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม เราควรทำอย่างไร เลิกหรือไปต่อA: เมื่อคนปฏิบัติธรรมกิเลสจะลดลงเครื่องเศร้าหมองลดลง ความต้องการให้ตอบแทนแบบหนุ่มสาวจะลดลง ความรักไม่ได้ลดลง แต่ความเศร้าหมองของความรักมันลดลงไป เหลือแต่ความรักที่บริสุทธิ์ จึงทำให้มีความไม่ตรงกันไม่พอดีกัน ถ้ากิเลสเราลดลงเราจะเข้าใจได้ ที่ยังไม่เห็น เพราะยังไม่เห็นโทษของกาม อานิสงส์ของการหลีกออกจากกาม และความสุขที่เกิดจากฌานสมาธิ ใคร่ครวญให้มาก อย่าเห็นแก่ความหวือหวาแต่ให้พิจารณาจากอันตรายและความคุ้มค่า[14:04]ผู้มีความอดทนย่อมเป็นที่ชอบใจการปฏิบัติเพื่อไปนิพพานนั้นดี เมื่อคบคนดีแล้วไม่ควรเลิก ให้รักษาไว้แล้วพัฒนาตัวเองตามให้ทัน อย่าไปตามกิเลส ให้รักษากันดูแลกันไปตามศีลตามมรรคจะมีความก้าวหน้าละเอียดยิ่งขึ้นได้ เราเปลี่ยนตัวเราเองให้ดีขึ้นเป็นสิ่งดี Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9.1.202156 Protokoll, 17 Sekunden
Episode Artwork

นิโรธสู่นิพพาน (6353-7q)

Q: นิโรธในอริยสัจ 4 คือ นิพพานใช่หรือไม่A: นิโรธ คือ ความดับ อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่าง ในปฏิจจสมุปบาทท่านแบ่งเป็นสองส่วน คือ ในส่วนของการเกิด คือ ทุกข์กับสมุทัย และส่วนของการดับ คือ นิโรธกับมรรค นิพพานในนิโรธเป็นนิพพานที่อาศัยเหตุอาศัยปัจจัยนั่น คือ มรรค ถ้าเหตุปัจจัยดับความดับนั้นความพ้นนั้นสภาวะนั้นก็หมดไป ยังกลับกำเริบได้ หรือที่เรียกว่านิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ แต่เมื่อใดที่ทำไป ๆ จะมีนิพพานชนิดที่ไม่กลับกำเริบ เป็นความพ้นที่มีนิพพานเป็นที่ไปสู่ นิพพานที่เหนือเหตุเหนือปัจจัยQ: ความแตกต่างระหว่างสังโยชน์เพื่ออุบัติกับเพื่อไปเกิดในภพA: อุบัติ คือ การเกิด ภพ คือ ความเป็นสภาวะ สังโยชน์อันเดียวกัน อยู่ที่ว่ามองจากมุมของการเกิด หรือมองจากภพที่ไปเกิด Q: สร้างโกศธาตุในทะเลสมควรหรือไม่ A: เมื่อตายไปแล้วก็เป็นเรื่องของคนเป็น ร่างก็เหมือนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่าหาประโยชน์ไม่ได้ ที่ควรทำ คือ ทำความดีก่อนตาย ความไม่ประมาท คือ การทำกายวาจาใจให้เป็นสุจริตอันนี้จะเป็นหลักประกันได้Q: ผิดศีล ชอบติเตียน เป็นการดลใจของมารใช่หรือไม่ และจะขอตั้งสรณะใหม่A: ความสัมพันธ์ชู้สาวเป็นหนึ่งในสามสิ่งที่เมื่อปิดบังแล้วความชั่วจะเจริญ แต่ถ้าเปิดเผยออกมาความชั่วจะถูกลดทอนลงความดีจะเพิ่มขึ้น การที่เปิดเผยนั่น คือ การมีหิริโอตัปปะแล้ว ผิดศีลจึงทำให้ร้อนใจหรือการติเตียนคนก็ทำให้ศีล 7 ในข้อสัมมาวาจาบกพร่อง ทำให้การนั่งสมาธิจึงเป็นไปได้ยาก การตั้งสรณะใหม่จะช่วยได้ การเปิดเผยเป็นความดีแต่ต้องไม่ใช่การโฆษณา ต้องลงมือทำจริงทางกายวาจาใจ ส่วนการดลใจ หรือเชิญชวนมีอิทธิพลมากน้อยไม่เท่ากัน เขาแค่กระซิบแต่คนลงมือทำจริง คือ ตัวเรา เมื่อตกลงทำดีจะเจอแบบทดสอบในแต่ละขั้นที่แตกต่างกันไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2.1.202155 Protokoll, 53 Sekunden
Episode Artwork

เข้าใจอริยสัจด้วยศรัทธา (6352-7q)

Q: การรู้อริยสัจ 4 ดับอวิชชาได้อย่างไร A: คำตอบของคำถามนี้คือ ให้หยุดคิดก่อน เพราะปัญญาเกินกำลังของสติทำให้ฟุ้งซ่าน ให้ใช้ปัญญานั้นไปในทางเพิ่มศรัทธาในพุทธธัมสงฆ์ เมื่อมั่นใจแล้วจะทำให้มีกำลังความเพียรกำลังสติเพิ่มขึ้น ทำให้จิตรวมลงเป็นสมาธิจะงัดต่อมสงสัยได้ Q: ทำไมต้องขันธ์ 5 ไม่ใช่ขันธ์ 6A: ขันธ์ 5 เป็นการบัญญัติของพระพุทธเจ้าจิตสามารถเข้าไปยึดถือ 5 อย่างนี้ได้หมด ขันธ์ 5 อยู่ในกองทุกข์ของอริยสัจ 4 ลักษณะที่เกิดทุกข์เพราะอาศัยขันธ์ 5 และตัณหามันจึงเป็นทุกข์ ทำกิจในแต่ละขั้นในอริยสัจให้ถูก เมื่อปฏิบัติตามมรรคแปดจะเข้าใจทุกข์ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธได้ ปฏิบัติตามมรรคด้วยศรัทธาด้วยความเพียรเต็มที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้Q: คำว่า พระอรหันต์หมดอุปาทาน ท่านตัดวงจรปฏิจจสมุปบาท ทำไมท่านยังดำรงธาตุขันธ์อยู่ได้?A: ท่านหมายถึงตัณหาดับไป พอตัณหาดับหมด วิญญาณที่จะมาเป็นทุกข์ไม่มี เพราะว่าตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานนี้ไม่เกิดที่ไหนนอกจากขันธ์ 5 พอตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ พออุปาทานดับก็ไม่เกิดความยึดถือในขันธ์ อุปาทานในขันธ์ 5 ดับไป ขันธ์นั้นไม่มาเป็นทุกข์อีก ท่านจึงเรียกว่าดับทุกข์ได้ แต่ขันธ์ 5 ก็ยังดำรงอยู่ตามเหตุตามปัจจัยของมันQ: สัตตานังคืออะไร และเป็นขันธ์ 6 ได้หรือไม่A: มีความหมาย 2 นัยยะ คือ สัตว์โลก และความสามารถที่จะเข้าไปยึดถือได้ ในที่นี้คือความหมายที่ 2 ไม่ได้มีความหมายว่ามีสัตว์ในขันธ์ 5 Q: คนเราหยุดคิดได้หรือไม่ A: สัตว์ยังฝึกได้ จิตคนเราก็เช่นกัน จะให้คิดหรือไม่คิดก็ย่อมได้ เมื่อทำได้จะเป็นคนที่มีอำนาจเหนือจิตอยู่ที่การฝึกทำให้ชำนาญ จิตที่มีสติจะได้รับการหุ้มห่อ ในชีวิตทำได้ดูพระพุทธเจ้าสามารถเทศนาได้แม้อยู่ในฌาน 4 หรือเมื่อเราเข้าสมาธิความคิดมีอยู่แต่ไม่มากวนกัน Q: โสดาบัน 24 คืออะไรA: ในพุทธพจน์มี 3 แต่ในอรรถคาถามาแบ่งเพิ่มตามปฏิปทา 4 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.12.202058 Protokoll, 24 Sekunden
Episode Artwork

จุ่มแหแห่งธรรม (6351-7q)

Q: ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าเท่านั้นหรือจึงจะพ้นจากวัฏสงสารA: สัมมาสัมพุทโธมีความสามารถในการสอนที่เมื่อปฏิบัติตาม อินทรีย์เต็มจะบรรลุตามเป็นอนุพุทโธได้Q: การปฏิบัติของหลวงปู่ทวดA: ภิกษุทุกรูปปฏิบัติตามคำสอน บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ที่เมื่อปฏิบัติตามมรรค 8 จะไม่หลงแน่นอน ประเด็นคือขอให้ทำQ: ฝันเกิดขึ้นได้อย่างไรA: มาจากเหตุที่สร้างไว้ ทำดีเวลาไหนเวลานั้นฤกษ์ดีQ: เหตุที่ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 A: ทุกอย่างมีเหตุมีเงื่อนไขมีปัจจัย คือคุณทำดีไว้ก่อนแล้วQ: ผลของการสาบานทั้ง ๆ ที่ผิดA: ไม่จำเป็นต้องสาบาน ถ้าติเตียนตนด้วยตน มีความกลัวความละอายต่อบาป และถ้าปักใจว่าเขาไม่ดีหรือสมน้ำหน้าบาปนั้นจะตกมาที่เราQ: หิริโอตัปปะกับศีลอะไรมาก่อนA: ตั้งมั่นในธรรมที่ได้ก่อน ซึ่งธรรมะทั้งหมดเข้ากันได้เหมือนจุ่มแหQ: คุณธรรมทางด่วนที่ช่วยได้อยู่หมัดA: สติปัฏฐานสี่ในอนุสติ 10 เป็นคุณธรรมที่เป็นทางเอกทางเดียวที่เมื่อสติมีกำลัง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
19.12.202054 Protokoll, 12 Sekunden
Episode Artwork

น้อยหรือมากอยู่ที่ใจ (6350-7q)

Q: ทำทานด้วยอาหารจะได้ผลน้อยกว่าสร้างวิหารหรือไม่A: ทานที่มีองค์ประกอบครบทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมมีผลมาก อานิสงส์ก็ไล่มาตามลำดับจากทานศีลภาวนา ทุกข์อยู่ที่ใจการกระทำทางใจจึงให้ผลมากกว่าลดทุกข์ได้มากกว่า แต่แม้อาหารจะดูน้อยถ้าขณะ หลัง ระหว่างให้ตั้งจิตไว้ดี นั่นก็เป็นการกระทำทางใจที่ย่อมให้ผลมากได้เช่นกัน ใจจะไม่ลำเค็ญแม้เป็นคนเข็ญใจถ้ามีอริยทรัพย์ 7Q: เสียงมากระทบขณะทำสมาธิควรทำอย่างไรA: ที่สำคัญ คือ จิตตวิเวก แม้กายจะวิเวกหรือไม่ก็ตาม ฝึกมาก ๆ อย่าบ่นให้อดทน ความอดทนจะทำให้ข้ามไปได้ เพราะในอดทนมีความเพียรมีปัญญาQ: พิจารณากายแบบไหนดีA: จุดประสงค์ของการพิจารณากาย คือ ให้เห็นตามเป็นจริงเพื่อให้ปล่อยวางได้ ติดตรงไหนให้พิจารณาอันนั้น สุตะสั่งสมไว้หลายแบบได้ดีแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญด้วย ข้อควรระวังของการพิจารณากายก็คือให้ปล่อยวางไม่ใช่เพื่อทำลายQ: ออกจากสมาธิอย่างไรจึงจะถูกA: สมาธิไม่ควรออก แต่มีการเคลื่อนไปมาในฌานทั้ง 4 ได้ แต่ถ้ามีการออกโดยการตกใจ หรือตื่นเต้นออกมาอยู่ในแดนลบก็สามารถกู้คืนได้โดยฝึกทำเรื่อย ๆ และให้มั่นใจในพุทธธัมสงฆ์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12.12.202055 Protokoll, 4 Sekunden
Episode Artwork

เติมสมาธิให้บารมีเต็ม (6349-7q)

พยายามทำความดียังไงก็ตาม ก็ยังเจอปัญหาเศรษฐกิจ เจอปัญหานั่นเจอปัญหานี่โรคภัยไข้เจ็บก็เจออยู่ แต่ก็ยังคงทำความดีอยู่ตลอด ๆ ตอนสุดท้ายคุณอาจจะแบบไม่ได้มีความสุขก็ได้ แต่เรารู้ว่าในจิตใจเรา…กำไร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5.12.202056 Protokoll, 1 Sekunde
Episode Artwork

ปุถุชนกับความหวั่นไหว (6348-7q)

"พอจะตายแล้วจะเปลี่ยนแปลงมั้ย เพราะโมหะมันครอบอยู่ โมหะมันหลอกเราว่า ฉันมั่นใจแล้วนะ แต่จริง ๆ แล้วยัง"Q: คำถามจากการฟังนิเวสกสูตร สงสัยว่าบุคคลที่เลื่อมใสในพุทธธัมสงฆ์ แต่ศีลยังไม่เต็ม ก็คือปุถุชนทั่วไป?A: จากนิเวสกสูตร บุคคลที่เลื่อมใสในพุทธธัมสงฆ์จะไม่ไปนรกในชาติถัดไป แต่ในชาติที่ถัด ๆ ไปไม่แน่อาจไปก็ได้ คือ อยู่ในขั้นมรรคยังไม่ได้ผล มีอยู่ทั่วไป อาจจัดเป็นภาวะก่อนเป็นโสดาบันกล่าวคือวิจิกิจฉา และสักกายทิฏฐิทำได้ มีแต่ศีลที่ยังไม่เต็ม ศีลที่ยังไม่เต็มก็จะทำให้กลับไปกลับมาได้ Q: พิจารณากายมีหลายแง่มุม ควรศึกษาทั้งหมดหรือเลือกเพียงหนึ่งA: มีหลายลักษณะให้พิจารณา ตามหลักการคร่าว ๆ พระพุทธเจ้าให้หลักไว้ 2 ประเภท คือ ถ้ามีราคะโทสะโมหะมากควรพิจารณาอสุภะ ถ้ามีราคะโทสะโมหะเบาบางก็ให้เข้าสมาธิไปเป็นสุขาปฏิปทา ควรทำให้ได้หลากหลาย เหมือนการมีอาวุธที่หลากหลายพร้อมหยิบใช้ทำให้ชำนาญ การสั่งสมสุตตะก็คือการมีอาวุธนั่นเอง แต่ถ้าจะสับสนก็ให้ใช้ปฏิปทาอันเป็นที่สบาย คือ การพิจารณาถึงความไม่เที่ยง อนิจจังทุกขังอนัตตา Q: ผูกเวรผูกจิตข้ามภพข้ามชาติได้หรือไม่ ยุติได้หรือไม่A: การผูกเวรผูกจิตจะมีไม่ได้ในขั้นพรหม บุคคลที่ไปเกิดในขั้นพรหมแต่ยังไม่ได้เป็นอนาคามีก็จะกลับมาเกิดในกามภพได้อีก ทำให้เริ่มวงจรการผูกเวรได้อีกครั้ง วัฏฏะยังไม่ตัด จะยุติการผูกเวรผูกจิตหากันไม่เจอได้แน่นอนก็คือ การปฏิบัติให้ราคะโทสะโมหะสิ้นไป ตัดวงจรได้ แต่วิบากกรรมอาจจะยังคงได้รับอยู่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
28.11.202055 Protokoll, 30 Sekunden
Episode Artwork

ศรัทธากับสัมมาทิฏฐิ (6347-7q)

"พอเราปฏิบัติไป ๆ ปัญญาเรามากขึ้น บางทีรู้สึกว่าศรัทธาเรามันอ่อน ไม่ได้เป็น next level เหมือนอยู่กับที่ เพราะงั้นจะให้ไปต่อได้ ศรัทธาจะเป็นตัวที่ก้าวกระโดดขึ้นไปได้ให้เพิ่มไปได้ ถ้าคุณมีปัญญาสูง คุณใช้ปัญญาไปในทางเพิ่มศรัทธาได้ มันปรับกันได้ "Q: พราหมณ์ให้ผ้าผืนเดียวแล้วไม่เปลือยหรือA: เป็นเรื่องของเอกสาฏกพราหมณ์ที่สละผ้าคลุมที่มีผืนเดียว ไม่ใช่ผ้านุ่งจึงไม่เปลือย เขาข้ามความตระหนี่หรือความอายไปได้ แสดงว่าต้องเห็นอะไรที่ยิ่งไปกว่า ประเด็นคือ ต่อให้ผ้าผืนนั้นเป็นผืนสุดท้าย แล้วคุณจะให้ได้มั้ย สามารถให้สิ่งที่รักเพื่อสิ่งที่เรารักเหมือนโพธิสัตว์ได้หรือไม่Q: การมีเพื่อนสองมีนัยยะอย่างไร การมีความคิดนึกไปเองใช่เป็นเพื่อนสอง?A: ถ้าดูเฉพาะคำศัพท์ก็เป็นไปในทางดี เช่น กัลยาณมิตร แต่ถ้าดูจากบริบทที่พระพุทธเจ้าสอนภิกษุ เพื่อนสอง คือ ตัณหา ส่วนการคิดนึกอาจจะไม่ใช่ตัณหา ความคิดเป็นวิตกวิจารณ์ แต่อุปาทานในความคิดนั้นต่างหาก คือ ตัณหาQ: ศรัทธากับสัมมาทิฏฐิ อะไรมาก่อนกันA: อยู่ที่เป็นประเภทไหน ถ้าเป็นสัทธาวิมุต สัทธานุสารี อันนี้ศรัทธามาก่อน ถ้าเป็นกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ หรือธัมมานุสารี อันนี้สัมมาทิฏฐิมาก่อน ทั้งนี้ต้องมีทั้งสองอย่างประกอบกันจึงจะไม่หลุดจากทาง เพราะถ้าศรัทธามากกว่าปัญญาจะกลายเป็นงมงายยึดติด ถ้าปัญญามากกว่าสติมากกว่าศรัทธาก็จะกลายเป็นยกตนข่มท่านตีตัวเสมอท่าน ให้ปรับให้ดีจะทำให้อินทรีย์แก่กล้าบรรลุธรรมได้ ในอริยมรรคพระพุทธเจ้าจะให้สัมมาทิฏฐินำ แต่ในไตรสิกขาจะให้ศีลที่มาจากศรัทธานำ เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่าบุคคลประเภทไหนดีกว่ากัน Q: เจริญฉันทะอย่างไรไม่ให้ burn outA: คนที่ burn out มีทั้งเพียรย่อหย่อน และที่มากเกินพอดี การเจริญอิทธิบาทสี่ต้องมีธรรมเครื่องปรุงแต่ง อาศัยสมาธิ และธรรมทั้งสี่เป็นประธานกิจ สมาธิจะเป็นตัวปรับเป็นอาหารหล่อเลี้ยงทำให้รักษาสิ่งที่ได้แล้วไว้อยู่ได้ Q: ตั้งทิฏฐิไว้ต่างกันก็มีที่มาต่างกันจริงหรือ และสามารถปรับเปลี่ยนทิฏฐิเดิมได้หรือไม่A: ความปรารถนาทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ ที่ทำมาตอนนี้ดีอยู่แล้ว ต่อให้รู้หรือไม่รู้ทิฏฐิที่ตั้งไว้แต่เดิม ก็ควรเดินตามมรรค ฝึกให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปQ: การรับมือ fake news ตามแบบพุทธะA: ไม่ว่าจะเป็น news หรือ fake news ก็ควรรับมือด้วยโยนิโสมนสิการ จะมีโยนิโสมนสิการได้ก็ต้องเริ่มด้วยสติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
21.11.202057 Protokoll, 12 Sekunden
Episode Artwork

ปัญญาไขโมหะ (6346-7q)

"ปัญญาจะมากำจัดโมหะได้ ปัญญาเป็นแสงสว่างเหมือนดั่งไฟฉายฉายทางไป คือ การเห็นความไม่เที่ยง อันเป็นปฏิปทาอันเป็นที่สบายที่จะไปตามทางนี้"Q: ราคะโทสะพอมองออก แต่โมหะมองได้ยาก ควรทำอย่างไรA: ราคะโทสะโมหะมาจากตัณหาอวิชชา ที่เมื่อมีแล้วจะทำให้การรับรู้ของเราผิดเพี้ยนไป โมหะ คือ การเห็นไม่ชัดเจนขมุกขมัวเหมือนพยับแดด เป็นกลลวงเป็นของปลอม เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูก จึงสามารถแทรกซึมไปได้ทุกที่ ปัญญาในการเห็นความไม่เที่ยงจะกำจัดโมหะได้Q: เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ดีกว่ากันA: เทวดาน่าจะดีกว่า เพราะสุขทุกข์ที่ต่างกัน และการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่แสดงต่อเทวดานั้นสั้น ๆ และสวยงามก็สามารถทำให้บรรลุธรรมได้ง่ายเร็วจากศีลปัญญาภาวนาที่มี แต่เป็นมนุษย์ก็อย่าน้อยใจให้มีความเพียรทำเดี๋ยวนี้ แล้วทำไมพระพุทธเจ้าไม่เกิดเป็นเทวดา ก็เพราะในภพมนุษย์มีความเกิดความแก่ความตายที่เห็นได้ง่ายกว่า และด้วยความเป็นพุทธะที่ต้องช่วยเหลือคนตั้งแต่ระดับที่ช่วยได้ให้ได้มากที่สุดQ: ต้องการปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น แต่ป่วยไม่สามารถงดอาหารเย็นได้ ควรทำอย่างไร และสวดมนต์แบบไหนดีA: คุณสมบัติของผู้มีปธานิยังคะ สุขภาพไม่ใช่ข้อเดียวยังมีข้ออื่น ๆ อีก เช่น ศรัทธาความเพียรปัญญาที่เป็นทางออก อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าก็มีข้อผ่อนปรนให้เพื่อระงับอาพาธ ส่วนการสวดมนต์ต้องเป็นไปเพื่อให้จำได้และเกิดสมาธิ สวดบทไหนก็ได้ Q: ดวงตาเห็นธรรมเป็นอย่างไรA: "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ"  "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" เป็นปรากฏการณ์ที่เมื่อบุคคลนั้นเริ่มเกิดดวงตาที่สามแต่อาจจะยังไม่เปิดเต็มที่ คือ อยู่ในขั้นโสดาปัตติผลขึ้นไป ความยากง่ายความสว่างก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ทำมา ปัญญาสำรอกที่จะทำให้ดวงตาเห็นธรรมคือมรรค 8Q: พละ 7 เป็นไฉนA: คือ การเอาพละ 5 เดิม (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) มาบวกเพิ่มด้วยหิริและโอตัปปะ พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดไว้ แต่น่าจะเป็นการร้อยเรียงกันมาให้อยู่ในหมวดเดียวกัน พละ 7 ที่ใกล้เคียง คือ ทรงเปรียบไว้กับเมืองที่มีคุณสมบัติ 7 อย่าง  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
14.11.202057 Protokoll, 5 Sekunden
Episode Artwork

ซึมเศร้า ที่ เข้าใจ (6345-7q)

"…ซึมเศร้าเริ่มมาจากความเสียใจ คนเราถ้ายังมีราคะโทสะโมหะ ยังมีรากของอวิชชาอยู่ มันมีความทุกข์แน่…ต้องมีการทำในใจโดยแยบคาย เห็นในความเป็นของไม่เที่ยงจะละราคะโทสะโมหะไปได้ พอเห็นความไม่เที่ยงก็จะหลุดออกจากอารมณ์นั้นได้"Q: ปฏิบัติธรรมแล้วมีภาวะซึมเศร้าเป็นไปได้หรือ ในสมัยพุทธกาลมีหรือไม่ ควรปรับอย่างไร ถ้ารู้แล้วไม่ช่วยจะบาปมั้ยA: ภาวะซึมเศร้าเกิดจากความเสียใจความไม่เข้าใจความไม่แยบคาย ในสมัยพุทธกาลมีอยู่ เช่น ท่านพระวักกลิ ท่านโพธิกะ หรือภิกษุที่พิจารณาอสุภะไม่ถูกวิธี การศึกษาธรรมก็เหมือนการจับงูพิษ ต้องรู้วิธีจับ ในกรณีนี้ต้องมีการทำในใจโดยแยบคาย พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ทุกสิ่งมีเหตุมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ก็จะวางได้ มาปฏิบัติแล้วซึมเศร้าก็อาจเป็นได้ดั่งกรณีของภิกษุที่ยกมา หรือเขาอาจเป็นมาอยู่ก่อนแล้วแล้วไม่มีโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการจะมีได้ก็ด้วยกัลยาณมิตร จิตนี้ฝึกได้ด้วยความเพียรด้วยมรรค 8 ถ้าสามารถช่วยได้ก็จะเป็นกัลยาณมิตรที่มีอุปการะ แต่ถ้าไม่สามารถก็ต้องวางอุเบกขา สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมQ: คนที่ฉุนเฉียวง่ายมักเป็นคนที่เคยปฏิบัติธรรม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นA: อาจจะเคยมีมาก่อนแล้ว หรือก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นแต่มาเป็น นั่นเป็นเพราะไปยึดถือพอใจในความสงบที่ได้รับตอนปฏิบัติธรรม เมื่อไม่ได้จึงไม่พอใจ ทางแก้ คือ เห็นความเป็นของไม่เที่ยง จะคลายความยึดถือได้Q: เพราะต้องทำงานแข่งกับเวลาต้องรับผิดชอบสูง ทำให้เครียด ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ดี เกิดซึมเศร้า ควรทำอย่างไรA: ถ้าความเพียรมากเกินกำลังของสติ ตัณหาหรือความอยากจะออกมาในรูปแบบของความฟุ้งซ่านความเครียด ไม่ต้องลดความเพียรลงแต่ให้เพิ่มสติให้มากขึ้น ค่อย ๆ บ่มอินทรีย์  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7.11.202059 Protokoll, 18 Sekunden
Episode Artwork

การดับทุกข์ (6344-7q)

"เราต้องละเหตุแห่งทุกข์ จึงจะดับทุกข์ได้ ไม่ใช่รู้สาเหตุแห่งทุกข์ สิ่งที่ต้องรู้คือรู้เรื่องทุกข์ เข้าใจว่าเหตุของมันคืออะไร รู้แล้วละเหตุของมันให้ได้ จึงจะดับทุกข์ได้"Q: ขอทราบประวัติท่านพระราหุลA: ที่กล่าวถึงก็จะมีใน 3 พระสูตร และ 2 เรื่องในธรรมบท รายละเอียดสามารถหาฟังเพิ่มเติมใน link ด้านล่าง หรือค้นด้วยคำว่าราหุลใน donhaisok.fm Q: การแสดงฤทธิ์เช่นการย่นระยะทางในเกจิอาจารย์มีอยู่จริงหรือ คนเราสามารถทำตามได้หรือไม่A: วิชชาแบบนี้มี สามารถทำได้ด้วยกระบวนการคือสมาธิแล้วน้อมไปเพื่ออิทธิวิธีได้ ต้องอาศัยการทุ่มเทการปฏิบัติมาก และต้องมีศรัทธาว่ามีอยู่จริงQ: ต้องอาบัติปาราชิกแล้วปกปิดไว้จะขาดจากความเป็นพระตอนไหน และการปาราชิกมีผลถึงทายาทหรือไม่A: ขาดจากความเป็นพระตั้งแต่ตอนที่ทำแล้ว เป็นผลเฉพาะบุคคลไม่ส่งผลต่อทายาท ยกเว้นบุคคลที่ปาราชิกได้ไปเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ ถือว่าการบวชนั้นไม่สมบรูณ์ เมื่อรู้แล้วก็ต้องสึกไปQ: พระสมัยก่อนไม่ค่อยมีข่าวร้ายขณะเดินธุดงด์ ถือว่าเป็นอานิสงส์บุญบารมีใช่หรือไม่A: มีอยู่เพียงแต่อาจไม่ได้รับความสนใจ ส่วนอานิสงส์ทำให้แคล้วคลาดก็เกิดจากการที่มีเมตตา เราอาจจะหลงทางได้ แต่ในใจเราจะไม่หลงด้วยสติQ: เปรตมีอยู่จริงหรือแค่เรื่องเล่าให้กลัวA: ในพระไตรปิฏกระบุว่ามีอยู่จริงเป็นหนึ่งในอบายทั้งสี่ เป็นหนึ่งในหลายธีการสอนของพระพุทธเจ้าที่ชี้ให้เห็นถึงโทษQ: ความทุกข์เป็นผลจากอดีตที่ทำไว้ การที่จะแก้ทุกข์ได้ เราต้องรู้สาเหตุแห่งทุกข์ก่อน จึงจะดับทุกข์ได้ เข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ และปัญยาเกิดได้สองทางคือโยนิโสมนสิการกับกัลยาณมิตรใช่หรือไม่A: ถ้าจะให้ถูกต้องตามบทพยัญชะควรเป็น เราต้องละเหตุแห่งทุกข์ จึงจะดับทุกข์ได้ ไม่ใช่รู้สาเหตุแห่งทุกข์ สิ่งที่ต้องรู้คือรู้เรื่องทุกข์ เข้าใจว่าเหตุของมันคืออะไร รู้แล้วละเหตุของมันให้ได้ จึงจะดับทุกข์ได้ ส่วนที่เข้าใจว่าความผิดที่เคยทำไว้เป็นความทุกข์ อันนี้ไม่ถูก เพราะถ้าเป็นจริงตามนี้การกระทำที่สุดแห่งทุกข์จะมีไม่ได้ ที่ควรเข้าใจคือกรรมที่เราทำไว้ชั่วก็ตามดีก็ตาม เราย่อมได้รับผลของการกระทำนั้น จะดับเหตุแห่งทกข์ก็ต้องดับที่ตัณหา และในข้อสุดท้ายที่ว่าปัญญาคือโยนิโสมนสิการกับกัลยาณมิตรนั้น สองอันนี้คือสิ่งเดียวกัน คือ มรรค 8 ทำให้เกิดปัญญาในการรู้อริยสัจ 4Q: ถ้าป็นคนเก่งกตัญญูแต่มีอารมณ์ร้อนยังคงชอบสิ่งสวยงามในเพศตรงข้าม เช่นนี้จะสามารถมาปฏิบัติที่วัดได้หรือไม่A: คนที่มาวัดแล้วจะไม่ได้อะไรกลับไปคือคนที่เคยทำอนันตริยกรรม ถ้ายังไม่เคยทำก็มาได้ ส่วนจะได้อะไรกลับไปขึ้นอยู่กับศรัทธาและความเพียร ให้เริ่มจากความดีที่เรามีก็จะพัฒนาไปได้ ส่วนการชอบสิ่งสวยงามให้มีสติสัมปชัญญะในการเห็นนั้นและหมั่นพิจารณาอสุภะQ: เมื่อลูกป่วยแล้วเกิดข้อขัดแย้งกันในการรักษา ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ควรทำอย่างไรA: ถ้าเราไม่ชอบแบบไหนก็อย่าทำแบบนั้นกับเขา เมื่อเห็นไม่ตรงกันก็จะเกิดความหวงกั้นตามมา อย่าให้มีตัณหา อย่ามีมิจฉาวาจา ถ้ามีทุกข์แล้วให้เกิดปัญญาจึงจะพ้นทุกข์ได้ ให้มีมรรค 8 ในทุกการกระทำ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
31.10.202056 Protokoll, 3 Sekunden
Episode Artwork

ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ (6343-7q)

                               …"ถ้ามันยึดถือตรงไหน คุณจะละความยึดถือได้ต้องละตรงนั้น"…Q: มีจิตฟุ้งซ่านมักน้อมไปทางอกุศล แล้วส่งผลต่อร่างกาย ควรทำอย่างไรA: ถ้าจิตดื้อมากพยศมากต้องขนาบให้มาก ต้องมีทักษะเหมือนช่างไม้ อาจจะใช้พุทโธเรียกสติ, มองเห็นสิ่งนี้แล้วคิดไม่ดีก็มองสิ่งอื่น, พิจารณาอสุภะของสิ่งนั้น, พิจารณาเห็นโทษของสิ่งที่เป็นอกุศลดั่งมองเห็นสิวบนหน้า หรือซากศพที่แขวนคอ หรือข่มจิตด้วยจิต หักดิบ ไม่ตามเสียงหรือภาพนั้นไป ให้ฝืน ให้มั่นใจว่าฝึกได้ ทำให้เต็มที่จะเห็นผล ดีคือรู้ว่าไม่ดีตรงไหน แบบนี้จะแก้ได้ ถ้าไม่เคยทำอนันตริยกรรม ไม่ติเตียนสงฆ์ รักษาศีล อราธนาพระรัตนตรัยใหม่ ก็จะเป็นทางที่ไปได้Q: ตียุงด้วยใจที่วางเฉย บาปหรือไม่A: มีวิธีป้องกันยุงอยู่หลายวิธี การตีโดยวางเฉยก็เป็นเจตนาที่จะให้ผลมากน้อยเหมือนกับรอยกรีดของมีดลงบนผิวน้ำหรือดินหรือหิน อย่างไรก็ตามแค่มีจิตไม่พอใจก็ถือว่าเป็นบาปแล้ว ควรทำจิตให้มีเมตตา อุเบกขาQ: ไม่เข้าใจพุทธพจน์ที่ว่า "ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษ แล้วในสังขตธรรมทั้งปวง จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก"A: มาจากเรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน ข้อความเดิมคือ "ท่านจงเปลื้อง (อาลัย) ในก่อนเสีย จงเปลื้อง (อาลัย) ข้างหลังเสีย จงเปลื้อง (อาลัย) ในท่ามกลางเสีย จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้นในธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก"พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้อุคคเสนเห็นถึงโทษของความยึดถือ ความยึดถืออยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีขันธ์ 5 ในที่นี้คือ ยึดถือการแสดงที่เก่งกาจของตน แต่เมื่อได้เห็นสภาวะที่ต่างกันเมื่อไม่มีคนสนใจ และเมื่อมีคนสนใจ พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นถึงการปล่อยอันก่อน ปล่อยอันหน้า ปล่อยตรงกลาง ปล่อยจึงจะข้ามภพข้ามโอฆะได้ พอข้ามได้แล้วจึงจะมีจิตพ้นวิเศษ ละได้ในธรรมเครื่องปรุงแต่งที่เป็นฝ่ายไม่ดีและฝ่ายดี ไม่วนกลับมาอีก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
24.10.202055 Protokoll, 54 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิบัติที่ใดก็ได้ถ้าใจเป็นสุข (6342-7q)

Q: หลีกเร้นที่บ้านอย่างไรให้ได้ผลดีเท่าที่วัด หรือควรออกไปเช่าโรงแรมเพื่อการนี้A: เช่าโรงแรมก็ได้แต่ต้องมีการควบคุมเรื่องอาหาร คนมาติดต่อ โทรศัพท์ และสุดท้ายควบคุมจิตใจตนเองให้ได้คือสำคัญที่สุด ถ้าควบคุมจิตใจได้ทำที่ไหนก็ได้ กายวิเวกสำคัญน้อยกว่าจิตตวิเวกQ: เมื่อฟังธรรมแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ไม่วิเคราะห์เข้าข้างตัวเองหรือวิเคราะห์มาถูกทางของพระพุทธเจ้าA: ถ้าคิดวิเคราะห์แล้ว ทำให้ราคะโทสะโมหะลดลงนั่นคือมาถูกทาง ให้หลักตั้งอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 แล้วปริยัตินั้นจะไม่เป็นงูพิษ การวิเคราะห์จะไม่เข้าข้างตัวเองถ้ามีกัลยาณมิตรที่เรารับฟังคำตักเตือนนั้นด้วยความเคารพหนักแน่นและมี cross checkQ: การบูชาพระราหูเกี่ยวกับในสุริยสูตรหรือในจันทิมาสูตรหรือไม่ เป็นพุทธพจน์หรือเปล่าA: พระสูตรที่พูดถึงราหูมีอยู่ คือ สิ่งที่ทำให้พระจันทร์พระอาทิตย์ไม่ส่องสว่างเศร้าหมองได้มีสามอย่างคือ เฆฆ หมอก ราหู ทรงเปรียบกลับมาที่จิตใจคนว่า เศร้าหมองได้จากราคะ โทสะ โมหะ หรือจากนิวรณ์ 5 ไม่ได้กล่าวว่าต้องบูชาอย่างไร ต้องไม่งมงายด้วยปัญญาQ: อยากปฏิบัติแบบเป็นขั้นเป็นตอนควรทำอย่างไรA: การศึกษาแบบเป็นขั้นเป็นตอนเหตุปัจจัยต้องพร้อม แต่ถ้ามาเริ่มในปัจฉิมวัยเวลาที่เหลือมีน้อยให้เลือกเอาที่สำคัญ ๆ คือ ตรงที่แก้ปัญหาดับทุกข์ได้ ไม่ต้องไปเริ่มที่ขั้นต้นQ: เป็นห่วงไก่จนลูกน้อยใจทำอย่างไรดีA: มีอะไรก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น แก้อันหนึ่งอีกอันก็ยังไม่ได้แก้ เพราะไม่ได้แก้ที่เหตุ นี่เป็นลักษณะของการครองเรือนที่มีการรั่วรดให้กังวลตลอดเวลา ทั้งหมดเป็นเพราะความยึดถือ ให้เร่งปฏิบัติธรรม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
17.10.202053 Protokoll, 51 Sekunden
Episode Artwork

กิเลส อาสวะ อวิชชา (6341-7q)

