Winamp Logo
2 จิตตวิเวก Cover
2 จิตตวิเวก Profile

2 จิตตวิเวก

English, Religion, 67 seasons, 329 episodes, 5 days, 16 hours, 39 minutes
About
รูปแบบการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ (Guided Meditation) ฟังไปด้วย, นั่งสมาธิไปด้วย เพื่อทำจิตที่ประภัสสรให้ผ่องใส ด้วยการเจริญสมถวิปัสสนา นำธรรมะเข้าสู่จิตใจให้ชุ่มเย็นอ่อนเหมาะควรแก่การงาน. New Episode ทุกวันอังคาร เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ donhaisok.fm
Episode Artwork

ฉลาดในขันธ์ทั้ง 5 [6712-2m]

ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ด พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้า จึงจะเกิดความพ้นได้ จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้ง ความรู้ซึ้ง ความมีปัญญาหลากหลาย จะกระจายเราให้รู้ถึงความเป็นปฏิจจสมุปบาทได้ ทำให้เราพ้นจากความทุกข์ ถึงนิพพาน อันเป็นบรมสุข Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/18/202456 minutes, 14 seconds
Episode Artwork

ระลึกถึงความตายเพื่อความอยู่ดี [6616-2m]

“เจริญมรณสติ คือ การยอมรับความจริงถึงความตาย แล้วตั้งใจที่จะอยู่ ด้วยความดี คือ อยู่อย่างดีนั่นเอง”พิจารณามรณสติ เพื่อให้เกิดปัญญา เกิดความไม่ประมาท ไม่เพลินพิจารณาโดยเฉพาะ “รอยต่อ” ว่ากายเรามีรอยต่อมาก ตายได้ตลอดเวลา กายเป็นเพียงธาตุสี่มาประกอบกัน เมื่อตายไปแล้วภพนี้พังลง กายนี้แตกลง ธาตุทั้งสี่ก็แยกจากกันไป ไม่เหลืออะไรจิตก็เหมือนกัน ตายได้ มีเกิด มีดับตลอดเวลา เกิด-ดับอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าเป็นกระแสเราจึงเข้าใจคลาดเคลื่อนคิดว่า กระแสนั้น เป็นตัวตน และคิดว่ามี “ตัวเรา” คงอยู่ตลอดเวลา จิตเราที่ตายแล้วจากภพก่อนๆ จะสะสมๆ เป็นอาสวะ แล้วไปยึดถือสิ่งอื่นๆ ทั้งนามและรูป เกิดในภพต่อๆ ไป ตามสภาวะการสะสมของเราเอง แล้วยังมี “รอยต่อระหว่างภพ” เราจะได้รับผลกรรมของเราเอง สุขหรือทุกข์ ขึ้นอยู่กับ สิ่งที่เราทำ ดังนั้น จึงต้องอยู่ด้วยความไม่ประมาท อยู่ด้วยความดี เร่งสร้างกุศล ละอกุศล ด้วยการรักษาศีล มีสัมมาวาจา มีการแบ่งปันมีการให้ มีเมตตา มีกรุณา มีอุเบกขา อยู่อย่างนี้ “อยู่อย่างมีปัญญา” ปัญญาเป็นดั่งแสงสว่างที่จะนำทางเรา ไปตามทางความดี ก็จะสู่ที่เกษมที่ปลอดภัยได้นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/17/202358 minutes, 46 seconds
Episode Artwork

อกุศลวิตกเจ้าจงหยุด เจ้าจงถอยกลับ [6546-2m]

ปรารภเรื่องราวการปฏิบัติก่อนเข้าปฏิบัติธรรมของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ที่จะเปล่งวาจาสั่งความคิดในทางกาม ทางพยาบาท และทางเบียดเบียน ไม่ให้ตามเข้าไป การกระทำที่เป็นการแสดงความเคารพในพระพุทธเจ้าจะมีอยู่ 3 ระดับ ตั้งแต่การแสดงออกทางกาย เหมือนที่พระเจ้าพิมพิสารถอดหัวโขนของกษัตริย์ออก การแสดงออกทางวาจา และการแสดงออกทางใจในการที่จะกำจัดกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกเมื่อเราจะเริ่มทำความดีมักมีเครื่องทดสอบ ก่อนอื่นเราต้องแยกแยะให้ได้ว่าเครื่องทดสอบนั้นคืออะไร จะแยกได้ก็ด้วยสติ ผัสสะ หรือเครื่องทดสอบนี้สามารถเข้าสู่ช่องทางใจของเราได้ตามประตูทั้ง 6 แต่เราจะอนุญาตให้เข้าสู่จิตได้หรือไม่ก็อยู่ที่ประตูที่สอง คือ สติ ทำให้การรับรู้นั้นเป็นเพียงรู้เฉย หรืออาจจะให้เข้าสู่จิตได้เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าท่านก็ต้องรับรู้ก่อนมีความคิดก่อนก่อนที่จะแสดงธรรมนั้น พระพุทธองค์ทรงทำให้เห็นว่าเราสามารถเป็นผู้อยู่เหนือความคิดได้ นำความคิดนั้นมาใช้งานได้ควรเข้าใจแยกแยะกุศลธรรมหรืออกุศลธรรมให้ถูก ดีหรือไม่ดีไม่ได้ดูที่สุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เลือก input ดีๆ เมื่อเข้าใจได้ถูกแล้ว จิตจะมีพลังน้อมมาในกุศลแล้วจะ รวมลงเป็นสมาธิ วิธีการฝึกก็คือ 1. รักษาอวัยวะเหมือนเต่าหดในกระดองก็จะพ้นภัย รับรู้มาก่อนสติ 2. การใช้ลิ่มสลักของช่างไม้ 3. การรู้จักสังเกตุการแต่งตัวของหนุ่มสาว 4. การทำสมาธิทำจิตให้ละเอียดเหมือนความละเอียดของอิริยาบทต่างๆ และ 5. ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ต่อจิตที่มีความหยาบมาก ทำดังนี้จะเป็นผู้อยู่เหนือกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตกได้ในที่สุด ค่อยฝึกไปตามลำดับ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/14/20221 hour, 1 minute, 43 seconds
Episode Artwork

เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร [6545-2m]

เจริญอานาปานสติให้เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้เกิดสัมมาสติ ไม่ฟุ้งซ่านพึ่งตนพึ่งธรรมด้วยการดูลมหายใจของเรา ให้สติอยู่กับลมหายใจ ไม่ลืมลมพอเราตั้งสติขึ้นมาได้จิตมีสติรักษา จะมีปัญญา ตอบสนองต่อผัสสะ อย่างมีสติ ไม่เกิดอกุศล ความฟุ้งซ่านลดลงได้แล้วใคร่ครวญธรรมะ “อย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร”การเห็นแก่ยาว คือ การจองเวรให้ยืดเยื้อ อย่าเห็นแก่สั้น คือ อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก เห็นแก่สั้น ตัดมิตรภาพขาดออกสั้นๆ เราก็จะไม่มีกัลยาณมิตรหากแต่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า “ต้องมีกัลยาณมิตร”ให้เรารักษากัลยาณมิตร ให้เหมือนว่าเป็นอวัยวะที่อยู่ในร่างกาย เชื่อมต่อกับตัวเราผลที่ได้รับจากการ “ไม่เห็นแก่ยาว ไม่เห็นแก่สั้น” จิตใจของเราจะไม่มีการผูกเวร จะเกิดปัญญาเพื่อเชื่อมต่อ กัลยาณมิตรเกิดเป็นกลุ่มก้อน แล้วยังสามารถเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร อาจมีผิดพลาดกันบ้าง ให้มีสติตั้งขึ้นใหม่“สติ” นั้นจึงเป็นตัวที่สำคัญ เป็นประธาน ในการที่จะให้จิตของเรานั้น ไม่เห็นแก่ยาว ไม่เห็นแก่สั้น ระงับเวร ตั้งสติสัมปชัญญะ เอาไว้ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/7/20221 hour, 49 seconds
Episode Artwork

ผู้เชี่ยวชาญในความคิด [6544-2m]

เจริญอานาปานสติ เพื่อที่จะควบคุมความคิด ควบคุมความคิด โดยการฝึกสติไม่ใช่หยุดคิด แต่เป็นการที่ให้รู้ความคิด คำว่า "รู้" หมายถึง มีสติ ระลึกรู้ โดยใช้เครื่องมือ คือ ลมหายใจลมหายใจเป็นป้อมยาม สติ คือ ยาม คือ การระลึกได้ เป็นยามมาอยู่ที่ลมหายใจสติ-สมาธิ ไม่ใช่จะเป็นของที่ได้มาด้วยการข่มขี่ บังคับ ห้ามปรุงแต่ง แต่ได้มาด้วย “ความเพียร” จะได้มาด้วยความสงบระงับมีอะไรให้ กำหนดรู้เฉยๆ สังเกตดูเฉยๆ ดูผัสสะต่างๆ ผ่านมาทางประตูทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เข้าสู่จิต เปรียบเหมือนสัตว์หกชนิด นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก จระเข้ งู ลิง ผูกไว้กับเสา คือ สติ ให้จิตน้อมไปทางมีสติ คือ อยู่ที่เสา หรือลมหายใจ “จิตน้อมไปทางไหน จิตนั้นก็ยิ่งมีพลัง” ความคิด ความฟุ้งซ่านก็อ่อนกำลังลงช่วงแรกๆ ขณะที่มีสติ สังเกต สิ่งต่างๆ นั้น นิวรณ์ มันก็ยังอยู่ สมาธิยังไม่เกิดหากแต่เราฝึกไปเรื่อยๆ จะมีช่วงเวลาที่สติเกิดขึ้น และค่อยๆ กำจัดนิวรณ์ออกได้ทีละนิดๆช่วงนี้ คือ จิตเป็นสมาธิแล้ว จุดนี้ เราจะเลือกคิดได้ ว่าจะคิดเรื่องอะไร คิดแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรต่างๆฝึกเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน เราจะสามารถควบคุมความคิดได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/31/20221 hour, 1 minute, 40 seconds
Episode Artwork

การคว่ำลงของอวิชชา [6543-2m]

เจริญธรรมานุสติปัฏฐาน ใคร่ครวญธรรมะที่เรียกว่า อวิชชา “อวิชชาย่อมปรากฏเพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย”อวิชชาแปลว่าความไม่รู้ ไม่รู้ในอวิชชาแปดอย่าง อวิชชามีคุณสมบัติ๑. ทำให้เราเกิดความเพลิน๒. จึงทำให้เรารู้เป็นส่วนๆ และไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องราวสถานการณ์โดยรวมว่า สังสารวัฏ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นอย่างไร๓. ความไม่รู้ทำให้เราไม่รู้ตัว เวลาถูกกิเลสเผาอยู่๔. ทำให้เราเข้าใจผิดพลาดไปว่า “ทุกข์คือสุข”, เข้าใจผิดว่า สัมมาวายามะ ทำความเพียรคือทุกข์, เข้าใจผิดว่าสัมมาสติ สัมมาสมาธิเป็นความเบื่อหน่าย๕. อวิชชาปิดเรื่องราว ปิดความเข้าใจทำให้ เราไม่รู้เรื่องราวทั้งหมด เพื่อให้ตัวอวิชชาเจริญขึ้นๆอวิชชาเจริญได้เพราะมีอาหารคือนิวรณ์ทั้งห้า วิจิกิจฉา ความฟุ้งซ่าน ความง่วงซึม ความโกรธ ความอยากความเพ่งเล็ง นิวรณ์ห้า เกิดจากความทุจริตทางกาย วาจา ใจ, ทุจริตสามเกิดจากไม่สำรวมอินทรีย์, ไม่สำรวมอินทรีย์เกิดจากการขาดสติ สัมปชัญญะ จนเกิดอกุศลขึ้นหากแต่เราฝึกสติ สัมปชัญญะ เรื่อย ๆ โดยการใช้ปัญญาพิจารณาอย่างแยบคาย หรือ โยนิโสมนสิการ โดยการหมั่นฟังพระสัทธรรม, เลือกคบสัตบุรุษหรือกัลยาณมิตรคือคนที่ทำให้กุศลจิตเกิดขึ้นได้ จึงเกิดศรัทธา ความมั่นใจจิตอยู่ตรงไหน สติก็อยู่ตรงนั้น, สติอยู่ตรงไหน อวิชชาก็อยู่ตรงนั้น, อวิชชาอยู่ไปทุกที่, วิชชาก็เกิดได้ทุกที่ไปหมดสติ สมาธิ ปัญญาอยู่ตรงไหน วิชชาอยู่ตรงนั้น, อวิชชาก็ดับไปตรงนั้นพิจารณาสมถะ วิปัสสนา เห็นความไม่เที่ยง พิจารณาอย่างแยบคาย, วิชชา ความรู้ก็เกิดขึ้น, อวิชชา ความไม่รู้ก็เบาบางลง พิจารณาอย่างนี้เรื่อยๆบ่อยๆ จนไม่มีอาหารของอวิชชา, “วิชชาเกิด อวิชชาก็คว่ำลงหมด” นั่นคือ ดับเย็นคือพระนิพพาน เป็นการดับของอวิชชา ดับแบบถอนรากถอนโคน. Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/24/20221 hour, 1 minute, 59 seconds
Episode Artwork

รอยเกวียนเก่า [6542-2m]

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงกำลังตาย หรือตายอยู่ในบัดนี้ด้วย ตายแล้วในอดีตด้วย จะตายในอนาคตด้วยแม้แต่ตัวเราก็จะต้องตายเหมือนกันอย่างนี้ ความสงสัยในเรื่องการตายนี้ไม่มีแก่เราเจริญสังฆานุสสติ เป็นการปฏิบัติบูชา ระลึกถึงสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดำเนินตามๆ กันมาตามทางอันมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ปฏิบัติธรรมสืบต่อกันมา ทำให้มีคำสอนของพระพุทธเจ้าสืบต่อมาถึงปัจจุบันการปฏิบัติต้องประกอบด้วยสองส่วน คือ สมถะ และวิปัสสนา1. สมถะ คือ การตั้งจิตมั่นให้สงบ เจริญสังฆานุสสติ จนจิตสงบ เป็นอารมณ์อันเดียว สติเป็นธรรมอันเอกจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้2. วิปัสสนา คือ การเห็นตามความเป็นจริง เมื่อจิตสงบ เรามาพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาในสิ่งต่างๆ เห็นเกิด เห็นดับ ตลอดเวลา จนจิตเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด “นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”เห็นด้วย สติ สมาธิ ปัญญา ว่า “กายนี้ ตัวเรานี้ก็ตาย ตัวบุคคลก่อนหน้าเรามา ก็ตาย แล้วในอนาคตก็ต้องตายต่อไป มันเป็นธรรมดาอย่างนี้มันจะต้องตายอย่างนี้ ทุกคนตายเหมือนกันหมด”ให้เรามาตามทางที่จะไปสู่ประสาทแห่งธรรมะ ทางที่พระพุทธเจ้าท่านดำเนินเอาไว้ ตามทางที่พระพุทธเจ้า เหล่าอริยสาวกในสมัยพุทธกาลครูบาอาจารย์ในรุ่นก่อน จนถึงครูบาอาจารย์ที่ร่วมสมัยกันกับเราไปตามทางนี้หมด เข้าสู่บ้านที่จะดับเย็น นั่นคือ นิโรธ พักผ่อนอย่างสบาย สุขกาย สุขใจได้นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/17/20221 hour, 46 seconds
Episode Artwork

ธรรมชาติย่อมย่อยสลาย [6541-2m]

“เพราะ ธรรมชาติที่ย่อมสลาย เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป”เจริญกายคตาสติ พิจารณาร่างกาย ว่าร่างกายของเรานี้ คือ กองรูป คือ รูปขันธ์ ขันธ์หมายถึง กอง ที่มีแขนขา มีตัวมีหน้า มีอวัยวะภายในต่างๆ มารวมกันเป็นกลุ่มก้อน เขาจึงเรียกว่ารูปขันธ์และมีส่วนที่เป็น “นาม” คือ เวทนาคือความรู้สึก สัญญา คือ ความหมายรู้ สังขาร คือ การปรุงแต่ง และจุดที่มันเชื่อมกันอยู่ของกายและใจ คือ วิญญาณ คือ การรับรู้ เกิดความเพลิน พอใจ ไปใน รูป สัญญา สังขาร วิญญาณ“เกิดความเพลินความพอใจเมื่อไหร่ ตรงนั้นแหละ คือ ตัณหา มา อุปาทาน คือ ตัณหามายึดถือ ขันธ์ทั้งห้านี้ ขึ้นเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ความยึดถือครองนั้น เป็น “กระแสต่อเนื่องกันมา” ในขันธ์ห้านี้ เกิดภพ เกิดชาติ สืบต่อๆ กันมา เกิดเป็นกระแสของการสะสม “จิต คือ สภาวะแห่งการสะสม”ใช้ปัญญาพิจารณากายเป็นเพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงธรรมชาติ ย่อมย่อยสลายไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่มีจริง เป็นสภาวะของกระแสที่สืบเนื่องต่อกันมาเท่านั้น ไม่ควรค่าที่จะไปยึดถือนาม “เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” ก็เช่นเดียวกัน เปลี่ยนแปลง เกิด-ดับ อยู่ตลอด ต้องไม่ยึดถือเป็นตัวตน เพราะไม่เที่ยงแต่ให้เห็น เป็นสภาวะแห่งการสะสมพิจารณากายของเราอย่างต่อเนื่อง เราก็จะอยู่เหนือ ทั้งนาม ทั้งรูป อยู่เหนือบุญ อยู่เหนือบาป สามารถที่จะดับเย็นได้นั่นคือ นิพพาน นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/10/20221 hour, 13 seconds
Episode Artwork

ทุกความคิดเป็นการภาวนาได้เพราะมีสติสัมปชัญญะ [6540-2m]

“…ภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงเป็นผู้มีสติ อยู่อย่างมีสัมปชัญญะเถิด…”ฝึกจิตให้มีสติ สัมปชัญญะ โดยเจริญอานาปานสติ เริ่มจากตั้งสติอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก สังเกตดูลมเฉยๆ คือ พิจารณาเห็นกายในกาย ขณะเดียวกันมีการรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมถึงธรรมารมณ์ ความคิดในช่องทางใจ จิตไม่เพลินไปกับผัสสะที่มากระทบ จิตเพียงรับรู้เฉยๆ ไม่ไปปรุงแต่ง จึงไม่เกิดอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ คือ มีสติ เกิดการแยกแยะ สัมปชัญญะก็จะตามมา คือ ความรู้ตัวรอบคอบในเรื่องที่เราคิด ในสิ่งที่เราทำ ในทุกอิริยาบถที่เราอยู่ นั่นคือ เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย จิตเพียงรับรู้เฉยๆ ไม่มีอารมณ์ติดไปในงานนั้นๆทุกความคิด ทุกการงาน ทุกคำพูด ทุกอิริยาบถ ทุกที่ที่เราไป ทุกงานที่เราทำ จึงเป็นการภาวนาได้ฝึกบ่อยๆ จะเป็นการภาวนาในทุกๆ ที่ได้ เพราะมีสติสัมปชัญญะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/3/20221 hour, 2 minutes, 7 seconds
Episode Artwork

พรหฺมา จโลกา [6539-2m]

เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึง คุณของพระพุทธเจ้า ในความมีกรุณาอย่างสูง ทรงประกาศธรรมะแก่สัตว์โลก ทรงเห็นว่าผู้มีธุลีในดวงตาแต่น้อย ยังมีย้อนไป เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงได้ตรัสรู้แล้ว ทรงนั่งพักใคร่ครวญ สิ่งที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ครั้งนั้น จิตของพระองค์ทรงแล่นไปทางขวนขวายน้อยในการประกาศธรรมะ ด้วยเห็นว่าหมู่สัตว์ในยุคนี้มีความอาลัยเป็นที่ยินดี, ยากนักที่จะเห็น “ปฏิจจสมุปบาท”หากแต่ ท่านท้าวสหัมบดีพรหม ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ได้กราบทูลพระพุทธเจ้า ด้วยเห็นว่า คำสอนตามอริยมรรคมีองค์แปดนี้ จะเป็นทางที่จะนำพาให้หลุดพ้นจากกระแสของตัณหาได้พระองค์ทรงไตร่ตรองด้วยพุทธจักษุ “เห็นสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่น้อยก็มี, สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมจากคุณที่จะได้รับ, ถ้าไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจะมีแน่” จึงทรงประกาศธรรมให้แก่สัตว์โลก“ประตูแห่งนิพพาน อันเป็นอมตะ เราได้เปิดไว้แล้วแก่สัตว์ยุคนี้ สัตว์เหล่าได้มีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้น จงปลงศรัทธาลงไปเถิด”ปฏิบัติด้วยศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์ทั้งห้าต้องสูงเสมอกัน เพื่อเป็นอริยทรัพย์ ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งได้เพิ่ม ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบให้เห็นผล ให้เข้าสู่กระแส โสดาบันเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ปิดประตูอบายปฏิบัติสูงขึ้นๆ ถึงพระอนาคามี จนบรรลุธรรมถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/26/20221 hour, 1 minute, 12 seconds
Episode Artwork

เพราะน้อยจึงมีค่ามาก [6538-2m]

ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยากความน้อย ความยากนี้ให้เห็นด้วยสติ ด้วยปัญญา อย่าไปยึดถือในสิ่งที่มีค่าน้อย คืออย่าไปยึดกาย อย่าไปยึดจิต,ให้เห็นด้วยปัญญาในความเป็นของน้อยของชีวิต ปัญญานั้นจึงมีค่ามาก, ให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นสรณะ, เห็นอุเบกขา หรือ ศีล เป็นที่เกาะเป็นที่พึ่งเพื่อภาวนา พัฒนาจิตให้เจริญขึ้นเพื่อให้เห็นอริยสัจสี่ เห็นมรรคมีองค์แปด เห็นศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติปฎิบัติธรรมสมควรแห่งธรรม พัฒนาเป็นอริยบุคคล ทางดำเนินนั้นจะเป็นทางที่ไปสู่พระนิพพานคือดับเย็น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/19/202259 minutes, 57 seconds
Episode Artwork

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ล้วนเป็นอนัตตา [6537-2m]

พิจารณาความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลายโดยผ่านพุทธานุสติ สติจะเป็นตัวจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ในช่องทางใจ ทำให้สามารถแยกแยะได้ จิตจะไม่ไปเกลือกกลั้วตามสิ่งที่มากระทบ เป็นการทอนกำลังของสิ่งนั้นลง เมื่อสติมีกำลังสมาธิจะเกิดขึ้น เอาความสงบนั้นมาเป็นฐานในการรื้อถอนอวิชชา ก่อวิชชาให้เกิดจากการใคร่ครวญโดยแยบคาย คือ ใคร่ครวญเห็นถึงความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา ความไม่มีสาระแก่นสารอะไร ทุกสิ่งล้วนอาศัยเหตุปัจจัย ถ้าเงื่อนไขเหตุปัจจัยมีอยู่สิ่งนั้นก็ดำรงอยู่ ถ้าเงื่อนไขหายไป สิ่งนั้นก็ดับไปถ้าเราเผลอเพลิน เราจะเข้าไปยึดสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา จะมีความทุกข์เกิดขึ้นทันที แต่ถ้าตั้งสติมีสมาธิใคร่ครวญโดยแยบคาย พิจารณาตามความจริงว่ามันขึ้นตามเหตุปัจจัย อุปาทานความยึดถือจะอยู่ไม่ได้จะคลายออก จะเห็นตามจริงในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา วิชชาเกิดขึ้นทันที ความพ้น คือ วิมุตติก็เกิดขึ้นเช่นกัน จะทำให้เกิดได้ต้องมีการประกอบพร้อมกันของปัญญา สติ สมาธิ ดำเนินมาตามระบบของมรรค เมื่อวางได้แล้วสิ่งที่เหลือ คือสติ คือปัญญากับจิตที่ดำรงอยู่ด้วยดี มีความร่าเริง ไม่หวาดสะดุ้ง จิตดับจากไฟของกิเลส ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามผัสสะ นี้คือ นิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/12/20221 hour, 36 seconds
Episode Artwork

ไม่มีกำมือในธรรมะ [6536-2m]

ธรรมที่พระพุทธเจ้า ได้กระทำแล้ว แสดงแล้ว พระองค์ทรงสอนอย่างเปิดเผย แจ่มแจ้งชัดเจน หงายออก ไม่มีปิดบัง เป็นสวากขาตธรรม จึงไม่มีกำมือในธรรมะ ให้เราเป็นธรรมทายาท ให้เราปฏิบัติ “จงเป็นเจ้าของคำสอน อย่าเป็นเพียงผู้รักษาคำสอน”เจริญมรณสติ คือ พิจารณาความตายของตนเอง โดยเจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าช่วงก่อนปรินิพพาน เพื่อน้อมเข้ามาสู่การเจริญมรณสติของตัวเราเองให้เราระลึกว่าเหตุของความตาย คือ ความเกิด ทุกช่วงเวลาที่ผ่านไป ร่างกายมีเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา เกิด-ตาย เกิด-ตายอยู่ในเซลล์ร่างกายเราตลอดเวลา หากแต่เรารู้สึกเหมือนเดิมอยู่เพราะเป็นกระแส กระแสนี้จะถูกตัดลงได้ด้วยมัจจุมารซึ่งมีอยู่ทั่วไปแล้วเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ที่เกิดจากความตายมี 3 ประการ คือ 1. ทุกข์จากความกังวลว่าตายแล้วจะเป็นอย่างไร 2. ทุกข์ว่าต้องพลัดพรากจากของรัก 3. ทุกข์ว่าจะมีความเจ็บจากขบวนการตายเราจักมีความสบายใจมากขึ้นจากทุกข์ทั้งสามข้อนี้โดย 1. การเร่งทำความดี ด้วยทาน ศีล ภาวนา เพื่อให้เราระลึกถึงกุศลธรรม 2. ให้เราพิจารณาความตายว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ซ้อมไว้ด้วยการปฏิบัติหลีกเร้นทำจิตใจให้สงบ ให้พึ่งตน พึ่งธรรม 3. หากมีทุกขเวทนา ปฎิบัติสมาธิเข้าฌานให้ลึก จนกระทั่งข้ามพ้นจากทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย เข้าสู่อุเบกขาให้ได้ เราจักเป็นเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ แม้ความตายมาถึง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/5/202259 minutes, 40 seconds
Episode Artwork

นอนอย่างไรให้เป็นการภาวนา [6535-2m]

เจริญธัมมานุสติ คือ ใคร่ครวญไปตามธรรมะของพระพุทธเจ้า คือ มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางการนอนให้เป็นภาวนา ก่อนนอนต้องกำหนดจิตให้มีสติสัมปชัญญะ โดยภาวนาพุทโธ หรือดูลมหายใจ น้อมจิตไปเพื่อการหลับว่า “บาป อกุศล อย่าตามเราไป ผู้ซึ่งนอนอยู่” ให้มีกุศลธรรมในจิตใจ จิตจะปราศจากราคะ โทสะ โมหะ เวลาหลับไปแล้ว จิตจะมีสติ เพราะมีสติสัมปชัญญะ ตั้งแต่ก่อนนอน ก่อนหลับ ระหว่างหลับ และการตื่นนั้นจะเป็นสุข ไม่ฝันร้ายการนอน การหลับที่อยู่ในสมาธิ นั่นคือ การนอนแบบเป็นภาวนา จักเป็นการพัฒนาจิตได้ และร่างกายจะได้รับการพักผ่อนยังรวมถึงการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก่อนนอน อานิสงส์ คือ หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้ายจะมีเทวดารักษารวมถึงการเจริญมรณสติว่า หากเรานอนครั้งนี้แล้วไม่ลุกขึ้นอีก บาปอกุศลอย่าตามเราไป จิตเราจะเป็นกุศล จะทำให้จิตเป็นสมาธิ มีการพัฒนาทางจิตใจ การนอนนั้นก็เป็นการภาวนาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/29/202259 minutes, 27 seconds
Episode Artwork

พลัดพรากให้เป็นธรรม ธรรมสังเวช [6534-2m]

พัฒนาจิตด้วยการเจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าพลัดพรากให้เป็นธรรม ด้วยการมีสติเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นเป็นธรรมดา พิจารณาความทุกข์ทั้งปวง เกิดจากสิ่งนั้นมีความเปลี่ยนแปลง และเรายึดมั่นในสิ่งนั้นๆ ด้วยจิตที่ยังมี ราคะโทสะ โมหะ เกิดทุกข์ในที่สุดพอเราเจอเรื่องทุกข์แล้ว ให้มี “สติ สัมปชัญญะ” จะอดกลั้นเวทนาได้ด้วย “ธรรมสังเวช” หมายถึง ความร้อนใจที่พัฒนาจนอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้ โดยให้ตระหนักถึงสิ่งที่ควรรีบทำ ความตื่นรู้ถึงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง จึงให้เป็นผู้มีความเพียร เร่งรีบปฏิบัติ ให้มีความกล้าเผชิญความจริง ไม่เผลอเพลินไป ให้รีบดับไฟ ไฟคือความเกิด ความเจ็บ ความแก่ ความตาย ไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ มันเผาเราอยู่แล้ว เราต้องรีบดับไฟนี้เสียสมาธิ สติ ปัญญา ใช้ในการพัฒนาจิตของเราให้หลุดพ้นจากสังขาร การเปลี่ยนแปลง ความยึดถือต่างๆ เข้าใจแล้ว เราก็สบายใจได้ อยู่กับทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ หรืออยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้ นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/22/20221 hour, 26 seconds
Episode Artwork

กินให้เป็นภาวนา [6533-2m]

โภชเนมัตตัญญุตา คือ การพิจารณาอาหารด้วยความแยบคายเป็นการใช้ปัญญา อานิสงส์นั้นได้ถึงการเป็นอนาคามี ในที่นี้ได้แยกการพิจารณาดังนี้ พิจารณาจากเวทนา เวทนาเก่าให้ลดหรือหายไป คือ ความหิว ความอยาก โรคภัยไข้เจ็บ เวทนาใหม่อย่าให้มี คือ ความอิ่มจนอึดอัด เวทนาใหม่ที่ระงับได้ เพราะอาหารบางประเภท แต่ต้องในปริมาณที่เหมาะสม โรคภัยใหม่ๆ ที่จากการกินเกินพอดีจากวัฒนธรรมน้ำจิ้ม ได้เปรียบการกินอาหารไว้กับอุปมา 3 อย่าง คือ อุปมาน้ำมันหยอดเพลาเกวียน ที่ใส่นิดเดียว ใส่มากไม่ดี ไม่ใส่ก็ไม่ได้ อุปมาผ้าปิดแผล ผ้าต้องพอดีเหมาะสม และอุปมาการกินเนื้อบุตร เห็นเป็นของปฏิกูล ไม่กินเพื่อเล่น ไม่กินเพื่อมัวเมา ไม่กินเพื่อตกแต่ง แต่กินเพื่อให้พอข้ามผ่านทางกันดารไปได้ เพื่อสะดวกต่อการประพฤติพรหมจรรย์ เทคนิคที่ใช้รับมือ คือ การนับคำทำให้จำกัดปริมาณ ไม่เกินต่อมอิ่ม กินมากเท่ากับฆ่าตัวตาย ก่อนกลืนให้นับครั้งการเคี้ยว จะทำให้รับรู้รสชาดได้เพิ่มขึ้นลดเวทนาใหม่ได้ และน้ำลายจะได้ลงไปช่วยย่อยในกระเพาะ นี้เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ นอกจากนี้ให้ระวังน้ำตาลตัวร้าย เพิ่มการทำ fasting สุดท้าย คือ การพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร 10 ประการ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/15/20221 hour, 3 minutes, 29 seconds
Episode Artwork

เจริญกายคตาสติผ่านสรีรยนต์ [6532-2m]

พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบการเข้าใจกายอย่างถูกต้องตามทางสายกลาง เข้าใจในรสอร่อย และโทษของมัน พร้อมกันนั้นได้ให้อุบายในการนำออก โดยการพิจารณาผ่านจักร 4 ทวาร 9 จักร คือ การหมุนวนเปลี่ยนแปลงไปในอิริยาบถทั้งสี่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ทวาร 9 คือ ช่องให้ของไหลเข้าไหลออกเพื่อประกอบให้กายนี้อยู่ได้ ให้ใช้ปัญญาเห็นตามเป็นจริงในสรีรยนต์นี้ คำถามของเทวดาที่ถามพระพุทธเจ้าถึงการออกไปจากทุกข์จากสรีรยนต์ที่เต็มไปด้วยของไม่สะอาดจะมีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสตอบถึงการกำจัด 4 อย่างที่จะนำออกไปจากทุกข์ได้ นั่นคือ กำจัดการผูกโกรธ กำจัดกิเลสเครื่องร้อยรัด ถอนตัณหา ขุดราก คือ อวิชชา โดยใช้อาวุธ คือ ความคม=ปัญญา กำลัง=สมาธิ และเล็งให้ถูก=สติ สับกายหมดแล้วก็ให้เห็นว่าอวิชชาอยู่ในจิตด้วย ให้เห็นจิตโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา การเห็นตรงนี้เป็นปัญญา ปัญญาเห็น อวิชชาจึงดับไป จิตจึงดับไป    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/8/20221 hour, 2 minutes, 37 seconds
Episode Artwork

แยกแยะแล้วเห็นด้วยปัญญา [6531-2m]

เจริญอานาปานสติ เพื่อให้พบปัญญารูป-นาม หรือ กาย-ใจ เชื่อมต่อกันด้วยวิญญาณ คือ การรับรู้ สติอยู่ ณ จุดที่ลมหายใจมาสัมผัส เกิดสมาธิสงบระงับแล้วเดินปัญญาต่อ ให้เห็นความไม่เที่ยงโยนิโสมนสิการ พิจารณา ไตร่ตรอง ในสมาธิ ให้เห็น “นิมิตของความไม่เที่ยง นั่นคือ เกิดปัญญา เกิดดวงตา เกิดแสงสว่าง”แต่กิเลส ตัณหามันเหนียว ต้องทำซ้ำ ทำย้ำ พิจารณาดูความไม่เที่ยงอีก แม้ลมหายใจเข้า-ออกก็ไม่เที่ยง ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เราไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา สติมีตลอดกระบวนการ เห็นปัญญาตรงนี้บ่อยๆ เราจะ “วาง” ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/1/202259 minutes, 44 seconds
Episode Artwork

แยกจิต มโน วิญญาณ ด้วยสติ [6530-2m]

เจริญอานาปานสติ โดยการสังเกต และตั้งสติไว้ที่ลมหายใจ ตั้งสติ คือ การแยกแยะ สังเกต จัดระเบียบความคิด ในช่องทางใจเปรียบเหมือนผูกสัตว์หกชนิด ไว้ที่เสา สัตว์หกชนิดเปรียบเหมือน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ผูกไว้กับ “เสา คือ สติ” เพื่อไม่ให้จิตไปเสวยอารมณ์ สุข ทุกข์ เผลอ เพลินการ “เสวยอารมณ์” ไปหลงคิดว่าเป็นความคิดของฉัน เป็นสุขของฉัน เป็นทุกข์ของฉัน เป็นตัวฉัน เพราะเข้าใจผิดคิดว่า ความนึกคิด จิต มโน วิญญาณ คือ สิ่งเดียวกัน คือ ก้อนเดียวกันหากแต่ พอ “สติมีกำลัง” จากการฝึกสังเกตบ่อยๆ จะก่อให้เกิดกระบวนการแยกแยะว่า ธรรมารมณ์ (ความคิดนึก) กับจิต ไม่ใช่อันเดียวกัน สังเกตุแยก “รูป-นาม” ได้ (สิ่งที่ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) โดยมีวิญญาณเป็นธาตุรู้ที่เชื่อมต่อสิ่งภายนอกเข้าสู่ใจ ผ่านทางช่องทางใจหรือมโน และมีจิตเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ไม่เสวยอารมณ์นั้นๆ เพราะแยกกันออกแล้ว “เราจึงแยกแยะ ธรรมารมณ์ จิต มโน วิญญาณ ได้ด้วย สติ”พอมีการแยกแยะแล้ว จิตก็ “ระงับ ไม่สะดุ้ง-สะเทือน”ไปตามอารมณ์ นั่นคือ จิตเป็นสมาธิแล้ว Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/25/20221 hour, 1 minute, 50 seconds
Episode Artwork

ละเอียดจนไม่เหลืออะไร [6529-2m]

เจริญอานาปานสติไว้ที่ลมหายใจ, สติคือการแยกแยะ แยกแยะผัสสะที่เข้ามากระทบ เป็นไปเพื่อการล้างกิเลสออกเพราะจิตหวั่นไหวขึ้น-ลง เสวยอารมณ์สุข-ทุกข์ ผ่านทางผัสสะที่มากระทบ, เราจึงต้องมีการจัดระเบียบในช่องทางใจด้วย “สติ”, ผลที่ได้คือ “ความละเอียด”หรือ การปรุงแต่งทางกายและจิตระงับ, เปรียบเหมือน ช่างทองล้างแล้วล้างอีก จนกว่าจะได้ทองคำ,“สติ วิญญาณ จิต กิเลส” ละเอียดลง ให้รู้เท่าทัน, เพื่อป้องกันการกลับกำเริบของกิเลส หรือการเผลอสติ เพราะจิตยังมี “อวิชชา”ข้อปฏิบัติที่ละเอียดลงคือปฏิบัติตามทางมรรคมีองค์แปดจะค่อย ๆ กำจัด อาสวะกิเลส จากกิเลสอย่างหยาบจนถึงกิเลสอย่างละเอียดทำซ้ำ ทำย้ำ สับให้ละเอียดจนไม่เหลือเงา ไม่เหลือรากของอวิชชา ให้เห็นตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ ความเป็นอนัตตา ซ้ำๆ ย้ำๆ สับลงไป มันจะเกิดความเบื่อหน่าย คือ “นิพพิทา”ใช้ “ปัญญา เห็นตามความเป็นจริง เห็นความไม่เที่ยง เห็นการปรุงแต่ง” แม้จิตก็ไม่เที่ยง แล้ว “วาง” ซะ จิตเราจะพ้น คือ วิมุตติ เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้ว เป็นจิตที่ยินดี ร่าเริงไม่หวาดสะดุ้งสะเทือน ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั้นเทียว. Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/18/202259 minutes, 16 seconds
Episode Artwork

จงเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นคนสุดท้าย [6528-2m]

เจริญอานาปานสติ ตั้งสติให้ระลึกถึงลมหายใจ จิตจะค่อยๆรวมลงๆ เกิดปัสสัทธิ คือความสงบระงับเป็นอารมณ์อันเดียว เกิดเป็นสมาธิพระพุทธเจ้าท่านทรงเตือนเพื่อให้เราคอยตรวจตราจิตใจเรา อยู่สามข้อคือ ให้เราเป็น “ธรรมทายาท” อย่าเป็นอามิสทายาท, อย่าทำตัวเป็นศัตรูหรือปฏิปักษ์ แต่ให้ทำตัวเป็น “มิตรหรือมีความสอดคล้องกับพระพุทธเจ้า”, อย่าเป็นคนสุดท้าย แต่ให้เป็นคนที่จะสืบต่อธรรมะต่อไปด้วย “สติ”ท่านทำให้เป็นเหมือนกระจกเงา ให้เราพิจารณาตัวเราตลอดเวลา แม้ถูกกิเลสมารตัดออกไป เราก็ยังสืบต่อความดีด้วย “สติ”ตั้งมั่นใหม่ ไม่เป็นคนสุดท้าย จะมีเมตตา กรุณา อุเบกขา ต่อไปเรื่อยๆเมื่อเราเป็น “มัคคานุคาคือผู้เดินตามมรรค” เราก็จะเป็นผู้รับมรดกทางธรรมเป็นธรรมทายาท ได้ลิ้มรส “อมตะธรรมคือพระนิพพาน” ของพระพุทธเจ้าได้ให้เราประคองรักษาจิต รักษาสติ อยู่อย่างนี้ได้ตลอดทั้งวัน แล้วให้เห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามที่ความเป็นจริงในสิ่งต่าง ๆ ว่า “นั่นไม่ใช่ตัวเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/11/202259 minutes, 46 seconds
Episode Artwork

สังโฆคือการปฏิบัติ [6527-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการระลึกถึงสังโฆ สังโฆคือผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้งให้เราระลึกถึงคุณของสังโฆ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลก ผู้เห็นทุกข์ คือ เห็นธรรม เข้าใจอริยสัจสี่อย่างแจ่มแจ้งเปรียบเหมือน ปัจจันตนครที่มีเครื่องป้องกันเจ็ดปราการ โดยมีนายทวารหรือทหารยาม ฉลาด สามารถดี คือ มีสติ ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า คือ สติรักษาไม่ให้อกุศลจิตแทรกผ่านประตูเข้ามาอนุญาตให้เฉพาะคู่ราชฑูต คือ สมถวิปัสสนา มาส่งสาสาส์น คือ การเห็นตามความเป็นจริงคือนิพพาน สู่เจ้าเมืองคือวิญญาณ โดยผ่านตามทาง คือ มรรคแปดเมื่อผัสสะมากระทบผ่านประตูทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สติที่มีกำลังจะสังเกต แยกแยะ และก่อให้เกิด สมถวิปัสสนา เข้าสู่จิต เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในผัสสะที่มากระทบ ทั้งรูป ทั้งนาม ขันธ์ทั้งห้าเป็นกองทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตาวิญญาณเมื่อได้รับข่าวสารที่เป็นวิชชาเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ พ้น คือ วิมุตติ โดยมีนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่ จิตก็หลุดพ้น คือ ดับเย็นเป็นผู้รู้อย่างแจ่มแจ้ง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/4/20221 hour, 1 minute, 10 seconds
Episode Artwork

พลังสติ [6526-2m]

ฝึกพลังสติให้จิตใคร่ครวญไปในธรรม สติปัฏฐานสี่ คือ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรมฝีกให้ชำนาญในสติปัฏฐานสี่ จากการเพิ่มพลังสติการเพิ่มพลังสติมีห้านัยยะ โดยผ่านสติปัฏฐานสี่ คือ เราจะแค่รับรู้ “สังเกต”เห็นเฉยๆ ในสติปัฏฐานสี่ ด้วยสติ, พอสติมีกำลังแล้วจิตจะ “แยกแยะ”, แล้วจิตก็ “แยกตัว” ออก ไม่ตามสิ่งต่างๆ นั้นไป, จิตนั้นก็สามารถเลือกได้ว่าจะตอบสนองอย่างไร นั่นคือ จิตมี “ทางเลือก”, ก็จะเกิด “พลังสติ” ห่อหุ้มจิตเอาไว้พลังสติทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิตั้งมั่นแล้ว เราจะต้องใช้ปัญญา พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความดับไป, แม้จิตเราก็ไม่เที่ยง ไม่ควรที่จะเห็นเป็นตัวเรา เป็นของเรา “ละความยึดถือในกาย ในจิต”ให้เราอยู่กับสติ อยู่กับปัญญา, รักษาพลังสติ พลังปัญญา นี้ไว้ให้ดี. Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/27/20221 hour, 1 minute, 43 seconds
Episode Artwork

พุทโธ คือ กำลังใจ [6525-2m]

ปฏิบัติภาวนาโดยการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ในความเพียรสูง และการใช้ปัญญาอย่างสูงของพระองค์ความสำเร็จของท่านเกิดจากการใช้ปัญญาอยู่บนพื้นฐานของสมาธิ มีศีลเป็นบาทฐานขอให้เรามี ความหวัง คือ ศรัทธา ลงมือทำ คือ วิริยะ ตามเส้นทาง คือ มรรคมีองค์แปด คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ความสำเร็จเกิดขึ้นได้แน่นอนปัญหา ความทุกข์ ความท้อใจ ความผิดหวัง คือ โอกาสให้เกิดความสุข ให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความหวัง ใช้สติจดจ่อเอาไว้ ให้เกิดปัญญาเห็น ความเกิด-ดับ ความไม่เที่ยง ให้ได้ให้เราเร่งความเพียร คือ ต้องมีกำลังใจ ความหวัง ตั้งใจปฏิบัติในเวลานี้ ในเวลาที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น เวลาที่มีคำสอนของพระองค์หลงเหลืออยู่ และเราได้เป็นมนุษย์ จงอย่าประมาท Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/20/20221 hour, 4 seconds
Episode Artwork

ยอดธงแห่งผู้ประพฤติธรรม [6524-2m]

ฝึกปฏิบัติด้วยการระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ เพื่อให้เกิดสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ปัญญาจะเกิดขึ้น จะทำนิพพานให้แจ้ง ละอาสวะกิเลสได้จิตตั้งอยู่กับพุทโธ ธัมโม สังโฆ ปักเป็นยอดธงเอาไว้ จิตจะไม่ไปสะดุ้ง สะเทือนกับการเปลี่ยนแปลง สติห่อหุ้มจิตเป็นเยื่อบางๆ ไว้ ไม่แปดเปื้อนกับสิ่งที่มากระทบ สติมีกำลัง ความระงับของอายตนะค่อยๆ เกิดขึ้น เกิดอารมณ์อันเดียว ปีติ ปราโมทย์ เกิดสัมมาสมาธิ เกิดทาง.. ที่จะต่อสู้กับกิเลส อาจมีความท้อใจบ้าง ให้แน่วแน่ที่ยอดธง คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นเกราะ เป็นที่พึ่ง จะเกิดปัญญาแทงตลอด ให้เห็นตามความเป็นจริง เห็นความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา เห็นความไม่เที่ยง เห็นความเป็นอนัตตา ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/13/202257 minutes, 48 seconds
Episode Artwork

ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก [6523-2m]

ฝึกปฏิบัติให้สติของเรากำหนดไว้อยู่ในกาย คือ กายคตาสติ พิจารณา “ทุกขสัญญา” คือการกำหนดหมายโดยความเป็นทุกข์ของสิ่งต่างๆ มองด้วยปัญญาจากสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ให้เห็น “ขันธ์ทั้งห้า” เป็นของทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย แต่จิตของเราหลอกอยู่ให้เห็นว่า ขันธ์ทั้งห้าเป็น “สุขสัญญา” สุขจากการกินอิ่ม นอนหลับ เดินได้จนมีความเพลิน พอใจ ปรุงแต่ง รับรู้ เกิดอุปาทาน ยึดถือว่า ขันธ์ทั้งห้าเป็นของเรา เกิดตัณหาว่าต้องการให้มันเที่ยง นิจจัง แต่มันไม่เป็นอย่างนั้น ความทุกข์จึงเกิดขันธ์ทั้งห้าไม่ใช่ของสุข ที่แท้มันเป็นของทุกข์ เราต้องไม่เพลิน พอใจ หลงยึดถือ มันไม่ใช่ของที่จะเป็นสาระแก่นสาร จะมาหาความเมา ความสุขในสิ่งที่เป็นของหนัก ในสิ่งที่เป็นของทุกข์ มันไม่ได้เราต้องวาง “ของหนัก” คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ ไม่ไปยึดถือทั้งสุขเวทนา และทุกขเวทนา สุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา คือ สุขแบบเย็นๆ คือ นิพพาน มันชุ่มเย็นอยู่ในใจ ทำตรงนี้ให้ได้บ่อยๆ พิจารณาให้เห็นความยึดถืออยู่บ่อยๆ ใคร่ครวญ “ทุกขสัญญา” ตลอด เราจะเกิดความเข้าใจ เห็นความจริงว่า สิ่งที่มีสาระเป็นประโยชน์ คือ “อริยมรรคมีองค์แปด” คือ ปัญญา สมาธิ สติ ของเราเป็นสาระประโยชน์ เอามาปฏิบัติจะเป็นสิ่งที่พึ่งให้เกิดปัญญาอยู่ได้ตลอดทั้งวัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/6/20221 hour, 42 seconds
Episode Artwork

กิจที่ต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกยังมีอยู่ [6522-2m]

ในการปฏิบัติตามทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่างเพื่อให้ได้ ‘สามัญญผล’ นั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติที่ละเอียดลึกซึ้งลงไปตามลำดับขั้นตอน เริ่มจากการมี ‘หิริโอตตัปปะ’ เพื่อรักษาความประพฤติทางกาย วาจา ใจ การดำเนินชีวิต ไม่ยกตนข่มท่าน คือ เป็นไปเพื่อให้มี ‘ศีล’ ที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นนั่นเองอย่างไรก็ตาม เท่านั้นยังไม่พอ สามัญญผลยังต้องอาศัย ‘ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ’ ได้แก่ การสำรวมในอินทรีย์ การรู้ประมาณในการบริโภค การประกอบตนอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น การมีสติสัมปชัญญะ และการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เพื่อรักษาจิตของเราให้สงบลงเป็นสมาธิ เพื่อทำความรู้ให้เกิดขึ้นโดย พิจารณาตามอริยสัจ 4 ให้เห็นถึงความเป็นของไม่เที่ยงแม้แต่ตัว ‘จิต’ เอง เพื่อ ‘การปล่อยวาง’ และตั้งอยู่กับ ‘สติ’ เพื่อรักษาจิตที่เป็นสมาธินั้นไว้ให้ดี Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/30/202257 minutes, 49 seconds
Episode Artwork

ตื่นท่ามกลางผู้หลับ....หลับท่ามกลางผู้ตื่น [6521-2m]

“ตื่นท่ามกลางผู้หลับ หลับท่ามกลางผู้ตื่น” หากเปรียบเทียบกับ ปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลส หลับไปเพราะความประมาท เราถือว่าเป็นผู้ตื่น หากเปรียบเทียบกับพระอรหันต์ที่หมดกิเลสราคะแล้ว เรายังถือว่าเป็นผู้หลับอยู่สติระลึกถึง “พุทโธ” สติอยู่กับพุทโธ สติก็มาเนื่องกับจิต จิตก็ได้รับการรักษาด้วยสติ เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น สติที่รักษาจิตดีแล้วจะรับรู้ผัสสะ แต่ไม่ไปเกี่ยวเนื่องในผัสสะนั้นๆ คือ จิตสามารถแยกแยะ และแยกตัวจากอารมณ์ หรือสิ่งที่มากระทบได้ นั่นคือ “จิตที่สำรวม ระวัง” ได้ชื่อว่าเป็น “จิตที่ตื่นอยู่ ไม่ประมาท” ผู้มีสติ คือ “ตื่นแล้ว”หลับอย่างมีสติ ก่อนนอนให้ตั้งสติ ขอบาปอกุศลอย่าตามเราไปในขณะนอน เราจะไม่ฝัน พอไม่ฝัน ราคะ โทสะ โมหะก็ตามเราไปไม่ได้ และหากรู้ตัวให้ตื่นขึ้นทันที หรือเตรียมตื่นในขณะที่นอนหลับ อย่างนี้เรียกว่า มีสติสัมปชัญญะในการนอนตื่นและหลับอยู่ ให้มี “สติ” ตลอดเวลา เมื่อจิตพัฒนาขึ้นๆ จะเกิด “ปัญญา” เห็นความไม่เที่ยงของจิตว่าเดี๋ยวสงบ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน ไม่ควรที่เราจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา ปล่อยวาง ให้ “สติและจิต” อยู่ด้วยกันตลอด อยู่ในช่องทางใจที่มีการจัดระเบียบดีแล้ว ปัญญาก็จะเกิดขึ้น เห็นตามความเป็นจริง เราจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ ไปตามทางที่มีองค์ประกอบแปดอย่าง จะทำให้รู้ถึงความตื่นอยู่เป็นขั้นๆ มีการพัฒนาการ รู้เห็นธรรมได้นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/23/202259 minutes, 44 seconds
Episode Artwork

ความทุกข์เกิดขึ้นเฉพาะตน [6520-2m]

“ความแก่ ความเจ็บ ความตาย” เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นสิ่งที่เกิดเฉพาะตน ไม่สามารถทุกข์แทนกันได้“สติ” เป็นองค์ธรรมแรกที่สำคัญ ทำให้เราหลุดออกจากทุกข์ในวัฏฏะของ “ความแก่ ความเจ็บ ความตาย” ได้ สติเป็นทักษะที่ฝึกได้เริ่มจากการ “ตั้งสติ” ระลึกถึงคุณตวามดีของ “พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์” ว่า “มีคุณมหาศาล เกิดขึ้นได้ยากมากๆ” จะช่วยทำให้จิตเราตั้งอยู่ใน “กุศลธรรม” ได้ตลอดเวลาด้วยเหตุที่ว่า “เมื่อจิตตริตรึกคิดนึกไปทางใด จิตย่อมน้อมไปด้วยอาการนั้น” ดังนั้น เมื่อเราระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ สิ่งดีๆ ที่เป็นกุศลธรรม ปัญญา ความเพียร ความอดทน ต่างๆ จะมาครอบงำจิตใจของเรา อารมณ์ต่างๆ ที่เป็นอกุศล เช่น ความกังวลใจ ความทุกข์ จะครอบงำจิตใจเราไม่ได้เมื่อมีสติอย่างต่อเนื่อง เราจะมีสมาธิ เกิดปัญญามองเห็นความแก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องปกติ เห็นความไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ “เราจึงไม่ยึดมั่น” ทั้งกาย เวทนา ความรู้สึก ความนึกคิดต่างๆ รวมถึง จิตก็ “ไม่ใช่เรา” เพราะมันไม่เที่ยงเห็นอย่างนี้แล้ว “วางความยึดถือ วางความยึดมั่น” นั่นคือสบายแล้ว เกิดความรู้ คือ เกิด “วิชชา” อวิชชาก็ดับ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/16/20221 hour, 1 minute, 12 seconds
Episode Artwork

ชัยชนะอันไม่กลับแพ้ [6519-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติ เริ่มจากการตั้งสติ เพื่อให้เราฝึกทักษะการสังเกตอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ลมหายใจ สังเกตุทั้งกายและจิต เพื่อการแยกแยะ มีสติแล้วสมาธิก็ตั้งมั่น จนเกิดปัญญาวุธ คือ ปัญญาที่เห็นทุกสิ่งในโลกนั้น เป็นสมมติ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา พิจารณาซ้ำๆ ลงไปก็จะเห็นตามความเป็นจริงเมื่อเกิดปัญญาวุธ เราจึงเห็นทุกสิ่งๆ มีแค่ “ธาตุ” เป็นองค์ประกอบ หาใช่ตัวเราไม่ หากแต่เรามีอุปาทานไปยึด ไปเกาะ ที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเราจะกำจัดอุปาทานได้ เราต้องพิจารณาขันธ์ทั้งห้า ว่าไม่เที่ยง เป็นอนัตตา พิจารณาย้ำ ซ้ำลงไปอีก จนจิตคลายกำหนัด คลายความยึดถือ อุปาทานก็จะลอกออกๆ กิเลสจะลดลงๆแต่เรายังไม่สามารถถอนราก เหง้าของกิเลส นั่นคือ “ตัณหา และ อวิชชา” ซึ่งอยู่ใน “จิต” ของเราได้ จนกว่าเราจะพิจารณาเห็น “ความไม่เที่ยงของจิต” บางทีก็เป็นประภัสสร บางทีก็เศร้าหมอง เมื่อไม่เที่ยง แม้แต่จิตเราก็ไม่เอา อวิชชา ตัณหาก็ดับ ความดับเย็น นั้นคือนิพพาน นั้นคือ “ชัยชนะอันไม่กลับแพ้”รักษาความชนะที่ชนะแล้วได้ดี ไม่มีความอาลัย เป็นผู้ไม่ติดถิ่นที่อยู่ (กิเลส) ด้วย “ปัญญาวุธ” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/9/202258 minutes, 11 seconds
Episode Artwork

เมื่อจะเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด เมื่อจะดับ ทุกข์เท่านั้นย่อมดับ [6518-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญอุปสมานุสติ คือ การพิจารณาระลึกถึงคุณพระนิพพาน คือ นึกถึงความระงับ สงบ เห็นความดับของสิ่งต่างๆพิจารณาว่า ทุกๆ สิ่งล้วนแต่มี “ความเกิด ความดับ” เป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น ความคิด ลมหายใจ มรรค สมาธิ ปัญญา ศีล ขันธ์ทั้งห้า และอื่นๆเราจะสังเกตุความดับได้ เราต้องมี “สติ” เมื่อมีสติ “เห็นเกิด เห็นดับ” เราก็จะเกิด “ปัญญา” เข้าใจสิ่งต่างๆ ว่า ทุกสิ่งมีทุกขลักษณะ คือ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สี่งนั้นล้วนแต่มีความดับไปเป็นธรรมดา” “ทุกข์เท่านั้นแหละ มันเกิด ทุกข์เท่านั้นแหละ มันดับ” พิจารณาจนเกิดปัญญาหรือญาณในจิตใจ เราจะอยู่ในทางสายกลาง มีสัมมาทิฐิ คือ กิเลส ตัณหาลดลงเมื่อเรามีสติ ปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริง เราจะ “วาง” สิ่งเกิด-ดับ “วาง” สิ่งที่มีคุณสมบัติของความเป็นทุกข์ รวมถึงวางมรรคทั้งแปดด้วยนั้นคือ นิพพาน เราก็ออกจากทาง คือ ดับได้ เย็นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/2/202258 minutes, 28 seconds
Episode Artwork

สถานะที่ควรพิจารณาเนืองๆ [6517-2m]

ตั้งจิตพิจารณา “สิ่งที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ” เพื่อว่าจะได้ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่เกิดความกังวลใจ ไม่เกิดอกุศล ป้องกันระมัดระวังไม่ให้เกิดมิจฉาวาจา มิจฉาอาชีวะ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาทิฐิ หยุดอกุศลธรรมทางกาย วาจา ใจ ได้สิ่งที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ ห้าอย่างนั้น คือ 1. เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ 2. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ 3. เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ 4. เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย 5. เรามีกรรมเป็นของๆ ตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นบางทีความมัวเมาเกิดจากการที่เรายินดีในความเป็นหนุ่ม-สาว ความไม่มีโรค ความมีชีวิตดี เพลิดเพลินกับของที่รัก แล้วพอเกิดเรื่องไม่ดี เราก็กังวลใจ เกิดอกุศลจิตเช่นความไม่สบายใจ แต่พอเราพิจารณาห้าอย่างนี้ ความมัวเมาในหนุ่ม-สาว ความไม่มีโรค ความมีชีวิตดี เพลินของรักชอบ ก็ลดลง ไม่กังวลใจ เบาใจด้วยการเห็นตามความเป็นจริง เราจะรักษาจิตที่เป็นกุศลธรรมได้เมื่อเราพิจารณาห้าอย่างนี้อยู่เนืองๆ จนชำนาญ เราจะทำจิตให้อยู่เหนือจากความเป็นหนุ่ม-สาว ความแก่-ความเฒ่า ความเจ็บป่วย ความสบาย อยู่เหนือจากชีวิต อยู่เหนือจากความตาย ให้พ้นได้นั่นเองอยู่เหนือ นั้นคือ “พ้น” พ้น คือ “วิมุตติ” เข้าสู่นิพพานได้นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/25/202257 minutes, 1 second
Episode Artwork

เวทนาใดๆ ย่อมประมวลลงในความทุกข์ [6516-2m]

“เวทนาใดๆ ก็ตาม เวทนานั้นๆ ประมวลลงในความทุกข์” ข้อนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสหมายถึง ความไม่เที่ยง ความเป็นของสิ้นไป ความเป็นของเสื่อมไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แห่งสังขารทั้งหลายนั่นเองเราปฏิบัติภาวนาเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ เพื่อให้เกิด “ปัญญา” เพื่อเอากุศล ไม่เอาอกุศล นั่งสมาธิไม่ได้เอา “สุขเวทนา”ปุถุชนทั่วไป เทวดา สัตว์นรกต่างก็ “รักสุข เกลียดทุกข์” จิตเราจะ “เสวยเวทนา” ทั้งสุข ทุกข์อยู่ร่ำไปจากการ “คิดชั้นเดียว ไม่มีตา” การยึดเอาสุขเวทนาเป็นที่พึ่ง ยิ่งทำให้เราถูกพัดพาไปในกระแสแห่งตัณหา เราจะยิ่งเจอทุกข์มากขึ้นแต่หากเราเริ่มจากศีลห้า เราจะคิดขึ้นไปอีกชั้น เลือกแต่กุศล นั่นคือ เรามีดวงตา มีปัญญาเพิ่มขึ้น แต่เราก็ยัง “ติดในสุข ทุกข์” มันก็ยังพ้นจากสุข ทุกข์ไม่ได้เราต้องมีดวงตาที่สอง คือ มี “ปัญญา” เพื่อมองให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกขลักษณะมีในทั้งสุขและทุกข์ คือ ไม่เที่ยง ดังนั้น “เราไม่เอาเวทนาทั้งสุขและทุกข์” แต่เราจะ “เอากุศล ไม่เอาอกุศล” นั่นคือ เรามีปัญญา มีความผาสุกได้ทุกที่ คือ “อยู่เหนือสุขเหนือทุกข์” ซึ่งเกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เราเห็นได้ด้วยปัญญาว่า สิ่งที่เป็นที่พึ่งได้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สติปัฏฐานสี่ เอาศีล สมาธิ ปัญญา เป็นแพ เป็นทาง คือ มรรคมีองค์แปดอย่างนี้ จะทำให้จิตเราผาสุก เย็น คือ ข้ามฝั่งไปนิพพานได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/18/20221 hour, 45 seconds
Episode Artwork

บรรณาการคือพัฒนาการ [6515-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุสปัสสนาสติปัฏฐาน โดยใช้เครื่องบรรณาการ, เครื่องบรรณาการหมายถึง การให้...เพื่อให้จิตเกิด “พัฒนาการ”เริ่มจากการปลูก การสร้าง “ศรัทธา” ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่น พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หรือ บุคคลที่ปฏิบัติดี เป็นเครื่องบรรณาการให้จิตมีการพัฒนาในการเข้าไปหาสิ่งนั้น ๆ, เมื่อเข้าไปหาสิ่งนั้น ๆ จิตเราจะพัฒนาให้เข้าไปนั่งใกล้, เมื่อเข้าไปนั่งใกล้เป็นเครื่องบรรณาการ จิตจะเงี่ยโสตลงหรือตั้งใจฟังซึ่งธรรมะมากขึ้น ๆ, เมื่อเงี่ยโสตฟังธรรมมากขึ้น จิตเราย่อมทรงไว้ซึ่งธรรมะนั้น ๆ ได้, เมื่อจิตทรงไว้ซึ่งธรรมะนั้นได้ จิตเราจะพัฒนาใคร่ครวญเนื้อความธรรมะนั้น ๆ, เมื่อพิจารณาธรรมะนั้น ๆ จิตจะพัฒนางอกเงยให้ธรรมะนั้น ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ได้, เมื่อธรรมะนั้น ๆ ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ได้ จิตเราจะเกิดความพอใจ หรือ ฉันทะ, ก่อให้เกิดความอุตสาหะ, ความอุตสาหะ จะทำให้มีการพิจารณาหาสมดุลแห่งธรรมนั้น, เมื่อมีความสมดุลในธรรม จิตจะพัฒนาในการตั้งมั่นในธรรม เพื่อความต่อเนี่องอย่างเป็นระบบ..เมื่อจิตเราตั้งมั่นในธรรม แลัวมีพัฒนาการอยู่เรื่อย ๆ เราจะสามารถตามรู้ซึ่งความจริงได้ เราจะสามารถบรรลุซึ่งอริยสัจ เข้าถึงธรรม นำธรรมะเข้าสู่ใจได้ “ทำให้มาก เจริญให้มาก”ว่าด้วยพระสูตรจังกีสูตร  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/11/20221 hour, 44 seconds
Episode Artwork

การล็อคสองชั้นของจิต [6514-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญจิตตานุสปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้เห็นจิตในจิตเริ่มจากตั้งศรัทธาไว้ใน “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” จิตจะน้อมไปในเจตนาดี มีศรัทธานั่นคือเรามีสัมมาทิฐิ, สัมมาวายามะ แล้วเราก้าวสู่ความปกติคือมี “ศีล” ทันที คือเป็นสัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวาจา“ศีล” เป็นเครื่องมือแรกที่เราจะเข้าไปหา “จิต” เพื่อทำให้ กาย,วาจา สงบ ระงับส่วนทางใจต้องไม่ประมาทโดยการ “มีสติ” เพื่อให้สติอยู่กับจิตตลอดเวลา สติคือการแยกแยะ แจกแจง ในผัสสะ, ธรรมารมณ์ต่างๆที่เขามากระทบจิตที่ผ่านทางอายตนะทั้งหก หากเรามีสติเรื่อยๆ สติจะมีกำลังขณะนั้นใจมีความสงบระงับ เป็นประภัสสร เป็นสมาธิ เราก็จะเห็นจิตของเรา และพบว่า จิตเรามี “อวิชชา” ทำให้มีการปรุงแต่ง(สังขาร)ของจิตตลอดเวลา เกิด “ภพ สภาวะ”เพราะความยึดมั่น จิตก็จะก้าวลงในสิ่งนั้น เกิดทุกข์ จาก “อวิชชาที่หลอกจิตให้ปรุงแต่งอยู่ร่ำไป” นี่คือ “จิตหลอกชั้นที่หนึ่ง”หากเรามีสติตั้งมั่น สัมมาสติ สัมมาสมาธิเกิด, “วิชชา” ความรู้ก็เกิดขึ้นว่า “จิต..ไม่ต้องไปปรุงแต่งสิ่งต่างๆก็ได้” เมื่อไม่ปรุงแต่ง สังขารดับ “องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ หรือ โพชฌงค์” ก็เกิดอวิชชาหลอกจิตชั้นที่สองว่า จิตคือตัวตนของเรา คิดว่าจิตเป็นอัตตาหากแต่ “จิต” เป็นไปตามเงื่อนไข เหตุ ปัจจัย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์, ดังนั้น “จิตเป็นอนัตตา” จิตเป็นของโลก ไม่ใช่ของเราแล้วทำอย่างไรเล่า ก็ “ให้ละ ให้วางจิต” เพื่อไปสู่ทาง “พระนิพพาน” ทางนี้ ทางเดียว. Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/4/202259 minutes, 20 seconds
Episode Artwork

ที่ดำเนินไปของจิต [6513-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุสติธรรมชาติของจิตไปได้ไกล เร็ว เหมือนลิงจับกิ่งไม้โหนตัวไปมา หากจับกิ่งไม้ไม่ดี ก็ร่วงหล่นได้รับอันตราย ดังนั้น ที่ดำเนินไปของจิตจึงมีความสำคัญ หากจิตที่ไม่ได้รับการรักษา เวลามีสิ่งมากระทบจิตก็จะวุ่นวายขึ้น-ลง หวั่นไหวไปตามเรื่องนั้นๆท่านเปรียบจิตของเรา หากออกนอกที่ที่มันควรจะอยู่ ไปในที่ที่ไม่ควรไป จิตของเรามีปัญหาแน่นอน ต้องระมัดระวัง ดังเช่น นกมูลไถ นกเหยี่ยว และลิงโง่ ที่เกิดอันตรายไปในที่ที่ไม่ใช่วิสัยของบิดาตนที่ที่จิตไม่ควรเที่ยวไป คือ ความคิดทางกาม พยาบาท เบียดเบียน สิ่งที่ไม่ควรทำ นั่นคือการผิดศีล สิ่งที่ไม่ควรมี นั่นคือ เรื่องนิวรณ์ เรื่องอกุศลธรรมทั้งหลาย อย่าให้จิตของเราไปทางนั้นควรมีสัมมาทิฐิ (แยกแยะดีชั่ว ถูกผิด) มีสัมมาสติ (ระลึกได้ว่าสิ่งใดดีชั่ว ไม่เพลิดเพลิน หลงมัวเมา) และมีสัมมาวายามะ (ความเพียร) รักษาจิต ตริตรึกน้อมไปทางกุศลยิ่งขึ้นๆ, สัมมาสังกัปปะ (ความคิด ดำริที่จะออกจากกาม ความคิดไม่พยาบาท ไม่ปองร้าย ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น) ก็เพิ่มขึ้นๆ มีเมตตาต่อกัน เพียรไปในทางกุศลทั้งกาย วาจา ใจเปรียบตัวเราเหมือนช้างที่กำลังฝึก คำสอนหรือพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนควาญช้างที่ฝึกจิตของเราให้ไปตามทางมรรค 8 ให้เห็นอริยสัจสี่ ให้ไปในที่ที่ไม่เคยไป คือ เข้าถึงพระนิพพานอย่างอดทน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/28/202258 minutes, 54 seconds
Episode Artwork

หนทางเอกในการล่วงทุกข์ [6512-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุสติทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสัมผัสทั้งหมด ทั้งรูป-นาม ล้วนแต่มีเหตุ มีปัจจัย มีเงื่อนไข ต้องอาศัยสิ่งนี้ ต้องอาศัยสิ่งนั้นเกิด เป็นกฎธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว จึงมีความเป็น “อนัตตา” ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก เกิดทุกข์ที่ทนได้ยาก คือ ความทุกข์ และทุกข์ที่ทนได้ง่าย คือ ความสุขเหตุของทุกข์ คือ ตัณหา ความทะยานอยาก เมื่อเกิดผัสสะ ก็เกิดเวทนาความรู้สึก ยินดี ยินร้าย และเกิดตัณหา จิตเกิดความอยากมี ความอยากไม่มี จิตจึงเข้าไปยึดถือ คือ อุปาทานในสิ่งนั้น เกิดทุกข์ลงที่ “ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” ไม่ได้เกิดที่ไหน จนเราคิดว่าเป็นตัวเรารู้สึกทันที เกิดเป็นภพ เป็นสภาวะผัสสะเกิดที่ไหน จิตอยู่ที่นั่น จิตอยู่ที่ไหน ความทุกข์เกิดที่นั่น ความทุกข์เกิด เพราะมีความทะยานอยาก ตัณหา มีความยึดมั่นถือมั่น อุปาทานในสิ่งที่เป็นขันธ์ห้าทั้งหมด เกิดเป็นตัวตน คือ สภาวะ สภาวะแห่งการสั่งสม เหตุเกิดเพราะอวิชชา ความไม่รู้ครอบงำจิต เข้าใจว่าทุกสิ่งเป็นอัตตา เป็นสุข เที่ยง จึงเกิดเป็น “สังสารวัฏ” เปรียบเสมือนกรงขังเราอยู่ ที่ไม่รู้เวลาออก ถูกรัดตึงด้วยตัณหา ครอบงำด้วยอวิชชา วนไปวนมานับไม่ถ้วนพระพุทธเจ้าทรงค้นพบสิ่งที่มีอยู่ ความตั้งอยู่เป็นธรรมดา “ธัมมัฏฐิตตา” ความตั้งอยู่เป็นธรรมชาติ “ธัมมนิยามตา” ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น “อิทัปปัจจยตา”พระพุทธเจ้าทรงใคร่ครวญทางพ้นทุกข์ ในธรรมะ คือ สติปัฏฐานสี่ คือ สติสัมโพชฌงค์ หนึ่งในองค์ธรรมตรัสรู้ เกิดสัมมาสติ มีความเพียร คือ สัมมาวายามะ ตั้งจิตไว้ในจิตที่ถูกต้องมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัมปะ ศีลครบก็เกิดสัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา จิตเริ่มระงับลงๆ จนเกิดเป็นสัมมาสมาธิ เกิดพร้อม ถึงพร้อมองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ที่เป็นทางสายกลางไม่แล่นไปสุดโต่งสุขหรือทุกข์ เป็นคำสอนที่เราปฏิบัติได้ มีอยู่ตามธรรมชาติ ปฏิบัติตามเพื่อความถึงพร้อม รู้พร้อม คือ มัชฌิมาปฏิปทา ทางเอกในการเข้าสู่พระนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/21/202259 minutes, 1 second
Episode Artwork

การเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบท [6511-2m]

ปฏิบัติภาวนา ด้วยการเจริญอานาปานสติ มีสติอยู่กับลมหายใจ จนจิตสงบระงับเพื่อสังเกตเห็นผัสสะที่เข้ามา เห็นการเปลี่ยนแปลงของจิตที่มีเวทนาสุข ทุกข์ ไม่สุข-ไม่ทุกข์ เพื่อให้เข้าถึงปัญญาว่า ผัสสะที่เข้ามากระทบนั้นไม่เที่ยง ผ่านทางกายที่ไม่เที่ยง เวทนาที่เกิดขึ้นในจิตนั้นจึงไม่เที่ยง เกิดวิชชาขึ้นทันที เห็นความดับไปของอวิชชา ลดการสั่งสมของอวิชชาอาสวะออกจากจิตเรา พอสั่งสมไม่ได้ อวิชชาอาสวะก็ค่อยๆ หลุดออกไป ดังนั้นหากเราเข้าใจถูก มันจะไม่เกิดสภาวะแห่งการสั่งสมของอวิชชา มันก็ดับลงไปได้เองนั่นแลแต่หากผัสสะที่เข้ามากระทบเป็นเหตุเป็นปัจจัยเกิดเวทนาที่ช่องทางใจ มันก็จะสั่งสมเป็นอาสวะอยู่ที่จิต เกิดเป็นความพอใจ เกิดตัณหา เกิดกามสวะ เกิดความไม่อยากได้ ก็เกิดการสะสมภพ เกิดภวาสวะ เกิดความไม่รู้ ไม่เข้าใจในผัสสะเวทนานั้น มันก็จะเข้าไปสะสมในจิตเกิดอวิชชาสวะ สภาวะแห่งการสะสมก็คือ จิตมีความไม่รู้ไม่เข้าใจ สั่งสมสิ่งที่เป็นกาม ภพ อวิชชา ต่อไปๆพระพุทธเจ้าทรงเทศนาเรื่องเวทนา ทรงโปรดปริพาชกชื่ออัคคิเวสสนะ พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ ได้ฟังเทศนานั้น ท่านฟังด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ด้วยปัญญาที่มีมากของพระสารีบุตร ท่านฟังนัยยะที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาเรื่องเวทนา ท่านสามารถแยกแยะ แตกฉาน ท่านเห็นในสมาธิกว้างขวางออกไปได้ถึง 16 อย่าง และลึกลงไปในรายละเอียดได้ถึง 7 อย่าง ในแต่ละชั้นฌานสมาธิ จึงได้สำเร็จพระอรหันต์ท่านพระสารีบุตรด้วยความที่มีปัญญามาก ท่านพิจารณาใคร่ครวญแต่ละจุดๆ เห็นแจ่มแจ้งเหมือนกันหมดว่าสิ่งใดที่ไม่เคยมีมา ด้วยเหตุที่มันปรุงแต่งมา สิ่งที่มีมา ตั้งอยู่คงอยู่ ด้วยเหตุที่มันยังอยู่ มันยังคงไว้ สิ่งที่มันมีมาตั้งอยู่แล้ว บางทีมันก็เสื่อมไป ตั้งหายไป ตามเหตุที่มันเปลี่ยนไปดับไป เกิดมีอยู่ขึ้นมา จากเดิมที่มันก็ไม่ได้มีมา มีมาอยู่ดีแล้ว ตั้งไว้ บางทีก็เสื่อมไป ทุกอย่างล่วนมีเหตุปัจจัย เกิดขึ้นได้ไม่เพียงแต่เวทนา ยังเกิดกับสัญญา จิตที่เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) สุข ปีติ วิตก วิจาร วิญญาณ ฉันทะ ความเพียร สติ อุเบกขา อภิโมกข์...ว่า 1. มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา (อนิจจัง) 2. เป็นของปรุงแต่ง (สังขตะ) 3. เป็นของอาศัยการเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปปันนธรรม) 4. มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา (วยธรรมา) 5. มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา (ขยธรรมา) 6. มีความจางคลายเป็นธรรมดา (วิราคะธรรมา) 7. มีความดับเป็นธรรมดา (นิโรธธรรมา)ท่านเห็นได้กำหนดตามลำดับบททั้งที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แบบนี้ 7 อย่าง ใน 16 อย่างนี้ จึงเกิดอริยะปัญญา ปัญญาที่เป็นของประเสริฐของพระอริยเจ้า เห็นความไม่เที่ยงซ้ำๆ ในฌานอย่างละเอียดลึกลึ้งจึงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เกิดนิพพิทา และปล่อยวาง วิมุตติ (ความพ้น) จึงเกิดขึ้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/14/202259 minutes, 31 seconds
Episode Artwork

ละสุข 4 เพื่อสุข 4 ยังให้เกิดปัญญาผล 4 [6510-2m]

“กามสุขัลลิกานุโยค” การหาความสุขจากกาม เป็นความสุขน้อย ทุกข์มาก เป็นความสุขที่เป็นมิจฉาทำให้กิเลสพอกพูน เป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน ปุถุชน ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงเป็นสิ่งที่ควรละเสียเราจึงควรมาหาความสุขในทางที่หลีกออกจากกาม โดยการมีศีลให้ครบบริบูรณ์ โดยเริ่มจากศีลห้า คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด เพ้อเจ้อ คำหยาบ ส่อเสียด ไม่เสพสุรายาเสพติด เมื่อเรารักษาศีลได้ กามจะไม่มาบีบคั้นเราได้ เราจึงมีจิตใจผาสุก ไม่ร้อนใจการที่จะรักษาศีลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขาด ไม่ด่างพร้อย เราต้องระลึกถึงศีลอยู่ตลอด เรียกว่า “สีลานุสติ” ควบคุมจิตใจตนเองให้อยู่ในกรอบของศีล บาปอกุศลจะค่อยๆ ถูกปลดออกจากใจ เราจะสบายใจ ไม่ร้อนใจ เกิดปิติ พอมีสติที่เกิดจากการระลึกถึงศีลของตนเป็นประจำ จิตก็จะระงับลงๆ จนจิตเข้าเป็นอารมณ์อันเดียวได้ คือ สมาธิ เป็นจิตที่สงัดจากกาม พยาบาท เบียดเบียน จิตก็จะเป็นปีติ สุข เป็นความสุขที่เหนือกว่ากาม เกิดสัมมาทิฏฐิแต่มันก็ยังเกี่ยวข้องกับสุข-ทุกข์ จุดประสงค์ คือ เพื่อให้เราจะอยู่เหนือสุข-ทุกข์ เราจึงต้องมีทั้งสุขและทุกข์ และต้องมองให้เห็นตามความเป็นจริงเมื่อเราไม่หากามสุขไปในกาม 4 อย่างด้วยการผิดศีลแล้ว หลีกออกจากกาม เราจึงมีสุขที่เกิดจากภายใน จากจิตที่ระงับจนเกิดสุขจากฌานสมาธิ 4 ขั้น และอานิสงส์ผลที่ได้ คือ ปัญญา ปัญญาก็จะออกผลออกมาเป็น 4 อย่าง คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ปัญญาเป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/7/202257 minutes, 29 seconds
Episode Artwork

เหนือความวุ่นวายขัดข้อง ถึงซึ่งความสงบแบบไม่กลับกำเริบ [6509-2m]

ปฏิบัติภาวนา ด้วยการเจริญอานาปานสติ สติระลึกอยู่ที่ลมหายใจ เพื่อให้จิตสงบระงับ ปฏิบัติตามสติปัฏฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อให้เกิดความพ้นพระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีที่จะพ้นจากความวุ่นวาย ความขัดข้องใจแก่ ยสกุลบุตร ซึ่งแม้ยสกุลบุตรได้รับการปรนเปรอด้วยกาม ความกำหนัด ความพอใจอย่างมากมายก็ยังมีความวุ่นวาย ความขัดข้อง ความไม่สงบอยู่ในใจหนทางที่จะไปถึงความไม่วุ่นวาย ความไม่ขัดข้อง ความสงบ คือ มรรคมีองค์แปด นับตั้งแต่ การตั้งสติมั่นเป็นสัมมาสติ เกิดศีล สมาธิ ปัญญา มีความเพียร ความระลึกชอบ ต้องเห็นโทษของนาม-รูป ขันธ์ทั้งห้า เห็นโทษในกาม เห็นโทษในสิ่งต่างๆ พิจารณาไตร่ตรองให้เกิดปัญญา เห็นโทษของความไม่เที่ยง ทำวิชชา คือ ความรู้ให้เกิดขึ้นเพื่อที่จะวาง ละความยึดถือยึดมั่น ก็จะอยู่เหนือความวุ่นวาย ความขัดข้อง ความไม่สงบนั้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/28/202255 minutes, 36 seconds
Episode Artwork

การเจริญเทวตานุสสติ [6508-2m]

ปฏิบัติภาวนา ด้วยการเจริญเทวตานุสสติ ระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของเทวดาและของตนเอง เพื่อให้มีความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่นมีความสุขอยู่ภายใน เจริญกุศลจิต เห็นสัมมาทิฐิได้ เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ จิตสงบ ระงับจากตัณหา ระงับจากความอยาก ความทุกข์ลดลง จิตใจแจ่มใสมากขึ้น ปัญญาเพิ่มขึ้น ศรัทธามากขึ้น ศีลดีขึ้น ฟังธรรมมากขึ้น บริจาค ละมากขึ้น กิเลสตัณหาก็ลดลง จิตดำเนินไปตามทางมรรคมีองค์แปด จิตตั้งตรง ดำรงอยู่ได้ มีความรู้ อรรถะธรรมะมากขึ้น ระลึก รู้สติในความดี และพัฒนาจิตให้บริสุทธิ์ขึ้นได้ ด้วยการเจริญเทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/21/202258 minutes, 30 seconds
Episode Artwork

โทษของกาม 10 โทษของขันธ์ 5 และธัมมุทเทส 4 [6507-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุปัสสนาสติ โดยการระลึกถึงคุณพระธรรมของพระพุทธเจ้าพิจารณา ”อาทีนวะ” คือ พิจารณาความเป็นโทษ· โทษของกาม 10 ประการ คือ พระพุทธเจ้าทรงตรัสอุปมาโทษของกามไว้เพื่อให้ละความกำหนัด ยินดีในกาม และเห็นโทษของกามว่า1. เหมือนสุนัขหิวแทะท่อนกระดูก คือ ยิ่งแทะ ยิ่งเหนื่อย อร่อยแต่ไม่เต็มอิ่ม มีความสุขเพียงชั่วครู่หากแต่ไม่อิ่มไม่พอ2. เหมือนชิ้นเนื้อที่แร้งหรือเหยี่ยวคาบบินมา คือ ต้องถูกแย่งชิงโดยนกกาตัวอื่น ต้องต่อสู้ปกป้องตลอดเวลา เกิดความเบียดเบียนเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา ต้องคอยระวังหวงกั้นไม่ให้สิ่งนั้นหายไป3. เหมือนคบเพลิงหญ้า ถือได้ไม่นานก็ต้องทิ้งไป มิฉะนั้นจะไหม้มือ แถมถูกควันไฟรมเอาตลอดเวลาที่ถือ4. เหมือนหลุมถ่านเพลิง อันร้อนระอุ ไฟสุมอยู่ภายใน5. เหมือนฝันดี ตื่นมาแล้วหาย6. เหมือนของที่ยืมเขามาแล้วต้องคืน7. เหมือนผลไม้บนต้นไม้ ใครจะมาเอาไปก็ได้ และยังต้องคอยดูแลให้ดี8. เหมือนเขียงสับเนื้อ ยอมโดนโขกสับเพื่อแลกเศษเนื้อติดเขียง9. เหมือนหอก และหลาวที่กลับมาทิ่มแทงเราได้10. เหมือนหัวงูพิษที่โกรธเมื่อไรก็จะฉกเรากลับทันที· โทษของขันธ์ 5 คือ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพื่อให้เห็นโทษของขันธ์ 5 ไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่น· ธัมมุทเทส 4 พิจารณาเห็นโทษของความเสื่อม 4 อย่าง เพื่อความไม่ประมาท1. โลกอันนำชราเข้าไป ไม่ยั่งยืน: ความเสื่อมจากชรา เจ็บไข้ โภคะ ญาติ ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง2. โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน: พิจารณาคนที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ถึงเวลาก็ต้องชรา เจ็บป่วย ตาย ไม่มีใครเป็นใหญ่ตลอดกาล3. โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป: พิจารณาไม่มีอะไรในโลกเป็นของตน ต้องคืนกลับโลกไป4. โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา: พิจารณาว่าปุถุชนไม่รู้จักอิ่มมีความอยาก มีตัณหาตลอดเวลาเมื่อพิจารณาเห็นโทษของสิ่งต่างๆ อย่างนี้แล้ว ให้ปล่อย ละ วาง ความยึดถือในขันธ์ 5 คลายความกำหนัด ยินดี จิตใจเราก็จะประเสริฐถึงทางไปสู่นิพพานได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/14/202254 minutes, 22 seconds
Episode Artwork

หนทางแห่งการตรัสรู้ [6506-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญพุทธานุสสติ โดยการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เพื่อพิจารณา ทบทวนหาช่องทางการดำเนินชีวิต โดยศึกษาการใช้ปัญญาเพื่อหาหนทางการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้าเรากำหนดจิตไว้กับ “พุทโธ พุทโธ” จนจิตรวมเป็นสมาธิ เรียกว่า “สัมมาสมาธิ” เราจะเห็น “ธรรมะ” ของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เข้ากันได้หมด เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีอะไรที่จะไม่เข้ากันเลย สิ่งที่เข้ากันไม่ได้นั้น เรียกว่า “นิวรณ์” คือ เครื่องกางกั้น ที่กั้นให้เราไม่เห็นทาง และเป็นสิ่งที่เราต้องกำจัดออกพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ได้มีเทวทูต นำทางให้ออกบรรพชา ท่านได้ฝึกความเพียรตามสองดาบส แต่ก็ยังมีเวทนา ท่านบำเพ็ญทุกรกิริยา บีบกาย บีบใจอย่างหนักก็ยังไม่พ้นทุกข์ จนใช้ทางสายกลาง มรรคมีองค์แปด และใช้ปัญญาพิจารณาจนเห็นว่า ขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์ ยังคงเกิดภพ เพราะมีตัณหาเป็นตัวยึด มีอวิชชาเป็นตัวชักนำ ต้องพิจารณาดับกิเลส อาสวะ นั่นคือ นิโรธ จนพบทางออกที่ไม่มีทางตัน และไม่ย้อนกลับ คือ พระนิพพานชีวิตของเรามีทางออกเสมอ มาตามทางมรรคแปด พร้อมด้วยศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะพบทางออก ตาม “สัมมา สัมพุทโธ” องค์พระพุทธเจ้า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/7/202259 minutes, 9 seconds
Episode Artwork

กว่าจะเป็นทองคำ [6505-2m]

ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญพุทธานุสติ ตั้งพุทโธไว้ในใจ จิตรวมสงบระงับลงจนเป็นสมาธิ พระพุทธเจ้าทรงตรัสอธิบายการกำจัดอุปกิเลสหรือกำจัดเครื่องเศร้าหมองของใจไว้ในสังฆสูตร ว่าเปรียบเสมือน คนล้างทองที่ต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้องมาล้างทอง เพื่อทำให้เป็นทองบริสุทธิ์ ดังนี้1. อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สามารถทำให้หมดไปได้ด้วย “ศีล” คือ “ละบาปทั้งปวง”2. อุปกิเลสอย่างกลาง คือ ความตริตรึกไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน สามารถทำให้หมดไปได้ด้วย “สติ” เมื่อมีสติก็สามารถ ละกาม พยาบาท เบียดเบียนและถึงซึ่งสมาธิได้ หรือ “สัมมาสังกัปปะ” และ”สัมมาสมาธิ” คือ “ทำกุศลให้ถึงพร้อม” 3. อุปกิเลสอย่างละเอียด คือ ความคิดนึกถึงชาติ ชนบท ความคิดนึกที่ประกอบด้วยความไม่ดูหมิ่น หรือความคิดนึกถึงบุญ บาป ที่อยู่ที่จิต สามารถทำให้หมดไปได้ด้วย “ปัญญา วิปัสสนา” คือ เห็นตามความเป็นจริงว่า จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์จึงเกิดความหน่าย “ละ วาง ความยึดถือจิต” และ “ทำจิตให้บริสุทธิ์”เมื่อจิตไม่ยึดถือ จิตจะมีความหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงมีความยินดี ร่าเริง มีความดับเย็นคือนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่ เราจึงออกมาเป็นทองคำที่บริสุทธิ์ได้  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/31/202258 minutes, 36 seconds
Episode Artwork

ระวังจิตหลอก [6504-2m]

การดูจิตให้เห็นจิตด้วย “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” โดยเริ่มจากตั้งสติแล้วจิตจดจ่อจนจิตตั้งมั่น เราจะเห็นจิตที่ถูกหลอก และการดับทุกข์ คือ การวางจิตหลอกที่ 1 : เรามักจะเข้าใจว่าผู้ที่เข้าไปรับรู้สิ่งต่าง ๆ นั้นคือ จิตเรา หรือ “ความรับรู้” กับ “จิต” เป็นสิ่งเดียวกัน จริง ๆ แล้วเราเข้าใจผิดว่า ความรู้สึกต่าง ๆ คือ จิต จริง ๆ แล้วไม่ใช่ สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียง การรับรู้ของจิต (จิตวิญญาณ) เป็นการปรุงแต่งของจิต (จิตสังขาร) เวทนา สัญญา ของจิต ซึ่งเป็นคนละสิ่งกับจิต “ไม่ใช่จิต” สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ โดยมีผัสสะมากระทบกับอายตนะทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดเป็นวิญญาณ คือ การรับรู้ ซึ่งเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่ตาย ที่ยังมีเชื้อจากกิเลส อาสวะ อวิชชายังสามารถงอกได้ โตขึ้นเกิดตัณหา และอุปาทานทำให้เข้าไปยึดว่าวิญญาณป็นจิต แล้วก็นำพาให้ก้าวลงไปยึดต่อในสัญญา สังขาร เวทนาทำให้เกิดความเป็นตัวตนขึ้นมา เกิดสภาวะ ในวัฏสงสารไม่จบไม่สิ้น หากแต่ด้วยสติที่ตั้งมั่น จิตที่สงบ ระงับ เราจะแยกจิตออกจากเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้ ว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และ “เห็นจิตในจิต” เห็นว่าขันธ์ทั้งห้าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์ เราควรละ วาง สลัดออก ปล่อยวางขันธ์ทั้งห้าเสียจิตหลอกที่ 2 : เมื่อจิตสงบนิ่ง แยกจิตเป็นคนละอย่างออกจากความรับรู้ได้ และเห็นจิตในจิต จนเกิดเป็น “จิตประภัสสร” คือ จิตที่ผ่องใสจากการตั้งมรรคมีองค์แปดประการ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง หากแต่วันไหนเผลอ เพลิน ก็จะมีกิเลส อาสวะเป็นอาคันตุกะจรมา จิตประภัสสรก็เปลี่ยนเป็นจิตเศร้าหมอง แม้จิตประภัสสรเองก็ยังไม่เที่ยง ยังแปรเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เราไม่ควรที่เราจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา เราต้อง “วาง ละ สลัดออก” แม้จิตประภัสสรที่ไม่เที่ยงนั้นเสีย นั่นคือ นิโรธการดับทุกข์ วางแล้วคุณจะถึงที่หมาย คือ พระนิพพาน คือ ความเย็น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/24/202257 minutes, 33 seconds
Episode Artwork

จุดจบของความตาย [6503-2m]

ความตายมีซ่อนอยู่ในทุก ๆ สิ่งที่ไม่เที่ยง การเปลี่ยนแปลงสภาวะ มีความเกิดความตายได้ทุก ๆ เวลา ให้ใคร่ครวญความตายให้ถูกต้อง ให้เป็นสัมมาทิฐิ คือ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นมีความตายแฝงอยู่ มีเกิดก็มีดับ มีดับก็มีเกิดเป็นของคู่กัน ประสานกันด้วยความไม่เที่ยงเหตุปัจจัยของความตาย คือ “ความเกิด” เหตุปัจจัยของความเกิด คือ ตัณหา อุปาทาน และอวิชชา จุดจบของความตาย คือ ความไม่เกิด เห็นความตายว่ามีอยู่ในทุก ๆ สิ่งที่ไม่เที่ยง เข้าใจความตายให้ถูกต้อง แล้วเดินตามทางมรรคมีองค์แปด โดยเริ่มจากสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ คือ ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่ทำร้ายต้วเองและผู้อื่น ปฏิบัติกาย วาจาให้ถูกต้องด้วยสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา เจริญมรณานุสติ คือ เอาความตายตั้งเอาไว้ ว่าไม่เที่ยงทุกสภาวะ เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีความเพียรเพ่งเอาไว้ จิตที่เป็นสมาธิจดจ่อเอาไว้ เห็นความไม่เที่ยง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ วางความยึดถือยึดมั่น ละอุปาทานในสิ่งที่มีความเกิด ความตายได้ด้วยทางอันประเสริฐแปดอย่าง มรรคมีองค์แปด จนสามารถถึงจุดจบของความตาย ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/17/202259 minutes, 49 seconds
Episode Artwork

พ่อครัวผู้มีปัญญา [6502-2m]

สติเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการฝึกสมาธิ สติ คือ การระลึกได้ การได้มาของการระลึกได้ ต้องรู้จักการสังเกต หรือการกำหนดนิมิต ฝึกสังเกตผัสสะ สิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบกับทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รับรู้สภาวะต่าง ๆ โดยรวม ๆพระพุทธเจ้าอุปมาไว้ในสูทสูตร เปรียบเหมือนพ่อครัวที่ฉลาดรู้จักสังเกตเครื่องหมายว่า อาหารรสชาติแบบใด ชนิดใดที่พระราชาชอบ เขาก็จะได้รับรางวัลจากพระราชาการฝึกสมาธิก็เช่นกัน เริ่มจากฝึกสังเกตเครื่องหมาย โดยกำหนดจิตอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ไว้ที่ปลายจมูก ประกอบความเพียรจนจิตตั้งมั่น สงบ ระงับ และสังเกตเครื่องหมายหรือนิมิตต่อไปอีก จนเห็นเครื่องหมายของความไม่เที่ยงของลมหายใจเข้า-ออก ทำบ่อย ๆ ทำซ้ำ ๆ จนเห็นความไม่มีตัวตน อนัตตา สิ่งต่าง ๆ ต้องอาศัยเหตุปัจจัย เพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ ต้องหมั่นเพียรสังเกตดูนิมิตหรือเครื่องหมายของความไม่เที่ยง และเหตุปัจจัยให้ดีความได้เห็นนิมิตหรือเครื่องหมายของความไม่เที่ยง และไม่มีตัวตนนี้ คือ เห็นได้ด้วย “ปัญญา” ปัญญาเปรียบเหมือน คมมีด ไว้เพียรตัดกิเลส เพื่อการเข้าสู่พระนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/10/202255 minutes, 3 seconds
Episode Artwork

กระทำตอบเยี่ยงอริยบุคคล [6501-2m]

บุคคลที่ทำให้เราตั้งอยู่ในความดีของศีล สมาธิ ปัญญา มีจิตตั้งมั่น มีความเกิดขึ้นมาในความเป็นคนดี คือทำให้เราเกิดใหม่ในอริยชาติ เป็นคนประเสริฐ เป็นคนดี เป็นอริยบุคคล เข้าสู่กระแสโสดาบันขั้นมรรค ขั้นผล เดินตามทางมรรคมีองค์แปด จนถึงพระนิพพานบุคคลผู้นั้น เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อเรามากอย่างหาประมาณมิได้ ท่านให้ความเกิดใน “อริยชาติ” แก่เรา ทำให้เราหลุดพ้นจากกองทุกข์ในวัฏสงสาร ซึ่งเป็นสิ่งประเมินค่ามิได้เราควรตอบแทนท่านด้วย “การทำความดีเพื่อความดี” ตามหลักอริยสัจสี่ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ รักษาความดีในจิตให้ดี เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาตอบแทนคุณท่าน และส่งต่อความดีต่อ ๆ ไปอย่างตั้งมั่นตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาจรเข้ามา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/3/202252 minutes, 37 seconds
Episode Artwork

การดับปปัญจสัญญา [6452-2m]

ความคุ้นชินความเคยชินที่อยู่ในจิตใจ คือ ‘อนุสัย’ ที่ไม่ว่าจะมาจากความความพอใจ ความขัดเคือง ความคิด ความเคลือบแคลงไม่ลงใจ มานะของตน ความไม่รู้นั้น ทำให้มี “ถูก-ผิด” เราจึงไปเนิ่นช้าอยู่ตรงนั้น เพราะตริตรึกคิดถึงสัญญานั้นอยู่เรื่อย ๆ จำในเวทนานั้น “สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง”เราจะดับปปัญจสัญญานี้ได้ คือ ดับตามเหตุของมันนั่นเอง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดแต่เหตุ ถ้ามันเกิดขึ้นได้ สิ่งไหนที่เกิดขึ้นได้ แล้วไม่ดับ มันไม่มี” เห็นตามความเป็นจริงในผัสสะทั้งหลายที่มากระทบ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดับไปแล้วความเคยชิน เราก็อยู่เหนือจากความทุกข์นั้น ความสุขนั้น ผัสสะนั้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/27/202159 minutes, 5 seconds
Episode Artwork

พิจารณา...สติ นำไปสู่ ไตรลักษณ์ และการปล่อยวาง [6451-2m]

สติที่เกิดจากการกำหนดดูลมหายใจ เป็นสิ่งที่ต้องระลึกรู้อย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือนผูกจิตไว้ที่เสา เพื่อให้ทันต่อผัสสะที่เข้ามากระทบ ตามช่องทางทั้ง 6 เมื่อมีสติเกิดขึ้น ก็จะเกิดความสงบ ระงับ ทางกาย เวทนา จิต และธรรมที่ เห็นโลกตามความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าเราไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นำไปสู่การปล่อยวาง คลายความยินดี ยินร้าย ไม่ยึดมั่นถือมั่น และหลุดพ้น ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/20/202159 minutes, 10 seconds
Episode Artwork

สติห้า หนทางเครื่องไปทางเดียว [6450-2m]

“สติ” ที่มีลักษณะ 5 อย่าง คือ ไล่มาตั้งแต่แค่สังเกตจนไปถึงการรู้จักจำแนกแจกแจง ไปจนถึงการรู้จักแยกตัว ไปจนถึงการที่สามารถมีทางเลือกว่าเอาอันนี้ไม่เอาอันนั้น แล้วเลือกให้ถูก เราก็พ้นจากสิ่งที่เราไม่เลือกมาตั้งอยู่ในสิ่งที่เราเลือก คือ ไปตามทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างด้วยสติที่เราตั้งไว้ ความพ้นนั้นคือวิมุตติเลือกมาตามทาง คือ ระลึกได้ สติ ปัญญา จะเกิดขึ้น ณ ที่ตรงนั้น มาตามทาง “เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกความร่ำไรรำพัน เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง” เป็นที่ที่ความทุกข์จะหยั่งลงไม่ได้ เป็นที่ที่ตัณหาอวิชชาจะคืบคลานเข้าไปไม่ได้ เพราะว่าจิตใจของเรามันพ้นแล้ว ไม่มีกิเลสที่จะมาเป็นเครื่องรึงรัด นั่นคือความดับเย็น คือ นิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/13/202155 minutes, 11 seconds
Episode Artwork

วิธีการปฏิบัติวิปัสสนา โดยพระครูสิทธิปภากร หลวงพ่อดร. สะอาด ฐิโตภาโส [6449-2m]

ถ้าอยากได้ความสุขที่แน่นอน เราต้องปฏิบัติธรรม ทำจิตให้สงบ มีอารมณ์อันเดียว แล้วพิจารณาตัวตนของเรานี้ ประกอบด้วยอาการสามสิบสอง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กระดูก เยื่อในกระดูก... เหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา“ไม่ให้แก่มันก็แก่ ไม่ให้เจ็บมันก็เจ็บ ไม่ให้ตายมันก็ตาย พูดง่าย ๆ เกิดมาแล้วต้องตายทุกคน ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง” นี่แหละความไม่เที่ยง ‘เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วแตกสลายไป’ ฉะนั้นต้องรีบสร้างสมคุณงามความดี ให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนา พิจารณาเรื่อย ๆ อยู่บ่อย ๆ พิจารณาเป็นประจำ จนจิตของเราปล่อยวางได้หมด เราจะภาวนาให้ถึงที่สุดได้ เราจึงจะพ้นจากทุกข์ได้  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/6/202147 minutes, 10 seconds
Episode Artwork

รักษาจิตด้วยพรหมวิหาร [6448-2m]

การเจริญพรหมวิหาร 4 เริ่มด้วยการระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำมา เพื่อให้จิตมีกำลังเปรียบเหมือนเสาอากาศหรือคนเป่าสังข์ที่มีกำลังแข็งแรงสามารถส่งเสียงไปได้ไกล แล้วแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ผ่านร่างกายของเรา ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในทุกทิศทาง..เป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบไปด้วยเมตตา..อันไม่มีโทสะในภายใน อันเป็นจิตไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีเวร ไม่มีประมาณ ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง“รักษาจิตที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ทรงอยู่ให้ได้ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใด ๆ เราจะสามารถมีเมตตาได้กับทุกคน” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/29/20211 hour, 6 seconds
Episode Artwork

กำจัดอวิชชาในจิต [6447-2m]