"สภาวะที่สะสมคืออาสวะ แต่ความที่ไม่รู้คืออวิชชา"Q: ท่านอัญญาโกณทัญญะใช้เวลากี่วันจึงบรรลุธรรมA: "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ" เป็นเกียรติยศเฉพาะท่านเท่านั้น เพราะเป็นการตั้งความปรารถนาว่าต้องเป็นสาวกคนแรกที่สำเร็จ ถ้านับตั้งแต่การตั้งจิตไว้ก็แสนกัป ถ้านับจากวันที่พระโพธิสัตว์ออกบวชก็ 6 ปี นับจากวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ 2 เดือนที่ได้เป็นโสดาบัน ส่วนอรหันต์ก็บวกไปอีก 3 - 5 วันQ: ถ้าเข้าใจว่าตัณหาเกิดจากเวทนาตามหลักในปฏิจจสมุปบาท การจะละได้ คือ เดินตามมรรค 8 และการเปรียบวิชชาเป็นปุ่ม on และอวิชชาเป็นปุ่ม off ที่เลื่อนได้ ถ้าเลื่อนปุ่มมาทางวิชชามาก ๆ ก็จะพ้นไปได้ แบบนี้ถูกหรือไม่A: ที่เข้าใจตามหลักปฏิจจสมุปบาทถูกต้องแล้ว พอปฏิบัติมาตามมรค 8 ความยึดถือจะไม่มี และการเปรียบแบบปุ่มไฟที่เป็นแบบ analog ก็เป็นการเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะมันสามารถเลื่อนกลับมาได้ทำให้กลับกำเริบได้ แต่ถ้ามีความเข้าใจบางอย่างวิชชาเกิดขึ้นอวิชชาจะดับไปทันทีQ: กิเลสอยู่ในจิตเป็นอาสวะในจิต? การปฏิบัติตามมรรคทำให้อาสวะกิเลสลดลง? กิเลสเหมือนการเกิดแบบห่วงโซ่ไฟ? การคิดเชื่อมโยงแบบนี้ถูกหรือไม่ หรือเป็นการฟุ้งซ่านA: กิเลสแปลว่าเครื่องเศร้าหมองที่ทำให้การรับรู้ทางใจไม่ชัดเจน ทำให้มีผลออกมาเป็นความรู้สึกร้อนคือโทสะ หิวคือราคะ มึนมืดคือโมหะ กิเลสอยู่ในช่องทางใจ การฟื้นตัวของมันมาจากจิต เพราะว่าจิตมีสภาวะที่สั่งสมได้คืออาสวะ แต่อาสวะไม่ได้ทำให้จิตเศร้าหมอง การที่ไม่เห็นว่ามีอาสวะสะสมไว้ที่จิตทำให้เกิดอวิชชา จะเห็นได้เมื่อมีผัสสะมากระทบ จิตที่ไม่ได้รับการรักษาและมีสภาวะสั่งสมที่เราไม่รู้ พอมีอะไรมากระทบจะแสดงออกมาเป็นราคะโทสะและโมหะในช่องทางใจ จิตจึงต้องมีสติรักษาปรากฏการณ์ห่วงโซ่ทำให้ดูต่อเนื่อง เพราะความร้อนที่ทำให้เกิดการสันดาบต่อไป เหมือนการสัมพันธ์กันของกิเลสอาสวะอวิชชาและขันธ์ 5 การเดินมาตามมรรค 8 เริ่มจากสติจะหาทางไปได้ และการเชื่อมโยงชนิดที่เกิดความสงบถือว่าดี แต่ถ้าฟุ้งซ่านไม่ดี ต้องรู้จักปรับมีสติคอยคุมQ: จัณฑาลบรรลุธรรมได้หรือไม่A: ไม่ว่าใครก็สามารถบรรลุธรรมได้ถ้าปฏิบัติมาตามคำสอนQ: นำหมามาปล่อยวัดที่คิดว่าเป็นเขตปลอดภัยจะได้บุญหรือบาป และการเลี้ยงที่เกินกำลังเป็นโมหะหรือไม่A: เพราะเกินกำลังจึงเป็นโมหะเป็นการเบียดเบียนตนเอง วัดอาจไม่ใช่ที่ปลอดภัยเสมอไป การไม่รับผิดชอบแล้วก่อให้เกิดการเบียดเบียนกันแบบนี้ไม่ถูกต้อง และท้ายสุดต้องมีอุเบกขาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมQ: เทวตาพลีเป็นอย่างไรA: เทวตาพลี คือ การสละออกเพื่อการสงเคราะห์เทวดา ทำได้หลายอย่างทั้งในเทวดาหรือในมนุษย์ที่มีศีล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10.10.202056 Protokoll, 17 Sekunden
Episode Artwork

สัทธรรมที่แท้จริง (6340-7q)

"พุทธพจน์จริง ๆ คือปลอมแล้ว เพราะว่ามันไม่ใช่ธรรมะจริง ๆ ในใจท่าน จนกว่าคุณเอาข้อมูลนั้นมาตั้งในจิตใจจริง ๆ นั่นจึงเป็นสัทธรรมจริง ๆ ไม่ใช่สัทธรรมปฏิรูป คือ คุณผลิตทองคำแท้ของคุณเอง"Q: ความหมายของสัทธรรมปฏิรูป และจะรู้ได้อย่างไรA: สัทธรรมที่แท้จริงคือการที่สามารถนำธรรมะนั้นเข้าสู่ใจไม่ใช่แค่ความจำในสมอง การที่จะทำได้ต้องมีกระบวนการที่ต้องอาศัยพ่อแม่ครูบาอาจารย์ช่วยอธิบาย ซึ่งอาจไม่ใช่พุทธพจน์เป๊ะ ๆ แต่ถ้ามันทำให้ธรรมะเข้าสู่จิตใจได้ ธรรมะที่เข้าสู่จิตใจนั้นคือธรรมะแท้ แต่ธรรมะที่ต่อให้เป็นคำพระพุทธเจ้า แล้วเขาจดลงมาในกระดาษ อันนั้นก็ยังเป็นปฏิรูป  Q: สัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ และโลกุตระเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ถ้ายังคงมีคำถามสงสัยในภพนี้ภพหน้านั่นคือยังคงมีวิจิกิจฉาใช่หรือไม่A: คนที่กำจัดวิจิกิจฉาได้แล้วก็ไม่ใช่ว่าไม่มีคำถามเลย เพราะฉะนั้นในที่นี้ไม่ต้องปรับสัมมาทิฏฐิ สิ่งที่ต้องปรับ คือ ปัญญาให้เห็นตามจริงในเรื่องของความไม่เที่ยง แล้วจะทำให้วิชชาเกิดกำจัดอวิชชาได้ สัมมาทิฏฐิในโลกียะที่เป็นบุญก็จะช่วยหนุนในส่วนโลกกุตระ คือ ให้ทำแต่อย่ายึดถือ พอไม่ยึดก็จะไม่ไปต่อ วิชชาเกิดนี้เป็นส่วนของโลกุตระ เกี่ยวเนื่องกันแบบนี้Q: พระสูตรที่เกี่ยวกับการเกิดของสัตว์ จิตและวิญญาณดวงแรกที่เกิดจากครรถ์เป็นมาอย่างไรA: มาจากจักวรรดิสูตรและอคัญญสูตร เป็นการพัฒนาที่ต่ำลงของเทวดาจนทำให้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะความชั่วที่มากขึ้นกุศลธรรมที่ลดลง จนเกิดกายหยาบ มีเพศสัมพันธ์ุกัน การเกิดของสัตว์ผ่านครรภ์จึงเกิดขึ้น บุคคลแรกที่อาศัยผ่านครรภ์ คือ พระโพธิสัตว์Q: การติดตั้ง podcast ทำอย่างไรA: ผ่าน podcast app แล้วค้นหาคำว่าฟังธรรมะหรือดอนหายโศก Q: การออกเสียงสวดมนต์บาลีที่ต่างกัน อันไหนถูกA: เป็นสำเนียงการออกเสียงที่ต่างกัน สำเนียงบาลีแบบบาลี หรือสำเนียงบาลีแบบไทย ใช้ได้ทั้งสองแบบ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3.10.202054 Protokoll, 54 Sekunden
Episode Artwork

ต่างกันที่บริบท (6339-7q)

Q: การพิจารณาอัปปัญญาพรหมวิหาร และทิศทั้ง 6 เป็นการบ่มอินทรีย์ใช่หรือไม่A: พรมวิหาร 4 เป็นธรรมะที่คุ้มครองโลกมีอยู่แล้ว อัปปัญญา คือ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าเติมลงไปเพื่อใช้เป็นบาทฐานในการเข้านิพพาน ในทิศทั้ง 6 คือ การได้รับคนรอบข้างมาดูแล ทั้งสองอย่างนี้อยู่ในมรรค 8 เมื่อทำแล้วก็เป็นการบ่มอินทรีย์ การบ่มอินทรีย์ให้สุกนั้นจะพัฒนาไปได้เมื่อมีผัสสะ ผัสสะมาแล้วยังอยู่ในมรรคได้นั่น คือ รักษาจิตได้ ทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้นจนบรรลุธรรมในที่สุดQ: ความสว่างไสวของจิตเกิดจากการแผ่จิตใช่หรือไม่ และแผ่เมตตาอย่างไรให้ได้ดีA: ความสว่างไสวเป็นเรื่องของสมาธิเป็นกระแสของความดี สมาธิและการแผ่เมตตาเกื้อหนุนกันให้แต่ละอย่างมีกำลังมากขึ้น การแผ่เมตตาและสมาธิควรทำให้มีได้ตลอดเวลาQ: โยนิโสมนสิการ คือ การคิด วิปัสสนา คือ การไม่คิด ใช่หรือไม่ต่างกันอย่างไรA: คือการคิดเหมือนกันแต่ใช้ในบริบทที่ต่างกัน วิปัสสนาใช้คู่กับสมถะใช้ในทางที่ถูกให้เห็นตามจริง โยนิโสมนสิการ คือ ใคร่ครวญมาในอริยสัจ 4 คิดก็คือพิจารณาแต่ไม่ใช่สัญญา และต้องคิดด้วยจิตที่เป็นอารมณ์อันเดียว ไม่เช่นนั้นจะฟุ้งซ่านQ: จะรู้ได้อย่างไรว่าจิตนั้นขั้นไหน นิมิตนั้นจริงหรือปรุงแต่งA: ถ้ายังไม่มีความชำนาญในแต่ละระดับของสมาธิจะไม่สามารถรู้ได้ ต้องทำให้ชำนาญใช้ระยะเวลา Q: ฉันทะกับตัณหาต่างกันอย่างไร ฉันทะสร้างได้อย่างไรA: ความหมายเดียวกันแต่ใช้ในบริบทที่ต่างกัน ตัณหาความทะยานอยากใช้ในทางที่ไม่ดีอย่างเดียว ฉันทะความพอใจใช้ทั้งสองแบบ มีความต่างกันตรงที่ ถ้าทำแล้วความทุกข์เพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นความฉลาดของพระพุทธเจ้าที่กำหนดให้ต่างออกไปเพื่อไม่ให้สับสน ฉันทะที่ตั้งไว้ในมรรคจะทำให้ความทุกข์ลดลง ฉันทะนั้นเริ่มสร้างมาจากศรัทธา พอมีฉันทะจะมีความทำจริง ดำรงอยู่ในธรรม แล้วจะเห็นสัจจะได้ เราเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะQ: การทำสมาธิแบบนิ่งไม่คิดให้ได้นานทำอย่างไรA: ฝึกมาตามลำดับขั้นผลจะตามมา อย่าไปตามความอยากจะผิดพลาดได้ วัดความสำเร็จ ณ ตอนนี้ ต้องมีระเบียบวินัยมีความยินดีในการนั่งสมาธิ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.9.202053 Protokoll, 9 Sekunden
Episode Artwork

ศรัทธาแก้สั่นคลอน (6338-7q)

 "เมื่อแก้วิจิกิจฉาได้คำถามเหล่านี้จะหมดไป จากการให้ข้อมูลที่ทำให้เกิดศรัทธา ให้ปัญญาด้วยทุกข์ที่มีอยู่"Q: ตนในความหมายที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นอย่างไรA: ให้พุทธธัมสงฆ์เข้าสู่ใจนี่คือ "ตน" ทำให้เกิดได้โดยฝึกมาตามมรรค 8 ทำให้มากเจริญให้มาก เช่น การฝึกเดินของเด็ก ฝึกเท่าที่กิเลสนั้นจะหมด ฝึกเท่าพอจึงจะเรียกว่าเป็นที่พึ่งได้ อย่าอยาก ให้ฝึกให้เต็มที่ ณ ตรงนี้Q: คนชั่วเมื่อเทียบกับน้ำจะรั่วแบบไหน ธรรมะข้อไหนชั่วได้A: อุดปิดกั้นรักษาด้วยความสำรวมอินทรีย์ ด้วยการนี้กุศลธรรมจะรักษาไว้ได้หมด อกุศลธรรมเข้าไม่ได้Q: เมื่อสงสัยในพระพุทธเจ้าและในคำสอน ควรทำอย่างไร A: เพราะมีความไม่ลงใจความสงสัยเกิดขึ้น แก้ได้ด้วยการเพิ่มศรัทธา จากการที่เห็นว่าทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธาแล้วมีปัญญาเป็นเหตุ เมื่อทุกข์กับปัญญารวมกันจะก่อให้เกิดศรัทธาที่สามารถแก้ไขความสั่นคลอนนี้ได้Q: การระลึกชาติของเทวดา, เปรตหรือมนุษย์ต่างกันอย่างไรA: ระลึกได้ต่างกัน เพราะฉะนั้นอย่าประมาท ให้มีความดีพอเพียงที่จะพ้นจากอบายและอยู่ในภพเทวดาได้Q: วิธีทำจิตปรุงแต่งให้ระงับ ทำอย่างไรA: จิตตสังขารจะระงับได้ด้วยการเจริญอนุสติ 10 ซึ่งเป็นการปรุงแต่งในทางดีทำให้กิเลสลดลง หมั่นทำจิตให้ระงับเป็นประภัสสร มาตามกระบวนการ ไม่บังคับ เพียรแต่พอดี Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
19.9.202055 Protokoll, 18 Sekunden
Episode Artwork

เกมส์นี้ไม่แฟร์ (6337-7q)

Q: เมื่อกล่าวปลงอาบัติแล้วถือว่าพ้นผิดแล้วใช่หรือไม่ และควรกล่าวบ่อยแค่ไหนA: การปลงอาบัติคือการเปิดเผยความผิด เป็นสิ่งที่ควรกระทำ สังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนักชนิดที่ปลงได้ แต่ถ้าไม่รีบปลงโทษนั้นจะคูณสองและต้องมีภิกษุ 20 รูปผู้ฉลาดในธรรมวินัยรับรอง อาบัติเล็กไม่จำเป็นต้องกล่าวปลงบ่อย ๆ ดูที่สติเป็นสำคัญQ: ฆ่าความโกรธแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไรA: ฆ่าความโกรธได้เป็นสุข มีผลพิสูจน์ได้ทั้งทางร่างกายและใจ ค่อยๆฝึกไปเหมือนการฝึกสัตว์Q: ทำไมต้องเล่มเกมส์ของวัฏฏะในเมื่อมันไม่แฟร์ จุดเริ่มจุดจบอยู่ที่ไหนA: พระพุทธเจ้าบอกว่าเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ เป็นวงกลม อวิชชาความไม่รู้ทำให้วนไป จะจบเกมส์ได้ต้องทำวิชชาให้เกิด โดยเดินมาตามมรรคQ: จะเริ่มฝึกอานาปานสติควรเริ่มที่อะไรA: เริ่มที่ศีล ตั้งจิตไว้ที่ลมเหมือนผูกสัตว์ไว้กับเสา เสาล้มบ้างเชือกขาดบ้างก็เป็นธรรมดา ความเพียรจะทำให้ไปต่อได้จนเห็นตามความเป็นจริงQ: วิธีขจัดความขี้เกียจทำอย่างไรA: ศรัทธาที่ไม่เต็มทำให้ความเพียรไม่เกิด เพิ่มศรัทธาชนิดมั่นใจไม่งมงาย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12.9.202055 Protokoll, 51 Sekunden
Episode Artwork

อย่าประมาทในความดี (6336-7q)

"ถ้าเรามีความสุขในชีวิตของเราดี พอดีมีได้อยู่แล้ว อาจจะสำเร็จมาก อาจจะสำเร็จน้อยแต่มันพอไปได้ อย่างเงี๊ยะ คุณอย่าประมาท เพราะถ้าประมาทแล้ว จุดที่เราประมาทไปมันจะรั่วตรงนั้น มันจะถลำลึกไป มันจะแก้ไขยาก"การเพลิดเพลินในความสุขในชีวิตที่ว่าดีๆนั้น จะเป็นหนทางแห่งความประมาทได้อย่างไร  ท่านจะเลือกทางเดินชนิดไม่มีทางหวนกลับเช่นเทวฑัต หรือจะเลือกทางสุขไม่ประมาทแบบยสกุลบุตร ไปร่วมค้นหาคำตอบกันใน episode นี้ได้เลย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5.9.202053 Protokoll, 28 Sekunden
Episode Artwork

ไม่ง่าย แต่ ทำได้ (6335-7q)

Q: ในปฏิจจสมุปบาทสามารถเพิ่มการไม่รู้ในอริยสัจสี่เป็นอาการที่ 25 ตามความเข้าใจได้หรือไม่A: สามารถทำได้ เห็นความเชื่อมโยง ฝึกให้เป็นพหูสูต แต่จะขยายอะไรควรกลับมาที่ตัวแม่บทเสมอQ: มรรค 8 ดูเหมือนง่าย แต่ในชีวิตจริงไม่ง่าย ควรปรับอย่างไร และบ่มจิตอย่างไรให้เป็นพันธุ์ที่ดีA: ไม่ง่าย ไม่ได้หมายความว่ามันยากจนทำไม่ได้ เกินความสามารถความเพียรของบุคคล เพราะขึ้นชื่อว่าความสุขแล้วใคร ๆ จะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี คนที่ทำได้มีมาแล้ว ผู้สอนก็เป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมก็เป็นสวากขาตธรรม ง่ายกับยากไม่ใช่ว่าสุขหรือทุกข์ จิตเมื่อบ่มต้องใช้เวลา และกระบวนการมาตามอริยมรรค ผลที่ออกมาจะไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าQ: ทำไมจึงกล่าวว่าข้อสอบของอรหันต์ คือเอาทั้งหมดมาทดสอบอีกA: ข้อสอบอันเดิม เพราะอวิชชามีอยู่ในทุกส่วน แต่คุณเห็นแง่มุมละเอียดขึ้นเร็วขึ้น มีปัญญาQ: chat กับกัลยาณมิตรอย่างไรจึงพอเหมาะA: ให้อยู่ในมรรค 8 มีช่วงเวลาพักหลีกเร้น คุยเรื่องที่ไม่ขวางหนทางธรรมQ: ทำเนสัชชิกเพื่ออะไรA: เพื่อขูดเกลากิเลสเป็นข้อที่น่ายกย่อง เพราะถ้าอยู่ลำบากแล้วกุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรทำ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
29.8.202057 Protokoll, 16 Sekunden
Episode Artwork

ความก้าวหน้าในการปฏิบัติ (6334-7q)

Q: สังฆาฏิใช้แทนจีวรได้หรือไม่A: ผ้าของพระอย่างน้อยมี 3 ผืน คือ ผ้านุ่ง (สบง), ผ้าห่ม (จีวร), ผ้าคลุม (สังฆาฏิ) สังฆาฏิมักใช้ห่มซ้อนจีวรเพื่อปกปิดให้เรียบร้อย สามารถใช้แทนกันได้ Q: ความสามารถในการเข้าฌานทำไมไม่เท่ากันA: เพราะว่าอินทรีย์คนเราไม่เท่ากัน เป็นเรื่องของทักษะ มีตัวแปรหลายอย่างทำให้ผลไม่เท่ากัน ต้องทำอินทรีย์ให้เสมอ ๆ กัน อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาQ: นิ่งแล้วทำไงต่อA: ถ้านิ่งแล้วยังงง นั่นคือมีอวิชชา ต้องทำวิชชาให้เกิดโดยการเห็นความไม่เที่ยง  ใส่ปัญญาเพิ่มสติ สมาธิที่ดี สติที่เกิดจะทำให้ไม่เพลินไปในสมาธินั้น ตรงจุดที่เห็นความไม่เที่ยงจะทำให้ไปต่อจนถึงนิพพานได้Q: ทำทานน้อยกว่าภาวนาควรปรับอย่างไรA: ควรทำให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ให้มีความลึกซึ้งในการปฏิบัติ จะพัฒนาตรงนี้ได้ต้องมีศรัทธา วิริยะ และปัญญาที่เกื้อหนุนกัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
22.8.202057 Protokoll, 22 Sekunden
Episode Artwork

ไฟไม่ดับไฟ (6333-7q)

ตามใจท่านในเอพพิโสดนี้ สนทนาธรรมเรื่องของกุศล และอกุศล มาร่วมกันทบทวนว่าอะไรที่จะระงับอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว และที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้? แน่นอนว่าย่อมไม่ใช่การทำบาปอย่างแน่นอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
15.8.202056 Protokoll, 29 Sekunden
Episode Artwork

เมื่อพรหมจรรย์นี้ยั่งยืนก็ปรินิพพาน (6332-7q)

Q: พระพุทธเจ้าจะมีอายุยืนเท่าไหร่ก็ได้? ถ้ามีอายุยืนคำสอนจะมากขึ้นด้วยใช่หรือไม่A: ในมหาปรินิพพานสูตรบอกว่า ถ้าตถาคตต้องการมีชีวิต 1 กัปก็สามารถทำได้ด้วยการเจริญอิทธิบาทสี่ 1 กัป คือ 1 วงรอบของมนุษย์ ท่านจะปรินิพพานเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะหน้าที่ของพระพุทธเจ้าจบแล้ว เรื่องสำคัญ ๆ ได้เปิดเผยหมดแล้ว ทำไมต้อง 80 เพราะเคยตรัสกับท่านจุนทะว่า พรหมจรรย์นี้มั่งคั่งยั่งยืน ทำให้มารได้ช่องมาทวงสัญญา ถ้าอายุยืนคำสอนจะมากขึ้นแต่สัดส่วนจะน้อยลงQ: ผีมีจริงหรือ และใช้อะไรแก้กลัวA: ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า อมนุษย์มีอยู่จริง สิ่งที่จะใช้สำรอกความกลัวที่เป็นอกุศล คือ ธรรมะที่ประกอบด้วยองค์ 8Q: ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้แจ้ง จะปรับอาบัติอย่างไรA: ปกปิดความผิดนี้ไว้เท่าไหร่ ก็ต้องเอาเวลาที่ปกปิดไว้นั้นมารวมด้วย ถ้าทำซ้ำ ๆ ก็จะโดนปรับหนักขึ้นตามลำดับQ: ละขันธ์ 5 เข้าสู่นิพพาน แต่ขันธ์ไม่ละจากเรา? และการสื่อจิตถึงพระอรหันต์ที่ปรินิพพานไปแล้วคืออะไรA: สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นนิมิตก็ได้ ขันธ์ 5 ไม่ได้ละ แต่ละอุปาทานในขันธ์ 5 เมื่อแยกอุปาทานออกจากขันธ์ 5 ได้จะไม่ทุกข์อีกต่อไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7.8.202057 Protokoll, 3 Sekunden
Episode Artwork

เหนือโลกอย่างมีระดับ (6331-7q)

"ปฏิบัติธรรมแล้วเราจะต้องหลบโลก มันไม่ค่อยถูก โลกเนี่ยไม่ใช่ของที่เราจะต้องหลบ แต่ว่าโลกเป็นของที่เราต้องทำความเข้าใจ" Q: ปฏิบัติธรรมแล้วอยากหลีกออกจากโลก ควรปรับตัวปรับใจอย่างไรดี เพราะการปฏิบัติธรรมไม่ใช่การไม่รู้ร้อนรู้หนาวA: ให้ดูตัวอย่างของท่านจิตตคฤหบดีที่มีคุณธรรมขั้นอนาคามี แต่ยังคงครองเรือน ทำหน้าที่ไปพร้อมกับการรักษาศีลแปดศึกษาธรรมะไปด้วย การที่จะอยู่ในโลกแบบไม่รู้ร้อนรู้หนาว คือ การไม่ขึ้นๆ ลงๆ ไปตามผัสสะต่างๆ ที่มากระทบ ให้มีจิตอุเบกขา จิตที่มีอุเบกขาจะทำงานที่ชอบก็ได้ทำงานที่ไม่ชอบก็ได้ ส่วนที่ว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ให้มองว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีมรรคแปดแทรกซึมอยู่มั้ย มีเผลอเพลินหรือขยะแขยงในงานนั้นมั้ย ถ้ามีคือเสียเวลา แต่ทำไปแล้วมีมรรคแปดในงานด้วย อันนั้นดีQ: มือที่ไม่มีแผลจับยาพิษก็ไม่อันตรายเป็นอย่างไรA: เหมือนกับคนที่รู้แล้วทำ บาปน้อยกว่าคนที่ไม่รู้ แล้วทำ เพราะจะมีความระมัดระวังมากกว่า  เช่นเดียวกันเมื่อรู้ว่าเป็นยาพิษการจับต้องก็จะระมัดระวัง เหมือนมียามเฝ้ารักษา มีความสำรวมอินทรีย์ไม่ประมาทQ: ความสันโดษทำให้ขี้เกียจ?A: สันโดษ คือ ความพอใจในสิ่งที่มี ได้มีอย่างไรพอใจอย่างนั้น แต่ไม่ใช่ไม่ขวนขวาย คนละเรื่องกับความขี้เกียจหรือขยัน ความสันโดษจะทำให้คุณพอใจสบายใจ ไม่วุ่นวายใจ สันโดษต้องมีส่วนผสมของความเพียรและอิทธิบาท 4Q: ด้วยเหตุอย่างไรคนจึงมีจิตรักกันA: อาศัยความเกื้อกูลกันในปางก่อนหรือในปัจจุบัน แต่ทั้งหมดสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุและผลที่เกิดขึ้นได้Q: วิธีการก้าวล่วงกามคุณที่ล่วงมาแล้ว ทำอย่างไรA: อันดับแรกเรื่องความเป็นอยู่ก็ปรับเปลี่ยนให้พอเหมาะให้เป็นไปตามธรรม ส่วนทางด้านจิตใจให้ตั้งสติสัมปชัญญะเอาไว้ให้มั่นQ: การเห็นแบบบุคคลที่ 3 กับการเห็นแบบกลางๆ เหมือนกันหรือไม่A: เหมือนกัน เพราะเป็นการไม่เข้าไปเกลือกกลั้วในสิ่งนั้นๆQ: วิธีรับมือเมื่อสูงอายุA: ควรเห็นให้ได้ในทุกวัย ในปัจฉิมวัยนี้เป็นวัยที่มีโอกาสเปิดโล่งแล้ว ร่างกายเข้าสู่ความตาย แต่จิตใจจะเข้าสู่ความไม่ตายได้มั้ย ให้มีจิตใจที่อยู่ในมรรค 8 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1.8.202057 Protokoll, 15 Sekunden
Episode Artwork

กำลังของจิต (6330-7q)

Q: ประพฤติธรรมมาตลอด สุดท้ายเป็นอัลไซเมอร์ จะไปดีหรือไม่?A: จิตลึกลงไปยิ่งกว่าสมอง การสะสมความดีจนเป็นอาสวะ จิตจะน้อมไประลึกถึงความดีนั้นได้แน่Q: จิตที่มีกำลังเป็นเช่นไร?A: ถ้าเราอยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง แล้วเราสามารถที่จะรักษาความเป็นสภาวะนั้นได้ นี้คือสิ่งที่บ่งบอกถึงการที่จิตมีกำลัง ฝึกฝนมาตามศีล สมาธิ ปัญญา จิตที่มีกำลังสูงสุดคือ ต้องวางมันได้ เข้าใจในอริยสัจ แข็งอยู่แต่นุ่มนวลQ: ถ้าจะเริ่มภาวนาควรจะรู้อะไร?A: ภาวนาคือพัฒนามาตามมรรคแปด โดยเริ่มต้นที่สติQ: นิมิตแท้ กับ นิมิตเทียมต่างกันอย่างไร จะหลงหรือไม่A: คนที่มีปัญญา จะทราบแยกแยะได้ว่าอันไหนจริงอันไหนเทียม ตั้งสติเอาไว้เพื่อให้เห็นตามจริง นิมิตทั้งหมดล้วนมีความไม่เที่ยงQ: ขี้ลืม กังวล ใจร้อน ธรรมะข้อไหนแก้ได้A: ขี้ลืม- ตั้งสติเอาไว้ แต่ถ้าเป็นส่วนความจำก็ต้องอาศัยปัญญา , กังวล- แก้โดยการเห็นตามเป็นจริง ทำความเพียรให้มากตามมรรคแปด , ใจร้อน- มีความเพียร มีเมตตา และให้เห็นทุกข์มาก ๆ จะวางได้Q: "ระโชหะระนัง ระชังหะระติ" กับ การทำตัวแบบผ้าขี้ริ้ว ถูกต้องหรือไม่?A: เมื่อไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ เหมือนผ้าเช็ดธุลี สิ่งที่เหลือก็คือความสบายใจ ตรงนี้เป็นปัญญาQ: ผิดหวังจากไอดอล (Idol) ธรรมะข้อไหนช่วยได้A: เป็นโทษของความเลื่อมใสศรัทธา เมื่อเขาเปลี่ยนแปลงไป ให้เห็นทุกข์แล้วเห็นธรรมด้วย ต้องฉลาดขึ้น ให้ตั้งอยู่ในธรรมโดยมีสติสัมปชัญญะในศรัทธาต่อไปQ: พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและศรัทธาในอะไร?A: ทรงค้นพบความจริงอันประเสริฐคือ อริยสัจ 4 และศรัทธาในพุทโธธัมโมสังโฆ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
25.7.202058 Protokoll, 22 Sekunden
Episode Artwork

การชนะอันประเสริฐสุด (6329-7q)

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโยอัตตา หะเว ชิตัง เสยโยชนะตนนั่นแหละ ดีกว่าชัยชนะเป็นความปรารถนาของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง เพราะสามารถทำให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู่ในรูปแบบใดก็ตาม บางครั้งชัยชนะก็ทำให้เกิดศัตรู สร้างความเกลียดชัง ความอาฆาต จองเวรกันมากขึ้นและจะเกิดการต่อสู่ไม่มีที่สิ้นสุด อย่างไรก็ตามหากต้องชัยชนะแบบราบคาบต้องเป็น "การชนะตนเอง" เท่านั้นที่จะนำมาซึ่งความสุขตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า การชนะตนเอง คือ การฝึกตนตามกระบวนการของอริยมรรคมีองค์แปด เป็นความสามารถในการเอาชนะกิเลสของตนเองให้ได้ เพื่อการควบคุมตนเองให้ประพฤติในสิ่งที่ดีงามทั้งทางกาย วาจา และใจ ถือเป็นหลักธรรมที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" ไว้ในวันมาฆบูชา อันประกอบไปด้วยการทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใสหากชนะใจตนเองได้แล้วนั้น การชนะใจผู้อื่นจะยิ่งนำมาซึ่งสันติภาพ เพราะเป็นชัยชนะที่ไม่เบียดเบียนใคร อีกทั้งชัยชนะนั้นกลับให้แพ้อีกไม่ได้ และเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง รู้พร้อม นิพพานด้วย ดังเช่นที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ พระองค์ทรงชนะตนเองแล้วจึงชนะใจผู้อื่นด้วยการอบรมสั่งสอนสาวกให้เลื่อมใสในพระธรรม เมื่อปวงชนได้นำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติย่อมเกิดความสงบสุขบนโลกใบนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
18.7.202053 Protokoll, 27 Sekunden
Episode Artwork

สังคมอยู่ไม่ยาก ด้วยธรรมะพระพุทธเจ้า (6328-7q)

สังคมสมัยนี้อยู่ยาก หากมีปัญญาไม่เต็มที่จะเกิดความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เนื่องจากสิ่งที่น่าปรารถนานั้นแปรเปลี่ยนไป หรือปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้น ซึ่งนี้ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย เงื่อนไข และการปรุงแต่งที่ต่างกันธรรมะ 2 อย่าง ที่จะทำให้อยู่ได้ง่ายขึ้น ได้แก่อดทนให้มากที่สุด ต่อผัสสะที่ไม่น่าพอใจมีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องของอริยสัจสี่การแสดงออกของปัญญาทางหนึ่ง คือ ด้วยวาจา หากเป็นในทางสัมมาทิฏฐิ จะเป็นศาสตราวุธที่ใช้สำหรับขูดเกลากำจัดกิเลสได้ แต่ถ้าใช้ไปในทางที่ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ก็จะเปรียบเสมือนกับหอกดาบที่ใช้ทิ่มแทงกันดังนั้น การพิจารณาใคร่ครวญไปตามปฏิปทาและคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติตนตามกระบวนการของอริยมรรคมีองค์แปด จึงทำให้เราสามารถที่จะเห็นตามความเป็นจริง คลายกำหนัด ปล่อยวาง และทำที่สุดแห่งทุกข์ (นิพพาน) ได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ตามใจท่าน S09E25   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11.7.202057 Protokoll, 6 Sekunden
Episode Artwork

อาสาฬหบูชา เสวนากรรมดี (6327-7q)

การลงทุนในสมาธิ ไม่ต้องใช้ต้นทุนมาก มีความผิดพลาดน้อย ความเสี่ยงไม่สูง และให้ผลตอบแทนมาก จึงเป็นการกระทำที่มีกระแสต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงที่กรรมเก่าส่งผลต่อกรรมใหม่ ด้วยเหตุปัจจัย เงื่อนไข และการปรุงแต่ง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันเป็นไปในทางที่ดีได้สุขหรือเวทนาในสมาธิ เป็นสุขที่ควรเสพ เพราะมีโทษและอันตรายน้อยกว่าความสุขที่เกิดจากกาม ควรทำให้มาก เจริญให้มาก เเป็นการไม่เบียดเบียนผู้อื่น และที่สำคัญ อย่าตกกับดักของมารดังนั้น ให้ใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะและต่อสู้กับกิเลสเหล่านั้นด้วยความเพียร ต้องพยายามถอนตัวออกจากกับดักมารให้ได้ ค่อย ๆ ปรับองค์ประกอบของปัญญาในส่วนของสมาธิ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้อาสวะเกิดขึ้น พยายามวางความยึดถือในกายและจิต วางมานะความเป็นตัวตนลง จิตจะร่าเริงในธรรม จนเกิดเป็นสัมมาวิมุตติและสัมมาญาณะขึ้น เมื่อประกอบกับมรรคแปดแล้ว จึงรวมเรียกว่า "สัมมัตตะ 10" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4.7.202055 Protokoll, 19 Sekunden
Episode Artwork

กุศลธรรมเริ่มที่จิต (6326-7q)

การกระทำใด ๆ ขึ้นอยู่กับเจตนา หากทำถูกต้อง ก็จะได้บุญ แต่ถ้าทำผิด ก็ได้บาป จึงต้องพิจารณาใคร่ครวญดูว่า การกระทำเหล่านั้นควรที่จะก่อให้เกิดศีล สมาธิ และปัญญา อย่าให้เกิดความเศร้าหมองขึ้นที่จิต ไม่เอาบาปผู้อื่นมาต่อบาปให้ตนเอง ควรวางอุเบกขาเพื่อคลายความขัดเคือง (ปฏิฆะ) ลง และมีเมตตาจิตต่อการกระทำนั้นแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E37 , ตามใจท่าน S09E05 , #บุญหรือบาปขึ้นกับเจตนาในการกระทำ   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.6.202055 Protokoll, 6 Sekunden
Episode Artwork

ธรรมดี ได้ดี…แม้นมีอุปสรรค (6325-7q)

ดวงดี อาจทำให้เกิดความรู้สึกสุข ในขณะที่ ดวงไม่ดี ทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ แต่ทั้งสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาต่างก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เหตุปัจจัยขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา ที่เป็นไปในทางกุศลกรรมทั้งกาย วาจา และใจ ที่เป็นไปในทางที่ดี ทำให้เกิดบุญ ไม่ใช่เรื่องของอาหาร เรื่องของดวง หรือด้วยคำพูดของผู้อื่นดังนั้น จึงควรไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต หมั่นทำความดีและสร้างบุญอย่างสม่ำเสมอ แม้ดวงจะไม่ดี แล้วมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น แต่ก็สามารถที่จะสร้างกุศลธรรมได้ ด้วยความศรัทธา ด้วยความเพียรพยายาม มีความอดทนอดกลั้น สามารถแผ่เมตตาให้กับผู้ที่คิดไม่ดีกับเราได้ และปฏิบัติตนตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด ที่ให้ดำเนินไปตามทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้การระลึกดีได้ในขณะที่เกิดทุกขเวทนา ถือว่าเป็นสัมมาสติ เกิดผลเป็นกาย วาจา ใจที่ดี และให้ผลเป็นความสุขผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย วนรอบไปเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดเป็นสุขเวทนาในขณะที่สร้างความดีได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
20.6.202053 Protokoll, 21 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิปักษ์ของสภาวะจิต (6324-7q)

สภาวะจิตที่ยังข้องกับบุญหรือบาป จะพาให้บุคคลนั้นไปสู่ภพที่ต่างกันได้ ได้แก่การข้องกับกิเลส เช่น โทสะทำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก โมหะทำให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือราคะทำให้ไปเกิดเป็นเปรตในทางกลับกัน หากสามารถ ระลึกถึงทานและศีล ได้ จะทำให้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น หรือ หากมีสติ จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ระลึกถึงสีลานุสสติหรือจาคานุสสติ ได้ จะทำให้ไปเกิดเป็นพรหมดังนั้น จึงควรดำรงตนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ปฏิบัติธรรมฝึกจิตในการสั่งสมความดี และต้องมีจุดเหมาะสมที่สามารถทำให้ทั้งกายและจิตสมดุลกันได้ ไม่ว่าอยู่ในระหว่างการทำกิจการงานใด ๆ ก็ตามทั้งนี้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น เป็นไปเพื่อสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความหน่ายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ และเพื่อนิพพานเป็นที่สุดจบ ฉะนั้น การศึกษาพระธรรมคำสอนจนสามารถเป็นพหูสูตได้ ก็ดี หรือหากยังไม่ลงใจในธรรมะข้อใด ก็ควรนำธรรมะข้อนั้น ๆ มาเทียบเคียงเพื่ออ้างอิงกับแม่บทในพระสูตรหรือพระวินัย ก็จะทำให้เราไม่หนีห่างไปจากพระธรรมคำสอนและดำเนินอยู่ในทางของอริยมรรคมีองค์ 8 มีความละเอียดรอบคอบ สามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้นแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E31 , ใต้ร่มโพธิบท S08E35 , นิทานพรรณา S02E31 , ตามใจท่าน S09E47 ,  #อาการที่แสดงธรรม 3 อย่าง    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.6.202056 Protokoll, 18 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิปทาให้ถึงการสิ้นกรรม (6323-7q)

"ความดียิ่งเปิดเผยยิ่งเจริญ" ความดี ในที่นี้หมายถึง ความไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอในกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งเราอาจจะถูกชักชวนให้ทำดีหรือชั่ว จะด้วยอำนาจของมารหรือเทวดาก็ตาม แต่การกระทำทั้งหมดล้วนเกิดจากตนเองทั้งสิ้นการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 จะทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนมาตามทางสายกลาง เข้าถึงนิพพานเป็นที่สุดจบได้ เป็นปฏิปทาให้ถึงการสิ้นกรรม โดยหมายรวมถึงการสิ้นไปทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว การสิ้นไปทั้งอาสวะที่เป็นส่วนแห่งบุญและอาสวะที่เป็นส่วนแห่งบาป การสิ้นไปทั้งสุคติและทุคติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6.6.202058 Protokoll, 48 Sekunden
Episode Artwork

ประเด็นธรรม อวิชชา (6322-7q)

"อวิชชา" หมายถึง ความไม่รู้แจ้ง เป็นความไม่รู้ในอริยสัจ 4 อันประกอบด้วยความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ และในข้อปฏิบัติสำหรับดับทุกข์ ความไม่รู้ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต และความไม่รู้ใน "ปฏิจจสมุปบาท" คือ ธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน จึงมีเกิดขึ้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หลักอิทัปปัจจยตา" "เพราะอวิชชาดับ อวิชชาจึงดับ" เป็นความรู้ที่จะนำไปสู่การตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วทำอย่างไร อวิชชาจึงจะดับไป? นี้จึงเข้าสู่กระบวนการที่จะทำให้อวิชชาดับไป ด้วยการมีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ควบคู่ไปกับปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติตามคำสอนที่รวมลงมาในอริยมรรคมีองค์แปด ทำให้เกิดสัมมาญาณะและสัมมาวิมุตติในที่สุด โดยได้อธิบายรายละเอียดไว้ เริ่มจากการมี สัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง จะทำให้กาย วาจา และอาชีวะบริสุทธิ์ เมื่อ กาย วาจา และอาชีวะบริสุทธิ์ จะทำให้เกิดความเพียร เมื่อมี ความเพียร จะทำให้เกิดสติ เมื่อมี สติ จะทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมี สมาธิ จะทำให้เกิดญาณ (ความรู้) เมื่อมี ญาณ (ความรู้) จะทำให้วิชชาเกิด และเมื่อมี วิชชาเกิดขึ้น จะทำให้อวิชชาดับลง เอาชนะอวิชชาได้อย่างไรก็ดี ความรู้บางอย่างนั้น ต่อให้ง่ายหรือยาก อาจจะไม่ถูกต้องหรือไม่มีประโยชน์ ไม่ได้เป็นไปเพื่อสัมโพธิ จึงไม่จำเป็นต้องไปรู้ก็ได้ ดังนั้นเราควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ที่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อสัมโพธิญาณ เพื่อความดับเย็น และเพื่อพระนิพพาน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E05 , ใต้ร่มโพธิบท S07E19 , #อวิชชา 8 , #อวิชชาในจิตประภัสสร , #อวิชชาคือความไม่รู้ , #อวิชชาทำให้เหมือนจริง , #สังขยาที่ทำจากอวิชชา , #อาหารของตัณหา       Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
30.5.202056 Protokoll, 14 Sekunden
Episode Artwork

นัยยะธรรมจากมหาปรินิพพาน (6321-7q)

"นิพพาน" หมายถึง ความดับเย็น ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นที่สุดจบของการปฏิบัติ ทั้งนี้อาจจะมีการกล่าวถึงโดยนัยของการดับในเรื่องต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น ความดับของกาม (ฌานที่ 1),  ความดับของวิตก วิจารณ์ (ฌานที่ 2), ความดับของปิติ (ฌานที่ 3), ความดับของความสุข ที่เหลือแต่อุเบกขาล้วน ๆ (ฌานที่ 4), ความดับของรูปทั้งหมด (อรูปฌาน) เป็นต้นทางที่จะให้ไปถึงพระนิพพานได้ นั่นคือ อริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งเราทุกคนสามารถปฏิบัติตามพระธรรมนี้ และจะเห็นได้ด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก) โดยไม่ต้องเชื่อคำผู้อื่น อีกทั้งยังดำเนินไปเองได้ด้วยศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ปฏิบัติด้วยความเพียรให้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ และปัญญาช่วงท้ายเอพิโสด ได้ทำการสรุปเนื้อหารวบยอด "มหาปรินิพพานสูตร" ทั้ง 5 ตอน ที่ผ่าน ในช่วงคลังพระสูตร ซึ่งเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ 18 เดือนสุดท้ายก่อนการปรินิพพาน  แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E22 , ใต้ร่มโพธิบท S08E32 , คลังพระสูตร S09E32        Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.5.202059 Protokoll, 34 Sekunden
Episode Artwork

ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร จากธรรมะพระพุทธเจ้า

เมื่อมีผัสสะใด ๆ มากระทบ แล้วเกิดมีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ต้องรู้จักแยกแยะให้ออกด้วยสติระหว่าง กุศลธรรม กับ อกุศลธรรม  ทำความเข้าใจเปรียบเทียบในสิ่งนั้น ๆ กลับมาว่า สอดคล้องเชื่อมโยง เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งในบางเรื่องนั้นอาจทำได้ยาก แต่ถ้าทำแล้วกุศลธรรมเกิดได้ ก็ให้เราทำ เปรียบไว้กับลูกศรที่ถ้ามันตรงแล้ว ก็ไม่ต้องดัด แต่ถ้ามันงออยู่ก็ต้องดัด ดัดในลักษณะที่ให้มันตรง ไม่ใช่ดัดให้มันหัก ดังนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงรวมลงที่หลักของอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องทำด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ถึงพร้อม มุ่งเน้นไปเพื่อความหน่ายคลายกำหนัด เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม และเพื่อนิพพาน  แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E43 , ใต้ร่มโพธิบท S08E31 , #กัลยาณมิตร 3 ระดับ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
16.5.202058 Protokoll, 43 Sekunden
Episode Artwork

กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้ทรามและประณีต (6319-7q)

ทั้ง ความดีและความไม่ดี เปรียบเสมือนเชื้อโรค สามารถแพร่ออกไปทำให้ติดต่อกันได้ ดังนั้นจึงควรทำความดีด้วยการตั้งตนอยู่ในธรรม ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ให้แพร่ความดีของเราออกไป ก็จะมีผลดีขยายออกไปเป็นวงกว้าง เพราะการช่วยเหลือผู้อื่น ก็ถือเป็นการช่วยเหลือตนเอง หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ การรักษาตนเอง ก็เป็นการรักษาผู้อื่น ด้วยเช่นกันพระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาแก่สุภมาณพโตเทยยบุตร ถึงเรื่อง "กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีตได้"  ซึ่งหนึ่งในความทรามหรือความประณีต เป็นเรื่องของปัญญา เหตุปัจจัยที่ทำให้บางคนมีปัญญาน้อย บางคนมีปัญญามาก ก็คือ การที่รู้จักเข้าไปหาสมณะผู้รู้ทั้งหลาย เพื่อสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรทำแล้วเป็นสุข อะไรทำแล้วเป็นทุกข์ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพื่อที่ให้รู้จักแยกแยะแจกแจงได้ ทำให้เกิดปัญญา มองอะไรก็เข้าใจแทงตลอดไปหมดความแก่กล้าของอินทรีย์ ต้องสร้างขึ้นด้วย ความเพียร ที่ทุกคนสามารถทำได้มีได้แน่นอน และสิ่งที่สำคัญก็คือ เมื่อมีความเพียรแล้ว ให้มุ่งเน้นทำให้เกิดความสำเร็จดีงามขึ้นในทางศีล สมาธิ และปัญญา ไม่ใช่เพ่งอยู่ตรงจุดที่ความสบายหรือความลำบาก แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E25 , ใต้ร่มโพธิบท S08E30 , คลังพระสูตร S09E30 , S08E51 , #กรรม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9.5.202056 Protokoll, 30 Sekunden
Episode Artwork

ข้ามห้วงโอฆะได้ด้วยมัชฌิมาปฏิปทา (6318-7q)

"ไม่พักไม่เพียรข้ามห้วงโอฆะได้" คือ ทางสายกลาง หรือที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" เป็นทางที่ไม่แล่นดิ่งไปสุดโต่งสองด้าน ที่ไม่ใช่ทั้งประกอบชุ่มอยู่ด้วยกามหรือทรมานตนเองให้ลำบาก ไม่ใช่ทั้งความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นอัตถิตา ยึดถือในตัวตน หรือความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ เป็นนัตถิตา คือปฏิเสธทุกอย่าง แต่เป็นทางสายกลางคือ อนัตตา ไม่ติดทั้งตัณหาหรือไม่ติดกับทิฏฐิ ไม่ใช่ทั้งกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) หรือการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย และไม่ใช่ทั้งสุขหรือทุกข์ แต่เป็นทางสายกลางคือ เหนือสุขเหนือทุกข์อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการให้ถึงความหลุดพ้นที่สุดแห่งกองทุกข์ในสังสารวัฏนี้ได้ ต้องปฏิบัติตนตามอริยมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนกับการสร้างถนน ที่มีวิธีการทำเหมือนเดิม แต่ในขณะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปตามระยะทาง ดังนั้น จึงต้องทำซ้ำทำย้ำ และทำอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะไม่ผิดศีลหรือสามารถทำสมาธิให้มีความละเอียดมากขึ้น ๆ ตามลำดับขั้น ทั้งนี้ต้องไม่ตึงเกินไปเพราะจะทำให้ฟุ้งซ่าน หรือไม่หย่อนไปเพราะจะทำให้เกียจคร้านการปรารภความเพียร ถือเป็นหนึ่งในอริยมรรคมีองค์ 8 ข้อ "สัมมาวายามะ" ที่เมื่อปรารภมากแล้วเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมีความพอดีด้วยการปรับอินทรีย์ทั้ง 5 ให้เหมาะสมเสมอ ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น หากเพียรจนตึงไป ควรให้ปรับเพิ่มในส่วนที่เป็นสมาธิ แต่หากหย่อนไป ก็ควรปรับเพิ่มในส่วนที่เป็นปัญญา มาพิจารณาเห็นถึงความไม่เที่ยงหรือพิจารณาอสุภะแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E18 , ตามใจท่าน S10E28 , S10E08 , #โทษของความเลื่อมใส    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2.5.202057 Protokoll, 25 Sekunden
Episode Artwork

อำนาจเหนือจิต ด้วยกำลังสติ (6317-7q)

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ถึงวิธีละอกุศลธรรมออกจากจิตใจ ซึ่งผู้ที่จะรู้ว่าตนเองมีอกุศลธรรมเกิดขึ้นแล้ว เช่น มีนิวรณ์เกิดขึ้น จะต้องมี “กำลังสติ” เสียก่อน เพื่อให้ทราบว่าตนเองมีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตแล้ว จึงจะสามารถใช้ 1 ใน 5 วิธีต่อไปนี้ วิธีที่ 1 ถ้าคิดหรือนิมิต (การกำหนดไว้ในใจ) ซึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ แล้วเกิดอกุศลธรรมขึ้น ก็ให้กำจัดหรือเลิกคิดเรื่องที่เป็นนิมิตนั้นเสีย หรือเปลี่ยนไปคิดอย่างอื่นแทน เปรียบเสมือนช่างไม้ใช้ลิ่มสลักเล็กตอกงัดลิ่มสลักใหญ่ให้หลุดออกได้วิธีที่ 2 ให้เห็นโทษ​ของอกุศลธรรมนั้น เปรียบเสมือนหนุ่มสาวต้องการส่องกระจกเพื่อแต่งหน้า แล้วเห็นซากสัตว์ตายแขวนที่คอตนเอง จึงรีบเอาออกเสียวิธีที่ 3 ให้เลิกทำสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมนั้นไปคิดเรื่องที่เป็นกุศลธรรมแทน เปรียบเสมือนคนที่มีตา หากไม่ต้องการเห็นรูปใด ๆ ให้หลับตาลงหรือเหลียวมองไปทางอื่นวิธีที่ 4 ให้มองในแง่อื่น คือ ปรุงแต่งให้เป็นอย่างอื่น (Reframe) เปรียบเสมือนการปรับเปลี่ยนจากอิริยาบถที่หยาบเป็นอิริยาบถที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น สามารถฉุกคิดขึ้นได้ว่า การคิดเรื่องอกุศลต่าง ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์วิธีที่ 5 ให้หักดิบที่จิตเลย เปรียบเสมือนบุรุษแข็งแรงจับบุรุษอ่อนแอที่ศีรษะ ที่คอ หรือที่ลำตัว แล้วข่มขี่บีบคั้นทำให้ร้อนเป็นอย่างยิ่ง เป็นการบีบบังคับตนเองให้เลิกคิดเรื่องอกุศลธรรมนั้นให้ได้ธรรมะมีคุณค่าในตนเอง เพราะด้วยความแห่งธรรมะเป็นธรรมอันดี เป็นสวากขาตธรรม คือ มีความดีในตัวธรรมะเอง ถึงแม้ว่าเราจะได้ประพฤติปฏิบัติหรือไม่ได้ก็ตามแต่เพื่อให้ได้ซึ่งผลแห่งความเป็นสมณะ ไม่ว่าจะเป็นโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล เราควรนำธรรมะนั้นมาประพฤติปฏิบัติด้วย จึงจะกล่าวได้ว่า "ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม" และนับได้ว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S07E40 , ตามใจท่าน S10E08 , #วิธีละอกุศลธรรม , #สู้กับจิตดวงอกุศลด้วยความกล้า , #ห้าวิธีในการละอกุศลในใจ , คลังพระสูตร S09E28 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
25.4.202056 Protokoll, 2 Sekunden
Episode Artwork

มรรคแปด เครื่องพิสูจน์ความดี (6316-7q)

การรักษาศีล สามารถลงมือทำได้ทันที และทำได้มากอย่างไร้ขีดจำกัด เราจึงต้องมีกำลังใจเป็นความสามารถที่จะทรงไว้หรือตั้งไว้ซึ่งความดีของเรา โดยการมี "สัมมัปปธาน 4" คือ การบำเพ็ญความเพียรในการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (ละอกุศลเดิม) เพียรในการระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น (ป้องกันอกุศลใหม่) เพียรในการรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่ง (พัฒนากุศลเดิม) และเพียรในการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี (เพิ่มเติมกุศลใหม่)ดังนั้นเราจึงควรรีบลงมือทำเสียแต่ตอนนี้เลย เพื่อไม่เป็นผู้ที่ร้อนใจในภายหลัง พระพุทธเจ้าทรงตรัสเตือนไว้แล้วถึงภัยในอนาคต 5 ประการ ที่จะมีเกิดขึ้นมาแน่นอน แล้วเราจะเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตนให้เป็นไปตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา เป็นไปตามอริยมรรคมีองค์แปดแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E25 , S02E15 , ใต้ร่มโพธิบท S08E27  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
18.4.202055 Protokoll, 6 Sekunden
Episode Artwork

ยอดแห่งการปรุงแต่ง (6315-7q)

เงื่อนไขที่ใช้ประกอบในการตรวจสอบผลที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็น ฌานสมาธิ หรือคุณธรรมในขั้นต่าง ๆ คือ 1) จะไม่ได้ด้วยการบีบคั้น ข่มขี่ หรือปรุงแต่ง แต่จะได้ด้วยความสงบระงับ 2) เป็นสิ่งที่คนชั่วคนถ่อยเสพไม่ได้ คนฟุ้งซ่าน ไม่มั่นใจ ไม่มีศีล จะไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ และ 3) ต้องดำเนินอยู่ในทางของอริยมรรคมีองค์แปด ไม่ทำสิ่งที่เป็นอกุศลอันเป็นเหตุให้ต้องหลุดออกนอกทางทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติล้วนเป็นการปรุงแต่งของจิตทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องมีสติคอยกำกับไว้ให้ดำเนินไปตามมรรคให้ได้ ซึ่งการบรรลุธรรมจะเกิดขึ้นได้ ก็เมื่อเราสร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะสม ประกอบด้วยทางอันประเสริฐ 8 อย่าง (อริยมรรคมีองค์ 8 ที่เป็นยอดแห่งการปรุงแต่ง) ทำการบ่มเพาะอินทรีย์ของเราด้วยทาน ศีล ภาวนา แล้วทำให้เกิดผล เป็นการเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่มีเงื่อนไขแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E24 , ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S03E18    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11.4.202059 Protokoll, 43 Sekunden
Episode Artwork

อยู่บ้าน(จิต).. หยุดเชื้อ(กิเลส).. เพื่อชาติ(ต่อๆไป) (6314-7q)

ในช่วงที่ไวรัส COVID-19 กำลังระบาด เราควรมีความร้อนใจที่ไม่ใช่ความกังวลใจ ทำกิจการการงานใด ๆ ด้วยตระหนักได้แต่ไม่ตื่นตระหนก บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ และต้องลงมือทำตอนนี้ ทำเดี๋ยวนี้การถึงพร้อมด้วยโสตาปัตติยังคะ 4 ด้วยการรักษาศีล ไม่ว่าจะเป็นศีลห้าหรือศีลแปด และศรัทธาอย่างหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถือเป็นสัปปายะในการพัฒนา ภาวนา ภาวิตาได้อย่างไม่กังวลใจ สามารถแก้ไขสถานการณ์ และทำให้มรรคแปดเจริญได้ให้เรามั่นใจได้ว่า กุศลกรรมดีที่เกิดขึ้นนั้น สามารถให้ผลได้ในปัจจุบัน (ฐิตธรรม) เป็นความดีจากการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และให้ผลได้ในเวลาต่อ ๆ ไป (สัมปรายะ) อันได้แก่ สกิทาคามิผล อนาคามีผล และอรหัตผล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4.4.202058 Protokoll, 21 Sekunden
Episode Artwork

พ้นทุกข์ ด้วยเหตุไม่เกลียดทุกข์ (6313-7q)

“ขึ้นชื่อว่าความสุขแล้วใครๆ จะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มีความสุขเป็นสิ่งที่ใครๆ บรรลุได้โดยยาก”เราจะเข้าใจความสุข ความสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีความทุกข์มาเปรียบเทียบ เช่นเดียวกันกับการจะเข้าใจความทุกข์ได้ ก็ต่อเมื่อนำความสุขมาเปรียบเทียบด้วยเสมอเช่นกัน จะเห็นว่าสุขทุกข์เป็นของคู่กัน มาด้วยกัน เป็นอย่างเดียวกัน เพียงแค่อยู่กันคนละด้านเท่านั้นความสุขหรือความทุกข์เป็นเวทนา ต้องกำหนดรู้ ทำความเข้าใจ แต่ความอยากกับความไม่อยากเป็นตัณหา จึงต้องละหรือทำให้เบาบางลงจนหมดไป ดังนั้นหากเอาเราความอยากในจิตใจของเราออกไปได้ ก็จะทำให้เราข้ามสุขเหนือทุกข์ได้อุบายพ้นทุกข์คือ ความสุขที่เกิดจากสมาธิ (เนกขัมมะ) ทำได้ด้วยการตั้งสติเอาไว้เพื่อเข้าหาสมาธิ มีสติปัฏฐาน 4 อันเป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว ที่จะทำให้สัตว์ในยุคนี้ข้ามพ้นความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์เฉพาะหน้าได้ ให้ตั้งอยู่ในโสตาปัตติยังคะ 4 กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีศีล มีความศรัทธาในพุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็จะทำให้จิตใจเข้มแข็ง มีกัลยาณมิตร พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยรอบคอบ เกิดเป็นปัญญาขึ้น เปลี่ยนมุมมองจากเห็นทุกข์เป็นเห็นธรรมแทน และสามารถพ้นทุกข์ได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
28.3.202056 Protokoll, 11 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม (6312-7q)

คำสอนของพระพุทธเจ้า มุ่งเน้นไปที่เหตุ ไม่ใช่กรรมเก่า ซึ่งล้วนเกิดจากการกระทำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นดินฟ้าอากาศ ระบบภายในร่างกาย หรือแม้กระทั่งตัวของเราเอง โดยสามารถสรุปเป็นเหตุแห่งเวทนาทั้ง 6 อย่าง ได้แก่เหตุแห่งดินฟ้าอากาศเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอธาตุลม ระบบภายในร่างกายน้ำดี ระบบการย่อยอาหารผู้อื่นทำร้ายกรรมของตนอย่างไรก็ตาม ความเกิด ความดับ และความพ้น ต่างก็ต้องมีเหตุปัจจัยด้วยกันทั้งนั้น เราจึงควรปฏิบัติธรรมตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด เพื่อเป็นแนวทางในการพ้นทุกข์ เข้าถึงพระนิพพานได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E15  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
21.3.202056 Protokoll, 15 Sekunden
Episode Artwork

เมื่อเจริญอริยมรรค ย่อมเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภัยในอนาคตที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราทุกคน จะมีแน่นอน ใน 5 ประการ ดังนี้ภัยจากความแก่ภัยจากความเจ็บไข้ภัยจากข้าวปลาอาหารขาดแคลนภัยจากโจรป่ากำเริบภัยจากหมู่สงฆ์แตกแยกกัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ภัยในอนาคตข้างต้นนี้ อาจจะไม่เกิดขึ้น แต่ความเสื่อมหรือภัยที่เกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็เป็นภัยที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือรอดพ้นไปได้เลย เราจึงควร เจริญอริยมรรคมีองค์แปด เพื่อทำจิตใจให้มีความผาสุกอยู่ได้ ไม่ใช่ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงขันธ์ 5 หรือสิ่งต่าง ๆ ภายนอก เพราะทั้งขันธ์ 5 และสิ่งต่าง ๆ ภายนอก ล้วนเป็นอนัตตา มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นตามธรรมดา ไม่ควรเข้าไปยึดถือ พยายามวางหรือละอุปาทาน ด้วยการปฏิบัติที่พร้อมไปด้วยศีล สมาธิ และปัญญา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
14.3.202059 Protokoll, 49 Sekunden
Episode Artwork

คุณธรรมเป็นเครื่องวัดการตอบแทนคุณพระพุทธเจ้า

บาป เป็นการกระทำที่เป็นไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน มีความโกรธเกลียด และเป็นมิจฉาทิฏฐิ ใจ เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิด กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ มากขึ้นหรือเบาบาง กล่าวคือ หากกิเลสมากก็จะทำให้ล้นออกมาทางกายและวาจา ทำให้เห็นเป็นความไม่ดีหรืออกุศลกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นหากเรามีศีล ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่สามารถควบคุมกายและวาจาได้ ใจก็จะได้รับการรักษาไปด้วย และทำให้กิเลสเบาบางลงได้เช่นกัน การรักษาที่รากเหง้าของการเกิดกิเลส คือ จิตและใจ จะทำให้กายและวาจาได้รับการรักษาไปด้วย โดยการทำดีในทุกรูปแบบถือว่า เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการปฏิบัติบูชาตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งล้วนเป็นการกระทำตอบ (ปฏิการะ) และเป็นเครื่องวัดคุณธรรมที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งนี้การทำดีไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ปากหรือความคิดผู้อื่น แต่ขึ้นอยู่ที่การกระทำและความคิดของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7.3.202054 Protokoll
Episode Artwork

แม้ธรรมะพระพุทธเจ้าก็เป็นอนัตตา (6308-7q)

คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอนัตตา เพราะมีเหตุมีปัจจัย เป็นทางสายกลาง ไม่เป็นไปในแบบที่สุดโต่งของความเห็นทั้งสองข้าง คือ ความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ (อัตถิตา) หรือ ความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ (นัตถิตา)จะเข้าใจความเป็นเหตุเป็นปัจจัยได้ จะต้องมีสัญญา ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงในเรื่องของสัญญาและญาณ ซึ่งสัญญาและญาณจะเชื่อมกันได้ ต้องอาศัยสมาธิ  และสมาธิจะเกิดขึ้นไม่ได้หากมีนิวรณ์ อันเป็นเครื่องขวางกั้นเครื่องข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ วิจิกิจฉา ซึ่งเป็นความเคลือบแคลงเห็นแย้ง เป็นความไม่ลงใจ รู้สึกไม่มั่นคง ไม่มั่นใจ ฟุ้งซ่าน ปล่อยวางไม่ได้ ทำให้มีอกุศลกรรมเกิดขึ้น เราจะสามารถกำจัดวิจิกิจฉาได้ ก็ด้วยมีความมั่นใจ มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พุทโธ ธัมโม และสังโฆ ซึ่งศรัทธานั้น จะทำให้เกิดความเพียร มีการทำจริงแน่วแน่จริง ทำให้จิตเป็นสมาธิ มีปัญญาเกิดขึ้น สามารถเห็นตามความเป็นจริง และเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุดแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E17  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
22.2.202059 Protokoll, 19 Sekunden
Episode Artwork

ผิดได้ แต่อย่าพลาดในการเจริญความดี (6307-7q)

การรักษาศีล สำคัญอยู่ที่การตั้งเจตนา ทำได้มากหรือน้อย ย่อมดีกว่าการไม่ทำเลย ความผิดพลาดต้องมีเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือใจ ดังนั้นต้องเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงแก้ไข จึงเป็นลักษณะของการพัฒนา (ภาวิตา) เพื่อการเจริญและรักษาความดีไว้ให้ตลอดนอกจากนั้นแล้ว ควรรักษาจิตตนเองให้ดี ไม่ให้มีความพยาบาท ไม่เต็มไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ ให้มีพรหมวิหารสี่และรู้จักวางอุเบกขาจุดประสงค์หลักของศีล คือ ลดขบวนการของการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น หากมีทางเลือกอื่นในการเลี้ยงชีพตนเองโดยที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็ควรจะค่อย ๆ ปรับไป เริ่มจากการรักษาศีลให้ดี ทำบุญในรูปแบบอื่นเพื่อเป็นการทดแทนขึ้นมา เช่น การให้ทาน การบริจาค การปฏิบัติธรรมภาวนา เป็นต้นตราบใดที่ยังไม่บรรลุพระนิพพาน ความผิดพลาดย่อมมีเกิดขึ้นได้แน่นอน อย่าคิดว่าจะไม่ทำดี แต่ให้ลงมือทำความดีทันทีและทำความดีนั้นให้เต็มที่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
15.2.202059 Protokoll, 30 Sekunden
Episode Artwork

มีคติที่ไป ด้วยการระลึกถึงความดี (6306-7q)

Q1: เวลาเราสวดมนต์และท่องเร็ว ๆ หรืออ่านบาลีผิด คำสาธยายธรรมเหล่านั้นจะยังศักดิ์สิทธิ์และมีความเป็นกุศลอยู่หรือไม่การสวดมนต์ หรือ การสาธยายมนต์ หมายถึง การท่องจำคำสอนของพระพุทธเจ้าให้คล่องปากขึ้นใจ เป็นหนึ่งในวิธีการบันทึกคำสอนให้อยู่ได้ตลอดกาลช้านาน ทั้งนี้นัยยะในการสวดมนต์ควรจะต้องจำได้ เข้าใจความหมาย และด้วยอาการแห่งการสวดมนต์ เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วจิตเกิดปิติ ปราโมทย์ มีสุข เป็นสมาธิ เห็นตามความเป็นจริงได้ข้อควรระวัง คือ อย่าสักแต่ว่าสวดแล้วเลิกร้างการหลีกเร้นหรือการปฏิบัติ เพราะหากสวดมนต์แล้วจิตเป็นกังวลว่าจำบทสวดไม่ได้ หรือหมกหมุ่นแต่ความถูกต้องของบทสวด จนทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ ก็จะไม่เป็นผลดีกับผู้สวดเองด้วยQ2: ปกติผู้ถามถือศีลแปด ไม่ทานอาหารหลังเวลาเที่ยงวัน แต่บางครั้งในขณะที่ฟ้ายังมืดอยู่ ยังไม่สว่าง ซึ่งปกติเวลาตี 5 เรียกว่า ยามสุดท้ายแห่งราตรี (คือยังเป็นกลางคืนอยู่) จำเป็นต้องทานอาหาร จะผิดศีลหรือไม่ หรือต้องรอให้เห็นพระอาทิตขึ้นก่อนแล้วค่อยทานอาหารได้ใช่หรือไม่ และ "วิกาลโภชนา" หนึ่งในศีลแปดของฆราวาสกับพระ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?อ้างอิงตามพุทธพจน์ ศีลในข้อ "วิกาลโภชนา" หมายถึง การเว้นขาดจากการบริโภคในเวลาล่วงกาลและในเวลาราตรี ซึ่งกาละที่เหมาะสม คือ การที่พระอาทิตย์ขึ้นถือเป็นนิมิตเครื่องหมายและ เวลากลางคืน (ราตรี) ในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันจำเป็นต้องยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ให้เหมาะสม เพราะวัตถุประสงค์หลักของการรักษาศีลคือ เพื่อให้อยู่ง่าย กินง่าย และไม่เปิดช่องให้กิเลสออกได้ Q3: จากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าที่ประเทศออสเตรเลีย มีสัตว์ตายไปประมาณ 500 ล้านตัว ต้องการทราบว่า สวรรค์จะมีพื้นที่รองรับดวงจิต 500 ล้านเพียงพอหรือไม่ หรือสัตว์มักจะเกิดเป็นสัตว์ 500 ชาติ ในระหว่างที่ดวงจิตที่เพิ่งตายไปและรอเป็นสัตว์ในชาติใหม่ ดวงจิตเหล่านั้นจะไปอยู่ที่ใด?บนสวรรค์มีพื้นที่กว้างใหญ่มาก จึงสามารถรองรับดวงจิตจำนวนมากมาย โดยปกติแล้วเมื่อดวงจิตใด ๆ เคลื่อน (จุติ) ออกจะไปเกิด (อุบัติ) ทันที จึงมีความเป็นไปได้ที่สัตว์ที่ตายจากเหตุการณ์ไฟไหม้ในออสเตรเลียอาจจะไปเกิดในภพภูมิที่แตกต่างกันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรรมที่ตนเองได้กระทำมา หรืออาจจะเกิดเป็นสัตว์เหมือนเดิมหากมีความยินดีพอใจในสภาวะความเป็นอยู่ก่อนตาย Q4: ในทางพุทธศาสนาการปลดปล่อยวิญญาณมีอยู่จริงหรือไม่ หากมีอยู่จริงการปลดปล่อยวิญญาณจะทำให้วิญญาณนั้นไปเกิดได้จริงหรือไม่?สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำกรรมใดดีก็ตามชั่วก็ตามย่อมต้องรับผลของกรรมนั้น หากระลึกถึงความดีของตนที่เคยกระทำได้ ย่อมมีสุคติเป็นที่ไปQ5: การที่คนหลายคนได้กลิ่นธูปโดยไม่มีใครในบ้านจุดธูปเลย จึงเชื่อว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้วมาหา ต้องการทราบว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่วิญญาณของผู้เสียชีวิตนั้นมาหาจริง ๆนิมิตหรือเครื่องหมาย ที่เปลี่ยนแปลงไปตามคน ตามสถานการณ์ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะรู้ได้ เรียกว่า "ญาณ" ที่จะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นหรือมีอยู่ตลอดเวลาอย่างไรก็ตามหากเรามั่นใจว่าได้พบนิมิตแล้ว ควรทรงจิตให้ตั้งมั่นเป็นอย่างดีด้วยการเจริญเมตตาภาวนา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8.2.202056 Protokoll, 56 Sekunden
Episode Artwork

เก็บตกไลฟ์สด เสาร์-อาทิตย์ (6305-7q)

คำถามเก็บตกจากรายการ "ธรรมะรับอรณ ไลฟ์สด" เมื่อเสาร์-อาทิตย์-จันทร ์ ที่ผ่านมาQ1: เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2563 ได้ฟังการตอบคำถามในประเด็นของการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เช่น ฆ่าปลา โดยเจาะจงเพื่อทำอาหารนำมาถวายพระ จะเป็นบาปทั้งผู้ถวายและพระผู้รับ หากทราบที่มา ผู้ถามจึงต้องการทราบว่ากรณีพระติสสะที่ชาติก่อนเป็นพรานจับนก ฆ่านก และเผอิญได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเจาะจงฆ่านกเพื่อนำมาแกงใส่บาตรให้พระฉัน แม้ทำบุญเพียงครั้งเดียว ในกรณีนี้เพราะเหตุใดถึงส่งผลให้พระติสสะในชาติต่อมาได้บรรลุอรหันต์ในช่วงสุดท้ายก่อนสิ้นใจการฆ่าสัตว์แบบเจาะจงมาเป็นอาหาร ก็ทำให้บุญนั้นมีมลทิน เศร้าหมอง ไม่ผ่องแผ้วในตัวออยู่แล้ ในกรณีของพระติสสะ หรือ "พระปูติคัตตติสสเถระ" ผู้มีกายเน่าและได้รับความทุกข์ทรมานจากเวทนาในความเจ็บป่วยนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเทศน์ถึงกายท่านที่เน่า กายที่หาสาระไม่ได้ กายที่เป็นรังโรค กายที่ไม่ควรยึดถือเอาไว้ด้วยความเป็นตัวตน ท่านจึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ก่อนสิ้นใจ ด้วยเหตุปัจจัยที่สร้างไว้ในชาติก่อนที่เคยเป็นพรานนกแล้วขายให้กับอิสระชน ดังนี้ในชาติสุดท้าย เหตุเพราะเวลาจับนกได้มากเกินกว่าความต้องการซื้อ จึงต้องหักปีกและขานกเพื่อเก็บไว้ขายในวันถัดไป จึงทำให้ท่านเกิดมามีกายเน่าและกระดูกแตกระหว่างทางที่กำลังจะไปขายนก ได้พบกับพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและจิตใจมีความเลื่อมใสมาก จึงนำนกที่จับมาได้ทำอาหารถวาย ด้วยกรรมดีนี้ซึ่งเป็นกรรมที่ไม่ได้ฆ่านกเพื่อนำมาทำอาหารถวายพระปัจเจกพระพุทธเจ้าแบบเจาะจง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในชาติสุดท้ายเช่นกันQ2: ถ้าลูกทำผิด พ่อแม่บางคนเสียใจมากถึงขนาดร้องไห้ แต่พ่อแม่ของบางคนก็รับได้ ไม่ทุกข์ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา อยากทราบว่าลูกที่ทำผิดนั้นบาปหรือไม่บาปนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว และจะมีมากหรือน้อยขึ้นกับกรรมที่ลูกได้กระทำ ไม่ได้ขึ้นกับความเสียใจของพ่อแม่ แต่บาปจะขยายออกไปเป็นวงกว้างกลายเป็นการสร้างความทุกข์ใจหรือเป็นการเบียดเบียนให้พ่อแม่เสียใจ ทั้งนี้เหตุของความทุกข์ที่เกิดกับพ่อแม่ก็เนื่องมาจากความรัก ตัณหา ราคะ และฉันทะ จึงทำให้เกิดทุกข์มาก รวมทั้งความยึดถือในแต่ละฝ่ายด้วย อย่างไรก็ตามเราสามารถขจัดสิ่งที่ไม่น่าพอใจและความทุกข์ที่มากลุ้มรุมจิตใจได้ด้วย "การปล่อยวาง"ทั้งนี้เราควรตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ที่พอจะเสมอกันได้ ด้วยการประดิษฐานให้ท่านมีพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญาQ3: ไม่เคยเข้าวัดเลย อยากจะฝึกทำสมาธิ ควรเริ่มอย่างไรเรื่องของ สถานที่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะการฝึกทำสมาธิต้องเริ่มที่จิตของเราก่อน ด้วยจิตที่สามารถรับรู้ได้ในผัสสะต่าง ๆ และเป็นจิตที่มีความอดทนต่อ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยในการเข้าสู่สมาธิได้ง่ายQ4: ทำไมคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคนที่ชอบฟังธรรมะ ชอบเรียนธรรมะ ไปวัดทำบุญ ต้องมีความทุกข์หรือมีปัญหาชีวิตเพราะศรัทธามีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย อีกทั้งนิยามของความทุกข์ในแต่ละบุคคลก็มีความหมายแตกต่างกัน เพราะความที่มีปัญญาเห็นทุกข์ต่างกัน นั่นเอง ซึ่งสืบเนื่องมาจากทุกข์ทำให้อินทรีย์แก่กล้า ซึ่งเป็นต้นสายของการเกิดแห่งพละ 5 นั่นคือ ความเพียร (วิริยะ) สติ สมาธิ และปัญญา ที่จะเกิดตามมาQ5: เมื่อต้องดูแลคนป่วยมีผัสสะมาก คนดูแลควรทำอย่างไร ในเรื่องของจิตใจทั้งผู้ป่วยและคนดูแลหลัก ๆ ที่ควรจต้องมี คือ ผู้ดูแลต้องมีเมตตา ทำโดยไม่หวังอามิสหรือความพึงพอใจใด ๆ เช่น มรดก ทรัพย์สินเงินทอง เป็นต้น อีกทั้งต้องสามารถพูดหรือสื่อสาร มีกุศโลบายทำให้ผู้ป่วยอาจหาญร่าเริงได้ และมีกำลังใจสูง ไม่หดหู่ ห่อเหี่ยวในเวทนาที่เกิดจากความเจ็บป่วยนั้นQ6: ต้องการทราบถึงหัวข้อธรรมะที่ทำให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะจุดนี้สำคัญ ตรงที่การรักษาจิตใจของเราก่อน เพราะได้ชื่อว่ารักษาทั้งตนเองและรักษาผู้อื่นด้วย นั่นคือต้องมีความเมตตา มองกันด้วยสายตาที่มีความรักใคร่กันเป็นอยู่ ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ไม่อาฆาตพยาบาทปองร้าย และไม่เพ่งโทษผู้อื่น เพราะการมองหาความไม่ดีจากตัวผู้อื่น นั่นคือเกิดความไม่ดีขึ้นแล้วในจิตใจของเราเอง จึงเป็นการเกิดผลเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในบางครั้งอาจจะพบเจอคนพาล ให้ระลึกไว้เสมอว่าคงเป็นความไม่คุ้มค่าที่จะลดระดับความดีของเราไปแลกกับความไม่ดีของเขาที่หยิบยื่นให้Q7: ต้องการทราบว่า ถ้าเป็นพระปฏิบัติ แต่ไม่ออกบิณฑบาตร เมื่อถึงวันพระก็ออกมาบ้าง แต่ส่วนมากจะไม่ค่อยออกมา จะผิดวินัยของสงฆ์หรือไม่ ไม่ผิดวินัยของสงฆ์ เพราะตามวินัยของสงฆ์นั้น พระภิกษุสามารถออกบิณฑบาตรด้วยตนเอง หรือจะรับอาหารในที่ที่มีผู้นิมนต์ไว้ด้วยความศรัทธาก็ได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E16 , เข้าใจทำ (ธรรม) S08E16  , #การประดิษฐานแก่บิดามารดา        Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1.2.202059 Protokoll, 45 Sekunden
Episode Artwork

ตามใจท่าน-ไลฟ์สด อาทิตย์ (6304-7q)

"ตามใจท่าน" ในเอพิโสดนี้ เป็นไฟล์เสียง การออกอากาศ "ไลฟ์สด"  ณ ห้องส่ง สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ม.ค. 2563 เปิดโอกาสให้ท่านผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการสอบถามปัญหาหรือทักทายกันเข้ามาทางโทรศัพท์ "มาสว่างแล้วเพราะการเกิดเป็นมนุษย์ จะไปสว่างได้ด้วยการมีความดีและทำให้ชีวิตมีกำไร"หัวหน้างานอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราดมากขึ้น มีการปะทะกันบ่อย และไม่มีความสุขในการทำงาน ควรใช้หลักธรรมใดในการแก้ปัญหาแก้ไขได้โดยการแผ่เมตตาให้กัน ตั้งแต่ก่อนการกระทบกันด้วยการทำสมาธิ ตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา แล้วนึกถึงบุคคลนั้นทุกครั้ง จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีทั้งสองฝ่าย ให้ระลึกไว้เสมอว่าการปะทะกันจะทำให้เกิดการผูกเวร ได้บาป ชนะกันด้วยความไม่ราบคาบ ไม่บริสุทธิ์ และไม่บริบูรณ์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.1.20201 Stunde, 1 Minute, 38 Sekunden
Episode Artwork

ตามใจท่าน-ไลฟ์สด เสาร์ (6304-6q)

"ตามใจท่าน" ในเอพิโสดนี้ เป็นไฟล์เสียง การออกอากาศ "ไลฟ์สด"  ณ ห้องส่ง สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ม.ค. 2563 เปิดโอกาสให้ท่านผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการสอบถามปัญหาหรือทักทายกันเข้ามาทางโทรศัพท์ คนที่ได้โสดาบัน เขาตัดกิจกรรมคนคู่ ลดลง หรือว่า ใช้ชีวิตปกติ?คุณสมบัติของโสดาบัน คือ มีศีล เพราะฉะนั้น ศีลเป็นเรื่องมีกิจกรรมของคนคู่ได้ไหม? คำตอบคือ ได้ เพราะศีลข้อ 3 ที่ว่าด้วย การไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในกาม เช่น ล่วงภรรยาผู้อื่น ล่วงหญิงที่มารดา บิดาเขารักษาอยู่ ไม่ทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีภรรยาอยู่แล้ว  หรือมีสามีอยู่แล้ว เราก็ไม่ล่วงเกินไปจากคู่ของเรา คุณก็มีกิจกรรมคนคู่ได้ ในความที่เป็นคู่ของเรา เช่น คุณไปกินข้าวด้วยกัน กระหนุงกระหนิง โทรหากันจ๊ะจ๋า พูดเกี้ยวกันบ้าง เป็นธรรมดา แต่ไม่เกินเลย ไม่ผิดศีล ไม่ไปทำกับคู่ของคนอื่น จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม "โสดาบัน" คือ คนที่เข้าสู่กระแส เป็นใคร? เป็นคนที่ปรับทิฏฐิให้ถูกต้องแล้ว เช่น สมมุติเราตื่นเช้ามา เรารู้สึกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มันไม่ค่อยเที่ยง อันนี้คุณมาถูกทางแล้ว เป็นโสดาปัตติมรรค มาตามทางที่จะไปสู่ทะเลแล้ว สมมุติเราอยู่ฝั่งนี้ มีภัยมากมาย เราจะไปทะเล คุณก็ออกจากฝั่ง จะเข้าไปสู่กระแสกลางแม่น้ำ ออกไป อันนี้ คือ โสดาปัตติมรรคพอคุณไปถึงกระแสกลางแม่น้ำแล้ว นั่นคือ โสดาปัตติผล เพราะว่า โสดา ก็คนธรรมดานี่แหละ ข้อที่  1 รักษาศีลได้ (ศีล 5 ) ข้อที่ 2-4 ก็คือ  มีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชนิดตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
25.1.202056 Protokoll, 2 Sekunden
Episode Artwork