ต้องรู้จักแยกแยะ นั่นคือ สติ ต้องรู้จักทำจริงแน่วแน่จริง นั่นคือ ความเพียร กระบวนการแยกแยะ ที่เมื่อมีอะไรมากระตุ้นที่จิตใจของเรา สังเกตให้ดีความคิดนึกที่ออกมาในช่องทางใจ มันเจือด้วยราคะ โทสะ โมหะหรือไม่ เพราะถ้าเราแยกแยะไม่ได้ว่า ความคิดนั้นมีกิเลสปนหรือไม่ มันจะออกมา เพื่อทำลายจิตใจของเราจิตใจของเราถ้ากำจัดเจ้าราคะ โทสะ โมหะออกไปแล้ว มันจะสงบระงับ เหลือจิตล้วน ๆ ที่เป็นสมาธิ เอาตรงนี้ไปชำแรกกิเลสที่จิตด้านหนึ่งมันสว่างไสว อีกด้านหนึ่ง คือ ความเป็นตัวตน นั่นคือ อวิชชา เพ่งลงไป จดจ่อลงไป พิจารณาลงไป จิตนั้นไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา พิจารณาแล้ว เห็นตามความเป็นจริง วางความยึดถือในจิตนั้นเสีย ไม่ใช่ของเรา เป็นกระแสปรุงแต่งตามกันมาเฉย ๆ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/22/202159 minutes, 30 seconds
Episode Artwork

ผู้ว่ายเข้าหาฝั่ง [6446-2m]

เปรียบบุคคลที่ตกน้ำ หรือบุคคลที่หลงป่าแล้ว พยายามหาทางออกกับบุคคลต่าง ๆ 7 จำพวก เปรียบวัฏสงสารเหมือนห้วงน้ำใหญ่ อาจจะจมบ้าง โผล่พ้นน้ำได้บ้าง ขึ้นกับความดีหรือความชั่วที่กระทำ หรือกุศลอกุศลกรรมที่ได้สร้างขึ้น‘พระเสขะ’ คือ ผู้ที่ยังปฏิบัติ มีกำลังเพียงศรัทธา วิริยะ หิริ โอตตัปปะ ปัญญา แต่เมื่อระลึกได้ตั้งสติได้ด้วยธัมมานุสสติ และเป็นผู้ที่ยังลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ สัมมัตตนิยาม ยังลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ คือ สัปปุริสภูมิ ที่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว เริ่มต้นทำความดีบ้าง แล้วด้วยการปฏิบัติตามมรรคแปดไปเรื่อย ๆ ด้วยความอดทน สติสมาธิเพิ่มขึ้น ศีลสมาธิปัญญา เพิ่มขึ้น ๆ ก็สามารถบรรลุมรรคผล ข้ามพ้นถึงฝั่งโน้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/15/202157 minutes, 39 seconds
Episode Artwork

พิจารณาเนือง ๆ ในธรรมทั้ง 5 [6445-2m]

สิ่งที่ควรจะพิจารณาอยู่เป็นประจำ เพื่อให้จิตใจของเรามีความผาสุกอยู่ได้ ตั้งอยู่ในกุศลธรรมได้ คิดนึกเรื่องนี้ด้วยจิตที่มีความสงบ นั่นคือ การพิจารณาเนือง ๆ ที่ไม่ว่าจิตใจของเราที่ผ่านมา จะคิดเรื่องอะไรก็ตาม ดีบ้างชั่วบ้าง ที่มันเป็นแบบนั้น คือ ลักษณะของอาสวะ ลักษณะของกิเลสที่สะสม กิเลสได้อบรมจิตของเรามาเป็นแบบนี้ แก้ได้..จากนี้ไป ให้รักษาจิตของเราด้วยสติ พิจารณา 5 อย่างนี้ ‘อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง’ ปรับมาในทางที่เป็นกุศล สร้างสรรค์จิตของเราให้มีปัญญา สามารถที่จะรักษาตน เพื่อที่จะให้พ้นจากภัยในวัฏฏะ และพ้นทุกข์จากสังสารวัฏ ประกอบตนให้ถึงนิพพานได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/8/202158 minutes, 15 seconds
Episode Artwork

ปฏิบัติด้วยทุกข์ บรรลุสุขด้วยธรรม [6444-2m]

‘ปฏิปทา’ คือ ระบบแห่งการปฏิบัติอันประกอบด้วยกระบวนการ ขั้นตอน ทางดำเนิน ข้อปฏิบัติ และแนวทางปฏิบัติ สำหรับธรรมชาติของจิตที่แตกต่างกัน มุ่งเน้นไปที่ราคะโทสะโมหะในจิตที่กล้าหรือเบาบางการปฏิบัติแบบทุกขาปฏิปทา คือ ต้องเห็นความไม่เที่ยง เห็นความเป็นของปฏิกูล เห็นความเป็นของไม่น่ายินดี เห็นความเป็นของไม่เป็นสาระไม่เป็นแก่นสาร ตรงนี้คือความเห็น เป็นลักษณะที่เรากำหนดขึ้น ปรุงแต่งให้เป็นสัญญา ให้เห็นตามความเป็นจริง ส่วนการบรรลุธรรมได้เร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับการมีอินทรีย์ห้า (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา) ที่อ่อนหรือแก่กล้า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/1/202158 minutes, 17 seconds
Episode Artwork

อย่าประมาทในการให้ทาน [6443-2m]

“วัยและชีวิตของคน เป็นของไม่แน่นอน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เมื่อเราจากไปแล้ว เราจะได้อะไรในโลกนี้ ถ้าไม่ทำความดี จะได้บุญได้กุศลอะไรไปในสัมปรายภพ เพราะฉะนั้น อย่าประมาทในการทำความดี”การทำจิตให้มีความสงบในที่นี้ เรียกว่า ‘จาคานุสสติ’ คือ การระลึกถึงทานที่เราได้ทำไว้ หรือทานที่เรากำลังจะทำ ซึ่งในกระบวนการนี้ ถ้า ‘ก่อนให้’ จิตใจของเราประกอบด้วยศรัทธา ‘ระหว่างให้’ จิตใจประกอบด้วยศรัทธา และ ‘หลังให้’ จิตใจก็ยังประกอบด้วยศรัทธา การระลึกถึงการให้นั้น ‘ก่อนให้’ ก็จะทำให้มีจิตน้อมไป ‘ระหว่างให้’ ก็จะทำให้มีจิตเลื่อมใส หลังจาก ‘ให้แล้ว’ ระลึกถึงก็จะทำให้มีความปลื้มใจ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/25/202151 minutes, 36 seconds
Episode Artwork

หยุดจิตไว้กับสติ 6442-2m

“บางคนนั่งเฉย ๆ ไม่ได้ไปหาใครพูดกับใคร แต่เบียดเบียนคนอื่นได้ เบียดเบียนตัวเองได้ ตรงความคิดไง ตัวไม่ขยับแต่จิตมันขยับ” หยุดจิตของเราให้ได้ อย่าให้จิตของเรา ตกเป็นทาสของผัสสะ เหมือนสัตว์ป่าที่พยศที่กักขฬะ แต่ให้ฝึกจิตให้มีความสงบให้เชื่อง สามารถใช้งานได้ควบคุมได้ ตั้งสติไว้ในที่นี้ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ หยุดทุกอย่างแล้วพิจารณา จิตของเราสูงขึ้นจากกิเลสหรือไม่ หยุดความยึดถือ ความตระหนี่ เแล้วจิตเป็นมหัคคตะหรือไม่ หยุดแล้วย้อนดูด้วยปัญญา จิตเดี๋ยวผ่องใสก็ได้ เดี๋ยวเศร้าหมองก็ได้ ขึ้น ๆ ลง ๆ ตามการปรุงแต่งตามเหตุเงื่อนไขปัจจัย ก็นั่นแหละ มันไม่เที่ยง มันเป็นอนัตตา สิ่งใดที่มีโทษเราจะยึดถือมันเอาไว้หรือ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/18/202158 minutes, 16 seconds
Episode Artwork

พ้นจากความตายไม่ได้ด้วยตาย 6441-2m

“เกิดมาแล้ว ไม่ตาย ไม่มี เกิดมาแล้ว ต้องตายทุกคน” คำถาม คือ ในช่วงเวลาที่อยู่ คุณจะทำอะไร “สร้างกุศล ประพฤติธรรม บำเพ็ญบุญ เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่จะให้เกิดบุญ”มีแค่บุญกับบาปที่มีการสะสมที่จะไปกับเราด้วย เมื่อเราทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ สะสมความดีเป็นบุญเป็นบารมี สะสมความชั่วเป็นบาปเป็นอาสวะ สะสมไว้ที่จิตของเรา แต่ถ้าทำตามทางมรรคแปดไปเรื่อย ๆ มันจะไปที่ที่ไม่ต้องมีการเกิดอีกได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/11/202159 minutes, 37 seconds
Episode Artwork

การพิจารณาให้เห็นความจริง 6440-2m

พิจารณาดูให้ดีว่า นี่เป็นตัวตนของเราจริงไหม บอกว่าอย่าแก่ มันเชื่อฟังเราไหม บอกว่าอย่าเจ็บอย่าป่วยอย่าตาย มันก็ไม่เชื่อฟังเรา ไม่อยู่ในอำนาจของเรา อยู่แต่กฎของความจริง คือ ความไม่เที่ยงในร่างกาย ในตัวตนของเรา มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มันเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาพิจารณาความจริง ‘ความแก่ ความเจ็บ ความตาย’ ว่ามีอยู่ในตัวเรา น้อมเข้ามาว่า ตัวเราเองก็จะเป็นอย่างนั้น ให้เห็นความจริง ก่อนที่จะถึงเวลานั้น หรือให้เห็นความสกปรกปฏิกูลในตัวเรา ตายแล้ว 1 วัน 2 วัน 10 วัน 20 วัน มันเป็นอย่างไร สกปรกแค่ไหน “เราก็จะวางความยึดความถือได้ เราจะเห็นความจริงได้ชัดเจนว่า ตัวเรานี้ ไม่เที่ยงจริง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจริง ๆ" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/4/202155 minutes, 1 second
Episode Artwork

สาระในตัวเรา 6439-2m

“ตัวเราเป็นใคร” เกิดมาเป็นลูก โตขึ้นเป็นพี่ เป็นพ่อเป็นแม่ เป็นลุงเป็นป้าเป็นตาเป็นยาย เปลี่ยนไป ๆ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด โตขึ้นด้วยข้าวปลาอาหาร ประกอบด้วยธาตุ 4 ดินน้ำไฟลม รับรู้สิ่งต่าง ๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ปรุงแต่งด้วยกรรม ประกอบเป็นตัวเรา แต่เมื่อแยกแยะแล้ว “หาตัวตนไม่เจอ” ใคร่ครวญให้ดี “ตัวเรา” เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น มีเหตุต้นผลปลาย เหตุต้นหายไป ผลปลายความเป็นตัวตนก็ไม่มีอยู่ ก็ต้องดับไป มีอยู่ชั่วเวลาหนึ่ง ตามเหตุปัจจัยนั้นตั้งอยู่ ไม่คงทนตลอดกาลช้านาน “มีความเป็นอนัตตา มีความไม่เที่ยง” สิ่งใดไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก สิ่งนั้นเป็น “ทุกข์” คือ สิ่งที่ทนอยู่ได้ยาก มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา “ควรแล้วหรือ ที่เราจะยึดถือเอาว่าสิ่งนี้เป็นตัวเราของเรา” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/27/202158 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

การเจริญอนิจจสัญญา 6438-2m

“..ฐานะที่มีได้เป็นได้ นั่นคือ จิตของเราทุกคนสามารถหลุดพ้นได้ ด้วยการปฏิบัติด้วยการทำ.” เริ่มจากตั้งสติ ไม่เผลอเพลินไปตามสิ่งต่าง ๆ ที่รับรู้ ทั้งพอใจหรือไม่พอใจ ลึกลงไป ๆ ตามขั้นตอนของสมาธิ จนจิตเป็นอารมณ์อันเดียว ใคร่ครวญ “อยากตรงไหน ทุกข์อยู่ตรงนั้น” ย้อนลึกเข้ามา ๆ จากสิ่งภายนอกผ่านเข้ามา สู่กายผ่านเข้ามา สู่ข้อปฏิบัติที่เป็นกุศลธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ผ่านเข้ามาถึงจิตของเรา จิตที่เป็นประภัสสรนี่แหละ ที่เศร้าหมองก็ได้ ผ่องใสก็ได้ “ในทางธรรมะ สิ่งใดไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน” ถ้าไม่ใช่ตัวเราของเราแล้ว ตัวเราเป็นอะไรกันแน่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/20/202159 minutes, 37 seconds
Episode Artwork

สู้ตาย คือ สู้ไม่ถอย 6437-2m

ให้เราใช้แสงสว่าง คือ ปัญญา ให้เราใช้มีดคม ๆ คือ ปัญญา ให้เราใช้กำลัง คือ สมาธิ เราเล็งให้ดี นั่นคือ สติ ทั้งหมดต้องอยู่บนพื้นฐานของศีล อยู่บนพื้นฐานของศรัทธาเรามีศรัทธา คือ ความมั่นใจในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรามีศีลเป็นพื้นฐาน มีสติเป็นตัวเล็งเป้า มีกำลัง คือ สมาธิของเรา มีอาวุธ คือ ปัญญา ฟาดลงไป ฟาดลงไป ฟาดลงไปที่จิตของเราว่า ไหนตรงไหนที่มันเที่ยง ตรงไหนที่มันคิดว่าเป็นตัวตน ฟาดลงไป เพ่งลงไป พิจารณาลงไป ตรงไหน มันมีตรงไหน มาดู อะไรเที่ยงมันมีมั้ย อะไรไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยแล้วมันเกิดขึ้น มันมีเหรอฟาดลงไป พิจารณาลงไป ดูไปตรงไหนมันไม่เที่ยงทั้งนั้น มีแต่ความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ถาวร ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่เป็นเรา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/13/202159 minutes, 38 seconds
Episode Artwork

สัมมาทิฏฐิจากจิตตภาวนา 6436-2m

สมมุติของโลกนี่คือคน นี่คือสัตว์ แต่บัญญัติธรรมของพระพุทธเจ้า ตัวตนนี้เอาแน่นอนไม่ได้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็ใครเล่าเป็นผู้เกิดผู้แก่ผู้ตาย ก็ตัวเรานั่นแหละ แต่จิตของเรามายึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนเป็นของเราเป็นตัวเรา จึงมองไม่เห็นความจริงด้วยเหตุนี้ เราจึงมาปฏิบัติธรรม เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ไม่มีโลภ ไม่มีโกรธ ไม่มีหลง ไม่มีกิเลสอยู่ในภายใน หัดปล่อยวางที่เรียกว่า วิปัสสนา คือ เห็นแจ้งประจักษ์ในความจริง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเข้าใจชัดในอริยมรรคมีองค์แปด “ใจของเรานี่แหละ เป็นผู้ถึง เป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็นชัดความเป็นจริง” ปล่อยวาง กิเลสตัณหาไม่สามารถบังคับใจเราได้อีก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/6/202159 minutes, 31 seconds
Episode Artwork

พระคาถาเยธัมมา 6435-2m

“ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิดพระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุ และความดับแห่งธรรมเหล่านั้นพระมหาสมณะ มีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้”ธรรมะนี้นั้น เมื่อมาถึงหูของเราแล้ว จะเข้าสู่จิตใจของเราได้ไหม อยู่ที่จิตของเรามีความวิเวกหรือไม่ เพราะคนส่วนใหญ่ถ้าเผลอเพลินไป ที่ไม่ใช่แค่ความพอใจแต่ความโกรธความไม่พอใจด้วย จึงเห็นแต่ความดำรงอยู่ของมันด้านเดียว ไม่เห็นเหตุและความดับแต่ “อะไรก็ตามที่มีเหตุเกิด ถ้าเหตุเกิด มันก็เกิด ถ้าเหตุดับ มันก็ดับ ไม่ใช่มีอยู่ดำรงอยู่ เท่านั้น” จะเข้าใจได้ ในทีนี้จึงเริ่มด้วยการตั้งสติตามกระบวนการของพุทธานุสสติ “จะไม่เพลิน แต่เห็นตามความเป็นจริง จะทำให้เราปล่อยวาง ละความยึดถือในจิตใจของเราได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/30/202159 minutes, 47 seconds
Episode Artwork

ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง 6434-2m

เริ่มจากจุดที่มีปัญหา อย่าเริ่มที่คนนั้นมีปัญหา สิ่งนั้นมีปัญหา เรื่องนั้นมีปัญหา แต่ปัญหาทั้งหมด สุมรุมอยู่ในจิตใจเรา เริ่มที่ช่องทางใจของเรา..ตรงความกลุ้มใจกังวลใจ ความโกรธ ความไม่พอใจ จับได้ตรงไหน เล็งไปตรงนั้น เล็งให้ถูกจุด มันอยู่ตรงที่เรายึดถือถ้าตัดผิด แทนที่จะใช้ปัญญา ดันไปใช้กายวาจาใจตัด พูดทิ่มแทงพูดบังคับ ใช้กำลังขู่เข็ญ ความคิดนึกพยาบาทเบียดเบียนมุ่งปองร้าย นั่นคือ ไม่ถูก เป็นอกุศลถ้าใช้ปัญญาในการตัด ปัญญาเกิดตรงที่เราสร้าง ตรงสมาธิสร้างปัญญา เกิดตรงที่คุณเห็นสิ่งต่าง ๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยงที่เกิดขึ้นในจิตใจเรา นี่แหละสุดยอดปัญญา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/23/202158 minutes, 54 seconds
Episode Artwork

ระบบแห่งความเพียรที่มีผล 6433-2m

‘..ต้องไม่นำความทุกข์มาทับถมตน ที่ไม่มีทุกข์ทับถม..’ ทำความเพียร อย่างมงาย แต่ให้มีความแหลมคม มีความชัดเจน ประกอบด้วยปัญญา ตามทางสายกลาง “ศีลสมาธิปัญญา”‘..ไม่ต้องสละความสุขอันประกอบด้วยธรรมที่มีอยู่ด้วย และไม่มัวเมาอยู่ในความสุขนั้นด้วย..’‘..เมื่อกำลังตั้งไว้ ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์..เพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำความเพ่งให้เจริญอยู่ วิราคะก็เกิดมีได้..’เปรียบเหมือนชายหนุ่มมีจิตปฏิพัทธ์หญิงสาวที่ระริกซิกซี้กับชายอื่น เพ่งไปที่เหตุแห่งทุกข์ กำหนดไว้ด้วยสติ ตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ความคลายกำหนัดจะเกิดขึ้นได้‘..ความบากบั่น ความพากเพียรจะมีผลขึ้นมาได้..’ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/16/202156 minutes, 56 seconds
Episode Artwork

พิจารณาทุกข์ให้เป็นธรรมดา 6432-2m

ระหว่างที่มีการเกิดมาแล้ว ระหว่างที่จะไปแก่ไปตาย ระหว่างนี้คือช่องว่าง ที่ต้องแทรกให้เห็นให้ได้ ใส่ตรงนี้ด้วยสติสมาธิปัญญา ระหว่างเหตุกับระหว่างผล ตรงที่อยู่ปัจจุบัน ที่มันเป็นช่องว่างระหว่างความเกิดกับความตาย “ตัดที่ตัวเรา อะไรที่มาเชื่อมกับตัวเรา ตัดได้หมด ตัดความยึดถือในกาย”เห็นเป็นความธรรมดา เห็นโดยความที่เป็นของเกิดจากเหตุเงื่อนไขปัจจัย ‘ธรรมดา’ ในความแก่ความเจ็บความตายล่วงพ้นไม่ได้ ถ้ามีเหตุ คือ ‘ความเกิด’ มาแล้ว เห็นตามความเป็นจริงในข้อนี้ จะละ จะกำจัด จะวางความยึดถือในสิ่งที่มีความแก่ความเจ็บความตายเป็นธรรมดาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/9/202158 minutes, 43 seconds
Episode Artwork

ดวงตาเห็นธรรม 6431-2m

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา” เห็นชัดด้วยตัวเอง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง แตกสลายไปในที่สุด” รู้เท่าทันอย่างนี้ในตัวตนของเราเป็นอย่างนั้น วัตถุภายนอกก็เป็นอย่างนั้น นี่เรียกว่า เห็นอริยสัจจธรรม เห็นธรรมเห็นทุกข์ คือ เห็นคำสอนของพระพุทธเจ้าขึ้นมาในใจของเรา เราเกิดมาแต่ละคน ไม่ได้เกิดมาเพื่อตายเล่น ๆ แต่เกิดมาเพื่อความดี เกิดมาเพื่อมรรคผลนิพพาน เกิดมาเพื่อที่จะสร้างสมความดีให้เกิดขึ้นกับใจของเราให้ได้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/2/202154 minutes, 20 seconds
Episode Artwork

สัญญา 7 ประการ 6430-2m

ไม่ว่าจิตของเราถูกเสียดแทง ด้วยเหตุจากราคะมีความกำหนัดยินดีพอใจในเพศตรงข้าม ด้วยความรักตัวกลัวตาย ด้วยตัณหาในลิ้นในรส ด้วยความวิจิตรพิศดารที่ปรุงแต่งไปในโลก ด้วยความเพลิดเพลินในลาภสักการะสรรเสริญเยินยอ ด้วยไม่เห็นความเป็นทุกข์ คือ สิ่งที่ทนอยู่ได้ยากในสิ่งที่ไม่เที่ยงทั้งหลาย หรือด้วยตัณหาทิฏฐิว่า นี่เป็นตัวเราของเรา“ก็ถ้าเจริญสัญญา 7 ประการนี้ให้มากแล้ว เพียงพอแล้ว จิตจะหวนกลับ จิตจะถอยกลับ จิตจะถอนออก จะเบรกได้จะอุเบกขาได้ เปรียบเหมือนเส้นเอ็นหรือขนไก่ เมื่อโดนไฟแล้ว จะงอเข้า ไม่คลี่ออก” จิตของเราจะพ้นได้ อยู่เหนือจากสิ่งกระทบต่าง ๆ ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/26/202159 minutes, 45 seconds
Episode Artwork

เหตุต้นผลปลาย แจ้งได้ด้วยปัญญา 6429-2m

“ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว”ถ้าส่วนสุดข้างหนึ่งเป็นเหตุ ส่วนสุดข้างหนึ่งเป็นผล ความดับจึงมีตรงกลาง คือ เหนือเหตุเหนือผล เพราะมีอวิชชาจึงมีสังขาร อวิชชาเป็นตัวที่ล็อคเชื่อมสิ่งต่าง ๆ อยู่ในโลกนี้ มีอวิชชาแล้วมีตัณหาด้วย ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เหตุผลต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น เข้าหากันแค่เรารู้เราเข้าใจ  ตรงกลางมันเป็นตัณหาเป็นอวิชชา วิชชา คือ ความรู้ เกิดขึ้นทันที ความรู้ความพ้น วิชชา วิมุตติ จะเกิดขึ้นทันที ณ จุดที่เรารู้ขึ้นว่า ตรงกลาง มันเป็นอวิชชา มันเป็นตัณหา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/19/20211 hour, 1 minute, 50 seconds
Episode Artwork

ผู้มีราตรีเดียวอันเจริญ 6428-2m

เวลามันพัดตัวเราจากปัจจุบันกลายเป็นอดีตไปเรื่อย ๆ สู่ความตาย แต่จิตที่มักคำนึงยึดถือยินดีพอใจถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว หรือคืบคลานต่อไปในอนาคต เห็นสิ่งต่าง ๆ โดยความเป็นของมั่นคงยั่งยืนเที่ยงแท้ มีความเพลินความพอใจ นั่นคือ ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่มีหลัก ไม่มีเกณฑ์ ถูกพัดไปตามกระแสแต่จะเป็นผู้ฉลาด มีปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง แยกกายแยกใจ เห็นขันธ์ห้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบันด้วย “วางแม้ในสิ่งที่เป็นธัมม์ปัจจุบัน” เริ่มต้นด้วยการตั้งสติ “สติอยู่ตรงไหน ปัญญาอยู่ตรงนั้น” ตั้งสติไว้แล้ว สิ่งต่าง ๆ มันจะแยกจากกัน ทำไปเรื่อย ๆ ตามกระบวนการของมรรค มันจะดับได้เอง “วางความยึดถือแม้ในจิต” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/12/202157 minutes, 19 seconds
Episode Artwork

ทางแห่งความดี 6427-2m

เทศน์โดยหลวงพ่อ ดร.สะอาด ฐิโตภาโส เรื่อง ทางแห่งความดีด้วยวิปัสสนา เริ่มด้วยการทำใจให้สงบมีสติรู้ใจด้วยพุทโธ เมื่อใจสงบแล้วนำมาวิปัสสนา คือ การทำให้รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง พิจารณากาย แยกแยะลงไป ให้เห็นชัดในใจว่า ทุกคนไม่มีใครล่วงพ้นความเกิด แก่ เจ็บ ตายไปได้ ให้วางความยึดถือให้ปล่อยวาง เพราะตัวตนนี้เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาหาสาระไม่ได้  ปล่อยวางกายได้ใจก็พ้นทุกข์ ให้เร่งสร้างความดี พาใจไปนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/5/202154 minutes, 10 seconds
Episode Artwork

ดึงสติ ด้วยสติ 6426-2m

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/28/202154 minutes, 54 seconds
Episode Artwork

เจริญสติ ตามความดีของพระพุทธเจ้า 6425-2m

“ก็เมื่อเธอระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธัมม์ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธัมม์ ยังดำรงอยู่ไม่ได้ เธอย่อมมีความสลดหดหู่ใจ ด้วยคิดว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ..”แค่คิดว่าทำไมยังทำไม่ได้ ละอกุศลธัมม์ไม่ได้ มีความสลดสังเวช นั่นดีแล้วที่ยังมีความระลึกถึงพุทโธธัมโมสังโฆ ความระลึกได้นั้นคือสติ แล้วระลึกความดีของตัวเองที่จะพึ่งได้ถ้าตายไป มีไหม? ถ้ามีอยู่ ตั้งมั่นไว้ รักษากุศลธัมม์ มีผัสสะอะไรมากระทบ ก็ธรรมดา รักษาจิตที่เป็นสติไว้   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/21/202157 minutes, 56 seconds
Episode Artwork

เจริญอุเบกขา ด้วยปัญญา 6424-2m

จะนิ่งเฉยวางเฉยได้ ในผัสสะที่มากระทบ ในความคิด ในเสียง ในภาพ ในความรู้สึกต่าง ๆ จะง่วง จะโกรธ จะมึน คุณอุเบกขาได้ อุเบกขา คือ ความวางเฉย รับรู้อยู่แต่ไม่ได้จะสุขทุกข์ เดือดร้อน กำหนัด พอใจ ลุ่มหลงไปตาม แต่ในอุเบกขาที่ว่าดี ๆ ก็มีข้อเสียในความที่มันอาศัยเหตุเงื่อนไขปัจจัยจึงเกิดขึ้น เริ่มจากสติ มีสติอยู่ที่ไหน ความไม่ยินดียินร้ายก็อยู่ที่นั่น อุเบกขาอยู่ตรงนั้น อ้าวแบบนี้นั่นก็ “ไม่ใช่ตัวเราของเรา มีความเป็นเรา เราเป็นสิ่งนี้ สิ่งนี้มีในเรา” ปัญญาเห็นอุเบกขา โดยความที่ไม่ใช่ตัวตน โดยความเป็นของไม่เที่ยง อุเบกขานั้นก็เป็นอุเบกขาที่ยิ่งขึ้นไป จิตพ้นจากราคะโทสะโมหะ สติที่ตั้งไว้นั้นก็เป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญา อุเบกขานั้นดำรงอยู่ แต่จิตไม่เศร้าหมองอีกต่อไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/14/202159 minutes, 55 seconds
Episode Artwork

ยึดกาย ยึดจิต 6423-2m

กายเป็นเหมือนถ้ำ เหมือนที่อาศัยของจิต ส่วนสิ่งที่เป็นนาม no time no space เดี๋ยวเกิดขึ้นเดี๋ยวดับไป นั่นคือ จิต เงื่อนไขของจิต คือ มีอวิชชา มีอวิชชาอยู่ตรงไหน จิตก็อยู่ตรงนั้น ไม่ได้จะคงที่คงตัวอยู่ตลอด เดี๋ยวสงบผ่องใสประภัสสร เวลาฟังเทศน์ฟังธรรมมีสติสัมปชัญญะ เดี๋ยวฟุ้งซ่านบ้าบอ เวลาถูกด่าถูกว่าก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรแล้วหรือ ที่จะยึดถือว่าสิ่งนั้นเป็นตัวเรา ของเรา สิ่งใดไม่ใช่ของเรา ละวางความยึดถือสิ่งนั้นในจิต เห็นจิตโดยความเป็นอนัตตา โดยความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา วางความยึดถือด้วยการตั้งสติเอาไว้ ตั้งสติอยู่ในกาย ตั้งสติอยู่ในจิต เหลือแต่สติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/7/202158 minutes, 42 seconds
Episode Artwork

การปฏิบัติอานาปานสติ 6422-2m

‘สั่งสมบุญ’ คือ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ฝึกสมาธิวิปัสสนา เพื่อให้จิตสงบ ใจเป็นสุข ปิดอบายภูมิ มีมรรคผลนิพพานขึ้นมาในใจแม้จะมีความคิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ที่มากระทบทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย หรือทางใจ ก็ไม่ให้ใจของเราหวั่นไหวออกไปรับรู้อารมณ์เหล่านั้น เป็นสักแต่ว่าเฉย ๆ เป็นธรรมดา อย่าบังคับความรู้สึกคิดนึก อย่าบังคับว่าจิตต้องอยู่กับลม ตั้งสติดูลมเข้าออกอย่างเดียว ทำให้ชำนาญไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใด ก็ใส่ใจกับปัจจุบัน เห็นลมหายใจเข้าออก สิ่งที่รู้ที่เห็น นั่นแหละมันไม่เที่ยง เพราะอย่างนั้นให้มีสติรู้ที่ใจของเรา ตลอดเวลาที่ยังหายใจ “เหลือแต่รู้อย่างเดียว” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/31/202157 minutes, 2 seconds
Episode Artwork

ยึดถือสิ่งใด ทุกข์โทษในสิ่งนั้น 6421-2m

“ในโลกไม่มีสิ่งใด ๆ เลย ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ จะเป็นผู้หาโทษไม่ได้” มีไหมในโลกนี้สักสิ่งหนึ่งที่ถ้าเมื่อเรายึดถืออยู่ มันจะหาโทษไม่ได้ ‘โทษในที่นี้ หมายถึง ความที่มันไม่เที่ยง ความที่มันเปลี่ยนแปลงไป’ เป็นไปตามอย่างที่เรายึดถือ ยิ่งยึดถือมากยิ่งมั่นคง มันจะมีความเป็นไปอย่างนั้นเหมือนเดิม ตามที่เราปรารถนาตามที่เรายึดถือเอาไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ให้มันเที่ยงแท้เหมือนเดิมเป็นปกติ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอด ยิ่งถ้ายึดถือมาก ยิ่งมั่นคงมาก ยิ่งเที่ยงแท้มาก เป็นอย่างนั้นไหม มีไหม เราลองคิดดู Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/24/20211 hour, 43 seconds
Episode Artwork

ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา 6420-2m

“สมถะ…เมื่ออบรมแล้ว จิตจะเจริญ จิตเมื่อเจริญแล้ว จะละราคะได้ วิปัสสนา…เมื่ออบรมแล้ว ปัญญาจะเจริญ ปัญญาเมื่อเจริญแล้ว จะละอวิชชาได้”เพราะเกินกำลังของสติ ‘ความฟุ้งซ่านความง่วงซึม’ ถ้ามีสติเห็นแล้ว อย่ากังวลอย่าบังคับจิต แต่เห็นเป็นเครื่องหมายแล้วใช้ ‘สมถะวิปัสสนา’ ทำจิตให้สงบเป็นอารมณ์อันเดียว เห็นตามความเป็นจริงในความเป็นของไม่เที่ยงเป็นอนัตตาของสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ จะปรับสมดุลมาตรงกลางได้ วางได้ สามารถละอาสวะที่เป็นรากเหง้าของอวิชชาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/17/202159 minutes, 50 seconds
Episode Artwork

กระแสเกิดดับแห่งสังขาร 6419-2m

“…เปรียบเหมือนอายุสังขารสิ้นไปเร็ว ยิ่งกว่าความเร็วของบุรุษ ความเร็วของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น แม้ฉันใด เพราะเหตุนั้น พวกเธอทั้งหลาย พึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจะเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท พวกเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.”พุทธพจน์นี้ไม่ยากเกินจะเข้าใจ เริ่มจากตั้งสติ เมื่อจิตเป็นสมาธิ “ให้เห็นตัวตนของเราด้วยปัญญาว่า ไม่ใช่ตัวตน เห็นด้วยปัญญาว่า ตัวตนไม่ใช่ตัวตนแล้ว จะมีความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่มีสาระไม่มีแก่นสารไม่มีค่าควรที่จะยึดถือ จะปล่อยวางได้” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/10/20211 hour, 1 minute, 52 seconds
Episode Artwork

สติในชีวิตประจำวัน 6418-2m

ในแต่ละวัน เราทำอะไรบ้าง ตื่นจากนอนก็นั่ง ยืน เดิน แล้วที่ทำอยู่มีสติสัมปชัญญะในอิริยาบทต่าง ๆ ในการงานในความนึกคิดต่าง ๆ ได้ไหม? จุดที่สำคัญในที่นี้ คือ “รู้ตัวรอบคอบ”อย่างไรที่จะเป็นผู้ที่มีสติอยู่อย่างสัมปชัญญะ ไม่ใช่เฉพาะแต่ที่วัด หรือเวลาที่เราเงียบ ๆ ง่าย ๆ ชิว ๆ แต่ในทุกที่ทุกสถานทุกแห่ง สามารถมีการปฏิบัติธรรมะอยู่ทั้งหมดได้ หรือแม้แต่ตอนนอนก็สามารถฝึกได้ เพื่อที่ไม่ให้บาปอกุศลธรรมตามเราผู้หลับอยู่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/3/202148 minutes, 56 seconds
Episode Artwork

วางความยึดถือในจิต 6417-2m

“อวิชชา” คือ ความไม่รู้ ทั้งไม่รู้ว่านี่เป็นอบุญนี่เป็นบุญ เพราะอวิชชามันทำให้มืดให้มึนให้งง ก็ยังมีคนที่เมาบุญ ก็ยังมีคนที่ยังจมปลักอยู่ในบาปได้ จะเข้าใจลึกซึ้งลงไปอีกว่าอย่างไรที่จะไม่มีอาสวะ เหนือทั้งบุญทั้งบาปได้ด้วยองค์ประกอบแห่งมรรค 7 อย่างเริ่มจากสัมมาทิฏฐิแวดล้อม จิตที่เป็นหนึ่ง นั่นคือ สัมมาสมาธิ เพ่งจดจ่อความจำได้หมายรู้จนเกิดเป็นความรู้แจ้งว่า ก็ถ้าเหตุเงื่อนไขปัจจัยทำให้เกิดสมาธิได้ แล้วถ้าเหตุเงื่อนไขปัจจัยของสมาธิหายไป จิตก็ไม่เป็นอารมณ์อันเดียว เห็นไหมนั่น? นี่มันไม่เที่ยงนะ เห็นความไม่เที่ยงนั้นนั่นคือ “ความสว่าง” แล้ว Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/26/20211 hour, 2 minutes, 20 seconds
Episode Artwork

รอยนกในอากาศ 6416-2m

คนเรานี่แสวงหาทางพ้นทุกข์ ทุกข์มากทุกข์น้อยแตกต่างกัน ไม่ว่าจะทุกข์ของคนมีอันจะกินหรือไม่มีอันจะกิน ถามว่าเราจะพ้นจากความทุกข์ได้ยังไง ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์อะไรก็ตามถ้าในธรรมวินัยไหน คำสอนเรื่องใด ๆ ถ้ามีมรรค คือ ทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐแปดประการ ข้อมูลนั้น วิธีการนั้น กระบวนการนั้น ๆ คำสอนนั้น ๆ พ้นทุกข์ได้จริง เส้นทางการปฏิบัติอื่นที่จะให้พ้นทุกข์ได้ นอกมรรค 8 ไม่มีเลย เหมือนรอยในอากาศนั้นไม่มี แต่ร่องรอย คือ มรรคอยู่ตรงไหน ความหมดทุกข์ ดับไปอยู่ตรงนั้นแน่ร่องรอยนี้มีอยู่ แล้วยังตรวจสอบได้ด้วยปัญญา จะรออะไร ทำเลยปฏิบัติเลย เดี๋ยวนี้ รักษาให้ดีต่อ ๆ ไป มรรคแปดทำได้ทุกขณะ ขับรถ กินข้าว เดินทาง พูดคุยติดต่อให้มีมรรคแปดอยู่ตลอด ๆ เราจะสามารถรักษาเส้นทางของเราให้ถึงที่หมายได้ ในเวลาไม่นาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/19/20211 hour, 49 seconds
Episode Artwork

กิเลสเกิดจากจิต 6415-2m

สิ่งที่ทำให้เราเกิดความทุกข์ได้ มันคือ กิเลส คือ ราคะโทสะโมหะ ไม่ว่าจะคนชาติไหน ถ้าเขามีกิเลสอยู่ในใจ เขาจะทุกข์ทันที “กิเลสมันอบรมจิตเรามาเป็นแบบนี้ ฝึกสอนให้เราเป็นแบบนี้ เพราะกิเลสมันสอนเรา” ให้ตอบสนองกับสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจแบบนี้ จึงมีอุปนิสัยแบบนี้ มีความคิดแบบนี้ มีบุคลิกแบบนี้ ๆ แต่จิตเรา เราต้องฝึกได้สิ ฝึกได้ เลือกได้ ปรับเปลี่ยนได้  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/12/20211 hour, 1 minute, 59 seconds
Episode Artwork

ฝึกอานาปานสติ เจริญพรหมวิหาร 6414-2m

เปรียบการฝึกสติไว้กับการผูกลิงไว้ด้วยเชือกกับเสา มันมีแรงอยู่ก็พยายามดึงไป ๆ แต่ไปไม่ได้ นั่นคือ มีความคิดนึกอยู่ แต่ก็ไม่ลืมลม การที่ระลึกถึงลมหายใจได้ นั่นคือ สติเหมือนจิตของเรา ถ้ามันจะหนีไปตามเสียงช่องทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ หาให้เจอ แล้วเอามันมาผูกไว้ มันหนีอีกก็ผูกไว้กับเสาอีก นั่นคือสติ มันจะค่อยอ่อนแรงลง ๆ จิตจะค่อยสงบลง ๆ ระงับลง ๆ รวมเข้า ๆ ไม่แส่ซ่านไปทางอื่นเมื่อจิตเป็นสมาธิ ใช้กำลังสมาธิ ความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว เป็นเหมือนเสาอากาศที่จะแผ่กระแสแห่งความรักความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั่วทุกทิศทาง เปรียบเหมือนคนแข็งแรงเป่าสังข์ให้ได้ยินทั่วทั้งสี่ทิศไม่ยากฉันใด ก็แผ่กระแสไปอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณฉันนั้นเหมือนกัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/5/202145 minutes, 49 seconds
Episode Artwork

ฝึกจิต 6413-2m

เรามาแก้ความทุกข์กัน ทำจิตให้มีกำลังให้มีอำนาจ เพราะจิตที่ได้ฝึกแล้ว จะมีประโยชน์มาก เพราะจิตนั้นปกติข่มได้ยาก จิตมีลักษณที่เบา คือ ประภัสสร จึงสามารถไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย มันจึงทุกข์จิตของเรา ถ้าไม่สามารถสั่งได้ สั่งให้คิดหรือสั่งให้ไม่คิด ไม่ได้ มันจึงเป็นปัญหา กระบวนการที่จะฝึกจิต คือ ตั้งสติไว้โดยใช้ลมหายใจเป็นฐานที่ตั้งของสติ แต่สติไม่ใช่จิต และอย่าเข้าใจว่าลมหายใจ คือ สติ สติไม่ใช่ความคิด สติไม่ใช่ลมหายใจ สติไม่ใช่อารมณ์“สติ” เป็นคุณธรรมอันเอกอันเดียว เป็นสิ่งที่จะรักษาจิตของเราได้ ฝึกให้จิตรู้ว่า นี้คือทุกข์ นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี้คือความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้คือทางให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ “ฝึกจิต” แล้วในลักษณะที่ว่า ออกมาแล้ว ไม่ต้องฝึกอีก ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า เหนือแล้วจบเลย ไม่ยากเกินความสามารถ เรามาฝึกกัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/29/202157 minutes, 39 seconds
Episode Artwork

มรณสติ 6412-2m

สูงสุดของความทุกข์ คือ ตาย ถ้าเราเข้าใจทุกข์ไม่ถูก เราก็จะจมปลักอยู่ในความทุกข์นั่นเอง “ความตายไม่ใช่ความดับ ดับกับตายไม่เหมือนกัน จะดับตายจะหนีตายได้ ต้องเข้าใจต้องเข้าหาความตาย อย่ากลัวความตาย”คนเราในเมื่อเกิดมาแล้ว ต้องมีความตายเกิดขึ้นทุกคน ให้ได้ประโยชน์จากความตาย อย่าตายทิ้งเฉย ๆ มันเสียดายของ การเจริญมรณสติอย่างไรที่จะทำให้เราถึงความไม่ตาย คือ “อมตะ” ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/22/202159 minutes, 54 seconds
Episode Artwork

จิตเห็นไตรลักษณ์ในจิต จึงดับอวิชชา 6411-2m

‘จิต’ มีสติก็ตั้งขึ้นได้ พอเผลอสติก็หายไป ผ่องใสก็ได้กลับเศร้าหมองก็ได้ สงบระงับจากการปรุงแต่งเป็นอารมณ์อันเดียวก็ได้ ฟุ้งซ่านก็ได้ อ้าว! ให้จิตมันชิว ๆ นิ่งเย็นตลอดได้ไหม ไม่ได้! เพราะจิตอาศัยสติ รักษาศีลจิตก็เป็นสมาธิ เผลอสติไปตามภาพเสียงกลิ่นรส จิตก็คืบคลานไปตามการรับรู้ สมาธิก็หายไป เพราะจิตมีเหตุเงื่อนไขปัจจัยปรุงแต่งกันมา จิตจึงมีความไม่เที่ยงของมันอยู่ตลอด เป็นของไม่ใช่ตัวตน เพราะขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น เห็นตามความเป็นจริงข้อนี้ เห็นด้วยปัญญา ‘อนัตตา’ เห็นด้วยปัญญา ‘อนิจจัง’ เห็นด้วยปัญญาในความไม่เที่ยง ‘ทุกขัง’ จะทำให้ความไม่รู้ คือ อวิชชา ว่าจิตมันเป็นของมันอย่างนี้ตลอดกาลช้านาน เข้าใจแบบนี้แล้ววิชชาเกิดอวิชชามันจะดับไปได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/15/202158 minutes, 32 seconds
Episode Artwork

ธรรมนุปัสสนา ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 6410-2m

ธรรมะบทแรก ‘ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร’ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นปฐมเทศนากับภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ท่านทรงสอนไว้อย่างไรใคร่ครวญธรรมในธรรมในคำสอนของ ‘พุทธะ’ ว่าอะไรคือหลักคำสอนที่มีความสำคัญสูงสุด เป็นความจริงอันประเสริฐ อะไรคือสิ่งที่แล่นไปดิ่งไปสุดโต่ง 2 อย่างที่ไม่ควรข้องแวะ อะไรคือขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่เมื่อทำกิจแต่ละข้อ ๆ ใน ‘อริยสัจ’ ได้แล้ว จะมีความรู้ยิ่ง อยู่เหนือจากความทุกข์ทั้งมวลได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/8/20211 hour, 16 seconds
Episode Artwork

ดับอวิชชา พ้นจิตปรุงแต่ง 6409-2m

เพราะการกระทำปรุงแต่งเหล่านั้น จึงเกิดเป็นลักษณะของการสั่งสม เป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความชอบ ไม่ชอบ (ตัณหา) "จิต" จึงทำให้มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราของเราอยู่ในนั้น  ซึ่งจิตมันเป็นผลพลอยได้ เป็นผลพวงของความยึดถือมาอยู่แล้ว เป็นอย่างนี้มาช้านานแล้ว เป็นกระบวนการที่เป็นกระแสปรุงแต่งไปอยู่ตลอดกาลอยู่แล้วถ้าเราไปตามหาที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลาย มันจะไม่เจอ ไม่ปรากฎ มันจะเป็นกระแสวนไปวนมา ไม่รู้เลยว่ามันเริ่มมาอย่างไร มันไปอยู่ตรงไหน เพราะมันเป็นวงกลมไง วนไปตลอดกาลช้านาน ความยึดถือก็เกิดขึ้นได้ตลอด ๆ ต่อเนื่องกันมาตลอด ทำให้เราเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงทรงหยุดสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยการบัญญัติสิ่งที่เรียกว่า "อวิชชา" “มันแค่เหรียญสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นความไม่รู้ ด้านหนึ่งเป็นความรู้ เราไม่รู้หรอกว่าทำไมมันต้องปรุงแต่งมาเป็นอย่างนี้ มันก็เป็นอย่างนี้ล่ะ เป็นอย่างนี้แล้วและจะยังไง แต่ถ้าเรามองดูอีกมุมหนึ่ง อ๋อ! มันมีเหตุ มีผล มีเงื่อนไขเป็นปัจจัยแล้ว จึงก่อให้เกิดผลเป็นวิบากเป็นแบบนี้ มันไม่เป็นตัวของมันเอง นี่ ความรู้เกิดแล้ว” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/1/202159 minutes, 25 seconds
Episode Artwork

น้อมจิตตริตรึกทางกุศล 6408-2m

เกิดเป็นมนุษย์มันดีอยู่แล้ว มีกุศลมากกว่าอกุศลอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นเราคงไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเปรตอสุรกาย กุศลหรืออกุศลมันก็อยู่ในกายในใจของเรานี้ แต่ถ้าไม่รู้จักแยกแยะ จะเห็นว่าบางทีก็ร้ายบางทีก็ดี ขึ้นอยู่กับกำลังขับดันของแต่ละฝ่าย ๆ จะดึงไปทางไหน คนฝึกได้เปลี่ยนได้ จากชั่วเป็นดี จากขี้เกียจเป็นขยัน จากโง่เป็นมีปัญญา มีกัลยาณมิตร ไปตามทางสายกลางไม่ชิดซ้ายไม่ติดขวา เริ่มด้วยการทำจิตให้มีความสงบนึกถึง “พุทโธ” ไม่เผลอไม่เพลิน แยกแยะด้วยสติ ตริตรึกให้การกระทำในทางกายวาจาใจไปในทางที่เป็นกุศลได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/22/202156 minutes, 46 seconds
Episode Artwork

สมาธิภาวนา 6407-2m

สมาธิภาวนา 4 อย่างที่ไล่จากเพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อความสุขในภายในที่นี่เดี๋ยวนี้ เพื่อสมาธิที่สามารถปรับใช้แก้ปัญหาได้ด้วยไอเดียใหม่ ๆ หรือเพ่งไปเพื่ออิทธิวิธี ไปจนถึงเพื่อคลายความยึดถือให้สิ้นไป เพราะเห็นตามความเป็นจริงในสิ่งต่าง ๆ โดยมีรูปแบบการปฏิบัติ 4 อย่างที่ไม่ว่าจะปฏิบัติแบบใดก็ตาม สมถะกับวิปัสสนาที่ไปด้วยกัน จึงจะทำให้ถึงความที่อาสวะเกิดขึ้นอีกไม่ได้จะเข้าใจได้ “จิตเราสามารถฝึกได้” เริ่มจากการตั้งสติในที่นี้ด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/15/20211 hour, 2 minutes, 52 seconds
Episode Artwork

นิโรธสัญญา 6406-2m

“หากสิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง จะไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ ความรอดออกไปได้ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง จะไม่มีเลย เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุงนั่นเอง จึงได้มี ความรอดออกไปได้ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุงนั้น จึงปรากฎอยู่” เข้าใจธรรมชาติของความเกิดขึ้นความดับไปของสิ่งต่าง ๆ ด้วยเงื่อนไขปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่เพราะลูกศรมันยังมีอยู่ตลอด ดับไปแล้วเชื้อมันยังมี ก็เกิดขึ้นได้อีกทันที ลูกศรคือสังขารการปรุงแต่ง เชื่อมกันเพราะมีตัณหา ต่อไปแล้วก็ต่อไป ทำอย่างไรที่จะจบ ทางรอดมีอยู่…จะเข้าใจได้ จิตต้องสงบเป็นสมาธิ ในที่นี้เริ่มด้วยการเจริญอานาปานสติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/8/202155 minutes, 21 seconds
Episode Artwork

แยกความคิด วางแม้จิต 6405-2m

จิตไม่ได้จะแยกแยะได้ว่าชั่วหรือว่าดี มันแค่ยึดหรือไม่ยึด ความไม่รู้ของมัน คือ อวิชชา จะให้มันมีความรู้ รักษาให้ดี ๆ ด้วยสติด้วยปัญญาด้วยความเพียร ถามจิตดูทำไมเป็นแบบนี้ ชีวิตเราคุยกับจิตคุยกับตัวเองมาตลอด ผ่านการปรุงแต่งของจิตเป็นความคิดนึกปรุงแต่งสั่งสมเข้าไปในจิต เป็นความยึดถือเป็นอาสวะสั่งสมเข้าไป จึงเป็นอุปนิสัยแบบนี้ลักษณะความคิดแบบนี้ มีการตอบสนองแบบนี้ ๆ จิตมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา มันไม่ใช่ดี มันเป็นโทษ นี่คือ ปัญญาขั้นสูง เห็นความไม่เที่ยงโดยความเป็นโทษเป็นทุกข์เป็นอนัตตา สิ่งอะไรที่มีโทษ เราจะเอาไว้หรือ ทิ้งมันเลย จิตไม่ใช่ของเรา ละทิ้งความยึดถือในจิต อย่าคิดว่ามันเป็นของเรา ทิ้งแล้วอยู่กับอะไร อยู่กับสติ เอาสติตั้งไว้จิตไม่ใช่ของเรา มันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลงได้ “สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ว่าควรหรือที่เราจะเห็นว่าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา” เออควร! ควรแล้วทำยังไง ตั้งสติเอาไว้ ด้วยปัญญาขั้นสูง เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ละความยึดถือในจิตของเราเสีย วางมันซะ! Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/1/202155 minutes, 29 seconds
Episode Artwork