ทุกสิ่งยุติได้ในนิพพาน (6303-7q)

Q1: โดนหัวหน้างานกลั่นแกล้ง ต้องทำอย่างไรตามคำสอนทางพุทธศาสนาหรือมีปัจจัยอะไรเร่งให้กรรมทำงานเร็วขึ้นการไม่ทำความชั่วตามคำชักชวนใด ๆ ถือว่าเป็นการทำความดีของเราแล้ว บางครั้งความดี ความเพียร และความตั้งใจมั่นอาจจะทำได้ยาก เพราะอาจทำให้เกิดเป็นความคับแค้น ความเร่าร้อน หรือผัสสะที่ไม่น่าพอใจเกิดขึ้นในระหว่างที่ตั้งใจทำความดีนั้น ๆ ให้ระลึกถึงคุณความดีของตนเอง ซึ่งถือเป็น สีลานุสสติสิ่งที่ควรทำความเข้าใจมากกว่าการเร่งให้กรรมทำงานเร็วขึ้น นั่นคือ ต้องทำอย่างไรจึงจะรักษาความดีของเราให้มีตลอดได้ พละ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา) จึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญใช้หุ้มห่อจิตใจของเราให้สามารถรักษาความดีได้อย่างเต็มที่ไปตลอดรอดฝั่ง ทำให้จิตใจของเราไม่คิดเบียดเบียน ไม่พอใจ หรือไม่คิดทำร้ายผู้อื่นด้วยความยุติธรรมไม่มีในสังสารวัฏนี้ หากต้องการให้สุดจบจริง ๆ มีที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น การให้ผลของกรรมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ได้สร้างมาตั้งแต่อดีตชาติจนกระทั่งถึงปัจจุบันชาติที่มากน้อยไม่เท่ากัน ระยะเวลาการให้ผลของกรรมจึงแตกต่างกัน คือ ให้ผลในปัจจุบัน ให้ผลในเวลาถัดมา และให้ผลในเวลาถัด ๆ มาอีก ซึ่งผลกรรมอาจจะเกิดกับตนเอง กับลูก หรือกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้Q2: สาวกทั้ง 80 รูป มีบ้างหรือไม่ที่บวช ๆ สึก ๆ หลายครั้งแล้วได้บรรลุธรรม ผู้ถามเคยถามหลวงน้าท่านหนึ่งซึ่งมรณภาพไปหลายสิบปีแล้ว ท่านอธิบาย "ชายสามโบสถ์" ว่าคือ ผู้ชายที่นับถือหลาย ๆ ศาสนาในเวลาเดียวกัน จึงได้ถามมาเพื่อขอความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่าเป็นอย่างไรในครั้งพุทธกาลก็เคยมีท่านจิตตหัตถสารีบุตร ที่เคยบวชและสึกถึง 7 รอบด้วยสาเหตุของการทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพและคุณของเนกขัมมะในเวลาเดียวกัน หรือแม้แต่พระพุทธเจ้าเอง เมื่อครั้งที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็เคยเป็นอย่างนี้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E54 ,  #พระจิตตหัตถเถระ ผู้เปลี่ยนแปลงได้         ส่วนคำว่า "ชายสามโบสถ์" เป็นเรื่องของการใช้ภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ ขึ้นอยู่กับว่า ต้องการนำไปใช้ในบริบทใด ๆ ทั้งนี้จากการสืบค้นพบว่า ชายสามโบสถ์มีความหมาย 2 นัยยะคือ ชายที่บวชในศาสนาพุทธตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือชายที่บวชในศาสนาที่ต่างกันตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปQ3: เมื่อพระกล่าวคำสมาทานศีล 5 เสร็จ แล้วสรุปลงท้ายว่า "จะไปสุคติได้ด้วยเพราะศีล" สุคตินั้นหมายรวมถึงโลกมนุษย์ด้วยหรือไม่ เพราะโลกมนุษย์นั้นประกอบด้วยทุกข์ สุข และไม่ทุกข์ไม่สุข ซึ่งที่เป็นที่ดีที่งามนั้น เป็นที่ ๆ มีลักษณะอย่างไรต้องเข้าใจถึงสัดส่วนของสุขและทุกข์ในโลกมนุษย์ที่มีพอ ๆ กัน ส่วนนรกจะมีความทุกข์อย่างมากแต่สุขน้อยนิดเดียว ในขณะที่สวรรค์จะมีความสุขเหลือล้นแต่ทุกข์น้อยนิดเดียว ดังนั้นเมื่อพูดถึงสุคติจะประกอบไปด้วยมนุษย์ (พราหมณ์มหาศาล กษํตริย์มหาศาล และคหบดีมหาศาล) เทวดา พรหม แต่ถ้าพูดถึงทุคติจะประกอบไปด้วยมนุษย์ เปรต อสูรกายทุกที่ในสังสารวัฏนี้ต่างประกอบไปด้วยทุกข์ สุข และไม่ทุกข์ไม่สุข สัดส่วนอาจจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ความดีในการเกิดเป็นมนุษย์ ก็คือ ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า สามารถเห็นสุขและทุกข์ได้มากพอ ๆ กัน เมื่อเห็นสุขแล้วไม่กำหนัดยินดี เมื่อเห็นทุกข์แล้วเกิดปัญญาได้Q4: พระปริตรที่ควรนำมาสาธยายหรือสวดมนต์ในพิธีงานมงคลสมรส นั่นคือ "องคุลีมาลปริตร" หรือ "องคุลีมาลสูตร" จึงขอความกรุณาแปลพระสูตรนี้เป็นไทยให้ด้วย เพราะผู้ถามไม่ได้ฟังมานานแล้ว"องคุลีมาลปริตร" มาที่เนิ้อความจำเดิมตั้งแต่ที่พระองคุลิมาลมาบวชแล้ว วันหนึ่งพระองคุลีมาลได้พบหญิงมีครรภ์และได้อุทานว่า "สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงตรัสให้องคุลีมาลตั้งอธิษฐานสัจจะวาจาและไปโปรดหญิงมีครรภ์นั้นว่ายะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ(ดูก่อน ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาในอริยชาติ ไม่เคยตั้งใจหรือเจตนาจะพรากสัตว์ใด ๆ จากชีวิตเลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดี จงมีแก่ทารกในครรภ์ของเธอเถิด)เป็นบทสวดอย่างย่อที่จะสวดพร้อมกับบทสวด "โพชฌังคปริตร" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครอบครัวที่เพิ่งแต่งงานกันเมื่อมีบุตร จะทำให้คลอดบุตรง่าย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
18.1.202058 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

อย่าตกหลุมแห่งทิฏฐิ (6302-7q)

ก่อนอื่น ขอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดรายการธรรมะรับอรุณ ในแบบ Live สด โดยจัดมีขึ้นที่ สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย (สวท.) ในวันที่ 25 - 26 มกราคม 2563  ซึ่งรับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมกันได้ในเอพิโสดนี้Q1: พิมพ์ด่า+พิมพ์โกหก กับ พูดด่า+พูดโกหก รับผลกรรมเหมือนกันหรือไม่ อย่างไรพระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า "บุคคลตรึกตรองแล้วค่อยเปล่งวาจา" หมายถึง เมื่อคิดอย่างไรจึงแสดงออกไปอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนก็ตามทั้งที่เป็นการชมและการตำหนิ ด่าว่า เพียงแต่เป็นการกระทำที่มีทวารต่างกันเท่านั้นความหนักเบาของผลกรรมนั้น มาจากทางใจจะหนักที่สุด หนักมากกว่าทางกายหรือวาจา เพราะเรามีใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทั้งนี้เปรียบ เจตนาในการกระทำนั้น ๆ เสมือนรอยกรีดบนน้ำ บนทราย และบนหินเมื่อมีการใช้ Social Media กันอย่างกว้างขวาง จึงทำให้การสื่อสารข้อความต่าง ๆ แพร่กระจายออกไปได้ง่าย รวดเร็ว และไกลขึ้น ซึ่งก็จะทำให้การเบียดเบียนหรือการสร้างบาป อกุศลธรรมเพิ่มขึ้นเช่นกันQ2: ถ้าเรารู้หรือได้ยินคำที่มีใครคนหนึ่งเขาว่าคนอื่น แล้วมีอีกคนมาถามว่าเราได้ยินอย่างนี้ ๆ หรือไม่ เราควรจะตอบตามความจริงว่าเราได้ยินมาอย่างนี้หรือจะไม่ตอบ หรือควรจะอย่างไรการพูดจาสื่อสารควรยึดหลัก "สัมมาวาจา" ซึ่งประกอบด้วย 3 ลักษณะคือ ไม่พูดโกหก, ไม่พูดส่อเสียดเพื่อยุยงให้แตกกัน, และไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ในทางตรงกันข้าม หากการพูดวาจาตรงแล้วทำให้เกิดการแตกแยก การใช้คำพูดสวยหรูแต่ทิ่มแทงใจผู้ฟัง พูดกล่าวโทษเพราะคิดไปเองหรือไม่มีหลักฐานอ้างอิง เราก็ไม่ควรพูด ซึ่งถือว่าเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นหรือสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง นั่นเอง และยังเป็นการไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นอีกด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ ตอบตรงไปตรงมา มีการตอบที่ตายตัว, มีการถามย้อนกลับ แล้วจึงตอบ, มีการตอบที่แยกแยะแจกแจงเพิ่มเติมรายละเอียด ตามบริบทในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป, นิ่ง ไม่ตอบเลย เพราะเป็นคำถามที่ตอบแล้วจะทำให้เกิดความสับสน ไม่ชัดเจน หรือจะสามารถทำให้ตกหลุมแห่งทิฏฐิต่าง ๆ ได้Q3: คนส่วนใหญ่กลัวตายเพราะอะไร และทำอย่างไรจึงจะไม่กลัวตายคนส่วนใหญ่มักจะกลัวตายด้วยหลาย ๆ สาเหตุด้วยกัน เราสามารถเปลี่ยนความกลัวตายให้เป็นความไม่กลัวตายได้ โดยการตั้งไว้ซึ่งหิริและโอตตัปปะ (ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป) ที่จะทำให้เรามีความเข้าใจและมีทิฏฐิความเห็นที่ถูกต้อง โดยแยกตามแต่ละสาเหตุ ได้แก่ กลัวตายเพราะกลัวสูญเสียความสุขที่เคยได้รับตอนมีชีวิตอยู่, กลัวเจ็บ, กลัวการพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก, และกล้วว่าตายแล้วไปไหนอย่างไรก็ตาม หากกลัวสิ่งใด ให้เข้าหาสิ่งนั้นด้วยจิตที่เป็นสมาธิ จะทำให้ความกลัวค่อย ๆ คลายความกลัวลงได้ และหากกลัวตาย ก็ให้ระลึกถึงมรณะสติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการละบาป ละอกุศลธรรม และระลึกถึงกุศลธรรมได้มากขึ้นQ4: การนําหลักธรรมมาใช้ปฏิบัติตน เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขหรือขจัดปัญหาข้อขัดแย้ง มีหรือไม่ อย่างไรหลักธรรมระงับความขัดแย้งที่สำคัญและได้ผลมากที่สุดคือ "เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก" ซึ่งจะต้องนำไปใช้และปฏิบัติกับทุกคน ทุกฝ่าย ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก เราสามารถแผ่เมตตาให้ได้อย่างกว้างขวาง อย่างไม่มีประมาณ ซึ่งต้องไม่มีความคิดแบบผูกเวรหรือมีอกุศลใด ๆ เลยและกรรมของการผูกโกรธกัน จะทำให้ได้รับผลไปเกิดในนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต ไปในที่ที่ไม่ดีแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มพธิบท S07E60 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11.1.202054 Protokoll, 8 Sekunden
Episode Artwork

เลือกเกิดได้ ด้วยการบำเพ็ญบารมี (6301-7q)

"จิตใจของโพธิสัตว์" หมายถึง จิตใจแบบเต็มเปี่ยม ใหญ่หลวง และกว้างขวาง ให้ของที่ดีและให้มากเกินกว่าที่ขอโดยไม่มีความเสียดาย อีกทั้งให้ด้วยความนอบน้อมด้วยการให้ในสิ่งที่ตนรักเพื่อสิ่งที่ตนรัก นั่นคือ "โพธิญาณ" ซึ่งสามารถช่วยคนได้มาก ทำความดีได้สูง เป็นการเอาความดีที่ตนมีอยู่สละออกเพื่อให้เกิดความดียิ่งกว่า ทำให้จิตใจสูงขึ้นและบุญเกิดขึ้นทันทีคำถาม (1) : ควรหรือไม่ที่จะแนะนำให้โสดาบันตั้งความปรารถนาว่า ชาติต่อไปที่เหลือ ขอได้เกิดเป็นมนุษย์?คำตอบ (1) : การสร้างบารมีหรือบำเพ็ญบารมีเพื่อให้บรรลุธรรมในแต่ละขั้นนั้น จะต้องประกอบด้วยความบริสุทธิ์และความบริบูรณ์ของมรรค กล่าวคือจะต้องมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง(ความบริสุทธิ์) และการปฏิบัติด้วยความเพียรที่เข้มข้นและเหมาะสม(ความบริบูรณ์) ในความเป็นพุทโธนั้นๆ เพื่อสะสมความดีในรูปแบบต่างๆที่เป็นบารมี เพื่อให้เกิดการสร้างกุศลธรรมที่เพิ่มขึ้นและทำให้อกุศลธรรมลดลงคำถาม (2) : คำกล่าวที่ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ได้ดีหมายถึงอะไร ซึ่งในที่นี้ผู้ถามเข้าใจว่า "ได้ดี" หมายถึง กุศลกรรมเพิ่มแต่กิเลสลดลง ใช่หรือไม่?คำตอบ (2) : ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์หมายเอามรรคแปด ไม่ใช่ขันธ์ห้า ดังนั้นเราจึงต้องแยกแยะให้ถูกต้องระหว่าง "กุศลหรืออกุศล"(จัดอยู่ในมรรค) แต่ "สุขเวทนาหรือทุกขเวทนา"(จัดอยู่ในทุกข์) กล่าวคือ ไม่ว่าจะเกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตามแล้ว เราไม่ลุ่มหลงเพลิดเพลิน แต่มีความอดทน มองเห็นความไม่เที่ยง เกิดอุเบกขา ถือว่าความดีและบุญเกิดขึ้นแล้ว เราได้สร้างกุศลกรรมให้เพิ่มขึ้นด้วยคำถาม (3) : การชักจูงให้คนทำความดี ในบางครั้งควรหรือไม่ที่ใช้ความอยากแบบตัณหาในการชักจูงให้ทำความดี?คำตอบ (3) : อาจจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่างเรื่องของความอยากกับความเพียร เพราะการปฏิบัติตามมรรคเพื่อละตัณหา ซึ่งทำให้ทุกข์ลดลงแน่นอน"การเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ" ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นมูลราก ดังนั้นต้องมีการตั้งฉันทะไว้ให้ถูก เพื่อให้ละตัณหา ทุกข์ลดลง แต่มรรคเพิ่มขึ้น เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ความดับเย็นคือเข้าสู่กระแสพระนิพพานในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4.1.202056 Protokoll, 9 Sekunden
Episode Artwork

ความดับในการเกิด (6252-7q)

"ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ที่เจอ ต่างก็เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน คนที่เจอสุขแล้วไม่เจอทุกข์ เพลิดเพลินแล้วไปในการเกิด ไม่ทำความเข้าใจให้ดีและถูกต้อง จะยิ่งเป็นโทษมากขึ้นไปอีก แต่ในทางตรงข้าม หากผู้ใดพบเจอแต่ทุกข์มากกว่าสุขแล้วทำความเข้าใจด้วยปัญญาอันแจ่มแจ้งชัดเจน จะสามารถระงับทุกข์ที่เนื่องจากการเกิดนั้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเราสามารถทำความดับไม่เหลือของการเกิดให้มีได้ โดยการทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด"Q1: "เราเกิดมาทำไม?" และ "ทำไมจึงต้องเกิด?""เราเกิดมาทำไม?" ทุกคนต้องหาคำตอบให้กับตนเอง เพราะเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินชีวิตและการยังชีพในแต่ละคน ๆ  และ "ทำไมจึงต้องเกิด?"  เพราะความเกิดมันเกี่ยวเนื่องด้วยปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วจึงเกิดขึ้น) จะทำความดับไม่ให้เหลือของการเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปดในเรื่องของ "ปฏิจจสมุปบาท" ได้อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกันและกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น จากตัวแม่บทที่กล่าวถึงข้างต้นนั่น การเกิดขึ้นของปฏิจจสมุปบาทเมื่ออธิบายตามหลักไวยากรณ์ของภาษาบาลีแล้ว หมายถึงว่าแต่ละคู่สามารถจบในตัวได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่อง (11 คู่ 12 อาการ) เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาเป็นคู่ ๆQ2: ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ แต่ทำไมมีคนทำผิดศีลธรรมกันมากมาย พระสงฆ์จะมีส่วนช่วยสังคมในเรื่องนี้อย่างไรบ้างอ้างอิงจาก "สุริยสูตร" และ “อัคคัญญสูตร” พระสูตรว่าด้วยการกำเนิดจักรวาล โลก มนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ สิ่งที่สำคัญคือ การควรทุ่มเทปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็น "สวากขตธรรม" และอย่าให้ความดีมาสุดจบที่ตัวเราด้วยการเป็นเครื่องมือของมาร ถูกควบคุมบังคับด้วยกิเลสมาร (ราคะ โทสะ โมหะ)Q3: คนที่ทุ่มเทกับการอ่านพระไตรปิฎกมากๆ อาจจะวันละหลายชั่วโมง แต่ไม่ทุ่มเทกับการปฏิบัติภาวนาเลย จัดว่าการอ่านเเบบนี้ไม่มีประโยชน์พอๆ กับการอ่านหนังสือที่ก่อให้เกิดอกุศลธรรมหรือไม่?  หากเปรียบเทียบการอ่านพระไตรปิฎกมาก ๆ แล้ว ก็ยังมีความดีมากกว่ากิจกรรมอื่นที่เนื่องด้วยกาม แต่หากต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่ก่อให้เกิดกุศลธรรม ก็ควรจะอ่านพระไตรปิฎกด้วยการใส่ใจทำจิตให้สงบ เข้าใจธรรมในเรื่องที่ทรงจำได้ รู้ซึ้งถึงซึ่งธรรมนั้น สามารถใคร่ครวญธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้นได้ จนจิตเป็นสมาธิ เห็นความไม่เที่ยง สามารถปล่อยวางได้ในที่สุด“เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป”แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท E07S29 , คลังพระสูตร E08S63 , ตามใจท่าน E09S42 , #ปฏิบัติดีให้ถูกตามสวากขตธรรม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.12.201956 Protokoll, 39 Sekunden
Episode Artwork

เมื่อรู้แจ้งชัดในนิพพาน จึงไม่หมายมั่นในนิพพาน

ตามใจท่านกับ 4 คำถามหลัก ในเรื่องที่เกี่ยวกับ อตัมมยตา, โทษของศรัทธา, คฤหัสบรรลุธรรมต้องมีสถานะตามควรอย่างไร และเรื่องของบุญในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้ยังมีการแสดงความเห็นในคำกล่าวที่ว่า "คนที่มีลูกคือคนที่ไม่ต้องการไปนิพพาน" พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบไว้กับ ดอกบัวหรือใบบัว ดอกบัวหรือใบบัวอาศัยน้ำ อาศัยเกิด แต่พอมันเป็นดอกเป็นใบโตขึ้นพ้นน้ำแล้ว น้ำหรือขี้ตมโดนมัน มันก็ไม่เปื้อนกัน แยกกัน ผ่องแผ้วกัน ไม่โดนกัน นี้เป็นลักษณะหนึ่งที่เราปฏิบัติไปด้วยมรรคจนกระทั่งเข้าถึงนิพพานแล้ว แต่ว่าเราไม่ได้ยึดถือนิพพานนั้น ไม่ได้ไปเกาะเกี่นวในนิพพานนั้น เพราะว่านิพพานนั้นเป็นสิ่งที่เรารู้รอบแล้ว นี้คือความมหัศจรรย์ของมรรคที่ทำให้เกิดผล จึงเรียกว่า มรรคผลนิพพาน นิพพานแล้วก็จึงเป็น "อตัมมยตา" คือ สภาวะที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ภิกษุแม้นั้น  ก็ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน; เมื่อรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยสักแต่ว่าเป็นนิพพานแล้ว, ย่อมไม่เป็นผู้หมายมั่นซึ่งนิพพาน; ไม่หมายมั่น ในนิพพาน; ไม่หมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน; ไม่หมายมั่นว่า ‘นิพพานเป็นของเรา’ ดังนี้; จึงไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ซึ่งนิพพาน.  ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ภิกษุผู้อรหันต์ขีณาสพนั้นได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล…มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรม แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E01 , S02E07 , ใต้ร่มโพธิบท S07E16 , ตามใจท่าน S09E61 , #ตั้งความเลื่อมใสให้ถูกต้อง     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
21.12.201958 Protokoll
Episode Artwork

หลักปฏิบัติของพระภิกษุ และการเจริญอนิจจสัญญา

ตามใจท่านกับ 2 คำถามหลัก ในเรื่องเกี่ยวกับพระสงฆ์ และ วิธีเจริญอนิจจสัญญาอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน "คนที่มีราคะ โทสะ โมหะมาก เมื่อถูกเบียดเบียนด้วยกิเลส มันทำให้เห็นทุกข์ได้ชัดเจน พระพุทธเจ้าจึงเอาประโยชน์ในข้อนี้…คุณรู้สึกเครียด คุณรู้สึกโกรธ ให้คุณเห็นความไม่ดีตรงจุดนี้ นี่คือ ทุกขาปฏิปทา ในขณะที่คนที่มีราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จิตเขาจะไม่ค่อยได้ถูกเบียดเบียนด้วยกิเลส เมื่อมีผัสสะมากระทบก็สามารถสงบนิ่งได้ ทำให้สามารถเข้าสมาธิได้ง่าย นี่คือ สุขาปฏิปทา แต่ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติแบบไหนก็ตาม จุดประสงค์ก็คือ ให้เกิดการปล่อยวางให้ได้" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
14.12.201954 Protokoll, 36 Sekunden
Episode Artwork

ศาสนาเพื่อบุคคลที่ปรารภความเพียร (6249-7q)

"การปรารภความเพียร" ถือเป็นหนึ่งในอริยมรรคมีองค์แปดในข้อ "สัมมาวายามะ" ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสบายหรือความลำบากที่เป็นเรื่องของสุดโต่งทั้งสองด้าน แต่มีสาระสำคัญอยู่ที่ การทำให้กุศลธรรมที่มีอยู่แล้ว เพิ่มมากยิ่งขึ้น, การทำให้กุศลธรรมที่ยังไม่มี ให้เกิดขึ้นใหม่ได้, การทำให้อกุศลธรรมที่มีอยู่แล้ว ลดลงไปเรื่อย ๆ และการทำให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้นใหม่ได้ทั้งนี้สามารถทำได้ในทุกอิริยาบถ ทุกสถานที่ และทุกเวลา โดยสามารถวัดผลจากการที่ทำให้กุศลธรรมเพิ่มขึ้น ในขณะที่อกุศลธรรมลดน้อยลง รวมถึงต้องประพฤติโดยชอบด้วยทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิและอริยปัญญาในการเห็นตามความเป็นจริงแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท E08S08 , ตามใจท่าน E09S55 ,  #การทำความเพียรที่ไม่มีทุกข์ทับถม     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7.12.201957 Protokoll, 29 Sekunden
Episode Artwork

มีนิพพานเป็นที่สุดจบ และเหนือจากความเป็นของสมมติ

Q1: เพื่อความเข้าใจและความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง โดยไม่หลงเอาตัวเราไปเป็นผู้รู้ จึงต้องการทราบคำอธิบายอย่างละเอียดว่า จิตกับใจต่างกันอย่างไร จากคำภาษาบาลี มโนคือใจ จิตก็คือจิต ทั้งสองคำต่างกันที่ มโนคือช่องทาง มีเพิ่มเติมโดยยกศัพท์ขึ้นมาอธิบายเพื่อประกอบความเข้าในในที่นี้ คือ วิญญาณ (การรู้แจ้ง, การรับรู้) และส่วน จิต หมายถึง สภาวะแห่งการสั่งสม (อาสวะ) ทั้งสิ่งที่เป็นบุญและสิ่งที่เป็นบาป, การคิดนึกปรุงแต่งให้มีความจิตพิสดารได้ เพราะความที่มีการสั่งสมนี่แหละ ทำให้มันมีความรู้สึกว่าเป็นตัวเป็นตนของมันขึ้นมา มีการปรุงแต่งให้เป็นตัวของมันเองขึ้นมา เพราะฉะนั้นจิตสามารถที่จะเข้าไปยึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตนได้ จิตนี้สามารถที่จะเข้าไปยึดถือรูปโดยความเป็นตัวตนได้ สิ่งที่จะเข้าไปมีความยึดถือนั้นคือจิต ไม่ใช่ใจ ไม่ใช่วิญญาณ ดังนั้นเราจะต้องมีการฝึกสติให้สามารถที่จะแยกแยะได้ว่า  จิตก็อันหนึ่ง ใจก็อันหนึ่ง วิญญาณก็อันหนึ่ง ธรรมารมณ์ก็อันหนึ่ง มีการทำงานต่างกัน “ดูก่อนพราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้มีอารมณ์ต่างกัน มีทางโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นทางโคจรของกันและกัน…อินทรีย์ ๕ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (มโน) ย่อมเป็นที่ยึดเหนี่ยวร่วมของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ และใจ ย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้… สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ วิมุติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุต ด้วยว่าพรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้วมีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด…”อุณณาภพราหมณสูตร Q2: นิพพานคืออะไร "นิพพาน" ตามศัพท์แปลว่า ดับ เย็น โดยนัยยะทั่ว ๆ ไป หมายถึง เริ่มตั้งแต่อะไรเล็ก ๆ น้อยที่มันเกิดขึ้นและจะดับไปได้ เย็นได้ มาจนถึงนัยยะที่ละเอียดที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศสอนไว้อย่างดีแล้ว นั่นคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ไม่มีการกลับกำเริบขึ้นมาอีก เป็นที่สุดจบของการปฏิบัติในธรรมะวินัยนี้ เหนือจากความเป็นของสมมติได้ Q3: ขอคำอธิบายอย่างละเอียดของคำว่า สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา และการประคองสติ "สติ" หมายถึง การระลึกถึงสิ่งที่ทำ จำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ , ให้มีสติเพ่งจดจ่ออยู่ คือ ฌาน เมื่อรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียวเป็นสมาธิ, "สัมปชัญญะ" เป็นเครื่องหนุนให้สติมีอยู่ ให้ดีอยู่ และมีกำลังอยู่ได้ ส่วน "การประคองสติ" เป็นไปเพื่อการทำสมาธิและปัญญาให้มีความต่อเนื่องต่อไปได้" วิญญาณรับรู้ในสิ่งใดแล้ว จะสามารถรู้แจ้งเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ ความรู้ชัดเข้าใจชัด นั่นคือ "ปัญญา" Q4: ปกติผู้ถามไม่ค่อยได้ไปวัด แต่จะทำบุญโดยการโอนบริจาคทุกวัน​ ในช่วงทำบุญกฐิน​ตนเองตั้งใจจะทำบุญกฐิน​ แต่โอนผิด​ไปทำบุญอีกบัญชีหนึ่งของวัด​ อย่างนี้เราจะได้บุญกฐินตามที่เราตั้งใจไว้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ให้ทานว่าได้มีการตั้งจิตไว้ให้ถูกต้องหรือไม่ และผู้รับมีความบริสุทธิ์หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นเนื้อนาบุญ ขอให้สบายใจ แต่ถ้าเรายังกังวลว่าเราจะได้บุญหรือไม่ได้บุญ อันนี้จะทำให้จิตมีความเศร้าหมอง ดังนั้นอย่างน้อยให้เราสามารถควบคุมจิตใจของเรา ให้ตั้งอยู่ในศรัทธาก่อนให้ ระหว่างให้ และหลังให้ มีการตั้งจิตไว้ในหมู่สงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่ว่าจะวัดไหนก็ได้เหมือนกัน เพราะถือว่าเป็นตัวแทนของหมู่สงฆ์ที่ฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  [๗๑๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ต่อไปอีกว่า(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ ฯ(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรม และผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ฯ(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย ฯ …ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒ Q5:  เพื่อการอบรมจิตให้ดำเนินอยู่บนเส้นทางที่ถูก ขอถามว่า มรรคสมังคี เมื่อเกิดขึ้นมีลักษณะใดปรากฏให้รับรู้ได้บ้าง กิจที่เราจะต้องทำ คือ "อริยมรรคมีองค์ 8" ทำให้มันเจริญ ทำให้เป็นบริกรรม ทำให้มันเข้ากันจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นั่นคือ การพัฒนา (ภาวิตา/ภาวนา) นั่นเอง จากที่มันไม่มีทำให้มันมี จากที่มันยังไม่ดี ทำให้มันดี จากที่ดีมีอยู่ ทำให้ดียิ่งขึ้นไป ซึ่งจุดที่เป็น "มรรคสมังคี" คือตรงจุดที่มันปล่อยวางได้หมด มัเข้ากันหมดแล้วมันก็ดับหมด นี้คือนิพพาน เอานิพพานนี้เป็นที่สุดจบ เอาหมายกำหนดเสร็จงานตรงที่หมดกิเลสแล้ว  แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E59 , S08E07 , คลังพระสูตร S09E01 , #ความหมายของจิต , #มรรคสมังคี , #กระทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
30.11.201958 Protokoll, 11 Sekunden
Episode Artwork

อนัตตา เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย (6247-7q)

“อนัตตา” เป็นคุณสมบัติ (Property or Attribute) ของการไม่ใช่ ไม่มี และไม่เป็นตัวตน มีปรากฏอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งคุณสมบัตินี้จะบ่งบอกถึงการขึ้นกับสิ่งอื่นเพื่อให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น มีความมีอยู่หรือคงอยู่แค่ช่วงเวลาที่เหตุปัจจัยนั้นมีอยู่ มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก เพราะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย รวมทั้งมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงไม่ควรที่เราจะเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นตัวเรา ของเรา หรือมีอยู่ในเราดังนั้น เราต้องมีอุบายในการละความยึดถือ ทำความเข้าใจให้ถูกต้องได้ในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปดแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists:เข้าใจทำ (ธรรม) E07S07 , ใต้ร่มโพธิบท  E08S04 , #อนัตตา ต่างจาก น อัตตา  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.11.201958 Protokoll, 42 Sekunden
Episode Artwork

อย่าเสื่อมศรัทธาในความดี (6246-7q)

Q1: การให้ทานในฆราวาสที่เป็นโสดาบันกับนักบวชที่เป็นโสดาบัน ผลอานิสงค์แตกต่างกันอย่างไรผู้ถามคำถามมีความสงสัย โดยอ้างอิงมาจาก ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกทานและผลแห่งทาน ซึ่งมีเนื้อหาของ ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก 14 (บุคคลที่ควรรับของบูชา)ซึ่งการทำบุญโดยการให้ทานถือเป็นการสละสิ่งของภายนอกออกไป หากจะทำบุญที่สูงขึ้นมาก็ด้วยการรักษาศีลโดยใช้ตัวเราเป็นตัวทำ อย่างไรก็ตาม การใช้จิตใจเราเป็นตัวทำด้วยการมีสัมมาทิฏฐิ มีเมตตาไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาไม่คิดเบียดเบียน สละกิเลสออกไป โดยการปฏิบัติธรรม สร้างความดีให้เข้ามาสู่ในใจ ตั้งสติเอาไว้ ทำกำลังสมาธิให้สูงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นบุญที่สูงที่สุด สามารถอยู่เหนือบุญเหนือบาปได้ โดยการดำเนินตามอริยมรรคมีองค์แปดเป็นทางสู่พระนิพพานได้ในที่สุดQ2: จากสุภาษิตที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ทำให้บางครั้งคนเราก็ไปคิดว่า ทำดีต้องได้ดี ต้องมีคนเห็นความดีของฉัน อันนี้เราจะบอกเขาได้อย่างไรว่าทำดีคือดีแล้ว ไม่ต้อง action ให้ใครเห็นก็ได้ ทำดีแล้วสุขในใจก็เพียงพอ การยึดความดีนั้นว่า นั่นของฉันน่าจะเป็นทุกข์ หรือทำบุญแล้วยึดว่านั่นฉันทำแล้วเห็นสิ ฉันเข้าครอบครองความดีนั้นแล้ว อันนี้จะเห็นกันยากว่านั่นก็ทุกข์เหมือนกัน  "ฉันทำดี ต้องได้ดี" ในความหมายของปุถุชนทั่ว ๆ ไป ดีแรกนี้ที่เขาหมายถึงกันคือ การให้ทาน การพูดดี ๆ กับผู้อื่น การอดทน เป็นต้น ส่วนดีที่สองที่หมายถึง ก็คือ ฉันต้องได้สุขเวทนา ในรูปแบบที่ว่ารวยขึ้น ได้ยศได้ตำแหน่ง หายเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกอย่างในชีวิตต้องราบรื่น และมีพ่วงการที่ต้องให้คนอื่นเห็นความดีของฉัน ซึ่งดีแรกและดีที่สองนี้มีความเข้าใจไม่ตรงกัน จึงทำให้ความตั้งใจความคิดนึก มันผิดพลาดความคลาดเคลื่อนไป ก็จะเกิดทุกข์ขึ้นมาเองที่ไปยึดติดในความดีนั้นบางที่เราทำดีแรกอาจจะได้ทุกขเวทนา ในที่นี้เราจึงมาทำความเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าได้อธิบายไว้ ต้องมีสัมมาทิฎฐิในส่วนที่ว่า ผลวิบากของกรรมดีมี ผลวิบากของกรรมชั่วมี และผลของกรรมเกิดได้ใน 3 วาระ คือ ให้ผลในปัจจุบัน (ความดีเกิดขึ้นที่ตรงนั้น) ให้ผลในเวลาต่อมา และให้ผลในเวลาต่อ ๆ มา สุขทุกข์ที่เราได้รับก็อาจจะเป็นผลจากการกระทำก่อนหน้านั้น ๆ แต่มาให้ผลในเวลาต่อมา  ขึ้นกับเหตุปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้นถ้าจะเตือนหรือจะบอกเขาต้องเริ่มที่ตัวของเราก่อน ทำให้เป็นตัวอย่าง  และที่สำคัญในที่นี้คือ "อย่าเสื่อมศรัทธาในความดี" ทำความดีให้มันเกิดขึ้นอยู่ตลอด ไม่คาดหวังผล แต่ให้มั่นใจในความดีQ3: สอบถามเกี่ยวกับธรรมะสำหรับเด็ก 8 ขวบ โดยปกติอยู่บ้านก็จะเปิดธรรมะฟัง ลูก ๆ ก็ฟังด้วย แต่ด้วยความเป็นเด็กเวลาไปโรงเรียนก็จะพูดให้เพื่อนฟังเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษตามประสาเด็กฟังธรรมะ แต่ครูประจำชั้นบอกว่า เด็กยังไม่ถึงวัยที่ต้องเรียนรู้เรื่องธรรมะ ในความรู้สึกของคนเป็นแม่ก็เกรงว่าลูกจะรู้สึกสับสน จึงต้องการขอคำแนะนำการที่ให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องบาปบุญคุณโทษ ตั้งแต่ยังเด็กเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง เรื่องราวบางอย่าง เราก็ต้องให้ข้อมูลแก่เด็ก เช่น การฟังนิทาน ซึ่งในบริบทบางเรื่องเราก็ต้องอธิบายเพิ่มเติม และการสอนธรรมะให้เด็กด้วยการทำให้เด็กดูเป็นแบบอย่าง เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร  E09S01 , #กรรม    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
16.11.201957 Protokoll, 45 Sekunden
Episode Artwork

ปัญญาญาณ (6245-7q)

แม้ตัวพระพุทธเจ้าเองก็ไม่มีญาณทัสสนะอยู่ตลอดเวลา แต่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อดึงเอาออกมาใช้งาน ดังนั้นหากต้องการระลึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา ให้ตั้งสติและทำจิตให้สงบเพื่อให้เกิดมีสมาธิ อย่าไปกังวลใจหรือพยายามนึกให้ได้ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นนิวรณ์อย่างหนึ่ง  ควรเริ่มต้นจากเอาใจจดจ่อเพื่อให้เกิดสติ เพราะในสติก็มีปัญญาหรือญาณแทรกอยู่ด้วยแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S08E60 , พหูสูต    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9.11.201957 Protokoll, 51 Sekunden
Episode Artwork

เพราะไม่เป็น อัตตา ตัวตน (6244-7q)