ดับอนุสัย 6404-2m

รักก็เป็นราคานุสัย ชังก็เป็นปฏิฆานุสัย ไม่เข้าใจก็เป็นอวิชชานุสัย เกิดขึ้นมาแล้ว จิตมันก็เกิด สั่งสม รู้สึกว่าเป็นตัวตน แล้วปฏิฆะมันดับได้ไหม ราคะมันดับไหม เออมันดับได้ เข้าใจแล้ว มันไม่เที่ยงเป็นอนัตตา เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งนั้น มันหลุดเลย แม้แต่จิตของเรานี้ด้วย เดี๋ยวเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างนี้เดี๋ยวเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น วางความยึดถือในจิตใจของเรานั้น วางซะ! วางความยึดถือ เข้าใจแบบนี้ คือ ปัญญา มีวิชชามีปัญญามีแสงสว่างเกิดขึ้น อวิชชานุสัยอยู่ไม่ได้ มันต้องหลุดออกไป ที่มีอยู่ ต้องดับไป ถ้าเหตุแห่งอวิชชามีอยู่ อวิชชาก็ต้องมีอยู่ ถ้าเหตุแห่งอวิชชาดับไป มันจะไปอยู่ได้หรืออะไรที่เที่ยงไม่มีในโลก อะไรที่ไม่เที่ยงหาได้อยู่ในโลก สิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอนในโลกที่มันปรุงแต่งเงื่อนไขปัจจัยกันมา ไม่มีหรอกสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน เข้าใจแบบนี้ คือ มีความรู้มีวิชชา คุณจะอยู่เหนือโลกนี้ได้ ออกจากโลกได้ ไปสู่ในสภาวะที่ไม่มีเงื่อนไขไม่มีปัจจัย ได้นะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/25/202156 minutes, 4 seconds
Episode Artwork

ชนะกิเลส เพียรมั่นอยู่ที่ลม 6403-2m

กว่าจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จ ไม่ใช่ง่าย ๆ จะรู้ถึงความสุขความสำเร็จถึงคุณค่าความดีได้ ต้องผ่านความทุกข์ ต้องมีทุกข์มาเปรียบเทียบ อะไรที่ได้มาง่าย ๆ ความภูมิใจมันน้อย เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นหัวฝี เห็นอทุกขมสุขที่กำลังมีอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นด้วยสติสัมปชัญญะ ผ่านลมหายใจที่เข้าออกอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น ลมที่พัดเข้าพัดออกอยู่อย่างนี้ ให้พัดจนกระทั่งแม่น้ำทั้งสายเหือดแห้ง แต่เลือดน้ำเหลืองน้ำดีในกายให้มีอยู่ อย่าให้เหือดแห้งไป ต่อให้เหือดแห้งไปเนื้อเหือดแห้งไป เหลือหนังหุ้มเอ็นหุ้มกระดูกไว้ ด้วยองค์ 4 ประการนี้ ทำไมจะบรรลุธรรมไม่ได้ ทำไมเราจะตั้งสติทำความดีแน่วแน่ไว้ อยู่ตามทางมรรคแปด ทำไมจะไม่ได้ แค่ลัดนิ้วมือเดียวที่ตั้งสติไว้ เห็นความเกิดขึ้นความเสื่อมไป ความดับความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลง เห็นว่ากายนี้ไม่เที่ยง เห็นว่าลมหายใจของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เห็นว่าสมาธิที่นิ่ง ๆ มีเหตุมีปัจจัย เห็นแบบนี้ คือ เห็นความไม่เที่ยง ด้วยจิตที่สงบ ชื่อว่าเป็นผู้ที่มารมองไม่เห็น เป็นผู้ที่มารตามกระแสไม่ได้ ไปตามทางไปตามกระแสแล้ว Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/18/202150 minutes, 46 seconds
Episode Artwork

พาลสู่บัณฑิตด้วยมรรค 8 6402-2m

..ส่วนไหนเกิดมีขึ้นพัฒนาขึ้น อยู่ที่เราประพฤติปฏิบัติที่แตกต่างกันในจิตใจ ที่ว่าตัณหาไม่สิ้นรอบอวิชชาละไม่ได้ นั่นคือส่วนที่เป็นพาลไม่ดี dark side ด้านมืดในจิตมีกำลัง แต่ถ้าเราเริ่มลอกถอนอวิชชาได้เริ่มรื้อถอนตัณหาได้ ส่วนที่เป็นบัณฑิตมีเพิ่มในจิตใจ ส่วนที่เป็นพาลมันลดลงทันที เพราะเห็นตามความเป็นจริงในสิ่งต่าง ๆ ว่าสุขเวทนาทุกขเวทนามันเป็นอย่างนี้ อวิชชามันลดลงด้วย อวิชชาเป็นรากของตัณหา อวิชชาลดลง ๆ ตัณหาสิ้นรอบ ๆ ออกไป ทำความเข้าใจทำความดี วิชชาเกิดขึ้น ตัณหาก็ลดลง ๆๆ ตัณหาลดลงไม่พอกใหม่เพิ่มขึ้น วันหนึ่งวันนั้นจะมีที่ตัณหาสิ้นรอบไปหมด อวิชชาละได้หมด ไม่มีอวิชชานุสัยเหลืออยู่ อวิชชาไม่ห่อหุ้ม ตัณหาไม่ผูกมัดรัดรึงเอาไว้ นี่คือพ้น หนีรอดหลุดออกจากเครื่องจองจำคือสังสารวัฏได้ ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปดเป็นการปฏิบัติที่ทำให้กิเลสลดลง ทำให้คนพาลที่อยู่ในจิตใจของเราอ่อนกำลัง ทำให้บัณฑิตที่มีอยู่ในจิตใจของเรามีกำลังเพิ่มขึ้นสูงสุดนั่นแหละ หลุดพ้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/11/202151 minutes, 14 seconds
Episode Artwork

พิจารณาขันธ์ห้าตามความเป็นจริง 6401-2m

ถึงเวลาที่จะปลดแอกตัวเราจากความยึดถือได้แล้ว ที่ไปยึดได้ คือ อุปาทาน เพราะเพลินพอใจในสิ่งใด มันติดกับสิ่งนั้นทันที โทษของมันก็มาด้วยเพราะความที่มันไม่เที่ยง จะกำจัดมันก็ละความยึดถือ อย่าให้เกิดความเพลินความพอใจ คือ เห็นโทษในความที่ไม่มีสาระไม่มีแก่นสาร เห็นบ่อย ๆ จะเป็นอุบายเครื่องนำออกจากความยึดถือในสิ่งนั้น แต่ถ้าเห็นโทษอย่างเดียวไม่เห็นรสอร่อยไม่เห็นเหตุเกิดไม่เห็นสิ่งต่าง ๆ ครบถ้วน บางทีไปยึดกับการปฏิเสธทุกอย่างปฏิเสธสิ่งนี้ไม่เอาสิ่งนั้นด่าทอขี้บ่น มันก็ไม่ได้เรื่อง กิเลสมันเอาเราสองทางเสมอ สิ่งที่ไม่เป็นสาระ คือ ความที่มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนได้ แล้วเอาสิ่งที่เป็นสาระ คือ อะไรที่ทำให้เราเห็นความไม่เที่ยง มีปัญญามีสติมีสมาธินั่นคือ มรรค เห็นตามความเป็นจริงโดยความเป็นของไม่เที่ยงของขันธ์ห้า เจริญเกาะอยู่กับมรรคแปด จะทำให้สามารถที่จะเห็นขันธ์ห้าตามความเป็นจริงได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/4/202152 minutes, 54 seconds
Episode Artwork

พิจารณาสภาวธรรมตามวิธีปฎิจจสมุปบาท 6353-2m

ผู้ที่พ้นจากความทุกข์ สามารถทำให้ถึงนิพพาน อันเป็นบรมสุขได้ ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ดโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาแล้ว ปฏิบัติจนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้าแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องอาศัยการทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จึงจะเกิดความพ้นได้ ด้วยการพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 ในฐานะทั้ง 7 โดยวิธีทั้ง 3พิจารณาใคร่ครวญจุดนั้นจุดนี้ สับให้ละเอียดสับให้นัว จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้งความรู้ซึ้ง ปัญญาความฉลาดหลักแหลม แจกแจงไปกระจายไป จะสามารถรู้ถึงโดยความเป็นธาตุ รู้ถึงโดยความเป็นอายตนะ รู้ถึงโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาทได้  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/28/202056 minutes, 57 seconds
Episode Artwork

พิจารณา‘ปัจจัย’เมื่อไม่สะดุ้ง จิตย่อมร่าเริง

ไม่ฟุ้งไปซ่านไปในความคิดไม่ว่าจะเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีด้วยสติที่รักษาจิต ไม่ตั้งสยบอยู่ในภายในด้วยการเห็นโทษ คือ ความไม่เที่ยงของในสมาธินั้น เมื่อไม่ติดอยู่ในสิ่งนี้ คือ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น แม้ในความคิดนึกภายนอก คือ ไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นแม้ความสงบจากสมาธิที่เกิดขึ้นจากในภายใน คือ ไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน พอไม่ยึดถือทั้งนอกและใน ก็จะไม่สะดุ้ง ไม่สะดุ้งไปตามการเปลี่ยนแปลงของความคิดบ้างของสมาธิในภายในบ้าง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นรูปเวทนาสัญญาสังขารหรือวิญญาณในภายนอกในภายใน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นขันธ์ห้าที่หยาบละเอียดเลวประณีต มีในที่ไกลหรือว่าที่ใกล้ อดีตอนาคตหรือปัจจุบัน เมื่อไม่สะดุ้งสะเทือนเปลี่ยนแปลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของขันธ์ทั้ง 5 จิตนั้นก็ดำรงอยู่ด้วยดี มันก็มีความร่าเริงมีความพ้น นั่นคือวิมุต จิตที่มีวิมุตเป็นที่แล่นไปสู่ จิตนั้นจะมีนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่ สามารถที่จะเย็นคือนิพพาน เย็นอยู่ในภายใน พ้นทุกข์เลย ในที่ ๆ อยู่นี่แหละ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/21/202055 minutes, 34 seconds
Episode Artwork

พิจารณาปัจจัยในภายใน 6351-2m

ตัณหามันเกิดใช่ไหม มันเกิดตรงที่เรารักตรงที่เราพอใจ คุณรักชอบตรงไหน เวลาจะตัดจะละความรักความพอใจ ก็ต้องตัดมันตรงนั้น ถ้าคุณเป็นแผลที่ตาตุ่ม จะไปใส่ยาที่เข่า มันก็ไม่หายสั่นแหล่ว เรายึดตรงไหน จะละความยึดถือ ก็ละตรงที่ยึดนั่นแหละ สมเหตุสมผลนะ ใคร่ครวญดูดีๆ  ถ้าไม่เห็นโทษของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี่นะ เราละไม่ได้หรอก พิจารณาตามปัจจัยในภายในให้อย่างถูกต้องแล้ว มันจะมาจบที่นี่ เหตุของมันคือตัณหา วิธีทางแก้ทางออกของมันคือมรรคแปดเท่านั้น ไม่มีเป็นไปทางอื่น ถ้าจะด่ากันว่ากันใช้เครื่องมือมาร คุณออกนอกทางแล้ว นั่นคือดื่มสุราที่เจือด้วยยาพิษ ผิดแล้ว เอาใหม่ ให้มีความเมตตากัน ให้มีความเห็นอกเห็นใจกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พูดจาดี ๆ ให้กัน มีความรักความปรารถนาดีมอบให้แก่กันและกัน ตัวเองด้วยคนอื่นด้วย เออ! อันนี้ปฏิบัติตามทางนะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/14/202053 minutes, 47 seconds
Episode Artwork

อาหารที่สัตว์โลกไม่พึงแสวงหา 6350-2m

ด้วยอาหารทั้ง 4 อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถที่จะทำให้เกิดปรากฎการณ์ในที่นี้ คือกายคือใจของเรา ทำให้มีความทุกข์มีปัญหามีความแก่ความตายความโศกความร่ำไรรำพันความทุกข์กายความทุกข์ใจความคับแค้นใจได้ทั้งหมด โดยมีอาหารเป็นตัวหล่อเลี้ยง ปัญหามันเกิดขึ้นตรงที่ถ้าเรามีความกำหนัดยินดีเพลิดเพลินเกิดขึ้นเมื่อไหร่ มันจะเป็นความยึดถือเป็นอุปาทาน คือยึดถือกันแล้ว มันจะรวมกันเข้าไปเป็นก้อนเป็นกอบเป็นกำขึ้นมา นั่นคือเป็นภพ พอมีภพแล้วความเป็นตัวตนความเป็นสภาวะ มันเกิดขึ้นตรงนั้นเลยจริง ๆ จิตไม่ใช่ตัวตน ไม่มีความเป็นตัวตน ไม่ได้มีอะไร คือมันไม่มี แต่ความรู้สึกที่รู้สึกว่านี้เป็นตัวตนขึ้นมา นั่นคือจิต สิ่งที่เป็นตัวตนขึ้นมาแล้วนั่น คืออุปาทาน มันจึงอาศัยกันเกิด จึงให้รู้สึกมีสองอย่างในอย่างเดียวจริง ๆ แล้วมันมีอันเดียวที่เจริญเติบโตตั้งขึ้น นั่นคือความกำหนัดยึดถือพอใจ มีที่ไหนมันเป็นตัวตนขึ้นมาทันที ถ้าเอาออกแค่อันนี้อย่างเดียว สิ่งนั้นไม่เป็นตัวตนขึ้นมา แล้วมันก็เป็นธรรมดาของมัน เป็นตามเหตุตามเงื่อนไขตามปัจจัยของมัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/7/202058 minutes, 36 seconds
Episode Artwork

ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่อย่างพรหม 6349-2m

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "ต้องการละความพยาบาท ต้องหมั่นเจริญเมตตา ต้องการละความคิดเบียดเบียนผู้อื่น ต้องหมั่นเจริญกรุณา ต้องการละความอิจฉาริษยา ต้องหมั่นเจริญมุทิตา และต้องการละความขัดใจ ต้องหมั่นเจริญอุเบกขา"ดังนั้นเราจึงควรรักษาจิตให้ประกอบด้วยพรหมวิหารสี่นี้ตลอดเวลา ในทุกอิริยาบถ และทุกสถานที่ จะทำให้เราสามารถมีเมตตาได้กับทุกคน มีความกรุณาเมื่อพบคนได้รับทุกข์ มีมุทิตาเมื่อพบคนได้รับสุข และมีอุเบกขาทรงอยู่ได้เมื่อเห็นใครจะชั่ว หรือเจอสิ่งที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจก็ไม่มีความขัดเคือง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/30/20201 hour, 6 seconds
Episode Artwork

พิจารณา…นามรูป 6348-2m

ในชีวิตหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยนามและรูป โดยที่นามนั้นก็คือ มีแต่ชื่อสำหรับเรียก แต่ไม่มีรูปร่างหน้าตา ที่จะให้มองเห็นได้ด้วยตา หรือได้ยินได้ด้วยหู หรือที่จะทราบได้ด้วยกลิ่นด้วยรสด้วยการถูกต้องทางกาย ซึ่งก็คือ จิตนั่นเอง ตรงกันข้ามกับรูปซึ่งประกอบด้วยธาตุสี่ จับต้องได้ เป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ และแตกดับเสื่อมสลายได้ด้วยปัจจัยที่เป็นข้าศึกเมื่อไรก็ตามที่จิตมีอวิชชา จะทำให้เกิดอนุสัยขึ้น คือ ลักษณะที่จิตมันปักลงไป ทับถมลงไป เป็นอารมณ์คิดนึกไปแบบนี้ด้วยอวิชชา แต่เราสามารถถอนรากอวิชชาออกไปจากจิตได้ ด้วยการทำให้วิชชา คือ ความรู้ เกิดขึ้น โดยการเริ่มจากสมาธิ เพื่อทำให้จิตต้องมีความพ้น ต้องมีความเหนือจากผัสสะ ไม่ต้องวุ่นวาย หรือคิดนึกตริตรึกไปตามความคิดต่าง ๆพระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องนามธรรมและรูปธรรมเพื่อให้เห็นว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่เพียงธรรมซึ่งไม่ใช่เรา เพื่อละคลาย ไถ่ถอนความเห็นผิดว่ามีสัตว์ มีบุคคล มีตัวตน มีเราเขา อันเป็นไปเพื่อละคลายกิเลส ปล่อยวาง และดับเย็นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/23/202056 minutes, 13 seconds
Episode Artwork

บุคคลผู้ว่ายเข้าหาฝั่ง 6347-2m

วัฏสงสารเปรียบเสมือนห้วงน้ำใหญ่ ผู้ใดที่ยังไม่บรรลุมรรคผลย่อมเหมือนกับผู้ที่พยายามเวียนว่ายอยู่ในห้วงน้ำนั้น อาจจะจมบ้าง โผล่พ้นน้ำได้บ้าง ขึ้นกับความดีหรือความชั่วที่ได้กระทำ กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่ได้สร้างขึ้น ทั้งนี้ความเสื่อมและความเจริญสามารถปรากฏได้ ขึ้นกับเหตุปัจจัยที่เราสร้างขึ้นหากผู้ใดที่ได้บรรลุมรรคผลแล้วก็เหมือนเห็นทางที่จะพึงไปให้ถึงฝั่งได้ และหากผู้ใดที่ข้ามพ้นแล้วถึงฝั่งโน้น ยืนได้บนบกก็คือ "พระอรหันต์" นั่นเอง ด้วยท่านจะเข้าสู่พระนิพพาน ความดับเย็น ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนี้อีกต่อไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/16/202057 minutes, 53 seconds
Episode Artwork

ระวังจิตหลอก 6346-2m

เมื่อใจเป็นใหญ่เป็นประธาน ทุกคำพูดและทุกการกระทำจะเริ่มจากใจเราทั้งสิ้น จึงเป็นการง่ายที่จิตสามารถหลอกเราผ่านทางวิญญาณที่ทำหน้าที่ในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ โดยการปรุงแต่ง คือ สังขาร เพื่อให้มีความรู้สึกต่าง ๆ คือ เวทนา มีความคิดนึกเป็นสัญญา และผ่านออกมาทางรูป ด้วยมีเชื้อเป็นความเพลิน ความยินดี ความพอใจเหล่านี้ไปทางไหน อุปาทานก็ไปทางนั้นเช่นกัน ทำให้รู้สึกว่าวิญญาณ หรือความคิดนั้นคือ จิต และยึดถือว่าเป็นตัวฉัน เป็นของฉัน เป็นตัวตนของฉันตามธรรมชาติของจิตนั้นเป็นประภัสสร แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเศร้าหมอง หรือผ่องใสก็ได้ตามการปรุงแต่งอยู่ดี ที่เกิดจากกิเลสที่เกิดขึ้นในใจ มีความเป็นของไม่เที่ยงดังนั้นหากเราตั้งสติเอาไว้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งในอนุสสติสิบ สามารถทำให้การปรุงแต่งของจิตระงับลงและจิตสงบลงได้ ปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปดด้วยมีเป้าหมายอยู่ที่ "นิโรธ" ทำให้ละทิ้งความยึดถือในความเป็นจิตประภัสสรที่มีอวิชชาครอบอยู่ เห็นตามความเป็นจริง ดับเย็นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/9/202057 minutes, 33 seconds
Episode Artwork

จุดจบของความตาย 6345-2m

เหตุปัจจัยของความตายนั้นคือ "ความเกิด" กล่าวได้ว่าหากมีการเกิดย่อมมีการตายแน่นอน เพราะความตายกับความเกิดนั้นต่างประสานกันได้ด้วยความไม่เที่ยง เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปอีกจะเห็นว่า เหตุปัจจัยของการเกิด คือ ตัณหา และอวิชชา หากจะทำให้เหตุปัจจัยของการเกิดดับสิ้นไป คือ ต้องละตัณหา และอวิชชา ต้องเห็นโทษของความตายการพิจารณาถึงเหตุปัจจัยของความตายได้อย่างถูกต้อง มองเห็นจุดจบของความตาย และพ้นจากความตายได้ เราจึงควรตั้งสติเอาไว้ เริ่มต้นด้วย "สัมมาทิฏฐิ" เพื่อออกจาก "วิจิกิจฉา" ซึ่งเป็นทางแยกของความตาย ทรงจิตอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมออยู่ในอริยมรรคมีองค์แปด จะสามารถละตัณหา อวิชชาได้ ทำให้เกิดผลใหญ่ มีอานิสงค์ใหญ่ มีการหยั่งลงสู่อมตะเป็นที่หวังได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/2/202059 minutes, 48 seconds
Episode Artwork

เสวยเวทนา…อย่างไม่น่าเวทนา 6344-2m

เวทนาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา หากได้วิเคราะห์เป็นขั้นตอนอย่างละเอียดและมีการปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งคือ เข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ เราจะสามารถเข้าใจเหตุและผลของการเกิดผัสสะและเวทนาได้อย่างถูกต้อง ให้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาหรือความไม่เที่ยงเหล่านั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตัณหาตามมา สามารถวางเฉยได้แม้มีผัสสะมากระทบหรือรับรู้ได้ถึงเวทนาเกิดขึ้นการมีสติไม่ลืมว่าเวทนาทั้งสุข ทุกข์ อุเบกขา มีและไม่มีอามิส ล้วนเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ ตัวตน เรา เขา แต่มองแยกเป็นแค่นามธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้น จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่าเวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/26/202057 minutes, 30 seconds
Episode Artwork

อัปปมัญญาธรรม พรหมวิหารที่นำไปสู่การหลุดพ้น

พรหมวิหารสี่ คือ ธรรมะที่คุ้มครองโลกซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องของกาม เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย เกี่ยวข้องด้วยวัตถุกามหรือปัจจัยสี่ ทำให้เกิดความกำหนัด ยินดี พอใจ มากบ้างน้อยบ้าง เปรียบเสมือนอยู่ในป่ารกชัฏที่ต้องระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา และต้องใช้สัญชาตญาณของสัตว์ป่าในการเอาตัวรอดจากป่าของกามนี้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เราตกอยู่ในเกมส์ของมาร หากเราต้องการหลุดพ้นจากป่ากามคุณนี้ ควรจะฝึกจิตให้มองเห็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลให้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูลได้ หรือให้สามารถมองเห็นสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูลให้เป็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลได้เช่นกัน ด้วยการปฏิบัติตนเพื่อถึงซึ่งกุศลธรรมเพิ่มขึ้น แต่อกุศลธรรมลดลงโดยที่ไม่เลือกเวลาและสถานที่ ทางออกนั้นก็คือ การเจริญซึ่งอัปปมัญญาสี่เป็นการเจริญพรหมวิหารสี่ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นเพื่อนำไปสู่การหลุดพ้น โดยการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาที่ประกอบด้วยโพชฌงค์เจ็ดหรือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม พร้อมทั้งอาศัยวิเวก อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ และน้อมไปเพื่อการปล่อยวาง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/19/202055 minutes, 47 seconds
Episode Artwork

ฝึกเสียใจ 6342-2m

การเตรียมการณ์ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวแก่ก่อนแก่ หรือตายก่อนตาย จะเกิดความดีทั้งในเวลาปัจจุบัน และในเวลาต่อไป ๆ เราควรต้องเตรียมตัวในวันนี้ที่จะเข้าใจและยอมรับในทุกข์ที่เกิดจากภัยในอนาคตซึ่งเป็นเทวฑูตที่คอยมาเตือนสติเราเพื่อเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ กล่าวคือ ไม่เป็นผู้ที่วุ่นวาย ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุบอกชกตัวถึงความเป็นผู้งุนงงคลั่งเพ้อ กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจให้ปรากฏ ไม่สามารถดำรงจิตให้เป็นกลางได้จิตกับกายเชื่อมกันมาด้วยอำนาจของกรรม แต่เราสามารถแยกมันออกจากกันได้ด้วยการตั้งสติเอาไว้เพื่อการแยกแยะ ไม่ให้แทรกซึมเข้าไปสู่ใจ ทำให้เกิดวิมุตติ คือ ความพ้น เห็นกันอยู่ รับรู้อยู่ แต่ไม่เกลือกกลั้วกัน เราจึงควรฝึกตายก่อนตาย ฝึกแก่ก่อนแก่ ด้วยจิตที่ตั้งขึ้นเป็นสมาธิ มีอุเบกขา มีความสงบนิ่ง แน่วแน่ ไม่หวั่นไหวกับผัสสะที่มากระทบ และแจ่มใสด้วยสติ สมาธิ และปัญญาหากมีความเข้าใจในทุกข์มาก ความยึดถือในชีวิตจะน้อย เมื่อภัยในอนาคตเกิดขึ้นก็จะทำให้เรายอมรับได้ และทำให้ความผาสุกมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน การตั้งสติขึ้น จะทำให้เกิดสัมปชัญญะ มีปัญญาพิจารณามองเห็นตามความเป็นจริง และยอมรับในธรรมชาติว่า "ความแก่ ความเจ็บเป็นธรรมดา ซึ่งเกิดขึ้นได้กับสิ่งที่มีความแก่และความเจ็บเป็นธรรมดา" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/12/202048 minutes, 58 seconds
Episode Artwork

เมื่อเข้าถึงสัทธรรมที่แท้จริง ย่อมไม่ต้องการปฏิรูป

การเล่าเรียนธรรมะหรือปริยัติถือเป็นการรักษาพระธรรมได้ทางหนึ่ง ซึ่งเราสามารถทำให้ธรรมะนั้นลึกซึ้งเข้าสู่จิตใจให้มีสมาธิ มีความสงบ มีความสุขที่เกิดจากในภายในด้วยการปฏิบัติหรือสิกขา และจะทำให้ได้รับผลที่เกิดจากการปฏิบัติที่เป็นไปตามลำดับขั้น เป็นผลจากการปฏิบัติขั้นที่ต่ำกว่าเป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติของขั้นที่สูงกว่ายิ่งๆขึ้นไปหรือปฏิเวธในที่สุด สวากขาตธรรมเป็นธรรมะอันผู้มีพระพุทธเจ้าประกาศไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นธรรมะทั้งหลายที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความสุขและกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเกิดจากการสอดส่องใคร่ครวญเนื้อความด้วยปัญญา ไม่หละหลวมในการพิจารณาธรรม ดำเนินชีวิตตามหลักของอริยมรรคมีองค์แปด ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ด้วยการรับผลอานิสงค์ที่ควรจะได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ตั้งไว้ด้วยดีโดยสามารถวัดผลได้จากราคะ โทสะ โมหะที่กลุ้มรุมจิตใจนั้นเบาบางลง ลดลง จนกระทั่งไม่เหลืออยู่เลย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/5/202059 minutes, 32 seconds
Episode Artwork

แยกส่วนประกอบในช่องทางใจ 6340-2m

ธรรมชาติของจิตทุกคนเหมือนกันหมด แต่สามารถทำให้แตกต่างกันได้ทั้งดีหรือชั่ว ประเสริฐหรือไม่นั้นขึ้นอยู่ที่การฝึกจิต โดยเริ่มจากรู้จักแยกแยะสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในช่องทางใจให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นสติกับวิญญาณ ความคิดกับธรรมารมณ์ ซึ่งมันเป็นคนละอย่างกัน แต่หลายๆ ครั้ง มักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยเราแยกแยะได้ไม่ชัดเจนเพราะตัณหา ความรักใคร่พอใจ ที่มีรากคืออวิชชา มาปกปิดเอาไว้ธรรมพระพุทธเจ้าที่จะรักษาจิตเราให้เกิดกุศลธรรมขึ้น ตั้งขึ้น มีขึ้นได้คือ สัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ให้มีศรัทธาอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหว และมีความมั่นใจในการประพฤติปฏิบัติ ให้จิตของเรามีสติและสมาธิ มุ่งเน้นไปที่กุศลธรรมเป็นสำคัญ ทำให้มีหลักของใจที่จะรักษาจิตให้มั่นคงอยู่ได้ มีอารมณ์เป็นอันเดียว ไม่ออกนอกมรรค และความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏขึ้นได้ เพราะอาศัยเหตุปัจจัยคือ การปฏิบัติธรรมที่สมควรแก่ธรรม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/28/202059 minutes, 34 seconds
Episode Artwork

เข้าใจทุกข์ จึงพ้นจากทุกข์ 6339-2m

ในวันนี้เรามาทำเข้าใจความแตกต่างกันของ ทุกข์ในอริยสัจ กับ ทุกข์ในมรรค คือ ทุกข์ในอนัตตลักษณะ ให้เราได้รู้จักกับความหมายของทุกข์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ อันจะนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่จะสามารถพาเราพ้นจากความทุกข์นี้ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/21/202055 minutes, 17 seconds
Episode Artwork

โทษของกาม 10 โทษของขันธ์ 5 และธัมมุทเทส 4 6338-2m

สิ่งใดก็ตาม ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องด้วย กามหรือขันธ์ 5 ต่างก็มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จะมีความแปรปรวนไป จะมีความเป็นอนัตตา มีความไม่ใช่ตน ตามกันมาด้วย หากเราต้องการในสิ่งที่เป็นอนัตตา เราก็จะไม่ได้ตามปรารถนา เนื่องจากสิ่งนั้นมีความเป็นอาพาธอยู่ด้วย อาพาธนั้นคือโทษ เป็นความที่มันเปลี่ยนแปลงไปได้ ไม่เที่ยง และแน่นอนมันก็เป็นอนัตตาเช่นเดียวกันเมื่อเราเห็นโทษของกาม โทษของขันธ์ 5 และโทษของความเสื่อมแล้ว หากสามารถปล่อยวางได้จะทำให้เราไม่รู้สึกยินดียินร้าย ทำให้ไม่รู้สึกแย่ไปตามสุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นหรือดับไปหนึ่งในข้อธรรมที่เราควรพิจารณาใคร่ครวญคือ "ธัมมุทเทส 4" ซึ่งเป็นธรรมะที่เมื่อมีแล้ว ใคร่ครวญแล้วจะทำให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาทดังนั้นเราจึงควรพิจารณาใคร่ครวญตามธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท และปฏิบัติตนตามแนวทางของอริยมรรคมีองค์แปด เพื่อละวางความยึดถือในสิ่งต่าง ๆ และเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/14/202054 minutes, 22 seconds
Episode Artwork

ใจเป็นของกลาง จิตเป็นประภัสสร 6337-2m

จิตเป็นประภัสสร เป็นจิตที่สว่างไสว ไม่ใช่จิตที่บริสุทธิ์ หากมีสภาวะที่เหมาะสม ก็สามารถตกผลึกจนทำให้เกิดอาสวะสั่งสม จนกลายเป็นความเศร้าหมองได้ และเมื่ออาสวะรวมเข้ากับการกระทบของผัสสะ ก็จะทำให้มีกิเลสเกิดขึ้นเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการชำระกิเลสออกขูดลอกอาสวะออกไป เพื่อทำให้จิตผ่องใสขึ้น เมื่อกิเลสไม่เกิด อาสวะก็ไม่สั่งสม วิธีแก้ไขก็คือ การตั้งสติเอาไว้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งในอนุสสติสิบหรือด้วยสติปัฏฐานสี่ เพื่อการเข้าสู่ความเป็นกลางของใจ และความเป็นประภัสสรของจิตทั้งนี้จิตประภัสสรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ บางครั้งอาจจะผ่องใส บางครั้งอาจจะเศร้าหมอง สะสมได้ทั้งบุญและบาปซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของจิตที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงไม่ควรยึดถือทั้งจิตและใจว่าเป็นตัวเราของเราเพราะเป็นของที่มีอยู่ในโลกอยู่แล้ว ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นธาตุสี่ หรือแม้กระทั่งธรรมารมณ์ก็ตาม จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางลงให้ได้ เพื่อดำเนินไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/7/202058 minutes, 36 seconds
Episode Artwork

ปฏิบัติด้วยทุกข์ บรรลุสุขด้วยธรรม 6336-2m

ปฏิปทา หมายถึง ระบบแห่งการปฏิบัติอันประกอบด้วยกระบวนการ ขั้นตอน ทางดำเนิน ข้อปฏิบัติ และแนวทางปฏิบัติ สำหรับธรรมชาติของจิตที่แตกต่างกันซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความกล้าหรือความเบาบางของราคะ โทสะ โมหะที่เกิดขึ้นในจิต สามารถปฏิบัติได้หลากหลายวิธีอาจจะเป็นการเจริญสมาธิ การพิจารณาอสุภะ เป็นต้นทั้งนี้ปฏิปทาจะทำให้เกิดการบรรลุธรรมได้เร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับการมีอินทรีย์ห้า (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา) ที่อ่อนหรือแก่กล้าอย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรมด้วยปฏิปทาที่แตกต่างกันย่อมมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดเป็นปัญญา มองเห็นทุกข์ มองเห็นความไม่เที่ยง เห็นความเป็นของที่เป็นปฏิกูล ไม่น่ายินดี ไม่เป็นสาระแก่นสาร สามารถเห็นตามความเป็นจริง และบรรลุธรรมได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/31/202058 minutes, 16 seconds
Episode Artwork

นัยยะแห่งธาตุหก 6335-2m

ร่างกายประกอบด้วยธาตุต่างๆอันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ (ธาตุช่องว่าง) และวิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา อีกทั้งยังโดนลวงด้วยอุปาทานความยึดถือที่สร้างขึ้นมาเอง ก่อให้เกิดเป็นภพและสภาวะขึ้นหากเรายึดถือสิ่งที่เป็นอนัตตา สิ่งที่แปรปรวนไป สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ว่าเป็นตัวเราของเรา ก็จะทำให้ทุกข์เป็นของเราตามผัสสะที่มากระทบนั่นเอง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เพราะมีความคงที่ ทนอยู่อยู่ในสภาพเดิมได้ยาก อย่าให้เกิดอารมณ์ที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ ไม่มีความรู้สึกสุขไปตามหรือทุกข์ไปตามเราจึงควรใช้ปัญญาพิจารณาเห็นตามเป็นจริง ให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา เป็นเหตุปัจจัย เงื่อนไขที่ปรุงแต่งกันมา ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เพื่อคลายความยึดถือลงได้ จะสามารถทำให้จิตสบาย ผ่องใส ยังคงเป็นความประภัสสรอยู่ได้ เพราะความยึดถือที่เบาบางลง ลดลง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/24/202056 minutes, 1 second
Episode Artwork

หากเจริญได้…เสื่อมได้ ย่อมไม่เที่ยงทั้งสิ้น

หลายๆ ครั้งที่เมื่อนั่งสมาธิแล้วสงบ มักจะเกิดคำถามว่าควรทำอย่างไรต่อไป อาการเช่นนี้เราเรียกว่า "เพลินในสมาธิ" ซึ่งเกิดจากอวิชชาที่เป็นความไม่รู้ในอริยสัจสี่นั่นเอง สมาธิที่ตั้งไว้แล้วแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะสมาธิลึกลงไป แต่สติมีกำลังละเอียดไม่เพียงพอตามกำลังของสมาธิ อย่าหลงเพลินไปในสมาธินั้นๆ ต้องตั้งสติขึ้นและใช้สติเพื่อแยกแยะ เพื่อให้เห็นว่าสมาธิเองก็ไม่เที่ยงเช่นกัน กำจัดเหตุของความเสื่อมออกไปให้หมด โดยไม่อยาก ไม่บังคับ ในทางตรงข้ามกันหากจะทำให้ความเจริญมีมากขึ้น ก็ต้องสร้างเหตุของความเจริญด้วยการทำให้มาก เจริญให้มาก ทำอยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ขาดสาย ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาในทางที่ดีได้มากขึ้นนั่นคือ "การภาวนา" ความเสื่อมจะเจริญขึ้นก็มีเหตุของความเสื่อม ความเสื่อมถ้ามันจะเสื่อมไปมันก็ต้องอยู่ที่เหตุของมันหายไป เราจึงต้องใช้สติเพื่อแยกแยะ ประกอบกับสมาธิที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว จะทำให้เกิดปัญญามองเห็นตามความเป็นจริงได้ ว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นเหตุปัจจัย เป็นเงื่อนไขที่ปรุงแต่งกันมา ย่อมไม่เที่ยง จะทำให้สามารถปล่อยวางความยึดถือลงได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/17/20208 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

พิจารณา…อนัตตา 6333-2m

ในกายของเราไม่ได้มีสิ่งอะไรที่มันควรค่าแก่การที่จะยึดถือเอาไว้ เป็นของกลวง เป็นของเปล่า เป็นของไม่มีแก่นสาร เพราะมันไม่ใช่เป็นตัวของมันเอง เพราะมันต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น เพราะมันเป็นของไม่เที่ยง มันมีสภาพที่เป็นทุกข์ ไม่ได้จะมาหาสุขในสิ่งนี้ได้เราจะวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้คือ เราละความยึดถือ จะมาละความยึดถือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ต้องเห็นตามความเป็นจริง จะเห็นตามความเป็นจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ จิตใจเราต้องมีสติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/10/202059 minutes, 9 seconds
Episode Artwork

พ้นจากความตายไม่ได้ด้วยตาย 6332-2m

ทุกคนเกิดมาแล้วล้วนต้องตายทั้งนั้น ซึ่งภัยจากความแก่และความตายเป็นภัยที่เราไม่สามารถต่อรอง ต้านทานหรือเอาชนะได้เลย เมื่อถึงเวลานั้นร่างกายนั้นก็ต้องทอดทิ้งไว้ในโลกเป็นธรรมดา ไม่สามารถเอาอะไรติดตัวไปได้เลย จะมีแต่บาปและบุญเท่านั้นที่จะติดตามเราไปได้การเกิดของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เราจึงควรหมั่นสร้างกุศล ประพฤติธรรม ด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ 10 ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องสร้างที่จะทำให้เกิดบุญขึ้น และดำเนินไปตามทางของอริยมรรคมีองค์แปดสภาวะมนุษย์ได้มายาก ต้องรักษาให้ดี และให้มีสัมปรายภพเป็นที่ไปเป็นอย่างน้อย บุญกุศลและความดีจะเป็นที่พึ่งที่ไปของเรา หากได้เตรียมการไว้อย่างดีแล้ว หมั่นระลึกถึงความตายอย่างสม่ำเสมอด้วยจิตที่ระลึกถึงความดีที่กระทำ ก็สามารถที่ยังคงเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้เมื่อความแก่และความตายมาเยือน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/3/202059 minutes, 42 seconds
Episode Artwork

โพชฌงค์ เหตุของวิชชาและวิมุตติ 6331-2m

บุคคลที่ได้ฟังธรรมะเรื่องโพชฌงค์ 7 แล้ว ให้มีความสบายใจเลยว่า ธรรมะทั้งหมดนี้นั้นเข้ากันอยู่ในจิตใจเรานี่หล่ะ ให้เรามีความยินดี มีความพอใจ มีความอิ่มเอิบใจเลยว่าธรรมะที่ได้ฟังนี้นั้นเป็น "สวากขาตธรรม" จริงๆ บุคคลผู้ที่จะประกาศธรรมะแบบนี้ได้ต้องเป็นสัมมาสัมพุทโธคือ ผู้ตรัสรู้โดยชอบ ส่วนผู้ที่ปฏิบัติตามข้อมูลธรรมะ มีโพชฌงค์ เป็นต้น ถ้าปฏิบัติได้ ปฏิบัติดีจริงๆ ท่านก็เป็นสุปฏิปันโนจริงๆเหตุ คือ สติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิดผล คือ โพชฌงค์ 7เหตุ คือ โพชฌงค์ 7 ทำให้เกิดผล คือ วิชชาและวิมุตติธรรมะอันเอก คือ อานาปานสติ ทำให้เกิด สติปัฏฐาน 4ธรรมะ 4 อย่าง คือ สติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิด โพชฌงค์ 7ธรรมะ 7อย่าง คือ โพชฌงค์ 7 ทำให้เกิดธรรมะ 2 อย่าง คือ "วิชชาและวิมุตติ" ได้  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/27/202048 minutes, 46 seconds
Episode Artwork

เราเป็นใคร 6330-2m

การเกิดขึ้นเป็นชีวิตใดชีวิตหนึ่ง มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด ดูแล ชุบเลี้ยงและบำรุงด้วยข้าวปลาอาหาร ประกอบกันเป็นธาตุสี่ที่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม การรับรู้ที่เป็นวิญญาณจากช่องทางของอายตนะทั้งหก การปรุงแต่งที่เป็นกรรมต่างๆ หากนำทั้งหมดมาประกอบกันเข้าก็จะเห็นว่าผลเป็นตัวเรา แต่ถ้าเรานำไปแยกแยะออกก็จะพบว่าหาตัวตนนั้นไม่เจอเลยเมื่อเห็นเหตุต้นผลปลายดังนี้แล้ว ย่อมจะมองเห็นความเป็นอนัตตาได้ชัดเจน เพราะเป็นเพียงชั่วเวลาขณะใดขณะหนึ่งที่มีเหตุปัจจัยประกอบกันได้ เข้ากันได้ ทำให้เกิดขึ้นได้ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเราของเราในที่สุดแล้วเราจะพบว่าสิ่งที่เหลือไว้จริงๆ มีเพียงชื่อ ความดีความชั่วที่ได้กระทำ ดังนั้นเราจึงควรวางความยึดถือในกาย ในจิต ในทุกข์เหล่านั้น จะทำให้ความกำหนัดยินดีพอใจต่างๆ จางคลายลงได้ เกิดเป็นปัญญาความเข้าใจในการปล่อยวาง ตัดความยึดถือในตัวตนได้โดยอัตโนมัติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/20/202058 minutes, 28 seconds
Episode Artwork

ทำไปเรื่อยๆ 6329-2m

ตั้งสติไว้กับลมหายใจเพื่อรักษาจิตไม่ให้ไปตามช่องทางทั้ง 6 เหมือนผูกสัตว์ไว้กับเสา ทำไปเรื่อยๆสัตว์เหล่านั้นจะอ่อนกำลังลง จิตก็เช่นกัน การรักษาจิตต้องไม่บังคับแต่ให้ควบคุมให้ดี เมื่อสติอยู่กับลมจะรับรู้อยู่แต่ไม่ตามไป แยกแยะแบบบุคคลที่ 3 ตั้งสติเอาไว้สะสมไปเรื่อย ๆ คอยสังเกตจดจ่อทำอย่างสมดุลจะเกิดเป็นสมาธิ ดั่งอุปมาเช่นการกกไข่ของแม่ไก่ “สร้างเงื่อนไขอย่างถูกต้อง มีปัจจัยทำมาอย่างดี มีการปรุงแต่งที่เหมาะสม ตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว จะสามารถที่จะให้เจ้าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มาอยู่ในอำนาจได้”สติทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เป็นกระบวนการที่จะค่อย ๆ  เพิ่มขึ้นจะได้ผลเหมือนกับการบดงาจะหวังหรือไม่หวังย่อมได้นำ้มันเมื่อสติมีกำลัง จิตระงับลง สมาธิเกิดจะเห็นเวทนาที่ละเอียดขึ้น สติก็ต้องละเอียดตามลงไป ไม่เผลอเพลินในสุขเวทนานั้น  สติจะทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ก็ตรงจุดที่เราสังเกตเห็นความจริงนี้ สติกับปัญญาต้องผสมกันสติจะทำให้เกิดปัญญาเห็นว่า ทุกสิ่งล้วนมีปัจจัยปรุงแต่งกันมาเปลี่ยนแปลงได้  ทำไปเรื่อย ๆ เห็นอยู่เรื่อย ๆ เหมือนชาวนาไขน้ำเข้านา วันนึงเมื่อเวลาที่เหมาะสมจะปล่อยวางได้เหมือนการค่อย ๆ ผุกร่อนของเครื่องหวายให้จิตตั้งไว้กับสติ ตั้งไว้กับมรรคจะเห็นผลในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/13/202056 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

รู้ชัดในเวทนา 6328-2m

“รู้ชัด” คือ เห็นความรู้สึกนั้นเป็นบุคคลที่ 1 เห็นสิ่งที่เข้าไปรู้สึกนั้นเป็นบุคคลที่ 2 ถ้าเรารู้ชัด นี้คือเราออกมาเป็นบุคคลที่ 3 จะไม่เข้าไปเกลือกกลั้วในเวทนานั้น แต่รู้ชัดว่าเวทนานี้เกิดขึ้นแล้ว ในเอพิโสดนี้ จึงอธิบายขยายความให้ลึกลงมาถึง “การเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”เวทนา คือ ความรู้สึก สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง เป็นเวทนา 3 เวทนา 5 เวทนา 6 หรือ เวทนา 36 ไล่ไปจนถึงเวทนา 108 ที่หมายรวมถึงเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนและหลีกออกจากเรือน ทั้งในอดีต อนาคต แปัจจุบัน เราจึงต้องมีสติรู้ชัดในเวทนาที่เกิดขึ้น การที่จะรู้ชัดได้ ต้องแยกออกมาเป็นบุคคลที่ 3 ไม่เข้าไปเกลือกลั้วเป็นอยู่ในเวทนานั้น แต่รู้ชัดว่าเวทนานี้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อรู้ชัดแล้ว ต้องมองให้เห็นถึงเวทนาทั้งหลายนั้น มีเหตุมีปัจจัยในการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปได้ มีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา มีสภาวะแห่งความทนอยู่ได้ยาก คือ ความเป็นทุกข์ จะเห็นอย่างนี้บ่อย ๆ ได้ ต้องอาศัยสติและการฝึกฝน เพื่อที่เมื่อปฏิบัติ ๆ ไปแล้ว จะละความยึดถือในเวทนาเหล่านั้น ปล่อยวาง เหนือเวทนาได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E22  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/6/20201 hour, 1 minute, 12 seconds
Episode Artwork

การเจริญสังฆานุสติ 6327-2m

“คนอื่น ๆ บรรลุธรรมตั้งแต่โสดาบันจนถึงอรหันต์ ก็มีมาได้ ตัวเราเองผู้ฟังคำสอนของพระผู้มีพระภาค จะให้ได้ใน 8 ระดับนี้ ก็ได้เหมือนกัน” เวลาที่เราเห็นคนโกนผมห่มเหลือง หรือเวลาที่เรานึกถึงสังโฆนั้น เรานึกถึงอะไร จะผิวเผินแค่เปลือกภายนอกจากเครื่องแต่งกายหรือลึกซึ้งลงไปกว่านั้น ในเอพิโสดนี้ ได้อธิบายถึงการระลึกถึงสังโฆ โดยที่ตัวเราเองนั้นก็สามารถปฏิบัติให้มีสังโฆอยู่ในใจได้ เป็นสังโฆในตัวเองที่ไม่ใช่ของคนอื่น"สงฆ์" หมายถึงหมู่ ไม่ใช่หมู่ธรรมดา แต่เป็นหมู่ของผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จุดสำคัญในที่นี้ คือ ฟังแล้วนำมาปฏิบัติ โดยเริ่มจากศีล สมาธิ ไปจนถึงปัญญา ผลที่พึงได้ ก็คือ บุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวได้ 8 บุคคล ที่เมื่อระลึกถึงสงฆ์ ก็ให้ใจระลึกถึงสังฆคุณตามบทสวดนี้ไปด้วยโย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเณยโย, อัญชะลิกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่  #สังฆคุณ , #ปฏิบัติบูชาสำหรับผู้ประพฤติพรหมจรรย์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/29/202055 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน 6326-2m

อย่างไรจึงจะเรียกว่า “เห็นธรรมในธรรม” ถ้าเราเห็นว่านิวรณ์ 5 อุปาทานขันธ์ 5 มีเหตุเกิดเหตุดับ ละได้ นี้ก็ชื่อว่าเห็นธรรมในธรรม อุปาทานในขันธ์ 5 ไล่เรียงการเกิดการดับตามหลักปฏิจจสมุปบาท หรืออย่างเช่นในอายตนะ ถ้าเราเห็นช่องทางที่มา เห็นจุดเชื่อม แยกแยะได้ นี้ก็คือการเห็นธรรมในธรรม  แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในอายตนะทั้ง 6 ไม่เข้าใจเหตุเกิด ไม่เข้าใจถึงความดับ นั่นก็เป็นเครื่องร้อยรัดคือ อวิชชา คือสังโยชน์ 10 ที่อาศัยช่องทางเหล่านี้เกิดขึ้นได้ แค่รู้จักแยกแยะ เราจะเห็นเครื่องร้อยรัดที่มันรัดอยู่ เหมือนที่เรารู้จักแยกวัวสีขาวออกจากวัวสีดำ และจากแอก แยกแยะคือสติ ใคร่ครวญคือปัญญาหรือในโพชฌงค์ 7 ไล่จากการเกิดขึ้นไปตามลำดับทั้ง 7 ขั้นตอน รู้ชัดเหตุเกิดนั้นแล้ว พัฒนาให้เจริญ แต่ไม่ยึดถือแม้ในสติ แม้ในสมาธิ แม้ในปัญญาที่เกิดขึ้นนั้นหรือในอริยสัจ 4 (ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่าง) ก็ให้เห็นรู้ชัด แยกแยะ และกระทำ ซึ่งกิจที่ต่างกันในแต่ละข้อ “ สติเห็นธรรมในธรรมความยึดถือมันจะจางคลายไป ถ้าจิตใจของเรามีสติตั้งไว้แบบนี้ เรียกว่าเป็นผู้ที่เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists:  เข้าใจทำ (ธรรม) S07E42 , คลังพระสูตร S09E07 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/22/202057 minutes, 32 seconds
Episode Artwork

ชีวิตนี้มีค่านัก 6325-2m

“เจริญกายคตาสติ แล้วเห็นด้วยปัญญาในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของไม่ใช่ตนในกายของเรานี้ ชื่อว่าไม่เพลินไปในปัจจุบัน เป็นคนไม่เผลอไม่เพลิน ชีวิตนั้นมีค่ามาก”วันนี้ที่เรามีชีวิตอยู่วันหนึ่งขึ้นมา มันไม่แน่นอนว่าจะอยู่ต่อไปนานอีกเท่าไหร่ เพราะว่าชีวิตมนุษย์นี้มันน้อย ซ้ำยังประกอบด้วยทุกข์ วันนี้ที่เมื่อเราตื่นขึ้นมาแล้ว ให้ใช้มันอย่างมีค่ามาก เกิดผลประโยชน์สูงสุดในการที่จะเห็นด้วยปัญญาว่า กายนี้ มีความตายเป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้า แต่สามารถทำประโยชน์สูงสุดให้ถึงความไม่ตายคือเป็นอมตะในจิตใจของเราได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า เราจะสามารถเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้หรือไม่ จึงควรทำความเพียรเสียแต่ในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่งคนที่เห็นความจริงโดยประจักษ์ในข้อนี้ จะมีปัญญา ไม่เผลอเพลินไปตามอะไร ๆ ก็ตาม ที่อยู่ในกายนี้ จะไม่เข้าไปยึดถือ แต่จะเห็นโดยความเป็นอนัตตาในกาย ในสิ่งที่เราจะไปทำ และในสิ่งที่ผ่านมาแล้ว เราจะไม่เพลินไปในอดีต อนาคต หรือปัจจุบันได้ ก็ด้วยการตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในกายนี้ด้วยกำลังจิตที่เราตั้งไว้ตั้งแต่หลังตื่นนอน เชื่อมรอยต่อนี้ให้ดี พิจารณามาในกายให้ปรุโปร่ง เห็นตามจริงด้วยปัญญาในความเป็นของไม่เที่ยง แล้วทำความดีด้วยการเจริญพรหมวิหาร 4 ทำความเพียรอยู่ตลอดทั้งวัน การเป็นอยู่แบบนี้จะเป็นการอยู่ที่มีค่ามากแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E35 , S07E65   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/15/202058 minutes, 11 seconds
Episode Artwork

ชีวิตนี้น้อยนัก 6324-2m

ทำการพิจารณาใคร่ครวญ เพื่อทำความเข้าใจในช่วงรอยต่อของชีวิต ก่อนหลับและหลังตื่นนอน ในเอพิโสดนี้ จึงให้น้อมจิตไปเพื่อการนอนว่า บาปและอกุศลกรรมทั้งหลายอย่าได้ตามติดเราผู้นอนไปอยู่เลยอรกะ เจ้าลัทธิ ได้กล่าวเปรียบไว้ว่า "ชีวิตนี้น้อยนัก มีค่านิดหน่อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก แต่ชีวิตที่ว่าน้อยนี้สามารถทำให้เกิดปัญญามากได้"ปัญญาในที่นี้ คือ ปัญญาที่จะเห็นในกุศลธรรม ปัญญาที่จะเห็นว่าในความน้อยนี้ฉันต้องรีบทำกุศล เพื่อที่จะพ้นจากความน้อยนี้ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนี้ได้ สัตว์ทั้งหลายเกิดแล้วไม่ตายไม่มี ทุกลมหายใจล้วนไปสู่ความตาย เราจะพ้นจากความตายนี้ได้ ก็ด้วยปัญญา เริ่มด้วยการสร้างกุศลบำเพ็ญบุญ ทำการสร้าง พัฒนา ปรับปรุง ดำเนินเดินตามมรรคก่อนที่จะนอน ให้พิจารณาดังนี้ว่า ร่างกายของเรานี้ มันอยู่ไม่นาน อยู่ชั่วนิดเดียว เหมือนรอยกรีดบนผิวน้ำ นอนคืนนี้อาจจะไม่ได้ลุกขึ้นมาอีก ความดีของเรามีมั้ย? ให้ระลึกนึกถึงความดีก่อนนอนให้ได้ ทุกคนมีหมด ด้วยปัญญาระลึกถึงกุศลธรรม มีสติตั้งไว้ ปัญญาเกิด นี่คือการสร้างกุศลแล้ว ร่างกายเรามีแต่จะตายไปข้างหน้า แต่ว่าเราสร้างกุศลแบบนี้ จะมีความไม่ตายเป็นเบื้องหน้าได้ คิดแบบนี้แล้วให้สบายใจในกุศลธรรมที่มีอยู่ ต่อให้ไม่ตื่นขึ้นก็ตาม จิตใจไปสูงแน่นอน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ตามใจท่าน S09E01  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/8/202056 minutes, 45 seconds
Episode Artwork

กำจัดอวิชชาด้วยอนัตตา 6323-2m

ทำไมต้องรู้ ต้องทำความเข้าใจใน "อนัตตา" เพราะอนัตตาทำให้เกิดปัญญา ปัญญาในการที่จะตัดความยึดถือในสิ่งที่เป็นอนัตตานั้นได้ วิชชาเกิดขึ้นทันที อนัตตาทำให้เกิดปัญญา ปัญญาทำให้เกิดวิชชา พอเรามีอนัตตาคือความรู้ความเข้าใจ อวิชชามันก็หายไป ดับไป เหมือนเราเปิดไฟ ความมืดก็หายไปทันทีการยอมรับได้ว่า "มันก็เป็นอย่างนี้หละ แล้วละกำจัดความยึดถือเสียได้"นี้จึงเป็นปัญญา ปัญญาในการเห็นสิ่งต่าง ๆ ว่า มันก็เป็นของมันอย่างนี้หละคือ ตถตามันจะไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนี้คือ อวิตถตามันจะไม่มีความเป็นไปโดยประการอื่นคือ อนัญญถตาและความที่มันจะต้องมีสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ อิทัปปัจจยตา ทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ได้เป็นตัวตนของมันเอง มีความที่เป็นอนัตตาเป็นธรรมดาของมัน  ความรู้ความเข้าใจเห็นความเป็นอนัตตาตรงนี้ได้จึงเป็นวิชชา แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E05 , เข้าใจทำ (ธรรม) S07E37 , ใต้ร่มโพธิบท S07E19 , ตามใจท่าน S10E34 , #การเห็นความจริงของเวลา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/1/202057 minutes, 10 seconds
Episode Artwork

กว่าจะเป็นทองคำ 6322-2m

กว่าจะได้ทองคำเนื้อดี ต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง จิตเราก็เช่นกัน จะเป็นจิตที่อ่อนเหมาะควรแก่การงานได้ ศีล จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ชำระอุปกิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นความทุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อมีศีลมาอบรมกายวาจาใจให้สูงแล้ว ก็จะมีความไม่ร้อนใจ (อวิปปฏิสาร) เป็นอานิสงส์พอมีศีลแล้ว เราจะเห็นว่าบางครั้งจิตยังคิดเรื่องไม่ดีที่เป็นไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง จะชำระได้ก็ด้วยสติสัมปชัญญะ พอมีสติจะแยกแยะได้ มีอะไรมากระทบก็ไม่ตามไป กลับมาที่พุทโธ เหมือนการผูกสัตว์ทั้ง 6 ชนิดไว้กับเสา ผลของการมีสติก็คือสมาธิ  จิตที่มีสมาธิจะก่อให้เกิดปัญญาใช้ชำระอุปกิเลสอย่างละเอียด คือ อาสวะที่เป็นส่วนแห่งบุญได้ เป็นความยึดถือที่ละเอียด เกาะอยู่ที่จิต จะกำจัดอุปกิเลสอย่างละเอียดได้ ไม่ใช่ไม่ทำบุญ เพราะคำสอนคือละบาป สร้างกุศล และทำจิตให้บริสุทธิ์  ดังนั้น ยิ่งต้องทำทาน ศีล ภาวนา เพราะว่าส่วนที่จะทำจิตให้บริสุทธิ์ จะเห็นได้เข้าใจได้ เราต้องมีบุญ บุญนี้จะทำให้เราเหนือบุญได้ จะอยู่เหนือบุญได้ก็ต้องละบุญ จะละบุญได้ก็ขึ้นอยู่ที่จิตของเรา เพราะว่าบุญและบาปนั้นเกาะอยู่ที่จิต จะละบาปได้ต้องไม่ทำมัน แต่บุญท่านให้ทำ ให้สร้าง ให้ปฏิบัติ เราก็ทำ สร้าง ปฏิบัติ แต่ไม่ยึดถือความยึดถือนี้ ยึดถือที่จิต จิตนี้เดี๋ยวตกอยู่ในอำนาจของบุญบ้าง อยู่ในอำนาจของบาปบ้าง มีความไม่เที่ยง แปรปรวนได้ตามเหตุตามปัจจัย จึงไม่ควรเข้าไปยึดถือว่าจิตเป็นตัวเราของเรา จะละความยึดถือในสิ่งนั้นได้ ต้องมีความหน่ายในสิ่งนั้นก่อน ต้องเห็นจิตตามความเป็นจริง เครื่องมือที่จะใช้กำจัดอุปกิเลสอย่างละเอียดได้คือวิปัสสนา ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นความดับเย็นคือนิพพานแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ #การปฏิบัติที่เป็นไปตามลำดับเปรียบกับการผลิตทองคำ  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/25/202058 minutes, 35 seconds
Episode Artwork

กายสู่มตะ จิตใจสู่อมตะ 6321-2m

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในวันที่ได้ปลงอายุสังขารว่า "ชีวิตของทุกคน ล้วนแล้วแต่มีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า" เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ มีความตายแน่นอน ณ วันที่เกิดนั้นแล้วเลย เปรียบไว้กับภาชนะดินที่ช่างปั้นหม้อได้ปั้นขึ้นแล้ว แต่สุดท้ายก็ต้องแตกหักทำลายไป ไม่มั่นคง"  ประเด็นคือ ในขณะที่ร่างกายเราจะไปสู่ความตาย จิตใจของเราสามารถที่จะดำเนินไปสู่ความไม่ตายได้ เป็นอมตะได้ เราจึงต้องฉลาดเลือกเส้นทางที่จะดำเนินไป ซึ่งในทางกายอย่างไรสุดท้ายมันก็ต้องจบที่ความตาย แต่ใจของเรานี้ จะดำเนินไปทางไหนต่อ จะไปทางสูงทางสว่าง หรือไปทางมืดทางต่ำนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่สร้างไว้ ถ้าเรามีอกุศลธรรม มีความยึดถือ ทำผิดศีล มีความคิดอาฆาตพยาบาท ต้องรีบละ รีบกำจัดออกเสีย แล้วให้มาดำรงตนอยู่ในความดี ในกุศลธรรมข้อต่าง ๆ ที่เรามี ด้วยกายของเรา ด้วยใจของเรา เส้นทางที่เราดำเนินไปมันประกอบด้วยสุขที่มากขึ้น เป็นสุคติแต่ในทางคำสอนนี้ มันไม่ได้ไปสุดแค่ความดี เป็นสุคติเท่านั้น ยังมีหนทางที่ดำเนินต่อไปได้จนถึงนิพพานเป็นที่สุดจบ ทางไปตรงนี้ ยังมีอยู่ ให้มั่นใจ เราจะรอดพ้นอยู่เหนือจากความที่ต้องมาเกิดแล้วตาย ๆ วนไปวนมานี้ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นทางที่จะให้จิตใจของเราเข้าไปสู่ความดับเย็นคือนิพพาน เป็นที่ที่จะไม่ตายได้ มีอมตะเป็นที่สุดแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E31   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/18/202056 minutes
Episode Artwork

ละสุข 4 ทำสุข 4 เพื่อผล 4 6320-2m

อะไรคือความสุขที่ควรละ อะไรคือความสุขที่ควรทำให้มาก และอะไรคือผลที่หวังได้จากความสุขนั้น"ความสุขจากกาม" มีสุขน้อย มีทุกข์มาก เป็นความสุขชนิดที่ทำให้กิเลสมันพอกพูน เป็นความสุขชนิดที่เป็นมิจฉา เป็นการกระทำที่อย่างต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม นิพพาน อย่าไปหาความสุขชนิดที่ผิดศีลแล้วมีความสุข เพราะฉะนั้นด้วยความที่เรามีศีล จึงสามารถที่จะละการประกอบตนที่ไปพัวพันอยู่ในความสุขที่เนื่องด้วยกาม แล้วมาหาความสุขในทางที่หลีกออกจากกามได้"สีลานุสสติ"  ความระลึกถึงศีลของเราได้ นั่นคือสติ การเอาจิตมาจดจ่ออยู่กับศีลที่เรามี นั่นคือฌาน และจิตที่รวมลง ๆ เป็นอารมณ์อันเดียว นั่นคือสมาธิ  ศีลจึงเป็นพื้นฐานของความสุขที่ประณีตละเอียดขึ้นไป เป็นสุขในภายในที่เกิดจากฌานสมาธิ และจุดประสงค์ของการที่มาหาความสุขในภายใน ก็เพื่อจะให้อยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้เราจะมาเห็นความสุขได้ ถ้าไม่มีความทุกข์มาเปรียบเทียบกัน สุขนั้นเราจะเห็นได้ไม่ชัดเจน จึงต้องมีทั้งสุขมีทั้งทุกข์ มันถึงจะรู้เรื่องสุขรู้เรื่องทุกข์ได้ตามความเป็นจริง ซึ่งสุขที่เป็นไปในทางกาม เราไม่เรียกว่าสุข แต่เรียกว่ามันเป็นทุกข์ เราไม่หาความสุขไปในทางกาม 4 อย่างนั้นด้วยการผิดศีล แต่มาหาความสุขอีก 4 อย่างนี้ ที่เป็นไปในทางหลีกออกจากกาม เป็นความสุขที่เกิดจากฌานสมาธิ หาความสุขแบบนี้ เพื่อละความทุกข์แบบนั้น เพราะอาศัยความสุขที่เกิดขึ้นจากในภายใน ผลที่จะเกิดขึ้น เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญา ซึ่งจะออกผลมาเป็น 4 อย่าง นั่นคือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E29 , คลังพระสูตร S08E40 , #ความสุขที่ไม่ควรเสพ     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/11/202057 minutes, 29 seconds
Episode Artwork

หนทางแห่งการตรัสรู้ 6319-2m

“ในที่นี้ เราจึงต้องตั้งสติให้มีกำลังพอสมควร ทำให้ถึงจุดที่เกิดเป็นสมาธิขึ้นได้ สมาธิคือจุดที่ให้มรรคทั้งหมด 7 รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวในจิตของเรา  จิตที่เป็นหนึ่งนี้เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" ตรงนี้จึงเป็นทางที่เปิดโล่ง เป็นช่องที่จะให้เราดำเนินไปได้”กว่าจะมาเป็นสัมมาสัมพุทธะไม่ใช่เรื่องง่าย  พระโพธิสัตว์เห็นอะไรในเทวฑูต จนทำให้ตัดสินใจออกบวชเพื่อต้องการค้นหาคำตอบ ทั้งทดลองฝึกสมาธิ ทั้งทดลองทำทุกรกิริยา ใช้กายบีบบังคับใจ ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ใช่คำตอบทั้งสิ้น เพราะนั่นยังคงก่อภพก่อชาติ ยังมีความยึดถืออยู่ในที่สุด พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบทางสายกลาง ค้นพบอริยมรรคมีองค์ 8 ที่เป็นหนึ่งในความจริงอันประเสริฐ 4 อย่าง เป็นทางออกที่ทรงประกาศไว้ให้อย่างดีแล้ว และเมื่อเวลาที่เราเจอปัญหาเจอทางตัน ก็ให้แน่ใจได้ว่า ชีวิตนี้มีทางออก ให้มาตามทางนี้ ให้มีศรัทธา ให้มีความเพียร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/4/202059 minutes, 9 seconds
Episode Artwork

คุณของพระพุทธเจ้าในหัวข้อ “อรหันต์” 6318-2m

เมื่อเวลาที่เราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม น่ากลัว เป็นทุกข์ จริง ๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องเป็นทุกข์ก็ได้ เริ่มต้นจากการที่เราทำความเข้าใจในความทุกข์นั้นให้ถูกต้องเสียก่อน จะเข้าใจได้ จิตต้องเป็นสมาธิในเอพิโสดนี้ จึงมาเริ่มปฏิบัติฝึกทำสมาธิกันด้วยการเจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าในข้อ “อรหันต์” มาตั้งไว้ในใจของเรา พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า จิตของเราจะเป็นสุขได้ ไม่เคลื่อนไปมาตามอารมณ์ที่มากระทบ จิตต้องมีการระลึกถึง มีสติตั้งไว้อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งเสียก่อน ในที่นี้คือ มาระลึกถึงความเป็น “อรหันต์” เพื่อให้รู้จักแยกแยะ รู้จักเลือกให้จิตของเรามาจดจ่อเอาไว้กับคุณของอรหันต์ การเอาจิตมาจดจ่อนี้คือฌาน การระลึกได้คือสติ สติที่มีกำลังจะทำให้จิตรวมลงเป็นสมาธิ สัมมาสติจึงเป็นเหตุให้เกิดสัมมาสมาธิได้เมื่อจิตเป็นสมาธิอยู่นั้น การปรุงแต่งทางช่องทางกาย วาจา ใจ จะสงบระงับลง กิเลสเครื่องเศร้าหมอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ ที่อยู่ในใจจะหมดไปชั่วคราว เป็นลักษณะเหมือนหินทับหญ้า หากแต่จะทำให้หมดไปอย่างถาวร ก็ต้องกำจัดอาสวะอวิชชาให้ออกไปจากจิตใจ ซึ่งสติที่มีกำลังจะช่วยให้กระบวนการหลุดพ้นนี้เกิดขึ้นได้ สติจึงเป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เป็นหนทางเริ่มแรกและเมื่อจิตมีความสงบแล้ว ก็ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในตนว่า สุขก็คือทุกข์ ทุกข์นั้นเป็นเพียงแค่กระแสที่สืบต่อเนื่องกันมา ทุกสิ่งล้วนมีเหตุปัจจัย เมื่อเข้าใจแล้วจะปล่อยวางได้ ฝึกทำบ่อย ๆ ใครที่มีจิตสงบระงับ เป็นอารมณ์อันเดียว มีกายไม่กระวนกระวาย มีจิตตั้งมั่น นั่นคือเห็นธรรมแล้ว จะได้ชื่อว่า เป็นผู้เข้าใกล้ผู้ไกลจากกิเลส และความเป็นผู้ชนะอย่างถาวรจะเกิดขึ้นได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E46 ,ใต้ร่มโพธิบท S08E09 , S07E21 , #พุทธคุณ , #ฆราวาสสามารถบรรลุอรหันต์ได้หรือไม่ , Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/27/202058 minutes, 10 seconds
Episode Artwork

โลกเย็นด้วยเมตตา 6317-2m

“บุคคลที่มีจิตเมตตาเป็นอาวุธ ด้ามจับต้องมั่นคง เปรียบกับคุณธรรมของเราที่ต้องมีไว้ และต้องมีความคมแหลมของอาวุธ จึงฝ่าฟันอุปสรรคใด ๆ ไปได้ ซึ่งจะไม่ได้ด้วยการเกลียดชัง จะไม่ได้ด้วยการผูกเวร แต่จะได้ด้วยเมตตา”ในเอพิโสดนี้ เริ่มการปฏิบัติทำจิตให้เป็นสมาธิด้วยการเจริญอานาปานสติ และเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็ให้ตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา จึงได้ยก "เมตตสูตร" ขึ้น ซึ่งพระสูตรกล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงประทานอาวุธคือเมตตา มีเมตตาเป็นอาวุธ ประทานให้แก่เหล่าภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนาได้ใช้สาธยายให้กับเหล่าเทวดาด้วยจิตที่มีเมตตาทั้งกาย วาจา และใจ ประกอบกัน  โดยแบ่งวิธีการที่จะใช้อาวุธให้ได้ผลออกเป็น 2 ส่วนในส่วนแรกคือ การเตรียมตัวเองทั้งกายและใจให้มีคุณสมบัติหรือคุณธรรมเหล่านี้ ซึ่งเปรียบไว้กับด้ามมีด เช่น ความสันโดษ ความไม่เย่อหยิ่ง ไม่ทำในสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียน เป็นต้นส่วนที่ 2 เปรียบความแหลมคมของอาวุธคือ การแผ่เมตตา ให้แผ่เมตตาออกไปอย่างไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งหลายเสมอหน้ากัน ไม่เว้นใคร ๆ หรือผู้ใด ให้แผ่ออกไปในทุกทิศทาง ทำได้ในทุกอิริยาบท จะได้ชื่อว่า "เป็นการอยู่อย่างประเสริฐ เป็นพรหมวิหาร "จิตที่ประกอบด้วยเมตตาอย่างนี้ จะสามารถละมิจฉาทิฏฐิได้ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นองค์นำ ความครบทั้งมวลของมรรค 8 ก็ตามมา สามารถปฏิบัติทำได้จนถึงนิพพาน และในสถานการณ์ที่น่าหวาดหวั่นเช่นในปัจจุบันนี้ เราจะผ่านไปได้ ก็ด้วยเมตตาแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E28  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/20/202053 minutes, 31 seconds
Episode Artwork

วิธีการฝึกหัดใจ 6316-2m

ธรรมปฏิบัติเรื่อง "วิธีฝึกหัดใจ" โดย พระครูสิทธิปภากร (หลวงพ่อ ดร. สะอาด ฐิโตภาโส) เจ้าอาวาสวัดป่าดอนหายโศก“ดีก็เพราะใจ ชั่วก็เพราะใจ ใจเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำทางกาย การกระทำทางวาจา ใจก็เป็นผู้รับผิดชอบ เพราะฉะนั้น การฝึกหัดตัวเราคือฝึกหัดใจก่อน อบรมใจให้มีทานในใจ ให้มีศีลในใจ อบรมธรรมะหรือภาวนาให้จิตหลุดพ้น ก็ใจนี่แหละ เป็นผู้หลุดพ้น”ใจนี้ ไปทางชั่วหรือทางดีก็ได้ จึงต้องมีการฝึกหัดใจให้มีทาน ศีล ภาวนา เพื่อเป็นทรัพย์ที่จะใช้ติดตัวเราไปได้ เป็นอริยทรัพย์เพื่อทำให้เกิดมรรคผลนิพพาน ในที่นี้ หลวงพ่อฯ ได้นำอานาปานสติมาเป็นแบบฝึกหัดใจ  ซึ่งในระหว่างการฝึกหัดนั้นขอให้มีความอดทน เพราะในนรกทุกข์ทรมานกว่าหลายเท่านัก เราสามารถทำวัฏฏะนี้ให้จบได้หลวงพ่อฯ ได้ยกตัวอย่างเรื่องของ "สามเณรบัณฑิต" ที่แม้แต่สิ่งของที่ไม่มีจิตมีใจ ก็ยังสามารถฝึกได้ ดัดได้ แล้วทำไมใจของเราจะฝึกไม่ได้ ทานสอนให้เราเสียสละ ก็เพื่อกำจัดความตระหนี่ ศีลรักษากาย วาจา ใจ ไม่กระทำในสิ่งที่จะเดือดร้อน ภาวนาสอนใจให้สงบมีอารมณ์อันเดียว ทำมรรคผลให้เกิดขึ้นได้ จึงควรหมั่นเติมความดีให้ใจ เหมือนเติมจุดสีขาวลงในผ้าขาว และไม่ควรประมาทในวัยทั้ง 3“ใจ ถ้าเราฝึกหัดมันย่อมได้ดี ถ้าเราไม่ฝึกหัดมัน ก็ไม่ได้ดี มันก็ขัดข้อง ไปภพภูมิที่ต่ำ ใจเราเดือดร้อน แต่ถ้าฝึกหัดอบรมให้มีมรรคผลในใจ ก็อยู่ได้สบายในโลกนี้ ตายไปก็สบาย เกิดอีกก็มีความสุข อย่าหมดกำลังใจ เรามีโอกาสแล้ว อบรมใจไปเรื่อย ๆ ให้คอยดูลมหายใจเรื่อย ๆ เห็นอรรถเห็นธรรมได้ การฝึกหัดใจมีความสำคัญที่สุด”แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ : #สำเร็จด้วยใจ , #บัณฑิตสามเณร     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/13/202053 minutes, 39 seconds
Episode Artwork

มรณัง อนิจจัง ความตายไม่เที่ยง 6315-2m

ถ้าเราไม่เข้าใจความตาย เราจะกลัวความตาย  ความตายนั้นจะมีอำนาจเหนือเราทันที ถ้าเราไม่เข้าใจความแก่ ความแก่นั้นมันจะครอบงำเราทันที นี้เป็นตลกร้าย เป็นอวิชชา เป็นความไม่รู้ความไม่เข้าใจเราจะอยู่เหนือความตายนี้ได้ ไม่ให้ความตายครอบงำเรา เราต้องอย่ากลัวความตาย เราจะไม่กลัวความตายได้ เราต้องทำความรู้ความเข้าใจในเรื่องความตายให้ได้อย่างดี พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ความตาย" เป็นของไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นของสิ้นไปได้ (ขยธรรม) เป็นของเสื่อมไปได้ (วยธรรม) เป็นของจางคลายไปได้ (วิราคะ) ความตายนั้นดับได้ (นิโรธ) เป็นธรรมดาผลและเหตุเข้าใจให้ดี ความตายเป็นผลของเหตุคือโรคภัยไข้เจ็บได้ โรคภัยไข้เจ็บเป็นผลของเหตุคือการเกิดมา เพราะมีการเกิด ความแก่และความตายจึงได้มีแน่นอน ความเป็นอย่างนี้จึงเป็นตถตาตา มันจะไม่ผิดจากที่ต้องเป็นแบบนี้คือเป็นอวิตถตา มันจะไม่เป็นไปโดยประการอื่นเลยคือเป็นอนัญยถตา เพราะมันมีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งกันมาคือเป็นอิทัปปัจจยตาความแก่มี ความตายมี เพราะปัจจัยคือการเกิด ความตายดับไปได้ ไม่ใช่ว่าด้วยการตาย แต่ต้องดับที่เหตุแห่งความตายนั้น เราจึงต้องเข้าใจสัจจะความจริงข้อนี้ว่า "ความตายเกิดขึ้นได้ ความตายต้องดับได้" (เหตุเกิดของความตายคือการเกิด ความดับไม่เหลือของความตายนั้นมันมี) จะทำอย่างไรให้เข้าถึงความดับไม่เหลือของความตายนี้ได้ ต้องดับการเกิด แต่จะทำอย่างไรเมื่อเกิดมาแล้ว ทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ เมื่อมีความตายจ่ออยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทางรอดมีอยู่ นั่นคือ อริยมรรคมีองค์ 8แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S01E27 , เข้าใจทำ (ธรรม) S07E41 , S07E35 , #รู้ตายจึงพ้นตาย                    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/6/202058 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

พ้นโรคกับอาทีนวสัญญา 6314-2m

"ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตะธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม" นี้เป็นคาถาที่ตรัสโดยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในเอพิโสดนี้ ประเด็นที่จะมาทำความเข้าใจในคำกล่าวที่ว่า "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" โดยนัยทางคำสอนนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งต้องมีการพิจารณาให้ลึกซึ้งแยบคายลงไปถึง การดำเนินตามมรรค 8 ที่จะทำให้พ้นจากโรค คือ ราคะ โทสะ โมหะ และการพิจารณาเห็นทุกข์โทษของกายตามความเป็นจริง (อาทีนวสัญญา) ที่จะทำให้เกิดการปล่อยวางกายจนเกิดเป็นอโรคยาได้อโรคยา ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการได้ (ลาภ) ที่ดีมาก ที่เมื่อเราเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นทางให้ถึงความดับไปของตัณหา อวิชชา โรคก็จะหายไป กิเลสที่เกิดขึ้นทางใจก็จะหายไป อุปาทานความยึดถือในกายไม่มี นี้เป็นเหตุของการไม่มีโรคคืออโรคยา แต่อาทีนวะอันเป็นทุกข์โทษของกายนั้นยังมีอยู่ เป็นธรรมดา จึงต้องแยกแยะแจกแจงกันให้ดีแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E03 , คลังพระสูตร S08E52 , #ความไม่มีโรคที่แท้จริง ,    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/30/202057 minutes, 35 seconds
Episode Artwork

สิ่งที่ควรแลกมาด้วยชีวิต 6313-2m

"พุทโธ ธัมโม สังโฆ จึงเป็นอย่างเดียวกัน อยู่ในกายของเรา อยู่ในใจของเรา มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปฏิบัติตรงมาตามทางได้ก็ด้วยกายด้วยใจของเรานี้" ความลึกซึ้งในอริยสัจจุดสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามลำดับขั้น เพื่อจะทำให้มีความรู้คือญาณในอริยสัจสี่เกิดขึ้นมาได้ว่าสัจจญาณ คือ ปัญญาที่รอบรู้ความจริงในอริยสัจทั้ง 4 (รู้ว่า นี่คือทุกข์, นี่คือเหตุแห่งทุกข์, นี่คือความดับไม่เหลือซึ่งเหตุแห่งทุกข์, นี่คือทางแห่งความดับไม่เหลือซึ่งเหตุแห่งทุกข์)กิจญาณ คือ ปัญญาที่รู้กิจที่ควรทำในอริยสัจ 4  (รู้ว่า ทุกข์ ควรกำหนดรู้ , สมุทัย (ตัณหา) เป็นสิ่งที่ควรละ,  นิโรธ ควรทำให้แจ้ง และมรรค ควรทำให้มาก ควรเจริญให้มาก)กตญาณ คือ ปัญญาที่รู้แจ้งในกิจที่ควรทำในอริยสัจ 4 ได้ทำสำเร็จแล้ว ในรอบแรก เราต้องรอบรู้ในความจริงในอริยสัจทั้ง 4 แยกแยะให้ได้ ต้องรู้ดูมองให้เห็น สิ่งที่เราต้องเข้าใจต่อไปคือ หน้าที่ที่ควรทำในแต่ละข้อนั้นต่างกัน ต้องทำให้ถูกต้อง ในรอบที่ 2 นี้ จึงสำคัญในเรื่องของมรรคที่จะต้องมีการปรับสมดุลในข้อปฏิบัติของเราอยู่เสมอ ๆ และในคำสอนที่เป็น "มัชฌิมาปฏิปทา" นี้ มีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดจบอยู่ จบลงตรงที่ตัณหามันหมดแล้ว ตัณหาหมดลงตรงไหน นั้นคือจบตรงนั้น อวิชชาดับเมื่อไหร่ ความสว่างเกิดขึ้นตรงนั้น ความหมุนวนมันจะถูกตัดขาดออก เหมือนได้มาถึงที่หมายแล้ว"…สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นาน ๆ จะเกิดมาสักครั้งหนึ่ง เป็นเฉพาะพิเศษ ๆ วาระที่เฉพาะเจาะจงแล้วเท่านั้น เราอย่าพลาด! ให้คว้าโอกาสนี้ไว้เลย วาระนี้มีแค่ครั้งเดียว ชีวิตนี้เราเกิดมาแค่ครั้งเดียว เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคราวหน้าชีวิตหน้า เราจะได้เกิดหรือเกิดมาเป็นอะไร เราเกิดมาชาตินี้มีโอกาสครั้งเดียว อย่าไปคิดไกล ทุ่มเลย ถ้าเรารู้ว่าวาระนี้มีครั้งเดียว ในบท 4 คือ อริยสัจสี่นี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ให้ได้ว่ามันต้องทำให้มีการรอบรู้ มีการละ มีการทำให้แจ้ง มีการทำให้เจริญ จะเอาอะไรแลกเพื่อให้ได้ธรรม 4 อย่างนี้มา…ในเวลาที่เหลืออยู่นี้รับประกันให้ได้โดยพระพุทธเจ้าว่า "ถ้าแลกธรรมบท 4 นี้มาด้วยหนัง เอ็น กระดูก เนื้อและเลือด ได้เป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันนี้แน่ หรืออย่างน้อยก็ได้เป็นอนาคามี…ไม่ต้องต่อรอง ต้องการอะไรให้หมด จากข้างนอกคือหนัง เข้าไปถึงข้างในเป็นเนื้อและเลือด เข้าไปจนถึงกระดูก ไม่ได้จะสนใจเรื่องพวกนี้ แต่ให้สนใจดูว่า จะทำอย่างไรให้ทุกข์เรารอบรู้แล้วได้, จะทำอย่างไรให้สมุทัยคือตัณหา เราละให้มันได้, จะทำอย่างไรให้นิโรธ คือ  ตัณหาที่มันดับลงได้ ทำให้มันแจ้งขึ้นมา และจะทำอย่างไรให้เราทรงไว้ซึ่งมรรค 8 ให้ได้ตลอด เอาชาตินี้ล่ะ ท่านรับประกันไว้ให้แล้ว จะรออะไร หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ที่ถ้าเราปฏิบัติแล้วเราจะรู้เห็นได้ด้วยตัวเองแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม)  S07E36, S07E34, ใต้ร่มโพธิบท S07E56 #encore 6233-2m Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/23/202056 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

เหนือความวุ่นวายเหนือความขัดข้องด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 6312-2m

"ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"  เสียงเปล่งอุทานของยสกุลบุตร ผู้เป็นสุขุมาลชาติ ที่อิ่มเอิบไปด้วยกามคุณทั้งหลาย มีปราสาทสามฤดู มีทรัพย์สมบัติและเครื่องบำเรออันเลิศหรูมากมาย แต่ในที่สุดก็เกิดความสลดใจ เบื่อหน่าย ให้เรามาพิจารณาใคร่ครวญเรื่องราวของยสกุลบุตรนี้ แล้วน้อมเข้าสู่ตัวเรา "อิทํ โข ยส อนุปทฺทูตํ อิทํ อนุปสฺสฏฺฐํ" ทางออกไม่ใช่ไม่มี ทางออกมีอยู่ ๆ ทางที่ไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไปทางนั้นจะมีคำตอบ แสวงหาที่พึ่งภายนอกว่าใครหนอ ๆ จะรู้ทางออกของความวุ่นวาย ความขัดข้อง ความไม่สงบนี้ สัก 1 หรือ 2 วิธี ที่นี่วุ่นวาย ที่นี่ขัดข้อง ที่นี่ไม่สงบ มันอยู่ในใจของเรานี้ ไม่ใช่ที่อื่น มันอยู่ในกายในใจของเรานี่แหละ จะทำอย่างไรที่จะไม่วุ่นวาย ไม่ขัดข้อง มีความสงบได้ มีความเย็นได้ ทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ที่เมื่อผู้ปฏิบัติแล้วจะรู้จะเห็นได้ด้วยตนเอง หนทางปฏิปทานั้น คือ สติปัฏฐาน 4 (เจริญวิปัสสนาเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม) พอเราตั้งสติไว้ด้วยอาการอย่างนี้ จะสามารถมีความที่จิตนั้นระงับลง สงบลง เป็นอารมณ์อันเดียว คือ โวสสัคคารมณ์  เมื่อมีการระลึกถึง นั่นคือสติ มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก็ให้มีการกำหนดรู้ในเรื่องทุกข์ (ขันธ์ 5 ) กำหนดรู้นามรูป กำหนดรู้กายใจของเรา โดยมีการกำหนดรู้ มีการเห็นเหตุอย่างไร ถึงจะละความยึดถือได้  แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E10 , S07E57 , S07E49 , #เหตุเกิดจาก “สติอินทรีย์” , #ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง , #มีสติในการหลีกออกจากกาม      Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/16/202055 minutes, 36 seconds
Episode Artwork

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน 6311-2m

“เวทนาสุ เวทนานุปัสสี วิหรติ” ไม่ใช่ว่าให้อยู่กับเวทนานี้เท่านั้น แต่ต้องมองลึกทะลุลงไปในเวทนาที่เรามี ไม่ว่าจะเป็น อทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ สุขเวทนา นั่นคือ การที่มองลึกลงไป เหมือนกับเราแยกตัวออกมา เหมือนการแยกออกมามองในลักษณะของบุคคลที่ 3 (เห็นเวทนาในเวทนา) ถ้าแยกได้คือได้สติ แต่ถ้าแยกไม่ได้ก็ได้ความเพลิน ในที่นี้จึงให้มีการรู้แบบมีสติ (ระลึกรู้) มีสัมปชัญญะ (กำหนดรู้ รู้รออบคอบ) และมีปฏิสังเวที (รู้พร้อมเฉพาะ , ความรู้ที่สมบูรณ์)สุขาปฏิปทาและทุกขาปฏิปทาล้วนต้องมีเวทนาเป็นเหตุ การเข้าสมาธิให้ลึกยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นสุขาปฏิปทา ส่วนทุกขาปฏิปทา พิจารณามองให้เห็นความไม่เที่ยง ไม่จดจ่ออยู่ในทุกขเวทนานั้น  เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องอาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้น (ผัสสะมีเวทนาเป็นผล เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ) เมื่อเห็นเหตุ ปัญญาจึงเกิดและรู้ชัดว่า เวทนาไม่เที่ยง เห็นไตรลักษณ์ในเวทนา เวทนาเป็นอนัตตา ไม่มีค่าควรยึดถือ ปล่อยมันไป เราจะอยู่เหนือเวทนาได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ(ธรรม) S07E49 , #การเห็นเวทนาในเวทนาเมื่อเจ็บไข้ , #ฝึกสติ ให้ถึงสัมปชัญญะ , #สมฺปชาโน การรู้ตัวรอบคอบ , #การปรุงแต่งทางกาย-ทางจิต   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/8/202056 minutes, 55 seconds
Episode Artwork

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน 6310-2m

“จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การที่เราตั้งการระลึกนึกถึงเอาไว้อยู่กับสภาวะที่จิตของเรามันเป็นไปอย่างไร มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร”การเห็นจิตในจิต เป็นการเห็นการเปลี่ยนแปลงของจิตได้ว่า มีขึ้นมีลง จึงต้องตั้งสติเอาไว้ แล้วเจริญปัญญา ให้ความรู้แก่จิตผ่านทางศีล สมาธิ ปัญญา มองให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เห็นถึงความที่ไม่ควรยึดถือในจิต ในมรรค ไม่มีสิ่งใดที่เมื่อยึดถือแล้วไม่ทุกข์ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นของเรา เป็นตัวเรา เมื่อเห็นความเป็นอนัตตาจะมีความรู้เกิดขึ้น ก็จะทำให้ปล่อยวางได้ พ้นได้ สติ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่ควรทำให้เจริญแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจธรรม S08E10 , S07E49 , คลังพระสูตร E09S07 ,    , #ทำจิตให้อยู่ในอำนาจ , E08S16 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/2/202057 minutes, 14 seconds
Episode Artwork

เข้าใจกาย ด้วยพุทโธ 6309-2m

“ร่างกายที่ต้องแม้คอยประคบประหงม ดูแลรักษา แล้วก็ถามว่าตัวเราในนี้ก็ไม่มีแล้ว คุณอยู่เพื่ออะไร กายนี้ คุณมีไว้ทำอะไร”ตั้งสติไว้ที่พุทโธ แล้วจึงเริ่มพิจารณากายทั้งภายนอกและภายใน ว่า ล้วนไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้  หากายนี้ไม่เจอ กายนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่มีค่าอะไร ไม่ควรค่าแก่การยึดถือ เมื่อเข้าใจตรงนี้แล้ว ก็ยังต้องระวังจิตจะไปยึดถือกายผ่านทางวิญญาณ ซึ่งถ้าสามารถเข้าใจใน 2 ประเด็นนี้แล้ว จะเห็นตามจริงว่าขันธ์ 5 นี้ยึดถือไม่ได้ เป็นอนัตตาสิ่งเหล่านี้จะเข้าใจได้ เมื่อจิตเป็นสมาธิ เมื่อไม่ยึดถือ จิตจะเบาสบาย สว่าง มีความพ้น นั่นคือจิตประภัสสร แต่ความพ้นนี้จะกลับกำเริบได้ถ้าไม่รู้จักอวิชชาในจิตประภัสสรนั้น ดังนั้นแม้จิตที่ประภัสสรก็ต้องปล่อยวาง เพราะมีคุณสมบัติของความเป็นอนัตตา  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/24/20201 hour, 56 seconds
Episode Artwork

ธัมมานุสสติด้วยพรหมวิหาร 4 6308-2m

“รักษาจิตด้วยสติ มรรค 8 ก็ตามมา เป็นเหมือนกับ ที่รองที่ตั้งให้จิตของเราไม่ได้ไปวุ่นวายตามความสุข ความทุกข์ ให้เหมือนเยื่อหุ้มห่อจิตของเราเอาไว้ สิ่งอะไรที่จะมารั่วรดก็ไม่ได้ เพราะมันได้รับการรักษาไว้แล้วด้วยสติ ให้เราตั้งจิตแบบนี้ใคร่ครวญมาใน ธัมมานุสสติ เริ่มจากอารมณ์คือ พรหมวิหาร 4”เมื่อมีจิตใจที่สบายแล้วด้วยการเจริญพรหมวิหาร 4  ก็มาใคร่ครวญพิจารณาธรรมะกันต่อไป ในเรื่องของ อายตนะต่าง ๆ ที่มากระทบกัน (ผัสสะ) เกิดเป็น ธรรมารมณ์  ซึ่งทุกอย่างจะมารวมลงในใจ เมื่อจิตเข้าไปเสวยอารมณ์นั้น ๆ แล้วเข้าไปยึดถือ มีการสะสม กิเลสทำให้การตอบสนองเพี้ยนไป ทำให้เราถูกรึงรัดกักขัง ตกเป็นทาสของผัสสะ แล้วจะมีทางแก้ ทางออกอย่างไร รับฟังโดยรายละเอียดกันได้ในเอพิโสดนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/17/202057 minutes, 56 seconds
Episode Artwork

พิชิตฟุ้งซ่านด้วยพุทธานุสสติ 6307-2m

“ความคิดทั้งหมดไม่ใช่ความฟุ้งซ่าน เราตั้งจิตไว้อยู่กับสติ ความฟุ้งซ่านลดลงไปแน่นอน”ความคิดทั้งหมดไม่ใช่ความฟุ้งซ่าน ลักษณะของความฟุ้งซ่านมี 2 อย่าง คือ เป็นไปในทางกามพยาบาทเบียดเบียน และมีความคิดไปเรื่อย ๆ ไม่สงบระงับ จึงต้องตั้งสติไว้ที่พุทโธ ให้สติเป็นอธิบดี เป็นตัวคอยปรับอินทรีย์ทั้ง 5 ให้มีความสมดุล ไม่เพียรมากไปไม่เพียรน้อยไป ระวังกิเลสจะกินทั้งสองทาง ให้ค่อยปรับไป จะพ้นจากความเป็นทาส แล้วรักษาไว้ให้ดี Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/10/202057 minutes, 42 seconds
Episode Artwork

รักษากายให้ประเสริฐด้วยอริยอุโบสถ 6306-2m

"ใช้กายที่เป็นของเน่า ทำให้เกิดเป็นบุญ โดยในวันนี้เราจะใช้กายของเรานี้ให้ตั้งอยู่ เข้าอยู่ คงอยู่ในความประเสริฐด้วยอริยอุโบสถศีล""อุโบสถ" หมายถึง การที่เราจะรักษา เก็บงำ ถือเอา ตั้งเอาไว้ รักษาเก็บไว้ให้ดีของการเข้าจำ รักษากายให้ดีแบบที่เป็นอริยะ แบบที่ประเสริฐ มีองค์ประกอบ 9 ประการ ที่เมื่อกระทำแล้วแม้เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่งก็จะได้ชื่อว่า เข้าใกล้พระอริยเจ้า และควรทำให้เป็นปกติ รักษาไว้ให้ดี จะระลึกถึงความดีของศีลที่มีอยู่ในตัวของเราได้ เป็น "สีลานุสสติ"สัตตสูตร[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ อัน บุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ แพร่หลายมากดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ อัน บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มี ความแพร่หลายมาก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความ ละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่า กระทำตามพระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้ ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละการนั่งการนอนบน ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการ นั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องปูลาดด้วยหญ้าตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการ นอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียง หรือเครื่องปูลาดด้วยหญ้า ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้บุคคลมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ และ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอด โลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ถึงความ เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อุโบสถชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ที่ ๙ นี้ ด้วยประการดังนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุโบสถประกอบ ด้วยองค์ ๙ ประการ อันบุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างนี้แลจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ฯแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสตร S09E04 , #อริยะอุโบสถ , #อุโบสถประกอบด้วยองค์เก้า , #อริยอุโบสถ ศีล 8                           Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/3/202054 minutes, 37 seconds
Episode Artwork

ปล่อยวาง ด้วยพุทธานุสสติ 6305-2m

“ปล่อยทิ้งกะปล่อยวางมันไม่เหมือนกันตรงที่ว่า คนเราจะทิ้งอะไร ปล่อยอะไรได้ จะต้องมีฐานมาจากการเห็นตามความเป็นจริงตามกระบวนการ คุณจะปล่อยวางได้ คุณก็จะต้องมีความคลายกำหนัด จะมีความคลายกำหนัดได้ก็ต้องมีความหน่าย ไม่ได้เอาธุระอะไรกับเขา จะมามีความคลายกำหนัดได้ ก็ต้องเห็นตามความเป็นจริงว่ามันก็ต้องเป็นอย่างนี้ มันจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นตามอัตตาได้ จะเห็นตามความเป็นจริงได้ จิตก็ต้องเป็นสมาธิ จิตจะเป็นสมาธิได้ ก็ต้องตั้งสติเอาไว้ ในที่นี้อยู่กับพุทโธ”สมาธิทำให้เห็นตามความเป็นจริงโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้ง 6 ว่า มีเหตุมีปัจจัย เราจะไม่ได้ไปเอาธุระกับมันยอมรับในสภาพที่มันเป็น จะเกิดความหน่ายคลายกำหนัดปล่อยวาง  ให้ระวังโมหะที่จะทำให้กิเลสกลับกำเริบ ทำไปเห็นไปตามมรรค 8 พุทโธจริงเกิด ตามเหตุดั่ง "อิติปิ" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/27/202057 minutes, 10 seconds
Episode Artwork

การเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบท 6304-2m

ท่านพระสารีบุตร เห็นความเกิดขึ้นเห็นความเสื่อมไป ในทั้งหมด 16 อย่างนี้ ตามรายละเอียดของ 7 อย่างนั้น ด้วยฌานสมาธิเห็นแล้วพิจารณาแยกแยะแจกแจงได้ว่า สิ่งเหล่านี้ไม่มีมา มีมาแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นดับไป ๆ มีความไม่เที่ยงด้วย ปรุงแต่งด้วย เห็นแบบนี้แล้ว ก็ไม่ยินดีไม่ยินร้ายไปตามผัสสะที่มากระทบความที่ไม่ยินดีไม่ยินร้ายนั้น จะมีสภาวะแห่งการสั่งสมของสิ่งที่เป็นกาม สิ่งที่เป็นภพ สิ่งที่เป็นอวิชชาไม่ได้ เพราะเมื่อไม่สั่งสมในช่องทางใจ พอเมื่อเราไม่ได้ยินดีไปตาม ไม่ได้ยินร้ายไปตาม กิเลสมันก็พัวพันไม่ได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E13 , เข้าใจทำ (ธรรม) S07E59   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/20/202059 minutes, 31 seconds
Episode Artwork

อย่ากลัวตาย 6303-2m

“ความตายดับได้ ความตายเกิดได้ ความตายไม่เที่ยง เพราะอาศัยเหตุปัจจัยคือความเกิด มีความเกิดแล้วความเกิดของความตายจึงเกิดขึ้น เมื่อความเกิดดับไป ความดับของความตายก็จึงดับได้ การดับของความตายจึงเกิดขึ้น”กลัวตายคือกลัวทุกข์ กลัวสิ่งใดจะคลายความกลัวในสิ่งนั้นได้ยิ่งต้องเข้าไปหาสิ่งนั้น ต้องสู้ ไม่หนี เรากลัวเพราะเราไม่เข้าใจมันไม่แน่ใจในมัน เอาสติสมาธิเป็นฐานเป็นอาวุธในการพิจารณาความตาย พิจารณาความตายว่า ไม่เที่ยง อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น เพราะมีการเกิดจึงมีความแก่และความตาย ความเกิดในความตาย ความตายดับได้ความตายเกิดได้ เป็นอนัตตา ให้เผชิญหน้า ให้เห็นความจริงว่ามันดับได้ เราจะชนะมันได้ จะดับความตายได้ให้มันหายไปได้ไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกต่อไป เราต้องดับที่เหตุปัจจัยคือความเกิดในข้อของการพลัดพราก ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความตายคือความไม่เที่ยง ไม่มีค่าอะไร ไม่ใช่ของเราอย่าให้มีความยึดถือในสิ่งนั้น เราก็จะไม่รู้สึกว่าเราได้สูญเสียอะไรไป" ย้ำคิดย้ำทำในทางดี ให้กลัวบาป อย่ากลัวตาย"แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ : #แก้ตายด้วยการไม่เกิด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/13/202059 minutes, 33 seconds
Episode Artwork

การเจริญเทวตานุสสติ 6302-2m

“ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ระลึกถึงคุณธรรมเหล่านี้ของเทวดาเหล่านั้น ระลึกถึงคุณธรรมเหล่านี้ของเราด้วย เราระลึกถึงสิ่งใดสิ่งนั้นก็เกิดขึ้น เข้ามาตั้งอยู่ในใจของเรา จิตนั้นก็ไม่มีราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุม ดำเนินไปตามมรรค ตัณหาก็หลุดออกไป ๆ” คุณธรรม 5 ประการของเหล่าเทวดา ที่เราสามารถมีตามได้ ให้เห็นให้ถูกว่าเขามีมาได้อย่างไร จะมีกุศลธรรมเกิดเป็น สัมมาทิฏฐิ แต่ถ้าเห็นไม่ถูก จะเกิดอกุศลธรรมเป็น มิจฉาทิฏฐิ เมื่อระลึกถึงแล้วตัณหาจะลดลง ความทุกข์ก็ลดตาม คุณธรรมก็มากขึ้น การระลึกถึงเทวตานุสสตินี้จะทำความบริสุทธิ์ให้เกิดมีได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ : #เทวดามีอยู่จริง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/6/202058 minutes, 30 seconds
Episode Artwork

ทบทวนเพื่อพัฒนา 6301-2m

“ตั้งจิตทบทวนดูให้ดีว่า ในช่วงรอบปีหรือในรอบ 10 ปี 20 ปีของเราที่ผ่านมา มันเป็นอย่างไร ตั้งจิตดูให้ดีว่า ในรอบปีที่จะไปข้างหน้าหรือรอบอีก10 ปีที่จะไปต่อไป จะให้มันเป็นอย่างไร กำหนดเอาวันสุดท้ายของปีนี้เป็นการทบทวนดูว่า ที่ผ่านมาเราเป็นมาอย่างไร และต่อไปจากนี้ เราจะไปต่ออย่างไร ที่จะทำให้กุศลธรรมของเรามันดีมีเพิ่มขึ้น เราจะไปต่ออย่างไร ที่จะทำให้อกุศลธรรมที่มันมีอยู่ลดลง อกุศลธรรมที่มันยังไม่มา อย่าให้มันมา เราต้องตั้งความเพียรเอาไว้ ต้องมีความเพียรเป็นปธานกิจ คือ มีความเพียรที่เป็นหลักให้สติตั้งจดจ่อเอาไว้ ไม่ให้ลืมหลง ไม่ให้เผลอเรอ ตั้งสติเอาไว้แล้วใคร่ครวญมาในทั้ง 4 แง่มุม น้อมเข้ามาสู่ตัว รักษาสติ รักษาความเพียรให้เป็นปธาน ตั้งมั่นขึ้นไว้ให้อยู่ได้ตลอดทั้งวัน”ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้มีความเพียร พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ด้วย ปธานเหล่าใด ปธาน ๔ ประการเหล่านี้ คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงไว้แล้ว ฯ…ปธานสูตร [๖๙]แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่: สากัจฉาธรรม-ความเพียรสี่สถาน , สากัจฉาธรรม -ทบทวนสิ่งที่ผ่านมาด้วยสติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/30/201954 minutes, 21 seconds
Episode Artwork