หากคิดใคร่ครวญด้วยปัญญาชัดเจนโดยชอบตามวิญญูชนแล้ว จะพบว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งในโลกนี้ ที่เมื่อเรายึดถือแล้ว จะเป็นผู้หาโทษไม่ได้"นั้นไม่มี  นั่นหมายถึงว่า ไม่มีสิ่งใดเลยในโลกนี้ ที่เป็น "อัตตา ตัวตน" แต่ในทางตรงกันข้ามกัน มันเป็น "อนัตตา" เพราะต้องอาศัยสิ่งอื่นมาปรุงแต่ง ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสัจจะความจริงที่เราต้องเข้าใจว่า "ไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเรา"Q1: ในวรรคที่กล่าวถึง "ฆราวาสธรรม" ชุดที่ (1) สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ กับ ชุดที่ (2) สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เพราะเหตุใดจึงต้องใช้คำไม่เหมือนกันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นข้อกำหนด ระเบียบถ้อยคำที่ทำให้เกิดความลงรับ คล้องจองกันของคำอ่าน เพื่อให้เกิดความไพเราะ ความสวยงามทางด้านภาษา แต่มีความหมายที่ไม่แตกต่างกันQ2: ได้อ่าน "กสิภารทวาชสูตร" แล้วไม่เข้าใจว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่รับข้าวปายาสของพราหมณ์ที่เขาถวายหลังจากพระองค์ตอบเรื่องแอกและไถ ในเมื่อพราหมณ์ก็ถวายด้วยความเคารพ และข้าวนี้ก็ไม่มีใครทานได้นอกจากพระองค์และสาวก เพราะเหตุใดจึงให้เททิ้ง ในบางที่มีคนว่าพระองค์ยังคงไปโปรดซ้ำ ไปบิณฑบาตได้เลยเพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงรับอาหารหรืออามิสทานที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิQ3:ทุกสิ่งอย่างทั้งหมดในโลกนี้ มีอะไรที่เป็นอัตตาหรือไม่ ถ้ามีสิ่งนั้นคืออะไร ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ที่เป็นอัตตาตัวตนQ4: ต้องการทราบวิธีแก้ไขและข้อปฏิบัติเพื่อให้กำลังของกามราคะลดลง เพราะเมื่อเห็นเพศตรงข้ามแล้วมีกามราคะเกิดขื้นราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปกิเลสของจิต สามารถครอบงำจิตได้เป็นครั้งคราว หากเราปฏิบัติฌานสมาธิให้ลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นไป เห็นคุณของเนกขัมมะและฌานสมาธิ แต่เห็นโทษที่เกิดจากกาม จะสามารถละได้เด็ดขาด กิเลสจะไม่มีทางกลับกำเริบได้ ทั้งยังสามารถออกบวชได้ หลีกออกจากกามได้ และมีปิติสุขภายในได้เช่นกันแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E03  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2.11.201959 Protokoll, 57 Sekunden
Episode Artwork

สัปบุรุษ (6243-7q)

Q1: ขอคำอธิบายเกี่ยวกับ "สัปบุรุษ" คืออะไร ต้องมีลักษณะอย่างไร ควรประกอบด้วยคุณธรรมใดบ้าง และคำว่า "สัปบุรุษ" มีกล่าวถึงไว้ในพระสูตรใดบ้าง ทั้งนี้คำว่า "สัปบุรุษ" มีความสอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกันในแต่ละพระสูตรอย่างไร"สัปบุรุษ" คือนิยามของคำว่า "คนดี" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีลักษณะที่ประกอบขึ้นด้วยคุณธรรมต่าง ๆ ที่จะเป็นหลักเกณฑ์ที่ทำให้เรารู้ได้ว่า ตนเองเป็นสัปบุรุษหรือไม่ เป็นได้ดีพอมากน้อยเพียงใด และกำลังคบหากับมิตรที่เป็นสัปบุรุษอยู่หรือไม่สัปปุริสธรรม 7 อ้างอิงจาก "สังคีติสูตร" ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 23 ซึ่งประกอบด้วยธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุอัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผลอัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตนมัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณกาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาลปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัทปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคลสัปปุริสธรรม 7 อ้างอิงจาก "เสขปฏิปทาสูตร" โดยนัยยะของท่านพระอานนท์ ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ไว้ 7 ประการคือ เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรมเป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามกเป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามกเป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้ สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็นเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้วนานเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบสัปปุริสธรรม 8 อ้างอิงจาก "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม" แต่งโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ลักษณะของผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ 8 ประการ ได้แก่เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ คือ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา (คือ สัทธัมมสมันนาคโต ดังกล่าวไปแล้ว นั่นเอง)เป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ คือ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมากมีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหายเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ คือ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ คือ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ คือ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ คือ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.10.201953 Protokoll, 52 Sekunden
Episode Artwork

ดีตามวิญญูชน (6242-7q)

"รักษาตนคือรักษาผู้อื่น รักษาผู้อื่นก็คือการรักษาตนเอง" เราสามารถตอบโต้คนไม่ดีด้วยความอดทน ด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ด้วยความรักใคร่เอ็นดู ซึ่งได้ชื่อว่ารักษาทั้งตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้จะต้องปรับกลยุทธการรับมือตามสถานการณ์ด้วย รู้จักรักษาตัวรอด ต้องทรงจิตของเราที่จะรับมือกับผัสสะต่างๆให้ได้โดยการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ใคร่ครวญธรรมอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติธรรมอย่างสมควรความจริงใจที่สุดคือ อริยสัจสี่และข้อปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปด รวมถึงเงื่อนไขของความเป็นคำจริงหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ และเมื่อฟังแล้วเขาจะมีความพอใจหรือขัดเคืองความดีสามารถวัดได้จากการกระทำเมื่อทำแล้วทำให้มีกุศลธรรมเพิ่มขึ้น และอกุศลธรรมลดต่ำลง เราต้องไม่กระทำตนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บุคคลสุดท้าย หรือ "The Last Man" กล่าวคือ "อย่าให้ความดีมาสุดจบที่เรา"Q1: วิธีการรับมือกับความเห็นแก่ตัว ทั้งจากตนเองและผู้อื่น ต้องมีความอดทน อย่าให้มีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตของเรา การตอบโต้กลับไปเพราะมีความเป็นอัตตาตัวตน ถือว่าเห็นแก่ตัวเช่นกัน ไม่ถูกต้องตามธรรมQ2: เราควรปฏิบัติตนหรือวางใจอย่างไร เมื่อ “พวกมาก ลากไป” ล้วนทำความผิด ในขณะที่เราทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่กลับโดนคนทำผิดใส่ร้ายและประนามต่อหน้าผู้อื่นในบางสถานการณ์ความจริงใจก็ใช้กับคนบางคนไม่ได้ ควรมีเงื่อนไขเช่นไรในการเลือกใช้ความจริงใจทางธรรม เพื่อประยุกต์ปรับใช้ใช้กับเหตุการณ์ทางโลกสัจจะความจริง สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์และทุกบุคคล แต่ที่บางคนไม่สามารถยอมรับได้เพราะถูกกิเลสครอบงำ เงื่อนไขเดียวที่สามารถใช้ได้คือ "ต้องรู้กาละที่เหมาะสมในการที่จะกล่าววาจานั้น" หรือหมายความว่า ต้องบอกความจริงในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเราต้องมีปัญญาแยบคาย มีความรอบคอบQ3: แค่ไหนถึงจะเรียกว่าดี ด้วยเหตุของความดีแต่ละคนไม่เท่ากัน ตัววัดความดี คือ ความเป็นไปตามหลักมรรคแปด ตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา หากทำสิ่งใดแล้วกิเลสลดลงถือว่าดี ในทางตรงกันข้ามหากทำสิ่งใดแล้วกิเลสเพิ่มขึ้นถือว่าไม่ดีQ4: หากเราต้องอธิบายเรื่องกรรมดี กรรมชั่ว และผลของกรรม ให้กับลูกหลาน หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไม่ค่อยชอบฟังธรรมะ เราควรจะอธิบายอย่างไรให้เห็นภาพชัดเจนพระพุทธเจ้าจะทรงตัสเรื่อง ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์ในการหลีกจากกาม เพื่อเป็นการปู้ทางให้ไปสู่ความเข้าใจในเรื่องของอริยสัจสี่Q5: ทำอย่างไรที่จะให้คนรอบข้างของเรามีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อเรื่องกรรมดี กรรมชั่วบาปบุญคุณโทษ เพราะพระอาจารย์มหาไพบูลย์ฯ เคยอธิบายว่าเป็นเรื่องของอจินไตย ให้มีศรัทธา ต้องเห็นทุกข์Q6: วิธีพิสูจน์ผลกรรมดีและผลกรรมชั่วแบบง่ายที่สุดพิสูจน์เรื่องกรรมด้วยศรัทธาของตนเอง อย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวQ7: ต้องการทราบคำอธิบายอย่างละเอียดของคำว่า "อย่าให้ความดีมาสุดจบที่เรา" สืบทอดความดีของผู้อื่น ด้วยการทำความดีด้วยตัวเราเองทั้งทางกาย วาจา และใจ เป็นการไม่กระทำตนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บุคคลสุดท้าย หรือ "The Last Man"แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.62, Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
19.10.201958 Protokoll, 4 Sekunden
Episode Artwork

องค์แห่งฌาน (6241-7q)

จุดประสงค์หลักในคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ การมีปัญญาในการตัดกิเลส ปล่อยวางความยึดถือในกายลงได้ ซึ่งจะสามารถปล่อยวางได้เร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ที่แก่กล้าของแต่ละบุคคล โดยต้องปฏิบัติให้มากตามแนวทางต่อไปนี้สุขาปฏิปทา โดยการตั้งจิตให้เข้าสมาธิ ไม่ต้องพิจารณา สำหรับผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางทุกขาปฏิปทา โดยวิธีการใคร่ครวญ พิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นความเป็นของไม่เที่ยง เห็นความไม่สวยงาม เห็นความเป็นของปฏิกูล สำหรับผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะ แก่กล้าQ1: เมื่อเป็นผู้ที่มีความรักในวิชากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เป็นชีวิตและจิตใจ จะฝึกปฏิบัติในรูปแบบอสุภกรรมฐานอย่างไรให้ได้ผลต้องเปลี่ยนมุมมอง พิจารณาเห็นถึงความเป็นของไม่สวยงาม ความเน่าเหม็นของร่างกาย ไม่ตั้งความพอใจในสรีระของตนเอง เห็นกายเป็นของไม่น่ายึดถือ เป็นของไม่เที่ยง เพื่อการจางคลายและปล่อยวางลงได้Q2: ต้องทำบุญอย่างไร มากน้อยเพียงไร จึงจะได้ผลบุญที่ดี ได้ผลบุญที่มาก และมีวิธีดูอย่างไรว่าเราทำบุญไปมากพอแล้วการทำบุญมากเพียงพอที่จะเหนือบุญและเหนือบาป นั่นคือ การบรรลุธรรมเข้าสู่พระนิพพาน หากยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใดก็ควรค่อย  ๆทำบุญอย่างต่อเนื่องให้ละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ไม่เมาบุญ เพื่อการสละกิเลสและสละความยึดถือ (อุปธิ) ลงได้ ให้ได้ผลบุญมากเพียงพอ เป็นหนทางเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุดQ3: เราสามารถนำหลักของ “บุญกิริยาวัตถุ 10” มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร? การทำบุญที่เกิดจากการคิด (สัมมาทิฏฐิ ไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียน), การพูด (ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และการกระทำ (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ซึ่งนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันอยู่แล้ว หลักการที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้ก็คือ สติ ศรัทธา และความเพียรในการทำจริง แน่วแน่จริงQ4: เมื่อพระห้ามไม่ให้คนเข้าไปทำบุญที่วัดหรือที่สำนักสงฆ์ พระบาปหรือไม่ และโยมผู้ถูกห้ามบาปหรือไม่ จะเป็นบาปหรือบุญนั่นขึ้นอยู่กับมุมมองและเจตนา สิ่งที่สำคัญคือ เราควรจะควบคุมความคิด คำพูด และการกระทำของเราให้เกี่ยวเนื่องกับกุศลกรรมมากกว่า ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับบุคคลอื่น เวลา หรือสถานที่เลยQ5: ฝึกสมาธิมาระยะหนึ่งแล้วได้ความสงบพอสมควร ในช่วงนี้เมื่อมีผัสสะเข้ามาก็พยายามวาง เช่น ไม่โกรธ แต่รู้สึกว่าตอนที่ผัสสะเข้ามากระทบกับใจ ตัวเองจะพูดกับตัวเองว่า อย่าโกรธ ต้องปล่อยวาง พยายามอยู่กับลมหายใจ จึงรู้สึกสับสนว่าตัวเองผิดปกติหรือเปล่าที่พูดอยู่กับตัวเอง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ถือเป็นวิตกวิจาร ที่เมื่อต้องการหลีกออกจากเรื่องของกาม ความพยาบาท หรือเบียดเบียน ถือว่าเป็น "องค์แห่งฌาน" แล้ว ซึ่งประกอบด้วย วิตกวิจาร สมาธิ ปิติ สุข และจิตที่เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12.10.201945 Protokoll, 46 Sekunden
Episode Artwork

ใจบุญสุนทาน (6240-7q)

"บุญ" เป็นชื่อของความสุข เป็นการกระทำสิ่งที่ดี ๆ ทั้งหมด เพื่อสร้างกุศลธรรมให้เกิดขึ้น ซึ่งมีความหมายครอบคลุมไปถึงการให้ทาน การรักษาศีล การปฏิบัติธรรมภาวนา หรือแม้กระทั่งการให้อภัย การพูดจาดี ๆ ต่อกัน การแผ่เมตตา เป็นต้น"จาคานุสสติ" คือ การระลึกถึงบุญที่ได้ทำไปแล้ว มีความศรัทธาเลื่อมใสหลังการให้ ทำให้เกิดสติและปัญญา เป็นบุญที่ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆบุญเกิดขึ้นที่จิต เราต้องมีความมั่นใจในผลบุญ กรรมดีมี กรรมชั่วมี ซึ่งสิ่งที่ได้ผลทันทีคือ การเกิดศีล สมาธิ และปัญญา เป็นธรรมะที่สามารถเห็นได้ด้วยตนเองรวบรวมคำถามในเรื่องของบุญทําไมจึงต้องมีการบอกบุญ"ทำบุญย่อมได้บุญ ทำบาปย่อมได้บาป" หากไม่ทำบุญ เราจะไปสู่ที่ตกต่ำ การบอกบุญถือเป็นสิ่งดีเพื่อให้ผู้อื่นมั่นคงในความดีและตั้งอยู่ในธรรมทําไมจึงต้องอนุโมทนาบุญถือเป็นการมุทิตา หรือ ยินดีในบุญและความดีที่ผู้อื่นสร้างขึ้นอย่างจริงใจ ทำให้ลดความริษยาในจิตใจลง และเป็นการสร้างบุญอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนงอกเงยของบุญโดยใช้จิตของตนทำอีกด้วยทำไมต้องกรวดน้ำการกรวดน้ำ ถือเป็นการอนุโมทนาบุญที่แสดงออกทางกาย และเป็นรูปแบบประเพณีที่เป็นการบ่งบอกเพื่อให้เกิดความมั่นใจ แต่ไม่ใช่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อทำบุญแล้วจำเป็นต้องอธิษฐานด้วยหรือไม่ ทั้งนี้การอธิษฐานเหมือนเป็นการทำบุญแล้วหวังผล เป็นการเพิ่มพูนกิเลสหรือไม่?หากหวังผลที่เกี่ยวกับกามหรือโลกธรรมแปด ถือเป็นกิเลสแน่นอน ในทางตรงข้ามหากหวังผลไปทางมรรคแปด ถือเป็นสิ่งที่เป็นกุศลธรรม เพราะเป็นหนทางให้ถึงความดับไม่เหลือของกิเลส ตัณหา และอวิชชาเราสามารถอุทิศส่วนกุศลให้กับคนที่มีชีวิตอยู่ได้หรือไม่?การทำบุญอุทิศส่วนกุศล หมายถึง "เราปรารภใคร เราจึงทำบุญนี้" ซึ่งเป็นการปรารภเหตุนั้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติให้ทำความดี สร้างกุศลธรรมยิ่งทําบุญ ให้ทานด้วยปัจจัยจำนวนมาก ก็จะยิ่งได้บุญมาก จริงหรือไม่?ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 3 อย่างของผู้ให้ ที่ต้องศรัทธาก่อนให้ (ทำให้มีจิตน้อมไป), ระหว่างให้ (ทำให้มีจิตเลื่อมใส) และหลังให้ (ทำให้จิตมีความปลื้มใจ) ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดศรัทธา และเงื่อนไข 3 อย่างของผู้รับ ที่ต้องมาราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง ลดลง หรือไม่มีเลยช่วงแรก ๆ ของการทำบุญ ให้ทาน จะรู้สึกปิติอิ่มเอมใจมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งซึ่งยังคงยังทำบุญบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่กลับมีความรู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดียินร้ายในบุญนั้นสักเท่าไร ดังนั้นเราควรวางใจอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้?เมื่อทำบุญไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราเกิดสติ สมาธิ และปัญญามากขึ้น จึงทำให้ไม่ยินดียินร้ายในบุญนั้น จนกลายเป็นอุเบกขาไป สามารถที่จะปล่อยวางได้อะไรเป็นเหตุที่ทำให้บุญส่งผลช้าหรือเร็วนี้เป็นเรื่องของอจินไตย ที่เกี่ยวข้องกับผลและวิบากของกรรม จึงให้มีความเชื่อที่ถูกต้องในเรื่องกรรม เช่นนี้ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วบุคคลทำกรรมอย่างใด ๆ จะต้องได้รับผลของกรรมหรือวิบากกรรมอย่างนั้น ๆระดับวิธีการที่ให้ผลของกรรมจะต่างกันออกไปตามวาระ คือ เดี๋ยวนั้น เวลาต่อมา และในเวลาต่อ ๆ มากรรมจะส่งผลมากหรือน้อย ขึ้นกับเหตุปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต Ep.26 , ใต้ร่มโพธิบท Ep.67, คลังพระสูตร Ep.65 , นิทานพรรณา Ep.44 , ตามใจท่าน Ep.60, #กรรม        Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5.10.201956 Protokoll, 46 Sekunden
Episode Artwork

รู้ได้เฉพาะตน ในความดีของพระธรรม (6239-7q)

ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า จะสอนให้คนคิดอย่างมีเหตุมีผล โดยมีความคิดเป็นไปในทางของสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่การคิดแบบวิจิกิจฉา เคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจ เพื่อหาข้อผิดหรือหาเหตุผลมาหักล้างพระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำให้พวกเราทุกคนควรปฏิบัติตามคำสอนของท่านอย่างเป็นขั้นตอนตามทางของอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งให้ผลตามนั้นจริง ๆ และน้อมเข้ามาใส่ตน อย่างไรก็ตาม หากนำความรู้นั้นไปมอบให้กับคนที่ไม่รู้ เขาก็จะไม่เข้าใจความหมายในความรู้นั้น ๆ เพราะไม่ใช่ของที่จะให้กันได้ตรง ๆ แต่เป็นปัญญาหรือความรู้ที่จะรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้นดังเช่นพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้กับพระสารีบุตรว่า "เมื่อใดก็ตามที่เรา ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ) ด้วยอาการอย่างนี้, ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้, ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้, รู้ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว (ด้วยปัญญา) ด้วยอาการอย่างนี้, เราจะมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่า ธรรมเหล่าใด เป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน, ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาชัดเจน"ผู้ที่เกษียณอายุ จัดว่าเป็นผู้ที่ก้าวเข้าสู่ปัจฉิมวัย ถือเป็นจังหวะชีวิตที่ดีในการพิจารณาว่า เวลาต่อจากนี้เราควรจะทำอะไรเพื่อให้การใช้ชีวิตในโลกหน้าเป็นไปด้วยดี จึงควรจะระลึกถึงวิธีการสร้างบุญกุศลและสั่งสมบุญ โดยการให้ทาน รักษาศีล ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมให้เต็มที่อย่างมีแบบแผนที่ถูกต้อง อย่าประมาทหลงเพลิน จะทำให้การดำเนินชีวิตมีคุณค่าอย่างมากQ1: ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนให้คนคิดอย่างมีเหตุและผล ในทางพระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้คิดเรื่องอจินไตย เพราะปกติวิสัยของคนทั่วไปไม่อาจเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ถูกต้อง และถ่องแท้ แต่ทำไมต้องสอนเรื่องอจินไตยด้วย จริง ๆ แล้วอจินไตยคืออะไร มีขอบเขตความหมายอย่างไร"อจินไตย" หมายถึง เรื่องที่ไม่ควรคิด เพราะหากคิดแล้วจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า ฟุ้งซ่าน คิดนอกแนว เนื่องจากเป็นเรื่องของสิ่งที่เหนือเหตุเหนือผล เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชนแบ่งเป็น 4 อย่างได้แก่ฌานวิสัย คือวิสัยแห่งอิทธิฤทธิ์ของผู้ได้ฌานสมาธิ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ดำดินได้ หรืออ่านวาระจิตของผู้อื่นได้พุทธวิสัย คือวิสัยแห่งความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายกรรมวิสัย คือวิสัยของกฎแห่งกรรมและวิบากกรรม เป็นการให้ผลของกรรมที่สามารถติดตามไปได้ทุกชาติโลกวิสัย คือวิสัยแห่งโลก คือการมีอยู่ของสวรรค์ นรก และสังสารวัฏอจินไตย จึงเป็นเรื่องของเหตุผลที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นได้ หากยังพยายามคิดหมกมุ่นอยู่ จะเป็นช่องให้กิเลสแทรกได้ทันที ดังนั้นจึงไม่พึงคิดด้วยตรรกะ แต่ให้คิดเป็นไปในทางของสัมมาทิฏฐิอย่างมีปัญญาและศรัทธาควบคู่กันไปQ2: ต้องการทราบคำอธิบายของประโยคที่ว่า "จิตใหม่เกิดขึ้น เพราะจิตเก่ามีความอยาก" ประโยคที่ว่า "จิตใหม่เกิดขึ้น เพราะจิตเก่ามีความอยาก" นี้ไม่ใช่พุทธพจน์แน่นอน แต่สามารถวิเคราะห์ไปในแนวทางที่สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าได้นั่นคือ หลักของปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง "…เพราะมีกิเลส ตัณหา อวิชชาจึงทำให้มีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานจึงทำให้มีภพ เพราะมีภพจึงมีการเกิด" ซึ่งหมายถึง จิตของเราเกิดหรือก้าวลงไปในสิ่งต่าง ๆQ3: คำว่า "ปัจจัตตัง แปลว่า รู้ได้เฉพาะตน" ตีความหมายตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้กว้างเพียงใด ใช้กับสถานการณ์ใดได้บ้างคำว่า "ปัจจัตตัง" นัยยะแรก ปรากฏในบทสวดสรรเสริญคุณของพระธรรมที่ว่า "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ" แปลว่า วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ซึ่งมีนัยยะที่หนึ่งคือ พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นที่สุดของคนดี คนประเสริฐ ที่จะรู้ได้ในมาตรฐานความดีของพระธรรม"ปัจจัตตัง" นัยยะที่สองคือ ผู้ใดที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเป็นขั้นตอน น้อมเข้ามาใส่ตน ก็จะรู้ได้เฉพาะตนและเป็นวิญญูชนด้วยเช่นกัน"ปัจจัตตัง" นัยยะที่สามคือ หากนำความรู้นั้นไปมอบให้กับคนที่ไม่รู้ เขาก็จะไม่เข้าใจความหมายในความรู้นั้นๆ เพราะไม่ใช่ของที่จะให้กันได้ตรงๆ แต่เป็นปัญญาหรือความรู้ที่จะรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น"ปัจจัตตัง" นัยยะที่สี่คือ ไม่เพียงเกิดจากการอ่านจากตำราเท่านั้น แต่ต้องปฏิบัติมาตามทางของอริยมรรคมีองค์แปด ให้ผลตามนั้นจริงๆ และน้อมเข้าสู่ตนQ4: หากต้องการดับทุกข์ในใจของเราให้ได้ ต้องปฏิบัติธรรมอย่างไร มากน้อยเพียงใด และมีวิธีวัดความก้าวหน้าอย่างไรต้องมีปัญญาในการปล่อยวาง เห็นตามความเป็นจริง ไม่เอาทุกข์มาเป็นของเรา กล้าที่จะเผชิญหน้ากับความทุกข์ จนกระทั่งความทุกข์จะเบาบางลงเรื่อย ๆ ซึ่งเราต้องปฏิบัติธรรมตามแนวทางของอินทรีย์ห้า อันได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เพื่อให้เกิดความแก่กล้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปวิธีวัดความก้าวหน้า คือ เราจะรู้ได้ เกิดความรู้ขึ้น มีสติและสมาธิเกิดจากการปฏิบัติ อีกทั้งอกุศลธรรมจะลดลง ๆ ในขณะเดียวกันกุศลธรรมจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ๆ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
28.9.201959 Protokoll, 57 Sekunden
Episode Artwork

มรรค ผล นิพพาน (6238-7q)

มรรคแปดเปรียบเสมือนพันธุ์พืชที่ดี เป็นเหตุปัจจัยที่สร้างมาอย่างถูกต้อง จะให้ผลเป็นความหวานและความชุ่มฉ่ำ ซึ่งก็คือ "นิพพาน" นั่นเอง ต้องเริ่มปฏิบัติไปเป็นขั้นตอนตามทางของศีล สมาธิ และปัญญา ไม่สามารถบังคับ ข่มขี่ หรือปรุงแต่งได้ แต่จะเกิดขึ้นได้ตามเวลาที่เหมาะที่ควรตามความแก่กล้าของอินทรีย์ห้าในแต่ละบุคคล"อุเบกขา" มีและเกิดขึ้นได้ในทุกระดับ เป็นการปล่อยวางกาม ปล่อยวางทั้งสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ปล่อยวางทั้งบุญและบาป ซึ่งการปล่อยวางใด ๆ จะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เราจะต้องเห็นโทษหรือความไม่เที่ยงของสิ่งนั้น ๆ ก่อนว่ามีเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น ดังนั้นต้องทำจิตให้เป็นสมาธิ เพื่อมองเห็นตามความเป็นจริง ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และสามารถปล่อยวางลงได้ในที่สุดเราต้องไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต จึงควรหมั่นสร้างบุญด้วยกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งตลอดเวลา จะเป็นผลดีกับชีวิตตนเองแน่นอน Q1: นิพพานไม่เป็นอนัตตา เพราะสามารถบังคับให้ได้นิพพานภายใน 7 วัน ถ้าจะบังคับนิพพานให้เกิดได้ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ต้องทำอย่างไร? บังคับโดยการเจริญอานาปานสติหรือสติปัฏฐานสี่ได้หรือไม่?นิพพานไม่ใช่การบังคับ ไม่ได้เกิดจากความอยากหรือตัณหา แต่เป็นการสร้างเหตุสร้างปัจจัยของการบรรลุนิพพานด้วยการรักษาศีล ปฏิบัติธรรม ภายใต้กรอบเวลาอันเหมาะสมตามความแก่กล้าของอินทรีย์ห้า ถือเป็นสิ่งที่มีเหตุมีผลของมันและจัดเป็นอนัตตาอีกด้วยQ2: นิพพานไม่ใช่อนัตตา เพราะไม่มีกุศลและอกุศล ถ้าต้องการให้เกิดนิพพานได้อย่างรวดเร็วต้องอาศัยกุศลแล้วเข้าปฐมฌานใช่หรือไม่?นิพพานเป็นอนัตตา เพราะอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดดับ แต่เป็นสภาวะดับเย็นและไม่มีการกลับกำเริบอีก ซึ่งต้องอาศัยมรรคหรือกุศลเป็นเส้นทางก้าวข้ามเหนือสิ่งที่เป็นบุญและบาป เพื่อเข้าถึงโลกุตตรปัญญาหรือ "อริยสัจสี่" นั่นเองQ3: นิพพานเป็นของคนที่ปฏิบัติในศาสนาพุทธหรือพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น คนที่นอกศาสนาพุทธ สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เทวดา มาร หรือพรหม ไม่สามารถบังคับให้เกิดนิพพานได้ใช่หรือไม่?คำสอนของพระพุทธเจ้ามีความละเอียดลึกล้ำลงไปเป็นลำดับขั้นตามหลักของศีล สมาธิ และปัญญา โดยเฉพาะเรื่องของศีลและเมตตาที่จะไม่มีทางคลาดเคลื่อนหรือขัดแย้งกับผู้ใดในโลกได้เลย ดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงไม่ได้มีไว้เพื่อแบ่งพรรคแบ่งพวกว่าเป็นคนในศาสนาหรือนอกศาสนา ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดทุกข์ แต่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์อย่างสนิทQ4: อุเบกขากับการปล่อยวาง เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ต้องปฏิบัติธรรมด้วยวิธีใดบ้างจึงจะไปถึงจุดที่ปล่อยวางได้อย่างหมดจด อุเบกขาคือ การวางเฉยในจิตใจทั้งความรู้สึกที่เป็นสุข เป็นทุกข์ และที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ไม่วุ่นวายไปตามเวทนาที่มากระทบ แต่ไม่ใช่เป็นอาการของความไม่ใส่ใจ ไม่แยแสต่อสิ่งใด ๆ รอบตัวการจะวางอุเบกขาได้มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้ ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิ พิจารณาตามเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น มองเห็นตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และสามารถปล่อยวางลงได้ในที่สุดQ5: การแผ่เมตตาต่างกันกับการแผ่ส่วนกุศลอย่างไร การเจริญเมตตาตามหลักการที่ถูกต้องและได้ผลควรทำอย่างไร, การตั้งฐานจิตในการแผ่เมตตาให้ได้ผลต้องทำอย่างไร และการแผ่เมตตาได้อานิสงส์ใดบ้าง อีกทั้งเคยได้ยินมาว่าเวลาที่ช่วงชีวิตไม่ดี การงานและชีวิตติดขัดตลอด การสวดมนต์แผ่เมตตาบ่อยๆ จะช่วยได้ใช่หรือไม่?"การแผ่ส่วนกุศล" คือ การแผ่กระแสจิต ประกาศบุญที่เราได้สร้างเพื่อให้ผู้ที่ได้รับรู้ร่วมอนุโมทนา เปรียบเสมือนการต่อเทียนให้ผู้อื่น เป็นการขยายขอบเขตความสว่างให้กว้างมากยิ่งขึ้นการแผ่เมตตามีอานิสงส์ทั้งหมด 11 อย่าง ดังต่อไปนี้นี้ หลับเป็นสุข, ตื่นเป็นสุข, ไม่ฝันร้ายด้วยเรื่องที่เป็นไปในทางกาม การพยาบาท เบียดเบียน, เป็นที่รักของพวกมนุษย์, เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ รวมถึงสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย และสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์, เทพยดารักษา ถือเอาตั้งแต่เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาจนถึงชั้นพรหม, ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี หรือศาตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น หมายถึง ไม่สามารถกระทบกระทั่งหรือทำให้เกิดอันตรายได้, จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว สามารถเข้าสมาธิได้ง่าย, สีหน้าผุดผ่อง มีประกายผ่องใส, ไม่หลงใหลทำกาละ กล่าวคือ มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนก่อนตาย ไม่โดนโมหะเข้าครอบงำ เมื่อตายแล้วจะไปสู่สุขคติได้, เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปย่อมเกิดในพรหมโลกการเจริญเมตตาจะให้ได้ผลและเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง จะต้องทำในขณะที่จิตเป็นสมาธิ มีกำลัง และตั้งฐานของจิตอันเป็นไปด้วยกับเมตตา นั่นคือการสร้างอารมณ์หนึ่งที่เต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา พร้อมที่จะส่งกระแสออกไปให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วทุกทาง เสมอหน้า ตลอดโลกทั้งปวงเวลาที่ช่วงชีวิตไม่ดี การงานและชีวิตติดขัดตลอด การสวดมนต์แผ่เมตตาบ่อย ๆ จะช่วยได้ เป็นการสร้างบุญเพื่อบรรเทาบาปที่กำลังให้ผลในช่วงเวลานั้น ๆ เบาบางลง แต่ไม่ใช่เป็นการแก้ไขสถานการณ์ตามฐานะที่ควรจะเป็น เช่น ภัยทางธรรมชาติ ความเจ็บไข้ได้ป่วย หรือบุคคลอันเป็นที่รักสิ้นอายุขัย เป็นต้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
21.9.201958 Protokoll, 4 Sekunden
Episode Artwork

ทรงโปรดเวไนยสัตว์ ด้วยอริยสัจสี่ (6237-7q)

6 คำถามตามใจท่าน ที่จะไขข้อข้องใจ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ…ที่เมื่อเรารู้ว่า "ความมีอยู่ เป็นอยู่ของสัตว์ภพอื่น" มี, จึงควรตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท และปฏิบัติตนให้เป็นผู้ที่มีจิตใจดีขึ้น สูงขึ้นได้ประเด็นสำคัญไม่ใช่อายตนะที่เป็นช่องทางการรับรู้หรือวิญญาณ แต่อยู่ที่ ญาณทัศนะหรือปัญญาในการตรัสรู้ธรรม เพื่อรู้ตามสิ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว มุ่งเน้นในเรื่องของอริยสัจสี่ การหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา หรือความอยากนั้นให้ได้ ซึ่งเป็นหนทางเข้าสู่พระนิพพานได้.mp3 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
14.9.201958 Protokoll, 22 Sekunden
Episode Artwork

อัพยากตธรรม (6236-7q)

จาคะ หรือ การให้ การสละออกจะเริ่มจากการให้สิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ส่่วนการให้การสละออกที่ละเอียดขึ้นมาอีกก็คือ การให้โดยการใช้กายนี้ปฏิบัติตามศีลตามธรรมและการให้ที่ยิ่งใหญ่คือ การให้โดยการใช้ใจทำ เป็นการกำจัดกิเลส ตัณหา และอวิชชาออกไปให้หมด  เป็นการให้ที่สละราคะ โทสะ และโมหะ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีผู้รับเลยซึ่งวิธีการที่จะทำให้สำเร็จได้ก็ด้วยการภาวนา เพื่อให้เข้าถึง "อัพยากตธรรม" หรือ "อัพยากฤต" ซึ่งหมายถึง สภาวะธรรมที่ไม่มีการกำเริบอีก เป็นการเข้าสู่พระนิพพานนั่นเองแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.64  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7.9.20191 Stunde, 34 Sekunden
Episode Artwork

หลากหลายนัยยะธรรม เพื่อพระนิพพาน (6234-7q)

ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ มีลักษณะคือ ต้องเป็นไปเพื่อการเกิดใหม่ (สภาวะ) กำหนัดและยินดีคล้อยตามไปตามอารมณ์ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหาทั้งตัณหาและอวิชชาจะทำงานควบคู่กันและเป็นเหตุทำให้เกิดกิเลสต่อไป โดยตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดไว้ เปรียบเสมือนช่างเชื่อม ส่วนอวิชชาจะเป็นเครื่องปกปิดรอยต่อที่เกิดจากการเชื่อมนั้น ๆ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า "ตัณหาต้องละ แต่มรรคต้องเพียร" ซึ่งการมีความเพียร ทำให้มาก เจริญให้มาก ในศีล สมาธิ ปัญญา และอริยมรรคมีองค์แปด จะทำให้ตัณหาค่อย ๆ ลดลง จนสามารถละได้อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายเดียวที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เป็นทางที่มีศีล สมาธิ และปัญญา เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) หมายถึง ทางเลือกอีกทางหนึ่ง เป็นทางลัด เป็นทางตัดตรงและนำไปสู่พระนิพพานQ1: ตามหลักศาสนาพุทธ​ ตัณหาสามารถนำพาให้ไปเกิดในสุคติภพได้หรือไม่? ถ้าได้​คือตัณหาประเภทใด? และ​อวิชชา​กับ​ตัณหา​เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?ทั้งตัณหาและอวิชชาจะเป็นเหตุทำให้เกิดกิเลสต่อไป ดังนั้นหากมีกิเลสมากจะทำให้ไปเกิดในทุคติภูมิได้ ในทางตรงกันข้ามกันหากมีกิเลสน้อยจะทำให้ไปเกิดในสุคติภูมิแทนสัมมาทิฏฐิแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่เกี่ยวเนื่องด้วยโลก(โลกียะ) ของหนักและอาสวะ  และแบบที่เหนือโลก (โลกุตระ)สัมมาทิฏฐิ 10 ประการ ได้แก่ 1. ทานที่ให้แล้วมีผลจริง 2. ยัญที่ทำแล้วมีผลจริง 3. การเซ่นสรวงหรือการบูชามีผลจริง 4. วิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีผลจริง 5. โลกนี้มีจริง 6. โลกหน้ามีจริง 7. มารดามีคุณจริง 8. บิดามีคุณจริง 9. สัตว์ที่ผุดเกิดขึ้นมีจริง และ10. พระอรหันต์ผู้ สามารถรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้ามีอยู่จริงตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดไว้ เป็นช่างเชื่อม และอวิชชาจะเป็นเครื่องปกปิดรอยต่อที่เกิดจากการเชื่อมนั้นๆ เพื่อทำให้เรามองไม่เห็นรอยเชื่อมต่อเหล่านั้น จึงต้องเจริญตัณหาเพื่อละตัณหา  Q2: "ปฏิจจสมุปบาท​" และ​ "อริยสัจ​สี่" เหมือนกัน​หรือ​ต่างกันอย่างไร? หากเหมือนกัน​ ทำไมพระองค์ต้องแสดงสองแบบให้ซ้ำซ้อนกันปฏิจจสมุปบาท แปลว่า สิ่งที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ส่วน อริยสัจ​สี่ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐQ3: มรรค​มีองค์​แปดคือ ข้อปฏิบัติแบบทางสายกลาง​ คำว่า "ทางสายกลาง" ในที่นี้จะอธิบายทีละองค์ว่าเป็นทางสายกลางได้อย่างไร?ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ทางเลือกอีกทางหนึ่ง เป็นทางลัด เป็นทางตัดตรงไปสู่พระนิพพาน ไม่ต้องเสียเวลาไปวน ไปอ้อม หรือไปพบทางตัน ทางสุดโต่งทั้งสองด้านทางสายเดียวที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง เมื่อต้องการอธิบายองค์ใดองค์หนึ่งในมรรคเป็นประเด็นหัวข้อ ให้ยกองค์ที่เหลือมาประกอบการอธิบายด้วยเพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ของการประกอบรวมกันเป็นทางสายกลาง (จาก 1 ให้ไป 8)Q4: ในพระสูตรพระไตรปิฎกเล่มที่​ 16​ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 8​ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค​ มีการอธิบายต่อจากอวิชชา​ไล่ไป​จนครบอาการ​ 12​ สุดที่ทุกข์​ว่าปฏิจจสมุปบาทยังไม่จบแค่นั้น​ แต่ยังเป็นปัจจัยให้เกิดศรัทธา​-->ปราโมทย์-->ปิติ-->ปัสสัทธิ-->สุข-->สมาธิ-->ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง)-->นิพพิทา-->วิราคะ-->วิมุตติญาณทัสสนะ ทุกข์ทำให้เกิดศรัทธาอย่างไร? แบบไหน ศรัทธาทำให้เกิดปราโมทย์และปราโมทย์ทำให้เกิดปิติได้อย่างไร?พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผลของทุกข์มี 2 อย่าง คือ "บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้วย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้วย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอกว่า ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี” ดังนั้นทุกข์จึงเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งศรัทธา ซึ่งจุดนี้จะเป็นความแตกต่างระหว่างคนมีปัญญา(คนประเสริฐ)และคนโง่ ที่จะแสวงหาที่พึ่ง (สรณะ) หรือ ยังจมปลักหลงใหลอยู่ในความทุกข์นั้นหากเรามีความมั่นใจศรัทธาในพุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วทำจริง แน่วแน่จริงในการเจริญสติ ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้จิตมีความยินดี พอใจ ด้วยความเพียรที่ตั้งเอาไว้ จนทำให้กุศลธรรมเพิ่มขึ้นในขณะที่อกุศลธรรมลดลง จนถึงจุด ๆ หนึ่งจนทำให้ความสบายใจ อิ่มเอิบใจ หรือความปราโมทย์ ปิติเกิดขึ้น และทำให้เกิดความสงบระงับหรือปัสสัทธิขึ้นภายในใจ จากนั้นจิตจะรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียวหรือสมาธิ ทำให้เห็นตามความเป็นจริง เกิดความหน่าย คลายกำหนัด เป็นความพ้น ความแยกจากกัน เป็นวิมุตติ สามารถบรรลุธรรมและเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุดแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร Ep.50  , ตามใจท่าน Ep.53    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
24.8.201957 Protokoll, 2 Sekunden
Episode Artwork