เกิดด้วยกันแต่ทำกิจต่างกัน 6252-2m

“ธรรมชาติ 2 อย่าง มีกิจที่ควรทำแตกต่างกัน เวลาจะให้มันเกิดก็ต้องให้มันเกิดด้วยกัน เมื่อมีอันหนึ่งก็ต้องมีอันหนึ่งด้วย เมื่อมีการรับรู้ คือ วิญญาณอยู่ที่ไหน ก็ต้องมีสติตั้งเอาไว้ ณ ที่ตรงนั้น ระลึกรู้ได้ ณ ที่ตรงนั้น “การใช้พุทโธเป็นเครื่องมือ เปรียบเสมือนป้อมยาม ที่เมื่อระลึกถึงแล้ว จะก่อให้เกิดสติที่เป็นดั่งยาม สติกับวิญญาณนั้นเกิดด้วยกันมาพร้อมกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน สติจึงต้องทำให้เจริญ พัฒนาให้มีให้เกิดขึ้นได้ และวิญญาณแค่รับรู้เฉย ๆ ให้รอบรู้ทำความเข้าใจ สติที่ตั้งขึ้นจะทำให้เกิดเป็นสมาธิ  สมาธิที่ละเอียดขึ้น ๆ นั้น กิเลสก็ละเอียดขึ้น ๆ ตาม ต้องดูให้เห็น แม้ในสมาธิที่นิ่ง ๆ นั้น จะเห็นอวิชชาในจิตได้ ก็ต่อเมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเกิดวิชชา เห็นความเป็นอนัตตา ซึ่งถ้าทำมาถูกทางแล้ว กิเลสตัณหาจะลดลง จิตจะมีความนอบน้อม คลายความยึดถือในขันธ์ 5 ได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) E08S10     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/23/201955 minutes, 28 seconds
Episode Artwork

เข้าใจจิตด้วยปัญญา 6251-2m

“สติที่ตั้งเอาไว้ จะทำให้จิตของเราที่เมื่อมีการรับรู้ความคิดนึก รับรู้เสียง รับรู้ภาพ รับรู้สิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่ จะไม่ถูกกาม พยาบาท เบียดเบียนบุกรุกรบกวนเข้ามาเกิดขึ้นในจิตของเรา มันจะแยกกันออกไป จิตก็รวมลงเป็นสมาธิได้สติจึงทำสมาธิให้เกิดขึ้น มีการรับรู้คือวิญญาณเกิดขึ้น ณ ที่ไหน ก็ต้องมีสติคือการระลึกได้ตั้งไว้ที่นั้น พอเรามีสติเข้าไปตั้งมั่นโดยชอบแล้ว สิ่งที่จะพึงหวังต่อไปได้ กล่าวคือ "จะเป็นผู้ที่กระทำได้แล้วซึ่งโวสสัคคารมณ์"  หมายถึง ความที่ตั้งมั่นแห่งจิต ความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ทั้ง ๆ ที่ก็มีความคิดนึกอยู่ เห็นอยู่ ได้ยินอยู่ มีการปรุงแต่งสิ่งต่าง ๆ อยู่ บ้าง ก็ยังเป็นจิตที่เป็นสมาธิบุคคลที่มีสติตั้งไว้แล้วโดยชอบ มีจิตตั้งมั่นแล้วโดยดีแล้ว จะสามารถมีความรู้ชัดคือปัญญาอย่างนี้ว่า "สังสารวัฎมันเป็นสิ่งที่มีที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลาย อันบุคคลไปตามอยู่ รู้ไม่ได้ ที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลาย มันจะไม่ปรากฎเลยแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่"[๑๐๒๐] ดูกรสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัด อย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับ ด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน…สัทธาสูตร ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวกแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) E08S07 , E07S59 , #เหตุเกิดจาก “สติอินทรีย์” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/16/201955 minutes, 40 seconds
Episode Artwork

เหตุแห่งความเกิดและความดับแห่งเหตุ 6250-2m

“เย ธมฺมา เหตุปปฺภวาฯ” บทแห่งธรรมะที่พูดถึงเหตุแห่งความเกิดและความดับแห่งเหตุเหล่านั้น ปรารภพระอัสสชิเถระหนึ่งในปัญจวัคคีย์ได้แสดงธรรมอันย่นย่อของพระพุทธเจ้าให้อุปติสสปริพาชกฟัง จากที่ประทับใจในอิริยาบถสำรวมอันน่าเลื่อมใสของพระอัสสชิเถระเมื่อแรกเห็น ได้บรรลุพระโสดาบัน ขอบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว มีชื่อเรียกใหม่ว่าพระสารีบุตร“สิ่งอะไรต่างๆ ก็ตาม มันต้องอาศัยเหตุเกิด สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม มันจะดับไปได้ มันก็ต้องอาศัยเหตุดับ” ใคร่ครวญลงไปในธรรมโดยปรารภคาถา“เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุเตสํ เหตํุ ตถาคโต พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นเตสญฺจ โย นิโรโธ จ และความดับของธรรมเหล่านั้นเอวํ วาที มหาสมโณ พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้”ถ้าเหตุแห่งความเกิดขึ้นมีอยู่ เหตุปัจจัยแห่งความดำรงอยู่ยังมีอยู่ ขันธ์ 5 นั้นก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตั้งอยู่ได้ แต่ถ้าเหตุปัจจัยมีอยู่หายไปดับไป หรือเหตุปัจจัยของความดับมีเกิดขึ้น ขันธ์ 5 นั้นก็ต้องหายไปดับไป ตามกฎของไตรลักษณ์ ทุกอย่างล้วนอาศัยเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้นและดับไปเกิดปัญญาด้วยการใคร่ครวญลงไปในธรรม สิ่งต่าง ๆ ที่มันเกิดแต่เหตุ มีเหตุเกิดมีความดับ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม รู้ตามอริยสัจ 4 จึงจะนับว่าเป็นวิชชา เหตุปัจจัยของวิชชาที่จะทำให้อวิชชาดับไปคือ โพชฌงค์7 สติปัฏฐาน 4เป็นเหตุให้เกิดโพชฌงค์ 7 โพชฌงค์ 7 เป็นเหตุให้เกิดวิชชา จะมีความพ้นจากอวิชชา ไล่ไปถึงนิพพานได้จากคาถาเย ธัมมา ไล่ถึงอิทัปปัจจยตา ดังนี้”อิมสฺมึ  สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมีอิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชติ เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้นอิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มีอิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะความดับแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป”แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา E02S08 ,  E02S07     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/9/201955 minutes
Episode Artwork

หนทางใหม่เริ่มได้ด้วยสติ 6249-2m

สติต่างจากวิญญาณอย่างไร?สติ คือการระลึกได้, วิญญาณ คือ การรู้แจ้งหรือการรับรู้ เราต้องแยกแยะให้ถูก เข้าใจให้ถูกถึงการเกิดขึ้นของทั้งสติและวิญญาณ เปรียบเหมือน สัตว์ 6 ชนิดผูกไว้ด้วยเชือก และเสวียนรองหม้อ ที่จิตไปเสวยอารมณ์ตามสิ่งที่มากระทบ เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามสิ่งไปรับรู้มา จึงต้องมีการป้องกันจิต เครื่องมือที่พระพุทธเจ้าให้ไว้คือ สติปัฏฐาน 4 หนทางอันเอกสติฝึกได้ ในที่นี้เน้นให้มาระลึกถึงคุณของพุทโธ แทนที่จะให้จิตไปตามการรับรู้ต่าง ๆ ก็ให้มาระลึกถึงพุทธานุสสติ ก็จะเกิดสติขึ้นทันที รับรู้แล้ว มีสติตั้งไว้ ไม่ตามไป เหมือนสัตว์ที่ผูกกับเสาไว้ดีแล้ว เชือกตึงแต่ไม่ขาดเสาไม่ล้ม ระลึกถึงพุทโธนี้คือสติ เป็นฐานรองจิต เหมือนเสวียนของหม้ออุปสรรคที่จะทำให้เราลืมนึกถึงพุทโธ นั่นคือ นิวรณ์ เครื่องขวางกั้น (ขัดข้อง) จึงต้องใส่พลังให้จิตให้ถูกทาง แล้วนำมาให้เกิดประโยชน์กับตน ถ้าตั้งจิตไว้ในมรรค มรรคจะมีพลัง นำสู่วิมุตติ ถึงนิพพานได้ฌานและสมาธิล้วนเริ่มจาก "สติ" มีสมาธิแล้วให้ใคร่ครวญด้วยปัญญาว่า ทุกสิ่งล้วนมีเหตุมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น เป็นอนัตตา ไม่ควรยึดถือ แยกแยะให้ถูก จิตจะเป็นอิสระสู่วิมุตได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม)  E08S07 , E07S59 , คลังพระสูตร E09S07     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/2/201957 minutes, 2 seconds
Episode Artwork

สติรักษาจิตพาถึงวิมุตติ 6248-2m

“วิญญาณที่ไปรับรู้แล้วไม่ปรุงแต่งต่อเนื่อง จิตนั้นไม่มีเชื้องอกต่อไปอีก เพราะมีสติรักษาเอาไว้”ถ้าหม้อมีก้นรองก็ไม่กลิ้ง จิตที่มีสติรักษาก็ไม่ได้ให้พลังกับวิญญาณการรับรู้นั้น วิญญาณไปทำหน้าที่การรับรู้ผ่านทางนามรูป ทำหน้าที่เฉย ๆ เป็นเหมือนเมล็ดที่ตายแล้ว ปลูกลงในดินก็ไม่ขึ้น ทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ แยกจากกัน พ้นจากกัน นั่นคือวิมุตติ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) E08S04 , E07S58 , ใต้ร่มโพธิบท E07S59#จิตนี้ฝึกได้  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/25/201953 minutes, 9 seconds
Episode Artwork

พรหมวิหารสู่ปฏิจจสมุปบาท 6247-2m

รู้สึกตัวระลึกไปในกาย ในพุทโธ ธัมโม สังโฆ มี 4 อย่างนี้แล้วสบายใจ มีปิติ มีปราโมทย์ ตั้งขึ้นเป็นเสาอากาศเอาไว้ แผ่จิตไปด้วยพรหมวิหารทั้ง  4 ให้ทุกคนทั่วทุกทางเสมอหน้ากัน พอตั้งจิตไว้อย่างนี้แล้วปัญญาเกิด ไม่เอาอะไรไว้ แผ่ให้หมดทุกอย่าง รู้ชัดเข้าใจชัดในความที่สิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดเป็นโทษ เอาปัญญาที่มีความคมนั้นมาดูเข้าไปในจิตว่า "สติอยู่ตรงไหน จิตก็อยู่ตรงนั้น"จิตที่มีการปรุงแต่งเป็นธรรมดาคือ สังขาร ไปทำหน้าที่ในการรับรู้คือ วิญญาณ ไปรับรู้ในสิ่งที่เป็นนามและรูป ผ่านทางช่องทางของอายตนะทั้ง 6 เป็นผัสสะก่อเกิดเวทนา ตัณหา อุปาทานขึ้นในจิต มีภพมีความเป็นสภาวะ จิตนี้มีความสะดุ้งขึ้นลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 ทำไมจิตจึงเป็นอย่างนี้ เพราะว่ามีความไม่รู้ มีอวิชชา ความที่มันเป็นอย่างนั้นคือ ความเป็นอนัตตาเข้าใจในความที่มันล็อคกัน อาศัยกันและกันเกิดขึ้น พิจารณาไปตามปฏิจจสมุปบาท จะวางสิ่งที่เป็นอนัตตาได้ แล้วรักษาจิตไว้ด้วยสติแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม)  E07S63 , #จิต&ปฏิจจสมุปบาท - ตอนที่ 1 , #พรหมวิหาร 4 ธรรมที่เมื่อเข้าใจถูก จะไม่ไร้เดียงสา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/18/201956 minutes, 42 seconds
Episode Artwork

คุณแห่งพุทโธ นำสู่สมาธิ 6246-2m

นำคุณ 5 อย่างมารวมลงที่ “พุทโธ” ให้ตั้งสติขึ้นไว้ในใจท่ามกลางอก ไม่ให้จิตไหลไปตามกระแสของโลก แต่ให้มาตามทางของอริยมรรคจิตนั้นต้องไม่บังคับ แต่ต้องมีการควบคุม ให้จดจ่อลงมา เมื่อควบคุมดีแล้วจะเกิดฌานได้ เป็นผลจากการที่สงบระงับลงไปโดยลำดับ จะเกิดเป็นสมาธิตามลำดับขั้นจากฌาณที่ 1 ถึง 4 มีความละเอียดที่ลึกซึ่งลงไป มีความนุ่มนวลที่แตกต่างกันจะฝึกสมาธิได้ ปัญญาก็ต้องมีอยู่ในระดับที่จะให้เกิดสมาธิ เข้าออกให้มีความชำนาญ สังเกตให้ดีทั้งความคิดนึกในจิตของเราที่เป็นวิญญาณการรับรู้ เอาจิตมาจดจ่อในจุดที่มันถูกต้อง นั่นคือตั้งสติเอาไว้ที่พุทโธ จะทำกำลัง ทำปัญญา ทำความรู้ ทำญาณทัสสนะให้เกิดขึ้นได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E46 , การฝึกสมาธิภาวนา , พุทโธ พุทโธ พุทโธ       Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/11/201957 minutes, 2 seconds
Episode Artwork

เมื่อไม่มีเชื้อก็ดับเย็น 6245-2m

จิตของพระอรหันต์ไม่มีเชื้อในการที่จะให้เกิดขึ้นต่อไป พอไม่เข้าไปหา ไม่เข้าไปยึดถือว่าวิญญาณที่เกิดขึ้นเป็นตัวฉัน ฉันมีในสิ่งนี้ สิ่งนี้มีในฉัน ฉันเป็นสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นฉัน  ถ้ามันมีความสามารถมีปัญญาในการที่จะเห็นว่า วิญญาณก็เป็นของมันนั่นแหละ ไม่ใช่ของฉัน พอเห็นอย่างนี้แล้วมันก็ไม่เข้าไปยึดถือ พอไม่เข้าไปยึดถือ วิญญาณนั้นก็เป็นวิญญาณที่ไม่มีเชื้อ เหมือเมล็ดที่เชื้อการเกิดแห้งแล้ว ต่อให้มีน้ำต่อให้มีดิน มันก็ไปโตต่อไม่ได้ การไม่เข้าไปนั้น มันจึงพ้นกัน เป็นจิตที่ดับเย็นพีชสูตร ว่าด้วยอุปมาวิญญาณด้วยพืช[๑๐๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณฐิติ ๔ เหมือนปฐวีธาตุ พึงเห็นความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน เหมือนอาโปธาตุ. พึงเห็นวิญญาณพร้อมด้วยอาหาร เหมือนพืช ๕ อย่าง.ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณ ที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึง กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่ง วิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น. เธอย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E63 , S07E59 , คลังพระสูตร  E07S58  , S07E59 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/4/20191 hour, 53 seconds
Episode Artwork

เห็นทุกข์โทษในกายด้วยปัญญา 6244-2m

ร่างกายนี้ไม่ว่าจะส่วนไหน ถ้าจี้จ่อลงไปมันมีอาพาธเกิดขึ้นได้ทั้งหมดไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง จึงเรียกว่า "กายนี้เป็นรังของโรค"  มรรค 8 เป็นยาที่จะแก้โรคทางใจ เป็นยาสำรอกราคะ โทสะ โมหะ เป็นยาที่กำจัดรากต้นเชื้อคืออวิชชาได้ ด้วยการเห็นตามความเป็นจริงในกายของเรานี้ว่า เป็นของมีโทษมาก มีทุกข์มาก เรียกว่าเป็น "อาทีนวสัญญา" (กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ ความมีอาพาธ เจ็บไข้ มีความที่มันเปลี่ยนแปลงไปต่าง ๆ)ดังนั้น อริยมรรคมีองค์ 8 จึงมีอยู่ในกายของเรานี้เอง ซึ่งเกิดจากการเจริญกายคตาสติ การเจริญอาทีนวสัญญา โดยพิจารณาใคร่ครวญให้เห็นไล่เข้ามาในกายแบบนี้อยู่ตลอดอย่างต่อเนื่อง จะมีปัญญาเกิดขึ้น เป็นปัญญาญาณในการเห็นตามเป็นจริงเข้ามาในกาย เห็นโทษในกายนี้ได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E66 , S07E47 , S07E44 , S07E38 , S07E37                     Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/28/201957 minutes, 17 seconds
Episode Artwork

พ่อครัวผู้มีปัญญา 6243-2m

พระพุทธเจ้าทรงอุปมาอุปไมยไว้ใน "สูทสูตร" เปรียบการฝึกปฏิบัติสมาธิเหมือนกับการทำอาหาร ที่พ่อครัวผู้ฉลาดรู้จักสังเกตเครื่องหมายคือ นิมิตห่งจิตของตน ก็จะได้รางวัลจากพระราชา คนทำสมาธิก็เช่นกัน รู้จักสังเกตเครื่องหมายคือนิมิตแห่งจิตของตนหรือไม่ ถ้าไม่รู้จักก็เททิ้งได้เลย อาหารจานนั้นไม่อร่อยในที่นี้ให้มาสังเกตที่ลมหายใจ จดจ่อลงไป จะเห็นนิมิตนั้นมีหลายอย่างเหมือนรสชาติของต้มยำที่มีหลากหลาย มีสติเป็นเกราะดั่งเต่าในกระดอง มีสติแต่ยังรับรู้ได้ แยกแยะให้ออก ทำไปให้ถึงความสงบบ่อย ๆ ทำให้ชำนาญ และใช้ปัญญามองให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสมาธินั้น ให้เห็นนิมิตด้วยปัญญา  จะทำความเย็นให้เกิดขึ้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/21/201955 minutes, 3 seconds
Episode Artwork

ศีลอันเป็นไทเริ่มด้วยศรัทธาในพุทธธัมสงฆ์ 6242-2m

บุคคลที่ตามระลึกถึงพระตถาคต ตามระลึกถึงธรรมะอันประกาศไว้ดีแล้ว ตามระลึกถึงสิ่งที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้แล้ว ราคะโทสะโมหะก็ไม่กลุ้มรุมจิต จิตย่อมเป็นอารมณ์อันเดียวเป็นสมาธิได้ ระลึกถึงการตรัสรู้ว่ามีอยู่จริง ระลึกถึงคำบอกสอนไว้สืบต่อเนื่องมาทำได้จริง ระลึกถึงการปฏิบัติว่าใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้ มีการทำกันอยู่ต่อมาถึงทุกวันนี้ได้จริง ๆ  ในเรื่องอะไร ในเรื่องพื้นฐานแรกเลยคือศีล "คุณมีศรัทธาในพุทโธ ในธัมโม ในสังโฆแล้ว ใจจะมีศีลทันที" ศีลชนิดที่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า เป็นอิสระจากตัณหา ไม่ถูกลูบคลำด้วยทิฏฐิ คือการเจริญสีลานุสสติชนิดที่จะพาไปนิพพานได้ ทำได้ตลอดเวลา ให้เราระลึกถึงความดีของเราตรงนี้ให้มันได้ มีพุทโธ ธัมโม สังโฆอยู่ในใจ ถ้ามี 4 อย่างนี้ นั่นคือคุณมาตามทางแล้ว เข้าสู่กระแสแล้ว หันเหมาในทางที่จะไปสู่นิพพาน ปิดประตูสู่อบาย ให้มั่นใจสบายใจได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร Ep.02 , ตามใจท่าน Ep.28, ศีลเป็นไปเพื่อนิพพาน  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/14/201956 minutes, 2 seconds
Episode Artwork

กายคตาสติด้วยการทำความรู้สึกจดจ่อไปในกาย

เริ่มปฏิบัติด้วยการฝึกเจริญกายคตาสติ ทำความรู้สึกจดจ่อลงไปในกาย เอาจิตลูบไปตามกระดูก ขยับจิตไปเรื่อย ๆ ตามอวัยวะ ไล่จากปลายเท้าขึ้นไปจนถึงกระโหลกศีรษะ จากกระโหลกศีรษะลงมาจนถึงกระดูกปลายเท้า มีหนังหุ้มอยู่ ไม่เห็นสักชิ้นเลยจากภายนอก  ให้เราพิจารณากายของเรานี้ มาเป็นลักษณะโครงกระดูก  มีศีรษะและแขนขา ทางเข้าของมันคือตรงกระดูกไหปลาร้า ทางออกของมันก็เป็นตรงช่องกระดูกเชิงกราน ร่างกายของเราเป็นแค่นี้ มองดูด้านนอกก็สวยดีเพราะเป็นหนัง แต่ถ้าตายแล้วเอาไปเผา ปล่อยให้เปื่อยเน่า กระดูกแยกไปคนละทางคนละชิ้น ตัวเราอยู่ไหน หาไม่มีเลย ให้พิจารณาตามความเป็นจริง รักษาสติให้ได้ตลอดทั้งวัน กายคตาสติสูตร[๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียมม้าแล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้ง ๒ จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔ แยก นายสารถีผู้ฝึกม้าเป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสายบังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอ ย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งอันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้น ๆ ได้ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.44 , ขุดเพชรในพระไตรปิฎก Ep.37,  #การปฏิบัติกายคตาสติรรม       Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/7/201957 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

เห็นแจ้งธรรมปัจจุบันด้วยสติ 6240-2m

”บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ เถิด”ท่านไม่ได้ให้อยู่กับปัจจุบัน ท่านให้เห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ให้อยู่กับสติ  ปัจจุบันทำอย่างไรกับมัน เห็นแจ้งในปัจจุบันอย่างไร เห็นความไวของมันว่ามันไม่เที่ยงถ้าเรามีความมั่นคงไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน อยู่กับสติ จะเห็นปัจจุบัน เห็นอะไรในปัจจุบัน เห็นแจ้งธรรมปัจจุบันคือ ให้มีปัญญาเห็นความไม่เที่ยงในสิ่งที่เรารับรู้แค่เราเห็นธรรมปัจจุบันโดยความเป็นของไม่เที่ยง เราจะเห็นสิ่งที่เรารับรู้ได้ ณ เดี๋ยวนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงได้ จะรับรู้โดยเห็นเป็นของไม่เที่ยงได้ คุณต้องมีปัญญาให้รู้ชัดเห็นชัดด้วยปัญญาชัดเจน จะรู้ชัดเห็นชัดได้ ก็รู้แจ้งเห็นแจ้ง "วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดเห็นแจ้งสิ่งนั้น" รู้ว่ามันไม่เที่ยงคืออนิจจัง รู้ว่ามันเป็นของปลอมไม่ใช่ของจริงคือ มันเป็นอนัตตา รู้ว่ามันทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้นั่นคือเป็นทุกข์ "อยู่กับสติจะเห็นปัจจุบันโดยความเป็นของไม่เที่ยงได้ ให้เห็นแจ้งธรรมปัจจุบันด้วยสติ"แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.59  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/30/201955 minutes, 21 seconds
Episode Artwork

สติหนทางอันเอก 6239-2m

การระลึกรู้หรือสติ สามารถทำได้ทั้งเต็มรูปแบบและในจิตอธิษฐานการงาน โดยใช้หลักการเส้นทางเดียวกัน แต่ต่างรูปแบบวิญญาณมีทุกที่ มีทุกเรื่อง มีทุกช่องทาง มีในทุกเวลา แต่เราเลือกที่จะเอาจิตของเรามาจดจ่อไว้อยู่กับสิ่งที่เราทำอยู่เฉพาะหน้า นี้คือการระลึกได้ คือสติ ตรงนี้เราจะเริ่มเห็นการแยกกันระหว่างขันธ์ 5 กับ มรรค (วิญญาณกับสติเป็นคนละอย่างกัน)สติจึงเป็นทักษะที่ฝึกได้ นายทวารที่ฉลาดเขาจะฝึก ซึ่งบางคนฝึกง่าย บางคนฝึกยาก แต่ต้องฝึกทุกคน สติที่ถ้าเราฝึกได้แม้น้อย ๆ แต่มีประโยชน์มหาศาล ใช้ในเรื่องการงานจนถึงกิจการงานเพื่อรื้อถอนสังโยชน์ ขุดรากของกิเลสอวิชชา รื้อถอนภพชาติ เป็นเรื่องของโลกุตระเลย  การที่เราตั้งสติเอาไว้จะทำให้มีวิมุตคือความที่มันแยกกันเป็นสัดส่วนดี ๆ ให้เกิดขึ้นได้ ให้รักษาสติให้ดี ทำให้ได้อยู่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันในทุกอิริยาบถ สะสมเหมือนรวงผึ้ง เหมือนจอมปลวก จะทำให้มีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ สติจึงเป็นหนทางอันเอกแห่งทางพ้นทุกข์ได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.63 , Ep.43 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/23/201954 minutes, 26 seconds
Episode Artwork

หาจิตได้ด้วยสติ 6238-2m

สิ่งที่เราต้องทำเพื่อให้หาจิตเจอ…เพื่อทำความนุ่มนวลอ่อนเหมาะ ทำความเย็นให้เกิดขึ้นที่จิตของเรานั้นต้องมีสัมมาสติ เริ่มด้วยการมาระลึกถึงพุทโธ ๆ ไว้ในใจ เรามาระลึกอยู่กับพุทโธแล้ว นั่นคือเรามีสติแล้ว สติอยู่ที่ไหนจิตเราก็อยู่แถว ๆ นั้น เพราะจิตจะตั้งไว้ได้ด้วยสติ…สติ จิต พุทโธจึงตั้งอยู่ด้วยกันจิตไม่ได้อยู่ที่การรับรู้ แต่อยู่ตรงที่ว่าเราเอาใจจดจ่อไปที่ไหน การเพ่งจดจ่อเป็นอารมณ์อันเดียวนั่นคือสัมมาสมาธิ จะทำให้จิตนุ่มนวลลง การปรุงแต่งทางกายระงับลง ๆ วจีสังขารระงับลง พุทโธหายไป เหลือแต่จิตตั้งเอาไว้กับสติ เราจะเริ่มเห็นจิต รักษาไว้ให้ดีให้จิตมีความรู้คือวิชชา เห็นตามความจริงถึงความไม่เที่ยงแม้ในสัมมาสมาธินั้น เกิดขึ้นได้ มีอยู่ได้ หายไปได้ดับไปได้ตามเหตุตามปัจจัย ขันธ์ 5 มีประโยชน์ได้ แยกแยะออกมาให้มีความชัดเจนรอบรู้ว่า มรรคนี้เกิดขึ้นในขันธ์ 5 ต้องทำให้มาก เจริญให้มาก สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่พึ่งขึ้นมาได้ เจริญขึ้นมาได้ เจริญแล้วเอาพุทโธ ธัมโม สังโฆตั้งไว้ดู ไม่ยึดถือ แต่เอาเป็นที่พึ่งให้เกิดสติได้ เป็นที่พึ่งให้เกิดมรรค 8 ได้จิตของเรามีอยู่คงอยู่ก็อาศัยอาสวะอวิชชา อาศัยความที่มันสืบต่อกันมา จึงตั้งอยู่ การเปลี่ยนแปลงไปได้ตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขันธ์ 5 เปลี่ยนแปลงไปได้ตามตัณหาความอยากความยึดไปในลักษณะที่ให้เกิดกุศลหรืออกุศลก็ได้ สิ่งใดที่เปลี่ยนแปลงได้ ไม่เที่ยง นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา สิ่งใดที่ไม่คงตัว เดี๋ยวเป็นอย่างนี้เดี๋ยวเป็นอย่างอื่น เราอย่าไปเห็นว่าสิ่งนั้นมันเป็นตัวตนของเรา มันเป็น "เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตา"ให้เราวาง คลายความยึดถือ ละที่จะเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นตัวเราของเรา ถ้าวางแล้วจะเหลืออะไร…เหลือสติ ที่ตั้งไว้กับด้วยจิตที่มีความบริสุทธิ์ด้วยอำนาจของมรรค เป็นจิตที่ดับเย็นลง นั่นคือนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/16/201957 minutes, 53 seconds
Episode Artwork

ยุทธศาสตร์ที่สมดุล สมถะวิปัสสนา 6237-2m

…สองอย่างนี้เราต้องปรับ ถ้าบางคนชอบการพิจารณา ให้พิจารณาก่อนแล้วค่อยทำจิตให้สงบ คือการพิจารณาไปในทางที่ถูกแล้ว จิตมันจะสงบเองได้ หรือถ้าพิจารณาไปแล้วเริ่มฟุ้งขึ้น อันนี้ให้เป็นฐานต้องฝืนทำจิตตั้งจิตให้สงบลงให้ได้ มีอันใดอันหนึ่ง ให้เอาตัวที่ตัวเองมีนั่นแหละเป็นพื้นฐาน ฝึกให้ทั้งสองอย่างนั้นมีอยู่ในจิตใจของเรา แยกแยะระหว่างความสงบด้วยส่วนหนึ่ง แยกแยะรู้จักการพิจารณาด้วยส่วนหนึ่ง แยกแยะออกเป็นเบื้องต้นนี้แล้ว เราต้องดูให้เห็น เพิ่มเติมส่วนที่ขาด ตั้งไว้ในส่วนที่มันดี เพิ่มเติมแล้วบางทีมันไม่เสมอกัน ก็ปรับอีก ทำซ้ำไปย้ำมา สลับไปสลับมา มันไม่ได้อยู่นิ่ง เพราะจิตมันมีความกลับกลอก เปลี่ยนแปลงไปตามการรับรู้  เราต้องฝึกมันปรับเปลี่ยนมัน…กลับมาที่ลม แล้วดูคิวทำสลับไปสลับมา ทำให้มีความชำนาญ ทำให้มีความลึกซึ้งแยบคาย ทำไปเพื่อดัดจิตให้มันตรง เพราะจิตที่ฝึกดีแล้วย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ ไม่ใช่แค่ความสุขธรรมดา แต่เป็นความสุขที่เกษม เป็นบรมสุข เป็นนิพพานสุขยุคนัทธกถา [๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน  ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ…[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึงความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจากจิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วยฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัดแกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการฉะนี้แล ฯ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/9/201954 minutes, 40 seconds
Episode Artwork

อย่าทำให้พระพุทธเจ้าเป็นผู้ลำบากด้วยเหตุแห่งธรรม

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน โพธิราชกุมารสูตร (บางส่วน) มีใจความอย่างนี้ว่า “…ก็ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ธรรมะที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมะอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม, เป็นธรรมะระงับและประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่าย ๆ ด้วยความตริตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต, ก็หมู่สัตว์ยุคนี้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีเพลิดเพลินแล้วในอาลัย ก็สำหรับหมู่สัตว์ผู้มีอาลัย คือ ความยึดถือ เป็นที่ยินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น, ยากนักที่จะเห็นปฏิจจสมุปบาทคือ ความที่ธรรมอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น, ยากนักที่จะเห็นธรรมะอันเป็นที่สงบระงับในสังขารทั้งปวง, เป็นธรรมะอันถอนความยึดถือทั้งสิ้น เป็นความสิ้นตัณหา เป็นความคลายกำหนัด เป็นความดับ เป็นความเย็น คือ นิพพาน. หากเราแสดงธรรมแล้วสัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา, เป็นความลำบากแก่เรา.” ที่ปรารภเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพื่อให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายได้ตระหนักรู้ว่า ถ้าเมื่อฟังธรรมแล้วปฏิติธรรมแล้วมันไม่คืบหน้าเลย ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป และกลับรู้สึกท้อแท้ท้อถอย หมดกำลังใจ นี้คือทำไม่ถูก ให้เราเริ่มทำความเข้าใจในประเด็นนี้ใหม่ ด้วยการปรุงแต่งระลึกนึกถึงเอาใจจดจ่อไว้ อยู่กับคำว่า "พุทโธ"  …ความไม่ลึกซึ้ง ความไม่แยบคายของเรา จะทำให้พระพุทธเจ้าเหนื่อยเปล่า มีความลำบาก ซึ่งแม้แต่สมาธิในสมาธิขั้นธรรมดา ๆ  คนที่ไม่มีความลึกซึ้ง ไม่มีความแยบคาย มันก็ทำไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องทำความลึกซึ้งแยบคายในการปฏิบัติให้ลึกลงไปในรายละเอียดอย่างที่ชาวนาทำกิจที่ควรทำ สิ่งที่จะทำให้จิตอยู่ได้คือปฏิปทาคือมรรค มีศีลเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ทำในศีลให้ยิ่งขึ้น ทำในสมาธิ ในปัญญาให้ยิ่งขึ้น มันจะมีวันเวลาที่เหมาะสม ความยึดถือจะลดลง ๆ เบาบางลง ๆ เหมือนความสึกของด้ามเครื่องมือของนายช่างไม้ เมื่อจิตใจที่ตั้งไว้อยู่อย่างถูกต้องแล้ว จะทำให้เรามีความก้าวหน้ามีความลึกซึ้งมีความแยบคายในการปฏิบัติได้ คือ  ให้มีการตรวจสอบในเรื่องเหตุปัจจัยให้ถูกต้อง (อุปมาเปรียบด้วยการทำน้ำมัน, นมสด , เนยข้น และไฟ) มีการปรับแก้ในเรื่องของอินทรีย์  5 ว่า ถ้าอ่อน ก็ต้องมีการปรับจูนให้แก่กล้าขึ้นมา จึงจะสามารถเห็นปฏิจจสมุปบาท (ธรรมะที่อาศัยกันและกันแล้วจึงเกิดขึ้น) ได้ "..ตัณหาเราละ เหตุปัจจัยเราสร้าง มรรคเราทำให้ดี เข้าใจ 3 อย่างนี้ ทำให้ถูกต้องดีแล้ว นิโรธจะแจ้งขึ้นมาได้" แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.46  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
9/2/201954 minutes, 49 seconds
Episode Artwork

ธัมมานุสสติในความจริงอันประเสริฐ 6235-2m

เจริญธัมมานุสสติในอริยสัจสี่ | มีปัญญารู้ชัดถึงกิจที่ควรทำในอริยสัจทั้งสี่ข้อที่แตกต่างกัน ซึ่งทุกข์ต้องกำหนดรู้, ตัณหาต้องละ, นิโรธต้องเป็นสิ่งที่ทำให้แจ้ง และมรรคต้องทำให้เจริญปัญญาที่เราต้องแจกแจงพิจารณาใคร่ครวญต่อไปก็คือ เราทำให้มันได้แล้วหรือยัง ในแต่ละขั้น ในแต่ละข้อ ในแต่ละจุด ในแต่ละประเด็น นี้คือ การเจริญธัมมานุสสติ โดยใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญลงมาในธรรมะให้เห็นตามความเป็นจริงในหัวข้ออริยสัจ 4 ดังนี้ทุกขอริยสัจ: กล่าวโดยย่อ กองขันธ์ 5 อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ (อุปาทาน) เป็นทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ก็ต้องมีปัญญามีอภิญญา (ความรู้ที่ยิ่งไปกว่า)ทุกขสมุทยอริยสัจ: เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน ตัณหาเป็นตัวเชื่อมระหว่างขันธ์ 5 และอุปาทานความยึดถือ มีอวิชชาเป็นเครื่องปกปิดเอาไว้…ตัณหามีอยู่ในสิ่งใด สิ่งนั้นจึงจะเป็นความทุกข์ของเราได้ ตัณหานี้ใด อันเป็นเครื่องที่ทำให้มีการเกิดภพใหม่ (การเกิิดใหม่) ซึ่งประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน มักเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ตัณหาจึงเป็นเหตุเกิดของความทุกข์ จึงต้องละทุกขนิโรธอริยสัจ: ต้องทำให้แจ้งถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ซึ่งทุกข์กับสมุทัยมันต้องอาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้  เมื่อความจางคลาย ความลดลง ๆ ไป จนถึงความดับไปไม่เหลือของตัณหาแล้ว สิ่งนั้นก็จะไม่ได้เป็นความทุกข์ของเรา…วิญญาณคือการรับรู้ยังมีอยู่ ก็รับรู้เรื่องราวตรงนั้น แต่ตัณหาจะไม่คืบคลานต่อไป เราก็จะไม่ได้มีความทุกข์ในสิ่งนั้น จึงเห็นนิพพานได้เลยในปัจจุบันทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ: หนทางข้อปฏิบัติที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ที่ต้องทำให้มาก เจริญให้มากจะทำให้ละตัณหาได้ นั่นคือมรรคที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (อริยมรรคมีองค์ 8) ที่ไม่เนื่องด้วยอาชญาไม่เนื่องด้วยศาสตรา เป็นสัมมาคือความสลัดแอก ที่จะปลดล็อกจิตออกจากกิเลสตัณหาอวิชชาได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.28  , ใต้ร่มโพธิบท Ep.59 , Ep.56 , ตามใจท่าน Ep.56       Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/26/201959 minutes, 15 seconds
Episode Artwork

รู้ชัดด้วยปัญญา 6234-2m

"ปัญญาและวิญญาณ ธรรม 2 ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม 2 ประการนี้." …มหาเวทัลลสูตร เจาะลงมาที่เรื่องปัญญากับวิญญาณสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบนั้น มันเป็นเหตุที่อาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างอื่นแล้วจึงเกิดขึ้น ไม่ได้จะเป็นตัวของมันเอง เป็นอนัตตา เราจะมีปัญญารู้ชัดสิ่งที่มากระทบต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ไม่ใช่ว่าเราไม่รับรู้อะไร เพราะการรับรู้ (วิญญาณ) นั้น มันเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาด้วยมีอายตนะภายนอกและอายตนะภายในสัมผัสเชื่อมต่อกัน"ปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น" ตรงนี้สำคัญ ต้องไปด้วยกัน ถ้าเราไม่มีปัญญารู้ชัดในสิ่งที่เรารู้แจ้ง (รับรู้) แต่เผลอเพลินไปตามสิ่งที่รู้แจ้งนั้น เกิดความพอใจไม่พอใจสะสมในจิต ทำให้ไม่เห็นได้ว่ามีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมาได้เป็นอย่างไร ๆ มีสติไม่ทัน เพราะจิตไม่มีกำลัง ไม่มีมีสมาธิ ไม่ได้ระวังรักษา เพราะไม่มีการทำจริงแน่วแน่จริงไม่มีมีความเพียรเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีความมั่นใจ ไม่มีศรัทธา ด้วยเหตุนี้ปัญญาจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเรามีสติตั้งเอาไว้ ไม่เผลอไม่หลง แต่ระวังรักษาเอาไว้ จะมีสติตั้งไว้ได้จะต้องมีความเพียรต้องมีศรัทธา มีศรัทธาตั้งไว้อยู่อย่างถูกต้องในพุทโธ ธัมโม สังโฆ ปรารภความเพียรอย่างมั่นคงบากบั่น ทำสติให้เกิดขึ้นตั้งมั่นไม่ลืมหลง ระวังรักษา ก็จะทำจิตนั้นมีความมั่นคงเป็นสมาธิ ไม่ลำเอียง ไม่มีอคติ สามารถแยกแยะ เกิดปัญญารู้ชัดตามความเป็นจริงในทุกสิ่งที่ไปรับรู้ได้แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.57 , ใต้ร่มโพธิบท Ep.56 , Ep.57 , คลังพระสูตร Ep.53       Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/19/201953 minutes, 31 seconds
Episode Artwork

รักษาระวังของร้อนด้วยสติ 6233-2m

ถ้าเราไม่รักษาตาหูจมูกลิ้นกายและใจ จะไปในที่ ๆ ไม่ดีได้…เหล่านี้เป็นของร้อน เราต้องรู้จักรักษาป้องกันให้ดี เพราะมันเป็นเหมือนไฟ เป็นสิ่งที่มีภัยเกิดขึ้นในระหว่าง เป็นอันตรายเกิดขึ้นได้ ต้องระวังรักษาของร้อนเหล่านี้ด้วยสติ  ถ้าจิตของเราไม่มีสติ นั่นคือให้เชื้อเพลิง ทำให้การไหม้ของไฟเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าเรามีสติ นั่นคือเราดึงเชื้อไฟออกไป ตั้งสติไว้ที่ลมหายใจ อย่าลืมลมสติต้องเจริญให้มาก วิญญาณต้องกำหนดรู้ ในสิ่งเดียวกัน แต่ให้แยกแยะในการทำหน้าที่ รับรู้ตรงไหน เจริญปัญญาขึ้นตรงนั้น รับรู้ตรงไหน เจริญสติขึ้นตรงนั้น ถ้าไม่มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในความที่เป็นของร้อนของตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ถ้าไม่มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในความเป็นของร้อนของ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ถ้าไม่มีปัญญาในการที่จะเห็นตามความเป็นจริงในวิญญาณที่เกิดจากการกระทบของมันตามช่องทางมา ถ้าไม่มีปัญญาจะไม่มีนิพพิทาญาณได้ เราจะไม่มีปัญญาได้เลยถ้าไม่ตั้งสติเอาไว้การปล่อยวางต้องเป็นไปตามกระบวนการนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ที่รักษาตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ การรักษาไม่ใช่ว่าไม่มอง ไม่ดู ไม่เห็น ไม่ทำอะไร หรือควักดวงตาออก นั่นไม่ใช่การรักษาที่ดี ให้รักษาด้วยสติจึงจะถูกพอเรารักษาด้วยสติ ปัญญาก็เกิดเจริญมีมากขึ้น พอมีปัญญาก็จะมีนิพพิทา มีความหน่ายก็จะมีความคลายกำหนัด พอมีความคลายกำหนัดก็จะทำให้เกิดการปล่อยวางได้ เกิดการหลุดพ้นได้ สติจึงมีวิมุตเป็นที่แล่นไปสู่ ตั้งสติไว้ที่ลมหายใจใคร่ครวญให้ดี ตั้งสติให้มีอยู่ตลอดทั้งวันแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร Ep.55 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/12/201932 minutes, 25 seconds
Episode Artwork

จิตไม่วุ่นวายไม่ขัดข้องด้วยหลีกออกจากกาม

"ที่ไหนมีกาม ที่นั่นมีความวุ่นวาย ที่นั่นมีความข้องขัด" เพราะกามมันแทรกซึมไปได้ในทุกเรื่องราว ยสกุลบุตร เมื่อเห็นโทษของกามจึงเริ่มระลึกได้ ไม่เผลอเพลินตามไปในความสุขต่าง ๆ เหล่านั้น…เมื่อโทษของกามที่เกิดปรากฎขึ้น มันจึงมีทางเลือกเกิดขึ้น ซึ่งอยู่ที่ว่าเห็นโทษแบบไหน และจะเลือกทางไหน ทางวน ทางอ้อม หรือทางออก…ในเส้นทางที่ไปทั้งหมดนั้น ถ้าเผื่อว่าไม่มีสติ มันจะพลาดวนมาทางเดิมแบบเดิม เราจึงต้องมีกัลยาณมิตร ผู้ที่จะชักจูงพาไปยังทางออกที่มันจะไม่วนพากลับมาที่เดิมเรื่องเดิมอีก สติคือการระลึกได้ จะทำให้จากที่มันวุ่นวายมีความขัดข้อง ทำให้เราสามารถเห็นโทษของกามนี้ได้ ระลึกได้ว่ามันมีทางออกอื่นคือ มรรค 8 อยู่ โดยเริ่มที่สติ ในที่นี้ให้มาระลึกถึงพุทโธไว้ในใจ จิตจะค่อยเริ่มสงบลงได้ ระลึกได้ว่าความสงบในภายในมี ไม่ได้จะต้องไปหาจากภายนอก ความวุ่นวายความขัดข้องจะระงับไปได้ ความวุ่นวายความขัดข้องเกิดขึ้นได้เพราะปรารภเรื่องของกาม ความไม่วุ่นวายความไม่ขัดข้องจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องหลีกออกจากกาม ต้องกำจัดกิเลสกามในภายใน ไม่ใช่ที่วัตถุกามในภายนอก  พระพุทธเจ้าตรัสว่า "คนที่มีสัมมาสติแล้วจะทำสัมมาสมาธิให้เกิดขึ้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้เป็นได้" สัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นนั้น จะทำให้การปรุงแต่งทางกาย วาาจา ใจ ระงับลง ๆ จากสิ่งหยาบ ๆ (ทางกาย) ก็จะระงับลงก่อนด้วยศีล ไปตามลำดับจนถึงความนึกคิดที่ละเอียด ๆ เช่น ความคิดนึกที่เป็นไปทางกาม พยายาท เบียดเบียน คิดตำหนิคนนั้นด่าคนนี้  มันก็จะระงับลงไปด้วยสมาธิซึ่งเป็นผลของสติ  พระพุทธเจ้าแสดง  "อนุปุพพิกถา" แก่ยสกุลบุตร ให้เห็นถึงความไม่วุ่นวาย ความไม่ขัดข้อง โดยแสดงไปตามลำดับในเรื่องของ ทาน ศีล เรื่องของสวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์ในการหลีกออกจากกาม อานิสงส์ของ "เนขัมมะ" จะทำให้จิตใจผ่องใส มีความชุ่มเย็น มีความร่าเริงเบิกบาน ปราศจากเครื่องเศร้าหมองต่าง ๆ แล้วให้เราพิจารณาเห็นตามความจริงว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายในของเรามันไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวมันเองโดยส่วนเดียวเท่านั้น แต่มันต้องเกิดขึ้นด้วยการประกอบกันอาศัยกันกับสิ่งอื่น ๆ ต่าง ๆ เพราะถ้าเหตุปัจจัยมันเปลี่ยนแปลงไป สิ่งนั้นก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่ได้จะตั้งอยู่คงอยู่ได้ตลอดเวลา" เพ่งลงมาในกายของเรานี้ก็เหมือนกัน ไม่ได้ตั้งอยู่ด้วยตัวเองโดด ๆ  ต้องอาศัยอาหารจึงตั้งอยู่ได้ดำรงอยู่ได้ ดังนั้นความเป็นตัวของตัวเองมันจึงไม่มี มันจึงไม่ใช่ตัวของมันเองจริง ๆ ความจริงข้อนี้ให้เราสังเกตดู เราจะสังเกตเห็นความจริงในข้อนี้ได้ จิตจะต้องมีความสงบระงับบ้าง ปราศจากนิวรณ์ความเศร้าหมองต่าง ๆ  ให้มีความร่าเริงแจ่มใส ไม่ให้วุ่นวายไม่ให้ข้องขัด จิตเราดำเนินมาถึงจุดนี้แล้วให้เห็นตามความเป็นจริงว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเหตุปัจจัยเกิด อาศัยสิ่งอื่นเกิดแล้ว ถ้ามันเป็นเงื่อนไขตามธรรมดาที่เป็นมาด้วยความที่เกิดแล้ว มันก็เป็นเงื่อนไขตามธรรมดาแบบนี้มันไป  ที่ให้มันดับไปได้ เงื่อนไขตรงนี้คือความจริง ที่ถ้าเราสังเกตไม่เห็น เราก็จะมีความชุ่มย้อมยึดถือไปในกามนั้น เรียกว่า "กามุปาทาน"  เราจะรักษาไม่ให้เราไม่ประมาท ก็เริ่มต้นที่สติตั้งเอาไว้ ไม่เผลอเรอไม่หลงลืมไม่ประมาท กุศลธรรม การรักษาที่จะเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นที่ตรงนั้น การเห็นได้ตามความเป็นจริงก็เห็นได้ที่ตรงหูนั้น ที่ตานั้น ความจริงคือวิชชาก็ปรากฎขึ้นได้ ณ ที่นั้น ๆ  แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.59 , คลังพระสูตร Ep.55 , EP.15          Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
8/5/201918 minutes, 54 seconds
Episode Artwork

สิ่งที่ควรแลกมาด้วยชีวิต 6231-2m

"พุทโธ ธัมโม สังโฆ จึงเป็นอย่างเดียวกัน อยู่ในกายของเรา อยู่ในใจของเรา มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปฏิบัติตรงมาตามทางได้ก็ด้วยกายด้วยใจของเรานี้" ความลึกซึ้งในอริยสัจจุดสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามลำดับขั้น เพื่อจะทำให้มีความรู้คือญาณในอริยสัจสี่เกิดขึ้นมาได้ว่าสัจจญาณ คือ ปัญญาที่รอบรู้ความจริงในอริยสัจทั้ง 4 (รู้ว่า นี่คือทุกข์, นี่คือเหตุแห่งทุกข์, นี่คือความดับไม่เหลือซึ่งเหตุแห่งทุกข์, นี่คือทางแห่งความดับไม่เหลือซึ่งเหตุแห่งทุกข์)กิจญาณ คือ ปัญญาที่รู้กิจที่ควรทำในอริยสัจ 4  (รู้ว่า ทุกข์ ควรกำหนดรู้ , สมุทัย (ตัณหา) เป็นสิ่งที่ควรละ,  นิโรธ ควรทำให้แจ้ง และมรรค ควรทำให้มาก ควรเจริญให้มาก)กตญาณ คือ ปัญญาที่รู้แจ้งในกิจที่ควรทำในอริยสัจ 4 ได้ทำสำเร็จแล้ว ในรอบแรก เราต้องรอบรู้ในความจริงในอริยสัจทั้ง 4 แยกแยะให้ได้ ต้องรู้ดูมองให้เห็น สิ่งที่เราต้องเข้าใจต่อไปคือ หน้าที่ที่ควรทำในแต่ละข้อนั้นต่างกัน ต้องทำให้ถูกต้อง ในรอบที่ 2 นี้ จึงสำคัญในเรื่องของมรรคที่จะต้องมีการปรับสมดุลในข้อปฏิบัติของเราอยู่เสมอ ๆ และในคำสอนที่เป็น "มัชฌิมาปฏิปทา" นี้ มีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดจบอยู่ จบลงตรงที่ตัณหามันหมดแล้ว ตัณหาหมดลงตรงไหน นั้นคือจบตรงนั้น อวิชชาดับเมื่อไหร่ ความสว่างเกิดขึ้นตรงนั้น ความหมุนวนมันจะถูกตัดขาดออก เหมือนได้มาถึงที่หมายแล้ว"…สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นาน ๆ จะเกิดมาสักครั้งหนึ่ง เป็นเฉพาะพิเศษ ๆ วาระที่เฉพาะเจาะจงแล้วเท่านั้น เราอย่าพลาด! ให้คว้าโอกาสนี้ไว้เลย วาระนี้มีแค่ครั้งเดียว ชีวิตนี้เราเกิดมาแค่ครั้งเดียว เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคราวหน้าชีวิตหน้า เราจะได้เกิดหรือเกิดมาเป็นอะไร เราเกิดมาชาตินี้มีโอกาสครั้งเดียว อย่าไปคิดไกล ทุ่มเลย ถ้าเรารู้ว่าวาระนี้มีครั้งเดียว ในบท 4 คือ อริยสัจสี่นี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ให้ได้ว่ามันต้องทำให้มีการรอบรู้ มีการละ มีการทำให้แจ้ง มีการทำให้เจริญ จะเอาอะไรแลกเพื่อให้ได้ธรรม 4 อย่างนี้มา…ในเวลาที่เหลืออยู่นี้รับประกันให้ได้โดยพระพุทธเจ้าว่า "ถ้าแลกธรรมบท 4 นี้มาด้วยหนัง เอ็น กระดูก เนื้อและเลือด ได้เป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันนี้แน่ หรืออย่างน้อยก็ได้เป็นอนาคามี…ไม่ต้องต่อรอง ต้องการอะไรให้หมด จากข้างนอกคือหนัง เข้าไปถึงข้างในเป็นเนื้อและเลือด เข้าไปจนถึงกระดูก ไม่ได้จะสนใจเรื่องพวกนี้ แต่ให้สนใจดูว่า จะทำอย่างไรให้ทุกข์เรารอบรู้แล้วได้, จะทำอย่างไรให้สมุทัยคือตัณหา เราละให้มันได้, จะทำอย่างไรให้นิโรธ คือ  ตัณหาที่มันดับลงได้ ทำให้มันแจ้งขึ้นมา และจะทำอย่างไรให้เราทรงไว้ซึ่งมรรค 8 ให้ได้ตลอด เอาชาตินี้ล่ะ ท่านรับประกันไว้ให้แล้ว จะรออะไร หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ที่ถ้าเราปฏิบัติแล้วเราจะรู้เห็นได้ด้วยตัวเอง.กีฏาคิริสูตร[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญญูบุรุษ จะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้ ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายกขึ้นแสดงแล้วนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวกไหนจะเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้?ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการ ทั้งปวงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของ พระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้. คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ. สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า "เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วย เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร นั้นเสีย จักไม่มีเลย."ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม)  Ep.36, Ep.34, ใต้ร่มโพธิบท Ep.56  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/29/201930 minutes, 35 seconds
Episode Artwork