ไม่ตกเป็นทาสของทุกข์ เพราะปรารภความเพียร (6233-7q)

หากต้องการออกจากโลกธรรมแปด ก็ควรต้องทำใจเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ควรหลงเพลินสบายใจเมื่อเราได้ลาภ มียศ มีชื่อเสียง หรือมีความสุข แล้วมาร่ำไห้คร่ำครวญเมื่อเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้าย หรือเป็นทุกข์ หากผ่านจุดนั้นมาแล้วก็ให้นึกถึงความเป็นของไม่เที่ยง จะทำให้จิตของเราไม่ไปข้องในจุดนั้น เมื่อใจไม่ตกเป็นทาสของความทุกข์แล้วก็ควรจะปรารภความเพียรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้มีปัญญา มองเห็นช่องทาง มีความขยันขันแข็ง ไม่ย่อท้อ และเห็นแสงสว่างในการดำเนินชีวิตได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
17.8.201955 Protokoll, 58 Sekunden
Episode Artwork

ผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (6232-7q)

โสดาบัน คือ ผู้ที่อยู่ในกระแสของมรรคและเป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีศีลเต็ม มีศรัทธาเต็มหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ จะหาความสุขจากภายในคือความสุขในฌานขั้นที่ 1, 2, 3 และ 4 อีกทั้งมีสมาธิพอประมาณในระดับที่สามารถละวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคง เห็นแย้ง ไม่ลงใจ)ได้ สามารถปิดประตูอบายหรือทางต่ำที่นำไปสู่การผิดศีลได้ด้วยบางครั้ง ไม่อาจกระทำกรรมที่เมื่อกระทำแล้วเป็นไปเพื่อนรก สัตว์เดรัจฉาน เปรตวิสัย ทั้งนี้ควรจะตั้งสติและศึกษารายละเอียดให้ดี บางครั้งอาจจะมีการตีความที่แตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตามสิ่งใดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างดีแล้ว เราก็ไม่ควรไปเพิ่มเติม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก แต่ควรตั้งใจปฏิบัติตามอย่างดีที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10.8.201958 Protokoll, 32 Sekunden
Episode Artwork

ฐานรองจิตที่มั่นคง เมื่อมาตามกระแสอริยมรรคมีองค์แปด

อริยมรรคมีองค์แปด เป็นเครื่องมือที่ใช้สำรอก ขูดเกลา รื้อถอน กำจัดสิ่งที่เป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ผูกกับแอกของกิเลสตัณหาและความยึดถือ โดยเริ่มต้นจากศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ (ไม่ใช่ศีลที่ถูกตัณหาลูบคลำ) จนเกิดเป็นปัญญาที่ใช้ชำแรกกิเลสได้หมดจด ซึ่งเป็นกระแสการบรรลุธรรมของอริยบุคคลในขั้นต่าง ๆ โดยเริ่มจากขั้นพระโสดาบันจนกระทั่งถึงพระอรหันต์ได้ Q1: อ้างอิงจากได้ฟังรายการช่วงคลังพระสูตรถึงเรื่อง "มหาเวทัลลสูตร" นั้น ตรงหัวข้อ เรื่องประโยชน์แห่งปัญญาและเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ ขอให้อธิบายอย่างละเอียดในขั้นตอนที่ 5 คือ วิปัสสนาอนุเคราะห์ "…อันองค์ธรรม 5 ประการอนุเคราะห์แล้วคือ สัมมาทิฏฐิ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว, อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว, อันสากัจฉาอนุเคราะห์แล้ว, อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว, อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผลและมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผลและมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม 5 ประการนี้แลอนุเคราะห์แล้ว" บุคคลที่จะบรรลุอรหัตตผลได้จะต้องมีเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติชนิดที่หาอาสวะไม่ได้ กล่าวคือการมีสมถะและวิปัสสนาในระดับที่พอดีกันจนอาสวะไม่สามารถตั้งอยู่ได้ "สัมมาทิฏฐิ" จึงเป็นองค์ธรรมนำหน้าของหมวดธรรมต่าง ๆ ที่จะเป็นไปเพื่อการสลัด ละตัณหา กิเลส และอวิชชาให้เบาบางลง ดังนั้นหากการคิด พูด หรือกระทำใด ๆ ที่เพิ่มพูนกิเลสให้มากขึ้นย่อมจัดเป็นมิจฉาทั้งสิ้น Q2: เมื่อเราฝึกปฏิบัติบูชาจนจิตนิ่งในขณะเข้าสมาธิแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราควรทำอย่างไรต่อไป เนื่องจากเมื่อจิตเข้าสมาธิลึก ๆ นั้นจะไม่มีความรู้สึก นึกคิด เสียงหรือภาพใด ๆ เลย "สัมมาสมาธิ" ต้องตั้งไว้รักษาไว้ให้เข้ากันได้อย่างต่อเนื่อง รักษาสมดุลไว้ให้ดี เพราะถ้ามีสมถะมากไปจะเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เกิดเป็นความง่วงก็ต้องหยุด แล้วให้ไปพิจารณาเพิ่มเติมมาในส่วนที่เป็นวิปัสสนาเข้าไป และเมื่อนั่งสมาธิจนสงบนิ่งไปแล้ว ๆ มีเวทนาที่เป็นสุขเวทนาเกิดขึ้นก็อย่ายินดีพอใจตรงนั้น เพราะเรานั่งสมาธิไม่ใช่เพื่อสุขเวทนา แต่เพื่อปัญญาคือการเห็นตามความเป็นจริง จะเป็นความจริงในความนิ่งนั้นก็ได้ หรือถ้ามีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นให้พิจารณาว่า มันมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง ความที่มันต้องอาศัยเหตุปัจจัย นี้คือ ความไม่เที่ยงในสภาวะนั้น ๆ  ความที่มันไม่ใช่ตัวตนของมันเอง มันคือความที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยอย่างอื่นเกิด เราจึงจะไปต่อได้ ดังนั้นจึงต้องหาเครื่องหมายคือนิมิตให้เจอ..นิมิตของความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตาคือ ความที่มันต้องอาศัยเหตุปัจจัยแล้วจึงเกิดขึ้น เราจึงต้องใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งทำเหตุปัจจัยที่ทำจิตให้สงบลงได้ และให้พิจารณาในความละเอียด ๆ ตรงนี้ว่า "มันมีมาได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เห็นจุดนี้, ให้เพ่งจดจ่อลงไปดูว่า ที่เห็นนั้นมันเป็นของใคร, พิจารณาแล้วจะเห็นว่า มันก็เป็นของมันอย่างนั้นตามที่มีเหตุปัจจัยของมันมา มันไม่ได้เป็นของเรา" และพอเราเข้าและออกสมาธิทำให้มากเจริญให้มากจนชำนาญ เห็นตรงนี้ได้บ่อย ๆ เข้ามาถึงจุดนี้ได้บ่อย ๆ เราจะเห็นเหตุและผลด้วยการตั้งสติไว้เพื่อให้ระลึกเห็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดดับ  แล้วจะมีปัญญาเกิดขึ้นตามกระบวนการนี้และไปต่อไปได้ จนเกิดความหน่าย เริ่มคลายกำหนัด แล้วเราจะปล่อยวางได้  "ธรรมะนี้คนชั่วคนถ่อยเสพไม่ได้ และไม่ใช่จะได้ด้วยการข่มขี่ การห้าม การปรุงแต่ง แต่ได้ด้วยความสงบระงับ ได้ด้วยความประณีต มันก็จะค่อยระงับ ๆ ลงไปตามขั้นตอน" แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฎก Ep.28  , คลังพระสูตร Ep.53         Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3.8.201954 Protokoll, 54 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิบัติบูชาด้วยการตั้งไว้ในอริยสัจสี่ (6230-7q)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ถ้าเราเอ็นดูใครหรือถ้าใครที่เขาจะเชื่อฟังเรา จะเป็นญาติก็ตาม มิตรสหายก็ตาม ให้แนะนำ ชักชวนให้เขามาตั้งไว้ในอริยสัจสี่" Q1: ในเรื่องการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ควรวางตัวอย่างไร? เพื่อจะไม่ให้คนอื่นเขามองเป็นเรื่องแปลก เพราะการใช้ชีวิตยังต้องเกี่ยวข้องด้วยเรือน และกับเพื่อนบ้านเขาเห็นเป็นเรื่องสนุกตลกที่ผู้ถามฟังธรรมะ โพสต์ธรรมะ ยกหัวข้อธรรมก็เพื่อจะให้คนที่เขาได้อ่านแล้วสะดุดใจ อยากลองฟัง จิตจะได้เกิดสติ สมาธิ เพิ่มปัญญายิ่ง ได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ เพราะเรื่องธรรมะหาคนปรึกษาพูดคุยได้ยาก การแชร์โพสต์ธรรมะก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ควรจะชักชวนกัน ดีกว่าการชักชวนกันไปกินไปเที่ยวไปดื่มไปเล่น ปรารภเรื่องของกาม ปรารภเรื่องความเพลิดเพลินสนุกสนานและ 1 ในความน่าอัศจรรย์ 3 อย่างที่ว่า "โลกนี้ที่ยังชุ่มอยู่ด้วยกาม เมื่อมีบุคคลปรารภเรื่องที่หลีกออกจากกาม ยังมีคนฟัง" ดังนั้นให้สบายใจได้เลยว่ามันเป็นเรื่องแปลกที่พอพูดถึงเรื่องธรรมะหรือแชร์โพสต์ธรรมะแล้วจะเป็นเรื่องแปลก มันเป็นธรรมดาQ2: มีคำพูดต่าง ๆ ในทางโลกว่าเงินเป็นสิ่งสำคัญ ทางธรรมก็มีธรรมะเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งทางโลกทางธรรมก็ต้องผลัดกันช่วยเหลือกัน ซึ่งก็จะมีบางคนพูดว่า “ไม่ต้องให้เงินพระหรอก” การพูดแบบนี้เรียกว่ามีมิจฉาทิฏฐิหรือไม่ และมีผลของกรรมเป็นอย่างไรเมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องใดหรือหนึ่งมาก็ต้องมาพิจารณาใคร่ครวญดู ว่าผู้กล่าวเป็น วิญญูชน คือ ผู้ที่มีความรู้ดีใฝ่ดี ไม่มีราคะ โทสะ และโมหะ หรือไม่? ในที่นี้จึงควรฟังและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านสอนไว้ในเรื่องของการแบ่งจ่ายทรัพย์ ที่ต้องใช้จ่ายไปใน 4 หน้าที่ให้ถูกต้องเหมาะสมการแบ่งจ่ายทรัพย์ในหน้าที่ข้อที่ 4 คือ สมณพราหมณ์ คือ ผู้ออกจากเรือนบวชแล้ว เป็นเนื้อนาบุญ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็ควรจะอุทิศให้ท่าน ซึ่งคำว่า "อุทิศ" นี้ จึงเป็นรูปแบบที่ต้องทำให้มีความเหมาะสมในสมณเพศนั้น ๆ ซึ่งสมณะนั้นไม่ยินดีด้วยทองและเงิน ยินดีในปัจจัย 4 ที่เขานำมาถวายหรืออุทิศได้ ดังนั้นคำว่า “ไม่ต้องให้เงินพระหรอก” ก็ควรจะทำปัจจัย 4 ที่มีความเหมาะสมให้กับสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพื่อให้หน้าที่ที่ 4 ของเรามีความถูกต้อง เพราะเราหวังบุญในการที่จะให้ชีวิตของเรานั้นเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมย่อมเป็นสุขทั้งในปัจจุบันและต่อ ๆ ไปในภายหน้าQ3: การถามปัญหาธรรมะกับหลาย ๆ วัด หรือกับพระหลาย ๆ รูป ดีหรือไม่? เพราะมีคนพูดว่า “ใช้วัดเปลือง”การเข้าใกล้หรือไปสอบถามกับสมณะว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศลฯ อันนี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาอยู่แล้ว  เพราะฉะนั้นมันอยู่ที่ว่าเราเข้าไปหาใคร สอบถามได้คำตอบมาอย่างไร แล้วนำมาพิจารณาใคร่ครวญสอบทานให้ตรงตามแม่บทคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยการที่เรานำมาปฏิบัติให้เข้าถึงใจ แล้วก็ปฎิบัติออกมาทางกาย วาจา และใจได้ ซึ่งจะดูได้จากการกระทำที่มีศีล สมาธิ ปัญญาของคน ๆ นั้น ก็คือ ให้ดูที่ตัวเราเอง นั่นเองได้ยกตัวอย่าง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้าสักครั้ง แม้ว่าจะไปเข้าเฝ้าวันละ 2 ครั้งเป็นประจำ ด้วยเหตุว่ากลัวพระพุทธเจ้าจะทรงลำบาก จึงไม่ทูลถามปัญหาพระองค์จึงตรัสว่า “เศรษฐีผู้นี้รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา, เหตุว่า เราได้ตัดศีรษะของเราอันประดับประดาแล้ว ควักดวงตาของเราออกแล้ว ชำแหละเนื้อหัวใจของเราแล้ว สละลูกเมียผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของเราแล้ว บำเพ็ญบารมีอยู่ 4 อสงไขยกับแสนกัป ก็บำเพ็ญแล้วเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้อื่นเท่านั้น เศรษฐีนี่รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา” ดังนั้นถ้ามีโอกาสสอบถามได้ ก็ให้สอบถามได้เลยอย่าไปคิดว่าใช้เปลื้อง เพราะถ้าคิดอย่างนี้จะเป็นการรักษากันในฐานะที่ไม่ควรรักษา ทั้งนี้ให้สอบถามในเวลาหรือสถานที่ที่เหมาะสมตามระเบียบข้อปฏิบัติQ4: คำถามในเรื่อง "นอนไม่ค่อยหลับ" โดยเฉพาะวันพระ 8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรมการนอนไม่หลับ แบ่งได้เป็น การตื่นอยู่เสมอ กับ การที่เป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งการที่เป็นโรคนอนไม่หลับจะเป็นลักษณะที่ต้องการนอนพักผ่อน แต่นอนไม่หลับ หรือนอนได้แล้วแต่พอตื่นขึ้นมาก็เหนื่อยเพลียเหมือนนอนไม่พออยู่ตลอด จะแตกต่างจากการ "การตื่นอยู่เสมอ" คือ การประกอบตนอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น (ชาคริยานุโยค) เป็นผู้ที่มีจิตใจที่สว่างอยู่ตลอดอันเกิดจากสมาธิ เพราะเมื่อรู้สึกตัวตื่นจะไม่ง่วงไม่เพลีย แต่สดชื่นแจ่มใสอยู่ตลอด เพราะว่าร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ คือการนอนอย่างตถาคตไสยา (การนอนอยู่ในสมาธิ) ซึ่งลักษณะร่างกายจะอยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ด้วยการมีสติอยู่ตลอดพระพุทธเจ้าได้เคยตรัสสอนเรื่องการนอนว่า "เมื่อเรานอนอยู่อย่างนี้ ให้น้อมจิตไปเพื่อการหลับ เมื่อหลับแล้วก็ตั้งจิตไว้ว่าจะไม่คิดไปในเรื่องทางกาม พยาบาท และเบียดเบียน รู้สึกตัวแล้วเมื่อไรให้ลุกขึ้นทันที การตั้งจิตอยู่แบบนี้จะการประกอบตนอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่นได้"Q5: คำถามในเรื่องของ "การปฏิบัติตนอย่างไรในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีธรรมอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การกิน การเดิน การนอน การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตนในด้านอื่น ๆ เป็นต้น"คำตอบสั้น ๆ ในที่นี้ คือ ให้มีสติอยู่ตลอดในทุกอิริยาบถ ทุกเวลา และทุกสถานที่  เพราะสติมันอยู่ที่ใจ จะอยู่ในอิริยาบถใดหรือที่ไหน นั่นไม่เป็นปัญหาส่วนคำตอบที่ลงไปรายละเอียดว่าจะต้องมีสติอย่างไร เช่น มีสติในการกิน ก็คือ ความรู้ประมาณในการบริโภค (โภชเน มัตตัญญฺตา), การเดินจงกม ตั้งจิตไว้ในการเดินกลับไปกลับมา เดินอย่างมีสติ มีใจไม่คิดไปในภายนอก สำรวมอินทรีย์, การนอน ก็อย่างตถาคตไสยา, ออกกำลังกาย เดินวิ่งก็เหมือนกัน, การพูด ก็อย่าพูดไปในทางมิจฉาวาจาแต่ให้เป็นไปในทางสัมมาวาจา เป็นต้น ซึ่งการกระทำเหล่านี้อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรักษาประพฤติปฏิบัติQ6: การเขียนชื่อและฉายาของพระอาจารย์มหาไพบูลย์ฯ อย่างไรจึงถูกต้อง และมีความหมายอย่างไรเขียนว่า "พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ" ซึ่ง "ไพบูลย์" มีความหมายว่า เต็มเปี่ยม และ "อภิปุณฺโณ" แปลว่า ผู้มีบุญอันยิ่งแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ตามใจท่าน  Ep.9 ใต้ร่มโพธิบท Ep.44     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.7.201953 Protokoll, 5 Sekunden
Episode Artwork

เข้าพรรษา รักษาใจ (6229-7q)

"เรารู้ตัวเราเองดีว่ามีจุดอ่อนที่ใด มีปัญหาที่ไหนให้แก้ที่จุดนั้น เราต้องแก้ไขได้แน่นอนด้วยกำลังของตนเอง ด้วยความเพียรของตนเอง เพื่อสร้างอุปนิสัยใหม่ที่จะให้เราดำเนินมาอยู่ในทางอริยมรรคมีองค์แปดอย่างเป็นปกติได้"…ในช่วงระหว่างเข้าพรรษานี้ขอชักชวนให้ปรารภความเพียรละบาปอกุศล เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้นให้เจริญขึ้น อย่าเห็นแก่ความสบายหรือความลำบาก แต่ให้เห็นแก่กุศลธรรมที่จะเกิดขึ้นQ1: "อายตนะภายในและภายนอกที่แยกจากกัน แต่จะถูกยึดโยงด้วยความรักใคร่พอใจ" การที่จะละความรักใคร่พอใจออกได้ คือ การรักษาอินทรีย์ใช่หรือไม่?อ้างอิงจาก โกฏฐิกสูตร…พระสารีบุตรอุปมาโคดำและโคขาวที่ถูกผูกอยู่ด้วยเชือกเส้นเดียวกันเปรียบกับความรักใคร่พอใจอันเป็นเครื่องเกี่ยวเกาะของอายตยะ เมื่อตัดเชือกแล้วตัวหนึ่งก็ไปทางหนึ่ง  อีกตัวก็ไปอีกทางหนึ่ง มันก็แยกกันไปการรักษาอินทรีย์ เป็นเพียง 1 จาก 6 วิธีที่จะป้องกันไม่ให้อายตนะภายในและอายตนะภายนอกซึ่งเป็นของที่เกาะเกี่ยวกันด้วยความรักใคร่พอใจนั้นมันเชื่อมโยงสืบต่อเนื่องกันไป คือ 1) เราต้องตั้งสติเอาไว้ตรงผัสสะที่จะเกิดขึ้นเหมือนกับนายทวารที่ฉลาด คือ การสำรวมสังวรในอินทรีย์ทั้งหก, 2) การพิจารณาแล้วจึงบริโภค (เสพ), 3) การอดทน อดกลั้น, 4) การงดเว้น, 5) การบรรเทา (ละ), 6) การภาวนา และทั้ง 6 วิธีนี้สามารถใช้ได้กับทุกอย่างQ2: ในเรื่องของ "เพื่อน"จากพุทธพจน์ที่ว่า "อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร" ซึ่งคำว่า "อย่าเห็นแก่สั้น" หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก…บางทีเพื่อนที่คบกันมานานก็เกิดความประมาทไป ถ้าเราพอจะช่วยรักษาเขาผู้ที่ประมาทได้ หรือเราพอจะมิตรที่เป็นผู้อุปการะได้ ก็ช่วยกันไปเพราะว่าโลกมันก็เป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเผื่อว่าช่วยไม่ได้ก็ให้แยกกันไปอย่าไปคบหาสมาคมด้วย…ไม่ใช่ว่าจะไปโทษคนอื่นว่าเขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ฉันควรจะปล่อยวางอย่างนั้นอย่างนี้ ประเด็นสำคัญ มันอยู่ที่ว่าเราวางได้หรือไม่ ต้องสติไว้ให้ดี มีสติอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้จิตใจคิดนึกไปในทางกาม แต่ให้มีการฟังธรรมอยู่เนื่องนิตย์ ให้เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นอนิจจัง เห็นว่าไม่ใช่ตน จะค่อยทำให้จิตของเราเบื่อหน่ายคลายกำหนัดปล่อยวางอย่างแท้จริงได้ตามลำดับขั้นQ3: คำถามจาก "นฬกลาปิยสูตร"ใน นฬกลาปิยสูตร …พระสารีบุตรยกอุปมากำไม้ออ 2 กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะต่างอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าดึงอีกกำหนึ่งออก อีกกำหนึ่งก็ล้มไป มาอธิบายอย่างแยบคายในเรื่องของปัจจัยให้มีชราและมรณะสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยการเขียนเป็นสามเหลี่ยม โดยมุมหนึ่งเป็นนามรูป มุมหนึ่งเป็นวิญญาณ และอีกมุมหนึ่งเป็นสังขาร การที่มันทรงตั้งอยู่ได้คืออวิชชา สังขารในที่นี้หมายถึง "กรรม" เพราะสังขารนั้นคือการกระทำ (กรรม) ทางกาย วาจา และใจ, ไฟคือกรรม คือไออุ่น นั่นเองไฟจึงรักษานามรูปให้ปรุงแต่งออกมาในลักษณะที่เป็นอายตนะทำให้วิญญาณต้องอาศัยกันอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับปฏิจจสมุปบาทQ4: คำถามในเรื่อง "จิตสุดท้าย"อ้างอิงจาก มหากัมมวิภังคสูตร …เพราะแม้บุคคลบางคนจะทำความดีมาโดยตลอด แต่จิตสุดท้ายมีมิจฉาทิฐิ (อันเป็นอกุศล) ผู้นั้นก็ไปอบายได้ หรือแม้บุคคลบางคนจะทำความชั่วมาตลอด แต่จิตสุดท้ายนั้นเกิดมีสัมมาทิฐิ (อันเป็นกุศล) ผู้นั้นก็ไปสุคติได้หลักการณ์ไม่ได้อยู่ที่ความน่าจะเป็นหรือความเสี่ยงว่าจะมีมากหรือน้อย แต่ต้องอย่าประมาท ความชั่วแม้เพียงเล็กน้อยก็อย่ากระทำ ในขณะเดียวกันความดีต่อให้เพียงเล็กน้อยหรือมาก มันดีในตัวมันเอง ให้พึงกระทำQ5: คำถามในเรื่องเรื่องของ "กฐิน"อ้างอิงจาก กฐินานุชานนา ว่าด้วยทรงอนุญาตให้กรานกฐิน เรื่องภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ 30 รูป เรื่องราวที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้วกรานกฐินได้ และภิกษุผู้กรานกฐินแล้วจะได้อานิสงส์ 5 อย่าง, เรื่องวิธีกรานกฐินและญัตติทุติยกรรมวาจาสำหรับกรานกฐิน, กฐินไม่เป็นอันกราน และ กฐินเป็นอันกราน ทั้งนี้ทรงอนุญาตกรานกฐินแก่ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ก็เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีในหมู่คณะและในปัจจุบัน ภิกษุผู้กรานกฐิน จะต้องประกอบด้วย องค์กำหนด 3 ประการ คือ เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด, อยู่ในอาวาสเดียวกัน และภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป ทั้งนี้เพราะจะต้องเป็นผู้รับผ้ากฐินเสียรูปหนึ่ง ที่เหลืออีก 4 รูปจะได้เข้าเป็นจำนวนสงฆ์ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต  Ep.16, Ep.14 ใต้ร่มโพธิบท Ep.51, Ep.57,  คลังพระสูตร Ep.53, Ep.51, ขุดเพชรในพระไตรปิฎก Ep.28  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
20.7.201958 Protokoll, 21 Sekunden
Episode Artwork

สลัดแอกจากกิเลสตัณหา (6228-7q)

Q: คำถามเกี่ยวกับเรื่องมิจฉาอาชีวะ ที่กำลังดำเนินไปภายในพรรคการเมืองหลายพรรคในซึ่งนักการเมืองไทยส่วนใหญ่กำลังตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิใช่หรือไม่ และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ที่จะเปลี่ยนนักการเมืองที่มีมิจฉาอาชีวะมาเป็นสัมมาอาชีวะสัมมาคือสลัดแอก เป็นการสลัดละตัณหา กิเลส และอวิชชาให้ลดลงหรือเบาบางลง ในทางตรงกันข้าม มิจฉา คือ การเพิ่มพูนกิเลสให้มากขึ้น ดังนั้น "สัมมาอาชีวะ" จึงหมายถึง การดำเนินชีพหรือมีความเป็นอยู่ทางกาย วาจา และใจอย่างเป็นปกติ โดยมีองค์ธรรมนำหน้าคือ สัมมาทิฏฐิ ที่จะเป็นตัวแยกแยะและกำหนดได้ว่า การดำเนินชีพที่เรากำลังกระทำอยู่เป็นสัมมาอาชีวะหรือมิจฉาอาชีวะการลงมือกระทำหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสติและความเพียร (วิริยะ) กล่าวคือ หากด้านสัมมามีกำลังมากกว่ามิจฉา ก็จะทำให้เกิดการกระทำไปในทางที่ดีและเป็นไปเพื่อกุศลธรรม แต่ในทางกลับกันหากด้านมิจฉามีกำลังมากกว่า ก็จะทำให้เกิดการกระทำไปในทางที่ไม่ดีไม่งามและเป็นไปเพื่ออกุศลธรรมได้ การพัฒนาจึงต้องเริ่มจากปัญญาที่มองเห็นโทษในสิ่งไม่ดี และควรจะมีผู้ชี้นำบอกสอนเป็นกัลยาณมิตรนักการเมือง เป็นผู้ที่มีกำลังทั้งในรูปแบบของอำนาจและเงิน สามารถทำงานเพื่อผู้อื่นและช่วยเหลือคนอื่นได้ เพราะมีความดีอยู่ในใจอยู่แล้ว ที่สำคัญต้องยึดหลักของสัมมาวาจาเป็นที่ตั้ง ได้แก่ มีความซื่อสัตย์ วาจาเชื่อถือได้ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดแบบโปรยประโยชน์ทิ้งเสีย ไม่พูดเพื่อยุยงให้แตกกัน เกิดความสะเทือนใจต่อผู้ฟัง พูดเพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี และควรจัดการกับกิเลสภายในในจิตใจของทั้งตนเองและประชาชนส่วนรวมไม่ให้ฟูขึ้น ดีกว่ามาคิดจัดการแต่เรื่องกฏหมายบ้านเมือง ควรส่งเสริมและจัดให้คนดีมีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองอีกด้วยอย่างไรก็ตาม การเมืองไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต เราจึงต้องรักษาความดีของตนเองไว้ด้วยการปฏิบัติตามหลักของอริยมรรคมีองค์แปด เพื่อความเจริญไปในทั้งทางศีล สมาธิ และปัญญาแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม)  Ep.28 , คลังพระสูตร  Ep.50           Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.7.201957 Protokoll
Episode Artwork

ปชานาติ (6227-7q)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ปชานาติ” เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการกิน การเคี้ยว การดื่ม การลิ้ม ถือเป็นผู้ที่มีสัมปชัญญะ สิ่งที่ควรทำคือ ให้รักษาสติต่อไปอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดสมาธิขึ้น เห็นตามความเป็นจริงทุกอย่าง แจ่มแจ้งมากขึ้น เมื่อเกิดความชำนาญมากขึ้น จะทำให้มีความก้าวหน้าในสติ สมาธิ ปัญญาในที่สุดในตอนนี้ได้นำเสนอรูปแบบรายการใหม่ตลอดทั้งสัปดาห์และช่องทางในการติดต่อ และตอบคำถามตามใจท่านเกี่ยวกับในเรื่องของการรปฏิบัติ 7 ข้อ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6.7.20191 Stunde, 41 Sekunden
Episode Artwork

ทางเกิดแห่งปัญญา (6226-7q)

Q1:  "ความรู้" ในภาษาบาลี "จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งทีเรา ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี่คือความจริงอันประเสริฐ …" จากธรรมจักรกัปปวัฒนสูตรญาณ คือ ความรู้ ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงในข้างต้น ต้องเป็นความรู้ที่หัวใจ เป็นความชำนาญที่ไม่ใช่เพียงแค่จำได้ที่สมอง แต่เป็นความชำนาญในระดับที่เป็น ภาวนามยปัญญาปัญญาจะต้องเกิดจากญาณ เริ่มต้นมาจากฌานด้วยการฝึกปฏิบัติอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ สุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการฟัง การเล่าเรียน และจดจำข้อมูลความรู้มาจากผู้อื่น), จินตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการนำความรู้ที่มีอยู่มาคิดใคร่ครวญ แจกแจงได้), ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการทำ การปฏิบัติ สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาต่อยอดมากขึ้น) บุคคลผู้ซึ่งเจริญภาวนาอยู่ ย่อมได้ซึ่งปัญญาคือความรู้เห็นตามที่เป็นจริงได้Q2: ความหมายของ "smart things" เมื่อเทียบเคียงกลับมาที่ภาษีบาลีได้อย่างไรเมื่อเปรียบเทียบ 20 ปีที่แล้วกับปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีต่างกันมาก มี Smart เกิดขึ้นมากมาย แต่ถามว่าคนมีความสุขมากขึ้นหรือน้อยลง…เปรียบดังพยับแดด ที่เป็นของปลอมเทียม เป็นภาพลวงตา เพราะไม่ว่าเราจะสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน แต่มันก็ไม่สามารถขจัดความทุกข์ให้หมดสิ้นไปได้Q3: เหตุใดบัณฑิตจึงเปรียบกรรมดี ให้ผลเหมือนเงาตามตัว ส่วนกรรมชั่ว มีวิบากกรรมเหมือนรอยล้อแห่งเกวียนตัวนำแอกไป ไว้ต่างกัน“ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น.” “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ, ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี, ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น.”บัณฑิตในที่นี้คือ พระพุทธเจ้า ได้ทรงยกอุปมาอุปไมยเปรียบให้เห็นถึงว่าความต่าง ความที่ไม่เหมือนกันในความที่ใจเป็นใหญ่ทั้ง 2 กรณี จึงต้องยกตัวอย่างขึ้นประกอบ เปรียบเทียบให้เห็นในหลายนัยยะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
29.6.201959 Protokoll, 36 Sekunden
Episode Artwork

ฐานที่ตั้งของจิตก่อนตาย (6225-7q)

บุคคลใดในโลกที่ทำกุศลแล้วขึ้นสวรรค์หรือบุคคลที่ ทำอกุศลแล้วตกนรก ย่อมได้รับวิบากทั้งชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อ ๆ ไป พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า เป็นเรื่องที่ควรส่องให้เห็นในทางตรงกันข้ามกัน หากบุคคลใดที่ทำกุศลแล้วตกนรกหรือบุคคลที่ทำอกุศลแล้วขึ้นสววรรค์นั้น เป็นเพราะมีเหตุปัจจัยมาจากมิจฉาทิฏฐิหรือสัมมาทิฏฐิที่เกิดพร้อมก่อนตาย พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรส่องให้เห็น ไม่ควรทำให้รู้ว่ามีจริง เพราะทำให้ดำรงตนอยู่ในความประมาท Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
22.6.201955 Protokoll, 41 Sekunden
Episode Artwork

ยอดแห่งสังขตธรรม (6224-7q)

Q1: จากการตอบคำถามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา พระอาจารย์เทศน์เกี่ยวกับเรื่อง "มรรคมีองค์แปดเป็นหนทางสู่การดับแห่งการเกิด" และได้กล่าวว่า "แม้มรรคมีองค์แปดนี้ก็ต้องวางลง เพราะยังเป็นสังขตธรรม" จึงขอให้ชี้แจงลงรายละเอียดเพิ่มเติมว่า การวางมรรคลงในเชิงปฏิบัติเป็นอย่างไร?สิ่งใดก็ตามที่เรารับรู้ได้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ว่าจะเป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม ความดีหรือความชั่ว ล้วนมีเหตุปัจจัยในการปรุงแต่งด้วยกันทั้งสิ้น ถือเป็น "สังขตธรรม" อยู่แล้ว โดย มีสังขตลักษณะ 3 อย่างนี้ คือ มีการเกิดปรากฏ, มีการเสื่อมปรากฏ และเมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ก็คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นเอง) ด้วยความที่มันมีคุณสมบัติเหมือนกันอย่างนี้ เราจึงต้องแยกแยะออกว่ามีคุณมีโทษมากน้อยไม่เท่ากันอย่างไร กิจที่ควรทำก็ต้องแตกต่างกันมรรค 8 จึงเป็นยอดของสังขตธรรม เพราะว่าในขณะที่ดำเนินไปตามทางมันระงับตัวมันเองได้ ๆ ระงับลง ๆ จนสามารถถึงความดับลงได้ของราคะ โทสะ และโมหะ ดังนั้นอย่าวางมรรค 8 แต่สิ่งที่ควรวางควรละคืออุปาทาน ละวางความเป็นตัวตน ละวางความยึดถือ เพื่อที่จะเข้าใจขันธ์ 5 ให้ถูกต้อง มรรค 8 ควรทำให้เจริญทำให้มาก ยิ่งต้องรักษาไว้อยู่ตลอด มีการพัฒนาอยู่เนืองนิตย์"…ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในแพนั้น? ในข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้ โดยสวัสดี ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นวางบนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้ว พึงหลีกไปตามความปรารถนา…บุรุษนั้นกระทำ อย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรม มีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล"…ธรรมเปรียบเหมือนแพQ2.1: จากรายการธรรมะรับอรุณวันพฤหัสที่ 30 พฤษภาคม 2562 , 6 มิถุนายน 2562 ความเห็นที่ว่า "โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ฯ" เมื่อพิจารณาตามไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) แล้ว เขียนใหม่ได้ดังนี้หรือไม่ "โลกหน้ามีอยู่หรือไม่ ขึ้นกับเหตุปัจจัย ผุดเกิดมีอยู่ แต่เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มีอยู่ ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีอยู่ แต่สัตว์ที่รับผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีอยู่" เนื่องจากอนัตตาบอกว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน จึงไม่มีสัตว์ จึงไม่มีบุคคลจากที่ถามมาข้างต้น เราควรจะพูดมาในนัยยะที่มาใน มหาจัตตารีสกสูตร ที่กล่าวว่าสัมมาทิฏฐิมีอยู่ 2 อย่าง คือ ส่วนที่เป็นโลกุตระ เป็นความเห็นที่เป็นไปในระดับเหนือโลก  เป็นหนทางแห่งมรรค เป็นไปเพื่อนิพพาน และ ส่วนที่เป็นโลกียะ เป็นความเห็นที่เกี่ยวเนื่องด้วยของหนัก (ขันธ์ห้า) เชื่อว่าโลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดขึ้นมี กรรมดีกรรมชั่วมี ยังเป็นส่วนของอาสวะ ไม่ได้จะเป็นไปเพื่อการบรรลุนิพพาน…ไม่ควรนำเอาสองส่วนมารวมกันQ2.2: ผู้ที่ละสักกายทิฏฐิได้ และไม่มีอุปทานประเภทอัตตวาทุปาทาน จะเห็นว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ใช่หรือไม่ที่สำคัญคือ คุณจะละอุปาทานคือความยึดถือได้ คุณจะละสังโยชน์คือ สักกายทิฏฐิ  เป็นต้นได้ คุณต้องปฏิบัติตามมรรค 8 และสิ่งแรกนั้น (องค์นำ) คือ สัมมาทิฏฐิ ไปจนถึงสัมมาสมาธิ ซึ่งคนที่มีความเข้าใจในเรื่อง "อนัตตา" ความเข้าใจในเรื่อง "สมมุติ" และความเข้าใจในเรื่อง "สัจจะ" จะเห็นว่า ไม่มีสัตว์คือผู้ที่จะมาข้อง ไม่บุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีเราเขา แต่เหล่านี้เป็นเพียงสมมุติ เพื่อเรียกให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ถ้าเราอยู่เหนือสมมุติ นั้นคือเข้าใจสัจจะทั้งหมด เป็นสภาวะที่ละตัณหา ละอุปาทานได้ ละเครื่องร้อยรัดคือสังโยชน์ได้ทั้งหมด มีความเข้าใจในสัจจะอย่างเต็มที่ แจ่มแจ้งในทุกผัสสะตลอดเวลา นี้คืออริยสัจแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ตามใจท่าน Ep.44 , Ep.33 , คลังพระสูตร Ep.47 , Ep.48 และ Ep.49 , ใต้ร่มโพธิบท Ep.49 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
15.6.201953 Protokoll, 44 Sekunden
Episode Artwork

ปัญหาแก้ไม่ได้ด้วยความอยาก (6223-7q)

จากคำถาม: จะมีวิธีโน้มน้าวให้คุณพ่อเห็นโทษและตระหนักว่าต้องเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด โดยที่ไม่ขัดกับมรรคแปดในข้อสัมมาวาจาได้อย่างไร ?ความทุกข์มีเหตุเกิดขึ้นจากความอยาก ถ้ามีความอยากมากก็ทุกข์ใจมาก ดังนั้นต้องแยกแยะความทุกข์ที่เกิดจากความอยากกับปัญหาที่ต้องแก้…ถ้าพ่อยังเห็นประโยชน์ของการสูบอยู่ เขาก็ต้องยังสูบอยู่แน่นอน เพราะเกิดสุขเวทนาที่มาพร้อมกับการสูบนั้น แต่เกิดทุกขเวทนาถ้าไม่ได้สูบ เป็นเพราะเวทนามาเชื่อมจิตของเขาให้ติดอยู่กับความรู้สึกไม่ดีคือทุกขเวทนากับการไม่ได้สูบ และเป็นสุขเวทนากับการที่ได้สูบ จึงต้องมีการปรับตรงจุดนี้ ในการที่จะเชื่อมจิตของเขาไปในทุกขเวทนาที่ได้สูบ ไปในสุขเวทนาที่ไม่ต้องสูบจะปรับเปลี่ยนทิฏฐิตรงนี้ให้เป็นไปในทางตรงได้ก็ด้วยตัวของเขาเอง ซึ่งธรรมะที่ต้องมีเป็นองค์ประกอบสำคัญ อันดับแรกคือมีฉันทะ มีความพอใจที่จะเลิก เห็นความจำเป็นที่จะทำ, สองคือมีศรัทธา มีความมั่นใจว่าฉันต้องเลิกได้ เปลี่ยนได้ เมื่อมีศรัทธาแล้วจะทำให้เกิดกำลังใจ เกิดความเพียร (วิริยะ) การทำจริงแน่วแน่จริง มีความกล้าที่จะเผชิญหน้าไม่ยอมไปตามอารมณ์ที่อยากจะสูบ, มีจิตที่เป็นสมาธิ จะทำให้เกิดปัญญาในระดับที่จะทำให้เห็นทุกข์ได้ ซึ่งมันจะวนมาลงที่ "เพราะทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธา" พอคุณเห็นปัญหา (เห็นทุกข์เห็นโทษ) ศรัทธาเกิดขึ้นทันที ความเพียรเกิดขึ้นทันทีปัญญาจะเกิดขึ้นได้ จิตต้องอ่อนเหมาะ เป็นอารมณ์อันเดียว (สมาธิ)  การด่าว่าทิ่มแทงกันจะทำให้จิตหลุดออกจากสมาธิ ลูก ๆ จึงสามารถช่วยท่านได้ด้วยการให้กำลัง ให้ข้อมูลชี้ให้เห็นโทษเห็นประโยชน์ พูดจาดี ๆ ต่อกัน คนเราจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่องก็ด้วยเหตุแห่งกุศล และที่สำคัญกว่าการเลิกบุหรี่ คือ การทำให้พ่อเป็นผู้ที่มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ซึ่งคนที่มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาก่อน จะสามารถโน้มน้าวคนที่ไม่มีคุณธรรมเหล่านี้ ให้มีได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8.6.201950 Protokoll, 14 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิปทาอันเป็นที่สงบระงับของสังขารทั้งหลาย

จากคำถาม: ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดอีก?, ความคิดที่ว่า "การไม่เกิด หมายถึง ต้องบรรลุเป็นพระอรหันต์ หรือ การปฎิบัติตามมรรคแปดไปเรื่อย ๆ จนละสังขาร หรือ ต้องไม่ยึดติดกับอะไรก็จะไม่มีการเกิด" ถูกต้องหรือไม่? และการไม่มาเกิดอีกคือ "นิพพาน" ใช่หรือไม่? อย่างแรกคือ ทำความเข้าใจการเกิดให้ถูกต้อง เห็นว่าการเกิดเป็นทุกข์ จะเกิดหรือดับลงได้ก็เพราะมีเหตุปัจจัย, ทำความเข้าใจในหลักอริยสัจ4 โดยองค์รวมอและปฏิบัติตนไปตามอริยมรรคมีองค์แปด อย่างที่สอง เหตุของการเกิดคืออวิชชา จะต้องละเหตุของมันด้วยการดับอวิชชา ดับตัณหาอุปาทาน  และละกิเลส จึงจะทำให้การเกิดดับไปได้ ทั้งการเกิด (ขันธ์ 5) และอริยมรรคมีองค์แปดต่างก็เป็นสังขตธรรม (ธรรมที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น) มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์  และเป็นของปรุงแต่งเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ การเกิดนั้นเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ ในขณะที่อริยมรรคมีองค์แปดทำให้กำจัดหรือละความยึดถือไปได้ เป็นที่สงบระงับของสังขารทั้งหลาย   บุคคลที่ปฏิบัติไปตามทางของความดับไม่เหลือของทุกข์ (ทางที่ประกอบด้วยองค์ประเสริฐ 8 ประการ) เรียกว่า อริยบุคคล (คนประเสริฐ)  จากคำถาม: ทำอย่างไรเพื่อให้มีวินัย​สำหรับการนั่งสมาธิทุกวัน วันละ​ 15 นาที​ ทุกอย่างจึงต้องอาศัยการฝึกการทำให้เกิดเป็นทักษะ ซึ่งเราจะทำได้ต้องมีกำลังใจดุจช้างอาชาไนยที่มีกำลังมาก เริ่มต้นด้วยการมีศรัทธา เมื่อมีศรัทธาแล้วจะทำให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริง คือ วิริยะ (วายามะ) คือ ความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะมาขัดขวางการกระทำของเรา นั่นคือกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิต ไม่ให้เคลิบเคลิ้มไปตามความง่วงซึมหรือยินดีพอใจในที่นอนนุ่ม ๆ "ไม่ทำจึงไม่ได้ ไม่ได้จึงไม่ทำ" จะปรับแก้ความคิดนี้ได้ด้วยการเจริญอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นอย่างเดียวกันกับอินทรีย์ 5 ที่อยู่ในหมวดธรรมเดียวกัน นั่นคือ โพธิปักขิยธรรม (ธรรมะที่จะทำให้เกิดการบรรลุธรรมได้) และในที่นี้ คือ การที่จะให้เกิดญาณในความเป็นปกติสำหรับการนั่งสมาธิ 15 นาทีทุกวัน…ให้ทำเลย ทำให้มันเกิดขึ้นเลย ทำซ้ำทำย้ำอยู่เรื่อย ๆ มันต้องได้…ถ้าทำไม่ได้จึงต้องทำ อันนี้คิดถูก แล้วเราจะทำได้จนเป็นนิสัยอย่างเป็นอัตโนมัติ "…ให้เราฝึกทำ การฝึกบางทีมันลำบาก ถ้าลำบากแล้วกุศลธรรมมันเกิด ก็ให้ลำบาก…อย่าเห็นแก่ความลำบาก อย่าเห็นแก่ความสบาย แต่ให้เห็นแก่กุศลธรรม เห็นแก่ประโยชน์ เห็นแก่สามัญญผลที่จะเกิดขึ้น" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1.6.201958 Protokoll, 24 Sekunden
Episode Artwork

หลุดพ้นจากอัตตาตัวตน (6221-7q)

คำสอนที่ช่วยเสริมปัญญาและสติ เพื่อการจัดการกับความคิดที่แคร์ความคิด ความรู้สึกของผู้อื่น จนไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งผู้ถามเองเข้าใจว่า จิตใจระดับลึกของตนเองคงต้องการให้สิ่งภายนอกคือ คนในสังคมยอมรับ แต่จริงๆ แล้วต้องการหลุดพ้นจากสภาพเช่นนี้ ซึ่งปกติจะอาศัยการรับรู้ลมหายใจ เพื่อเรียกสติสุดโต่ง 2 ข้าง เพราะกิเลสเอาเราทั้งสองด้าน ทั้งที่เป็นลักษณะของ “ภวตัณหา” คืออยากมีอย่างนั้นอย่างนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ และ “วิภวตัณหา” คืออยากจะพ้นจากภาวะที่ตนไม่ต้องการไม่อยากได้เหตุปัจจัยที่ดีก็มี อันได้แก่ ความเป็นคนว่าง่าย อ่อนน้อม เก็บจิตของตนเอง รับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้ารากเหง้าของความรู้สึกแคร์ผู้อื่น เกิดจากการที่เราต้องการให้ผู้อื่นยอมรับเรา รักเรา เป็นการทำเพื่อตัวเองทั้งสิ้นนั่น คือ "มานะ" หรือ "ความเป็นอัตตาตัวตน" ที่ถูกปกปิดด้วยอำนาจของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน) จึงทำให้เราเมามึน เข้าใจสถานการณ์ได้ไม่เต็มที่ ไม่เห็นตามที่เป็นจริง ซึ่งวิธีแก้ไขได้ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตนตามอริยมรรคมีองค์ 8 โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าทำเพื่อเขาหรือทำเพื่อเรา (วิจิกิจฉา) เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความคิดที่เป็นมิจฉาสังกัปปะ ซึ่งจะไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง เบียดเบียนทั้งผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายแคร์ผู้อื่นเพราะห่วงใย แต่หากห่วงใยมากเกินไปจะทำให้เป็นความกังวลได้ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ตั้งตนอยู่ในหลักธรรมข้อพรหมวิหารสี่ เพื่อเป็นการรักษาทั้งตนเองและผู้อื่นนิสัยบางอย่าง (อาสวะ) ทำให้ตนเองต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก หากกระทำนิสัยนั้นไปนานๆจนเป็นรูปแบบ (Pattern) จะกลายเป็นสันดานได้จุดทดสอบ คือ ผัสสะที่พบเจออยู่ทุกขณะทำจิตให้เป็นสมาธิ เพื่อตัดละกิเลสและทำให้อ่ออนกำลังลง ความคิดใดที่เป็นประโยชน์ เกิดกุศลให้ลงมือปฏิบัติเอาไว้ทันที แต่หากความคิดใดที่เป็นอกุศลอย่าไปเอาไว้ ละเสีย ทิ้งเสีย อย่างไรก็ตามความคิดทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ถือว่าเป็นอนัตตา เกิดจากเหตุปัจจัยที่เราสร้างขึ้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเรา ให้ละวางลงเสียการปฏิบัติดี ตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรม ทำตนตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด อาจจะมีการกระทบกระทั่งกันบ้างตามสังคมที่ถูกปรุงแต่งกันไป อย่างไรก็ตามข้อขัดแย้งเหล่านั้นก็จะค่อยๆ คลี่คลายได้ในที่สุดพระใหม่ขณะบิณฑบาตแล้วฝาบาตรตก ถือว่าอาบัติหรือไม่ และมีวิธีแก้ไขอย่างไรผู้ถามมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข่าวที่เป็นประเด็นอยู่ตอนนี้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเรื่องเกียวกับข้อถกเถียงในการทำแท้ง (Ban abortion) โดยเริ่มต้นจากนักการเมืองส่วนใหญ่ในสภาถกเถียงกันให้ยกเลิกการทำแท้ง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ออกมาประท้วงคัดค้านเพื่อให้มีการทำแท้ง เพราะเห็นแก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายที่ต้องตั้งครรภ์เนื่องจากถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นชาวพุทธ นับถือคำสอนในพระพุทธศาสนา ผู้ถามจึงเกิดข้อสงสัยว่าคนเหล่านั้นจะมีโอกาสทราบหรือไม่ว่า การทำแท้งไม่ใช่ทางออกของปัญหา และหากพบบุคคลเหล่านั้นที่เห็นด้วยกับการทำแท้ง ควรจะพูดอย่างไรให้คนต่างศาสนา ต่างความเชื่อ ได้เข้าใจถึงทางออกที่แท้จริง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
25.5.201957 Protokoll, 28 Sekunden
Episode Artwork

ยังกิญจิ เหตุปัจจัยให้เกิดและดับ (6220-7q)

ความสำคัญของวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ถือเป็นบุญกุศลอย่างมากที่มีความน่าอัศจรรย์และความพิเศษของบุคคลที่ยากจะเกิดขึ้นได้อีกทั้งคำสอนที่ท่านได้ทรงขวนขวายมาก เพื่อบอกสอนยังคงดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ เพียงพอที่จะทำให้เราปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดธรรมในใจขึ้นได้การเกิดเป็นมนุษย์นั้นยากมาก จึงควรดำรงตนไม่ตั้งอยู่ในความประมาททั้งทางกายและใจต้องการทราบคำอธิบาย ในประโยคที่ว่า “สิ่งใดเกิดขี้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนย่อมดับไปเป็นธรรมดา” ซึ่งท่านโกณฑัญญะเห็นธรรมในประโยคนี้ หมายความว่าอย่างไร? มีรายละเอียดอย่างไรจึงบรรลุถึงขั้นโสดาบันความสามารถที่จะเปลี่ยนจากสัญญาให้เป็นญาณได้นั้นต้องอาศัยอินทรีย์ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา) ที่มีความแก่กล้า หากผู้ใดไม่เคยมีเลยหรือมีเพียงแต่น้อยก็สามารถพัฒนาให้มีมากยิ่งขึ้นได้โดยการปฏิบัติตามมมรรคแปด ให้มีศีล สมาธิ ปัญญา จะทำให้บรรลุธรรมได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
18.5.201959 Protokoll, 40 Sekunden
Episode Artwork

ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส (6219-7q)

Time Index[02:07] จะต้องทำอย่างไร หรือจะนำเอาแนวคิดทางธรรมะมาประยุกต์ใช้อย่างไร เพื่อให้ความขี้เกียจหายไป เนื่องด้วยผู้ถามอายุ 43 ปี ร่างกายเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง สายตาเริ่มยาว และมีงานที่ทำอยู่หลายอย่างทั้งการเรียนปริญญาเอก การทำงานบริษัท และการทำงานธุรกิจส่วนตัว ซึ่งตอนนี้เริ่มมีความรู้สึกเบื่อ ขี้เกียจ ถึงแม้จะนอนพักผ่อนก็ไม่รู้สึกเพียงพอ แต่กลับอ่อนเพลียอีกด้วย[18:28] เวลาทำสมาธิภาวนา นอกจากภาวนาว่า ”พุทโธ” แล้ว จะภาวนาว่า “เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา” หรือภาษาไทยที่ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ได้หรือไม่[29:04] ราคะ โทสะ และโมหะ มีหลักการทำงานของมัน โดยมีโมหะเป็นที่เคียงคู่ตลอดใช่หรือไม่ เช่น เราเห็นของสวย ๆ ก็หลงไปรัก โดนอะไรกระทบกระทั่งให้ไม่พอใจก็หลงไปโกรธ บางทีมันหลงแบบไม่ไปดื้อๆ ก็มี แบบไม่รัก ไม่โกรธ แต่มึนๆงงๆ ไป ตามความคิดไปก็มี ถ้าจะละได้ ก็ใช้ปัญญาควบคู่กันไปตลอดเช่นกันใช่หรือไม่ ตัวโมหะนั้นแรงสุดใช่หรือไม่ และเป็นสิ่งที่ผู้ที่จะถึงซึ่งความเป็นพระอรหันต์และได้ยากใช่หรือไม่ ซึ่งตัวโมหะนั้นน่าจะพอๆ กันกับอวิชชาเลย อีกทั้งปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส กับปัญญาเห็นการเกิดดับเป็นอันเดียวกันหรือไม่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11.5.201944 Protokoll, 20 Sekunden
Episode Artwork

บริสุทธิ์จากกิเลสได้ด้วยการกระทำ (6218-7q)

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงได้รวบรวมนำคติคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวข้องโดยอ้างอิงไว้ในพระไตรปิฎกมาพูดคุยกันTime Index[01:51] เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการปฏิบัติ โดยการเจริญอานาปานสติ เพื่อเป็นการระลึกรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกและดำรงสติไว้เฉพาะหน้า[23:38] ทศพิธราชธรรม จาก “มหาหังสชาดก” อันประกอบด้วย ทาน (การให้), ศีล, บริจาค, ความซื่อตรง, ความอ่อนโยน, ความเพียร,ความไม่โกรธ, ความไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น, ความอดทน, ความเที่ยงธรรม[28:40] พระเจ้าจักรพรรดิ จาก “จักรวรรดิสูตร” และ “พาลบัณฑิตสูตร” ว่าด้วย เรื่องแก้ว 7 ประการของผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิขึ้นมา ได้แก่ จักรแก้ว, ช้างแก้ว, ม้าแก้ว, มณีแก้ว, นางแก้ว, เสนาบดีแก้ว และคหบดีแก้ว เรื่องฤทธิ์ 4 อย่างของผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิขึ้นมาได้แก่ รูปโฉมงดงาม, สุขภาพแข็งแรง, มีอายุยืนยาว และประชาชนรักใคร่[42:40] คุณธรรมหรือกรรมเก่าที่ต้องกระทำ จึงจะทำให้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้ ประกอบด้วย ทาน, ทมะ (การข่มบังคับใจ), และสัญญมะ (การสำรวมระวังจิต)[45:55] คุณธรรมความดีที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างมาอย่างยิ่งยวด จึงจะทำให้เกิดมีมหาปุริสลักขณะหรือลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4.5.201954 Protokoll, 21 Sekunden
Episode Artwork

ตัวรู้ เพื่อรู้ตัว (ทั่วพร้อม) (6217-7q)

สัมปชัญญะ คือ การเป็นผู้รู้ตัวทั่วพร้อมในทุกอิริยาบถ สามารถทำให้การคลายความเป็นตัวตนลงได้ โดยการละตัณหาอุปาทานในสิ่งใดสิ่งนั้นหรือขันธ์ห้า กล่าวคือเหตุเกิดที่ใดย่อมมีเหตุดับที่นั่น จึงเป็นเหตุให้ทั้งตัณหาและมรรครวมลงในที่เดียวกันนั่นเองTime Index[01:10] รูปแบบรายการใหม่และช่องทางในการติดต่อ[06:10] ทำความเข้าใจในอานาปานสติสูตร ที่ว่า “ให้มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ”[17:36] การรับรู้ (วิญญาณ) ในสภาวะที่เกิดขึ้น จะเข้าใจขันธ์ห้าให้ถูกต้องได้โดยการพัฒนามรรคให้ดียิ่งขึ้น[26:07] ผู้ถามอ่านพบในพระไตรปิฎกและคิดว่า อานาปานสตินี้ช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน ทั้งต้องเป็นภูมิของมหาบุรุษทั้งหลายคือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น ดังนั้นควรจะต้องทำความเข้าใจอย่างไร[37:39] การทำใจให้สงบ บริสุทธิ์ ละจากจินตนาการจากกามารมณ์ ละจากกามที่เห็นจากตาเนื้อ ลดความฟุ้งซ่านจากความกำหนัดในกามารมณ์ ควรจะทำอย่างไร เพื่อให้มองแล้วเกิดความเบื่อหน่ายในกาม หรือคลายความกำหนัดในกาม[41:47] ความคิดจากจินตนาการทางกามารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน จากการมองสตรีเพศคนอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาตนเอง เป็นบาปหรือไม่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.4.201949 Protokoll, 24 Sekunden
Episode Artwork

อุปาทานหรือสมมติ เมื่อยึดถือแล้วมีแต่พลาด

อุปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่นทางจิตใจ ด้วยอำนาจของกิเลส ให้เป็นไปตามอำนาจของตัณหาหรือความพึงพอใจของตน ซึ่งอุปาทานจะก้าวล่วงหรือมีในขันธ์ห้าเท่านั้น สามารถละได้โดยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด Time Index [04:32] ว่าด้วยเรื่องอุปาทาน 4 [17:52] สาระของระบบ ซึ่งต้องบริหารจัดการให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ให้เป็นไปตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อป้องกันไม่ให้มีอกุศลธรรมเกิดขึ้น [20:52] แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ [25:41] การยึดถือว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นของเรา จัดเป็นอัตตวาทุปาทาน [26:15] อัตตา 4 ประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ มีความเป็นสภาวะ เป็นของของเรา เราเป็นสิ่งนั้น และสิ่งนั้นมีในเรา [34:11] หากมีอุปาทานในขณะที่ให้หรือบริจาค ควรวางจิตอย่างไร [38:49] เมื่อพระเวสสันดรยกกัณหาและชาลีให้กับชูชก เกี่ยวข้องกับอุปาทานอย่างไร [41:43] สมมติหรืออุปาทาน ในมุมของชูชก [42:57] การรับสิ่งใดก็ตามจากการให้ เราไม่ควรมีอุปาทานว่าสิ่งที่ได้รับเป็นของเราใช่หรือไม่ [45:29] การเล่นกีฬามวย ถือว่าเป็นการทำร้ายกันหรือเบียดเบียนกัน ในบางครั้งก็มีการพนันบนความเจ็บปวดของนักกีฬาด้วย ตามหลักศาสนาเรามีแนวคิดเพื่อลดเบียดเบียน หรือมองในทางผลดีได้อย่างไร [49:25] ข้ออ้างของคนอยากเสพกาม [51:12] ลิขสิทธิ์การดูหนังจากเว็บไซต์ที่เขานำมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยตนเองหรือสนับสนุนให้คนอื่นละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็นการผิดศีลข้อห้ามลักขโมยใช่หรือไม่ [56:02] อุบาสิกาผู้ออกจากเรือน ถือศีลห้า แต่ยังทำงานเพื่อเลี้ยงชีพได้หรือไม่ เนื่องจากไม่ปรารถนาเป็นภาระของญาติพี่น้อง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
20.4.201958 Protokoll, 51 Sekunden
Episode Artwork

รักษาตนได้เท่ากับรักษาผู้อื่น (6215-7q)

Time Index[08:47] เรื่องการชอบฟังธรรมะ[11:12] เรื่องการมีหนี้[12:52] อบายมุข[13:56] วิธีการพิจารณาให้ยืมเงิน[16:19] การแบ่งจ่ายทรัพย์[18:06] ลูกหนี้หงุดหงิด[20:24] เจ้ากรรมนายเวร[26:07] วิธีการละเวร[28:11] วิธีรักษาตนและผู้อื่น[32:00] ถ้าถูกด่าว่าหรือชม ต้องทำจิตแบบนี้[37:20] ไม่คบคนพาล[42:16] ถามเรื่องหลีกออกจากกาม[46:26] ปลาอยู่ในน้ำต้องว่ายน้ำ[51:56] การไปปฏิบัติให้สัปปายะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.4.201957 Protokoll, 58 Sekunden
Episode Artwork

การปฏิบัติกับจิต (6214-7q)

อย่างไรเรียกว่าส่งจิตออกนอกเมื่อแยกกายแยกจิตแล้วทำอย่างไรต่อบุญบารมีอินทรีย์ไม่แก่กล้า ปฏิบัติแล้วจะไปได้จริงหรือ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6.4.201928 Protokoll, 40 Sekunden
Episode Artwork

สัตว์นรก (6213-7q)

ตายแล้วร่างโดนเผาจะเอาร่างไหนไปเกิด?กรรมไหนไปนรก กรรมไหนหนีนรก?กรรมหนักให้เป็นเบาทำอย่างไร? Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
30.3.201919 Protokoll, 35 Sekunden
Episode Artwork

ป้องกันอกุศลธรรมได้ ด้วยรักษาอินทรีย์สังวร

ปัญหาพ่อ (แม่) ผัวกับลูกสะใภ้ ควรจัดการอย่างไรถึงแม้จะรู้ว่าการพูดตรงไปตรงมา ไม่โกหกทำให้เรื่องราวบานปลายได้ แต่ก็ไม่อยากโกหก จึงควรจะนำธรรมะอะไรมาใช้ให้ใจสงบและสามารถแก้ไขกับปัญหาข้างหน้าได้ถ้าไปรู้เห็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่สมเหตุสมผล เราจะวางจิตตามมรรคแปดอย่างไรควรแบ่งปันข้อมูลข่าวสารการเมืองภายในครอบครัวอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน เราสามารถดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างที่ดีได้ โดยท่านจะทรงตรัสเฉพาะเรื่องที่จริงและมีประโยชน์ เป็นที่น่าพอใจ และถูกตามกาลเทศะ ดังนั้นผู้ถามควรตั้งจิตให้มีความปรารถนาดีต่อกัน มีสติคิดให้รอบคอบ ต้องพูดในลักษณะที่เป็นธรรมเป็นวินัย การพูดจริงและยอมรับในเรื่องที่ปรารภเกี่ยวกับเรื่องของกาม เปิดเผยความชั่วของตนออกมา จะกลายเป็นผลดีมากกว่า การสำรวมระวังอินทรีย์ตลอดเวลาและทุกสถานที่ เพื่อไม่ให้จิตใจตามไปกับผัสสะที่เกิดขึ้นเมื่อมีอายตนะภายนอกมากระทบกับอายตนะภายใน หรือที่เรียกว่า “อินทรียสังวร” ซึ่งทำให้เกิดกำลังขึ้นได้โดยอาศัยสติสัมปชัญญะ ตั้งระลึกไว้ในความดีได้ ให้มีสติเพื่อไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.3.201957 Protokoll, 35 Sekunden
Episode Artwork

อุปาทาน 4 ละด้วย มรรค 8 (6212-3q)

ความคืบคลานของตัณหา ความยึดถือของอุปาทาน มันเนียน ๆ ว่าชั้นทำได้ นั่นชั้นทำ ความเป็นตัวตนจึงเกิดขึ้น จะเข้าใจว่า ไม่ใช่ตัวเราได้ ตอนที่มีสติอยู่ในกาย ควรจะรู้สึกถึงในกายในทุกขณะ โดยเห็นอย่างถูกต้องว่า กายนี้มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่เป็นตัวตน เป็นอนัตตา จะเข้าได้ ตอนที่มีสติเท่านั้นมรรค 8 จะเป็นสังขตธรรม เป็นการปรุงแต่งที่ทำให้การปรุงแต่งนั้นจางคลายไป น้อยลงดับลงไปได้ ทางที่จะออกจากอุปาทาน คือ ความยึดถือนี้ คือ การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8Time Index[08:20] อุปาทาน 4 อย่างและทางออกจากอุปาทาน[09:48] พระสูตร[15:40] ยึด คือ อุปาทานอยู่ในส่วนของสมุทัย ต่างกับ เป็นที่พึ่ง คือ สรณะ ซึ่งอยู่ในส่วนของมรรค[17:33] กามุปาทาน[20:33] ทิฏฐุปาทาน[23:38] สีลัพพตุปาทาน[25:49] อัตตวาทุปาทาน[26:59] ความเห็นที่เป็นมิจฉา คือ ไม่ทำให้เกิดการสลัดออก ปลดแอก ทำกิเลสให้ลดลง[28:36] วิธีละคือความเข้าใจในเรื่องของอริยสัจ 4[30:57] ผลของอุปาทานจะทำให้เกิดเป็นสภาวะ คือ ภพ[33:46] ที่ว่าลงต่ำหรือขึ้นสูง ไม่ต้องรอชาติหน้า สมมุติว่าเราไม่ได้ปฏิบัติตามมรรค 8 ทำชั่วทำผิดทำบาป ด่าคน คิดนึกบ้าบอ ฟุ้งซ่านวุ่นวาย นั่นเหมือนตกนรกทั้งเป็น[36:46] ปิดอบายได้[38:46] ไม่ใช่ตัวตน ควรจะเข้าใจอย่างไร[44:58] สัมมาสติ คือ ระลึกถึงในลักษณะที่ทำให้มิจฉาทิฏฐิ และตัณหาตั้งอยู่ไม่ได้  ไม่เป็นไปในทางกาม พยาบาทและเบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น ต้องประกอบด้วยความเพียรที่ไม่มากเกินไป ไม่หย่อนเกินไป มีสัมมาวาจา ไม่ด่าไม่ว่า ไม่พูดติเตียน พูดโกหก คำหยาบ มีการดำเนินชีวิตอาชีวะที่ดี เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
19.3.201951 Protokoll, 7 Sekunden
Episode Artwork

คุณค่าอยู่หรือตายที่ไม่สูญเปล่า (6211-3q)

การตายเป็นธรรมดาของการเกิด เมื่อมีการเกิดจึงมีการตาย แต่การตายจะดีหรือไม่นั้น ดูที่ว่าเป็นการตายที่สูญเปล่าหรือไม่ คือ มีชีวิตอยู่แล้วมีประโยชน์ มีความเป็นอยู่อย่างดี ซื่อสัตย์ รักษาศีล รักษาวาจา การสละชีวิตเพื่อรักษาคุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และขึ้นอยู่กับจิตที่ตั้งไว้ก่อนตาย ที่ถ้ามีการสั่งสมบุญไว้อย่างดี มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา สร้างบารมีต่าง ๆ แล้ว สามารถระลึกถึงความดีได้ นั้นเป็นการตายที่ไม่สูญเปล่าคุณค่าในชีวิตไม่ได้วัดตามเวลา แต่ดูที่ความไม่ประมาท ที่ความดีที่สร้างสั่งสม การกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปในทางกุศล อันไหนดี อันนั้นมีคุณค่าTime Index[05:23] การบวชสามเณร ให้พิจารณา 3 อย่างคือ 1) ควรบวชเพราะศรัทธาไม่ใช่ถูกบังคับ 2) ครูอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนและ 3) พ่อแม่ทำหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อสมณะตามทิศทั้ง 6[20:03] วัดป่าดอนหายโศกกำหนดให้การบวชภิกษุและสามเณรเป็นเวลาอย่างน้อย  1 พรรษา และมีการจัดปฏิบัติธรรมทุกเดือนครั้งละ 7 วัน[23:15] การทำการุณยฆาตหรือลักษณะอื่น ๆ ไม่จำเป็นจะต้องตกนรกเสมอไปใช่หรือไม่[25:45] ตัวอย่างภิกษุในสมัยพุทธกาล[31:02] การตายที่ดีหรือไม่ดี ไม่สูญเปล่าหรือสูญเปล่า[41:58] วันหนึ่งคืนหนึ่งที่ไม่ประมาท ถ้าทำความดี ตายตอนไหนไม่มีปัญหา[46:51] คุณค่าในชีวิต ไม่ว่าจะรูปแบบที่จะให้ชีวิตจบลงหรือเหลือต่อ ถ้าเห็นคุณค่าความดีในชีวิต อยู่กี่ปีก็ได้ตามเหตุตามปัจจัย ถ้าไม่เห็นคุณค่าในชีวิต มีอยู่ก็เหมือนไม่มี เหมือนคนที่ตายไปแล้ว[49:42] สามารถเผยแพร่ “ธรรมะรับอรุณ” จากเว๊บไซต์หรือเฟสบุ๊คผ่านทางสื่อต่าง ๆ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12.3.201953 Protokoll, 55 Sekunden
Episode Artwork

ขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยธรรมะ (6210-7q)

หลักคุณธรรมต่างๆที่หัวหน้ากับลูกน้อง ควรปฏิบัติต่อกันควรวางใจตนเองอย่างไร เมื่อพบปัญหาในการทำงานหรือมีลูกน้องลาออกด้วยเหตุผลต่าง ๆพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนถึงหลักคุณธรรมต่าง ๆ ที่หัวหน้าและลูกน้องควรปฏิบัติต่อกัน ทั้งนี้ยังหมายรวมถึง ลูกจ้างกับนายจ้าง ผู้ที่เป็นบริวารที่คอยรับใช้หรือทำกิจให้เรา รวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชาของเราด้วยเช่นกัน ดังนั้นบุคคลเหล่านี้ จึงถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ด้านล่างภายใต้การปกครองหรือการบังคับบัญชาของเรา ซึ่งคุณธรรมเหล่านั้นประกอบด้วยหน้าที่ของทิศเบื้องล่าง หรือ “เหฏฐิมทิส”, สาราณียธรรม 6, พรหมวิหาร 4, สังคหวัตถุ 4, ฆราวาสธรรม 4, อิทธิบาทสี่หลักคุณธรรมทั้ง 6 ข้างต้นที่ใช้เป็นแนวทางในการที่หัวหน้ากับลูกน้องควรปฏิบัติต่อกัน หากการทำความดีใด ๆ แล้วได้ผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็ไม่ควรเสียใจ เพราะความเสียใจทำให้สมาธิตั้งอยู่ไม่ได้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ ความเพียรย่อหย่อน แต่ต้องแก้ไขโดยการเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นำเอาหลักของอิทธิบาท 4 มาปรับปรุงสถานการณ์ แก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาให้การทำงานดียิ่ง ๆ ขึ้นไป หากเราทำความดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขึ้นลงหรือหวั่นไหวกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9.3.201954 Protokoll, 24 Sekunden
Episode Artwork

อุบายแหวกม่านโมหะ (6209-7q)

พระพุทธเจ้าทรงแนะแนวทางแก่พระจูฬปันถก เกี่ยวกับอุบายแหวกม่านโมหะมีรายละเอียดอย่างไรพระพุทธเจ้าทรงแนะแนวทางแก่พระจูฬปันถก โดยให้ลูบผ้าผืนหนึ่ง พร้อมทั้งบริกรรมว่า “รโชหรณํ รโชหรณํ” เมื่อท่านลูบผ้าผืนนั้นอยู่และเห็นว่าผ้าผืนนั้นได้เปื้อนเหงื่อและฝุ่นจนสกปรกมากขึ้น ซึ่งถือเป็นนิมิตเครื่องหมายเพื่อทำความเข้าใจอิทธิวิธีต่าง ๆ และเกิดปัญญาญาณขึ้น รู้แจ้งแทงตลอดถึงความไม่เที่ยง ความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรยึดถือเอาไว้ ควรปล่อยวางเสีย จนสามารถละกิเลส สังโยชน์เครื่องร้อยรัดต่าง ๆ ลงได้ และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุดซึ่งแนวทางดังกล่าวข้างต้นมีพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ที่มีปัญญาญาณหยั่งรู้อัธยาศัย อุปนิสัย อินทรีย์แก่อ่อน และเครื่องข้องแห่งเวไนยสัตว์ หรือที่เราเรียกว่า “อาสยานุสยญาณ” พร้อมทั้งทรงบอกถึงวิธีแก้ไขเพื่อให้สัตว์โลกนั้นเกิดปัญญาญาณขึ้น โดยปฏิบัติกรรมฐานเพื่อให้เกิดฐานที่ตั้งแห่งจิต Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2.3.201951 Protokoll, 32 Sekunden
Episode Artwork

ตั้งมั่นในความดี (6209-3q)

คำถามจากทางบ้านทั้งหมด 8 ข้อถ้าได้ตั้งจิตอธิษฐานบวชใจกับพระพุทธรูปที่บ้าน และได้ทำผิดศีลข้อ 3 จึงมีความสงสัยว่า ตัวเองปาราชิก ซึ่งปาราชิกไม่เกิดขึ้นกับฆราวาส มีแต่กับพระสงฆ์เท่านั้นใช่หรือไม่ถ้าปาราชิกแล้ว ทั้งฆราวาสและพระต้องตกนรกเหมือนกันหมดใช่หรือไม่ถ้าฆราวาสต้องอาบัติปาราชิกแล้ว จะมีโอกาสแก้ตัวได้หรือไม่ หรือต้องตกนรกใช้กรรม แล้วจึงค่อยมาแก้ตัวในชาติหน้าหรือชาตินี้ จะต้องทำอย่างไรเมื่อผิดศีลข้อ 3 ทำไมจึงไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ดีเหมือนเดิมถ้าปฏิบัติธรรมชาตินี้ไม่ได้ จะขอรักษาศีลอย่างเดียว จะตกนรกหรือไม่ระหว่างพรหมกับโสดาบัน ใครมีคุณธรรมสูงกว่ากันในสมัยพุทธกาล มีผู้ที่ถูกแผ่นดินสูบทั้งหมดกี่คนขอคาถาในการไล่มดและปลวกที่บ้าน เพราะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.2.201951 Protokoll, 49 Sekunden
Episode Artwork

ศีลอันเป็นไปเพื่อสมาธิ (6208-7q)

เคยนั่งสมาธิได้ 2 ชั่วโมงแต่ตอนนี้ทำไม่ได้ รู้สึกปวดหัวเมื่อทำได้เพียงแค่ 5 นาที ควรทำอย่างไรประโยชน์และเหตุผลของการรู้ประมาณในการบริโภค ข้อ “โภชเนมัตตัญญุตา” ตามแนวทางของพระพุทธองค์เพื่อความเข้าใจง่ายและสามารถปฏิบัติได้จริงคือ ควรตั้งสติให้ดี สร้างเหตุปัจจัยให้ถูกต้องโดยการระลึกถึงอนุสสติ 10 อย่าให้เกิดความอยากจนกลายเป็นนิวรณ์ อย่าให้มีกามฉันทะ แต่ให้รู้ประมาณในการบริโภค การประกอบตนอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น การคบกัลยาณมิตร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้อุปกิเลสทั้ง 11 อย่างค่อย ๆ ถูกกำจัดออกไปจนหมดได้ และทำให้สมาธิเราดีขึ้นได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.2.20195 Protokoll, 9 Sekunden
Episode Artwork

ต้องสุดจบที่นิพพาน (6207-7q)

การที่เห็นสภาวะกาย จิต อารมณ์ มันแยก ๆ ออกจากกันนี้จนไม่เห็นตัวที่เชื่อมต่อกัน เห็นมันเป็นอิสระจากกัน บางครั้งก็จะเห็นอารมณ์แยกไปจากจิต ไม่เห็นจิตมีเจ้าของมีแต่อาการ ต้องการขอคำชี้แนะเพิ่มเติมในการปฏิบัติพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนโดยเปรียบเทียบกายกับจิตของเรา ที่ต้องปฏิบัติภาวนาให้แยกกัน ให้พ้นจากกันให้ได้ เหมือนกับมือที่โบกไปในอากาศ หรือพระจันทร์บนท้องฟ้ากับพระจันทร์ที่สะท้อนในผิวน้ำ โดยสามารถสรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้อินทรีย์มีช่องทางคือใจเป็นที่แล่นไปสู่ใจมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ เพื่อให้สติรักษาจิต ทำให้ใจไม่หวั่นไหวและไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจความพอใจหรือความไม่พอใจนั้น ๆ แต่ก็อาจจะทำให้เศร้าหมองไปบ้างตามอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เห็นผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เพราะมีกิเลสเกิดขึ้นที่จิตแล้วสติมีวิมุตติิ (ความพ้น) เป็นที่แล่นไปสู่ เห็นสภาวะกาย จิต อารมณ์ แยกออกจากกันหรือเป็นอิสระจากกัน เช่น ผู้ที่เข้าไปรับรู้ความคิดกับความคิดเป็นคนละส่วนกัน หรือผู้ที่เข้าไปรับรู้ความเจ็บในกายกับความเจ็บในกายก็เป็นคนละส่วนกัน เป็นต้นวิมุตตินำไปสู่นิพพานได้ โดยการฝึกจิตเพิ่มเติม ฝึกตั้งสติ ทำซ้ำ ๆ ทำย้ำ ๆ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ฝึกให้ชำนาญ ให้มีความละเอียดและรอบคอบมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้กิเลสกลับกำเริบ เนื่องด้วยเมื่อจิตมีสมาธิ จิตเป็นอารมณ์อันเดียวอยู่ กิเลสและนิวรณ์จะเกิดขึ้นไม่ได้ อุปกิเลสจะหายไป แต่รากหรืออวิชชายังอยู่ โดยที่เราไม่เห็นตัวมัน ไม่รับรู้อาการของมันดังนั้นต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่างสมถะ (จิตเป็นอารมณ์อันเดียว) และวิปัสสนา (เห็นตามความเป็นจริง) มองเห็นทุกข์เป็นของไม่เที่ยง มองเห็นความเป็นอนัตตา สามารถปล่อยวางความยึดถือในจิตนั้นว่าเป็นตัวเรา ของเราลงได้ด้วยกำลังของสมาธิ จนเกิดความนิ่งและทำให้กายกับความคิดแยกออกจากกัน จนทำให้ความมีอยู่เป็นอยู่ของจิตดับลงเป็นความดับเย็นที่เรียกว่า ”นิพพาน” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
16.2.20194 Protokoll, 39 Sekunden
Episode Artwork

ปฏิปทาอันเป็นที่สบายแก่การบรรลุพระนิพพาน

“จูฬราหุโลวาทสูตร (๑๔๗)” เป็นการถามตอบระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระราหุลในเรื่อง ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนันตา) ใช่หรือไม่การบรรลุธรรมของพระราหุลเกิดจากการเปลี่ยนสัญญาเป็นญาณ ใช่หรือไม่หากผู้ที่รู้เรื่องไตรลักษณ์ในระดับสัญญา นำสัญญาเรื่องไตรลักษณ์มาทบทวนด้วยตนเอง ควรทำหรือไม่สัญญาที่ไม่ถูกต้องหรือบิดเบือน หากนำมาเพ่ง (ฌาน) จะเกิดญาณหรือไม่ ถ้าเกิดญาณจะเป็นญาณแบบไหนสิกขาบทที่ว่า “อนึ่งภิกษุใด รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์” ต่างจากการละเมิดศีลข้อที่ 2 อย่างไร “จูฬราหุโลวาทสูตร (๑๔๗)” เป็นพระสูตรที่เป็นการติวเข้มของพระพุทธเจ้าต่อพระราหุลในเรื่อง ไตรลักษณ์ หรือ “อนิจจัง ทุกขัง อนันตา” ถือเป็นสุดยอดของคำสอนที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใครมี เป็นปฏิปทาอันเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นการเห็นขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) อายตนะภายใน (หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ) และอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์) เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของไม่เที่ยง ซึ่งการเห็นนี้เกิดจากสัมมาทิฐิซึ่งถือเป็นความรู้หรือญาณ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9.2.201953 Protokoll, 6 Sekunden
Episode Artwork