ความว่างเปล่าของขันธ์ 5 6230-2m

“…รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยต่อมน้ำ สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล. ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการใดๆ เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่าด้วยประการนั้น ๆ ก็การละธรรม 3 อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลายจงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละกายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้ว ย่อมเป็นเหยื่อแห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน.นี้เป็นความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่ เบญจขันธ์เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีในเบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติพึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.” …เผณปิณฑสูตรประเด็นสำคัญคือ เราต้องรู้ว่าจะหลีกออกคลายกำหนัดในขันธ์ทั้ง 5 นี้ได้อย่างไร? …ให้พิจารณาใคร่ครวญในเหตุเกิดของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อาศัยอะไรเกิดขึ้น ให้รู้ได้ด้วยถึงความเสื่อมของมัน เพราะว่าถ้าเหตุมันเปลี่ยนแปลงหายไปดับไป รูปนั้นก็หายไปดับไป เวทนาด้วย สัญญาด้วย สังขารด้วย และวิญญาณด้วย โดยอุปมาเปรียบในแต่ละอย่างไว้ด้วยกับ ฟองน้ำ, ต่อมน้ำ, พยับแดด, แก่นในต้นกล้วย และมายากล ซึ่งเป็นสิ่งที่หาสาระแก่นสารไม่ได้พิจารณาขันธ์ 5 มาในกายของเราด้วยสมาธิที่เกิดจากการระลึกรู้ถึงลมหายใจ ให้พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง โดยความเป็นของไม่เที่ยง, โดยความเป็นทุกข์, เป็นโรค, เป็นหัวฝี, เป็นลูกศร, เป็นความยากลำบาก, เป็นอาพาธ, เป็นดั่งของผู้อื่นให้ยืมมา, เป็นดั่งของแตกสลาย, เป็นของว่าง และเป็นของไม่ใช่ตน ให้พิจารณาเห็นโดยอนัตตลักษณะ  11 ประการนี้พระสมณโคดมท่านได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะก็เพราะ "เห็นขันธ์ 5 ตามความที่มันเป็น มีเหตุเกิดเป็นมาอย่างนี้ ตัวมันเป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือของมันเป็นอย่างนี้ และทางให้ถึงความดับไม่เหลือของมันเป็นอย่างนี้ ๆ เห็นอริยสัจทั้ง 4 ในขันธ์ทั้ง 5 ด้วยอาการอย่างนี้"แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.56 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/22/201959 minutes, 22 seconds
Episode Artwork

ระลึกถึงความเป็นภควา ผู้จำแนกแจกธรรม 6229-2m

"ถ้าเหตุของความเสื่อมยังมีอยู่ ความเสื่อมก็ปรากฏ…ธรรมทั้งหลายทั้งปวงขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย เป็นอนัตตา"…พึงเจริญพุทธานุสสติระลึกถึงคุณในข้อที่เป็น "ภควา" คือ ผู้จำแนกแจกธรรมคนที่ยังมีเหตุปัจจัยแห่งความเสื่อมอยู่ ก็จะเกิดการกลับกำเริบขึ้นได้ เช่นในเรื่องราวที่มาใน จิตตหัตถิสารปุตตสูตร พระมหาโกฏฐิตะได้ปรารภพระจิตตหัตถิสารีบุตรที่ได้พูดสอดขึ้นในระหว่างสนทนาอภิธรรม และได้กล่าวถึงว่าการที่เราไม่ทราบวาระจิตของผู้อื่น เราก็จะไม่รู้ได้ว่าจิตใจในภายในนั้นเป็นอย่างไร หรือไม่รู้แม้กระทั่งวาระจิตของตนเอง โดยได้อุปมาอุปไมยไว้อย่างล้ำเลิศถึงจิตของพระจิตตหัตถิสารีบุตรใน 6 อย่างโดยความเป็นอนัตตา ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้สึกออกไป แต่ด้วยความที่พระพุทธเจ้ามีความสามารถเห็นลึกยิ่งไปกว่านั้นว่า พระจิตตหัตถิสารีบุตรจะสามารถละตัดเหตุปัจจัยแห่งการที่จะทำให้เกิดการกำเริบนั้นได้…เหตุปัจจัยเหล่านั้นคืออวิชชา ถ้าเราไม่รู้ไม่เห็นไม่ทันมัน มันก็จะทำให้มีราคะ โทสะ โมหะเกิดขึ้นมาเบียดเบียนจิตของเราได้ให้เรามาระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าในข้อที่ท่านเป็นผู้จำแนกแจกธรรม เป็นภควา ในความสามารถที่ทรงบัญญัติธรรมจนกระทั่งมีความยอดที่สุดคือ "ความเป็นอนัตตา"…เมื่อเห็นยอด ให้เห็นทั้งตัวทั้งฐานทั้งพื้นด้วย ได้ยินได้ฟังธรรมในเรื่องอนัตตาก็ให้เห็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งหมด…ให้เอาคุณของพระพุทธเจ้ามาตั้งไว้ในดวงใจของเรา ตั้งไว้ในจิตของเรา นี้เหมือนกับพระพุทธเจ้าสถิตย์อยู่กับเรา อยู่ในใจของเรา ให้ในใจมี "พุทโธ" คำนี้หมายถึงอรหันตสัมมาสัมพุทโธ คำนี้หมายถึงเอาคุณในทุก ๆ ข้อ มีความเป็น "ภควา" เป็นที่สุด ให้อยู่ในจิตใจของเรา  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/15/201954 minutes, 13 seconds
Episode Artwork

ไตรลักษณ์คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่นิพพาน

ปฏิปทาอันเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั่นคือให้เห็นความเป็นทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง เห็นความเป็นอนัตตา เห็นไตรลักษณ์ในสิ่งที่เรารับรู้ได้ การเตรียมการให้จิตมีความเป็นสัปปายะ คือ เตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมในการที่จะจับอวิชชาได้ เริ่มมาตั้งแต่ศีลสมบูรณ์ สติ สมาธิ และปัญญา เมื่อเตรียมช่องทางคือใจให้สัปปายะมีความพร้อมแล้ว มีผัสสะมากระทบ เกิดราคะโทสะโมหะโผล่ขึ้นมา เราจะมีอำนาจเหนือมัน ดักจับมันกลับได้  ถึงจะมีผัสสะอะไรมา ถ้าในใจมีมรรคอยู่ นั่นจะเป็นช่องทางให้ราชฑูตคือสมถะวิปัสสนานำข่าวสารมาแจ้งต่อเจ้าเมืองได้ ให้รักษาสติตลอดทั้งวัน เหมือนยามที่ดี  มีสติตั้งไว้ในพุทโธตลอดเวลาจะสามารถทำความแจ้งในนิพพานให้เกิดขึ้นได้ด้วยความเป็นสัปปายะ ในการที่จะให้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตั้งแต่ตอนที่มันเกิดขึ้น ตั้งแต่ตอนที่มันตั้งอยู่ หรือแม้แต่เมื่อมันดับไปแล้ว ทำอยู่เป็นประจำจะเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/8/201958 minutes, 32 seconds
Episode Artwork

ปัญญาวิปัสสนา 6227-2m

ธรรมปฏิบัติเรื่อง "ปัญญาวิปัสสนา" โดย พระครูสิทธิปภากร (หลวงพ่อ ดร. สะอาด ฐิโตภาโส) เจ้าอาวาสวัดป่าดอนหายโศก"เห็นชัดเห็นจริงว่า กายนี้เป็นของที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด นับภพนับชาติไม่ถ้วน เห็นชัดลงไปว่า ควรปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนอันนี้เสีย ให้ละความหลง ความมัวเมาในกามทั้งหลาย ในโลกทั้งหลาย ในความวุ่นวายทั้งหลาย"จะรู้เห็นความจริงในเรื่องของทุกข์ได้ต้องฝึกปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาด้วยปัญญาโลกุตระ ปัญญาโลกุตระจะเกิดได้ก็ด้วยการมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วพิจารณาตรงไหนมันก็เห็นชัดไปหมด มันปล่อยวางได้ มันละได้ มันทอดทิ้งได้ด้วยใจ…ใจมันทิ้ง ทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณได้"เราอย่าเห็นแก่หลับแก่นอน ตื่นขึ้นมาล้างหน้าล้างตา แล้วก็นั่งสมาธิทุก ๆ วัน สมาธิก็ค่อยดีขึ้น ๆ พอสมาธิดีเต็มที่ ปัญญาก็เกิด พอปัญญาเกิด ก็ตรัสรู้ธรรมได้ บรรลุมรรคผลได้"  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
7/1/201955 minutes, 38 seconds
Episode Artwork

นักบริกรรมชั้นเลิศ 6226-2m

การนำธรรมะคือมรรค 8 นี้ ให้มันเข้าไปสู่ในจิตในใจของเรา ทำให้มีความอ่อนนุ่มอ่อนเหมาะ มีความนุ่มนวล ซึ่งเป็นลักษณะอันควรของสมาธิ  เราจึงต้องฝึกไปทำไป ทำให้เป็นบริกรรมพระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า "บริกรรม" เปรียบเทียบไว้กับการทำงานของช่างหม้อ, ช่างแกะสลัก, ช่างทอง, ช่างอัญมณี, ชาวนา และชาวเรือ ว่าเป็นการกระทำการงานให้มันครบรอบเหมาะสมครบถ้วนตามกระบวนการที่จะพัฒนาทำให้งานนั้น ๆ สำเร็จขึ้นมาได้ เช่นเดียวกันกับงานของเราที่จะต้องทำให้จิตของเรามีมรรค 8 เกิดขึ้น ซึ่งถ้ายังไม่มี ก็ต้องไปพัฒนา (ภาวนา) ทำให้มีเกิดขึ้น โดยเริ่มพัฒนาจากศีลก่อน (มีความไม่ร้อนใจเป็นพื้นฐาน) แล้วมาเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ (มีสติสัมปชัญญะ,  รู้ประมาณในการบริโภค, มีการสำรวมอินทรีย์, มีตนประกอบอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น ปรารภความเพียรอยู่เนื่องนิตย์, มีการยินดีในเสนาสนะอันสงัด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะสนับสนุนพัฒนาให้จิตของเรานั้นเริ่มที่จะระงับลง ๆ จากความคิดนึกที่เป็นไปทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เปลี่ยนจากอกุศลให้เป็นไปในทางกุศล)ค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ พัฒนาให้เป็นไปตามลำดับด้วยขั้นตอนที่ถูกต้อง ทำบริกรรมภาวนาให้มรรค 8 เกิดขึ้นแทรกซึมเข้ามาในจิตของเรา จิตนั้นจะมีความนุ่มนวลอ่อนเหมาะควรแก่การงาน มีความแจ่มแจ้งสว่างผ่องใส ไม่มีความแข็งกระด้างใด ๆ แต่จะมีศรัทธาที่เต็มเปี่ยม เป็นจิตที่เมื่อบริกรรมแล้ว เข้ากันแล้ว พร้อมแล้ว เหมาะแล้วที่จะเกิดปัญญาเพื่อชำแรกกิเลส ทำให้พิจารณาเห็นตามความจริงในอริยสัจ 4 พร้อมแล้วที่จะละความยึดถือ ละอาสวะ ละอวิชชา พร้อมแล้วที่จะทำวิชชาให้เกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้งได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/24/201957 minutes, 25 seconds
Episode Artwork

ละความกำหนัดในเพศตรงข้ามโดย 3 ขั้นตอน 6225-2m

"…อย่าให้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าให้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ พึงปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย ถ้าเผื่อว่าเราไม่สำรวมแล้ว จะมีความเพ่งเล็งคืออภิชฌา มีความโทมนัสคือความไม่ยินดีพอใจเกิดขึ้นได้…ให้การรับรู้ของเรามีสติตั้งไว้อยู่ตลอด "วิธีละความกำหนัดยินดีพอใจใน 3 ขั้นตอนนี้ เป็นเรื่องราวที่มาใน ภารทวาชสูตร โดยพระปิณโฑลภารทวาชะได้กล่าวบอกไว้กับพระเจ้าอุเทน ปรารภคำถามที่ว่า จะทำอย่างไรไม่ให้ราคะมาเสียดแทงจิตใจของเราเกิดความกำหนัดยินดีพอใจไปในเพศตรงข้าม?  โดยมาเริ่มตั้งสติขึ้นก่อน การระลึกได้คือการดึงเบรคเอาไว้ก่อน แทนที่จะปล่อยจิตใจให้ไปตามความกำหนัดยินดีหรือความไม่พอใจใด ๆ ที่เกิดขึ้นทันที โดยให้ระลึกมาใน 3 ขั้นตอน1) พิจารณาโดยตั้งเป็นนิมิตในการเห็นบุคคล แบ่งเป็นกลุ่มตามช่วงอายุ ถ้าผู้นั้นมีอายุมากกว่ามาก ให้พิจารณาโดยความเป็นพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ที่มีอุปการะแก่เรามาก่อน, อายุใกล้เคียงกัน ให้พิจารณาโดยความเป็นพี่น้อง, อายุน้อยกว่ามาก ให้พิจารณาโดยความเป็นลูกหลาน เมื่อระลึกนึกถึงไปอย่างนี้จิตใจของเราก็จะนุ่มนวลลงทันที ด้วยความดีที่เราระลึกได้ ความกำหนัดมันจะระงับลงไปได้2) เพราะด้วยความที่จิตมีธรรมชาติเป็นของโลเล ทำให้ลืมไป ระลึกในนิมิตไม่ได้ ทำให้กามราคะแทรกซึมเข้ามา เพราะด้วยความเป็นอนุพยัญชนะ (มาในรายละเอียด; ความสวยความหล่อ รูปร่างผิวพรรณดี อุปนิสัยวาจาดี แต่งตัวดี) จึงต้องมาแยกแยะอนุพยัญชนะ คือ การพิจารณาอสุภะ ให้เห็นความเป็นจริงในกายนี้ทั้งภายในและภายนอกว่า เป็นของไม่สวยงาม เป็นของไม่สะอาดสกปรกปฏิกูล เป็นของรังโรค ความกำหนัดมันจะระงับลงได้ ละไปได้ ทำให้การกระทำทางกายวาจาและใจ ยังอยู่ในขอบเขตของศีล3) ข้อสำคัญคือเราต้องรักษาจิตของเราให้ดี กาย วาจา ศีล จิตใจ ปัญญาจึงต้องได้รับการอบรม แต่ในบางครั้งมันเผลอเพลินไป จะทำอย่างไรไม่ให้จิตของเราไปตามอารมณ์ที่เห็นว่างามนั้น?…พึงมีการสำรวมอินทรีย์ในลักษณะที่จะไม่เห็นโดยนิมิตหรือโดยอนุพยัญชนะ ไม่ให้ความเพ่งเล็งไม่ให้ความไม่พอใจเกิดขึ้น จึงต้องให้การรับรู้ (วิญญาณ) ของเรามีสติตั้งไว้ตลอด เปรียบเหมือนกับผู้รักษาทวาร (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ)  ถ้าสติที่มีความฉลาด มีกำลัง จะสามารถระลึกได้ หยุดได้ ถอยได้ ไม่ไปตามโดยนิมิตหรือโดยอนุพยัญชนะ รู้ก็สักแต่ว่ารู้ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ละความพอใจไม่พอใจออกไปได้ ตรงนี้คือมีสติเกิดขึ้นในใจ ไม่ให้ตามไปในอารมณ์นั้น จะรักษาทวารเอาไว้ได้สรุป พิจารณาทำตามปฏิบัติตามใน 3 ขั้นตอนข้างต้นนี้ ทำซ้ำทำย้ำ พิจารณาอยู่เรื่อย ๆ  ทำอยู่บ่อย ๆ จะมีความชำนาญเกิดขึ้น ธรรมะเหล่านี้จะเข้าไปสู่ใจได้ ความกำหนัดพอใจในเพศตรงข้ามมันจะค่อย ๆ ระงับลง ๆ เบาบางลง ๆ และละไปได้ในที่สุดแนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.40 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/17/20191 hour, 51 seconds
Episode Artwork

เจริญสติปัฏฐาน 4 โดยวิธี 3 6224-2m

“ภิกษุ ท.! เมื่อศีลของเธอบริสุทธิ์หมดจด ทิฏฐิของเธอไปตรงแล้ว, เธอจงอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จงเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ โดยวิธีทั้งสาม เถิด”…ภิกขุสูตร [๖๘๗]พระพุทธเจ้าตรัสแจกแจงสอนสติปัฏฐาน (ฐานที่ตั้งให้เกิดสติ) ซึ่งเป็นธรรมอันเอกนี้เพื่อให้เกิดการทำการปฏิบัติ ใช้ในการตั้งสติ ดำรงสติขึ้นไว้เฉพาะหน้า แล้วมาระลึกนึกถึง พิจารณามาใน 4 หัวข้อนี้ในลักษณะที่เป็นสัมมาสติ ให้เป็นลักษณะที่ความเพ่งเล็ง (อภิชฌา) และความเศร้าหมองใจ (โทมนัส) จะตั้งอยู่ไม่ได้ ให้กำจัดออกไปจากใจให้ได้เห็นกายในกาย พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงของกายนี้ ที่ประกอบกันด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่ว่าส่วนไหนก็ตาม มีถุงหนังห่อหุ้ม เต็มไปด้วยของไม่สะอาดเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย พิจารณาเห็นเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดจากผัสสะ โดยมีการรับรู้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มีการปรุงแต่งเป็นความรู้สึกเกิดขึ้นเป็นสุขเวทนา เป็นทุกขเวทนา หรือเป็นอทุกขมสุขเวทนาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นจิตที่ถ้ามีความนึกคิดมีความวิตกแล้ว มีราคะ โทสะ โมหะเกิดขึ้น เป็นจิตวุ่นวาย เป็นกังวล ฟุ้งซ่านขึ้น มีความกำหนัดยินดีไปในกาม หรือเป็นจิตที่สงบ เป็นอารมณ์อันเดียวเห็นธรรมในธรรม พิจารณาในข้อธรรมะต่าง ๆ ส่งเป็นกระแสธรรมให้เห็นไปตามความเป็นจริงในธรรมะนั้น ๆให้ฝึกทำฝึกพิจารณาในแต่ละหัวข้อข้างต้น โดย ทำในวิธีการ 3 อย่าง คือ อันเป็นภายใน (เห็นภายในกายของเรา), อันเป็นภายนอก (เห็นสิ่งภายนอกที่ออกนอกกรอบกายของเราไป) และอันเป็นทั้งภายในทั้งภายนอก (เห็นทั้งสองอย่าง)  ฝึกพิจารณาให้ชำนาญทั้งในภายในตัวเราเองก็ตาม ทั้งภายนอกของคนอื่นก็ตาม หรือทั้งภายในภายนอกสลับกันไปมา จะทำให้จิตใจของเรามีความกว้างขวางออกไป ให้เราตั้งสติของเราไว้อย่างนี้ ไม่ว่าจะทำอยู่ในที่สงบเงียบ ขณะทำกิจการงาน ขณะเดินทาง หรือขณะพูดคุยกัน ทำได้หมด ค่อย ๆ ปรับไปตามกระบวนการของมัน จะสามารถทำให้เป็นธรรมชาติอย่างต่อเนื่องได้ตลอดทั้งวัน  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/10/201951 minutes, 48 seconds
Episode Artwork

ยอดอาชาไนยด้วยธัมมานุสสติ 6223-2m

คุณสมบัติของม้าที่ฝึกดีแล้ว หนึ่งในข้อนั้นคือความเป็นวงศ์ของพญาม้า คือทำตัวให้สมกับความเป็นยอดม้า ยอดของม้าจะไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะตรงที่ตัวเองนั่งหรือนอน เช่นเดียวกันกับสาวกในธรรมวินัยนี้ ไปอยู่ที่ไหนจะไม่คายสิ่งที่เป็นปฏิกูลเอาไว้ สิ่งที่เป็นปฏิกูลคือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ให้ทิ้งราคะ โทสะ โมหะด้วยสติ สติที่ระลึกถึงธรรมะถ้าเราทำสติให้มีกำลัง มีการประคับประคองไว้ให้ดี ทำอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ฝึกให้ในใจมี "ธัมมานุสสติ" ทำอะไรให้มีการระลึกถึงธรรมะอยู่เสมอ ๆ ธรรมะจะเป็นเหมือนกับอาวุธ ทางที่เดินไปก็จะงดงามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
6/3/201935 seconds
Episode Artwork

กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก 6222-2m

ด้วยอำนาจของสติที่เราตั้งอยู่ในกายนี้ เห็นกายตามความเป็นจริงว่า "กายนี้มีโทษมาก มีทุกข์มาก" เห็นแล้วละความยึดถือในกายนี้เสีย วางความยึดถือในกายนี้เสีย ทิ้งความยึดถือในกายนี้เสีย กายที่มันเน่า กายที่มันมีโทษ ไม่ได้มีค่าแก่ความที่เราจะไปยึดถือไว้เลย ยึดถือไม่ได้ เห็นความจริงแค่นี้ ความยึดถือร่วงผล๊อยลงไปทันที อัตโนมัติเลย อัตโนมัติด้วยความจริงจากสติที่ตั้งไว้คืบคลานไปด้วยอำนาจของสติ ด้วยอำนาจของมรรค เปิดช่องทางออก มีความทุกข์อยู่ทำให้วิชชาเกิดขึ้น อย่าโง่ มีความทุกข์อยู่อย่าให้อวิชชามันเกิด อย่าจมอยู่ในกองทุกข์นั้น มีความทุกข์อยู่แล้ว เปิดช่องให้วิชชาเกิดด้วยอริยมรรคมีองค์แปด เริ่มจากการที่ตั้งสติให้อยู่ในกาย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/27/201956 minutes, 40 seconds
Episode Artwork

มีพุทโธแล้ววิปัสสนา ไม่มัวเมา 6221-2m

พุทโธมีอยู่ ให้รวมกันมาอยู่ที่ใจให้ได้ ในใจมีความสำคัญ จะให้มีพุทโธเกิดขึ้นในใจ ต้องอาศัยสติ สติจะมีวิมุตติเป็นที่แล่นไปสู่ วิมุตติคือความพ้น นี่คือตื่นแล้ว ตื่นบ้างเป็นบางครั้งบางคราว ทำอยู่เรื่อย ๆ ก็จะมีนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่เจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงพุทโธเป็นธงเอาไว้ ให้จิตใจของเรามียอดธงตั้งขึ้น เจริญสมถะวิปัสสนา พิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองไป ตามเส้นทางที่ท่านเดินมา เราเดินไปตามทางนั้น ไม่เว้นระยะห่าง เราไปได้แน่นอนTime Index[2.03] มีสติด้วย”พุทโธ”[7.46] เจริญสมถะด้วยการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าโดยเริ่มจากพุทโธ[14.25] ในใจให้มียอดธง คือ พุทโธ[18.29] เจริญวิปัสสนาด้วยพุทโธ คือ การตื่นจากความไม่ประมาท ความมัวเมาในชีวิต การเตือน และการตื่น[36.50] ผู้ที่ 80 ปี ก็ยังอยู่ผาสุก[49.57] พุทโธอยู่ในทุกสิ่ง รวมให้อยู่ในใจด้วยสติ เดินตามทางท่าน จะได้ชื่อว่าไม่ไกลจากพระพุทธเจ้า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/20/201953 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

ธัมมุทเทส 4 ธรรมะที่ทำให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท

เห็นธรรมะอะไรจนทำให้ผู้ที่เพียบพร้อมในทางวัตถุกามสามารถละและออกบวชได้ เป็นคำถามที่พระเจ้าโกรัพยะถามท่านรัฐปาละ คำถามเดียวกันย้อนมาที่ปัจจุบันว่า ธรรมะอะไรที่ทำให้คนที่ยังสบายดี ไม่มีความเสื่อมของญาติหรือโภคทรัพย์ หันมาปฏิบัติธรรมฟังธรรม ธัมมุทเทส 4 คือ ธรรมะที่เมื่อมีแล้วใคร่ครวญแล้ว จะทำให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท สามารถเดินตามมรรค 8 จนกระทั่งทำที่สุดแห่งทุกข์ได้  ได้แก่โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน (ภัยแห่งความแก่)โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน (ความเป็นอนัตตา)โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป (เป็นเพียงสิ่งที่เขาให้ยืมมา)โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา (ตัณหาเป็นเครือข่ายครอบคลุมโลก) Time Index [00.25] เริ่มปฏิบัติให้ธรรมะเข้าสู่ใจ อุดรูรั่วของจิตคือนิวรณ์ด้วยการตั้งสติ [06.12] อะไรเป็นเหตุให้มาปฏิบัติธรรม แก่ เจ็บ หาย ญาติตาย [16.25] คำถามเดียวกันที่ตอบด้วยธัมมุทเทส4 ธรรมที่ทำให้ เราจะตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท [23.17] โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน คือเห็นภัยแห่งความแก่ ความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุ [28.04] โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน คือ ความเป็นอนัตตา [38.18] โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป เป็นของที่เขาให้ยืม แม้แต่พระพระพุทธเจ้าก็ต้องละศีลสมาธิปัญญาไว้ มีแต่กายที่แตกดับ เป็นนาฬิกาปลุกชั้นเลิศ [45.37] โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา คือ ถ้าเราทำตามอำนาจของตัณหา ไม่มีทางเต็ม แล้วเราทำเพื่ออะไร ทางออกอยู่ที่ไหน ที่มรรค8 [54.32] ธัมมุทเทส 4ข้อที่เมื่อเราพิจารณาใคร่ครวญอยู่อย่างเต็มที่ดีแล้ว เราจะเห็นว่า ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/13/201956 minutes, 48 seconds
Episode Artwork

เจริญกายคตาสติเพื่อความหลุดพ้น 6219-2m

กายอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น มีอยู่ดำรงอยู่ได้ชั่วเวลาที่เหตุปัจจัยนั้นมันยังคงมีอยู่ ถ้าเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไป กายนี้ก็เสื่อมไป ไม่เหลืออะไร แยกไปตามธาตุ ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา เป็นเงื่อนไขที่ต้องยอมรับ ต้องทำความเข้าใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ความรู้คือญาณนี้ต่างหากที่ต้องทำเกิดขึ้น ความสงบระงับแห่งสังขารนี้ได้ต่างหากเล่าจึงจะเป็นสุขอันเกษมเห็นความจริง แล้วจะหน่าย คลายกำหนัด วางความยึดถือในกายนี้ได้ วางความยึดถือ จิตให้อยู่กับสติ สติอยู่ในกาย ตั้งสติไว้ในกายให้เห็นตามความเป็นจริงTime Index[00.52] เริ่มการปฏิบัติ ตั้งสติไว้ในกาย[16.07] ไล่ไปตามกระดูก กายนี้มีกระดูกเป็นโครง มีหลายชิ้นต่อกัน จากกระโหลกศรีษะจนถึงกระดูกปลายเท้า ยึดโยงกันด้วยเส้นเอ็น ทุกคนเหมือนกันหมด[28.47] จิตของเรายึดกายนี้ด้วยความเป็นตัวตน ส่องกระจกให้สะท้อนถึงกระดูก[39.10] กายอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ถ้าเหตุถ้าปัจจัยเปลี่ยนแปลงไป กายนี้ก็เสื่อมไป ไม่เหลืออะไร แยกไปตามธาตุ ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา[42.43] อย่าหลง อย่าเพลิน อย่าเข้าใจผิด แต่ให้เกิดปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา[51.33] วางความยึดถือ จิตให้อยู่กับสติ สติอยู่ในกาย ตั้งสติไว้ในกายให้เห็นตามความเป็นจริง นี้เรียกว่ากายคตาสติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5/6/201953 minutes, 47 seconds
Episode Artwork

แยกแยะได้ด้วยอำนาจของสติ 6218-2m

ฝึกจิตโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ เอาลมหายใจตั้งขึ้นไว้ เอาจิตมารับรู้ สติเกิดขึ้นทันที สติ จิต ลมหายใจอยู่ด้วยกัน สติที่เกิดขึ้นจะทำให้จิตนุ่มนวลลงละเอียดลง มีความแจ่มใสขึ้น จิตที่ละเอียดจะเห็นได้ว่าในช่องทางคือใจนี้มีหลายอย่าง ทั้งสัญญา วิญญาณ ธรรมารมณ์ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แยกแยะออกมาด้วยอำนาจของสติ แยกแยะแล้วจะเห็นความที่มันพ้นจากกัน นั่นคือวิมุตติ วิมุตติจึงเกิดขึ้นอันเป็นผลของสติที่ตั้งเอาไว้เมื่อตั้งสติเอาไว้ได้ มีผัสสะมากระทบให้ตั้งจิตเปรียบดั่งดิน อากาศ น้ำ และแผ่นหนัง ตั้งสติไว้กับเมตตาแผ่สวนกระแสไป ด้วยจิตที่ละเอียดเราจะแยกแยะได้ สิ่งนั้นจะไม่เข้ามาในจิตของเรา กิเลสอกุศลจะเข้ามาเกาะจิตที่ละเอียดไม่ได้ จะไกลกันแยกกันไปTime Index[03.06] เริ่มต้นการปฏิบัติ โดยการระลึกรู้อยู่กับลมหายใจที่ปริมุขขัง [09.15] มโนสังขารกับธรรมารมณ์ละเอียดเหมือนกัน แต่เป็นคนละอย่างกัน ไม่เหมือนกัน[14.52] พอมาอยู่กับลมหายใจ จะแยกแยะออกว่า ความคิดไม่ใช่จิต การรับรู้ไม่ใช่ความคิดเป็นวิญญาณ การรับรู้กับสิ่งที่ไปรับรู้คนละอย่างกัน สัญญาไม่ใช่ตัวเรา เป็นขันธ์5 มีเหตุมีปัจจัย[16.11] สัญญากับวิญญาณไม่ใช่ตัวเดียวกัน ถ้าจิตละเอียดจะแยกแยะได้ ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ก็แยกออกเป็น 2 ส่วน คือฝ่ายกุศลธรรมและฝ่ายอกุศลธรรม[19.33] จิตละเอียดเล็กลง ๆ แจ่มใสขึ้น ๆ เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทำให้ชัดเจนแยกแยะได้ว่าในช่องทางคือใจมีหลายอย่าง แยกแยะออกด้วย สติ บุคคลที่มีสัมมาสติแล้ว สัมมาสมาธิจะเกิดขึ้นได้[25.45] วิธีละอกุศล จะละได้ต้องมีปัญญาเห็นโทษของมัน[30.19] พิจารณาตั้งจิตเปรียบเหมือนแผ่นดิน อากาศ ผืนน้ำ แผ่นหนัง[41.21] จิตที่ละเอียด กิเลสอกุศลเกาะไม่ได้ เกาะไม่ได้ก็ไกลกัน[43.48] อ่านพระสูตร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/29/201953 minutes, 59 seconds
Episode Artwork

เมื่อเข้าใจความคิดความตริตรึกจะพ้นทุกข์

ฟังตอนนี้แล้วต้องตอบได้ว่าความคิดนึกที่เกิดขึ้นในช่องทางคือใจ นี่มันไม่ใช่ของฉัน คือมันเป็นสัญญา เป็นความหมายรู้ที่เกิดขึ้นภายนอก ความคิดไม่ดีนี้เป็นกามสัญญา เป็นพยาบาทสัญญา ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นจากในจิตของเรา ไม่ใช่จิตตสังขาร แต่เป็นแค่ธรรมารมณ์ ต่างก็เกิดขึ้นในช่องทางคือใจ ถ้าเข้าใจว่ามันเป็นสัญญา ตรงนี้แหละเราจะหยุดมันได้ Time Index [01.17] เข้าใจธรรมด้วยการปฏิบัติ เริ่มด้วยการตั้งสติ สติปัฏฐาน4 [13.36] อนุสติ10 [17.50] เริ่มเรื่องความคิดนึก [20.34] จัดหมวดหมู่ออกเป็น 2 ส่วน คือ กุศลธรรมส่วนนึงมี 3 ข้อ อกุศลธรรมก็อีกส่วนนึงมี 3 ข้อ เช่นกัน [25.55] แบ่งออกโดยลักษณะของ 2 ส่วน จัดเป็นหมวดหมู่ตามเรื่องของกาม พยาบาท เบียดเบียน [30.03] ทำไมมีความคิดดีหรือไม่ดีเกิดขึ้น [34.04] ทั้งฝ่ายกุศลหรืออกุศลล้วนมีธาตุของมัน เพราะมีธาตุจึงมีความหมายรู้คือสัญญา หมายรู้ว่ามีอยู่ในโลก หมายรู้ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่ง ไม่ใช่กรรมของเรา สิ่งที่รับรู้นั้นคือธรรมารมณ์ ไม่ใช่จิตตสังขาร [39.18] จากสัญญาอาจเปลี่ยนเป็นสังกัปปะ เพราะอาศัยกามสัญญาจึงเกิดมีกามสังกัปปะ จากสังกัปปะก็จะมีฉันทะ กามฉันทะเป็นความเร่าร้อน แล้วจึงเกิดการแสวงหากาม/พยาบาท/เบียดเบียน แสวงหาด้วยกาย วาจา ใจ [43.59] การแสวงหาเริ่มจากในใจก่อนแล้วมาทางวาจา กาย คืบคลานเนียน ๆ ไล่จากกามธาตุ มาเป็นกามสัญญา กามสังกัปปะ ฉันทะ แสวงหา (พยาบาทและเบียดเบียนก็เช่นกัน) [48.05] รู้เขารู้เรา พอเข้าใจในเรื่องโครงสร้างฝ่ายไม่ดีแล้วจะแก้ไขได้ ถ้ารู้ว่าเป็นแค่สัญญา เราจะหยุดมันได้ เพราะตริตรึกไปทางไหน จะทำให้สิ่งนั้นมีพลัง เราจะให้กำลังแก่ฝ่ายไหน [58.21 ธรรมารมณ์กับสังขารแยกกันได้ ไม่ใช่ตัวเดียวกัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/22/20191 hour, 18 seconds
Episode Artwork

เหตุปัจจัยแห่งความตายมีมาก มรณสติ 6216-2m

เหตุปัจจัยแห่งการตายมีมาก ให้เราระลึกว่ายังมีอกุศลในใจหรือไม่ ถ้ามีให้ละเสีย ถ้าไม่มีให้อยู่ด้วยปิติและปราโมทย์นั้น ให้จิตตั้งอยู่กับสติ รักษาไว้ให้ดีดั่งมีเพชรฆาตคอยตามปั่นคอ การรักษานี้คือการสำรวมอินทรีย์ เราต้องฝึกสติไว้ตอนนี้ เพื่อที่ว่าเมื่อถึงตอนนั้นเราจะยังมีความผาสุกอยู่ได้  “ทำตอนนี้เพื่อที่ว่าตอนนั้นจะได้ไม่ร้อนใจ”วิธีพิจารณาความตายอีกอย่างหนึ่งคือเรานั้นสำคัญจริงหรือ “ตัวตนความสำคัญ อะไรที่เป็นอัตตา มันไม่มี ถ้าเราพิจารณาความตายอยู่เรื่อย ๆ  ความมัวเมาในชีวิตจะละไปได้”Time Index[00.02] มีสติไว้จัดระเบียบของใจ[11.52] เริ่มการพิจารณาให้สติอยู่กับลม[18.42] เหตุปัจจัยแห่งความตายมีมาก[20.35] ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร[33.44] รักษาสติให้ดี ดั่งมีเพชรฆาตคอยตามปั่นคอ[38.42] สติปัฏฐานทั้ง 4 เป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์[40.33] คนมีบุญเพราะได้มายาก (เต่าตาบอด)[43.17] เจริญมรณสติคู่ไปกับอนุสติทั้ง10 ตัวเรานั้นสำคัญจริงหรือ[50:00] ธิดานายช่างทอหูกคือตัวอย่างที่ดีในการเจิญมรณาสติ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/15/201955 minutes, 30 seconds
Episode Artwork

นิวรณ์ทำให้มืด 6215-2m

สมาธิ กับ นิวรณ์ มันเป็นของที่เข้ากันไม่ได้  อันใดอันหนึ่งอยู่ อีกอันหนึ่งต้องไป ถ้าจะอยู่ทั้ง 2 อัน ก็ต้องอยู่คนละขั้วนิวรณ์ คือ เครื่องกางกั้น ทำให้จิตไม่รวมลงเป็นสมาธิมี 5 อย่าง คือ อุทัจจะกุกุจจะ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา วิธีแก้ คือ อนุสสติทั้ง 10Time Index[05.00] นิวรณ์ [10.29] อุทธัจจะ กุกุจจะ [20.15] กามฉันทะ [27.22] พยาบาท [32.24] ถีนมิทธะ [38.25] วิจิกิจฉา [43.50] ทางแก้ ระลึกถึงอนุสติ10  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/8/201952 minutes, 47 seconds
Episode Artwork

กามมีคุณน้อยมีโทษมาก 6214-2m

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยหลายแง่หลายมุมว่า กามทั้งหลาย มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีเรื่องทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ควรเปรียบเทียบด้วยท่อนแห่งกระดูก, ควรเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ , ควรเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า, ควรเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง, ควรเปรียบด้วยความฝัน, ควรเปรียบด้วยของยืม, ควรเปรียบด้วยผลไม้, ควรเปรียบด้วยเขียงสับเนื้อ . ควรเปรียบด้วยหอกและหลาว, และควรเปรียบด้วยหัวงูพิษ… (ความอร่อยที่ไม่คุ้มกับความทุกข์)เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ. ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจแล้ว, เขาเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการแตกสลายแห่งกาย…(ทุกข์โทษที่เกิดจากกาม)ถ้าเราเห็นโทษของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เราจะละกามนี้ได้ เราจะสลัดมันออกไปจากจิตใจของเราได้ เริ่มต้นตั้งสติเอาไว้ มีสมาธิตั้งเอาไว้ เมื่อมีผัสสะมากระทบ มันไม่ได้กระเทือน ไม่ได้ทำให้เรามีกามสุขเกิดขึ้นได้ เพราะว่าเรามีสุขจากสมาธิ มีสุขจากภายในแล้วนั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
4/1/201950 minutes, 37 seconds
Episode Artwork

กาย ความจริงที่ควรเห็น 6213-2m

สัมมาทิฏฐิจะช่วยให้เห็นตามความเป็นจริงตัวเรานี้ประกอบด้วยกายและใจเห็นให้ถูกต้องในกาย โดยเห็นเป็นของไม่สวยงาม ไม่น่ายินดี เป็นปฏิกูล พิจารณาไปในกาย แยกออกเป็นกองเป็นส่วน ๆ เห็นความเป็นอาพาธในแต่ละส่วนนั้น ๆจะละความยึดถือในกายได้ ต้องพิจารณาว่าเป็นของไม่สวยงามไม่น่ายินดี พิจารณาไปเรื่อย ๆ บ่อย ๆ ทำซ้ำ ๆ ความยึดถือจะอ่อนกำลังลง วิชชาจะเกิดขึ้นได้ การพิจารณามาตามลำดับแบบนี้นั่นคือการเดินตามมรรคแล้ว“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง ๒ ข้าง เต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด คือ ข้าวสาลีข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสารฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แลข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้”…กายคตาสติสูตร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/25/201955 minutes, 54 seconds
Episode Artwork

เห็นอนัตตามาในกายด้วยมรรค 6212-2m

กายนี้มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งกันมาจึงเกิดขึ้นได้ มีความเป็นอนัตตาชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจที่ถูกต้องว่า การที่เข้าใจว่ากายนี้เราควบคุมได้นั้น เป็นการเข้าใจที่ผิด ตามจริงแล้วเพราะอาศัยสิ่งอื่นปรุงแต่งกันมาจึงเกิดขึ้นได้ เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ในสิ่งที่เป็นสมมุติบัญญัติก็เช่นกัน เราไม่สามารถควบคุมได้ตลอดเวลา ควบคุมได้ก็ตามแต่เหตุปัจจัยอนุญาตเท่านั้นเมื่อไหร่ที่เรามีความพอใจในกาย ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราของเราจะเกิดขึ้นตรงนั้น เกิดความยึดถือขึ้น เมื่อมีเวทนาจะมีความยึดถือในกาย ทั้งหมดนี้พิจารณาไล่มาตามหลักของปฏิจจสมุปปบาทการเดินตามมรรคแปดจะทำให้เกิดวิชชาได้ เกิดความรู้ได้ โดยตั้งสติไว้ในกาย เห็นความเป็นอนัตตาในกาย ทำบ่อยๆจะพ้นทุกข์ได้เรายึดถือตรงไหน ปรุงแต่งกันตรงไหน เราจะไม่ยึดถือได้วางได้ ไม่ปรุงแต่งได้ ก็ตรงนั้น ตรงไหนที่พูดถึงนี้ ก็ตรงกายของเรา เจริญมรรคแปดอยู่ในกายของเรา ตั้งสติไว้ในกาย ระลึกไปตามกาย ให้ห็นกายของเราตามความเป็นจริง โดยความเป็นอนัตตา และเห็นเช่นนี้ในสิ่งอื่น ๆ ด้วย…ตั้งสติไว้ในกาย เห็นความเป็นอนัตตาในกาย เราจะสามารถเป็นอิสระจากความทุกข์นี้ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/18/201953 minutes, 10 seconds
Episode Artwork

ตริตรึกด้วยปัญญา 6211-2m

ตัณหาตัวปัญหาทำความเข้าใจเรื่องขันธ์ห้าความแตกต่างระหว่างทุกขอริยสัจและทุกขสมุทัยอริยสัจที่ว่า ทุกข์หรือขันธ์ห้าควรทำความเข้าใจ ตัณหาควรละคิดถึงทุกข์ไม่ใช่ตามอารมณ์ของความทุกข์ แยกแยะตริตรึกออกให้ดีให้ถูกต้อง เพราะ “บุคคลตริตรึกถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปด้วยอาการอย่างนั้นๆ”  คือถ้าตริตรึกไปทางไหนมากจะทำให้สิ่งนั้นมีกำลังตามพระสูตรเทวธาวิตักกสูตร คือให้แบ่งความตริตรึกให้ถูก เมื่อตริตรึกถูก จะแยกส่วนที่เป็นทุกข์คือขันธ์ห้ากับตัณหาที่เป็นส่วนของเหตุให้เกิดทุกข์ออกจากกันได้ เมื่อเห็นทุกข์ ให้เห็นถึงเหตุเกิดทุกข์นั้นโดยความเป็นอนัตตา เห็นด้วยปัญญา มรรคเกิดตรงนั้นทันที มรรคอยู่ตรงไหนคือความพ้น ทุกข์หลุดออกจากกันได้ก็เกิดขึ้นที่ตรงนั้น จึงให้ตริตรึกไปตามทางมรรคเราจะมาคิดถึงทุกข์ ไม่ใช่ว่าเราไปตามอารมณ์ของความทุกข์นั้น ถ้าเราไปตามอารมณ์ของความทุกข์นั้น คุณยิ่งทุกข์มากแน่นอน ที่พระพุทธเจ้าท่านให้คิดนึกถึงความทุกข์คือ ให้ทำหน้าที่ในทุกข์ให้ถูกต้อง ไม่ใช่ตามทุกข์ ไม่ใช่ตามตัณหา แต่ให้เข้าใจความทุกข์นี้ว่า ทุกข์นี้มีเหตุมีปัจจัยมา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/11/201953 minutes, 34 seconds
Episode Artwork

มรณานุสติ เข้าใจความตายเพื่อละความเกิด 6210-2m

เข้าใจว่า ความตายความเกิดเพราะมีเหตุปัจจัยของมัน เป็นของไม่เที่ยงความตายในส่วนที่เป็นมรรค ระลึกถึงความตายแล้วให้จบลงที่กุศลธรรมฟังเรื่องธิดานายช่างทอหูก ธิดาผู้ระลึกถึงความตาย กับบิดาที่ความตายของลูกทำให้ถึงธรรมถ้าเราเข้าใจเรื่องความตายไม่ถูกเราจะทุกข์มาก ถ้าเข้าใจถูก จะออกจากทุกข์ได้ พ้นทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มะระณัมปิ ทุกขัง แม้ความตายก็เป็นทุกข์”กับคำกล่าวที่ว่า “ความตายนี้เที่ยงแท้แน่นอน ใครเกิดมาแล้วต้องตาย” นั่นคือความตายที่อยู่ในส่วนของทุกขอริยสัจ…ใช่ ถ้ามีการตายต้องมีการเกิด แต่ความตายนี้เราต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมคือ “ความตายเป็นของไม่เที่ยง…“ชรา มรณัง อนิจจัง”ถ้ามีเหตุเกิดมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันมาแล้ว มีเหตุแล้ว ผลก็ต้องมี อะไรเป็นเหตุของความแก่และความตาย คำตอบคือการเกิด ถ้ามีการเกิดแล้วความแก่และความตายย่อมมี เพราะมันเป็นการปรุงแต่งเป็นสังขตธรรมมาแบบนี้ มันจึงมีความแน่นอนในความที่มันมีเหตุปรุงแต่งกันมาแล้ว ด้วยการอาศัยการปรุงแต่งนี้ ถ้าเหตุดับ ผลก็ต้องดับ ถ้าการเกิดดับไป การแก่และการตายก็ต้องดับไป พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า “แม้ความแก่และความตายก็ไม่เที่ยง เป็นของไม่เที่ยง”ความแก่ความตายที่เป็นส่วนในความทุกข์นั้น คือไม่เที่ยงอยู่แล้ว เพราะว่าทุกข์เป็นของที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ถ้าเรามีความเข้าใจในสิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์แล้ว ทำให้เกิดการพ้นทุกข์ได้ นี่เป็นส่วนที่ 2 ที่ความตายนั้นเป็นมรรค เป็นทางที่ดี Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
3/4/201952 minutes, 17 seconds
Episode Artwork

ความแตกต่างระหว่างขันธ์ 5 กับอริยมรรคมีองค์ 8

ความหมายและกิจที่ควรทำแต่ละข้อในอริยสัจ 4ขันธ์ 5 และมรรค 8 มีส่วนที่ปนกันอยู่ ที่เมื่อสามารถเห็นแยกแยะโดยแยบคายจะเห็นมรรคแปดในขันธ์ห้าได้ เกิดการแยกออกจากกันได้ พ้นได้  (เจริญมรรคเพื่อเข้าใจในขันธ์ห้า)มรรคแปด กิจที่ควรทำคือทำให้มากทำให้เจริญ, ขันธ์ 5 คือทุกข์ ต้องทำความเข้าใจ, อุปาทานในขันธ์ทั้งห้าต้องละ เมื่อละอุปาทานในขันธ์ทั้งห้าได้ ขันธ์ 5 นั้นก็ถือว่าละไปด้วย เหมือนมะม่วงที่หลุดจากขั้ว ในขันธ์ 5 ถ้าเราทำความเข้าใจแล้ว เราจะแยกมรรคแปดออกมาได้ เราทุกข์ที่ไหน เราทุกข์ที่ขันธ์ 5 เราก็อาศัยขันธ์ 5 ทำให้มรรคเกิด อย่าเอาสติไปรวมอยู่ในกองขันธ์ 5 เพราะจะทำให้เราทุกข์มากขึ้น แต่ให้เอาสติสมาธิแยกออกมาเป็นมรรค…มรรคหมายถึงทางที่จะทำให้ถึงนิพพานได้…มรรคแปดก็อยู่ในขันธ์ห้านี้ แยกแยะให้ได้ ทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นในขันธ์ห้า นั่นคืออริยสัจสี่ในข้อที่ 1 ที่ถูกต้องแล้วว่า กิจที่ควรทำในขันธ์ห้าคือ ความทุกข์ที่ต้องทำความเข้าใจ คุณเข้าใจถูกต้องในขันธ์ห้าแล้ว มันเป็นทางอัตโนมัติให้ออกมาในมรรคแปดทันที แยกออกมาทางขวาทันที พอแยกออกไป ๆ ขันธ์ห้าจะอยู่ไม่ได้ มันแยกออกจากกันแล้ว มันเริ่มฉีกขาด เริ่มละกันได้แล้ว เหมือนตัดขั้วมะม่วง แยกแยะให้เข้าใจถูกต้องนั่นคือ ปัญญาในมรรคแปด แยกแยะให้เข้าใจถูกต้องนั่นคือ ปัญญาในขันธ์ 5 ซึ่งก็คืออริยสัจสี่ จะรวมลงในอริยมรรคมีองค์แปด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/25/201918 minutes, 4 seconds
Episode Artwork