ปัญหาที่เข้าใจได้ไม่ยากด้วยปัญญา (6205-7q)

ปัญหาที่เข้าใจยากทั้ง 7 ประการเหล่านี้ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใช่หรือไม่ อย่างไรโดยสรุปแล้ว เมื่อเราได้รับฟังหรือการส่งต่อข้อความใด ๆ มาก็ดี ให้เราทำใจและวางตน ดังนี้อย่าเพิ่งคัดค้านหรือลงใจเชื่อ แต่ให้จำข้อความเหล่านั้นไว้ให้ดีแล้วนำไปตรวจสอบโดยการเทียบเคียงกับพระสูตรหรือพระวินัย แล้วดูว่าสอดคล้อง ลงรับกันได้หรือไม่ เพราะ หากเราแสดงในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้หรือแสดงเอาไว้ โดยที่ท่านมิได้แสดงไว้เลย จะเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก จะเป็นไปเพื่อความเดือดร้อน เพื่อความเข้าใจผิด เพื่อผิดเพี้ยนบิดเบือนไป และไม่ควรส่งต่อไปยังผู้อื่นอย่างแน่นอนอย่าวางจิตพยาบาท เบียดเบียน ไม่พอใจในผู้ที่ส่งต่อข้อความมาให้มีความคิดรอบคอบ พิจารณาข้อความทั้งในเชิงของอรรถะและพยัญชนะ แนวคิดทั้งเบื้อต้นเบื้องปลาย แล้วจึงตัดสินใจว่าควรส่งต่อให้กับผู้อื่นอีกหรือไม่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2.2.201958 Protokoll, 22 Sekunden
Episode Artwork

ปุพพนิมิตแห่งโสดาบันเพื่อละซึ่งสักกายทิฐิ

สักกายทิฏฐิ 20 เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 อย่างไรคำอธิบายโดยรายละเอียดเกี่ยวกับ "ขั้นตอนปฏิบัติธรรมเพื่อละสักกายทิฏฐิ"ความหมายของ “ปุพพนิมิตแห่งพระโสดาบัน” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.1.201956 Protokoll, 32 Sekunden
Episode Artwork

จิตหลุดพ้นจากอาสวะ (6204-3q)

จิตของเราเปรียบเหมือนดวงไฟ โดยมีขันธ์ 5 และตัณหาเป็นเชื้อเพลิง ตัณหาไม่ได้จะไปยึดถือในอะไรอีก นอกจากในขันธ์ 5 เท่านั้น…ตัณหาเพราะมี จึงมีอุปาทานคือความยึดถือ ที่มันก้าวลงไปในขันธ์ 5 มันจึงเป็นภพ จึงเป็นชาติขึ้นมา ถ้าเมื่อไหร่ เราละความยึดถือคืออุปาทาน ด้วยปัญญาแล้ว ขันธ์ 5 ก็เป็นของมันอย่างนั้น แล้วดวงไฟก็ไม่มี จิตก็ดับไปเรารู้สึกว่า จิตนี้มันมีอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เป็นภาพลวงตา การที่เข้าใจว่า จิตเป็นตัวตน เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา เพราะมันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอย่างอื่น สิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น จะเกิดได้ก็ต้องมีเหตุ จะดับได้เหตุก็ต้องดับ ลักษณะนี้เขาเรียกว่า ความเป็นอนัตตาที่เราไปคิดนึกว่า เป็นของเรา เพราะบางทีที่มันขยับได้ตามที่เราคิด..เราจึงไปมีความยึดถือคืออุปาทาน นั่นจึงเป็นปัญหาแล้วถามว่าจะทำยังไง?…ต้องตัดตรงอุปาทาน พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในขันธ์ 5  มันจะมีความหน่าย คลายกำหนัด ละ วาง ความยึดถือหรืออุปาทานได้ จิตจะดับไป เหมือนเปลวไฟที่หมดเชื้อดับไป ความร้อนไม่มี มันจะเย็น ความดับนั้นคือนิโรธ ความเย็นนั้นคือนิพพาน เราก็จะหลุดพ้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
22.1.201953 Protokoll, 18 Sekunden
Episode Artwork

จิตต้องหลุดพ้นจากอวิชชา เพื่อเป็นผู้ไกลจากกิเลส

เมื่อมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว การกระทำที่ต่างกันในสถานการณ์ที่ต่างกัน จะเป็นบาปมากหรือน้อย แตกต่างกันหรือไม่อย่างไรทำความเข้าใจอย่างละเอียดจากพุทธพจน์ “ภิกษุ ท. ! จิตนี้ เป็นธรรมชาติประภัสสร แต่จิตนั้นแล เข้าถึงความเศร้าหมองแล้ว เพราะอุปกิเลสอันเป็นอาคันตุกะจรมา….”ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย องค์ประกอบ และลักษณะของ “ปฎิจจสมุปบาท” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
19.1.201957 Protokoll, 33 Sekunden
Episode Artwork

ไม่มีเราในความเป็นอนัตตา (6203-3q)

พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบกิเลสว่าคือ “มารผู้ล้างผลาญความดี” ทำให้ความดีของเราไปต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้นให้มีความมั่นใจลงใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะสามารถก้าวต่อไปทำความดีต่อไปได้เพราะเหตุใดเราต้องพิจารณาความไม่เที่ยง ให้เห็นว่าไม่เป็นเรา – ของเรา แล้วการพิจารณาแบบนี้มีความเกี่ยวโยง กันอย่างไร แล้วต้องพิจารณาแยกแยะจนไปสุดที่ตรงไหน?อนัตตา คือ คุณสมบัติของสิ่งต่างิๆ ที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น โดยไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง มันจึงมีความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ ฉะนั้นเราไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเราของเราพระพุทธเจ้าตรัสว่า ความอยากเป็นทุกข์ เพราะมีความอยากเป็นการยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา การมีตัวเราของเราก็เพราะอุปาทาน … ซึ่งอุปทานเกิดในขันธ์ 5 เท่านั้นจิตที่มีราคะ โทสะ โมหะ คือ อาการที่ขันธ์ 5 เขากระทำต่อกันเรียบร้อยแล้ว ผลออกมาเป็นราคะ โทสะ โมหะใช่หรือไม่ ? แล้วขันธ์แต่ละตัวมีราคะ โทสะ โมหะได้หรือไม่?จิตที่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย หมายถึงจิตที่ปล่อยวางจากอุปทานขันธ์ทั้ง 5 ใช่หรือไม่?พระพุทธเจ้าบอกว่า ความอยากเป็นเหตุของความทุกข์ เพราะพอมีความอยากจึงมีความยึดถือว่านี่เป็นตัวเราของเรา ความที่ว่าเป็นตัวเราของเรา เป็นผลของความยึดถือคืออุปาทาน ที่มีเหตุมาจากตัณหา เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทาน จึงมีความรู้สึกเป็นตัวเราของเราขึ้นมา นั่นคือ สภาวะที่เป็นภพ “เอตังมะมะ เอโสหะมัสมิ เอโสเมอัตตา”  ที่เรารู้สึกว่า นี่คือกายของเรา เพราะเรามีความยึดถือเข้าไปแล้ว” แต่ความรู้สึกในกายเป็นคนละแบบเหล่าพระอรหันต์จะเห็นกายโดยความที่เป็นอนัตตา โดยความที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย โดยความที่ไม่มีความยึดถือ ขยับเขยื้อนตามนั้น รับรู้ได้ธรรมดา เป็นสมมุติโลก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
15.1.201953 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

ธรรมะพระพุทธเจ้าชนะทุกสิ่ง (6202-7q)

คำถามจากทางบ้าน  8 ข้อแนวทางแก้ไข เมื่อมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัวทวีป “อุตตรกุรุทวีป” จะใช้แสงสว่างจากแก้วมณีอย่างเดียว เพราะพระอาทิตย์ส่องไปไม่ถึงใช่หรือไม่ อย่างไรมนุษย์ในชมพูทวีป หมายถึงมนุษย์ที่อยู่ในโลกนี้ใช่หรือไม่พระปัจเจกพระพุทธเจ้าแตกต่างกับพระพุทธเจ้าอย่างไรควรใช้ธรรมะใด เมื่อบุตรธิดาติดมือถือ มีอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่ฟัง และทำให้มีการโต้เถียงกันแนวทางแก้ไขเพื่อไม่ให้อกุศลธรรมเจริญ เมื่อมีเหตุให้เสื่อมศรัทธาในบุคคลใดบุคคลหนึ่งขยายความเพิ่มเติมสำหรับข้อความในพระสูตรที่ว่า “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?” จาก “ความไม่เที่ยง” แล้วโยงมา “ไม่เป็นเรา” สามารถเชื่อมโยงมาหรือเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรทำความเข้าใจในเชิงรูปธรรมเพื่อหาที่สุดจบจาก “ทุกอย่างไม่ใช่ตัวตน ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12.1.201959 Protokoll, 12 Sekunden
Episode Artwork

ภัยทั้งหลายเกิดแต่จิต (6201-7q)

คำถามจากทางบ้าน 7 ข้อความแตกต่างระหว่าง โทสะ กับ โมหะทำความเข้าใจโดยละเอียดเกี่ยวกับ “พิจารณากายในกาย จิตในจิต และเวทนาในเวทนา”ผู้ที่ถือศีลแปด สามารถยืนดื่มน้ำได้หรือไม่ในศีลข้อที่ 5 ที่ว่าเว้นจากของมึนเมา สามารถดื่ม SPY ได้หรือไม่ทำความเข้าใจโดยละเอียดของคำว่า “ภัยทั้งหลายเกิดแต่จิต” และข้อความในพระสูตรที่ว่า “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?”สงสัยประโยคที่ว่า “ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา” อันนี้แปลถูกต้องดีงามแล้วหรือยัง ถ้าสมมุติจะแปลว่า “ควรหรือ จะถือเอา/จะอยากได้ สิ่งนั้นมาเป็นของเรา” พอจะได้หรือไม่ คือถ้าแปลแบบแรกยังไม่เข้าใจว่า มันเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรจาก “สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ แล้วก็จะเข้าใจว่ามันไม่ใช่ของเรา” แต่ถ้าแปลแบบว่า “สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วก็ไม่ควรเอาสิ่งนั้นมาเป็นของเรา” อันนี้ดูจะเข้าใจง่ายกว่า และจะไม่อยากได้สิ่งนั้นๆได้ง่ายกว่าในวันที่โลกสมมุติให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ อามิสเป็นขั้นแรกของศรัทธาในพุทธศาสนา แต่ศรัทธาก็ต้องคู่กับปัญญา ถูกต้องหรือไม่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5.1.201957 Protokoll, 32 Sekunden
Episode Artwork

อานาปานสติ…เจริญให้มากทำให้มาก จึงมีผลและอานิสงส์มาก

หากสติรับรู้ถึงลมหายใจ จิตก็จะอยู่ที่ลมหายใจเช่นกัน ทำให้ลมหายใจมีพลัง นั่นหมายถึงว่า อานาปานสติจะมีพลัง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สติจะมีพลังมากขึ้นตามกระบวนการของอานาปานสติ ทั้งนี้เราควรจะปฏิบัติด้วยการปรารภความเพียรที่เหมาะสม ไม่หนักหรือย่อหย่อนเกินไป จะทำให้การทำสมาธินั้นไม่สำเร็จอาจจะเกิดอาการปวดศรีษะ ปวดหว่างคิ้ว หรือเผลอหลงลืมสติได้ อุปสรรคหนึ่งที่ทำให้สติไม่มีกำลังคือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการระลึกถึงลมหายใจอยู่บ่อย ๆ แล้วจะทำให้สติมีกำลังมากขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ถือเป็นทักษะที่สามารถฝึกทำให้มีและดีขึ้นได้ ควรฝึกปฏิบัติซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ ด้วยความแยบคาย รู้จักสังเกต เพ่งดูให้ดี ค่อย ๆ ปรับให้ถูกต้อง อย่าล้มเลิกกลางครัน จนทำให้ความรู้สึกทางกาย การรับรู้ทางใจ หรือความคิดระงับลง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
28.12.201859 Protokoll, 43 Sekunden
Episode Artwork

สำเร็จได้ตามควรแก่ฐานะ ด้วยการปฏิบัติตามมรรคแปด (6152-3q)

เหตุแห่งการให้มีอายุยืน คือ การไม่ฆ่าสัตว์ ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ซึ่งแตกต่างจากการที่จะทำให้มีสุขภาพดี ซึ่งสุขภาพดีมีเหตุมาจากการไม่เบียดเบียนสัตว์ และความมีเมตตา กรุณา หวังความเจริญในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย จะเป็นเหตุให้มีทั้งอายุยืนและสุขภาพดี โดยถ้าเกิดในชาติใหม่ ภพใหม่ ก็จะทำให้มีอายุยืน ดังนั้น ถ้าเราอยากที่จะมีอายุยืน ก็ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่ปรากฏในอนายุสสสูตร ซึ่งเมื่อรวมสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 ก็จะรวมเป็น 7 ข้อ ถ้าเราปล่อยวางให้จิตใจมีความเย็น มีความวางเฉย ก็จะเป็นเหตุให้อายุยืน นอกจากนี้ พระพุทธเจ้ายังตรัสไว้ในเรื่องของศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ทั้งหมดนี้ จะมารวมลงสอดคล้องกันอยู่ในมรรคแปด ซึ่งถ้าเราปฏิบัติตามมรรคแปดได้อย่างดี อะไรก็สำเร็จได้ คำว่าสำเร็จได้คือโดยควรแก่ฐานะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
25.12.201845 Protokoll, 22 Sekunden
Episode Artwork

รายการ ธรรมะรับอรุณ Live วันที่ 23 ธ.ค.2561 (6151-7q)

เสียงบันทึก รายการ “ธรรมะรับอรุณ Live ” ในช่วงสากัจฉาธรรม  เป็นการถ่ายทอดสด จากทางห้องส่ง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย คุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์มหาไพบูลย์ อภิปุณโณ วันที่ 23 ธ.ค.2561 เวลา 5:00 - 6:00 น.ประเด็นคำถามนั้น ก็ตามใจท่านผู้ฟังที่โทรศัพท์ถามกันเข้ามาในรายการ -ถามตอบกันสด ๆ ณ ที่นั้นเลย- Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
22.12.201859 Protokoll, 2 Sekunden
Episode Artwork

รายการ ธรรมะรับอรุณ Live วันที่ 22 ธ.ค.2561 (6151-6q)

เสียงบันทึก รายการ “ธรรมะรับอรุณ Live ” ในช่วงสากัจฉาธรรม  เป็นการถ่ายทอดสด จากทางห้องส่ง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย คุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์มหาไพบูลย์ อภิปุณโณ วันที่ 22 ธ.ค.2561 เวลา 5:00 - 6:00 น.ประเด็นคำถามนั้น ก็ตามใจท่านผู้ฟังที่โทรศัพท์ถามกันเข้ามาในรายการ -ถามตอบกันสด ๆ ณ ที่นั้นเลย- Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
21.12.201857 Protokoll, 47 Sekunden
Episode Artwork

เมล็ดพันธุ์แห่งกุศลธรรม (6151-3q)

เมล็ดพันธ์พืชที่ยังดี ไม่เน่าไม่ถูกแดดเผา ในต้นฤดูหนาวยังปลูกไม่ได้ ไม่มีน้ำไม่มีแดด ต้องเก็บไว้อย่างดี เมื่อปลูกลงไปในดิน เกิดเป็นต้นขึ้นมาได้ ความดีที่มีแม้น้อย เปรียบเหมือนกับเมล็ด ภายหลังต่อมาความดีไม่เสื่อมไป กุศลมูลยังไม่ขาดราก กุศลอื่น ๆ ก็ปรากฏขึ้นมาได้ เพราะปลูกลงไปในดินที่ดี เพราะว่าเมล็ดนั้นยังเป็นเมล็ดที่ดีคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเหมือนกับศาสดา เป็นผู้สอนที่ยังคอยบอกคอยขนาบ กล่าวชี้แล้วชี้โทษอีก ให้มีความละอายต่อบาป กลัวต่อบาปเป็นหิริโอตตัปปะ เป็นอริยทรัพย์ เราจะมีความเจริญได้แน่นอน เรามีเมล็ดพันธ์แห่งกุศลธรรมดีอยู่ มีกายมีใจให้เป็นเหมือนกับดินที่ดี กุศลธรรมในจิตใจของเราจะเจริญขึ้นได้แน่นอนTime index[09.51] การนำอาหารที่เหลือแล้วของพระสงฆ์กลับบ้าน ถ้าอนุญาตแล้ว ไม่บาปไม่ตกนรก แต่ถ้าคนอื่นเห็นแล้วคิดไม่ดี จะเป็นบาปเป็นอกุศลกับคน ๆ นั้น แต่ถ้านำของสงฆ์หรือครุภัณฑ์อื่น ๆ ไปจะเป็นบาปเป็นเปรต[26.59] สภาวะธรรม “ทัพพีที่ไม่รู้รสแกง” ฟังธรรม สวดมนต์และปฏิบัติธรรม จำไม่ได้ทำไม่ได้นั้น เกิดจากสมาธิเคลื่อน/เสื่อม ซึ่งมีเหตุอยู่ 11 อย่างเ ราต้องมีความฉลาดในธรรมอันเป็นที่โคจรของสมาธิ ๆ ไม่ใช่ได้ด้วยการห้ามการปรุงแต่ง แต่เป็นของสงบระงับประณีต การที่รู้ แสดงว่าดีมีสติแล้ว วิธีแก้ คือ ใคร่ครวญว่าที่ทำมาอาศัยเหตุปัจจัยอะไร พิจารณาให้มาก ๆ จะสามารถทำให้เกิดความละเอียดในการทำการปฏิบัติมากยิ่งขึ้นได้[34.05] พระอานนท์เป็นเอตทัคคะในทางพหูสูต แต่ไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วนั้น เราจะดูเพียงผิวเผินไม่ได้ แต่ต้องดูตามนัยยะของอริยสัจ 4 เหตุที่ทำให้คนไปถึงนิพพานได้ เพราะละตัณหาได้ ถ้ายังละตัณหาไม่ได้ ต้องติดยึดในข้อใดข้อหนึ่ง คนที่ละตัณหาได้แล้ว เขาปฏิบัติตามมรรคแปดได้อย่างดี จึงต้องมีการบ่มอินทรีย์ให้มีความพร้อม[39.01] ในวาระสุดท้ายของพระเทวทัต ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่เมตตาออกไปพบ เพื่อท่านจะได้ไม่ต้องถูกธรณีสูบ[40.13] การถูกธรณีสูบ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าสั่ง แต่เป็นผลของกรรมที่ทำเอง เป็นกรรมที่หนักมากจนแผ่นดินรองรับไว้ไม่ไหว แผ่นดินเปิดออกตกลงไปในนรก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
18.12.201852 Protokoll, 34 Sekunden
Episode Artwork

หน้าที่ของมารดาบิดา และบุตร (6150-3q)

หน้าที่ทั้งของมารดาบิดา และบุตรธิดา ถ้าเราทำหน้าที่ที่ไม่ถูกต้อง ทิศนั้นจะเป็นภัย คือ ทำให้เกิดความกลุ้มใจ ไม่สบายใจเวลาอันควร มีอยู่หลายจุด เรียนจบ แต่งงาน มีหลาน เริ่มธุรกิจใหม่ เราสามารถเอาเวลาเหล่านี้เป็นเวลาที่เหมาะสมได้ทั้งสิ้นประเด็นคือ เราต้องรู้จักที่จะปล่อยวางให้ได้ ถ้าเราปล่อยวางไม่ได้ อันนี้จะพลาดอย่างมาก เราจะติดยึด ยึดถือ ทุกข์ไม่ใช่แค่ตอนนี้ ทุกข์ยังจะก่อนตายอีก ยังทุกข์ต่อไปหลังตายไปอีก ยิ่งทุกข์หนักเพราะถ้าไปเกิดในเดรัจฉานหรือในภาวะที่ยังมีความมึนงง มีความเป็นห่วงอยู่ มันจะไม่สบายมาก ๆ ชื่อว่า เกิดมานี่ ขาดทุนเลยลูกคนไหนที่เขามีคุณสมบัติของความเป็นผู้ที่รักษาทิศได้ดี เช่น ดำรงวงศ์สกุล รู้จักปฏิบัติตนเป็นทายาท ทำการงานได้พอดีพองาม ก็แบ่งทรัพย์สินให้เขา และมีทรัพย์สินอีกส่วนที่ต้องให้ทานของเรา และอย่าไปกังวลมาก ให้รู้จักปล่อยวางบ้าง ทำกิจที่จะให้เกิดปัญญา ฝึกฝนมากขึ้น มีจาคะ มีศีล มีปัญญามากขึ้น นี้เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11.12.201851 Protokoll, 26 Sekunden
Episode Artwork

ทำสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา (6149-3q)

สมาธิคือความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว โดยอธิบายมาเฉพาะถึงสัมมาสมาธิ ที่ปราศจากกาม อกุศลธรรมทั้งหลาย หรือมีอุปกิเลสระงับลง ซึ่งมิ จฉาสมาธิเกิดจากมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสมาธิมีอารมณ์อันเดียว เพื่อให้กิจการงานนั้นๆ สำเร็จได้ ซึ่งถูกห่อหุ้มอยู่ด้วยมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจะมีโมหะ อวิชชาอยู่เต็มที่ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนว่ามีศีล แต่ก็ด้วยสีลัพพตปรามาส จึงไม่เป็นไปตามทางมรรคคนที่มีสมาธิจะมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง ทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ จะแตกต่างกันที่มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ สมาธินั้นมันจะสำเร็จประโยชน์ในตัวของมันเอง นั่นหมายถึงความที่จิตมีอารมณ์อันเดียว จะไม่มีความร้อน ความหิว ความมืด ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ที่จะมาทำให้จิตไม่เป็นอารมณ์อันเดียว จิตจะเข้ากันอยู่ แต่นำไปใช้ไม่ถูกด้วยมิจฉาทิฏฐิ จึงทำให้สมาธินั่นเป็นมิจฉาสมาธิ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4.12.201858 Protokoll, 25 Sekunden
Episode Artwork

ธรรมะเป็นทักษะ ยิ่งฝึกทำ ยิ่งเจริญ (6148-3q)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ที่ไหนก็ตามในโลกนี้ ยังมีอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย” ซึ่งหมายถึงอนาคามี สกิทาคามีและโสดาบันด้วย ต้องมีการบรรลุธรรมไม่ขั้นใดก็ขั้นหนึ่ง ถ้ายังมีอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิเพราะฉะนั้น ให้เรามีความมั่นใจ ลงใจ เชื่อใจในคำสอนว่า คำสอนนี้คนทำแล้ว เขาได้จริง ๆ นั่นคือพุทโธ แต่ไม่ใช่ว่าคนทำได้จริง ๆ คือพุทโธคนเดียวเท่านั้น แต่คนอื่นเขาก็ทำได้ถ้าปฏิบัติตามคำสอนจริง ๆ นั่นคือสังโฆ เมื่อมีเรามีความมั่นใจในพุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วจะดีมาก จะสามารถที่จะทำให้มีการทำจริง แน่วแน่จริง คนที่มีศรัทธา จะทำให้เกิดการทำจริง นั่นคือวิริยะ ไม่เป็นสีลัพพตปรามาสเมื่อทำจริงแน่วแน่จริง สติจะเกิดขึ้นได้ สติคือความระลึกได้ ตั้งสติได้ สติมีมากเพียงพอที่จะรักษาจิตให้เป็นสมาธิได้ จิตที่เป็นสมาธิแล้ว จะสามารถเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริงได้ นั่นคืออินทรีย์ 5 พละ 5 เป็นกำลังของเสขะ เป็นกำลังของคนที่ต้องศึกษาอยู่ มีกำลังอย่างนี้ เป็นธรรมะที่ทำให้เกิดการตรัสรู้ นั่นคือโพธิปักขิยธรรม 37 อย่างด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
27.11.201856 Protokoll, 40 Sekunden
Episode Artwork

เกิด แก่ ตาย เป็นธรรมดา (6147-3q)

คนเรามันตายได้หมด ได้ทุกเวลาได้ทุกสถานที่ ความตายเป็นธรรมดา ความเกิดก็เป็นธรรมดา ความแก่ก็เป็นธรรมดา ธรรมดาที่เกิดขึ้นมาแล้ว อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้นพอเรารู้ว่า ไม่ใช่ชั้นคนเดียวที่มี คนอื่นก็มี ถ้าเผื่อชั้นคนเดียวที่โดน สูญเสียไป แล้วจะค่อยมาทุกข์ ก็สมเหตุสมผลอยู่ภัยจากความเจ็บ ภัยจากความแก่ ภัยจากความตาย ช่วยกันและกันไม่ได้..เป็นภัยที่พระพุทธเจ้าเตือนไว้แล้วว่า ถ้ามาถึงแล้วยังไม่ได้มีที่พึ่งที่แท้จริงที่ถูกต้อง จะต้องร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุบอกชกตัว งุนงง คลั่งเพ้อ แน่นอน คนดีก็โดนคนชั่วก็โดน ปุถุชนก็โดน อริยสาวกก็โดน พระพุทธเจ้าก็เป็น ท่านก็เจอทั้งความเจ็บ ความแก่ ความตายแต่อริยทรัพย์ของเรา อริยทรัพย์คือศีล ศรัทธา ความไม่ร้อนใจ พวกนี้เรามีอยู่แล้ว..คนเรามันก็เป็นแบบนี้แหละ ตกใจเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือคาดคิดมาก่อนแต่มันกะทันหัน ตกใจลืมไป พอลืมไปแล้วทำไง ก็ต้องเตือนสติกัน เตือนว่าพระพุทธเจ้ายังมีอยู่นะ มีพุทโธอยู่ ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม ระลึกถึงพระสงฆ์ ระลึกถึงศีล ระลึกถึง 4 อย่างนี้ คือโสดาปัตติยังคะ 4 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
20.11.201858 Protokoll, 21 Sekunden
Episode Artwork

ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมย่อมเป็นสุข (6146-6q)

ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจทั้งที่ดีและย่ำแย่นั้น หลักธรรมที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและการทำมาหากิน สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้1.ต้องลงมือทำหรือปฏิบัติตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความสุข ความดี และประโยชน์เกื้อกูลอยู่ในปัจจุบัน มีโดยควรแก่ฐานะที่ควรจะเป็นได้ ตามหลักธรรม อุฏฐานสัมปทา, อารักขสัมปทา, กัลยาณมิตตตา, สมชีวิตา 2.ต้องลงมือทำหรือปฏิบัติตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความสุข ความดี และประโยชน์เกื้อกูลในเวลาต่อๆ ไป มีโดยควรแก่ฐานะที่ควรจะเป็นได้ ตามหลักธรรม คือ เป็นผู้ที่มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า, เป็นผู้ที่มีศีล รักษาศีล, เป็นผู้ที่มีจาคะ คือ มีการสละออก การให้ การบริจาค, เป็นผู้ที่มีปัญญาที่จะละความเกิดดับ ละความยึดถือ เห็นโทษในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม3.ต้องหลีกเลี่ยงอบายมุข หรือที่ตั้งแห่งความประมาท ซึ่งถือเป็นการอุดรูรั่วในการใช้จ่าย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ การดื่มน้ำเมา, การเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในกลางคืน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อย ๆ, การเที่ยวดูมหรสพ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อย ๆ, การพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อย ๆ, การคบคนชั่วเป็นมิตร อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ, ความเกียจคร้าน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ 4.ต้องรู้จักการแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ ในเงินทองที่ได้มาด้วยความชอบธรรม โดยที่สามารถปรับสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม อันได้แก่ บำรุงเลี้ยงให้ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นสุขทั้งในทางเศรษฐกิจและในครัวเรือน โดยครอบคลุมไปยังผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเราในทิศทั้งหก, ปิดกั้นอันตรายจากไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทอันไม่เป็นที่รักใคร่ รวมถึงการรักษาทรัพย์ เช่น การจ่ายภาษี การทำประกันภัย, การทำพลีกรรม หมายถึง ภาษีหรือการบูชาเครื่องสังเวย เป็นการให้เปล่าหรือการให้โดยไม่หวังคืน มีอยู่ด้วยกัน 5 ลักษณะ (ญาติพลี, อิตถิพลี, ปุพพเปตพลี, ราชพลี, เทวตาพลี), การตั้งไว้ซึ่งทักษิณาทาน หมายถึง ให้เพื่อหวังเอาบุญ ให้กับสมณะพราหมณ์ที่มีความดีงาม เป็นเนื้อนาบุญ เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ5.ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม 3 ประการเพื่อที่จะเป็นฆราวาสชั้นเลิศยิ่งขึ้นไป เป็นอริยสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องเปรียบได้กับหัวเนยใส ซึ่งเป็นยอดของรสจากโค กล่าวคือ สามารถบริโภคผลิตภัณฑ์จากวัว โดยที่วัวไม่ตายหรือไม่ถูกเบียดเบียนมากนัก ได้แก่ อุฏฐานสัมปทา, สมชีวิตา และมีปัญญา คือ ไม่กำหนัดยึดถือ ติดยึดในโภคทรัพย์นั้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
16.11.201829 Protokoll, 23 Sekunden
Episode Artwork

เหตุปัจจัย (6146-3q)

ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย ไม่ได้จะเป็นเรื่องเหมารวมกันไปหมดทุกอย่าง ถ้าเหตุปัจจัยของการเกิดมี ก็ต้องมีการเกิดแน่นอน แต่เหตุปัจจัยของการเกิดไม่ดี การเกิดนั้นก็ต้องสูญไปดับไปหายไปแน่นอน ความแน่นอนตรงนี้ ก็อยู่ที่เหตุอยู่ที่ปัจจัยตรงนี้แหละ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนี้นั่นจะเป็นสัมมาทิฏฐิเหตุปัจจัยและความแน่นอนนี้ก็อยู่ที่ว่า ใครเป็นคนบอกสอนเรื่องเหตุปัจจัยนี้ ใครเป็นคนบอกสอนเรื่องความแน่นอนนี้ ถ้ายังเป็นจิตใจของคนที่ยังมีกิเลส เหตุปัจจัยนี้บางทีก็ยังมีความคลาดเคลื่อนไปได้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่รู้หมดจบ อย่างพระพุทธเจ้าของเรา เหตุปัจจัยนั้นก็จะมีความแน่นอน มีความแยบคาย มีความรัดกุมอยู่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.11.201853 Protokoll, 6 Sekunden
Episode Artwork

อดทนอย่างมีปัญญา (6144-3q)

เราต้องอดทนให้มันถูก ซึ่งอดทนต่างกับเก็บกด อดทน คือ อดทนต่อผัสสะที่ไม่น่าพอใจ คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย เหลือบยุง ลมแดด ไม่ชอบ แต่ก็อยู่ได้ แต่ เก็บกด คือ เก็บสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมเอาไว้ จะมีความเกลียดชัง ขยักแขยง ไม่น่าพอใจ ซึ่งสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ตัณหา อวิชชา อกุศล การผิดศีล มิจฉาสังกัปปะ มิจฉากัมมันตะ อกุศลกรรมบถ 10 ต้องละทิ้งไป ไถ่ถอนออก ทำให้สิ้นสุดเสีย ทำให้ถึงซึ่งความไม่มี สลัดทิ้ง สลัดคืน ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา ซึ่งสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลายเพราะฉะนั้น ถ้าเราจะบอกว่า เราจะอดทน ก็ต้องอดทนให้มันถูกหลัก คนอดทนเขาเรียกว่า เป็นคนที่มีปัญญามาก คนจะเข้าใจคนที่อดทน ไม่ตอบโต้ ไม่พูดสิ่งอะไร หรือเรื่องราวอะไรบางอย่างที่มันเกิดขึ้นต้องมีปัญญา ซึ่งปัญญาจะเกิดขึ้นได้ เราต้องมีสติ มีความเพียร ทำให้มันมาก สัมมาทิฏฐิก็จะเกิดขึ้นมาเป็นปัญญา ให้เราสามารถที่จะ ดำเนินชีวิตของเราให้ไปถูกทางได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
30.10.201855 Protokoll, 30 Sekunden
Episode Artwork

สาเหตุแท้จริงแห่งทุกข์ (6143-6q)

เหล่าอริยะสาวกสามารถกำหนดรู้ได้หรือไม่ว่า ผู้ใดได้บรรลุธรรมแล้วทั้งในปัจจุบันและอนาคตการพิจารณาเอาปัญหาด้านสุขภาพ มากำหนดเป็นเรื่องของความทุกข์ ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร? Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
26.10.201829 Protokoll, 19 Sekunden
Episode Artwork

เจตนาทั้งบุญและบาปย่อมให้ผล (6143-3q)

การเปรียบเทียบการกรีดมีดลงไปในวัตถุ 3 อย่างนั้น เหมือนกับเจตนาที่เราตั้งไว้จะทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นบาปหรือเป็นบุญก็ตาม ถ้าเจตนานั้นหนักหน่วง หนักแน่น ก็จะได้รับผลกรรมที่หนักแน่นดีงามนั้นมากขึ้นไป เรื่องบุญและเรื่องบาป เป็นสิ่งที่เหมือนกันในการทำงานตรงนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับว่า เป็นการลงมือเองหรือว่าสั่งฆ่า หรือว่าต่อ ๆ ไปถ้าเปรียบเทียบส่วนต่างทางด้านบุญ สิ่งของที่เราให้ไปอาจจะไม่ได้มีค่ามากหรือมีราคาสูง แต่ว่าถ้าศรัทธาเรามีมากจริง ๆ เลย บุญนี้จะได้มหาศาล สิ่งที่สำคัญคือจิต มากเหนือกว่าสิ่งของใด ๆดังนั้น เรื่องของการทำเอง การสั่งให้ทำ และในเรื่องของการถูกชักชวนให้ทำ 3 อย่างนี้ เป็นระดับกัน ต้องดูที่เจตนาของผู้ทำนั้นด้วยว่า เจตนาหนักแน่นหรือไม่อย่างไร คนที่สั่งฆ่าจ้างมือปืนมา เป็นระดับที่ 2 มือปืนที่ไปฆ่าเป็นระดับที่ 1 คือเป็นผู้ลงมือเอง คนที่สั่งหรือคนที่จ้าง  คนที่เป็นผู้พิพากษา สั่งให้ประหารชีวิต ก็จะห่างออก ๆ กันไป ผลกรรมก็จะน้อยลง ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูที่เจตนาด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
23.10.201854 Protokoll, 24 Sekunden
Episode Artwork

ฉลาดในคำสอน จึงจะก้าวหน้าในการปฏิบัติ (6142-3q)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปาสาทิกสูตรว่า “ถ้าคำสอนนั้นเป็นคำสอนที่ไม่ดี ไม่ใช่คำสอนของพุทธะ ผู้สอนก็ไม่ใช่สัมมาสัมพุทธะ คำสอนก็กล่าวไว้ไม่ดี แต่ถ้าคนทำคนปฏิบัติดีตามที่เขาสอนไว้ไม่ดีนั้น ต้องถูกติเตียนแน่นอน” แต่ “ถ้าคำสอนนั้นดี เป็นสวากขาตธรรม ผู้สอนเป็นสัมมาสัมพุทโธ แต่ถ้าทำไม่ดี จะต้องถูกติเตียน” แต่ถ้าทุกอย่างดีหมด ผู้สอนเป็นสัมมาสัมพุทโธ คำสอนนั้นสอนไว้ดีเป็นสวากขาตธรรม ผู้ที่ปฏิบัติก็ปฏิบัติดีเป็นสุปะฏิปันนะ จะดีมากๆ ผลจะขยายกว้างก้องไปให้เกิดอุบาสก อุบาสิก ภิกษุ ภิกษุณี สวรรค์ พรหมโดยเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นส่วนต่างว่า ถ้าสอนไว้ไม่ดีนั้นไม่ได้ไม่ดี แต่ถ้าสอนไว้อย่างดีแล้ว แล้วเรานำมาปฏิบัติ จะดีได้หมด ซึ่งเหล่าสาวกต้องบอกสอนกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าบอกสอนไว้แล้วแน่นอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
16.10.201813 Protokoll, 3 Sekunden
Episode Artwork

เทศกาลกินเจ (6141-7q)

คำว่า “เจ” เป็นภาษาจีน มาจากศาสนาพุทธนิกายมหายาน หากย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาลจากบันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ซึ่งท่านเป็นพระที่เดินทางไปศึกษาคำสอนในชมพูทวีป และเป็นรุ่นพี่ของพระถังซัมจั๋งอีกด้วย กล่าวไว้ว่าการรับประทานอาหารของคนในชมพูทวีป สำหรับผู้ที่อยู่ในวรรณะสูง เช่น กษัตริย์ พราหมณ์ จะไม่กินเนื้อ ล่าเนื้อ หรือทำฟาร์มสัตว์ แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีที่ดิน มีความเป็นอยู่ ใช้จ่ายน้อย จึงต้องไปเบียดเบียนสัตว์มากินคำสอนของพระพุทธเจ้าได้พูดเกี่ยวกับเหตุปัจจัยของการบรรลุธรรมขั้นสูงไว้ว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องเพศ วัย อาหารที่รับประทาน เครื่องแบบที่ใส่ หรือการโกนผมห่มเหลือง แต่เหตุปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ งดเว้นการเบียดเบียนชีวิตกันให้ได้มากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ (การลงมือเองด้วยความอยากในอาหาร ความเกลียด ความโกรธ, การสั่งให้ผู้อื่นทำ,การชักชวนให้ผู้อื่นทำ)การไม่ควรกระทำในอกรณียกิจ 5 (การค้าขายสัตว์เป็น, การค้าขายเนื้อสัตว์, การค้าขายยาพิษ, การค้าขายสุรา น้ำเมาต่าง ๆ, การค้าขายศาตราอาวุธ), โภชเนมัตตัญญุตตา หมายถึง การมีชีวิตความเป็นอยู่ มีสติในความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นผู้อยู่ง่ายเลี้ยงง่าย คือกินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา รู้จักควบคุมปากท้องตนเองไม่ให้อยาก และไม่ยึดติดในรสชาติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
13.10.201833 Protokoll, 10 Sekunden
Episode Artwork

บ่มอินทรีย์ (6141-6q)

วิธีแก้ไขหากเรามีอินทรีย์อ่อน คือ การบ่มอินทรีย์ด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยทาน ศีล ภาวนา ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด โดยการฝึกปฏิบัติธรรมมาก ๆ ทำซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ ทำอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้อินทรีย์มีความแก่กล้าขึ้นมาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12.10.201829 Protokoll, 1 Sekunde
Episode Artwork

ปลดแอก “กิเลสในใจคือความยึดถือ” (6141-3q)

ควรทำอย่างไรกับจิตของเรา หากเราต้องอยู่ร่วมกับคนที่ไม่ดี มีอุปนิสัยโกง โลภมาก ดูถูกบุคคลอื่น ซึ่งผู้ถามก็ถูกกระทำจากบุคคลนี้ กลั่นแกล้ง ถูกด่าว่าจิปาถะ แต่ก็มีความจำเป็นต้องพบและร่วมงานกันอยู่เป็นประจำ และไม่ได้จะไปทำได้ดีร่วมกับเขาอยู่แล้ว แต่มีความขุ่นเคือง ความไม่พอใจ จะจัดการกับตรงนี้อย่างไร? Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9.10.201831 Protokoll, 32 Sekunden