หัดปล่อยให้กุศล 6209-1m

ธรรมเทศนาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติในทางจิตภาวนา เรื่อง “หัดปล่อยให้กุศล” โดย พระครูสิทธปภากร (หลวงพ่อ ดร. สะอาด ฐิโตภาโส) เจ้าอาวาสวัดป่าดอนหายโศกธรรมบทเรื่อง นายทารุสากฏิกะ เป็นเรื่องของเด็กชายคนหนึ่งที่นึกพุทโธ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเสมอนิทานชาดกเรื่อง มตกภัตตชาดก ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เป็นเรื่องบุพกรรมของแพะตัวหนึ่งที่ต้องมารับผลกรรมถูกตัดหัว“ในโลกนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงถึงความสุข ผู้ไม่ปฏิบัติธรรมไม่ถึงความสุข เกิดมาตายเปล่า ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย มาแล้วก็ตายไป ไม่ได้ให้ทานไว้ ไม่รักษาศีลไว้ ไม่ปฏิบัติธรรมไว้ จะเอาอะไรเป็นที่พึ่ง ก็ไม่มีที่พึ่ง คนปฏิบัติธรรมเปรียบเทียบกับวัว วัวตัวหนึ่ง มีเขา 2 เขา ที่เหลือก็เป็นขน คนที่ไปสู่สุคติสวรรค์เท่ากับเขาโค มี 2 เขา ที่เหลือไปสู่อบายภูมิทั้งหมด ตกนรก เดือดร้อน ให้คิดดูว่าคนในโลกนี้ปฏิบัติธรรมมีมากขนาดไหน มันไม่มาก มันมีเท่าเขาโคนี่เอง ขนโคมันมากมั๊ย? คนที่ไปสู่อบายภูมิเหมือนขนโค ลองคิดดูซฺิ! มันตกนรกนานมั๊ย? นานเท่ากับขนโคนั่นแหละ ให้คิดว่าเราประมาท เราไม่ได้บำเพ็ญคุณงามความดีไว้ โอกาสที่เราจะตกต่ำมีมากผู้ไม่ประมาทย่อมทำความดีเหล่านี้ไว้ เราเอาไปไม่ได้หรอก ทรัพย์สินเงินทองเราเอาไปไม่ได้ แม้เราจะเก็บรวบรวมไว้เท่าไหร่ล้านเท่าไหร่แสนก็ตาม เราเอาไปด้วยไม่ได้ แต่ถ้าเราบริจาคไว้ เราเอาไปได้ นำจิตของเราให้ถึงความสุขในทิพยสมบัติได้ ปฏิบัติธรรมก็สูงส่ง พ้นทุกข์ เป็นพระอรหันต์ ตายแล้วไม่ต้องไปเกิดในภพไหนภูมิไหน ไปพระนิพพานอย่างเดียว คนที่ไปพระนิพพานก็มีความสุข ที่เรียกว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง พระพุทธเจ้าตรัส พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง คือสุขกว่าอะไร ๆ ในโลกนี้ ที่ว่าเราได้รับความสุข มันยังไม่สุขเท่าพระนิพพาน ใครจะถึงพระนิพพานได้ ก็ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจึงถึงสวรรค์ถึงนิพพาน…ขอให้ตั้งใจปฏิบัติ ระลึกถึงพุทโธอยู่เป็นประจำ ก็จะมีความสุขความเจริญ เริ่มตั้งแต่ให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนา ก็จะมีความสุขความเจริญตลอดไป” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/24/201955 minutes, 6 seconds
Episode Artwork

อนัตตาโดยรายละเอียด 6208-2m

ความหมายของอนัตตาความแตกต่างระหว่างสิ่งสมมุติกับความจริง สิ่งสมมุติคืออุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 ความจริงคืออริยสัจ 4เมื่อเข้าใจความแตกต่างระหว่างของจริงของปลอมได้แล้ว จะผ่านจากภาวะสังขตธรรมไปสู่ภาวะอสังขตธรรม จะผ่านจะเห็นความจริงนี้ได้ต้องมีเครื่องมือคืออริยมรรคมีองค์8 ให้เจริญมรรคเพื่อไม่ให้เกิดการกลับกำเริบ เมื่อปฏิบัติไปๆจะเข้าสู่วิมุตและนิพพานได้“นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)”…ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒/๔๔."จะไปหาสาระในของที่ไม่มีสาระ มันไม่ได้ จะหาความเที่ยงในของที่มันไม่เที่ยง มันไม่ได้ จะหาความสุขในของที่เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ มันไม่ได้ ความจริงเป็นอย่างนี้สิ่งใดที่มีความเป็นอนัตตาคือขันธ์ 5 ทั้งหมด มันจะมีความไม่เที่ยง สิ่งใดมีความไม่เที่ยง มันทนอยู่ได้ยาก เรียกว่าเป็นทุกข์ นี่คือสิ่งสมมุติ" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/18/201951 minutes, 37 seconds
Episode Artwork

ความเป็นของไม่เที่ยงความเป็นอนิจจัง 6208-1m

อาการแห่งอนิจจังโดยละเอียดสองอย่างที่ไม่เที่ยงรวมกันแล้วเกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา จะให้มันเที่ยงไม่ได้เราไม่ต้องรอตอนที่มันหายไปดับไปจึงค่อยบอกว่ามันไม่เที่ยง แม้แต่ตอนที่มันมีอยู่ ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ให้เราเห็นกันอยู่ชัด ๆ ถ้ามันอาศัยเหตุปัจจัยอื่น แล้วมันยังคงอยู่ ดำรงอยู่ได้ นั่นก็คือ มันไม่เที่ยงอยู่แล้วเมื่อ “ผัสสะ” ไม่เที่ยงแล้ว เวทนา สัญญา ความนึกคิดมันจะเที่ยงหรือไม่…ก็ไม่เที่ยงเหมือนกันสิ่งใดที่ไม่เที่ยง มีความแปรปวนเป็นธรรมดา มีความเป็นอาพาธ มันไม่ได้จะดำรงอยู่ได้ ถ้าเหตุปัจจัยของมันเปลี่ยนแปลงไป ความที่มันไม่อาจจะทนอยู่ในสภาพเดิมของมันได้เมื่อเหตุปัจจัยของมันเปลี่ยนแปลงไป ความทนอยู่ได้ยากนั้น เราเรียกว่า “มันเป็นทุกข์” เพราะฉะนั้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความไม่เที่ยงต้องมีความเป็นทุกข์ แน่นอนอย่าโง่ ต้องฉลาด อย่าประมาท แต่ให้มีสติ ว่าสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ เราอย่าแบกมันเอาไว้…รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพ ธรรมารมณ์, ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะแบกเอาไว้ เราต้องวาง ต้องไม่เอา โทษของมันคลายออก จะเป็นประโยชน์แก่เราอย่าให้มีความลำเอียง เพราะถ้าลำเอียงแล้วมันจะไม่เห็น อย่าให้มีความเป็นอคติ เพราะถ้ามีอคติแล้วมันจะไม่รู้…แต่เราจะเห็น เราจะรู้ มีปัญญาเกิดขึ้นได้ ต้องด้วยการตั้งสติขึ้นให้ดี ต้องด้วยการที่ใคร่ครวญด้วยปัญญาอันแยบคายโดยธรรม” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/17/201954 minutes, 36 seconds
Episode Artwork

พ้นอบาย ไปนิพพาน ด้วยความไม่ประมาท 6207-3m

ธรรมเทศนาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติในทางจิตภาวนา โดยท่านพระครูสิทธิปภากรหรือหลวงพ่อ ดร. สะอาด ฐิโตภาโส เจ้าอาวาสวัดป่าดอนหายโศกการปฏิบัติธรรมคือการทำใจให้สงบ ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ไม่คิดนึกเรื่องอื่น ใจตั้งต่อพุทโธจิตสงบแล้ว ก็อยู่กับความสงบอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อย่างนี้ไม่ได้ จิตสงบแล้ว ต้องพิจารณาตัวตนของเราถ้าเราไม่พิจารณา เราก็เกิดอีก ถ้าเราไม่เห็นโทษของกายนี้ เราก็เกิดอีกปัญญาทางธรรม คือ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย มีความโลภ ความโกรธ ความหลงจำเป็นที่สุดที่ต้องพิจารณาให้เห็นความจริงตลอดเวลาว่า กายนี้ไม่เที่ยง ใจนี้ไม่เที่ยง คือมันไม่เที่ยง มันเห็นชัดแล้วว่า มันไม่เที่ยง เราก็ไม่ต้องไปยึดถือเอาความเป็นของเราหรือเป็นตัวตนของเราอย่ายึดถือเอาไว้ เราต้องวางเสีย วางจิตให้เป็นกลาง วางจิตให้เป็นหนึ่ง มีอารมณ์อันเดียว พิจารณาเข้าไปที่ตัวเรา กายนี้เกิดขึ้นได้ กายนี้เสื่อมไปได้ ตายไปได้ ให้พิจารณาอย่างนี้บ่อยๆ จะได้ไม่ประมาท จะได้ตั้งหน้าทำความดีเอาไว้ เพื่อความสุขของเราอยู่ที่ไหนก็ต้องทำความดี อย่าประมาท เราจะได้ความสุขแน่นอน ทานเราให้ ศีลเรารักษา ภาวนาเราปฏิบัติ มันไปได้ดีทีเดียว ถึงความสิ้นทุกข์ในปัจจุบันนี้เราต้องฝึกหัด ใจของเราให้อยู่ในทางแปดสายนี้ เดินเข้าไปสู่ที่เดียวกัน คือ พระนิพพาน ทางให้ถึงความสุขความเจริญ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/12/201950 minutes, 34 seconds
Episode Artwork

อุปมาดั่งว่าด้วยนายโคบาล 6207-2m

พระพุทธเจ้าเป็นคนฉลาดในการตัดกระแสแห่งมาร เปรียบเหมือนนายโคบาลที่ฉลาด พาวัวทั้งฝูงที่มีทั้งฉลาดแข็งแรงมากน้อยข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งโน้นโดยปลอดภัย ฝั่งโน้นคือนิพพานนายโคบาลที่ฉลาด ต้องฉลาดในจุดท่าลง ฉลาดในเส้นทางที่จะไป ฉลาดในท่าที่จะขึ้นที่ไม่ควรมีท่าเดียว เพราะกำลังของแต่ละโคไม่เท่ากัน เช่น ท่าของนิพพานมีหลายท่าโคที่ข้ามแม่น้ำนี้มีหลายระดับ ตั้งแต่โคจ่าฝูงจนถึงโคที่อ่อนแอที่สุด เช่นเดียวกับสาวกในธรรมวินัยนี้ก็มีหลายระดับ ตั้งแต่อรหันต์ อนาคามี สกทาคามี โสดาบันแม้โคตัวสุดท้ายที่ไม่เคยเห็นนายโคบาลก็ยังไปถึงความสวัสดี เพราะปฏิบัติตามโคที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่นเดียวกัน เราในปัจจุบันแม้ไม่เห็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าปฏิบัติดีตามรุ่นพี่ ๆ ก็สามารถถึงฝั่งโดยปลอดภัยได้เช่นกัน“…โลกนี้และโลกหน้าเราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงไม่ได้ ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรค อันเป็นประตูแห่งอมตะ เพื่อให้ถึงนิพพาน อันเป็นแดนเกษม กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความฮึกเหิมขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด”…จูฬโคปาลสูตร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/11/201950 minutes, 45 seconds
Episode Artwork

สัมมาคือสลัดแอก 6206-2m

สัมมาแปลว่าสลัดแอกความหมายโดยละเอียดของอริยมรรคมีองค์แปด และความสัมพันธ์ของแต่ละมรรคโดยตั้งต้นจากการมีสัมมาทิฏฐิ เห็นการปฏิสัมพันธ์เกื้อกูลกันในมรรคแต่ละข้อความสามารถในการแยกแยะว่าสิ่งใดทำให้กิเลสในใจเพิ่มขึ้น ความสงบระงับลดลง การเห็นตามจริงในอริยสัจสี่เราต้องแยกแยะให้ออก ที่ไม่สงบเป็นมิจฉา ที่สงบเป็นสัมมา การดำเนินชีพก็เหมือนกัน การดำเนินชีวิตที่เรียกว่า อาชีวะ ไม่ได้หมายถึงอาชีพการงานเท่านั้น อาชีวะหมายถึงการดำเนินชีวิตที่ทำให้กิเลสลดลง สงบระงับ มีสัมมาทิฏฐิเป็นองค์นำหน้า นั่นคือ สัมมาอาชีวะองค์ประกอบที่ถ้ามันรวบรวมแวดล้อมอยู่จนจิตเราสงบลงได้ จิตที่สงบ นั่นก็เป็น สัมมาสมาธิ คือความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว เป็นเอกภาพ สามัคคีกันถ้าเผื่อว่าคุณทำการสลัดออกของกิเลสที่อยู่ในจิตใจของตน ๆ สลัดแอกแล้ว ทุกอย่างมันเข้ากันหมด มันดีหมด เป็นสัมมาหมด เป็นความสวยงาม เป็นความงดงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดสิ่งแปดอย่างนี้ไปประดับอยู่ตรงไหน ทำให้จุดนั้นมีความงามขึ้นมา มีความดีขึ้นมา ถือว่าเราไปตามทาง เพราะว่ามีความระงับลง มีความดับลงทุกขั้นตอน ๆ ความทุกข์จึงลดลงไปในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติที่เราทำด้วยองค์ประกอบแปดอย่างนี้ ความที่มันลด ๆ เป็นทางมา เหมือนทางเกวียนที่จะทำให้ถึงความสงบดับเย็นไม่ฟุ้งขึ้นอีก นั่นคือ นิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2/4/201957 minutes, 42 seconds
Episode Artwork

เทวบุตรมาร มารผู้ตามกวนพระพุทธเจ้า 6205-2m

ทำความเข้าใจเรื่องมาร ตั้งแต่ความหมายที่ว่า มารคือผู้ล้างผลาญความดี มีการแบ่งได้หลายอย่าง เช่น เทวบุตรมาร กิเลสมาร มัจจุมาร ขันธมาร เป็นต้นในที่นี้กล่าวถึง เทวบุตรมาร ที่คอยตามกวนตามหาช่องหาโอกาสในการตัดล้างความดีของพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่จะออกบวชจนตรัสรู้ ช่วงทำความเพียรมารนี้ยังไม่ได้ช่อง เพราะพระโพธิสัตว์ก็ยังปฏิบัติไม่ถูก จนเลิกการทำทุกรกิริยาจึงค่อยเข้าสู่มรรคแปด พอตรัสรู้มารก็ได้ช่องได้โอกาสในการที่จะตัดล้างความดีนั้น แต่ก็ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อพระพุทธองค์เหมือนเช่น ปูถูกตัดก้าม ฉันนั้นมารวางกับดักไว้อยู่ตลอด ถ้าเผลออาจตกเป็นเครื่องมารโดยไม่รู้ตัว เครื่องมือของมารคือตัณหาและอวิชชา เปรียบเหมือนกับดักของกวางฝูงใหญ่รายละเอียดในนิวาปสูตรจะได้ฟังธรรมบทแปลเรื่อง “พระกุณฑธานเถระ” ที่เมื่อครั้งเป็นภุมมเทวดามีการแสดงออกที่เป็นลักษณะของมาร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/28/201942 minutes, 48 seconds
Episode Artwork

หเว ปัทโธ่เว้ย 6205-1m

หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ได้ทรงเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน ณ ที่โคนแห่งไม้โพธิ์ ด้วยกระทำมนสิการซึ่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม และได้เปล่งพุทธอุทานขึ้น 3 รอบเหตุเกิดมี เหตุดับก็มี มันจะไม่หนีไปจากนี้, ไม่เป็นไปโดยความเป็นประการอื่น, ไม่ผิดจากความเป็นอย่างนี้, มันต้องถึงความเป็นอย่างนี้ และความที่มันต้องอาศัยเหตุปัจจัยกัน มันถึงเกิดขึ้น มีอยุู่ ตั้งอยู่ได้ สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วจึงเกิดขึ้น คือ “ปฏิจจสมุปบาท”บุคคลที่เพ่งพินิจอยู่ ทำความเพียรอยู่ จะรู้ทั่วถึงธรรมพร้อมทั้งเหตุที่เกิด รู้ทั่วถึงธรรมความสิ้นไป ความดับไป ความสงสัยหมดไปหายไป เกิดความแจ่มแจ้งขึ้น เหมือนพระอาทิตย์ขึ้น ความมืดหายไป สว่างไปหมด พอเรารู้รอบเรื่องเจ้าอวิชชา มันอยู่ไม่ได้ ๆ เพราะความรู้รอบนั้น คือ วิชชา…มีความรู้แบบนี้แล้ว สบายใจที่สุดในโลกแล้ว นั่งอยู่เฉย ๆ ก็สบายใจ ไม่ต้องทำอะไรก็สบายใจ มีความสบายใจเกิดขึ้นเต็มทีเลย นั่นคือวิมุตติ คือความพ้นแล้ว คือตื่นแล้ว คือพุทโธทำความรู้แจ้งนี้ให้เกิดขึ้น ความสิ้นทุกข์จะมีได้ เราจะดับทุกข์ได้ ก็ดับที่อวิชชา จะดับอวิชชาได้ ก็ทำวิชชาให้เกิดขึ้น จะทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้ ก็ทำมรรค 8 นี่แหละให้มันเกิดขึ้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/27/201940 minutes, 5 seconds
Episode Artwork

รักษาจิตได้ก็พ้นทุกข์ 6204-2m

ฟังเรื่อง อุกกัณฐิตภิกษุ ผู้อยากสึก เนื่องจากเกิดความท้อแท้ท้อถอยในการดำรงเพศภิกษุ เพราะมีข้อปฏิบัติศีลและธรรมะมากมาย ยากแก่การจำและปฏิบัติตาม พระพุทธเจ้าแนะให้รักษาเพียงข้อเดียวคือ “รักษาจิตก็อาจพ้นทุกข์” สุดท้ายบรรลุโสดาบันจิตที่ได้รับการรักษาจะนำสุขมาให้ รักษาจิตโดยการมีสติ จิตที่ได้รับการรักษามารจะไม่ได้ช่อง ให้ทำมาตามทางอริยมรรคที่เคยทำ สิ่งแวดล้อมอาจเปลี่ยน แต่การปฏิบัติให้ทำแบบเดิมจิตที่เป็นหนึ่งจะมีธรรมะทั้งหมดรวมอยู่ในนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าจะถ่ายทอดให้เรา ท่านก็ต้องถ่ายทอดผ่านทาง 6 ช่องทาง ซึ่งมารก็วางกับดักไว้ตรงนี้เช่นกัน ถ้าจิตไม่มีสติรักษาก็จะไหลไปตามสิ่งนั้น ๆสติไม่อยู่ตรงไหน จิตก็ไปทั่ว ใจต้องมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ สตินั้นจึงจะตั้งรักษาจิตได้ จิตที่คุ้มครองไว้ได้จะเป็นเหตุนำสุขมา จะรักษาจิตไว้ได้ด้วยสติ ดังพุทธพจน์ที่ว่า “พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีสติรักษาเถิด”รักษาจิตให้ดี จิตที่ถ้าคุ้มครองรักษาไว้อย่างดี จะนำความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนามาให้เราได้ มารจะไม่ได้ช่อง ถ้าเรามีธรรมะอยู่ในใจ รักษาจิตให้ดีด้วยสติ มารจะไม่ได้ช่องทำลายล้าง มารจะไม่ได้โอกาส จะเป็นการทำทางไปสู่ที่เกษมสู่นิพพานได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/21/201954 minutes, 42 seconds
Episode Artwork

อย่าหลงสมมุติโลก 6203-5m

ธรรมเทศนาเรื่อง “อย่าหลงสมมุติโลก” โดย พระครูสิทธปภากร (หลวงพ่อ ดร. สะอาด ฐิโตภาโส) เจ้าอาวาสวัดป่าดอนหายโศกการกำหนดรู้ลมหายใจสม่ำเสมอ จะทำให้จิตแน่วแน่เป็นสมาธิมีอารมณ์รวมเป็นหนึ่ง เมื่อมีสมาธิตั้งมั่นเป็นหนึ่งแล้วให้ย้อนมาพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกายตั้งแต่ถือปฏิสนธิในครรภ์มารดาวัยแต่ละวัยที่ล่วงเลยไปจากอายุ 20 – 60 ปีและก็ตาย คือความไม่เที่ยง เพราะถ้ามันเที่ยงก็จะต้องไม่มีความเปลี่ยนแปลง ไม่มีการแก่ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีการตายถือศีล 5 ให้มั่นคงเพราะตายแล้วยังกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกได้ความตายเป็นของแน่ แต่เวลาตายเป็นของไม่เที่ยงทาน ศีล ภาวนา คุณความดีที่เราทำมีมากเท่าไหร่ พอเราตายไปแล้วก็ไม่มีใครเอาของเราไปได้ ถ้าภาวนาจนได้มรรคได้ผลก็ยิ่งประเสริฐเพราะเราไม่รู้ว่าจะมีชีวิตได้นานแค่ไหน ให้เราทำความดี หมั่นพิจารณาไปเรื่อย ๆ ทำอย่าหยุด เช่นกำหนดสติก็กำหนดเรื่อย ๆ พิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ แยกส่วนของร่างกายเราให้ชัด และกำจัดไฟในใจเราคือ ราคะ โทสะ โมหะ อย่าให้มีในใจของเรา มันทำให้ใจเราตกต่ำอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีแต่ความเศร้าหมอง เราต้องแก้ด้วยการปฏิบัติธรรม เห็นให้แจ้งชัดว่ามันเป็นอนัตตา ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน เราต้องพยายามฝึกหัดปฏิบัติให้เป็นให้ได้พอทำเป็นแล้วก็จะสบายใจได้ พึ่งพามันไปสู่สุคติ ให้ปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ขาดสาย ถ้าปฏิบัติได้ดีก็ไปสูงถึงพรหมโลก แต่ถ้าสู้ไม่ถอยก็ไม่ไปเกิดที่ภพภูมิไหนอีก ให้เราอดทนต่อสู้ ปฏิบัติตามมรรค 8 เราก็จะถึงความเห็นชอบ ให้ตั้งใจทำความดี ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะสามารถออกจากทุกข์ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/17/201955 minutes, 15 seconds
Episode Artwork

เข้าใจทุกข์ ก็สุขได้ 6203-2m

ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไร-รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์, ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์, ความ พลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์,ความที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์, กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์…ทุกขอริยสัจ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/14/201933 minutes, 15 seconds
Episode Artwork

เปลี่ยนรูปแบบเปลี่ยนชีวิต 6202-2m

สิ่งที่ทำให้คนเราผิดศีลคือกิเลส มี 3 ชนิด ได้แก่ ราคะ โทสะ และโมหะ และมีลักษณะอาสวะตามคุณสมบัติของมันอีก 3 แบบ คือ ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย และอวิชชานุสัยสามารถทำราคะให้ลดลงได้ด้วยการทำอราคะให้เกิดขึ้น โดยการพิจารณาความไม่สวยงาม, ทำโทสะให้ลดลงได้ด้วยการทำอโทสะให้เกิดขึ้น โดยการเจริญเมตตา, ทำโมหะให้ลดลงได้ด้วยการทำอโมหะให้เกิดขึ้น โดยการโยนิโสมนสิการตามพุทธพจน์ที่ว่า “เมื่อตริตรึกไปในเรื่องใด สิ่งนั้นจะมีกำลัง” ทำให้เกิดเป็นรูปแบบ (Pattern) ขึ้นทั้งในทางที่ดีและไม่ดี เราสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ นี้ไปในทางดีได้ โดยการเริ่มที่ศีลให้มั่นคง แล้วจะก่อให้เกิดสติ สมาธิ และปัญญา ใช้ปัญญานั้นในการตัดกิเลส โดยเห็นถึงความไม่เที่ยงเมื่อเปลี่ยนรูปแบบไปในทางดีได้แล้ว ให้ตั้งสติไว้ในสติปัฏฐานทั้ง 4 ทำเรื่อย ๆ จะทำให้ถึงสันติวรบทได้เราพยายามให้ศีลของเราตั้งอยู่ให้ดี พยายามคุมจิตของเราให้ได้ เพราะถ้าจิตที่ไม่ได้ฝึกให้มีการควบคุม มันก็จะไปตามผัสสะต่าง ๆ แน่นอน มีอะไรมากระทบ รูปแบบที่สะสมไว้ก็ดันพาไป ควบคุมให้ดี อย่าให้มัันพยศพอเราสร้างเหตุปัจจัยที่เป็นมูลของอราคะ อโทสะ และอโมหะ มันจะค่อย ๆ ระงับตัดเจ้าราคะ โทสะ โมหะให้ลดลง ๆ ได้ เบาบางลงได้ เบาบางลงในลักษณะที่เราพอจะรักษาศีลได้ ศีลค่อย ๆ เต็มสมบรูณ์ สมาธิปัญญาจะมีพอประมาณแน่นอน พอที่จะให้เกิดอราคะ อโทสะ อโมหะได้ เป็นรูปแบบดี Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
1/7/201952 minutes, 5 seconds
Episode Artwork

คุณวิเศษในธรรมวินัยนี้ 6201-2m

มรดกที่ได้รับมาจากพระพุทธเจ้า เมื่อรับมาแล้วเราเป็นอามิสทายาทหรือธรรมทายาทแม้จะได้รับเป็นอามิสมา ก็มองให้เห็นธรรมะในอามิสนั้น หรือเห็นใครทำบุญด้วยอามิสสิ่งของปัจจัยต่าง ๆ ก็ให้มองให้เห็นธรรมะ ให้ระลึกถึงสิ่งดี ๆ ในสิ่งนั้น ๆ เช่น ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญาที่เขามี นั่นคือเรามีสัมมาสติ มีสติปัฏฐานสี่การปฏิบัติและผลของการปฏิบัตินั้นเป็นไปตามลำดับขั้นเปรียบเหมือนดั่งไหล่ทะเล เมื่อมีศรัทธาจนก่อให้เกิดการปฏิบัติ ไล่ไปจากศีล สมาธิ และปัญญา สั่งสมไปตั้งแต่เปลือก กระพี้ จนถึงแก่น อย่าไปค้างเติ่งที่จุดใดจุดหนึ่ง ศีลเปรียบเหมือนเปลือก สมาธิเป็นกระพี้เป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้แก่นแน่นขึ้นเป็นวิมุต ทำจนเป็นบริกรรม มีนิพพานเป็นที่สุดรอบ ทำมาตามลำดับ"ถ้าเรายังได้รับมรดกที่เป็นอามิสอยู่ ให้พิจารณาดูว่าในสิ่งนี้มีธรรมะอย่างไร หาธรรมะให้เจอ ให้เป็นผู้ที่รับมรดกโดยธรรม..จะหาพุทโธไม่ได้หาจากข้างนอก สิ่งที่เป็นอามิสใด ๆ ถ้ามีอยู่ให้ย้อนกลับหาเข้ามาในใจ ให้รับธรรมะเข้ามาปฏิบัติ เป็นธรรมทายาท มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ให้ลึกซึ้งลงมาถึงแก่นให้ได้" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/31/201829 minutes, 2 seconds
Episode Artwork

คาถาเปลี่ยนแปลงโลก 6152-2m

ตรงนี้แหละคือจุดเปลี่ยน จุดเปลี่ยนของการที่จะเปลี่ยนแปลงโลกจากที่มีการเบียดเบียนกันขนานใหญ่เป็นระดับโลก แต่ให้เป็นโลกที่อย่างน้อยมีความเอื้อเฟื่อเกื้อกูลกัน มีการฟังธรรม มีการทำความดีกันการเปลี่ยนแปลงตรงนี้เริ่มที่ตรงไหน?…เริ่มตรงที่มีการแสดงธรรมนั่นเอง เริ่มจากจุดที่พระพุทธเจ้ามีความคิดว่าจะไม่แสดงธรรม มาเปลี่ยนความคิดเป็นว่าจะแสดงธรรม ตรงนี้เท่านั้นเอง เท่านั้นเองที่เป็นจุดเปลี่ยนแปลงโลก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/24/201835 minutes, 44 seconds
Episode Artwork

แก้ตายด้วยการไม่เกิด 6151-2m

แก้ปัญหาความตายความเจ็บความแก่ได้ด้วยการไม่เกิด“ภูเขาหินศิลาใหญ่สูงเทียมฟ้า กลิ้งบดปวงสัตว์มาโดยรอบจากทั้งสี่ทิศ แม้ฉันใด ความแก่และความตายก็ฉันนั้น มันย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือพวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ พวกแพศย์ พวกศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะมูลฝอย ไม่เว้นใครๆไว้เลย มันย่อมย่ำยีเสียสิ้น ณ ที่นั้นไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้างพลม้า ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลรถ ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลราบ และไม่อาจจะเอาชนะแม้ด้วยการรบด้วยมนต์หรือด้วยทรัพย์ เพราะเหตุนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม และในพระสงฆ์ ผู้ใดมีปกติประพฤติธรรมด้วยกายด้วยวาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรญเสริญผู้นั้นในโลกนี้นั่นเทียว ผู้นั้นละโลกนี้ไป ย่อมบันเทิงในสวรรค์”…ปัพพโตปมสูตร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/17/201856 minutes, 7 seconds
Episode Artwork

การหารือแบบเหล่าพระอริยเจ้า 6150-2m

เวลาเราพูดเรื่องอะไรกันก็ตาม ธรรมะที่เราควรกำหนดรู้ คือเรื่องของทุกข์ คือเรื่องของขันธ์ห้า แยกแยะให้ดี พูดเรื่องอะไรแล้วให้มันเห็นถูกต้อง ธรรมะอะไรที่ควรจะละ คำตอบในที่นี้ก็คือ ตัณหา นั่นเองตัณหาเป็นธรรมที่ควรละ ต้องแยกส่วนนี้ออกมา พูดเรื่องอะไรแล้วก็ตาม ฟังพิจารณาดูแล้ว ให้รู้ถึงธรรมะที่ควรรู้แจ้ง นั่นคือ นิโรธ นิโรธเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คนที่ฟังแล้วกำหนดรู้เนื้อความต่าง ๆ เหล่านี้ได้ ชื่อว่า เป็นคนฟังชนิดที่มีอุปนิสัยในการที่จะหยั่งลงสู่อมตะธรรมได้เพราะฉะนั้นการฟังเรื่องใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลก เรื่องธรรมะหมวดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เราต้องเข้าถึงอุปนิสัยตรงนี้ ในการที่จะมารู้เรื่องอริยสัจสี่ให้ได้ กำหนดรู้ให้ได้ ละให้ได้ ทำให้แจ้งให้ได้ และการที่เราจะมารู้ยิ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ จิตใจของเราต้องอยู่ในทาง จิตใจของเราต้องอยู่ในมรรคมรรค คือ ทางที่จะให้เรามาเกิดความรู้ยิ่งได้ ลักษณะการพูดจาปราศัย การสนทนา การอภิปราย การประชุมกันของเหล่าพระอริยเจ้าจะเป็นอย่างนี้ คือ เป็นไปเพื่อประโยชน์ ไม่พูดจาเหลาะแหละ ไม่พูดทับถม ไม่จับผิด ไม่คอยแข่งดี ไม่เลื่อมใสในสิ่งที่เป็นคำโปรยประโยชน์ทิ้งเสีย แต่เป็นคำที่ทำให้เกิดความรู้ ให้เกิดความเลื่อมใส Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/10/201843 minutes, 36 seconds
Episode Artwork

กรรมฐาน 5 6149-2m

ธรรมเทศนาเรื่อง กรรมฐาน 5 โดยหลวงพ่อ ดร.สะอาด ฐิโตภาโส“พิจารณาอยู่เรื่อย ๆ เพื่ออะไร เพื่อต่อสู้กับกิเลส ให้เห็นชัดตามความเป็นจริงว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของไม่แท้จริง มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้ารู้ชัดในความจริงเหล่านี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายคลายความยินดี ใจเราก็จะไม่สะดุด”กรรมฐาน5  มี ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง พิจารณาให้เห็นความจริง ให้เห็นเป็นอสุภะ เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ของแท้จริง มีความไม่เที่ยง จะเกิดความหน่ายคลายกำหนัดได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
12/3/201857 minutes, 33 seconds
Episode Artwork

มรรคสมังคี 6148-2m

ธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อ ดร.สะอาด ฐิโตภาโส เรื่องมรรคสมังคีฝึกสมาธิเพื่ออะไร ก็เพื่อให้ใจสงบ ให้ใจมีอารมณ์เดียว ใจเป็นหนึ่ง จะพิจารณาอย่างไงก็ตามในตัวตนอันนี้ ไม่มีสิ่งไหนที่จะจีรังยั่งยืน ให้เราพิจารณาอย่างนี้ก็ได้ หรือไม่ว่าจะพิจารณาอย่างไรก็ตาม ปล่อยลงไปเลย วางลงไปเลย เราก็จะเห็นชัดในตัวเราเองว่า ขณะนี้เดี๋ยวนี้เรามีจิตสงบแล้ว ออกจากสมาธิมาใจก็ยังสงบอยู่ ใจสบายอยู่ นั่นล่ะ เราทำถูกแล้ว ถ้าเราทำถูกอย่างนี้ โอกาสที่เราจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็มีมากขึ้น พูดง่าย ๆ มรรคมันสามัคคีกัน องค์มรรคท่านว่า "มรรคสมังคี" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/26/201856 minutes, 23 seconds
Episode Artwork

การฝึกควบคุมใจ 6147-2m

กระแสโลกมันก็เป็นอย่างนี้ ทำให้เราสุขบ้างทุกข์บ้าง นี้เป็นธรรมดา ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ความสุขมันมีเป็นธรรมดา เราจึงควรที่จะต้องฝึกจิตของเรา ข่มจิตให้ได้ บังคับจิตให้ได้ ฝึกจิตให้ได้ จิตที่ฝึกดีแล้วจะนำความสุขอันเกษมมาให้ เรื่องนี้มันธรรมดา ด่าว่า ชมสรรเสริญ สุขทุกข์นี้มันเป็นธรรมดา ร้อนก็มีหนาวก็ต้องมี อันนี้มันธรรมดา หยาบคายสุภาพมีเป็นธรรมดา ปัญหาคือเราจะรักษาจิตของเราอย่างไรพระพุทธเจ้าขนาดว่าสร้างบุญกุศลมามากมายขนาดนี้ ก็ยังเจอผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่น่าพอใจบ้าง ตรงนี้แหละที่ทำให้คำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องราวที่เรามาศึกษาอยู่ มันจึงมีความจำเป็นมาก เพราะบางทีเราควบคุมเหตุปัจจัยภายนอกไม่ได้ จะให้มันเป็นผัสสะแบบนี้ ให้เกิดเรื่องราวแบบนั้น เรื่องราวแบบนั้นอย่าเกิด เราควบคุมไม่ได้ บางครั้งบางคราวมันเกินเหตุปัจจัย แต่มันเป็นกระแสของมันอย่างนี้ มันมาแบบนี้ จะให้ทำอย่างไร…เราก็จึงต้องฝึกควบคุมใจ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/19/201849 minutes, 32 seconds
Episode Artwork

วิธีการทำวิปัสสนาเรื่องเห็นทุกข์ 6147-1m

ธรรมเทศนา: วิธีการทำวิปัสสนาเรื่อง “เห็นทุกข์” โดย พระครูสิทธปภากร (หลวงพ่อ ดร. สะอาด ฐิโตภาโส) เจ้าอาวาสวัดป่าดอนหายโศก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/18/20186 minutes, 13 seconds
Episode Artwork

พระจิตตหัตถเถระ ผู้เปลี่ยนแปลงได้ 6146-2m

“ความชนะใดกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นมิใช่ความชนะที่ดี ความชนะใดไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นแลเป็นความชนะที่ดี”เรื่องราวของพระจิตตหัตถเถระ ผู้บวชแล้วสึกถึง 6 ครั้ง จนครั้งที 7 จึงบวชไม่สึก ที่สึกก็เพราะกิเลส ราคะ โทสะ โมหะในใจ จะเห็นถึงความน่าเกลียดความไม่ดีของกิเลสที่สามารถทำให้บุคคลดี ๆ กลับกลายเป็นคนไม่ดีได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/12/201855 minutes, 24 seconds
Episode Artwork

กายต่างกันแต่จิตหนึ่งเดียว 6145-2m

เรื่องของพระภิกษุชาวปาไฐยรัฐ ที่มีจิตตั้งระลึกถึงพระพุทธเจ้า อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี เป็นต้นกำเนิดที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้มีผ้ากฐินได้ โดยบัญญัติความหมาย ระยะเวลา ความสามัคคีในการร่วมกันทำกฐิน และอานิสงส์ของภิกษุที่รับผ้ากฐิน"การร่วมกันทำกิจกรรมด้วยความสามัคคี แม้กายต่างกันแต่จิตเป็นเหมือนหนึ่งเดียวกัน" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/5/201847 minutes, 55 seconds
Episode Artwork

สัมมาทิฏฐิ (ตอนที่ 2): รุ่งอรุณแห่งกุศลธรรม 6144-7m

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
11/3/20181 hour, 5 minutes, 32 seconds
Episode Artwork

ผู้ตั้งตนอยู่ในธรรม 6144-2m

ธรรมบทเรื่องพระเถระผู้ตั้งตนอยู่ในธรรม จะเห็นแง่มุมของการออกบวชเพื่อสลัดทุกข์ เมื่อบรรลุก็กลับมาโปรดเห็นถึงการสงเคราะห์กันตามธรรม และเห็นถึงแง่มุมในการตั้งต้นอยู่ในธรรมของท่านธรรมิกภิกษุเรื่องนี้เป็นเรื่องของการที่เราตั้งจิตให้มันถูกเท่านั้นเอง แน่นอนว่าคนที่ถ้ายังไม่บรรลุถึงขั้นเป็นพระอรหันต์ การตั้งจิตให้เป็นสัมมาทิฏฐิก็ยังไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ ยังมีที่เรายังต้องไปตันที่อายตนะตรงนั้นบ้าง ติดข้องอยู่ในเรื่องนี้บ้าง อาจจะปฏิบัติตามมรรคได้ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นั่นก็เพราะว่ายังไม่บรรลุธรรม พอเรารู้แล้วถึงข้อนั้นข้อนี้ ก็พยายามปรับความเห็นของเราให้มันตรงให้มันถูกต้องอยู่ในทำนองคลองธรรมซึ่งเรื่องของการปรับความเห็นนี้ ไม่ใช่ว่าต้องเปลี่ยนสถานะจากอยู่บ้านมาอยู่วัด หรือจากคฤหัสถ์มาเป็นนักบวช หรือไม่ต้องเปลี่ยนที่จากที่นั้นมาเป็นที่นี้ แต่ว่าอยู่ตรงไหน คือจิตเราอยู่ตรงไหน แค่ปรับความเห็น ทำให้มันถูกต้อง ให้มันถูกเลย เพราะว่าในเรื่องของสัมมาทิฏฐิ เรื่องของสัมมาสติ สัมมาวายามะ มันไปอยู่ได้ทุกที่ เพราะว่ามันอยู่ในช่องทางคือใจของเรา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/29/201853 minutes, 44 seconds
Episode Artwork

สัมมาทิฏฐิ (ตอนที่ 1): องค์นำหน้าของอริยมรรคมีองค์แปด

สัมมาทิฏฐิ (ตอนที่ 1): องค์นำหน้าของอริยมรรคมีองค์แปด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/27/201842 minutes, 34 seconds
Episode Artwork

อริยมรรคก่อให้เกิดอายุ วรรณะ สิริ สุขะ พะละ

ความสุข อายุ วรรณะ โภคะ พละกำลัง เราหาได้ในบัดนี้ อยู่ที่เราทำเราปฏิบัติตามมรรคแปด มรรคแปดจึงเป็นหมวดธรรมะที่เรียกว่าเหมือนรอยเท้าช้าง ในบรรดาสัตว์บกไม่มีอะไรที่จะเกินนี้ไปได้ ธรรมะอะไรก็ตามที่เราพูดถึงก็มารวมลงในมรรคแปด ความสุขยศอธิบดีความเป็นใหญ่ สุขทุกข์รูปเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งรวมในมรรคแปดนี้ อยู่ที่เราทำเราปฏิบัติ เราพัฒนาเอา เราพัฒนาปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปดแล้ว อายุวรรณะ ธนสารสมบัติ สิริ ยศ พละกำลัง ความสุขมาหาเราแน่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/22/201842 minutes, 34 seconds
Episode Artwork

อนัตตา 6142-7m

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/20/201856 minutes, 32 seconds
Episode Artwork

กิจที่ควรทำในอริยสัจสี่ (ตอนที่ 4) : ความดับที่ต้องทำให้แจ้ง 6142-6m

นิโรธ หรือ ทุกขนิโรธ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่กล่าวควบคู่ไปกับเรื่องของมรรค โดยมีความหมายว่า ความดับไม่เหลือของทุกข์ คือ ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียว เป็นความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความทำให้ไม่มีที่อาศัยของตัณหา หากต้องการให้ตัณหาดับไปได้ จะมีกระบวนการดังนี้ 1. ต้องปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด โดยการพัฒนาเรื่องมรรค ทำให้มาก เจริญ (ภาวิตา) หรือพัฒนาให้มาก ซึ่งคำว่า “รู้” หมายถึง การระลึกรู้ นั่นคือการตั้งสติขึ้น ทำให้มีสมาธิและปัญญาเกิดตามมา รอบรู้เรื่องทุกข์ ซึ่งคำว่า “กำหนดรู้” หมายถึง การทำความเข้าใจ ยอมรับและเห็นตามความจริงของทุกข์เหล่านั้น 2. สิ่งที่เกิดตามมาทันทีคือ นิโรธ (ความดับ) ซึ่งเกิดจากการปล่อยวาง เป็นผลที่เกิดขึ้นเองจากการทำให้แจ้งหรือเรียกว่า “สัจจิกต” เช่น การเปิดไฟทำให้ความมืดหายไปและความสว่างเกิดขึ้นทันที การวางของหนักทำให้ความหนักหายไปและความเบาเกิดขึ้นทันที หรือการคิด พูด ทำในสิ่งดีทำให้ความดีเกิดขึ้นและความชั่วดับไปทันที เป็นต้น หากยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในความหมายของ “ดูอย่างเดียวหรือรู้อย่างเดียว แล้วจะทำให้เกิดเองนั้น” โดยความเป็นจริงแล้วก็คือ นิโรธเกิดขึ้นนั่นเอง ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้น แจ้งขึ้นได้เองจากเหตุปัจจัยที่ถูกต้องในมรรค โดยการทำกิจที่ควรทำในทุกข์ (คือการรอบรู้เรื่องทุกข์) และการทำกิจที่ควรทำในมรรค (คือการเจริญในมรรค) ให้ถูกต้องและแยบคาย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/19/201829 minutes, 14 seconds
Episode Artwork

แค่รู้ว่าตนโง่ก็ฉลาดขึ้นแล้ว 6142-2m

คนโง่ หากรู้ตัวว่าโง่ ก็ยังพอเป็นคนฉลาดได้บ้าง ส่วนคนโง่ ถ้าสำคัญว่าตนเป้็นคนฉลาดแล้ว นี่หล่ะ มันโง่ ๆ จริง ๆ คำว่า "โง่" คำว่า "ฉลาด" ในที่นี้ ท่านก็ใช้คำว่า "พาลและบัณฑิต"เป็นเรื่องราวของโจรล้วงกระเป๋า หรือโจรผู้ทำลายปมนี้ ที่มาในนิทานธรรมบท อธิบายเรื่องของคนโง่ที่สำคัญว่าตนเป็นคนฉลาด หรือคนโง่สำคัญว่าตนโง่แล้วก็ฉลาดขึ้นมาได้ …เมื่อโจรที่เป็นโสดาบันได้กราบทูลเรื่องการเยาะเย้ยของเพื่อนโจรต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระคาถานี้ว่า“บุคคลใดเป็นคนพาลคือคนโง่ เมื่อรู้ความที่ตนเป็นคนพาลคือโง่แล้ว บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิต คือฉลาด เพราะเหตุนั้นได้บ้าง ส่วนบุคคลใดเป็นคนพาลคือคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต คือเป็นคนฉลาด บุคคลนั้นแหละเราเรียกว่า คนพาลคือคนโง่” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/15/201832 minutes, 11 seconds
Episode Artwork

นักรบผู้ชนะ 6141-2m

นักรบ เขาต้องมีความมั่นใจในอาวุธของตัวเอง คนที่จะออกรบ ต้องมีความมั่นใจในอาวุธของตนเอง ผู้หญิงเขาก็มีความมั่นใจในความสวยของตัวเขาเอง โจรก็มีความมั่นใจในความโหดร้ายในอาวุธของตัวเอง พวกพราหมณ์เขาก็มีความมั่นใจในมนต์ของเขาเอง พระราชาก็มีความมั่นใจในอิสรยยศของตนเอง คนที่จะประพฤติพรหมจรรย์จะปฏิบัติอะไรก็ตาม ก็ต้องมีความมั่นใจในศีลของเราเอง เป็นพื้นฐาน ศีลนี้เป็นหัวข้อ เป็นหัวข้อของมรรคแปดกำลังใจอันแรกที่จะทำให้เราตั้งอยู่ได้นั้นคือ “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” เห็นตัวมันแล้ว เราจะไม่กลัว นั่นคือ “ศรัทธา” คือความมั่นใจ ยังไม่ได้เข้ารบนะ ศรัทธาคือมีความมั่นใจในอาวุธของตัวเราเอง มีความมั่นใจในเหล่าหมู่พวกที่รบอยู่ด้วยกัน มีความมั่นใจในผู้นำที่พาเราออกรบ มีความมั่นใจในผู้นำคือพุทโธ มีความมั่นใจในอาวุธคือธัมโม มีความมั่นใจในหมู่พวกของเราคือสังโฆ เมื่อเห็นศัตรู ก็จะไม่ระย้อห่อหดระทมระทุกข์แต่ยังฮึกเหิมอยู่ได้ ยังมีความมั่นใจอยู่ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/8/201831 minutes, 39 seconds
Episode Artwork

การฝึกสมาธิภาวนา 6140-7m

สมาธิคืออะไร และรายละเอียดขั้นตอนของการเกิดสมาธิ, ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางประการเกี่ยวกับสมาธิ, ผลและอานิสงส์จากการฝึกสมาธิ, วิธีการฝึกทำสมาธิ และวิธีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันการมุ่งไปสู่ “สัมมาสมาธิ” ต้องเริ่มจากสติ ใช้ธรรมะของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลายนั่นคือ สติปัฏฐานสี่ ซึ่งอยู่ที่เราระลึกได้ ระลึกถึงสิ่งที่ทำจำคำที่พูดแล้วแม้นนานได้ โดยใช้เครื่องมือจากหลักของอนุสสติสิบอย่าง เมื่อทำอยู่อย่างต่อเนื่องแน่นอน จะทำให้เกิดผลและอานิสงค์ขึ้นอย่างแน่นอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/6/201846 minutes, 8 seconds
Episode Artwork

สมมุติบัญญัติ 6140-3m

ธรรมเทศนาเรื่องสมมุติบัญญัติ โดยพระครูสิทธิปภากร หลวงพ่อดร. สะอาด ฐิโตภาโส เจ้าอาวาสวัดป่าดอนหายโศก"ใครอยากตาย ไม่มีใครอยากตายสักคน แต่บัญญัติธรรมของพระพุทธเจ้าว่า ต้องมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มีความพลัดพรากจากจร ปรารถนาสิ่งหนึ่งแล้วไม่ได้ส่ิ่งหนึ่งสมความปรารถนา นั่นมันมีอยู่ ให้เราปฏิบัติ ให้สามารถทำใจของเราที่ไม่สงบให้สงบ ถ้าทำใจให้สงบได้ ก็เข้าใจในเรื่องมรรคผลได้ ก็วางความยึดมั่นถือมั่นได้ ถึงความสุขความเจริญได้ ให้เข้าใจในสมมุติบัญญัติที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้ เพื่อโลกนี้ เพื่อคนในโลกนี้จะได้พ้นทุกข์กัน จะได้ถึงความสุขความเจริญกัน ขอให้ตั้งใจปฏิบัติตลอดไป" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/2/201841 minutes, 25 seconds
Episode Artwork

พรหมวิหาร 4 ธรรมที่เมื่อเข้าใจถูก จะไม่ไร้เดียงสา 6140-2m

เมตตาคือหนักแน่นในความดี จะละพยาบาทได้, ความกรุณาที่ถูกต้อง จะละความเบียดเบียนได้, มุทิตาที่แยบคาย ไม่ใช่มุทิตาที่ไร้เดียงสา จะละอิจฉาได้, อุเบกขาที่ถ้าเราเจริญทำให้มากแล้ว จะทำให้ละความประมาทได้ จะทำให้เกิดความเจริญขึ้นของสติและสัมปชัญญะ พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้ในเนื้อหาเรื่องราวตรงนี้ว่า พึงมีจิตประกอบไปด้วยความเมตตา คือความปรารถนาให้สัตว์อื่น ๆ มีความสุข, มีจิตประกอบไปไว้ด้วยกับกรุณา คือความปรารถนาให้เขาพ้นจากความทุกข์, ตั้งจิตเอาไว้ประกอบไปด้วยกับมุทิตา คือความยินดีพอใจด้วยในความสุขหรือความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่งที่บุคคลนั้น ๆ สัตว์เหล่านั้นมีขึ้นเกิดขึ้น แล้วก็มีจิตตั้งเอาไว้ด้วยคุณธรรมที่ชื่อว่าอุเบกขา คือความวางเฉย ทั้ง 4 อย่างนี้ เราเรียกรวมใช้หัวข้อว่า “พรหมวิหารสี่” ในหัวข้อพรหมวิหาร 4  เราต้องอย่าไปไร้เดียงสาดูแค่เฉพาะตามหัวข้อ แต่ต้องดูถึงการใช้งาน ดูถึงการที่เราจะนำมาปรับปรุงอย่างไรให้มีกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตของเรา ให้มีความรัดกุมแยบคายรอบคอบ ไม่หละหลวม ให้ใช้ด้วยกัน เป็นธรรมะที่มาในหมวดเดียวกัน เวลาพระพุทธเจ้าพูดถึงเมตตา ถ้าไม่ได้ล่าวถึงกรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็ให้เข้าใจว่าโดยส่วนใหญ่ท่านจะพูดยกทั้งสี่อย่างนี้มาด้วยกัน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
10/1/201831 minutes, 15 seconds